ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: โมฆะบุรุษ เป็นอย่างไร คะ  (อ่าน 12684 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
โมฆะบุรุษ เป็นอย่างไร คะ
« เมื่อ: มกราคม 22, 2012, 02:15:32 pm »
0
โมฆะบุรุษ เป็นอย่างไร คะ

   แล้วผู้ถูกเรียกว่า โมฆะบุรุษ นั้นสำเร็จเป็นพระอรหันต์ หรือไม่คะ

   :25: :88: :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: โมฆะบุรุษ เป็นอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 24, 2012, 03:10:42 pm »
0
โมฆ-, โมฆะ
    [โมคะ-] ว. เปล่า, ว่าง; ไม่มีประโยชน์, ไม่มีผล, เช่น สัญญาเป็นโมฆะ; (กฎ) เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย. (ป., ส.).

_________________________________
ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


โมฆบุรุษ บุรุษเปล่า, คนเปล่า, คนที่ใช้การไม่ได้, คนโง่เขลา, คนที่พลาดจากประโยชน์อันพึงได้พึงถึง
_________________________________
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)



    คำว่า "โมฆะบุรุษ" เป็นคำพระพุทธเจ้าใช้ตำหนิสาวกของพระองค์
    เท่าที่ค้นได้ มีอยู่ในพระวินัย ๔ ที่ คือ
   - พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑  มหาวิภังค์ ภาค ๑ (มี ๑ คำ)
   - พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕  มหาวรรค  ภาค ๒(มี ๑ คำ)
   - พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗  จุลวรรค ภาค ๒(มี ๒ คำ)
     ขอยกตัวอย่างสักหนึ่งเล่ม





พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒

     [๑๘๐] สมัยนั้น ภิกษุสองรูปเป็นพี่น้องกัน ชื่อเมฏฐะและโกกุฏฐะ เป็นชาติพราหมณ์ พูดจาอ่อนหวาน เสียงไพเราะ เธอสองรูปนั้นเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า
     พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายต่างชื่อ ต่างโคตร ต่างชาติ ต่างสกุลกันเข้ามาบวช พวกเธอจะทำพระพุทธวจนะให้ผิดเพี้ยนจากภาษาเดิม ผิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต


     พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤตดังนี้เล่า

     ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงยกพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะตามภาษาเดิม ฯ


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๑๓๑๕ - ๑๓๒๗. หน้าที่ ๕๔ - ๕๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=1315&Z=1327&pagebreak=0


สำหรับในพระสูตรเท่าที่ค้นได้ มีแค่สองสูตร ขอยกมาเป็นตัวอย่างครับ



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก

    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร?
    สาติภิกษุทูลว่า สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดีทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ.


    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแก่ใครเล่า ดูกรโมฆบุรุษวิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี

    ดูกรโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วยขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว
    ดูกรโมฆบุรุษก็ความเห็นนั้นของเธอ จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.


อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหายมกวรรค
มหาตัณหาสังขยสูตร ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก

    ถามว่า เพราะเหตุไร จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย.
    ตอบว่า ได้ยินว่า สาติภิกษุได้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระศาสดาตรัสเรียกเราว่าโมฆบุรุษดังนี้ จะไม่มีอุปนิสสัยแห่งมรรคและผลทั้งหลายโดยสักแต่คำที่กล่าวแล้วว่า โมฆบุรุษนี้เท่านั้นก็หามิได้ เพราะว่า แม้พระอุปเสนเถระ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสอย่างนี้ว่า
    ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเร็วนักดังนี้ ภายหลังสืบต่ออยู่ พยายามอยู่ ก็ได้กระทำให้แจ้งซึ่งอภิญญา ๖ แม้เราประคองความเพียรแล้ว ก็จักกระทำให้แจ้งซึ่งมรรคและผลทั้งหลายดังนี้.


