ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สมาธิ กับ ปัญญา อะไร ควรจะมาก่อนคะ  (อ่าน 8468 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
สมาธิ กับ ปัญญา อะไร ควรจะมาก่อนคะ
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2010, 05:18:33 pm »
0
สำหรับ ชาวพุทธ นั้น ต้องปฏิบัติ ตามหลัก ศีล สมาธ และ ปัญญา

แต่บางที่ บางสำนัก ก็บอกว่า ต้อง เอาปัญญา นำ ศีล และ สมาธิ

บางที่ ก็กล่่าวว่า ศีล ต้องนำ สมาธิ และ ปัญญา

บางที่ ก็กล่าวว่า สมาธิ ต้อง ศีล และ สมาธิ


แท้ที่จริง ควรจะเริ่มอย่างไร ดีคะ โดยเฉพาะทางบ้านดิฉัน นั้น ตอนนี้ ที่ กาญจนบุรี

มีการปฏิบัติ ที่แตกต่างกันไป คุณแม่ชอบไป เมืองทาง สติปัฏฐาน ดิฉัน ก็ชอบ นั่งกรรมฐาน มัชฌิมา

หลาน ๆ และ น้องสาว น้องชาย ก็ไปทาง ธรรมกาย คุณปู่ คุณย่า ก็ปฏิบัติไปแนวทาง หลวงพ่อฤษีลิงดำ

จนทำให้ฉันเห็นว่า บางครั้ง ก็มานั่งเถียงกัน ด้วยเหตุผล ต่างคน ต่างนำ ซึ่งก็มีแต่เพียง ดิฉัน เหมือนเป็นกลาง

เพราะ ไปได้กับเขาหมด จนเหมือน เราเป็น นกหลาย หัว ไปเลย

เพื่อนๆ สมาชิก ช่วยวิจารณ์ หน่อยได้ไหม คะ
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

จ่าวิโรจน์

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 50
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สมาธิ กับ ปัญญา อะไร ควรจะมาก่อนคะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2010, 11:19:30 pm »
0
ถ้าไล่ตามนี้นะครับ หนังสือประกอบของพระอาจารย์ฺ เล่มอุปสมบถ นะครับ มีกล่าวเรื่องนี้อยู่บ้างครับ

ศีล

1.ศีล ปุถุชน

2.ศีล กัลลยาณชน

3.ศีล พระอริยะชน

สมาธิ

1. ขณิกะสมาธิ

2. อุปจาระสมาธิ

3. อัปปนาสมาธิ

ปัญญา

1.สุตามยปัญญา

2.จินตามยปัญญา

3.ภาวนามยปัญญา


ถ้าจากที่แสดงแล้ว ต้องแบ่งระดับของบุคคลด้วยครับ


คือถ้าเป็น ปุถุชน นั้น การมีศีลต้องมีก่อน เพราะมีเป้าหมาย คืออยู่รอด ไม่เบียดเบียนกัน

   ถ้าเป็น กัลยาณชน นั้น การมีศีลก็เพื่อเป้าหมายที่มีความสุข สงบ

   ถ้าเป็น อริยะชน นั้น การมีศีล เพื่อพระนิพพาน

ดังนั้น ถ้าไล่แล้ว สมาธิ ก็ต้องมีระดับ ที่ต้องการ ปัญญา ก็มีระดับ ที่ต้องการ


ถ้ามุ่งเป็น พระอริยชน ก็ต้องเจริญ อริยะมรรค


แน่ละัครับ ตามลำดับ ครับ

1. สัมมาทิฏฐิ 2. สัมมาสังกัปปะ เป็นเรื่องของปัญญา เพื่อระบุเป้าหมาย ดังนั้นปัญญา ต้องมาก่อนครับ

3. สัมมาวาจา  4.สัมมากัมมันตะ 5.สัมมาอาชีวะ นั้นเป็นเรื่อง ศีล ดังนั้น ศีลจึงต้องพัฒนาเป็นลำดับสองครับ

6. สัมมาวายามะ 7.สัมมาสติ 8.สัมมาสมาธิ นั้นเป็นคุณธรรม สนับสนุนปัญญา ต้องมีตามลำดับสุดท้าย


ดังนั้นสังเกตุ ที่พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับนั้น เป็นการสอนสมาธิ

