ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การทานอาหารปัจจเวกขณ ของพระสงฆ์ จะดับกิเลสได้จริงหรือ  (อ่าน 8287 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
ได้ไปปฏิบัติธรรม อุโบสถ กับคุณย่า

เห็นพระทานให้ว่า ปัจจเวกขณ บท ปะฏิสังขาโย เสร็จแล้วท่าน ก็เลือกถาด หยิบ นั่น หยิบ นี่ จากถาด

   กลุ่มนี้มองเห็นเลยว่า ปัจจเวกขณ เป็นวิธี

  อีกกลุ่มหนึ่ง ท่าน ก็หยิบเหมือนกัน แต่ฉันในบาตร คลุกเคล้า กันบ้าง หรือ ไม่บ้าง

  เท่าที่มองดูอยู่ การปัจจเวก ของพระ ท่านทำถูกต้อง หรือป่าวคะ

อีกอย่าง การปัจจเวก จริง ๆ ควรทำอย่างไร

ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ หมวดที่เรียก อาหาเรปฎิกูลสัญญา นั้น เห็นมีแต่ให้พิจารณา ว่าเป็นของสะอาด
ครั้นมาถูก กับกายเรา ล้วนเป็นปฏิกูล

ดังนั้น สำหรับ ดิฉัน เห็นว่า การทานอาหาร ปัจจเวก แท้ ๆ นั้น หมายถึงการพิจารณาอาหาร เป็นปฏิกูล เราทานเพียงเพื่อจะยัง ชีวิตให้อยู่ ตามอัตภาพ จะคลุก หรือ ไม่คลุก นั้น ไม่น่าเกี่ยว

เพราะโดยธรรมชาติ ลิ้น เรา ย่อมรู้รส อร่อย ไม่อร่อย เีพียงตั้งสติ ยังใจไม่ให้ ยินดี หรือ ยินร้าย

ให้ทานแต่สิ่งที่มีประโยชน์ แก่ร่างกาย อะไรไม่มีประโยชน์ ก็ไม่ทาน อะไรเป็นข้อห้ามก็ไม่บริโภค


การดำเนินปัจจเวก น่าจะเป็นอย่างนี้ ใช่หรือป่าวคะ

 :25:
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
เห็นพระอาจารย์ อ้วน ๆ ๆ ถ้ามองผิวเผิน แล้วพระอาจารย์ น่าจะเป็นพระทานจุ หรือ ไม่ก็บริโภค อาหารดี ๆ แน่

ลูกศิษย์ ดูแลดี หรือว่า พระอาจารย์ ดูแลตนเองดี

นอกเรื่องปัจจเวก เพราะ มีพระท่านเทศนากล่าวว่า พระที่ทำการปัจจเวกขณ ในอาหารนั้นไม่อ้วน ไม่ผอม หุ่นดี พึ่งฟังธรรมไปเมื่อวานนี้เองคะ เพื่อนสมาชิก เห็นด้วยหรือป่าวคะ

คนที่อ้วน ๆๆๆ นั้น ปฏิบัติ สมาธิ ไม่ได้ เป็นพระที่ติดสุข ไม่ใช่ผู้เจริญด้วยปัญญา

แหมฟังแล้ว ทำให้นึกถึง พระอาจารย์ เลย

 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
คนที่อ้วน ๆๆๆ นั้น ปฏิบัติ สมาธิ ไม่ได้ เป็นพระที่ติดสุข ไม่ใช่ผู้เจริญด้วยปัญญา

 :smiley_confused1: >:(

 :03: :03:

มีคนอ้วน ๆ ที่ปฏิบัติสมาธิ ได้น้อยจริง ๆ ครับ เท่าที่ผมพบ
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

chatchay

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 244
  • เกิดเป็นคนต้องมีดี บวชทั้งทีต้องสร้างดีให้กับตน
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผู้่ปฏิบัีติ ธรรม ควรมีหุ่น ที่ดีเหมือน นายแบบ ใช่หรือป่าวครับ

หรือว่าต้องผอม เพราะทานน้อย

 ทั้งเด็ก ทั้งคนพาล และบัณฑิต ล้วนมีที่สุด คือความตาย เสมอกัน

 บัณฑิต ก็ดี ราชา ก็ดี สมณะ ก็ดี จะดี จะเลว ไม่ได้เกิด จาก ชาติตระกููล

 เราจักกล่าวว่าเป็นพระอริยะ เพราะกำเนิด ก็มิใช่ เพราะรูปร่าง ก็มิใช่ เพราะการศึกษา ก็มิใช่

 แต่ พระอริยะ เป็นได้ด้วยการเจริญ อริยะมรรค ทีใดมีอริยะมรรค ที่นั้นไม่ว่างจากพระอรหันต์




  ดังนั้น ผู้ที่กล่าวเยี่ยงนี้ นั้นย่อมไม่เข้าใจ การภาวนาธรรม

  พระอรหันต์ อ้วน ครั้งพุทธกาล ก็มีหลายองค์

  พระอรหันต์ ที่เตี้ย เหมือน เด็ก ก็มี

  พระอรหันต์ ตาบอด ก็มี

ช่วยเสริมให้ผมหน่อยนะครับ เพราะผมจำชื่อไม่ได้สักองค์

บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
โทษอันใดที่ข้าพเจ้าล่วงเกินแล้วต่อพระรัตนตรัย ด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ขอพระรัตนตรัย โปรดจงงดซึ่งโทษล่วงเกินนั้นแก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ด้วยเทอญ

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
ยังไม่กระจ่าง กับคำถาม คะ

  การทานอาหารปัจจเวกขณ ของพระสงฆ์ จะดับกิเลสได้จริงหรือ ?

ขอช่วยอธิบายอีกนิด คะ
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ปัจจเวกขณะ คืออะไร
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 15, 2010, 03:45:24 pm »
0
ยังไม่กระจ่าง กับคำถาม คะ

  การทานอาหารปัจจเวกขณ ของพระสงฆ์ จะดับกิเลสได้จริงหรือ ?

ขอช่วยอธิบายอีกนิด คะ


ขออนุญาติอธิบาย"คำตอบ" จะไม่อธิบาย"คำถาม" สงสัยพิมพ์ผิด อ่านแล้ว"งง"




ปัจจัยปัจจเวกขณะ การพิจารณาปัจจัย, พิจารณาก่อนจึงบริโภคปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช ไม่บริโภคด้วยตัณหา (ข้อ ๔ ในปาริสุทธิศีล ๔)

ปาริสุทธิศีล ศีลเป็นเครื่องทำให้บริสุทธิ์, ศีลเป็นเหตุให้บริสุทธิ์ หรือความประพฤติบริสุทธิที่จัดเป็นศีลมี ๔ อย่าง คือ
 
๑.ปาฏิโมกขสังวรศีล สำรวมในพระปาฏิโมกข์

๒.อินทรีย์สังวรศีล สำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

๓.อาชีวปาริสุทธิศีล เลี้ยงชีพโดยทางที่ชอบธรรม

๔.ปัจจัยสันนิสิตศีล พิจารณาก่อนจึงบริโภคปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช


ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน, ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวนตรวจตรามรรคผล กิเลสที่ยังเหลืออยู่ และนิพพาน

(เว้นพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่);

ญาณนี้เกิดแก่ผู้บรรลุมรรคผลแล้ว คือ ภายหลังจากผลญาณ; ดู ญาณ ๑๖

ที่มา  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ป.อ.ปยุตโต)