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  บรรทัดที่ ๘๐๔๑ - ๘๕๐๖.  หน้าที่  ๓๓๐ - ๓๔๘.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=8041&Z=8506&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=440


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๙. อุทายีสูตร

             [๓๐๐] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอุทายีมาถามว่า
     ดูกรอุทายี อนุสสติมีเท่าไรหนอแล เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้วท่านพระอุทายีได้นิ่งอยู่
     พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอุทายีแม้ครั้งที่ ๒ ว่า
     ดูกรอุทายี อนุสสติมีเท่าไรหนอแล เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้นิ่งอยู่
     พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอุทายีแม้ครั้งที่ ๓ ว่า
     ดูกรอุทายี อนุสสติมีเท่าไรหนอแล แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีก็ได้นิ่งอยู่


    ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ดูกรท่านอุทายี พระศาสดาตรัสถามท่าน
    ท่านพระอุทายีได้กล่าวว่า ดูกรท่านอานนท์ ผมได้ยินพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอยู่ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคต่อไปว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ
    ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสสติ ฯ

    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า
    ดูกรอานนท์เราได้รู้แล้วว่า อุทายีภิกษุนี้เป็นโมฆบุรุษ ไม่เป็นผู้ประกอบอธิจิตอยู่ แล้วตรัสถามท่านพระอานนท์ต่อไปว่า
    ดูกรอานนท์ อนุสสติมีเท่าไรหนอแล
    ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนุสสติมี ๕ ประการ


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๗๕๙๕ - ๗๖๕๙. หน้าที่ ๓๓๓ - ๓๓๕. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=7595&Z=7659&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=300
ขอบคุณภาพจาก http://cdn.gotoknow.org/,http://www.dmc.tv/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 24, 2012, 03:30:16 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: โมฆะบุรุษ เป็นอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 24, 2012, 03:14:38 pm »
0


โมฆะบุรุษ

โมฆะบุรุษ คือ ผู้ว่างเปล่าจากการทำความดี เป็นผู้ที่ได้อัตภาพการเป็นมนุษย์แต่ใช้อัตภาพนั้นเป็นไปในหนทางแห่งการทำความชั่ว มีการกระทำผิดศีลธรรมต่าง ๆ ที่ชัดเจนที่สุดคือการผิดศีลห้าประการ อันมีตั่งแต่การ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ และการดื่มสุราของมึนเมา พุทธศาสนาไม่ได้กล่าวเรื่องศีลห้านี้เป็นข้อห้าม เราจึงเป็นชาวพุทธผิดศีลเหล่านี้กันโดยมาก แต่พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นองค์ศาสดา ท่านชี้ให้เห็นเป็นทางเลือกมากกว่า


ท่านอธิบายให้เห็นว่า หากทำแล้วได้อะไร ไม่ทำแล้วจะเกิดอะไร แล้วแต่ใครจะทำหรือไม่ทำ ศีลเหล่านี้เป็นข้อเว้นสำหรับชั้นฆราวาสที่สนใจการปฏิบัติ แต่ในธรรมวินัยสำหรับพระ ถือว่าเรื่องศีลนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เป็นข้อห้ามที่เด็ดขาดและมีโทษตามระเบียบวินัย เพราะธรรมวินัยนั้น เป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งที่จะเป็นตัวกำหนดอายุขัยของพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าท่านจึงบรรยัติบทลงโทษสำหรับภิกษุผู้ผิดต่อพระธรรมวินัย

แต่ในชั้นฆราวาสแล้วจะไม่มีโทษอย่างนั้น ท่านชี้เพียงเรื่องศีลห้าเป็นเพียงเครื่องเว้น ส่วนโทษนั้นเป็นเรื่องกรรมวิบาก ซึ่งจะส่งผลเองในอนาคต ไม่มีใครมาพิพากษา เพราะมันเป็นกฎของกรรมตามธรรมชาติ เหมือนกับกฎฟิสิกส์ข้อสามของนิวตัน "ทุกแรงกิริยาย่อมมีแรงปฏิกิริยาที่มีขนาดเท่ากันแต่ทิศทางตรงกันข้ามเสมอ" แรงนั้นก็จะมีผลสะท้อนกลับมาหาเราเช่นกัน เช่น ตัวอย่างของการขว้างบอลเข้าหากำแพง กำแพงเองก็จะมีแรงสะท้อนกลับลูกบอลย้อนมาหาเรา เป็นต้น

