ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สูตรแห่งสมาธิ อีกสูตรหนึ่ง  (อ่าน 4190 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
สูตรแห่งสมาธิ อีกสูตรหนึ่ง
« เมื่อ: มกราคม 28, 2012, 08:23:55 am »
0
[๔๑]สมาธิสูตร
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่๑
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา ได้มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา อธิษฐานทิวาสัญญา  ว่า กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือน กลางคืน มีใจอันสงัด ปราศจากเครื่องรัดรึง อบรมจิตให้มีความสว่างอยู่

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ    
     
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนาที่ดับไป รู้แจ้งสัญญาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งสัญญาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งสัญญาที่ดับไป รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้นรู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่ดับไป

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ

     ดูกรภิกษุทั้งหลายก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้ สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้ สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้ วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
     
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ
     
      ดูกรภิกษุทั้งหลายสมาธิภาวนา ๔ ประการนี้แล

      ดูกรภิกษุทั้งหลายอนึ่ง คำต่อไปนี้ เรากล่าวแล้วในปุณณปัญหาในปรายนวรรค หมายเอาข้อความนี้ว่า
   ความหวั่นไหวไม่มีแก่บุคคลใด ในโลกไหนๆ เพราะ
   รู้ความสูงต่ำในโลก บุคคลนั้นเป็นผู้สงบปราศจากควันคือ
   ความโกรธ เป็นผู้ไม่มีความคับแค้น เป็นผู้หมดหวัง
   เรากล่าวว่า ข้าม   ชาติและชราได้แล้ว ฯ
             จบสูตรที่ ๑




ขออนุญาตแก้ วรรคตอนให้นะคะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 02, 2012, 10:39:17 am โดย หมิว »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

วรรณา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 158
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สูตรแห่งสมาธิ อีกสูตรหนึ่ง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 30, 2012, 01:34:54 pm »
0
พยายาม อ่านแต่ก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ คะ

ขอบคุณพระอาจารย์ คะ ที่มาแจกธรรม คะ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

pussadee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 149
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สูตรแห่งสมาธิ อีกสูตรหนึ่ง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2012, 01:40:55 am »
0
ตามอ่าน เรื่องสูตร แห่งสมาธิ ที่ปรากฏในพระไตรปิฏก ที่พระอาจารย์แสดงเนื้อหา ไว้ นี้มีความหมายว่า เมื่อบุคคลเจริญสมาธิ แล้ว ต้องเจริญจิตให้เห็นตามความเป็นจริง หรือ จิตเป็นสมาธิ แล้ว ความเป็นจริงปรากฏ
 
   ประเมินเบื้องต้น จากเนื้อหา หลายสูตรที่ตามอ่านมา คือ ให้เห็นว่า
    รูป ไม่เที่ยง ก่อน แต่การเห็นตามความเป็นจริง ว่ารูปไม่เที่ยงนี้ ความพิศดารที่จิตเห็นนั้นเป็นอย่างไร ?
   เวทนา ไม่เที่ยง
   สัญญา ไม่เที่ยง
   สังขาร ไม่เที่ยง
   วิญญาณ ไม่เทียง

    การเห็นไม่เที่ยง ตามเนื้อหา นั้นก็เห็นอยู่ แต่ก็ไม่รู้สึกว่าจะลดกิเลสลงได้ เหมือนรู้ว่า ร่างกายนี้ ไปสู่ความเสื่อม และ ความตาย แต่ภาวะจิตใจนั้นก็หาได้คลายความยึดถือว่าร่างกายนี้เป็นเรา เป็นของเรา ต้องบำรุงดูแล อยู่ ประทินโฉม บำรุง บำเรอด้วยยาบำรุงอยู่ เหมือนเช่นเดิม คะ ( สงสัยจะยังมองไม่เห็นคะ )

  ก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจอยู่ดีคะ

  อยากให้พระอาจารย์ช่วยอธิบาย อีกสักครั้ง คะ

   :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สูตรแห่งสมาธิ อีกสูตรหนึ่ง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2012, 10:33:53 am »
0
[๔๑]สมาธิสูตร
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่๑
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑

  ผมว่าพระอาจารย์ได้นำสูตรของสมาธิ มาแสดงให้เห็นว่า การปฏิบัติสมาธินั้น ที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงมีอยู่ 4 ประการนะครับ คือ

    1.ต้องการสุขในปัจจุบัน
    2.ต้องการได้ญาณทัสสนะ
    3.ต้องการมีสติสัมปชัญญะ
    4.ต้องการสิ้นอาสวะ

   ดังนั้นคนที่ปฎิบัติก็ จะมี 4 พวกใหญ่ ๆ ดังนั้นครับ

   1.ต้องการสุขในปัจจุบัน
      อันนี้พระพุทธเจ้าแสดงว่า สมาธิที่เป็นสุขนั้นมีตั้งแต่ ปฐมฌาน ถึง ปัญจมฌาน มีอุเบกขา มีสติ
               ปัญจมฌาน มีองค์ 6 วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา อุเบกขา นะครับ ( อย่าสับสน )
               ปฐมฌาน  มีองค์ 5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
               ทุติยฌาน  มีองค์ 3 คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
               ตติยฌาน มีองค์ 2 คือ สุข เอกัคตตา
               จตุตถฌาน มีองค์ 1 คือ เอกัคคตา
             เข้าใจหรือยังครับว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ทำไม ตั้ง ปัญจมฌาน ก่อนนะครับ
    2.ต้องการได้ญาณทัสสนะ
           วิธีปฏิบัติเพื่อ ญาณทัศสนะคือ มนสิการ และ อธิษฐาน สองประการ ต่อเนื่อง มีใจสงัด ปราศจากเครื่องรัดรึงจิต เห็นกลางวันเช่นกลางคืน เห็นกลางคืนเช่นกลาง เห็นทั้งสองอย่างมิได้แตกต่างกัน
           
    3.ต้องการมีสติสัมปชัญญะ
       รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนาที่ดับไป
       รู้แจ้งสัญญาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งสัญญาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งสัญญาที่ดับไป
       รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้นรู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่ดับไป
         
   4.ต้องการสิ้นอาสวะ
      มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า
          รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้  ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้
เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้  ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้
สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้  ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้
สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้   ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้
วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
           

     


  ขอขอบคุณพระอาจารย์ ที่ช่วยชี้แนะนำครับ


   :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า