คุณฟ้าใสครับ ปัจจเวกขณ หมายถึง การพิจารณาทบทวน เท่าที่ค้นดูไม่ได้ใช้กับอาหาร

แต่คุณฟ้าใสนำมาใช้กับอาหาร  การพิจารณาอาหารเป็นอารมณ์

มีอยู่แล้วในกรรมฐาน ๔๐ กอง คือ "อาหาเรปฏิกูลสัญญา"

ต่อไปผมจะใช้คำนี้นะครับ




อธิบาย อาหาเรปฏิกูลสัญญา
  อาหาเรปฏิกูลสัญญา คือ ความสำคัญหมายว่า ไม่สะอาดในอาหาร แปลว่า สภาพผู้นำมา อาหารมี ๔ อย่าง

   ๑.กวฬิงการาหาร ย่อมนำมาซึ่งโอชาในรสอาหาร
   ๒.ผัสสาหาร ย่อมนำเวทนามา มี สุข เป็นต้น
   ๓.มโนสัญเจตนาหาร ย่อมนำปฏิสนธิ ในภพ ๓ มา
   ๔.วิญญาณาหาร ย่อมนำอายตนะภายนอก ๖ มา


   อาหาร ๔ อย่างภัยย่อมนำมา มี กวฬิงการาหาร ภัยคือ ความเข้าไปหา ย่อมมีเพราะผัสสาหาร คือการเข้าถึง ย่อมมีในมโนสัญเจตนาหาร ภัย คือ ปฏิสนธิ ย่อมมีในวิญญาณาหาร ในอาหารทั้งหลายมีภัยจำเพาะ จึงควรสอนตนด้วยพุทโธวาท กวฬิงการาหาร เปรียบด้วยเนื้อบุตร ผัสสาหาร เปรียบด้วยโคถลกหนัง มโนสัญเจตนาหาร เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง วิญญาณาหาร เปรียบด้วยหอกหลาว

   ในอาหาร ๔ นี้หมายเอา กวฬิงการาหาร อาหารเป็นคำๆถือเอาที่ปฏิกูลในอาหาร ความปฏิกูลในกพฬิงการาหาร แยกเป็น ของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้ม โดยอาการ ๑๐ คือ โดยการเดินไป-โดยการแสวงหา-โดยการบริโภค-โดยการผสมกลืนไป-โดยการพักในกระเพาะอาหาร-โดยยังไม่ย่อย- โดยผล –โดยการไหลออก- โดยความเปรอะเปื้อน

   ๑.ปฏิกูลโดยการเดินไป(คมนโต) พระโยคาวจรพิจารณาเห็นปฏิกูลเมื่อถือบาตรและจีวรเดินไปในที่ชนไม่เบียดเสียด มุ่งสู่หมู่บ้านเพื่อต้องการอาหาร ดังสุนัขจิ้งจอกมุ่งหน้าสู่ป่าช้า ต้องเจอปฏิกูลด้วยปัสสาวะ อุจจาระ น้ำลาย น้ำมูก ซากสุนัข ซากโค ซากงู ส่งกลิ่นเหม็นมากระทบจมูก

   ๒.ปฏิกูลโดยการแสวงหา(ปริเยสนโต) ต้องถือบาตรด้วยมือข้างหนึ่ง ยกจีวรด้วยมือข้างหนึ่ง ถึงประตูเรือน ต้องย่ำ หลุมโสโครก แอ่งน้ำครำ มูลสุนัข มูลสุกร พระโยคาวจรพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า โอ ปฏิกูลจริงหนอ


   ๓.ปฏิกูลโดยการบริโภค(ปริโภคโต) เธอหย่อนมือลงขยำอาหารอยู่ เหงื่อออกตามนิ้วทั้งห้า บิณฑบาตนั้นเสียความงาม โขลกด้วยสาก คือ ฟัน พลิกไปด้วยลิ้น ราวกะข้าวในรางสุนัข ของดีกลับกลายเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดอย่างยิ่ง

   ๔.ปฏิกูลโดยอาสยะ(อาสยะโต) พิจารณาว่าอาหารที่ได้บริโภคเข้าไปแล้วนี้ มีอาโปอยู่ในลำไส้ออกมาผสมที่กลืนลงไปในลำไส้ เมื่อกำลังเข้าไปในลำไส้ ย่อมเปรอะเปื้อนด้วยน้ำดี เสมหะ หนอง เสลด โลหิต เหมือนยางมะซางข้นๆน่าเกลียดยิ่งนัก

   ๕.ปฏิกูลโดยพักอยู่ในกระเพาะอาหาร(นิธานโต) อาหารที่กลืนเข้าไปเปื้อนด้วยน้ำดี เสมหะ หนอง เลือด เข้าไปพักอยู่ในกระเพาะเช่นหลุมคูถ อุจจาระ อันไม่ได้ล้างมา ๑๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง

   ๖.ปฏิกูลโดยยังไม่ย่อย(อปริปักโต) อาหารที่กลืนลงไปวันนั้น วันนี้บ้าง วันก่อนบ้าง อันฝ้าและเสมหะปิดคลุมไว้ เป็นฟอง เป็นต่อม ระอุสันดาปในร่างกายอบเอา มืดมิดตลบด้วยกลิ่นซากสัตว์ดังป่าช้าส่งกลิ่นน่าเกลียดปฏิกูล

   ๗.ปฏิกูลโดยย่อยแล้ว (ปริปักโต) อาหารเป็นสิ่งย่อยแล้วในร่างกายด้วยไฟธาตุ กลายเป็นอุจจาระ เหมือนดินสีเหลืองที่เขาบดเข้าบรรจุไว้ในกระบอก กลายเป็นมูตรไป

   ๘.ปฏิกูลโดยผล(ผลโต) อาหารย่อยดีแล้วจึงผลิตซากต่างๆ มีขน ผม เล็บ ฟัน เป็นต้น ถ้าย่อยไม่ดีก่อโรค ๑๐๐ ชนิด เช่น เรื้อน กลาก หืด ไอ เป็นต้น นี่ผลมัน

   ๙.ปฏิกูลโดยการไหลออก (นิสสันทโต) อาหารเมื่อกลืนลงไปในช่องเดียว ไหลออกหลายช่อง เช่น ขี้หู ขี้ตา อุจจาระ ปัสสาวะเมื่อออกมาส่งกลิ่นเหม็นน่าเกลียด

   ๑๐.ปฏิกูลโดยความเปลื้อน(สัมมักขนโต) อาหารเมื่อกินก็เปื้อนมือ ปาก เพดานปาก เป็นปฏิกูลเพราะถูกอาหาร เมื่อออกก็เปื้อนทวาร มี ช่องหู ช่องตา ช่องจมูก ช่องทวารหนัก ช่องทวารเบา ทวารเหล่านี้ก็เปื้อน


อาหาเรปฏิกูลสัญญาฌาน
              เมื่อเจริญกวฬิงการาหารย่อมปรากฏเป็นปฏิกูล เมื่อเจริญมากๆทำให้มากซึ่งนิมิต นิวรณธรรมทั้งหลายย่อมระงับ จิตตั้งมั่นเป็นอุปจารสมาธิไม่ถึงอัปปนาสมาธิ เพราะ กวฬิงการาหารเป็น สภาพลึก

อานิสงส์แห่งอาหาเรปฏิกูลสัญญา

             ภิกษุประกอบเนืองๆซึ่ง กวฬิงการาหารสัญญานี้ จิตย่อมถอย ย่อมหด จากรสตัณหา ปราศจากความมัวเมาในการกินอาหาร เธอจะกำหนดรูปขันธ์ได้โดย ความกำหนดรู้เบญจกามคุณ

