ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คำแนะนำเรื่อง การฝึกกสิณ ให้พระอาจารย์พิจารณาตรวจทานหน่อยคร้า...  (อ่าน 9549 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
กสิณ 10

1. ปฐวีกสิณ หมายถึง การเพ่งดิน การจดจ่อแน่วแน่อยู่กับของแข็งคือดินต่างๆโดยใช้ดินสีอรุณ คือ สีคล้ายสีส้มแดง หรือ สีดินเผาหรือใช้กระเบื้องโมเสคสีขาว สีส้มแดง หรือสีเหลือง โดยทำวัตถุหรือรูปดินทำให้เป็นแผ่นวงกลมขนาด 3-6 นิ้ว แล้วทำให้เสมอราบเรียบ เหมาะที่จะนำหรือเคลื่อนย้ายไปมาได้สะดวกเวลาบำเพ็ญภาวนากสิณดิน ให้เอาแผ่นกสิณดินมาวางให้สายตามองเห็นได้ชัดเจนไม่ไกลเกินไป พอให้สายตามองเห็นอย่างพอเหมาะจนติดตา ระหว่างกลางคิ้วหรืออุณาโลม

คำ บริกรรมสำหรับกสิณดินให้บริกรรมว่า “ เราจะทำจิตให้สงบไม่ยินดีไม่ยินร้ายต่ออารมณ์ทั้งปวง ดุจดินทั้งหลายในโลกที่ไม่ยินดียินร้ายต่อสิ่งต่างๆ ทั้งที่สะอาดและไม่สะอาดที่มนุษย์ทั้งหลายทำบนพื้นดิน ” แล้วภาวนาสั้นๆว่า “ ปฐวีกสิณัง ”ๆๆๆ หรือ “ ดินคือชีวิตชีวิตคือดิน ” ๆๆๆ หรือ “ แข็งหนอ ” แล้วเพ่งกสิณดินให้ติดตาใน ติดใจอยู่ มองไม่เห็นก็ให้ลืมตามองใหม่จนติดตาในหรือใจ เมื่อหลับแล้วมองเห็นกสิณดินชัดเจน

เมื่อ ภาพกสิณดินติดตาในแล้ว ให้พยายามประคองกสิณดินให้ติดอยู่ให้นานที่สุด โดยวางใจให้นิ่งเฉยต่ออารมณ์ทั้งปวง อย่าปล่อยให้ใจเกิดนิวรณ์ คือราคะ กามกิเลส พยาบาท ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ ท้อแท้ ง่วงนอน และความระแวงสงสัย เข้าใจผิดเกิดขึ้นบนจิตใจได้เมื่อหมั่นเพียรกระทำติดต่ออย่างนี้เป็นประจำ ทุกๆวัน แล้วไซร้ก็จะทำให้อำนาจฌาน 1-4 ได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง (กสิณดินนี้เหมาะกับจริตทุกชนิด ไม่มีโทษ)

2. อาโปกสิณ หมายถึงการเพ่งกสิณน้ำ, การจดจ่ออยู่กับน้ำ โดยอาจจะนั่งอยู่บนริมสระน้ำที่ใสสะอาด หรือเอาภาชนะใส่น้ำสะอาดแล้วนำเอาน้ำสะอาดมาวางใกล้สายตา ให้สามารถนมองเห็นได้ชัดเจนระหว่างกลางคิ้วอุณาโลม หรือ อาจจะมองน้ำบนใบบัวอันสะอาด หรือถ่ายภาพน้ำบนใบบัวแล้วพยายามเพ่งมองหยดน้ำบนใบบัวจนติดตาติดใจ เมื่อหลับคาในแล้วก็ยังเห็นภาพหยดน้ำบนใบบัวได้อย่างชัดเจน หากตาในมองไม่เห็น
มืดไปหมดก็ต้องลืมตาเพ่งมองจนกว่าตาในจะมองเห็นภาพหยดน้ำได้ชัดเจน

ขณะ มองกสิณน้ำให้บริกรรมภาวนาว่า “เราจะทำจิตเราให้สะอาดบริสุทธิ์ปราศจากราคีเศร้าหมอง ดุจน้ำบนใบบัวที่สะอาดบริสุทธิ์ไม่มีราคีสิ่งสกปรกฉันนั้น” แล้วภาวนาสั้นๆ ว่า “อาโป กสิณัง ๆๆๆ ” หรือ “ เย็นหนอ ๆๆๆ” หรือ “ใสหนอๆๆๆ” หรือ “น้ำคือชีวิต ชีวิตคือน้ำ ๆๆๆ”

