ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบวิธีการ วางอุเบาขา ครับ  (อ่าน 4158 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

prayong

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อยากทราบวิธีการ วางอุเบาขา ครับ
« เมื่อ: มกราคม 04, 2012, 07:20:43 am »
0
คือ ผมฝึกวางอุเบกขา คือ วางเฉย

  การวางเฉย ของ ผม ก็คือ อะไรที่มากระทบ ก็พยายามวางเฉย ๆ และวางเฉย แต่ใจก็ไม่วางเฉย ครับ บางทีก็กรุ่น ๆ ในใจอย่างมากไม่สงบ เพราะความไม่พอใจ กับหลาย ๆ เรื่อง จึงมานั่งคิดว่า การวางอุเบกขา ที่ผมทำอยู่นั้น ถ้าจะไม่ถูก

  จึงขอความรู้เรื่องการวางอุเบกขา ด้วยครับ

  :smiley_confused1: :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบวิธีการ วางอุเบาขา ครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 09, 2012, 02:08:58 pm »
0

   เรื่องนี้ผมจะคุยในฐานะที่ไม่ใช่ผู้รู้ แต่จะคุยเป็นเพื่อน
   ในกรรมฐานมัชฌิมาฯ ในส่วนพุทธานุสติ ในห้องพระธรรมปิติ มีคำอธิบายเรื่อง "อุเบกขานิมิต" ไว้ดังนี้

   "ในระหว่างภาวนา ถ้าจิตซัดส่ายไปในอดีต หรือไปในอนาคต หรือฟุ้งซ่านอยู่ในปัจจุบัน
   ก็ให้ทำการเพิกจิตวางเฉย เมื่อมีสติก็ดึงกลับมา
   ด้วยการส่งหายใจเข้าไปให้เต็มปอดพร้อมภาวนาว่า "พุทโธ"
   และส่งจิตไปยังฐานจิตทันที การวางจิตอย่างนี้เรียกว่า "อุเบกขานิมิต"

 
   อธิบายเพิ่มเติม ก็คือ เมื่อรู้ตัวว่า มีนิวรณ์เกิดขึ้นในใจ การรู้ตัวก็คือ มีสติ
   แต่มีสติแล้ว นิวรณ์ไม่ได้หายไปไหน ยังคงอยู่ในใจเรา
   วิธีแก้ ก็คือ หายใจเข้าให้ลึกที่สุด นานที่สุดเท่าที่จะทำได้
   กลั้นลมหายใจไว้ นับ ๑ ถึง ๓๗ แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออก พร้อมกับภาวนาคำว่า "พุทโธ"

                                                  (ความเห็นนี้นำมาจากคำสอนของพระอาจารย์)

    วิธีการที่จะทำให้ได้"อุเบกขา" ดังกล่าวมานั้น เป็นการใช้สมาธิเข้าข่ม(เป็นความเห็นส่วนตัว)
    ในเชิงวิปัสสนาต้องใช้ข้อธรรม "สักแต่ว่า" ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
    สักแต่ว่า คือ รู้แล้ววาง ไม่ปรุงแต่ง ไม่ยึด (เห็นว่า สิ่งใดเกิด สิ่งนั้นต้องดับ เป็นธรรมดา)
    ในแง่ของปุถุชนต้องยอมรับว่า "ไม่ง่ายที่จะคิดได้แบบนั้น"


    ในระดับปุถุชนแล้ว การที่นิวรณ์ไม่ดับอย่างถาวร หรือ รู้สึกกรุ่นๆอยู่ในอก ถือว่าเป็นเรื่องปรกติ
    การจะละ"ปฏิฆะสังโยชน์"ได้ ต้องเป็นอริยบุคคลขั้นอนาคามีผล (อนาคามีผลไม่มีนิวรณ์)

     :25:
   