คู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) 
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ) กรุงเทพฯ
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร  รวบรวม เรียบเรียง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 15, 2010, 04:06:50 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 15, 2010, 03:57:04 pm »
0
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
 
   สำหรับวันนี้มาศึกษากันต่อ วันที่แล้วมาได้พูดเรื่องกสิน ๑๐ โดยย่อพอที่ท่านทั้งหลายเข้าใจ วันนี้ขอพูดกรรมฐานวิเศษเฉพาะอย่างคืออาหารเรปฏิกูลสัญญา สำหรับอาหาเรปฏิกูลสัญญานี่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ เพื่อประโยชน์แก่ท่านที่มีจริตเป็นพุทธจริตคือคนฉลาด

   ขณะใดที่เรามีอารมณ์ฉลาด คำว่าฉลาดในที่นี้ก็มีความไม่หวั่นไหวในความเสื่อมไปของขันธ์ห้า หรือว่าความตายเป็นที่สุด มีอารมณ์ปลอดโปร่งมีความเฉลียวฉลาด มีความคิดว่องไว ตัดสินใจได้ถูกต้องได้โดยง่าย อย่างนี้เรียกว่าพุทธจริต หมายความว่า ขณะนั้นจิตของเราท่องเที่ยวไปในเขตของความฉลาดคือความเป็นผู้รู้

   สำหรับพุทธจริตหรือจริตต่างๆ ก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงคิดว่ามันมีอยู่กันทุกๆ คน มีอยู่ประจำทั้งหมดเว้นไว้แต่เวลาไหนจะมีจริตอะไร อารมณ์อย่างใดจะเกิดกับใจเท่านั้น อย่างคนที่มีโมหจริตและวิตกจริตที่เราเรียกว่าคนโง่ ความจริงความโง่ของคนไม่ได้มีตลอดชีวิต ในบางจังหวะก็มีความฉลาดเหมือนกัน

ในขณะใดจิตใจเราตกอยู่ในความโง่ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ไม่สามารถจะพิจารณาอะไรให้ลุล่วงไปได้ มันก็เป็นไปชั่วขณะหนึ่ง ในบางขณะความฉลาดมันก็เกิด ความฉลาดเกิดก็เรียกพุทธจริต

จิตท่องเที่ยวไปในอารมณ์ของความรู้ บางขณะจิตของเราก็มีอารมณ์หมกมุ่นในอารมณ์ของความโกรธความพยาบาทเรียกว่าโทสจริต

ในบางขณะจิตที่เราตกอยู่ในสภาวะที่รักสวยรักงาม ขณะนั้นเรียกว่าราคจริต  ในบางครั้งบางคราวอารมณ์ของเรากลายเป็นคนเชื่อง่ายไม่ได้พิจารณาเหตุผล ขณะนั้นเราเรียกกันว่า สัทธาจริต
   
คำว่าจริตคืออาการเที่ยวไปของจิตมันมีอาการอยู่ ๖ อย่างด้วยกัน
ขณะใดที่มีจิตผ่องใสใจรู้สึกว่ามีความรู้มีความคิดเฉลียวฉลาดมีเหตุมีผลพิจารณาตามพระธรรม
   
คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็มีความเข้าใจง่าย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความเชื่อชัดว่าองค์สมเด็จพระบรมทรงสวัสดิโสภาคย์กล่าวว่า
   
    ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์ เรามองเห็นความทุกข์ของความเกิดตามที่กล่าวมาแล้ว

   
   ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ ได้เห็นความแก่ที่เต็มไปด้วยความยาก คือทำอะไรไม่คล่องแคล่วตามความประสงค์
   
   มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ เพราะก่อนที่จะตายมีความทุกข์และอย่างหนัก
   
    โสกปริเทวทุกขโทมนัส สุปายาส ความเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ หรือความพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์

   
    นี่พระพุทธเจ้าทรงกล่าวอย่างนี้ แล้วในขณะนั้นปัญญาของเราก็เกิด พิจารณาคำสอนของพระพุทธเจ้าเห็นว่าเป็นทุกข์จริง เห็นด้วยกับพระพุทธเจ้าด้วยอำนาจของปัญญาพิจารณา ไม่ใช่น้อมใจเชื่อ อย่างนี้เรียกว่าพุทธจริต

   เมื่อขณะที่จิตของเรามีความเปรื่องปราดมีความฉลาดเกิดขึ้น ในช่วงนั้นก็ให้บรรดาทุกท่านใช้อาหาเรในกรรมฐาน ๔ อย่างที่เหมาะกับพุทธจริตมีอาหาเรปฏิกูล มรณัสสติกรรมฐาน จตุธาตุววัฏฐานสี่ และอุปสมานุสสติคือนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งเข้ามาใช้ทันที จะได้รับรองเอาความดีของจิตที่มีความฉลาด
   
    เฉพาะวันนี้จะพูดเรื่องอาหาเรปฏิกูลสัญญาที่เราหมายถึง คนฉลาดจะมองเห็นง่าย การพิจารณาอาหารที่เราบริโภคเข้าไปเราหาความจริงของอาหารว่า มันเกิดมาจากมูลธาตุที่มีความสะอาดหรือว่าสกปรก การกินอาหารของพระ ถ้าหากว่าขาดอาหาร อยู่ๆ ได้กับข้าวมาได้ข้าวมา ได้ขนมมา ก็จ้วงดะ มีหวังลงนรกแน่นอน

      ถ้าฆราวาสทำไม่ลงนรกแต่ถือว่าตกอยู่ในความประมาท ถ้าติดในรสอาหารก็จัดว่าเป็นกิเลสอย่างหนัก ในขณะใดที่จิตใจยังติดอยู่ในรสอาหารว่าอร่อย  อย่างโน้นอร่อย อย่างนี้อร่อย อย่างนี้ไม่อร่อย อย่างโน้นไม่อร่อย อย่างนี้แสดงว่าเรายังไม่สามารถจะข้ามอบายภูมิไปได้ เพราะจิตมันยังเศร้าหมอง

       ถ้าขณะใดที่มีอาหารไม่เป็นที่ถูกใจเรา ใจไม่สบาย พระพุทธเจ้าตรัสว่าขณะใดที่จิตเศร้าหมองตายแล้วก็ไปอบายภูมิ

   อันนี้อาหารทำไมจึงไม่มีรส เพราะรสของอาหารไม่มีอะไรแน่นอน

        ความอร่อยของรสมันอยู่ที่ปลายลิ้นกับกลางลิ้นพอถึงโคนลิ้นเราก็หมดรสไม่มีความรู้สึกในรส ประสาทสำหรับรับสัมผัสแห่งการรับรู้รสไม่มี ถ้าของนี่มีรสอร่อยหรือรสไม่อร่อย เรากินแล้วมันไม่ได้อิ่มตลอดกาลตลอดสมัย กินแล้วเดี๋ยวก็หิวใหม่
 
        อาหารประเภทไหนก็ตามกินแล้วก็แก่ กินแล้วก็ตายเหมือนกัน เราจะมัวไปหลงในรสอาหารกันเพื่อประโยชน์อะไร ทำให้จิตใจมัวหมอง ถือว่าอาหารประเภทใดที่จะยังอัตภาพให้เป็นไปได้ เราก็กินได้ กินเพื่อทรงอัตภาพให้เป็นอยู่ เพราะว่ามันยังไม่ตาย นี่เป็นจุดหนึ่งในเรื่องอาหารที่เราควรจะระมัดระวัง