ซึ่งเป็นชุด สุดท้ายในเรื่อง ของ อริยะมรรค ดังนั้นผู้ที่ตั้ง ปัญญา และ ศีล มาดี พอได้ปฏิบัติ ก็ประสพความสำเร็จ ในการภาวนาครับ

 ;)
 
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อม สมเ็ด็จพระชินสีห์ เสด็จดี เป็นศรี ชาวสยาม
แม้พระนาม พุทโธ ระบือนาม ทั่วเขตคาม ถิ่นฐานได้ร่มเย็น
ชาวลพบุรีครับ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: สมาธิ กับ ปัญญา อะไร ควรจะมาก่อนคะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2010, 12:18:05 pm »
0


                ผมขอยกตัวอย่างเรื่องส่วนตัวแซกไว้ซักนิดอย่างนี้ครับว่า.?

ปกติแล้วผมนั้นมีธรรมวิจยะอยู่เนืองๆ กล่าวคือใช้ปัญญา แสวงปัญญา ทำเพื่อให้จิตคลายตกไปจากสิ่งยึดหน่วง

นั้นๆ ทำในขณะอิริยาบถทุกๆอิริยาบถในการทำงาน หรือว่างเว้นจากการทำงาน จนติดเป็นนิสัย ถึงจะมีปัญญา

พิจารณาเห็นเหตุเห็นทุกข์ แต่ก็หาตัดคลายให้สิ้นขณะนั้นไปไม่ได้เลย เพราะอะไรครับ.?

เหตุแท้แล้ว "รูป-นาม" คงอยู่มันทำงานไปตามกระบวนการของมันซัดส่ายไปตามอายตนะ-ผัสสะ-เวทนา-

อุปาทาน เป็นตัวตนเราเขา ละจากสักกายทิฏฐิไม่ได้เลย แท้จริงแล้วผมขาดอะไร.?

            "สัมมาสมาธิ" นี้นี่เองที่สำคัญที่ต้องนำมาเติมเต็มให้กับชีวิต เมื่อจิตตั้งมั่นเข้มแข็ง (ด้วยมีพื้นจากศีล

อันมีปกติดีแล้ว ๑ มีกุศลกระทำไว้อยู่เนืองๆเป็นปกติ ๑) ก็สามารถปลง ละ ปล่อยวาง ทำใจได้ ดำเนินชีวิตเป็น

สุขได้ไม่ยาก แต่ก็อีกหละครับหากขี้เกียจละเลยการเจริญภาวนา ก็อย่าละจากการสดับธรรม (อ่าน,ฟัง) และมี

วิจยะธรรม (พิจารณาธรรม) ไว้กับตนเองเสมอๆ ก็จะสามารถประคับประคองชีวิตอัตภาพนี้ไปได้บ้างไม่ยากใช่

ไหมครับ

            ที่กล่าวมาเป็นกิจวัตรโดยส่วนตัวที่ดำเนินอยู่ของผม ชีวิตที่ขาดหายไปของกัลยาณชนคนมีธรรมนั้น

คือ "การเจริญภาวนา" อันเป็นพื้นฐานสำคัญของเวไนยชนผู้เจริญแล้วด้วยปัญญา มีกุศลดำเนินมาดีแล้ว ศรัทธา

คงอยู่ ตั้งมั่นอยู่ในสรณะอันประเสริฐ ก่อเกิดมาพบพระศาสนาด้วยบุญวาสนา ดังนั้นการภาวนาสำคัญอย่าละอย่า

ขาดหายไป เจริญเสียให้มากไว้วันละเล็กวันละน้อยค่อยๆทำ แม้มีมารมากวนบ้าง ก็ต้องสู้ สู้กับตัวเอง เราท่าน

เสียเวลากับการต่อสู้ดิ้นรนแสวงหามากันมากได้ไม่คุ้มเหนื่อย ล้าหน่ายปล่อยวางกันบ้างก็ดีนะ

ครับ...สวัสดี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 05, 2010, 01:23:28 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: สมาธิ กับ ปัญญา อะไร ควรจะมาก่อนคะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2010, 08:46:32 pm »
0
อ้างถึง
1. สัมมาทิฏฐิ 2. สัมมาสังกัปปะ เป็นเรื่องของปัญญา เพื่อระบุเป้าหมาย ดังนั้นปัญญา ต้องมาก่อนครับ

