ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: QA "วิชากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ วิธีการกำหนดพระธรรมปีตินั้น มีในพระไตรปิฏก...."  (อ่าน 3381 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
QA  ใครช่วยตอบได้ ก็ช่วยตอบกัน ด้วยนะ จะนำคำถามมาลงก่อน ก็แล้วกันนะ ส่วนคำตอบจะทะยอยตอบ

ปุจฉา
     ??  QA "วิชากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ วิธีการกำหนดพระธรรมปีตินั้น มีในพระไตรปิฏกหรือไม่ ครับ หรือเป็นวิธี ที่คิดขึ้นมาของครูอาจารย์ สมัยนี้" 


วิสัชชนา

    <?<?<? ยังไม่ได้ตอบ รอให้ สมาชิกธรรม ร่วมตอบกันก่อน


 ;)

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ส้ม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 184
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การกำหนด ปีติ มีในพระไตรปิฏก สิคะ

     ปีติ ใน อานาปานสติ

     ปีติ ใน โพชฌงค์

     ปีติ ใน ทาน

     ทัั้งหมดนี้ เรียกว่า ปีติ ที่ควรกำหนด เป็น ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง

  คือ รู้มาแค่นี้ นะคะ อยากช่วยตอบแต่ ยังไม่ไหวคะ

   :25: :88:
บันทึกการเข้า
เส้นทางแสนเปรี้ยว จะมีสุขจริงบ้างหรือไม่ ?

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
การกำหนด ปีติ มีในพระไตรปิฏก สิคะ

     ปีติ ใน อานาปานสติ

     ปีติ ใน โพชฌงค์

     ปีติ ใน ทาน

     ทัั้งหมดนี้ เรียกว่า ปีติ ที่ควรกำหนด เป็น ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง

  คือ รู้มาแค่นี้ นะคะ อยากช่วยตอบแต่ ยังไม่ไหวคะ

   :25: :88:

   ขอขอบคุณคุณส้มที่ใส่ใจในหลายๆกระทู้
   คุณส้มยกคำว่า "ปิติ" มาคุย ผมจะต่อยอดให้นะครับ
   ปิติ แปลว่า อิ่มใจ

   เ่ท่าที่ค้นได้ ในชั้นของพระไตรปิฎก ปรากฏคำว่า "ปิติ" อยู่สองหัวข้อ คือ
   ในส่วนที่เป็นองค์ฌาน ซึ่งมี ๕ องค์ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
   อีกส่วนคือ โพชฌงค์ ๗ คือ ปิติสัมโพชฌงค์


   ที่นี้เรามาคุยเรื่อง วิธีกำหนดพระธรรมปิติ ของกรรมฐานมัชฌิมาฯ
   ในส่วนของการฝึกอุปจารสมาธิ ในห้อง"พุทธานุสติ"
   ในห้องแรก(ของพุทธานุสติ) คือ พระธรรมปิติธรรมเจ้า แบ่งเป็น ๕ ขั้น คือ   
   ขั้นที่ ๑ พระขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อย          
   ขั้นที่ ๒ พระขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ         
   ขั้นที่ ๓ พระโอกกนฺติกาปีติ ปีติเป็นพักๆ    
   ขั้นที่ ๔ พระอุพฺเพงคาปีติ ปีติโลดโผน       
   ขั้นที่ ๕ ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน
           

   ปิติทั้ง ๕ นี้ ในชั้นของพระไตรปิฎก เท่าที่ค้นดู ไม่มีครับ
   แต่ในชั้นของคัมภีร์อรรถกถา ปรากฏอยู่ใน คัมภีร์วิสุทธธิมรรค คัมภร์นี้แต่งโดย พระพุทธโฆษาจารย์
ซึ่งเป็นคนเดียวกับคนที่แปลพระไตรปิฎก จากภาษาสิงหล กลับไปเป็นภาษามคธ และที่สำคัญอรรถกถาที่ใช้ประกอบกับพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ก็เป็นคำอธิบายของท่าน


   ถ้าจะถามต่อไปว่า การกำหนดฐานจิตลงตามจุดต่างๆของร่างกาย เช่น
   ขั้นที่ ๑ กำหนดจิตลงที่ ต่ำกว่าสะดือประมาณสองนิ้ว และเรียกฐานจิตนี้ว่า พระขุททกาปีติธรรมเจ้า
   หรือ ขั้นที่ ๔ กำหนดลงที่ลิ้นปี่ เรียกว่า พระอุพฺเพงคาปีติธรรมเจ้า เป็นต้น