   ทุกคนก็ควรจะพิจารณาตัวเองว่าเรื่องอาหารนี้ เราพอจะละมันได้หรือยัง ยังติดในรสอย่างนั้น ติดในรสอย่างนี้เกินสมควร ถ้าไม่มีแล้วกินไม่ได้ ถ้าไม่มีแล้วทนไม่ไหว ต้องแสวงหามาให้ได้เพราะติดในรสนั้นๆ การติดในรสอาหารเป็นของไม่ดีทำให้จิตไม่บริสุทธิ์ จิตเศร้า เป็นเหตุให้ถึงอบายภูมิ

   มาในเรื่องตัวของอาหารอีกก็มานั่งดูซิมีชนิดพืชพรรณธัญญาหารที่เรากินเข้าไป มันเกิดมาจากความสะอาดหรือความสกปรก เนื้อสัตว์ทุกชนิดที่เรากินเข้าไปมันเกิดมาจากความสะอาดหรือความสกปรก พระพุทธเจ้าทรงบอกว่าอาหาเรปฏิกูลสัญญา คำว่าปฏิกูลแปลว่า สกปรกโสโครกนั่นเอง มันเป็นความสกปรก

   มานั่งนึกดูว่าสัตว์แต่ละประเภทมันสะอาดตรงไหนบ้าง มีกลิ่นคาวเต็มไปหมด มีน้ำเลือดน้ำเหลืองน้ำหนอง มีอุจจาระ ปัสสาวะ แสดงว่าร่างกายของสัตว์ทุกประเภทที่เราโปรดปรานมันก็คือสภาพแห่งความสกปรกนั่นเอง

        พืชพรรณธัญญาหารที่มันจะมีความงอกงามความเจริญ ก่อนที่จะมาเป็นอาหารของเราได้ ปุ๋ยที่มันดูดเข้าไปจากลำต้นของมันนั้น มันมาจากความสะอาดหรือความสกปรก เราก็จะเห็นได้ว่าทั้ง ๒ ประการนี้ ทั้งสัตว์ก็ดี พืชพรรณธัญญาหารก็ดีมันเป็นพื้นฐานของความสกปรก

   เวลาที่เรามาปรุงอาหาร พยายามปรุงแบบนั้น พยายามปรุงแบบนี้ เข้าใจว่ามันดี เวลาทำคิดว่าสะอาดที่สุด แต่มันสะอาดจริง ตามเราพูดหรือเปล่า ถ้ามันสะอาดจริงๆ เวลากินเข้าไปแล้วอิ่มแล้วไ ม่ต้องล้างปากไม่ต้องล้างคอไม่ต้องล้างมือ ที่เราต้องล้างต้องบ้วนปากเพราะอะไร เพราะมันเหม็นคาวเกิดความรังเกียจในกลิ่นอาหาร เดิมมันมีพื้นฐานแห่งความสกปรกอยู่แล้ว เวลากินก็ปรากฏความสกปรกขึ้นมาอีก

   เมื่อบริโภคอาหารเข้าไป อาหารเข้าไปอยู่ในร่างกายของเรา เราก็คิดว่ามันมีประโยชน์ แต่ว่ากากที่เราถ่ายออกมาแล้ว  เราก็รังเกียจหนัก เพราะถือว่าเป็นอุจจาระเป็นของสกปรกอย่างยิ่ง เนื้อแท้จริงๆ ก็ของที่เรากินเข้าไปที่เลือกแล้วเลือกอีกนั่นเอง ที่เราถือว่ามันสะอาด เราจึงได้กิน เราถือว่าเป็นของที่มีรสอร่อยเป็นที่ชอบใจของเรา เราจึงได้กิน เมื่อของมันดีจริงๆ เวลาถ่ายมา แล้วทำไมจึงไม่กลับกินเข้าไปอีก
 
   เราจะเห็นได้ชัดว่า อาหารนั้นเป็นพื้นฐานของความสกปรก และมันก็สกปรกแน่นอน เมื่ออาหารนั้นมันสกปรกแล้ว เวลาที่เรากินเข้าไป มันเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกายเป็นน้ำเลือดน้ำเหลืองน้ำหนอง เป็นเครื่องบำรุงบำเรอร่างกายของเราให้มีความอุดมสมบูรณ์บริบูรณ์ และเราก็นั่งดูว่าเราใช้ของสกปรกเข้าไปบำรุงร่างกาย และร่างกายของเราจะสะอาดหรือมันจะสกปรก นั่งพิจารณาหาความจริงกัน ใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา

      ในเมื่อร่างกายของเรามีพื้นฐานมาจากความสกปรกแล้วเราจะมาหลงใหลใฝ่ฝันร่างกายของเรา ร่างกายของบุคคลอื่นว่ามันเป็นของวิเศษด้วยเหตุอันใด ที่เรามีอารมณ์อย่างนั้น ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นความโง่จะมีอะไรมากล่าวอ้าง เพราะการขาดใช้ปัญญาพิจารณาหาความเป็นจริง

     จึงได้มีความหลงใหลใฝ่ฝันเพ้อฝันในร่างกายของตนและร่างกายของบุคคลอื่นว่าเป็นของสะอาด เป็นของสวยสดงดงาม เป็นของน่ารัก น่าปรารถนา น่าประคับประคอง ความรู้สึกอย่างนี้มาจากไหน ถ้าไม่มาจากความโง่แล้วมันจะมาจากไหน เพราะมันฝืนกฎของความเป็นจริง

   ในเมื่อเราพิจารณาเป็นอาหาเรปฏิกูลสัญญา แล้วเราก็มามองดูขันธ์ห้า คือร่างกายของเรา ถ้าร่างกายของเรามาจากพื้นฐานของความสกปรกมีอาหารเป็นที่ตั้ง พระพุทธเจ้ากล่าวว่า สัพเพ สัตตา อาหารัฏฐิติกา สัตว์ทั้งหลายยังทรงชีวิตอยู่ได้ก็เพราะอาหาร อาหารทุกอย่างมันสกปรก ก่อนจะกิน

      ก่อนจะบริโภคก่อนจะฉันนึกหาความจริงเสียก่อน ต้องพิจารณาเสียก่อนเสมอไป พระไม่ใช่ฆราวาส เณรไม่ใช่ฆราวาส พระเณรเป็นปูชนียบุคคล ถ้าทำใจทำกริยาของเราเท่ากับคนธรรมดาหรือฆราวาสก็แสดงว่าเราลงนรกแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหาเรปฏิกูลสัญญาพระพุทธเจ้าทรงย้ำไว้มาก

   ท่านกล่าวว่า การบริโภคอาหาร ถ้าเราไม่พิจารณาเสียก่อน เมาในรสอาหาร เมาในกลิ่นของอาหาร เมาในสีของอาหาร ถ้ามีความเมาๆ แบบนี้ ท่านบอกว่ากินก้อนเหล็กแดงดีกว่า ก้อนเหล็กที่เขาเผาแดงจนลุกโชน เรากินไปถึงปากปากพัง ถึงคอก็คอพัง ถึงอกก็อกพัง ถึงท้องก็ท้องพัง มันร้อนเราก็ตาย พอตายแล้วเราก็เลิกร้อน


ถ้าพระที่ฉันอาหารโดยไม่ได้พิจารณาเป็นอาหาเรปฏิกูลสัญญาตายแล้วต้องตกนรก มันร้อนนานแสนนาน นี่จำไว้ให้ดี ในการพิจารณาเป็นอาหาเรปฏิกูลสัญญา มีประโยชน์อะไรบ้าง