3. สัมมาวาจา  4.สัมมากัมมันตะ 5.สัมมาอาชีวะ นั้นเป็นเรื่อง ศีล ดังนั้น ศีลจึงต้องพัฒนาเป็นลำดับสองครับ

6. สัมมาวายามะ 7.สัมมาสติ 8.สัมมาสมาธิ นั้นเป็นคุณธรรม สนับสนุนปัญญา ต้องมีตามลำดับสุดท้าย


ดังนั้นสังเกตุ ที่พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับนั้น เป็นการสอนสมาธิ

ขอบคุณ คะ ถ้าบุคคลสมบูรณ์ เรื่อง ปัญญา ในแนวทาง ก็ต้องพิจารณา เรื่องสมาธิ ก่อน ใช่หรือป่าวคะ

อ้างถึง
"สัมมาสมาธิ" นี้นี่เองที่สำคัญที่ต้องนำมาเติมเต็มให้กับชีวิต เมื่อจิตตั้งมั่นเข้มแข็ง

ประโยคนี้ จับใจมากคะ เหมือน การเติมเต็ม ในสิ่งที่ขาดจริง ๆ เลย คะ

อนโมทนา กับคำตอบ แม้จะเหมือนกับที่ สนทนา กับ คนใน ตระกูล

แต่ก็อยากได้ ข้อความที่กระจ่าง กว่านี้ อยากให้มีพระพุทธพจน์ หรือ พระสูตร รับรองหน่อยได้ไหมคะ

เพราะบรรดา ญาติ ที่ปฏิบัติภาวนาต่างกัน มักจะพูด ว่า กรรมฐาน มัชฌิมา ไม่มีหลักการ ฟ้าใสบางทีก็ไม่ได้

อ่านหรือศึกษาทั้งหมด จะตอบบางทีก็ตอบไม่ได้ เพราะศึกษาแค่เอาตัวรอด คือพอภาวนา คะ

บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

หลวงพี่เฉย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +11/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 88
  • Respect: +17
    • ดูรายละเอียด
Re: สมาธิ กับ ปัญญา อะไร ควรจะมาก่อนคะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2010, 09:50:31 pm »
0
 :25:
เมื่อทานบารมีเต็มแล้วย่อมเป็นรากเหง่าเป็นบอเกิดและเป็นที่ตั้งแห่งศีลอันบริสุทธิ  เมื่อศีลบริสุทธิดีแล้วย่อมเป็นรากเหง้าเป็นบ่อเกิดและเป็นที่ตั้งแห่งสมาธิอันตั้งมั่น  เมื่อสมาธิอันตั้งมั่นดีแล้วย่อมเป็นรากเหง้าเป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา...นั้นเป็นเหตุเป็นผลในตัวกันอยู่อย่างชัดเจน....สาธุ
บันทึกการเข้า
"ขอให้รวยโดยฉับพลัน!!!...ทุกท่านเทอญ"   วรธมฺโมภิกฺขุ (หลวงพี่เฉย)

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สมาธิ กับ ปัญญา อะไร ควรจะมาก่อนคะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2010, 09:52:28 pm »
0

หากสังเคราะห์มรรคมีองค์ ๘ ลงในไตรสิกขาจะได้ดังนี้

 สิกขา ๓ หรือ ไตรสิกขา (ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน)

๑. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง)
- สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔ )
- สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓)
- สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ )


๒. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรมเช่นสมาธิอย่างสูง)
- สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน ๔ )
- สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ )
- สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔ )


๓. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง)
- สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท )
- สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป ) 



ข้อธรรมของพระพุทธองค์มีลักษณะที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน ดั่งเช่น “วงล้อธรรมจักร” องค์ประกอบของวงล้อต้องสมบูรณ์
ต้องมี กงล้อ ซี่ล้อ และดุมล้อ หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะไม่อาจดำรงความเป็นล้อไว้ได้

เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ศีลเป็นบาทของสมาธิ  สัมมาสมาธิจะเกิดไม่ได้ถ้าเราละเมิดศีล
และปัญญาจะเกิดไม่ได้เช่นกัน ถ้าไม่มีสัมมาสมาธิเป็นบาท
ในอภิธรรมกล่าวไว้ว่า “สัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา



ยุคนัทธะ(ธรรมที่เทียมคู่)
บทตั้งเป็นภาษิตของพระอานนท์ แสดงว่าภิกษุ ภิกษุณีจะพยากรณ์อรหัตตผลได้ ในสำนักของพระอานนท์ ย่อมมีทางเป็นไปได้อย่างใดอย่างหนึ่ง รวม ๔ ทาง (มรรค ๔) คือ

๑. เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น(เจริญปัญญาโดยเจริญสมาธิก่อน )

๒. เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ( เจริญสมาธิโดยเจริญปัญญาก่อน )

๓. เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน

๔. มีจิตแยกจากความฟุ้งซ่านในธรรม ( วิปัสสนูปกิเลส =เครื่องทำวิปัสสนาให้เศร้าหมอง เช่น สิ่งที่ทำให้หลงเข้าใจผิด มีแสงสว่าง เป็นต้น ) จิตสงบตั้งหมั่น ในภายในมีอารมณ์เป็นหนึ่งแล้วหมดกิเลส.

ดูรายละเอียดได้ที่
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=31&A=7564&w=%C2%D8%A4%B9%D1%B7%B8%C7%C3%C3%A4_%C2%D8%A4%B9%D1%B7%B8%A1%B6%D2



คราวนี้เราจะมาพิจารณาเรื่องการเจริญภาวนา(วิปัสสนากรรมฐาน)
หากพิจารณาตามภาษิตของพระอานนท์แล้ว จะเห็นว่า การเจริญปัญญานำสมาธิ
หรือการเจริญสมาธินำปัญญา  สามารถทำให้บรรลุเป็นอรหันต์ได้ทั้งสิ้น


การเจริญปัญญานำสมาธิ เป็นจริตของ พระวิปัสสก(ไม่มีฤทธิ์)
การเจริญสมาธินำปัญญา เป็นจริตของ พระเตวิชโช ฉฬภิญโญ และปฏิสัมภิทาญาณ (มีฤทธิ์)
พระอรหันต์ทั้งสองแบบต้องมีศีลเป็นบาทเสมอกัน

ผมจะเปรียบเทียบคุณธรรมของอริยบุคคลระดับต่างๆ โดยนำเอาไตรสิกขามาเป็นเกณฑ์ ดังนี้ครับ

โสดาบัน       มีศีลบริบูรณ์   มีสมาธิเล็กน้อย   มีปัญญาเล็กน้อย
สกทาคามี   มีศีลบริบูรณ์   มีสมาธิปานกลาง   มีปัญญาเล็กน้อย
อนาคามี      มีศีลบริบูรณ์   มีสมาธิบริบูรณ์   มีปัญญาปานกลาง
อรหันต์      มีศีลบริบูรณ์   มีสมาธิบริบูรณ์   มีปัญญาบริบูรณ์




ท้ายนี้มีของฝากมาให้คุณฟ้าใส เห็นแก่ความขยันตั้งกระทู้(จริงจริ๊ง) :) ;) :)

หลวงปู่มั่น กล่าวว่า “ทำความสงบ(ทำสมาธิ)มาก เนิ่นช้า
คิดพิจารณา(เจริญปัญญา)มาก ฟุ้งซ่าน หัวใจของการปฏิบัติคือ การมีสติอยู่ในชีวิตประจำวัน”

หลวงปู่ดูลย์  อตุลโล กล่าวว่า  “อย่าส่งจิตออกนอก”

หลวงปู่เทียน  กล่าวว่า  “เมื่อรู้ว่าจิตคิด จะได้ต้นทางของการปฏิบัติ”

หลวงปู่ทา กล่าวว่า  “มีสติรักษาจิต”


เป็นที่น่าสังเกตว่า ทั้งสี่ท่าน กล่าวอยู่สองคำที่เหมือนกัน คือ จิต และสติ
และทั้งสองคำอยู่ใน “อธิจิตตสิกขา”

ขอให้ธรรมคุ้มครองคุณฟ้าใส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 06, 2010, 11:49:42 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

whanjai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 106
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สมาธิ กับ ปัญญา อะไร ควรจะมาก่อนคะ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2010, 11:30:56 am »
0
นอกเรื่อง แบบอุบาสิกา ธรรมดา

