ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'ว.วชิรเมธี' วืด.! "สมณศักดิ์..อีกปี"  (อ่าน 3673 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
'ว.วชิรเมธี' วืด.! "สมณศักดิ์..อีกปี"
« เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2012, 07:10:59 am »
0


'ว.วชิรเมธี' วืด.! "สมณศักดิ์..อีกปี"

ไร้ชื่อ 'ว.วชิรเมธี' เลื่อนสมณศักดิ์ปี 55 เผยแม้มีผลงานมากแต่ไร้คุณสมบัติที่จะได้ตำแหน่ง 'เจ้าคุณ' ตามกฎเกณฑ์มส. : ไตรเทพ ไกรงูรายงาน

      เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า บัดนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสถาปนาเลื่อนและแต่งตั้งสมณศักดิ์พระเถรานุเถระ ประจำปี ๒๕๕๕ จำนวน ๖๖ รูปแล้ว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ แต่ไม่มีรายชื่อของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือรู้จักกันดีในนามปากกา "ว.วชิรเมธี" ที่มีชื่อเสียงว่า "เป็นพระนักวิชาการ นักคิดนักเขียน และนักบรรยายธรรม"

    ทั้งนี้ นายนพรัตน์ ได้ให้เหตุผลว่า แม้ว่า ว.วชิรเมธี จะมีผลงานที่เด่นจัด แต่ไม่เข้าหลักเกณฑ์และระเบียบใดๆ ของมหาเถรสมาคม (มส.) ทั้งสิ้น การพิจารณาสมณศักดิ์ต้องไล่ที่ระดับ ต้องดูโควตา โดยมีเสนอตั้งแต่ระดับเจ้าอาวาส ทั้งนี้ ท่าจะได้ก็ต่อเมื่อ ต้องเสนอแต่งตั้งให้เป็นกรณีพิเศษเจริงๆ ไม่มีเกณฑ์ใดที่จะเสนอทั้งสิ้น

    ด้านพระธรรมคุณาภรณ์ หรือเจ้าคุณพิมพ์ รองเจ้าคณะภาค ๗ และเจ้าอาวาสวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร กทม.
    พระผู้ซึ่งรวบรวมและคิดค้นโปรแกรมการตั้งราชทินนามพระราชาคณะ บอกว่า เป็นเรื่องยากที่ท่านจะได้สมณศักดิ์
    เมื่อท่านออกจากสำนักวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กทม. ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลใดก็ตาม เป็นเรื่องยากที่จะได้สมณศักดิ์

     โดยคุณสมบัติเบื้องต้นของพระที่ได้สมณศักดิ์ คือเป็นเจ้าอาวาสวัดราษฎร์อย่างน้อย ๕ ปี
     ถ้าเป็นผู้ช่วยพระอารามหลวงอย่างน้อย ๑ ปี ถึงจะมีคุณสมบัติขอสมณศักดิ์ได้
     แต่ ณ วันนี้ ว.วชิรเมธี ไม่มีคุณสมบัติใดๆ ตามเกณฑ์ของมหาเถรสมาคม

 



    ในอดีตการพิจารณาแต่งตั้งและเลื่อนสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์เป็นพระราชอำนาจและเป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ เมื่อทรงเห็นหรือทรงทราบด้วยพระเนตรพระกรรณว่า พระภิกษุรูปใดมีความรู้ความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก มีศีลาจารวัตรน่าเลื่อมใส มีความสามารถในการปกครองหมู่คณะให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งยังเป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาของประชาชนแล้ว ก็จะพระราชทานสมณศักดิ์เพื่อเป็นเกียรติและกำลังใจ ในการจะได้ช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนาสืบไป

      ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงเวลาที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลมหาสังฆปริณายกอยู่นั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะโปรดพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์รูปใด ก็จะทรงปรึกษากับสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ก่อนทุกครั้ง ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ทรงให้พระสงฆ์ได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาเสนอความคิดเห็นได้