   ในด้านสมถภาวนา ก็เป็นอสุภสัญญาพิจารณาว่าอาหารเป็นของน่าเกลียด โสโครกเมื่อเข้าไปในร่างกาย ร่างกายก็เป็นของน่าเกลียด โสโครก เป็นของที่ไม่น่ารัก ความจริงเรารู้อยู่แล้วตั้งแต่กายคตาสติ ว่าร่างกายของเรามันดีอยู่แค่ผิวหนัง ผิวหนังจริงๆ มันก็ไม่ดี เข้าไปมันมีแต่ความสกปรก ผิวหนังนี้ถ้าเราไม่ชำระล้าง ถ้าไม่อาบน้ำอาบท่า ไม่เอาเครื่องประทินผิวมาชำระล้างร่างของเรา ร่างกายหนังมันก็สกปรกดีเหมือนกัน


      ฉะนั้นเมื่อเราใช้อาหารเป็นเครื่องบริโภค อาหารมันสกปรก ร่างกายของเรา ร่างกายของบุคคลอื่น ใครเล่าจะเป็นคนที่มีร่างกายสะอาด นี่เราก็จะมองเห็นได้ว่าร่างกายของเราไม่สะอาด มันเป็นร่างกายที่มีความสกปรกเต็มไปด้วยความน่ารังเกียจ ในเมื่อรู้ว่าร่างกายของเราน่ารังเกียจสกปรกเราก็เห็นว่าร่างกายของคนอื่นน่ารังเกียจ มันเป็นของสกปรกเหมือนกัน

เพราะร่างกายของเราโดยมากเราจะไม่ค่อยเห็น ไปเห็นของคนอื่นมากกว่าเหมือนกับหน้าของตนเอง เราไม่ค่อยพิจารณา มองแต่หน้าคนอื่นว่าสวยบ้างไม่สวยบ้าง ขาวบ้าง ดำบ้าง เอิบอิ่มบ้าง เหี่ยวแห้งบ้าง แล้วหน้าของเราอาจจะทรุดโทรมกว่าเขาเราไม่เคยคิด

 
   นี่องค์สมเด็จพระธรรมสามิศร์ทรงมีความรู้ว่าคนเราส่วนมาก มีความประมาทแบบนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์จึงสอนอาหาเรปฏิกูลสัญญาแล้วมาเทียบกับร่างกาย และเมื่อเราเห็นว่าร่างกายเรา ร่างกายของบุคคลอื่นสกปรก กามราคะมันก็ตกลงไป ความปรารถนาในร่างกายของบุคคลอื่น ที่อยากจะได้มาเป็นทรัพย์สินประจำชีวิตของตนมันก็หมดไป ก็มารังเกียจว่ามันสกปรก เพราะเราต้องการความสะอาดเราไม่ต้องการความสกปรก

    ในเมื่อเห็นว่าร่างกายสกปรกแล้วเราก็มาพิจารณาขันธ์ห้าเป็นวิปัสสนาญาณ ว่าร่างกายของเรานี้นอกจากสกปรกแล้วยังไม่มีการทรงตัว เป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ คือมันขังทุกข์เข้าไว้

    ที่ว่า "ทุกขัง ชาติปิ ทุกขา" ความเกิดแสนลำบาก กว่าจะคลอดจากมารดาได้ ออกมาแล้วก็กระทบความร้อนความหนาว ร่างกายก็แสบไปทั้งกาย มีอาการปวดเมื่อยไปทั้งกาย อาการของความเกิดมันเป็นทุกข์

   ชราปิ ทุกขา ความเข้าไปสู่ความชราภาพมันก็มีทุกข์เป็นขบวน หูฝ้าตาฟางใช้งานไม่สะดวกกำลังร่างกายก็อิดโรยเรี่ยวแรงก็หมดไปทำอะไรไม่สมความปรารถนา นี่พูดกันโดยย่อเสียงแห้งไปไม่ค่อยไหว มาความป่วยไข้ไม่สบายมันก็เป็นอาการของทุกข์ โรคะแปลว่า เสียดแทง

   มรณัมปิ ทุกขัง เวลามันจะตาย ทุกขเวทนามีหนัก มันบีบคั้นจนหนักจนตาย นี่เราจะเห็นได้ว่าการเกิดของร่างกายไม่มีอะไรจะเป็นของดี มันเต็มไปด้วยอาการของความทุกข์

   และมันทุกข์แล้วร่างกายมันเป็นเราหรือเปล่าเป็นของเราหรือเปล่า ความจริงมันก็ไม่ใช่ เป็นของกิเลสตัณหามันเกิดขึ้นแล้วมันก็สลายตัวไป เราจะมานั่งมัวเมาในร่างกายเพื่อประโยชน์อะไร เราจงมาตัดความกระสันในร่างกายเสียโดยยกเอาอาหาเรปฏิกูลสัญญาเป็นพื้นฐานแล้ว

พิจารณาร่างกายของเราว่าพื้นฐานมาจากความสกปรกคืออาหาร ร่างกายมันก็สกปรก สกปรกจนเราจะหาความไม่น่าเกลียดไม่ได้ เต็มไปด้วยความทุกข์มีการสลายตัวไปในที่สุด เรายังต้องการมันอีกหรือ เมื่อพิจารณาตอนนี้ถ้าปัญญามันดีจริงๆ มีปัญญาหลักแหลมก็จะเกิดนิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่ายในร่างกายเกิดขึ้น เพราะว่ามีความสกปรกเป็นพื้นฐาน

   เมื่อนิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่ายเกิดขึ้น เราก็ก้าวเข้าไปสู่สังขารุเบกขาญาณ คือ จับอาหาเรปฏิกูลสัญญาเป็นพื้นฐานเดิม สังขารุเบกขาญาณก็มานั่งนึกว่ามันก็เกิดขึ้นแล้ว สกปรกก็ช่างมัน แต่ว่าเราจะไม่ต้องการความสกปรกต่อไปอีก เวลานี้เราจะยอมทน เราจะยอมปรนปรือร่างกายไว้ ให้ทรงตัว ให้ทุกขเวทนามันมีน้อย แต่พร้อมกันนั้นเราก็ทำใจของเราให้บริสุทธิ์เพื่อตัดความเกิด หนีความเกิดต่อไป

เรื่องความตายไม่ต้องกลัว กลัวความเกิดอย่างเดียวพอ ถ้าเราไม่เกิดเสียแล้วมันจะตายได้อย่างไร ถ้าเราไม่เกิดแล้วความไม่เที่ยงมันจะมาได้อย่างไร เราไม่เกิดแล้วความทุกข์มันจะมาได้อย่างไร ถ้าเราไม่เกิดความป่วยไข้ไม่สบายมันจะมีมาได้อย่างไร สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เราจะป้องกันได้โดยอาศัยความไม่เกิดเป็นสำคัญ เราไม่เกิดเราจะต้องทำอย่างไรบ้าง

   ๑. ตัดโลภะ ความโลภ โดยการให้ทาน
   ๒. ตัดโทสะ ความโกรธ โดยการเจริญพรหมวิหาร ๔
   ๓. ตัดโมหะ ความหลง โดยพิจารณาหาความจริงของร่างกายนี้ ว่ามันมาจากธาตุ ๔ คือ ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ มันไม่ยอมอยู่ภายใต้ในอำนาจของเรา มีเท่านี้ ในเมื่อไม่อยู่ในอำนาจของเรา เราจะไปประคับประคองมันเพื่อประโยขน์อะไร มันไม่เกิดประโยชน์