หากมองน้ำตามสระ ตามคลอง ตามลำธาร ตามน้ำทะเล หรือน้ำในหนอง คลองบึงทะเลหรือทะเลสาบก็ให้นึกบริกรรมภาวนาใจจิตว่า
“เราจะทำจิตใจของเราให้สงบไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ดีอารมณ์ร้ายดุจน้ำทั้งหลาย ที่ไม่หวั่นไหวต่อ สิ่งสกปรก ไม่สะอาด หรือสิ่งปฏิกูลที่มนุษย์ทั้งหลายทิ้งลงในน้ำฉันนั้น” แล้วบริกรรม “อาโป กสิณัง ๆๆๆ ” หรือ “ เย็นหนอ ๆๆๆ” หรือ “ใสหนอๆๆๆ” หรือ “น้ำคือชีวิต ชีวิตคือน้ำ ๆๆๆ”

ให้บริกรรมเช่นนี้จนกว่าติดตาใน คือหลับตาแล้ว หยดน้ำอันใสสะอาดยังคงติดตาในให้นานที่สุดแล้วให้ประคองรักษาไว้
หากจิตไม่สงบจากนิวรณ์ 5 คือ ราคะ พยาบาท ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ เกียจคร้านเห็นแก่นอน และปราศจากการระแวงสงสัยไม่แน่ใจ
แล้วภาพหยดน้ำนี้จะติดตาจนเกิดอำนาจฌาน 1-4 ได้นานที่สุด (กสิณน้ำนี้เหมาะกับบุคคลผู้มีจริตทุกชนิด ทำได้หมด ไม่มีโทษอะไร)

3. เตโชกสิณ หมายถึง การเพ่งการจดจ่อกับกสิณไฟ การนิ่งเฉยแน่วแน่อยู่กับ กสิณไฟ โดยการ

มอง กองไฟที่มีไฟลุกโชนอยู่จากการจุดกองฟืน กองใบไม้ กองหญ้าต่างๆหรืออาจจะใช้ตะเกียงน้ำมัน หรือเทียนจุดไฟให้สว่างแล้วมองแสงสว่างจากไฟนั้นให้ติดตาติดใจ จนสามารถหลับตาในแล้วตาตาในยังเห็นแสงสว่างไหวอยู่ได้นานๆ หากหลับตาในแล้วมืดไม่เห็นแสงสว่างของไฟก็ให้เพ่งมองใหม่จนกว่าหลับตาแล้ว ยังเห็นแสงสว่างจากไฟได้ชัดเจน

ขณะ นั่งเพ่งมองให้แสงไฟติดตาระหว่างกลางคิ้ว หรืออุณาโลมอยู่นั้น ให้บริกรรมภาวนาในใจตลอดว่า “เราจะทำจิตใจของเราให้สงบ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ต่ออารมณ์ดีและอารมณ์ร้ายของมนุษย์ทั้งปวงดุจกองไฟทั้งหลายที่ไม่ยินดี ไม่ยินร้ายต่อสิ่งสกปรกเน่าเหม็นไม่สะอาด สิ่งปฏิกูล ไฟพอใจที่จะทำลายสิ่งทั้งปวงให้มลายหายสูญไปจนไม่มีอะไรเหลือฉันใด เราก็จะทำจิตใจเราให้ว่างสูญจากกิเลส ตัณหา สิ่งเศร้าหมองฉันนั้น” แล้วบริกรรมสั้นๆว่า “ เตโช กสิณัง ๆๆๆ ” หรือ “ ร้อนหนอ ๆๆๆ ” หรือ “ ชีวิตคือไฟ ไฟคือชีวิต ๆๆๆ”

ให้ หมั่นนึกภาวนาอยู่อย่างนี้ขณะเพ่งมองไฟ จนกว่าจิตใจจะสงบนิ่งเฉยอยู่กับกสิณไฟอย่างเดียวจนเกิดอำนาจฌาน 1-4 แล้วจะเกิดความสุขอย่างยิ่ง (กสิณไฟนี้เหมาะกับจริตนิสัยทุกชนิดไม่มีโทษใดๆ)

