ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถ้าเรายังพอใจอยู่ในสังสารวัฏ นี้ ควรทำอย่างไร ถึงจะไม่หลุดไปอบายครับ  (อ่าน 2878 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

สายฟ้า

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าเรายังพอใจอยู่ในสังสารวัฏ นี้ ควรทำอย่างไร ถึงจะไม่หลุดไปอบายครับ เพราะเกรงว่าการเพลิดเพลินในสังสารวัฏ นี้อาจเป็นเหตุให้ลงอบายได้

  จึงอยากทราบวิธีการที่ จะอยู่ในสังสารวัฏ โดยที่เราไม่ต้องเสีี่ยงที่จะลงไปอบาย ครับ

 ควรมีคุณธรรม อะไรบ้างครับ สำหรับการที่เราจะอยู่เป็น พุทธภูิมิ ต่อไป

  :c017: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



บุญกิริยาวัตถุ สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำบุญ, ทางทำความดี
,
       หมวด ๓ คือ
           ๑. ทานมัย ทำบุญด้วยการให้
           ๒. สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีลและประพฤติดี
           ๓. ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา ;

       หมวด ๑๐ คือ
           ๑. ทานมัย ทำบุญด้วยการให้
           ๒. สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีลและประพฤติดี
           ๓. ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา
           ๔. อปจายนมัย ด้วยการประพฤติอ่อนน้อม
           ๕. เวยยาวัจจมัย ด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้
           ๖. ปัตติทานมัย ด้วยการเฉลี่ยส่วนความดีให้ผู้อื่น
           ๗. ปัตตานุโมทนามัย ด้วยความยินดี ความดีของผู้อื่น
           ๘. ธัมมัสสวนมัย ด้วยการฟังธรรม
           ๙. ธัมมเทสนามัย ด้วยการสั่งสอนธรรม
           ๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ ด้วยการทำความเห็นให้ตรง


กุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมดี, ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล,
       กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติมี ๑๐ อย่าง คือ

       ก. กายกรรม ๓ ได้แก่
           ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำลายชีวิต
           ๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาของที่เข้ามิได้ให้
           ๓. กาเมสุมิจฉาจาร เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม

       ข. วจีกรรม ๔ ได้แก่
           ๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ
           ๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด
           ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ
           ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ
       ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่
           ๘. อนภิชฌา ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา
           ๙. อพยาบาท ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา
           ๑๐. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://www.buddhism-online.org/


    ทางไปสวรรค์ ก็คือ ทาน กับ ศีล หรือ บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ และ กุศลกรรมบถ ๑๐ นั่นเอง
    ส่วนทางไปพรหมโลก คือ ภาวนา ในส่วนของสมถกรรมฐาน ในกรรมฐาน ๔๐ กองนั้น
    กรรมฐานใดที่ทำให้ได้ รูปฌาน ๑-๕ ก็นำไปสู่ รูปพรหม
    และกรรมฐานที่ทำให้ได้ อรูปฌาน ๑-๔ ก็จะนำไปสู่ อรูปพรหม
   
     หากใครยึดมั่นอยู่ใน ทาน ศีล สมาธิ(รูปฌานและอรูปฌาน) แล้ว
     สุคติภูมิเป็นที่หวังได้อย่างแน่นอน

      :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


อัธยาศัยพระโพธิสัตว์ ๖ ประการ

      ยังมีพระมหาเถรเจ้าพระองค์หนึ่งผู้เป็นพระอรหัตสาวกวิเศษ ผู้ทรงพระปฏิสัมภิทาและพระอภิญญา ทรงไว้ซึ่งพระอรหัตฤทธิ์สูงสุด ได้มีโอกาสขึ้นไปยังดุสิตสวรรค์ ทรงมีโอกาสสนทนากับเทพบุตรสมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยบรมโพธิสัตว์  พระมหาเถรเจ้าได้ทรงถามว่า

“ขอถวายพระพร พระองค์ทรงกระทำประการใด…เพื่อยังพระอัธยาศัยที่จะให้พระโพธิญาณแก่กล้า”

      สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยบรมโพธิสัตว์ ผู้ซึ่งมีพระพุทธบารมีเปี่ยมล้นรอเวลามาอุบัติตรัสเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ได้ตรัสตอบว่า

     “ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ โยมนี้เป็นพระโพธิสัตว์ตั้งอยู่ในอัธยาศัย ๖ ประการ คือ

     ๑. พอใจที่จะบวช หรือ เนกขัมมัชฌาสัย คือ พอใจที่จะบวช  รักเพศบรรพชิตยิ่งนัก
     ๒. พอใจความเงียบสงบ หรือ วิเวกัชฌาสัย  คือ พอใจในความวิเวกเงียบสงบยิ่งนัก
     ๓. พอใจบริจาคทาน หรือ อโลภัชฌาสัย คือ พอใจในการบริจาคทาน สละความโลภตระหนี่
     ๔. พอใจในความไม่โกรธ หรือ อโทสัชฌาสัย คือ พอใจในความไม่โกรธ เจริญเมตตาในสัตว์
ทั้งปวงอยู่เนืองนิตย์
     ๕. พอใจในความไม่ลุ่มหลง หรือ อโมหัชฌาสัย คือ พอใจในการที่จะพิจารณาสิ่งที่เป็นคุณ
และเป็นโทษ ไม่ลุ่มหลงในอบาย  เสพสมาคมกับบัณฑิตคนมีสติปัญญายิ่งนัก
     ๖. พอใจที่จะยกตนออกจากภพ หรือ นิสสรณัชฌาสัย  ไม่ยินดีในการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน
วัฏสงสารในภพน้อยภพใหญ่ มีความประสงค์ในพระนิพพานยิ่งนัก


พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! นี่แหล่ะเป็นอัธยาศัย ๖ ประการที่ติดอยู่ในขันธสันดานของโยมอยู่เนืองนิตย์ พระโพธิญาณของโยมจึงแก่กล้ายิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ จนถึงกาลบัดนี้”



ที่มา http://www.phuttha.com/พระพุทธเจ้า/ปฐมบทเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า/อัธยาศัยพระโพธิสัตว์-๖-ประการ
ขอบคุณภาพจาก http://www.palapanyo.com/


    การปรารถนาพุทธภูมิ ต้องบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ อันนี้คุณสายฟ้าคงทราบแล้ว
    อีกอย่างที่อยากจะเน้นก็คือ การทำสมถกรรมฐาน
    ผู้บำเพ็ญโพธิสัตว์บารมี ต้องได้ สมถกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง
    ดังนั้น ขอให้ขวนขวายปฏิบัติให้ยิ่งขึ้นไป จนเป็นปรมัตถ์บารมี

     :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พื้นฐานดีมีชัยไปกว่าครึ่งครับ ถ้าปฏิบัติธรรมหนีนรกได้ จะเอาสูงกว่านั้นทีหลังก็ยังได้
เหมือนเราทำเพื่อสุขภาพนั่นแหละ พอออกกำลังไปมาร่างกายแข็งแรงอาจอยากแข่งกีฬาก็ได้
ก็ค่อยฝึกเพิ่ม

ตรงกันข้าม บางคนไม่เอาสุขภาพเลย ออกกำลังกายเพื่อชิงแชมป์อย่างเดียว
พื้นฐานร่างกายไม่ดีพอ แข่งทีไรไม่เคยชนะก็มี ร่างกายก็ทรุดโทรม สุดท้ายต้องถอนตัว

ไม่ว่าจะทำอะไรให้ได้ดี ก็ต้องเริ่มจากพื้นฐานก่อนเสมอ ไม่เคยฝึกขั้นต้น ไม่เชี่ยวชาญ
ไม่จัดเจน ไม่แข็งแรง แล้วอยู่ ๆ ไปตั้งเป้าหมายยาก ๆ อยากจะบรรลุอรหันต์ให้ได้
สุดท้ายก็ไม่ได้บรรลุอะไรเลย จะไปทำแบบพระอัครสาวก พระอสีติมหาสาวก
ที่ท่านสร้างบารมีมายิ่งยวด บรรลุกันพรวดเดียวมันยาก ในเบื้องต้นได้ปฏิบัติธรรมก็ดีมากแล้วครับ
ถ้าเขียน ก.ไก่ ข.ไข่ ได้ ต่อไปก็สบาย ศึกษาเองก็ยังพอไหวครับ

จากคุณ    : พักผ่อน
บันทึกการเข้า