   สำหรับวันนี้เราพูดกันเพียงเท่านี้ เพราะการเจริญพระกรรมฐานด้านวิปัสสนาญาณ เราพูดกันแล้ว ให้พระทุกองค์ สามเณรทุกองค์ อุบาสกอุบาสิกา ใช้ปัญญาพิจารณาอาหารตามความจริง แล้วจงอย่าเป็นผู้เมาในรสอาหาร จงอย่าเป็นผู้เมาในกลิ่นอาหาร อย่าเป็นผู้เมาในสีสันวรรณะของอาหาร

        จงอย่าหลงใหลใฝ่ฝันว่าอาหาร เป็นของสะอาดอาหารเป็นของประเสริฐความจริงไม่ใช่ของดีอะไร มันเต็มไปด้วยความสกปรก

ถ้าถือว่ามันเลี้ยงร่างกายได้ร่างกายของเรามันก็สกปรก ร่างกายของเรามันก็หาเลวหาความคงที่ไม่ได้ จงพยายามตั้งกำลังใจเสียว่า ขึ้นชื่อว่าอาหารเราจะไม่เมาในรสอาหาร เราจะกินอาหารพอยังอัตภาพให้คงไว้เท่านั้น ไม่ใช่กินเพื่อความสวยสดงดงาม กินเพื่อความอร่อย กินเพื่อให้ผิวพรรณผ่องใส

ถ้าใจต้องการอย่างนี้แล้วถือว่าเราจมลงไปในอบายภูมิเลยหัวแล้ว ยังขึ้นไม่ได้ ยังไม่พ้นอบายภูมิ เพราะมันเป็นโทษอย่างหนัก มีอุปาทานความติดเป็นตัวกิเลสใหญ่

   บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย กาลเวลาที่จะพูดก็เลยมามากแล้ว เสียงก็ไปไม่ไหว ต่อจากนี้ไปขอทุกท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่นกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
 
ที่มา หนังสือการปฏิบัติกรรมฐาน ๔๐ กอง โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อาหาเรปฏิกูลสัญญา(ต่อ)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: สิงหาคม 15, 2010, 04:04:35 pm »
0
อาหาเรปฏิกูลสัญญา

          อาหาเรปฏิกูลสัญญา  แปลว่า  พิจารณาอาหารให้เป็นของน่าเกลียด อาหารถือเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตก็จริง แต่ทว่าอาหารนี้เป็นภัยแก่นักนิยมบำเพ็ญความเพียรเพื่อเผาผลาญกิเลสให้เร่าร้อนไม่น้อยเหมือนกัน ถ้าจะพูดกันให้ตรงแล้ว อาหารนั้นไม่เป็นภัยเลย แต่ความรู้สึกของคนเองสร้างความเป็นภัยให้เกิดแก่ตัว

ทราบกันอยู่เป็นปกติแล้วว่า สัตว์ทุกประเภทต้องการอาหาร แต่ความต้องการอาหารของร่างกายนี้ ร่างกายต้องการเพียงยังอัตภาพให้เป็นอยู่ชั่วคราว ร่างกายมิได้มีความต้องการสีสันของอาหาร มิได้ต้องการรสเลิศของอาหาร  ร่างกายไม่เคยบัญชาว่าต้องการ อาหารที่มีราคาแพง ไม่เคยบอกว่า อาหารที่ทำด้วยสัตว์ตายเองมีรสไม่อร่อย และอะไรอีกนับไม่ไหวที่มวลหมู่นักกินทั้งหลายต้องการ

ล้วนแล้วแต่เสกสรรเพื่อความเร่าร้อนด้วยการกินทั้งสิ้น มีไม่น้อยรายที่ต้องยากจนเพราะเรื่องกินที่เกินพอเหมาะพอดี หลายรายที่ต้องตายเพราะการกินที่เกินพอเหมาะพอดี เรื่องอาหารความจริงแล้วไม่มีอะไรน่าหนักใจเลย ที่หนักหนักในการแสวงหาอาหารมาบำรุงบำเรอเพื่อความเหมาะ-สมด้วยสีของอาหาร รสของอาหาร  ประเภทของอาหาร และสถานที่ทำอาหารจนต้องล้มละลายตายจากกันและยากจนเข็ญใจเพราะอาหาร


ความสลายตัวและความเร่าร้อนทั้งหลายเหล่านี้ เกิดจากอำนาจของกิเลสและตัณหาที่สิงใจอยู่นั่นเอง กิเลสคอยบัญชาการให้เกิดความต้องการล่อลวงให้ล้มละลายจากความดี สร้างความทุกข์ให้เกิดด้วยการยั่วเย้ายุแหย่ ให้เกิดความพอใจในอาหารที่เกินควร อาหารนั้นจะเป็นอาหารประเภทใดก็ตาม อาหารราคาถูกหรือราคาแพงก็เป็นอาหารที่กินแล้วหิวใหม่ทั้งสิ้น อาหารจานละหนึ่งบาทหรืออาหารจานละหนึ่งร้อย หรือหลายแสนบาท 

กินแล้วก็กลับหิวใหมเหมือนกัน ไม่มีอะไรวิเศษกว่ากัน ความที่ไม่รู้จักความพอดีในการอาหาร เป็นการถ่วงความดีทั้งในการทรงความเป็นอยู่ในด้านฐานะ และทั้งความเป็นผู้รู้เท่าถึงการณ์ คนเลือกในอาหารเกินพอดี เป็นคนไร้ความดี คนที่รู้จักบริโภคอาหารตามความพอเหมาะพอดี เป็นคนดีที่รู้เท่าถึงการณ์เรื่องการกินของชาวโลกที่เสกสรรกิน เพราะกิเลสตัณหาสนับสนุนและเจ้าตัวเองก็ยังมัวเมาอยู่

จะขอยกไว้ไม่นำมากล่าว ในโลกวิสัยคนที่ควรจะพูดกันได้ก็คือ คนประเภท พระโยคาวจร คำว่า โยคาวจร หมายถึง ท่านที่เริ่มเจริญสมถกรรมฐาน และเจริญวิปัสสนากรรมฐานท่านเรียกว่า พระ หมายถึง เริ่มเข้าถึงความเป็นผู้ประเสริฐ โยคาวจร แปลว่า ผู้มีความประพฤติที่ประกอบด้วยความเพียร

รวมความแล้วได้ความว่า ท่านผู้มีความประพฤติประกอบความเพียรเพื่อให้ถึงความเป็นผู้ประเสริฐ ท่านที่เริ่มกรรมฐานท่านเรียกว่า พระ ดูเหมือนจะได้เปรียบกว่าพวกพระที่บวช ท่านเรียกว่า สมมติสงฆ์ ท่านยังไม่ยอมเรียกว่า พระ เพราะเพียงแต่เอาตัวมาเข้าพวกยังไม่เอาใจมาเข้าเป็นพวก


ต่อเมื่อเริ่มปฏิบัติกรรมฐานนั้นแหละ ท่านจึงเรียกว่าพระโยคาวจร ต่อเมื่อได้สำเร็จมรรคผล จึงยอมรับถือว่าเป็นพระแท้ พระโยคาวจร หมายถึง การฝึกเพื่อความเป็นพระแท้ แต่ก็เริ่มเป็นพระจากเล็กน้อยไปหามาก จนเป็นพระเต็มตัว คำว่าพระโยคาวจรนี้ ท่านเรียกทั้งท่านที่บวชเป็นพระและอุบาสกอุบาสิกาที่เริ่มทำความเพียรเพื่อเผาผลาญกิเลสด้วยการเจริญพระกรรมฐาน ท่านพวกนี้เท่านั้นควรที่จะพูดกันเรื่องอาหารในที่นี้