   การกำหนดฐานจิตลงตามส่วนต่างๆของร่างกาย เท่าค้นในพระไตรปิฎก ไม่มีครับ
   ถ้าจะตอบตามมาตรฐานทั่วไป ก็คือ จำคำสอนนี้สืบๆกันมา ไม่มีบันทึกว่า ใครเป็นคนแรกที่สอน

   
   เรื่องขั้นตอนการปฏิบัติ หรือ วิธีการปฏิบัติ หรือ กุศโลบายต่างๆ เพื่อที่จะได้มาซึ่งธรรมข้อใดข้อหนึ่งนั้น
   เป็นเรื่องเฉพาะตัว เป็นไปตามจริตวาสนาบุญบารมีที่สร้างสมมา ซึ่งแน่นอนว่า ทุกคนมีไม่เหมือนกัน


  ตัวอย่างเช่น การกำหนดว่า หายใจเข้า "พุด" หายใจออก "โท" หรือ การกำหนด พองหนอ ยุบหนอ การภาวนา"สัมมาอะระหัง" วิธีปฏิบัติเหล่านี้ ในพระไตรปิฏกไม่มี
   
   ถึงตรงนี้คงพอเข้าใจนะครับว่า การกำหนดพระธรรมปิติเป็นเรื่องของ "วิธีปฏิบัติเฉพาะทาง"

   อย่างไรก็ตาม อยากบอกว่ากรรมฐานมัชฌิมาฯมีในพระไตรปิฎก แน่นอน อย่างเช่น
   เรื่องการกำหนด "สมาธินิมิต ปัคคาหะนิมิต อุเบกขานิมิต" และเรื่องการฝึกวสี คือ
"อาวัชชนวสี สมาปัชชนวสี อธิฏฐานวสี วุฏฐานวสี ปัจจเวกขณวสี" เป็นต้น


   เรื่องนี้เป็นแค่ความเห็นส่วนตัวนะครับ ไม่ใช่คำตัดสิน ห้ามนำชื่อผมไปอ้างอิง
   ผมคงคุยเป็นเพื่อนได้เท่านี้

    :25:
 
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

whuchi

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 80
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ยังไม่ทราบ รู้แต่ว่าปฏิบัติตามที่ครูอาจารย์ สอนคะ
บางครั้ง เราก็คิดว่า ไม่ต้องไปยุ่งกับ พระไตรปิฏก ดีหรือไม่คะ เพียงแค่ปฏิบัติตามแล้วปฏิบัติได้ผ่านก็น่าจะพอหรือไม่คะ

  :smiley_confused1: :49:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
มีวิธีการกำหนด ตรงตามพระไตรปิฏกนะจ๊ะ
กำหนดปีติธรรม พิจารณธาตุ มีในหลายพระสูตรเลยนะจ๊ะ
 เอาหลัก ๆ ก็ มหาราหุโรวาทสูตร
               อาการวัฏสูตร
               จตุธาตุววัตถานสูตร
               กายคตาสติสูตร
              และยังมีอีกหลาย ๆ พระสูตร
ทุกสูตร ชี้ตำแหน่ง การวางจิตพิจารณาธรรม ตั้งธรรม ไว้พร้อมแล้ว

กำหนดปีติ พิจารณาจิต
   ปรากฏใน อานาปานสติสูตร และ มหาสติปัฏฐานสูตร ซึ่งมี ฐานที่ตั้ง วางตำแหน่งการวางจิตไว้เรียบร่้อยแล้ว

   ที่นี้ส่วนการวางธาตุ ตามพระธรรมปีติ นั้นก็วางตามธาตุ
          ดิน น้ำ ลม ไฟ มีได้ทุกธาตุ ที่สูญนาภิ กำเนิดของคนมาจากสายรก สายสะดือ ปั้นร่างปั้นรูป มาเป็นคนได้ เพราะอาศัยธาตุ ทั้ง 4 จนมีธาตุสมบูรณ์ เรียกว่า อาการสามสิบสอง มีตั้งแต่ เส้นผม เป็นต้น พระพุทธเจ้าทรงตรัสแยกธาตุไว้แล้ว ด้วย อาการวัฏฏสูตร ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลายพึงเข้าใจ

     ส่วนวิธีการวางจิต เป็นไปตามครูอาจารย์ผู้สืบทอดสอนให้วาง เพราะถ้าไม่มีที่วางจิต ท่านก็จะจับจิตกันไม่ได้ ฐานจิต จึงเหมือน ไซ ที่ ดักปลา  ฐานจิต จึง เป็นที่ดักจิต ให้เรามาจับเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ นะจีะ

  เจริญธรรม


   ;)

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