การเกิดเป็นโมษะบุรุษ ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ว่ารวมหมายถึงสตีด้วยก็ได้ มีให้เห็นอยู่ในสังคมอย่างกลาดเกลื่อน ผู้คนมากมายต่างสับสนวุ่นวายการภาระหน้าที่การงาน บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นน้อยต่อชีวิต แต่เราใช้เวลากับสิ่งนั้นมากมาย แต่เรื่องการทำความดี เป็นสิ่งที่มีค่าต่อตัวเราเองและสังคมโดยรวม เรากับให้เวลาและคุณค่ามันน้อยจนเกินไป เพราะศีลธรรมเหล่านี้เป็นเครื่องค้ำจุน และรับประกันความร่มเย็นของสังคมมนุษย์ หากเราขาดสิ่งนี้ หรือว่ามีน้อยเต็มที สังคมโดยรวมหรือแต่ตัวเราเองก็จะประสบกับความวุ่นวายทางด้านจิตใจ และร่างกายอย่างไม่รู้จบ

เพราะฉนั้นหากเรามีเวลาก็หมั่นทำความดี เจริญทาน ศีล สมาธิภาวนา กันบ้าง โดยเฉพาะการภาวนานั้น เป็นสิ่งสำคัญ เราไม่จำเป็นต้องนั่งสมาธิ หรือ เดินจงกรม เพียงแต่เราค่อย ๆ ทำใจให้สงบแม้ในยามลืมตานั่นแหละ พยายามสลัดความทุกข์ยากอันเกิดจากความคิด จำไว้ว่าความทุกข์ที่ร้ายแรงของมนุษย์ส่วนใหญ่แล้วก็มาจากความคิด ฟุ้งซ่าน ความกลัวที่ไร้สาเหตุ

แต่หากหมั่นเจริญภาวนา แล้วเราก็จะเริ่มมีสติ มองเห็นความคิดของเราเอง และปัญหาทั้งหลายก็จะถูกแก้ไขด้วยสติและปัญญา หากแก้ไขไม่ได้ก็จะผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ในที่สุด จึงอยากฝากเรื่องการเจริญภาวนาไว้สำหรับหลายท่านที่กำลังเกิดวิกฤติการณ์ในชีวิต อย่ารอให้เรามีความทุกข์ก่อนแล้วค่อยหาทางแก้ไข แต่เราควรจะหาวิธีรับมือกับมันก่อนจะดีกว่า เพื่อให้เราเกิดมาชาตินี้จะได้ไม่เป็นโมฆะบุรุษ โมฆะสตรีกัน


ที่มา http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=asatisa&date=22-11-2011&group=35&gblog=9
ขอขอบคุณ รูปภาพงาม ๆ จาก http://lukkaew.diaryclub.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: โมฆะบุรุษ เป็นอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 24, 2012, 03:20:09 pm »
0
 :smiley_confused1: :smiley_confused1: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: โมฆะบุรุษ เป็นอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มกราคม 24, 2012, 03:21:34 pm »
0


โมฆะบุรุษ
โดย สมเด็จพระญาณสังวร สกลมหาสังฆปริณายก

   ทุกสรรพสิ่งที่ดิ้นรนแสวงหา สะสมกันเข้าไว้ ในที่สุดก็ต้องทิ้งต้องจาก ซึ่งป่วยการที่จะกล่าวไปถึงสมบัติที่จะนำเอาติดตัวไปด้วย แม้แต่เนื้อตัว ร่างกายที่ว่าเป็นของเราก็ยังเอาติดตัวไปด้วยไม่ได้
และก็เป็นความจริงที่ได้เห็นและรู้จักกันมานานนับล้านๆปีคนแล้วคนเล่า


  ในเมื่อความเป็นจริงก็เห็นๆกันอยู่เช่นนี้แล้ว เหตุใดเราท่านทั้งหลายจึงต้องพากันดิ้นรนขวนขวายสะสมสิ่งที่ในที่สุดก็จะต้องทิ้ง จะต้องจากไป ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายวันเวลาอันมีค่าของพวกเราซึ่งก็คงมีไม่เกินคนละ ๑๐๐ ปี
ให้ต้องโมฆะเสียเปล่าไปโดยหาสาระประโยชน์อันใดมิได้