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Nai_9999

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบวิธีการ วางอุเบาขา ครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 09, 2012, 09:29:37 pm »
0
ขอโมทนากับความดีที่คุณประยงค์กำลังพยายามทำอยู่ครับ
ผมขอแสดงความเห็นส่วนตัวครับ
คุณประยงค์หรือคนส่วนใหญ่ก็มีทุกข์ เพราะเวทนา คือ ความไม่พอใจ ที่มากระทบเราอยู่ทุกวัน
ถ้าจิตยังมีอวิชชาอยู่ เราก็ยังประสบกับสิ่งนี้ทุกชาติ ทุกภพ ไปตลอด
การที่คุณประยงค์พยายามทรงอุเบกขา เพราะต้องการดับความไม่พอใจ ความอึดอัดใจ ความร้อนรุ่มใจ หรือเปล่าครับ
ถ้าต้องการดับทุกข์ชั่วคราว ผมแนะนำอย่างนี้ครับ
1. ทำกำลังใจให้ "อภัยทาน" กับ คนที่มาทำให้คุณไม่สบายใจ จำไว้ว่า "เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร" ทำให้บ่อยๆ ทำให้มากๆ ทำจนกว่า จะไม่มีอะไรติดค้างในใจ ถ้าในภายหลังหวนระลึกเรื่องนี้แล้วเกิดความไม่พอใจขึ้นอีก ก็ให้อภัยทานอีก การให้ทานแบบนี้ ทำยากแต่ไม่เสียตังค์ครับ นอกจากนี้ยังมีผลทำให้เจริญพระกรรมฐานได้ง่ายขึ้น เพราะในระหว่างเจริญพระกรรมฐาน เวลาจิตเริ่มสงบ อารมณ์ต่างๆที่เก็บไว้มักจะเกิดขึ้นเป็นอุปสรรคในการทำสมาธิ อารมณ์ความไม่พอใจที่เคยเกิดขึ้นกับเราก็มักจะรบกวนเวลาที่ทำสมาธิ
2. ให้เจริญพระกรรมฐานบ่อยๆ จะทำให้จิตมีกำลัง ทำให้อุเบกขาธรรมที่คุณตั้งใจปฏิบัติ มีกำลังมากขึ้น นอกจากนี้ การเจริญพระกรรมฐานบ่อยๆ ยังทำให้หลังจากออกพระกรรมฐาน กายจะสุข จิตจะเป็นสุขไปอีกระยะหนึ่ง ทำให้สิ่งที่มากระทบใจคุณจะเบาลง ควบคุมง่ายขึ้น
3. แนะนำให้ตัดสินใจดับทุกข์ถาวร เวลานี้โลกยังมี พระรัตนตรัย ครบถ้วนสมบูรณ์อยู่ ถ้าต้องใจปฏิบัติ ยังมีโอกาสบรรลุมรรคได้ครับ ขอแต่เราปฏิบัติตามสิ่งที่ครูบาอาจารย์ แนะนำอย่างเคร่องครัด ไม่ออกนอกลู่นอกทาง หรืออ่านแต่หนังสือแล้วตั้งใจปฏิบัติเอง โดยไม่ฟังคำสอนของครูบาอาจารย์

ปล. ถึงในใจเราจะให้อภัยทานกับคนที่มาเบียดเบียนเรา แต่ทางกาย หรือทางโลกเรายังต้องทำตามหน้าที่นะครับ พระอริยเจ้าก็ยังด่าคนได้อยู่นะครับ ด่าหนักด้วยสำหรับคนที่จิตยังเกาะอกุศลอยู่
บันทึกการเข้า

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบวิธีการ วางอุเบาขา ครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 10, 2012, 03:28:53 am »
0
การวางอุเบกขา ก็คือ ทำใจให้วางเฉย ต่อสภาวะธรรม ที่เกิดขึ้นในระหว่างนั้น ทำความรู้สึกเหมือนเพียงคนเฝ้ามองดู สิ่งที่ปรากฏเพียงเท่านั้น โดยที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ

  ให้ทำความรู้สึก เหมือน นั่งมองดูเพียงอย่างเดียว
  ( พระอาจารย์ เคยตอบในเมลอย่างนี้ )

  :s_hi:

 

 
 
บันทึกการเข้า

เฉินหลง

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 153
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบวิธีการ วางอุเบาขา ครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มกราคม 10, 2012, 08:38:47 am »
0
พระพุทธเจ้าตรัสแก่ปริพาชกว่าทรงได้ตรัสรู้ความจริง  หนึ่งในนั้นคือ ในความเป็นจริง  ไม่มีใครเป็นอะไรของใคร   เมื่อทราบความจริงในข้อนี้ได้  ก็จะดำเนินอยู่ท่ามกลางความไม่มีอะไรให้กังวล


ตรัสว่า :-

                "เราย่อมไม่มีในอะไรๆ (ไม่มีเราในขันธ์ เช่นรูปขันธ์เป็นต้น)


                 เราย่อมไม่มีในความเป็นอะไรๆ ของใครๆ


                 อนึ่ง ใครๆ ย่อมไม่มีในอะไรๆ (ไม่มีความเป็นบุคคล เป็นใครในขันธ์)


