ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เวลาที่จิตไม่เป็นสมาธิ ( ฟุ้งซ่าน ) ในระหว่างที่นั่งภาวนาอยู่ ควรทำอย่างไรดี คะ  (อ่าน 6564 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

QA  ใครช่วยตอบได้ ก็ช่วยตอบกัน ด้วยนะ จะนำคำถามมาลงก่อน ก็แล้วกันนะ ส่วนคำตอบจะทะยอยตอบ


ปุจฉา
     ??  เวลาที่จิตไม่เป็นสมาธิ ( ฟุ้งซ่าน ) ในระหว่างที่นั่งภาวนาอยู่ ควรทำอย่างไรดี คะ เนื่องด้วยพอเวลาผ่านไปหมด ทุกคนออกสมาธิกันหมด ดิฉันก็ต้องออกจากสมาธิ ไม่เป็นสมาธิ ตามที่ต้องการคะ ขอพระอาจารย์โปรดให้คำแนะนำด้วยคะ


วิสัชชนา

    <?<?<?  จากที่ได้อ่านจดหมาย ก็พอจะประมาณ ว่า โยมได้ไปฝึกกรรมฐาน ภาวนาร่วมกับผู้อื่นด้วย และที่โยมประสบอยู่ก็คือ จิตไม่สามารถ รวมเป็นสมาธิ ซึ่งมีสาเหตุ มาจากหลายด้าน หลายประการ อาทิ

     1.บารมี ที่ฝึกกรรมฐาน ยังไม่พอ เช่น ศีล ทาน ภาวนา ยังมีน้อยอยู่ พึ่งเริ่มต้น
     2.มุ่งหวังการฝึก ด้วยความเพียรสูง ตั้งเป้าหมายไว้สูง
     3.มีปัญหาจากร่างกาย ปวดเมื่อยล้า เหน็บชา เป็นต้น
     4.เกิดจากไม่ได้เรียก กรรมฐาน อย่างครอบถ้วน
      และอีก หลาย ๆ สาเหตุ

    ดังนั้นเมื่อจิตท่านทั้งหลาย ประสบอุปสรรค ขึ้นมา จิตก็จะกวัดแกว่ง ก่อน การระงับ นิวรณ์ มิใช่ระงับด้วยสมาธิ อย่างเดียว แต่การระงับ นิวรณ์ สามารถระงับได้ด้วย "สติ" เป็นเบื้องต้น

    ดังนั้น การระงับ ความฟุ้งซ่าน จึงต้อมีการพัฒนา สติ ขึ้นมาก่อน อย่าลืม สัมมาสติ มาก่อน สัมมาสมาธิ เพราะ สัมมาสมาธิ ต้องอาศัย สัมมาสติ ด้วยนะจ๊ะ เป็นที่พึ่งพาอาศัยกัน และ กัน

    ดังนั้นฝึกการเจริญ สติ ให้มั่นคงก่อน

    ฝึกอย่างไร ? วิธีการฝึกของ ครูอาจารย์กรรมฐาน ให้ฝึกในการเดินจงกรม
    วิธีกการอย่างไร ?
   
    วิธีการก็เป็นไปตามสำนักแต่ ละสำนักสอนกัน จึงจะขอแนะนำวิธีการที่ครูอาจารย์ ของอาตมาได้สอนไว้คือ

       1.กล่าวคำขอขมา ต่อ พระรัตนตรัย
       2.อธิษฐานการเดินจงกรม
              มีสองวิธีการในการเดินจงกรม
                2.1  กำหนดบริกรรม คาถา ระหว่างการเดิน มีการใช้ คาถา 2 คาถา
                       2.1.1 คือ สวดบทพระพุทธคุณ ลงรวมที่ศูนย์นาภี ทั้งแบบเดินหน้า และ ถอยกลับ แบบถอยกลับ ไม่สนับสนุนการฝึก เพราะมีวิธีการกำหนดที่เพิ่มขึ้น ใช้ ฤทธิ์ ได้ ( สงวนไว้แก่ศิษย์กรรมฐาน ตามคำสั่ง ครูอาจารย์ )
                     
                2.20 กำหนดกรรมฐาน เรียกว่า การเดินธาตุ มีตั้งแต่ ธาตุ 4 ถึง ธาตุ 9
                      วิธีการนี้ไม่แนะนำสำหรับ ผู้ไม่ใช่ศิษย์กรรมฐาน เพราะมีความซับซ้อนในการกำหนด สงวนไว้ให้กับศิษย์ที่ขึ้้นกรรมฐาน ด้วยกันเท่านั้น ( ตามคำสั่งของครูอาจารย์ )