  เหตุใดไม่เร่งขวนขวายสร้างสมบุญบารมีที่เป็นอริยทรัพย์อันประเสริฐ์ ซึ่งจะติดตามตัวไปได้ในชาติหน้าแม้หากว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่มีจริงดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้อย่างเลวพวกเราก็เพียงเสมอตัว มิได้ขาดทุนแต่อย่างใด

  หากสิ่งที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนเอาไว้ว่ามีจริงดั่งที่ปราชญ์ในอดีตกาลยอมรับแล้ว เราท่านทั้งหลายไม่สร้างสมบุญและความดีไว้ สร้างสมแต่ความชั่วและบาปกรรมตามติดตัวไป เราท่านทั้งหลายไม่ขาดทุนหรอกหรอ เวลาในชีวิตของเราที่ควรจะได้ใช้ให้เป็นประโยชน์ กลับต้องโมฆะเสียเปล่าก็สมควรทีจะได้ชื่อว่าเป็น " โมฆะบุรุษ " โดยแท้



ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=37882
ขอบคุณภาพจาก http://upload.wikimedia.org/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: โมฆะบุรุษ เป็นอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มกราคม 24, 2012, 03:55:23 pm »
0
โมฆะบุรุษ เป็นอย่างไร คะ

   แล้วผู้ถูกเรียกว่า โมฆะบุรุษ นั้นสำเร็จเป็นพระอรหันต์ หรือไม่คะ


ถามว่า โมฆะบุรุษ คืออะไร
ตอบว่า คือ บุรุษเปล่า, คนเปล่า, คนที่ใช้การไม่ได้, คนโง่เขลา, คนที่พลาดจากประโยชน์อันพึงได้พึงถึง

 ถามว่า โมฆะ สำเร็จอรหันต์ได้หรือไม่
 ตอบว่า สำเร็จเป็นอรหันต์ได้ ขอให้ดูอรรถกถา"มหาตัณหาสังขยสูตร" ดังนี้

 
 ถามว่า เพราะเหตุไร จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย.
    ตอบว่า ได้ยินว่า สาติภิกษุได้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระศาสดาตรัสเรียกเราว่าโมฆบุรุษดังนี้ จะไม่มีอุปนิสสัยแห่งมรรคและผลทั้งหลายโดยสักแต่คำที่กล่าวแล้วว่า โมฆบุรุษนี้เท่านั้นก็หามิได้        
    เพราะว่า แม้พระอุปเสนเถระ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสอย่างนี้ว่า
    ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเร็วนักดังนี้
    ภายหลังสืบต่ออยู่ พยายามอยู่ ก็ได้กระทำให้แจ้งซึ่งอภิญญา ๖ แม้เราประคองความเพียรแล้ว ก็จักกระทำให้แจ้งซึ่งมรรคและผลทั้งหลายดังนี้.


    ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด พระอุปเสนรูปนี้ ก็คือ พระอุปเสนเถระ เอตทัคคะในทางผู้นำซึ่งความเลื่อมใส


  อย่างไรก็ตาม คำตำหนิภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้า ไม่ได้มีเฉพาะคำว่า "โมฆะบุรุษ"เท่านั้น มีอยู่ครั้งหนึ่งพระองค์ตำหนิภิกษุที่เก่งปริยัติ แต่ปฏิบัติไม่เป็นว่า "โปฐิละ" แปลว่า ใบลานเปล่า จนภิกษุรูปนั้นอาย ต้องไปกราบเณรรูปหนึ่งให้สอนวิธีปฏิบัติให้ สุดท้ายท่านก็สำเร็จอรหันต์
 สนใจเรื่องนี้คลิกได้เลยครับ


 พระใบลานเปล่า กับเหี้ย ๖ รู บทสรุปของ "ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด"
 http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2901.msg10170#msg10170

  :welcome: :49: :25: ;)
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 24, 2012, 03:57:15 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