4.วาโยกสิณ หมายถึง การเพ่งมองลม การจดจ่อ แน่วแน่อยู่กับการเพ่งมองลมที่พัดไปมา กระทบกิ่งไม้ ใบไม้จนหวั่นไหวไปตามแรงลม หรือเพ่งมองลมที่พัดพาเอาเมฆหมอกให้เคลื่อนไหว ไปตามแรงลม โดยการนั่งในที่กลางแจ้งที่ปลอดโปร่ง ไม่มีกำบังใดๆหรือนั่งตามเนินเขา
ตามหน้าผา ตามภูเขาสูงแล้วเพ่งจดจ่อกับการเคลื่อนไหวของลมที่พัดพาให้กิ่งไม้ใบไม้หรือเมฆหมอกให้เคลื่อนไหว

แล้ว บริกรรมภาวนาในใจว่า “เราจะกระทำจิตใจของเราให้ไม่ติดใจยึดมั่นกับสิ่งสิ่งใดๆในโลกทั้งปวง ดุจลมทั้งหลายที่ไม่ติดใจ พอใจ ยึดติดกับสิ่งใดๆ ในโลกฉันนั้น” แล้วบริกรรมสั้นๆ ว่า “ วาโย กสิณัง ๆๆๆ ” หรือ “ เบาหนอ ๆๆๆ ” “ ลมคือชีวิต ชีวิตคือลม ”ๆๆๆ

แล้วหลับตาลงจนเห็นภาพลมพัดกิ่งไม่ใบไม้เคลื่อนไหว หรือมองเห็นภาพเมฆหมอกเคลื่อนไหวไปมาจนติดใจนิ่งเฉยสงบเย็นไม่มีกิเลส ตัณหา
เมื่อนั้นอำนาจ ฌาน 1-4 ก็เกิดขึ้น(กสิณลมนี้บุคคลมีจริตต่างๆ ภาวนาได้ไม่มีโทษภัยอะไร) อยู่แต่สถานที่บำเพ็ญนั้นๆ เหมาะสมที่จะภาวนาเช่นนี้หรือไม่เท่านั้น เมื่อถึงฌาน 4 แล้วก็จะเกิดความสว่าง

5.นิล ละกสิณ หมายถึง การเพ่งกสิณสีเขียวใบไม้ การจดจ่อแน่วแน่อยู่กับสีเขียวอ่อน วิธีการปฏิบัติให้หาวัสดุ คือกระดาษหรือผ้าสีเขียวอ่อน หรือสีเขียวใบไม้มาตัดทำเป็นวงกลม ขนาด 3-6 นิ้ว แล้วนำไปติดลงในกระดาษ หรือสีน้ำเงินเข้มเกือบมืดเพื่อให้กสิณสีเขียวเด่นชัดยิ่งขึ้น หรืออาจใช้ใบไม้ดอกไม้ ต้นไม้ที่ใบขึ้นดก พอที่จะทำให้สบายตามองเห็นได้ชัดเจน อยู่ระหว่างอุณาโลมระหว่างคิ้ว ได้พอเหมาะพอควร

ขณะ นั่งเพ่งมองให้บริกรรมภาวนาว่า “ธรรมชาติสีเขียวใบไม้ซึ่งให้ความเย็นตา เย็นใจ สบายจิต สบายใจจริงหนอ” แล้วบริกรรมว่า “ นิลละ กสิณัง ๆๆๆ ”หรือ “ สบายหนอ ๆๆๆ ” หรือ “ เขียวหนอๆๆๆ ”

พยายาม ระงับจิตใจให้สงบเย็น ไม่ให้เกิดนิวรณ์ 5 แล้วลืมตามองสีเขียวให้ติดตาและติดใจขนาดหลับตาแล้ว ก็ยังเห็นภาพวงกลมสีเขียวติดใจ
เมื่อหมั่นบริกรรมภาวนาไปนานๆ ก็จะเกิดอำนาจ ฌาน 1-4 ก็จะเกิดความสว่างไสว ดุจประกายเพชรในที่สุด กสิณสีเขียวเหมาะสำหรับบุคคลที่มักมีโทสะจริต ความมักโกรธ อาฆาต พยาบาท มากที่สุด