เพราะช่วงนี้ชีวิต ผันผวน ตามกรรม

   งาน มาก่อน เงิน  หรือ เงิน มาก่อน งาน

   งาน มา ไม่ทำ เงินก็ไม่ไ้ด้่

   เงิน มา แต่ไม่มีผลงาน ก็ไม่ได้

  ถ้าจะมองแบบ business แล้ว

  หวาน ว่าแยกกันไม่ออก หรอก ว่า ศีล มาก่อน ปัญญา

   หรือ ปัญญา มาก่อน ศีล

   หรือ สมาธ มาก่อน ปัญญา เป็นต้น

  เพราะ ศีล สมาธิ และ ปัญญา เป็นสิ่งที่นับเนื่องกันใช่ ไหม คะ ( คุณปุ้ม )

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สมาธิ กับ ปัญญา อะไร ควรจะมาก่อนคะ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2010, 11:57:59 am »
0
นอกเรื่อง แบบอุบาสิกา ธรรมดา

เพราะช่วงนี้ชีวิต ผันผวน ตามกรรม

   งาน มาก่อน เงิน  หรือ เงิน มาก่อน งาน

   งาน มา ไม่ทำ เงินก็ไม่ไ้ด้่

   เงิน มา แต่ไม่มีผลงาน ก็ไม่ได้

  ถ้าจะมองแบบ business แล้ว

  หวาน ว่าแยกกันไม่ออก หรอก ว่า ศีล มาก่อน ปัญญา

   หรือ ปัญญา มาก่อน ศีล

   หรือ สมาธ มาก่อน ปัญญา เป็นต้น

  เพราะ ศีล สมาธิ และ ปัญญา เป็นสิ่งที่นับเนื่องกันใช่ ไหม คะ ( คุณปุ้ม )

 :25: :25: :25:

 :s_hi: ใช่ครับคุณหวาน

คุณหวานหายไปนาน น่ามีจะเรื่องเล่าเด็ดๆ

ให้สมาชิกอ่านบ้างนะครับ ;) ;) ;)


 :49: :bedtime2: :58: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สมาธิ กับ ปัญญา อะไร ควรจะมาก่อนคะ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 10:34:31 am »
0


ขอนำส่วนหนึ่งของบทความในหนังสือ “วิธีสร้างบุญบารมี”

พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19 วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

มาแสดงเพื่อเสริมความเข้าใจ และให้เห็นถึง

ความสัมพันธ์ระหว่าง “ปัญญาและสมาธิ” ดังนี้ครับ



สมาธิ ย่อมมีกรรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์ ซึ่งผู้บำเพ็ญอาจจะใช้กรรมฐานบทใดบทหนี่ง

ตามแต่ที่ถูกแก่จริตนิสัยของตนก็ย่อมได้

ส่วนวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวคือ มีขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ เรียกสั้นๆว่า

มีแต่รูปกับนามเท่านั้นเอง ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา และวิญญาณ

ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสภาวธรรมหรือสังขารธรรมเกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเช่นนั้นไม่ได้ และไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแต่อย่างใด

อารมณ์ของวิปัสสนานั้น เป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญหาเหตุและผลในสังขารธรรมทั้งหลายจนรู้แจ้งเห็นจริงว่าเป็น พระไตรลักษณ์ คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา

และเมื่อใดที่จิตยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาจริง เรียกว่าจิตตกระแสธรรมตัด กิเลสได้

ปัญญาที่จะเห็นสภาพความเป็นจริงดังกล่าว ไม่ใช่แต่เพียงปัญญาที่จะนึกคิดและคาดหมายเอาเท่านั้น แต่ย่อมมีตาวิเศษหรือตาใน ที่พระท่านเรียกว่า "ญาณทัสสนะ" เห็นเป็นเช่นนั้นจริง ๆ ซึ่งจิตที่ได้ผ่านการอบรมสมาธิมาจนมีกำลังดีแล้ว ย่อมมีพลังให้เกิดญาณทัสสนะหรือปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวได้ เรียกกันว่า "สมาธิอบรมปัญญา" คือสมาธิทำให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น

และเมื่อวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นแล้ว ย่อมถ่ายถอนกิเลสให้เบาบางลง จิตก็ย่อมจะเบาและใสสะอาดบางจากกิเลสทั้งหลายไปตามลำดับ สมาธิจิตก็จะยิ่งก้าวหน้าและตั้งมั่นมากยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก เรียกว่า "ปัญญาอบรมสมาธิ"