    ปัจจุบันเป็นหน้าที่คณะสงฆ์จะช่วยกันพิจารณาให้ความเห็นชอบตามลำดับขั้น คือ จากเจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค และเจ้าคณะใหญ่ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากเจ้าคณะผู้ปกครองตามลำดับแล้ว สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงได้เสนอเรื่องเพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานสมณศักดิ์ ตามระเบียบของทางราชการต่อไป   

     แต่ในการพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นสูง เช่น สมเด็จพระสังฆราช หรือสมเด็จพระราชาคณะ คณะสงฆ์ชอบที่จะถวายพระเกียรติแด่องค์พระมหากษัตริย์ด้วยการเสนอนามพระเถระที่เห็นสมควรขึ้นไปหลายรูปเพื่อให้ทรงพิจารณาตามพระราชอัธยาศัย เป็นธรรมเนียมปฏิบัติเสมอมา เพราะพระราชอำนาจส่วนนี้เป็นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพียงพระองค์เดียว





    แหล่งข่าวจาก มส. ให้ข้อมูลกับ "คม ชัด ลึก" ว่า ตามหลักการเสนอพระมหาเปรียญธรรม ๙ ประโยค ที่จะขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ หรือท่านเจ้าคุณตามระเบียบต้องเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง หรือเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ขึ้นไป หรือมีตำแหน่งปกครองตั้งแต่เจ้าคณะตำบล อำเภอ จังหวัดขึ้นไป
    ทั้งนี้ ต้องมาตามลำดับขั้นตอน ส่วนผู้ที่ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ก็จะไม่มีการทำประวัติขอ เพราะทราบด้วยตัวเองอยู่แล้ว่าต้องเป็นไปตามหลักการ


    แต่มหาเถรสมาคมอาจจะเห็นว่าเ ป็นพระที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมพระพุทธศาสนา
    ก็จะสามารถขอพระราชทานสมณศักดิ์ให้ได้ แต่ในที่สุดแล้วก็ต้องงด เป็นไปตามกระบวนการอยู่ดี


     ในกรณีของ ว.วชิรเมธี ถึงแม้ว่าจะเสนอไปตามหลักเกณฑ์ก็ต้องมาพิจารณาว่า ใครมีผลงานมากน้อยกว่ากัน เหมาะสมที่จะให้หรือไม่ ถ้าให้ไปแล้วจะเหมาะในเขตปกครองนั้นๆ หรือไม่
     เช่น หากมีพระอยู่ที่อาวุโส และมีตำแหน่งปกครองที่สูงกว่าอยู่ แต่ยังไม่ได้เป็นท่านเจ้าคุณ
     จะเอาประโยค ๙ ขึ้นเป็นเจ้าคุณเลยภาพที่ออกมาก็จะเป็นการกระโดดข้ามเกินไป เพราะส่วนใหญ่พุทธศาสนิกชนก็จะเคารพพระผู้อาวุโสในเขตปกครองนั้นอยู่


    "พระ ปธ.๙ ส่วนใหญ่ท่านรู้ภาวะของตัวเองว่า จะของสมณศักดิ์ได้หรือไม่
     กรณีท่าน ว.วชิรเมธี เข้าใจว่าท่านรู้ตัวว่าไม่อยู่ในเกณฑ์ใดๆ ทั้งสิ้น แม้จะมีผลงาน
     เว้นแต่กรณีที่ท่านทำงานต่อพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น พรรษามากขึ้น
     มหาเถรฯ อาจจะพิจารณาให้กรณีเดียวกับพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
     โดยไม่มีตำแหน่งปกครอง ซึ่งนับจากนี้ไปน่าจะไม่ต่ำกว่า ๑๐ ปี"
แหล่งข่าวจาก มส.ระบุ





     สำหรับผลงานของ ว.วชิรเมธี ปัจจุบันท่านได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์สอนนักศึกษาระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ นอกจากนั้นก็ยังรับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายวิชาการทางพระพุทธศาสนาให้หน่วยงานต่างๆ อีกมากมาย

     ในแง่จริยวัตรส่วนตัวนั้นนอกจากท่านจะเป็นพระนักวิชาการ พระนักคิด นักเขียน แล้วท่านก็ยังสนใจฝึกสมาธิภาวนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่าสิบปี มีผลงานทางวิพากษ์และแนะนำสังคมหลายเรื่อง เช่น บทละครโทรทัศน์และหนังสือเรื่อง "ธรรมะติดปีก" ซึ่งได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานสัปดาห์พระพุทธศาสนาวิสาขบูชาประจำปี ๒๕๕๐

      พระมหาวุฒิชัยบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๐ ณ พัทธสีมาวัดครึ่งใต้ ต.ครึ่ง อ.เชียงของ จ.เชียงราย โดยมีพระครูโสภณจริยกิจ เจ้าคณะอำเภอเชียงของ เป็นพระอุปัชฌาย์ (ต้องการอ้างอิง) ต่อมาได้อุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ณ พัทธสีมาวัดครึ่งใต้ โดยมีพระเทพสิทธินายก (ชื่น ปญฺญาธโร) เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เป็นพระอุปัชฌาย์

     การศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๓ สอบไล่ได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค สำนักวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พ.ศ. ๒๕๔๓ ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ พ.ศ. ๒๕๔๖ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย





ผลงานสำคัญ

  - อาจารย์พิเศษบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  - อาจารย์พิเศษ สถาบันพระปกเกล้า วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน
  - อาจารย์พิเศษและวิทยากรบรรยายตามมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น


  - วิทยากรบรรยายธรรมตามสถาบัน หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
  - บรรณาธิการวารสารเบญจมบพิตรสัมพันธ์
  - วิทยากรพิเศษบรรยายวิชาการทางพระพุทธศาสนา สอนวิปัสสนากรรมฐานให้หน่วยงานของรัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ โรงเรียน และมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนหลายแห่ง
  - ประธานกลุ่มธรรมะการ์ตูน (ผลิตการ์ตูนแอนิเมชั่น ชุด “พุทธประวัติ” เพื่อทูลเกล้าฯ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา


  - ผู้เขียนตำราหมวดวิชาพระพุทธศาสนาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
  - กรรมการตรวจนักธรรม บาลี สนามหลวง
  - เขียนบทความให้หนังสือพิมพ์ นิตยสารรายเดือน รายปักษ์ รายสัปดาห์ อาทิ เนชั่นสุดสัปดาห์ กรุงเทพธุรกิจ ชีวจิต ศักดิ์สิทธิ์ WE, HEALTH & CUISINE, Secret เป็นต้น
  - เป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิมุตตยาลัย (Vimuttayalaya Institute) อันเป็นสถาบันที่ศึกษา วิจัย ภาวนา และเผยแพร่ภูมิปัญญาทางพุทธศาสนาสู่ประชาคมโลก ภายใต้หลักการ "พุทธศาสนาเพื่อสันติภาพโลก"



ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.komchadluek.net/detail/20121121/145293/ว.วชิรเมธีวืดสมณศักดิ์อีกปี.html#.UK1n8mfvolh
http://www.palungjit.com/,http://farm5.static.flickr.com/,http://1.bp.blogspot.com/,http://topicstock.pantip.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 22, 2012, 07:19:51 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kosol

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 65
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: 'ว.วชิรเมธี' วืด.! "สมณศักดิ์..อีกปี"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2012, 12:32:30 pm »
0
เคยได้ยิน ครูอาจารย์ พูดว่า ลาภและยศ เป็นอุปสรรคขวางธรรม การไม่มีก็น่าจะดี ผมว่าดู ท่านธัมมะวังโส เป็นตัวอย่างดีกว่า นะครับ คือไม่สนเรื่องพวกนี้เลย ยิ่งวิเวกอย่างนี้ด้วย หมายถึงต้องเป็นพระที่ใจสู้ในการภาวนามาก ๆ นะครับ

  :c017: :25:
บันทึกการเข้า

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: 'ว.วชิรเมธี' วืด.! "สมณศักดิ์..อีกปี"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2012, 12:36:19 pm »
0
ผมว่าไม่มี ก็ดี นะครับ
แต่ถ้ามี ก็จะดี อีกเช่นกันครับ

   เพราะสังคม ยังต้องใช้ ส่วนนี้  ถ้าภาวนาส่วนตัว ก็ไม่ต้องใช้

   :s_good: :c017: :25:
บันทึกการเข้า