6. ปิตะกสิณ หมายถึง การเพ่งกสิณสีเหลืองสีเหลือง หรือสีทอง การจดจ่อแน่วแน่อยู่กับกสิณสีเหลือง หรือสีทอง โดยให้หาวัสดุคือกระดาษ
หรือผ้าหรือดอกไม้สีเหลือง หรือสีทองมาทำให้เป็นรูปวงกลม ขนาด 3-6 นิ้ว แล้วประกอบลงในพื้นสีน้ำเงินเข้มจนเกือบมืด เพื่อให้วงกลมสีเหลืองหรือสีทองลอยเด่นอยู่ตรงกลาง หรืออาจใช้แผ่นทองคำบางๆ ทำให้เป็นรูปวงกลมขนาด 3-6 นิ้ว แล้วนำภาพวัสดุสีเหลืองหรือสีเหลืองหรือสีทองมาเพ่งมองโดยวางในระยะพอเหมาะ แก่สายตาขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนอยู่ระหว่างคิ้วหรืออุณาโลม

ขณะ เพ่งมองเพื่อให้ติดตาและติดใจ ขนาดหลับตาแล้วก็ยังเห็นภาพสีเหลืองหรือสีทองได้อย่างชัดเจน โดยใช้คำบริกรรมว่า “โอ้ธรรมชาติแห่งสีทองหรือสีเหลือง ซึ่งเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง ปราศจากสิ่งเศร้าหมอง เราจะภาวนาให้จิตใจเราสะอาดบริสุทธิ์ ปราศจาก ราคะ กิเลส ตัณหาให้สงบลงให้ได้” หรือภาวนาว่า “ ปิตะกสิณัง ๆๆๆ ” หรือ “ เหลืองหนอ ๆๆๆ” หรือแบบสั้นๆของหลวงพ่อกบ วัดเขาสาลิกา จ.นครนายก ว่า “ใจบริสุทธิ์เหมือนทองๆๆๆ ทองหนึ่ง ทองหนึ่งๆๆๆ” ก็ได้สั้นดีซึ่งหมายถึงความบริสุทธิ์ ปราศจากการมีสิ่งเจือปนเหมือนกัน

ให้ ภาวนาดังนี้ไปจนกว่าภาพสีทองหรือเหลืองติดตาติดใจอยู่ได้นานจนจิตใจสงบเย็น เกิดอำนาจ ฌาน 1-4 เมื่อถึงฌาน 4 แล้วก็จะเกิดความสว่างไสวดุจประกายเพชร ฉันนั้นกสิณสีทองหรือสีเหลืองนี้เหมาะสำหรับบุคคลผู้มีจิตใจมักโกรธ ขี้โกรธ มักอาฆาตพยาบาทมากที่สุด

7. โลหิตตะกสิณ หมายถึงการเพ่งกสิณ สีแดงเข้ม การจดจ่อแน่วแน่กับกสิณสีเลือด โดยวิธีการ

นำ เอากระดาษ หรือผ้า หรือดอกไม้สีแดงเข้ม สีเลือด สีแดง นำมาตัดทำให้เป็นรูปวงกลม ขนาด 3-6 นิ้ว แล้วหากระดาษรองพื้น สีน้ำเงินเข้มจนเกือบดำมาประกอบ เพื่อให้สีเลือด สีแดงชัดเจนยิ่งขึ้น หรือใช้ภาพถ่ายดอกไม้สีแดง ภาพดอกกุหลาบแดง
หรืออาจจะใช้ดอกไม้สีแดงจริงๆก็ได้ แล้วนำมาวางให้สายตามองเห็นชัดเจนอยู่ระหว่างอุณาโลมระหว่างคิ้ว เพ่งมองให้ติดตาติดใจ ขนาดหลับตาแล้วก็ยังเห็นภาพสีเลือดชัดเจน

ขณะเพ่งมองให้บริกรรมภาวนาว่า “ชีวิตสัตว์โลก ดำรงอยู่ได้ก็เพราะมีโลหิตเป็นส่วนประกอบ เมื่อโลหิตถึงความแตกสลายหมดไป
ชีวิตก็ถึงความดับไป ไม่มีอะไรเหลือจึงควรหยุด ความรัก ความยินดี พอใจในสังขารทั้งปวงเสียเถิด” หรือภาวนาสั้นๆว่า “โลหิตต กสิณังๆๆๆ” หรือ “ แดงหนอ ๆๆๆ ” หรือ “โลหิต คือ ชีวิต ชีวิต คือ โลหิต”ๆๆๆหมั่นภาวนาจนกว่าภาพสีโลหิตติดตาติดใจ จิตใจสงบเย็นจนเกิดฌาน 1-4
เมื่อถึงฌาน 4 แล้ว ก็จะเกิดความสว่างไสวดุจประกายเพชร กสิณสีโลหิตนี้ก็เหมาะกับกับบุคคลที่มี โทสะจริตมาก ให้เพ่งติดตาติดใจได้ยิ่งดี