ฉะนั้นทั้งสมาธิและวิปัสสนา จึงเป็นทั้งเหตุและผลของกันและกันและอุปการะซึ่งกันและกันจะมีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นโดยขาดกำลังสมาธิสนับสนุนมิได้เลย

อย่างน้อยที่สุดก็จะต้องใช้กำลังของขณิกสมาธิเป็นบาทฐาน

ในระยะแรกเริ่ม สมาธิจึงเปรียบเสมือนกับหินลับมีด
ส่วนวิปัสสนานั้นเหมือนกับมีดที่ได้ลับกับหินคมดีแล้ว


ก็ย่อมมีอำนาจถากถางตัดฟันบรรดากิเลสทั้งหลายให้ขาดและพังลงได้ อันสังขารธรรมทั้งหลายนั้นล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวเราของเราแต่อย่างใด

ทุกสรรพสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นแค่ดิน น้ำ ลม และไฟ มาประชุมรวมกันชั่วคราวตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น ในเมื่อจิตได้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้แล้ว จิตก็จะละคลายจากอุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น


โดยคลายกำหนัดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุขทั้งหลาย ความโลภ ความโกรธ และความหลงก็เบาบางลงไปตามลำดับปัญญาญาณจนหมดสิ้นจากกิเลสทั้งมวล บรรลุซึ่งพระอรหัตผลต่อไป

ฉะนั้น การที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามทำสมาธิให้ได้เสียก่อน หากทำสมาธิยังไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่จะเกิดวิปัสสนาปัญญาขึ้น

สมาธิจึงเป็นเพียงบันไดขั้นต้น ที่ก้าวไปสู่การเจริญวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น

ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า
"ผู้ใดแม้จะทำสมาธิจิตเป็นฌานได้นานถึง ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อม ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงทีว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม"

ดังนี้ จะเห็นได้ว่าวิปัสสนานั้น เป็นสุดยอดของการสร้างบารมีโดยแท้จริง และการกระทำก็ไม่เหนื่อยยากลำบาก ไม้ต้องแบกหาม ไม่ต้องลงทุนหรือเสียทรัพย์แต่อย่างใด
แต่ก็ได้กำไรมากที่สุด

เมื่อเปรียบเทียบกับการให้ทานเหมือนกับกรวดและทราย

ก็เปรียบวิปัสสนาได้กับเพชรน้ำเอก

ซึ่งทานย่อมไม่มีทางที่จะเทียบกับศีล

ศีลก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับสมาธิ

และสมาธิก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับวิปัสสนา


แต่ตราบใดที่เราท่านทั้งหลายยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็ต้องเก็บเล็กผสมน้อย โดยทำทุกๆทางเพื่อความไม่ประมาท โดยทำทั้งทาน ศีล และภาวนา สุดแล้วแต่โอกาสจะอำนวยให้ จะถือว่าการเจริญวิปัสสนาภาวนานั้นลงทุนน้อยที่สุด

แต่ได้กำไรมากที่สุด ก็เลยทำแต่วิปัสสนาอย่างเดียว
โดยไม่ยอมลงทุนทำบุญให้ทานใดๆไว้เลย

เมื่อเกิดชาติหน้าเพราะเหตุที่ยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็เลยมีแต่ปัญญาอย่างเดียวไม่มีจะกินจะใช้ ก็เห็นจะเจริญวิปัสสนาให้ถึงฝั่งพระนิพพานไปไม่ได้เหมือนกัน


อนึ่ง พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาไว้ว่า
"ผู้ใดมีปัญญาพิจารณาจนจิตเห็นความจริงว่า ร่างกายนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน คน สัตว์ แม้จะนานเพียงชั่วช้างยกหูขึ้นกระดิก ก็ยังดีเสียกว่าผู้ที่มีอายุยืนนานถึง ๑๐๐ ปี แต่ไม่มีปัญญาเห็นความจริงดังกล่าว"

กล่าวคือ แม้ว่าอายุของผู้นั้นจะยืนยาวมานานเพียงใด ก็ย่อมโมฆะเสียเปล่าไปชาติหนึ่ง จัดว่าเป็น "โมฆะบุรุษ" คือบุรุษที่สูญเปล่า
 

ขอให้ธรรมคุ้มครอง
 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