พิจารณาอาหาร

          นักปฏิบัติต้องเว้นจากอาหารที่เป็นโทษทางร่างกายทุกชนิด   อาหารทุกประเภทที่บริโภคแล้วเป็นโทษเป็นพิษแก่ร่างกาย พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้จำและเว้นอย่างเด็ดขาด เพราะการเจริญสมาธิหรือวิปัสสนา  ถ้าสุขภาพไม่ปกติ โดยเฉพาะถ้ามีอาการไม่ปกติทางท้องแล้ว การเจริญสมาธิหรือพิจารณาวิปัสสนาญาณจะไร้ผล เพราะอาการวิปริตทางอุทรเป็นสมุฏฐาน

ฉะนั้น อาหารประเภทใดที่เคยบริโภคแล้วทำให้ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ท่านให้เว้นเด็ดขาด ไม่ควรเกรงใจผู้ให้ การเกรงใจจนตนเองเป็นโทษ เป็นการเกรงใจที่ไม่พอเหมาะพอดี
         
อาหารที่ยั่วราคะ คือเมื่อกินเข้าไปแล้วเป็นเหตุให้เกิดอารมณ์ในกามารมณ์ ควรเว้นเด็ดขาด
         
อาหารที่เป็นภัยแก่ชีวิตของผู้อื่น โดยการทำด้วยการเจาะจงให้ เมื่อรู้แล้วไม่ควรบริโภค ไม่ควรเกรงใจผู้ให้ เพราะจะเป็นไปเพื่อสนับสนุนให้เขาทำบาปมากขึ้น

         
ก่อนบริโภคอาหารทุกครั้ง ควรพิจารณาอาหารก่อนว่า
         
๑. จะบริโภคเพื่อความเป็นอยู่

          ท่านสอนว่า ควรคิดว่า เราจะบริโภคอาหารเพื่อความเป็นอยู่ของร่างกาย เพราะร่างกายต้องการอาหาร เรายังต้องอาศัยร่างกายประกอบความดี เราจะกินเพื่อให้ร่างกายมีกำลังเท่านั้น  เราไม่กินเพื่อความผ่องใสของผิวพรรณ เพื่อเป็นการยั่วเย้ากิเลสให้เกิดเพราะความผ่องใสนั้น 

เราจะไม่สรรหาอาหารที่ไม่จำเป็น   เพราะรสในอาหาร เพราะสีสันในอาหาร   หรือเพราะความโอ้อวดในการบริโภคอาหาร  คือ  กินอวดชาวบ้านว่า  ฉันมีอาหารที่หาได้ยากมากินดังนี้เป็นต้น
         
๒. พิจารณาให้เห็นว่าปฏิกูล

          ก่อนบริโภค ท่านให้พิจารณาว่า อาหารนี้จะทำด้วยฝีมือของใครก็ตามที่นิยมว่ารสเลิศ หรือเป็นอาหารมีราคาสูง  อาหารนี้มีความสำคัญเสมอกันอย่างหนึ่ง  คือมีพื้นเพเป็นของสกปรกมาในกาลก่อน 


         เพราะอาหารที่เป็นพืช ย่อมสกปรกมาตั้งแต่ก่อกำเนิดของพืช  โสโครกเพราะอาหารของพืชที่เจือด้วยของโสโครก  เช่น ปุ๋ยจากอุจจาระของสัตว์และมนุษย์ และปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำด้วยมูลขยะที่เต็มไปด้วยของสกปรก  และสกปรกด้วยการทอดทิ้งไว้ในที่สาธารณะ มีที่วางไม่เลือกที่ของผู้ขาย พืชมีความโสโครกดังนี้
         
อาหารที่เป็นเนื้อสัตว์   สัตว์ประเภทนั้นต้องมีเลือด   คาว   น้ำเหลือง  น้ำหนอง อุจจาระปัสสาวะ เป็นสิ่งที่มนุษย์เกลียดชังว่าเป็นของสกปรกโสโครก เมื่อบริโภคเข้าไปแล้วไม่ว่าจะเป็นเนื้อที่นิยมกันว่าประเสริฐเพียงใด 

ในที่สุดผู้บริโภคที่เลือกแต่อาหารชั้นเลิศต่างก็ต้องบริโภคใหม่  เพราะไม่อิ่มตลอดกาล และก็ถ่ายเทกากอาหารออกมาเป็นสิ่งโสโครก แล้วกากเหล่านั้นก็ไปเป็นอาหาร ของสัตว์และพืช รวมความแล้วอาหารที่เรากินทั้งมวลเป็นอาหารสกปรก ไม่ใช่ของเลิศประเสริฐตามที่คิด
         
ท่านสอนให้พิจารณาว่าโสโครกตามความเป็นจริง จากการเกิดของพืชและสัตว์ ต่อมาให้พิจารณาให้เห็นว่าโสโครก ในเมื่อเข้าไปรวมกันในปาก โดยท่านให้ข้อคิดว่า  อาหารที่จัดสรรว่าเลิศราคาแพง คนปรุงจะมาจากโลกไหนก็ตาม เมื่อเอาอาหารมารวมกัน แล้วทำเป็นคำเพื่อบริโภค พอเอาอาหารที่สรรแล้วใส่ปาก   แล้วก็คายออกมาเราไม่กล้าที่จะเอาอาหารนั้นใส่เข้าไปในปากใหม่   เพราะรังเกียจว่าเป็นของโสโครก
         
อีกนัยหนึ่งท่านให้พิจารณาว่า อาหารที่บริโภคนี้ห้ามความตายไม่ได้ คนที่มีอาหารเลิศ เช่นพระราชา พระเจ้าจักรพรรดิ์ ที่ครองโลก หรือมหาเศรษฐีท่านใดก็ตาม ท่านทั้งหมดนี้ล้วนแต่มีอาหารเลิศที่มวลมนุษย์ที่มีฐานะปานกลาง  ไม่สามารถจะหามาบริโภคได้  ท่านเหล่านั้นมีอาหารดีเพียงใดท่านก็ตายนับไม่ถ้วนแล้ว ชื่อว่าอาหารที่เลิศห้ามความตายไม่ได้
         
อาหารเลิศห้ามความเสื่อมไม่ได้   อาหารชั้นเลิศที่ท่านดังกล่าวมาแล้วบริโภคห้ามมิให้ท่านแก่  คือ เป็นคนหนุ่มสาวตลอดกาล หรือห้ามมิให้เจ็บไข้ได้ป่วยไม่ได้ท่านเหล่านั้น ท่านมีอาหารเลิศ  แต่ท่านก็ต้องเป็นคนแก่ เป็นคนมีโรค มีทุกข์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
         
รวมความว่า  อาหารนั้น  ห้ามอนิจจังความเที่ยงไม่ได้  จะกินอย่างไรก็ต้องเป็นผู้ไม่เที่ยงตลอดเวลา

          อาหารห้ามความทุกข์ไม่ได้  กินดีเท่าไร  ก็ยังมีทุกข์เป็นธรรมดา ต้องป่วย  ต้องแก่ หูหนัก ตามืด  ร่างกายอ่อนแอ  เหมือนกับคนที่บริโภคอาหารตามปกติ  คือ อาหารที่ไม่ผิดศีลธรรมและเป็นอาหารที่มีราคาไม่แพง
         
อาหารห้ามอนัตตาไม่ได้ ความทุกข์เป็นอนัตตาของผู้แสวงหาความสุข เมื่อคนทุกคนต้องการแต่ความสุข เมื่อความต้องการทุกข์ไม่มี ไม่ว่าใคร ทำทุกอย่างเพื่อความไม่มีทุกข์ แต่ทุกคนก็ต้องมีทุกข์ ทั้ง ๆ ที่ตนไม่ปรารถนา ฉะนั้น ทุกข์จึงเป็นอนัตตาของผู้แสวงสุข เพราะบังคับไม่ให้ทุกข์เกิดไม่ได้

ในที่สุดก็ต้องสลายกันจนสิ้นซาก แม้แต่กระดูกก็ไม่เหลือไว้เป็นพยาน เขาเหล่านั้นมีอาหารเป็นที่พึ่งทั้งนั้น แต่อาหารก็ห้ามอนัตตาไม่ได้  รวมความว่าอาหารไม่ใช่เครื่องจรรโลงชีวิตให้อยู่ตลอดกาล


อาหารเป็นเพียงเครื่องค้ำจุนชั่วคราว ท่านจึงสอนไม่ให้เลือกอาหาร เพราะติดในรส สี และฝีมือ สถานที่อันเป็นการมัวเมาในอาหารที่เกินควร เพราะเป็นการส่งเสริมกิเลสเกินพอดี

อาหารพระอริยะ

          พระอริยะตัวอย่าง ขอยกเอาพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงเป็นผู้ประกาศพระศาสนามาพูดให้ทราบ สมัยหนึ่งในหลายสิบสมัย พระองค์ทรงเดินทางร่วมกับพระอานนท์ไปบิณฑบาต ทรงพบนางบุญทาสีในระหว่างทาง

นางบุญเป็นคนจน เป็นทาสของเศรษฐี นางเห็นพระพุทธเจ้านางก็ดีใจ คิดว่า วันก่อน ๆเราเห็นพระอยากจะทำบุญแต่เราก็ไม่มีของ บางวันเรามีของ เราก็ไม่พบพระ วันนี้โชคดี  เรามีแป้งจี่ผสมรำห่อพกมาเพื่อบริโภค  เราพบพระพอดี เป็นอันว่าเรามีของและพบพระพร้อมกัน  เราจะทำบุญให้สมใจนึก

นางจึงเอาแป้งจี่เข้าไปถวายพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงรับแป้งจี่จากนางแล้วนั่งฉันข้างทางนั่นเอง เป็นเหตุให้นางเลื่อมใส พอพระองค์อนุโมทนา นางก็ได้สำเร็จ
พระโสดาบัน


พระรัฐบาลฉันอาหารทิ้ง

          พระรัฐบาลเป็นพุทธสาวก เป็นพระอรหันต์ ท่านไปเยี่ยมบ้าน ไม่มีใครจำท่านได้ ไม่มีใครเขาใส่บาตร ท่านยืนอยู่ใกล้บ้าน บังเอิญหญิงสาวใช้เอาอาหารเหลือบริโภคออกมาเทนอกบ้าน ท่านเห็นเข้า

ท่านจึงพูดว่า  ดูก่อนน้องหญิง ถ้าของนั้นเป็นของที่ทิ้งแล้ว ขอน้องหญิงจงเทลงในบาตรของเรา เมื่อนางเทของลงในบาตร ท่านก็นั่งฉันตรงนั้น
         
เรื่องอาหารนี้  ดูแล้วจะเห็นว่า พระอริยะแม้แต่พระพุทธเจ้า ท่านไม่พิถีพิถันอะไรนัก นอกจากอาหารที่เป็นโทษ เช่น  อาหารที่เขาบอกว่าจะแกงปลา แกงไก่  แกงสัตว์อะไรก็ตามที่เจ้าภาพบอกชื่อก่อนถวาย อาหารประเภทนี้ท่านไม่รับ  เพราะเป็นโทษทางก่อให้เกิดกิเลสและตัณหา  และอาหารที่เกินพอดี  เช่น  เนื้อมนุษย์ เนื้อเสือ เป็นต้น ท่านเว้นเด็ดขาด เพราะมีรสดีเกินไป ทำให้ก่อกิเลสและตัณหา

นอกนั้นไม่เป็นโทษต่อร่างกาย  ไม่ผิดธรรมวินัย ท่านฉันเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ฉันเพื่อยั่วกิเลสและตัณหา  ไม่ฉันเพื่อรส  และเพื่อสีสันวรรณะของอาหาร ไม่ติดร้าน   หรือผู้ปรุง

รวมความแล้ว ท่านสอนให้บริโภคอาหารเพื่ออยู่ ไม่ให้เมาในรส ในสี  และให้พิจารณาให้เห็นว่าเป็นของโสโครก  ไม่ใช่ของวิเศษที่สร้างผู้บริโภคเป็นผู้วิเศษ ถ้ากินดี  โดยการพิจารณาก็มีผลเป็นญาณและได้มรรคผลเพราะอาหาร  ถ้ากินด้วยความมัวเมาในรส  ในสี  ในคนปรุง  ก็มีทุกข์เพราะอาหาร

ขอนักปฏิบัติจงสังวรณ์ในเรื่องบริโภคให้มาก ถ้าท่านปลงอาหารตก ไม่เมาในรสอาหาร ท่านมีหวังเห็นฝั่งพระนิพพานในอนาคตอันไม่ไกลนัก  เพราะผู้ที่ไม่เมาในรสอาหาร ก็เป็นผู้ไม่เมาในชีวิต ผู้ไม่เมาชีวิตก็เป็นคนเห็นไตรลักษณะ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คนเห็นพระไตรลักษณะ ก็เป็นผู้เห็นอริยสัจ

    คนเห็นอริยสัจ  ก็เป็นผู้ถึงความเป็นพระอริยะ ท่านที่เป็นพระอริยะ ก็เป็นผู้เข้าถึงพระนิพพาน ขอท่านที่เจริญกรรมฐานข้อว่าอาหาเรปฏิกูลสัญญานี้ จงตั้งใจปฏิบัติด้วยดีโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน คือยอมตายดีกว่าที่จะมีจิตใจติดในรสอาหาร  เท่านี้ความหวังของท่านก็ได้รับผลตามที่ตั้งใจทุกประการ


(ขอยุติอาหาเรปฏิกูลสัญญาไว้เพียงเท่านี้)

ทีมา เว็บพลังจิต

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ยังไม่กระจ่าง กับคำถาม คะ

  การทานอาหารปัจจเวกขณ ของพระสงฆ์ จะดับกิเลสได้จริงหรือ ?

ขอช่วยอธิบายอีกนิด คะ

ขอให้คุณฟ้าใสอ่านให้จบนะครับ จะเข้าใจเองว่า"อาหาเรปฏิกูลสัญญา"

ดับกิเลสได้อย่างไร โดยสรุปก็คือ อาหาเรปฏิกูลสัญญา เป็นสมถภาวนา

แต่ถ้าฉลาดพอ ก็ยกขึ้นเป็นวิปัสสนาได้เลย จะหมดกิเลสกันตรงนี้แหละครับ



ท้ายนี้ ขอให้เจริญอาหาร เอ๊ย เจริญในธรรม
:) ;)
 :49: :bedtime2: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