8. โอทาตะกสิณ หมายถึง การเพ่งกสิณสีขาว การจดจ่อแน่วแน่อยู่กับสีขาวสะอาดบริสุทธิ์นี้ โดย

มี วิธีการปฏิบัติดังนี้คือ นำเอากระดาษหรือผ้าขาวสะอาดบริสุทธิ์มาตัดเป็นรูปวงกลม ขนาด 3-6 นิ้ว แล้วนำไปติดตรงกลางกระดาษรองพื้นสีน้ำเงินเข้า หรืออาจใช้ดอกไม้สีขาว เช่น ดอกบัวหลวง ดอกกุหลาบขาว โดยนำวัสดุดังกลาาวมาวางให้สายตามองเห็นชัดเขนอยู่ระหว่างคิ้วอุณาโลม
แล้วเพ่งมองให้ภาพสีขาวสะอาดบริสุทธิ์ ติดตาติดใจขนาดหลับตาก็ยังเห็นภาพสีขาวติดตาติดใจอยู่ได้นานและนิ่ง

ขณะเพ่งมองก็ให้บริกรรมภาวนาในใจว่า “สีขาวบริสุทธิ์จริงหนอ เราจะทำจิตใจให้สะอาดปราศจากกิเลส ตัณหา เครื่องเศร้าหมองทั้งปวง
ให้บริสุทธิ์ดุจผ้าขาวนี้ให้จงได้” แล้วบริกรรมสั้นๆ ว่า “ โอทาตะ กสิณังๆๆๆ” หรือ “ ขาวหนอ ๆๆๆ” หรือ “บริสุทธิ์หนอ ๆๆๆ ” หรือ “ สะอาดหนอ ๆๆๆ ” เพ่งมองให้นานจนกว่าจิตใจจะสงบนิ่งเกิดอำนาจ ฌาน 1-4 เมื่อถึงฌาน 4 แล้วสีขาวจะใสบริสุทธิ์ดุจสีประกายเพชร กสิณสีขาวนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่มีโทสะจริตเป็นนิสัยเมื่อมองความมะอาด บริสุทธิ์ ก็อาจจะทำให้จิตใจสงบเย็นลงได้

9. อากาสกสิณ หมายถึง การเพ่งมองอากาศ หรือเพ่งมองความว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย การจด

จ่อ แน่วแน่กับกสิณอากาศนี้ ไม่ต้องใช้วัตถุอะไรเลย เพียงแต่นั่งในที่กลางแจ้ง ให้มองในความว่างเปล่าที่ไม่มีอะไรเลย เช่นมองท้องฟ้า เหนือทะเลอันว่างเปล่าไกลสายตา

แล้ว บริกรรมภาวนาในใจว่า “ธรรมชาติว่างเปล่าดุจอากาศที่ไม่มีอะไรเลย เราควรจะคลายความรักความยินดี พอใจ ในสิ่งทั้งปวงเสียเถิด” หรือภาวนาสั้นๆ ว่า “อากาส กสิณัง ๆๆๆ” หรือ “ ว่างหนอ ๆๆๆ ” หรือ “ สิ่งทั้งปวงว่างเปล่าจริงหนอ ๆๆๆ , สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นจริงหนอ ๆๆๆ ”

ภาวนา จนกว่าจิตใจจะสงบเย็น เห็นภาพความว่างเปล่าติดตาอยู่ตลอดเวลาจนกว่าจะเกิดอำนาจฌาน 1-4 เมื่อถึง ฌาน 4 แล้วจะเกิดความสว่างไสวดุจประกายเพชรกสิณนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่มีโทสะจริต หากไม่ได้เห็นอะไรเสียนั่นแหละจึงจะสงบอารมณ์อื่นได้สำเร็จ

10. อาโลกสิณ หมายถึง การเพ่งมองความสว่างไสว การจดจ่ออยู่กับความสว่างไสว โดยมีวิธี