      สรุป ก็คือ ให้ท่านไปเจริญ สติ ในการเดินจงกรม ก่อนนั่งกรรมฐาน เพราะถ้าไปนั่งกรรมฐาน เจริญ สมาธิก่อนโดยตรง จะไม่สามารถ ขจัดนิวรณื เบื้องต้นได้ 

เจิรญธรรม 



 ;)

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ เป็นคำแนะนำที่ดี มากเลยครับ ผมได้นำไปใช้ จริง ๆ ก็หลายครั้งโดยเฉพาะเรื่องการเดินจงกรม นี่ได้ผลจริง ๆ ครับ สาธุ สาธุ สาธุ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

winyuchon

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
2.1  กำหนดบริกรรม คาถา ระหว่างการเดิน มีการใช้ คาถา 2 คาถา

 ถ้านับบท พระพุทธคุณ ก็เป็น 1 คาถา ใช่หรือไม่คะ แล้ว อีกคาถาหนึ่งคือ คาถาอะไรคะ
 :25: :c017:
บันทึกการเข้า

konsrilom

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 69
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
วิธีเดินจงกรม ในสถานที่ทำงานไม่ค่อยเหมาะคะ ขอวิธีอื่น ๆ ได้หรือไม่คะ

  :'(
บันทึกการเข้า

saieaw

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 271
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เดินจงกรม คือ เดินกลับไปกลับมา ใช่หรือไม่ คะ

  ยังเดินไม่เป็น เลย ต้องกำหนดจิต อย่างไร บ้างคะ ปกติ ชอบแต่นั่งคะ ปีหนึ่ง ทำสัก  10 ครั้งเองเวลาไปกับป้า ฟ้าใส คะ

  อยากรู้วิธีการเดินจงกรม บ้างคะ
 :88: :c017:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
การเดินจงกรม สามารถเดินเป็น ฌาน ได้ นะจ๊ะ

แต่ต้องฝึกภาวนาในการเดินมาด้วย ผู้สำเร็จฌาน ส่วนใหญ่ แล้ว ไม่ขึ้นอยู่กับท่าทาง

จะนั่ง จะยืน จะนอน จะเดิน ก็เป็นฌานได้ทั้งหมด

เรื่องของการเดินจงกรมอ่านเพิ่มตรงนี้ นะจ๊ะ

อานิสงค์การเดินจงกรม อ่านที่นี่นะจ๊ะ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=866.0

การเดินจงกรมธาตุ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1185.0

รูปภาพ และวิธีการเดินจงกรมธาตุ
http://www.madchima.org/madchima/index2.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=69



บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

เฉินหลง

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 153
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
จิต ทำสมาธินิตรอย่างเดียวจะมีอาการแบบนั้นสงบเกินจนเกียจคร้านถึงขั้นหลับ
ถ้าจิตขยันมากจะมีอาการฟุ้งซ่าน


นิมิตร 3 อย่าง ในการทำสมาธิ
ถ้าเปรียบทองเหมือนจิต คนทำสมาธิเป็นช่างทอง
1. สมาธินิมิตร  (สติในกาย เวทนา จิต ธรรม)เปรียบเหมือนเบ้าหลอมทองที่พรมน้ำ
2. ปัคคาหนิมิต นิมิตรในความเพียร เครื่องเผากิเลส  ละอกุศล เจริญกุศลเปรียบเหมือนเครื่องสูบเพิ่มไฟให้ทองอ่อนบางคนใช้วิธีระลึกถึงสิ่งที่ศรัทธา หรือ พรหมวิหาร
ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสอื่นๆ
3. อุเบกขา นิมิตร นิมิตรในการพิจารณาดูเฉยๆ  สักแต่ว่ารู้

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=6733&Z=6783

ในมหาสติปัฐฐาน 4 จะ มี นิมิตร 3 อย่าง ครบถ้วน
บันทึกการเข้า

วิชชุดา

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 275
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณมากคะ กำลังหาวิธีการ อยู่เลยคะ

 :c017:
บันทึกการเข้า
ขอให้ทุกท่าน จงเป็นผู้มีความสุข กันทุกคนนะจ๊ะ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ ขอบพระคุณพระคุณเจ้าเป้นอย่างสูง และ ผู้ถาม ปุจฉา แก่พระคุณเจ้าด้วยครับ เป็นประโยชน์อย่างมากแก่คนทั้งหลาย สาธุ สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