                 ความเป็นอะไรๆ ของใครๆ ย่อมไม่มีในความเป็นอะไรๆ ของเรา"


                 เมื่อเขากล่าวดังนี้ ชื่อว่ากล่าวจริง มิใช่กล่าวเท็จ และด้วยการกล่าวจริงนั้น เขาย่อมไม่สำคัญตัวว่า เราเป็นสมณะ เราเป็นพราหมณ์ เราเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขาเราเป็นผู้เสมอเขา เราเป็นผู้เลวกว่าเขา อนึ่ง เขารู้ยิ่งสัจจะในความปฏิบัตินั้นแล้ว

                  ย่อมเป็นผู้ดำเนินปฏิปทาอันหาความกังวลมิได้ทีเดียว(1)



คำอธิบาย -

              พระขีณาสพ(พระอรหันต์)ไม่เห็นตนว่ามีกังวลอยู่ในสิ่งไหนๆ ของใคร และความกังวลในสิ่งไหนๆ ในใคร ..ไม่เห็นตนของคนอื่นควรนำเข้ามาด้วยความกังวลนี้ ไม่ว่าในฐานะไรๆ คือ พี่ชายในฐานะเป็นพี่ชายของตน สหายในฐานะเป็นสหาย บริขารในฐานะเป็นบริขารดังนี้. เพราะเหตุที่พราหมณ์นี้เป็นอย่างนี้ ฉะนั้นจึง ไม่เห็นตนในที่ไหนๆ ไม่เห็นตน ที่ควรนำไปในความกังวลของตน. ไม่เห็นตนของคนอื่นที่ควรนำเข้าไปในความกังวลของตน.

              บทว่า อิติ วทํ พฺรหฺมโณ พึงทราบความว่า พราหมณ์ผู้เป็นขีณาสพ แม้กล่าวสุญญตาความสูญทั้ง ๔ เงื่อน ชื่อว่ากล่าวความจริงทั้งนั้น เพราะรู้แจ้งโดยชอบปฏิปทานั้นแล้ว มิได้กล่าว เท็จเลย ทั้งไม่สำคัญ เพราะตนละความสำคัญทั้งหลายในทุกวาระได้แล้ว.

              บทว่า อากิญฺจญฺญํเยว ปฏิปทํ ได้แก่ ปฏิปทาอันเว้นจากความกังวล ไม่มีห่วงใย ไม่ยึดถือนั้นเอง. บทว่า ปฏิปนฺโน โหติ ได้แก่ บำเพ็ญเต็มที่. (2)




**********************

(1) พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
โยธาชีววรรคที่ ๔
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=4617&Z=4990&pagebreak=0

(2)โยธาชีววรรควรรณนาที่ ๔ 
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=181

บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: อยากทราบวิธีการ วางอุเบาขา ครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มกราคม 26, 2012, 11:50:10 am »
0
การวางอุเบกขา มีสามสภาพ นะจีะ

 การวางอุเบกขา เมื่อเริ่มต้นภาวนา คือการปล่อยวาง อารมณ์ ที่เกิดจากการกระทบทางอายตนะทั้งหมดให้เป็นเพียงสักว่า ธาตุ เท่านั้น


 การวางอุเบกขา เมื่อภาวนาแล้ว ใช้การปล่อยวางมิได้ เพราะสติขาด และ ฟุ้งซ่านอยู่ ต้องใช้วิธีวางแบบกำหนดตัวรู้ คือ ตั้งสติรู้ ๆ ว่า ฟุ้งซ่าน แล้ว ก็ทำใจให้วางความฟุ้งซ่าน วิธีการส่งอารมณ์ มีในขั้นตอนปฏิบัติอยู่แล้ว เรียกว่า อุเบกขานิมิต ที่สำคัญคนที่ไม่ได้ปฏิบัติกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ โดยตรง จะไม่ทราบและก็ไม่ถ่ายทอดวิธีการให้ได้ ด้วย

 การวางอุเบกขา เพราะได้ญาณทัศนะ อันนี้เป็นไปตามสภาพจิต เป็นไปโดยอัตตโนมัติ

 ดังนั้นวิธีการที่ ควร สนใจ คือ วิธีการปล่อยวางก่อนการภาวนา อันนี้สำคัญมาก และ วิธีการปล่อยวางในระหว่างภาวนา อันนี้ก็สำคัญเป็นลำดับรอง


 เจริญธรรม

  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