การ ปฏิบัติ คือหากเป็นเวลากลางวัน ให้อยู่ในห้องมิดชิด แล้วเจาะรูให้สว่างลอดทะลุเข้ามาในห้องเป็นรูปวงกลมขนาด 3-6 นิ้ว หรืออาจจะใช้กล่องกระดาษกล่องไม้ แล้วใส่หลอดไฟฟ้าชนิดสีขาวหรือสปอตไลท์หรือหลอดนีออนให้เจาะรูขนาด 3-6 นิ้ว แล้วให้แสงสว่างลอดออกมาได้ หากเป็นเวลากลางคืน นั่งที่กลางแจ้งแล้วเพ่งมองดาวฤกษ์หรือแสงไฟในระยะไกลๆ โดยให้เลือกแสงไฟ แสงสว่างดวงเดียว กะประมาณให้แสงสว่างตั้งอยู่กลางอุณาโลมแล้ว เพ่งมองจนติดตาติดใจขนาดหลับตาแล้ว แสงสว่างยังติดใจอยู่ได้นาน

ขณะ เพ่งมองให้บริกรรมภาวนาว่า “เราจะชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใสดุจแสงสว่างนี้ให้จงได้” แล้วบริกรรมภาวนาสั้นๆ ว่า “ อาโล กสิณัง ๆๆๆ ” หรือ “ สว่างหนอ ๆๆๆ ” หรือ “ใจเราสว่างแล้วหนอ ๆๆๆ ใจเราผ่องใสแล้วหนอ ๆๆๆ ”

ภาวนา ไปจนกว่าจิตใจสงบเย็น เกิดอำนาจฌาน 1-4 เมื่อถึงฌาน 4 ก็จะเกิดความสว่างไสวดุจกลางวัน ดุจประกายเพชร กสิณนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่มีโทสะจริตมาก หากได้เห็นแสงสว่างแล้วอาจจะทำให้จิตใจสงบเย็นลงได้สำเร็จ และเหมาะสำหรับบุคคลทุกประเภทใช้ได้ไม่มีภัยใดๆ

รูปแบบของกสิณ
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0



ที่มาของเรื่องคร้า...
http://www.praphansarn.com/new/c_town/detail.asp?ID=49
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ไม่แนะนำการฝึกกสิณ

พระอาจารย์ขอแนะนำ แต่เรื่องการฝึก กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นะจ๊ะ

เจริญพร

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

axe

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 187
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ที่จริง เรื่องกสิณ ผมก็สนใจมากครับ เพราะว่าชีิวิตทหาร อยู่กับ ดิน กับ ป่า บางครั้งก็กองไฟในราตรี

ถ้าเป็นไปได้ขอให้พระอาจารย์แนะนำ ให้สักนิดครับ

 :25:
บันทึกการเข้า
หนุ่มหล่อ ใจดี AXE

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ตำราเรื่องการฝึกกสิณ นั้นมีวางจำหน่ายในร้าน ซีเอ็ด นะ

ส่วนเว็บ ของ ชมรมกสิณ วัดยานนาวา ติดตามได้ในเว็บเลย

รู้สึกมีคนนำ วีดีโอ เกี่ยวกับกสิณ มาโพสต์ไว้แล้ว ลองหาดูนะ

ถ้าเลิกฝึกกสิณแล้ว ก็อย่าลืม ภาวนาพระพุทธานุสสติ ด้วยละ

เจริญพร
 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

วิชชุดา

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 275
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ในกรรมฐาน ก้มีวิชา กสิณ 10 ด้วยนี่คะพระอาจารย์ ทำไมจึงไม่สอนคะ

  :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า
ขอให้ทุกท่าน จงเป็นผู้มีความสุข กันทุกคนนะจ๊ะ

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ไม่ได้อยู่ในการปฏิบัติเบื้องต้น หรือห้องแรกๆที่จะต้องปฏิบัติ และหลายๆคนก็ยังไม่ได้ผ่านไปตรงนั้น ก็เป็นธรรมดาที่จะยังไม่สอน (ตอบแบบเป็นการคาดการส่วนตัวไม่เกี่ยวกับพระอาจารย์นะจ๊ะ)
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ที่พอจะรู้ๆมานะครับ การฝึกกสินหากปฏิบัติไม่ถูกทาง หรือ ไม่มีครูบาอาจารย์ชี้นำ อาจจะทำให้เสียสติได้ เพราะต้องเป็นการใช้สมาธิที่แน่วแน่ และ จิตที่จดจ่ออย่างสูง
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

นินนินนิน

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 65
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
น่าจะมีแนะนำเรื่องกสิณ สักนิด นะครับ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม