ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เวฬุกะชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการเป็นผู้ว่ายากสอนยาก  (อ่าน 2163 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์

เวฬุกะชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการเป็นผู้ว่ายากสอนยาก

  ครั้งอดีตกาล ณ พระเชตะวัน มหาวิหารอันสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนาได้เกิดเรื่องราวมิงามของภิกษุผู้ว่ายากอยู่ท่านหนึ่ง ไม่ว่าใครจะว่ากล่าวตักเตือนอย่างไรก็ตามท่านก็มิเคยฟัง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระกรุณาธิคุณให้ภิกษุรูปหนึ่งเข้าเฝ้า เพื่อปลดโทษให้
 “ท่านๆ องค์พระบรมศาสดาให้มานิมนต์ท่านไปเข้าเฝ้าแน่ะ” “จะโปรดอะไรเราอีกหล่ะ เฮ้อ..เอ่อๆๆ เดี๋ยวไป” “หึ อวดดีอย่างนี้ก็คงมีแต่องค์พระบรมศาสดาเท่านั้นแหละที่จะตักเตือนได้” “ใช่ๆ ข้าก็ว่าอย่างงั้นแหละ คราวนี้คงหายดื้อซะที”
  “อะไรๆๆ บ่นอะไรของท่านอยู่สองคน ข้าได้ยินน่ะ” “มาแล้วรึภิกษุ เธอผู้ว่ายากสอนยาก ใครเตือนก็ไม่เคยเชื่อฟัง แม้ในชาติปางก่อนก็เป็นเช่นนี้” “เรานี่ช่างเป็นคนเสมอต้นเสมอปลายโดยแท้” “ยัง ยังไม่สำนึกอีก มันน่าตำหนิจริงๆ” “ใช่ๆ ยังไม่สำนึกอีก น่าตำหนิจริงๆ”
 “เฮ้ยเมื่อไหร่ท่านจะเลิกพูดตามเราซะทีเนี่ย” “ใช่ๆ ข้าก็ไม่รู้เหมือนกัน” ในวาระนั้นพระพุทธองค์ก็ทรงระลึกชาติและตรัสเล่าเรื่องราวของเวฬุกะชาดกให้พระภิกษุทั้งหมดฟัง เพื่อให้ภิกษุผู้ว่ายากได้เห็นโทษของการดื้อรั้น จะได้เปลี่ยนแปลงนิสัยเสียที
  “ด้วยความดื้อดึงสอนยากของท่าน ทำให้ท่านถูกงูกัดถึงแก่ความตาย หากท่านไม่ละทิ้งนิสัยนี้ชาตินี้ท่านก็คงต้องพบจุดจบไม่ต่างอะไรกับชาติที่แล้ว ท่านจงฟังเถอะ เราจะเล่าเรื่องเมื่ออดีตชาติของท่านให้ฟัง เพื่อท่านจะได้บรรลุเห็นทางธรรมเสียที” ในแคว้นกาสีมีครอบครัวเศรษฐีผู้หนึ่ง ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวเกิดล้มป่วยลงยากที่จะรักษาได้ สมาชิกในครอบครัวต่างอยู่ในความเศร้าโศกเสียใจ
 “โอ้นายท่าน” “หือๆ ท่านพ่อท่านอย่าจากข้าไปนะ ท่านต้องไม่เป็นอะไรนะ หือๆ..ท่านพ่อ” เมื่อผู้เป็นพ่อได้เสียชีวิตลงบุตรชายเศรษฐีก็ได้จัดพิธีศพให้บิดาตามประเพณี “แม้บิดาของเราจะมีทรัพย์สมบัติมากเพียงใด แต่สุดท้ายก็มิสามารถนำติดตัวไปได้แม้แต่ชิ้นเดียว แล้วเราจะเก็บรักษาทรัพย์เหล่านี้ไว้เพื่อสิ่งใด” “ท่านพ่อ ในที่สุดท่านก็จากข้าไป หือๆๆๆ”
บัณฑิตบุตรเศรษฐีได้นำทรัพย์สมบัติทั้งหมดออกมาแจกเป็นทานให้กับผู้ยากไร้ เหลือไว้เฉพาะอาภรณ์ติดตัวกับเครื่องบริขารเพื่อไว้บำเพ็ญเพียรเท่านั้น “ท่านบัณฑิตชั่งมีน้ำใจแท้ๆ” “ขอให้เจริญๆ เถอะพ่อหนุ่ม” หลังจากนำทรัพย์สมบัติแจกจ่ายหมดแล้ว บุตรเศรษฐีก็นำบริวารมุ่งสู่ป่าใหญ่แดนหิมพานต์เพื่อประพฤติพรหมจรรย์
 “โอ้ย ปวดหลังจัง เราจะเดินไปไหนกันเนี่ย” “ท่านอย่าบ่นนักเลยน๊า ท่านน่าจะดีใจน่ะ ท่านจะได้ละความวุ่นวายเสียที” “จริงซินะตลอดชีวิตที่ผ่านมาพวกเราหมกหมุนอยู่แต่กับโลกีย์ เอ้อ..แต่ว่าโลกีย์นี่คืออะไรเหรอ” “หือ..ทิ้งไว้ในป่าดีไหมเนี่ย” บัณฑิตหนุ่มได้ถือเพศเป็นฤาษีเพียรภาวนาจนบรรลุธรรมอภิญญา จนมีผู้เลื่อมใส ถือบวชติดตามเป็นศิษย์มากมาย “ข้าพเจ้าขอถวายตัวเป็นศิษย์ท่านด้วยเถอะ
  โปรดชี้แนะให้ข้าพเจ้าบรรลุธรรมด้วยเถิด” “ข้าพเจ้าเองก็เอาด้วยคน ข้าพเจ้าก็อยากบรรลุธรรมบ้างเหมือนกัน” “อย่ามาเลียนแบบข้าได้ไหม๊ ข้าพูดก่อนนะ” บรรดาศิษย์ทั้งหลายได้ช่วยกันสร้างอาศรมเพื่อปฏิบัติธรรมกรรมฐานอยู่ในป่าหิมพานต์อย่างสงบ “โอ้ว..ช่างสงบเงียบจริงๆ ขอนั่งสมาธิ(Meditation)ปฏิบัติธรรมซะหน่อยเถอะ” “ข้าก็เอาด้วยคน ข้าอยากนั่งสมาธิด้วย” “เมื่อไหร่จะเลิกเลียนแบบข้าซะที เฮ้อ..เบื่อจริงๆ เลย”
 อยู่มาวันหนึ่งศิษย์ฤาษีวัยหนุ่มได้พบลูกงูพิษที่เลื้อยเข้ามาในบริเวณอาศรม ก็เกิดความรักเอ็นดูมันขึ้นมา “ลูกงู ช่างน่ารักเหลือเกิน ดูซิเลื้อยบิดไปบิดมาน่าเอ็นดู อุ๊ย..ชูคอได้ด้วย ฉลาดจริงๆเลย เก็บไปเลี้ยงไว้ดีกว่า ไปอยู่ด้วยกันนะเจ้างูน้อย ข้าจะเลี้ยงเจ้าอย่างดีเลย” “อย่าเชียวนะ งูพิษเลี้ยงไม่เชื่องหรอกอันตรายนะ เจ้าอย่าไปยุ่งกับมันเลย ปล่อยมันไปเถอะ” “เอ้านี้บ้านเจ้า เข้าไปอยู่ในกระบอกไม้ไผ่นี่นะ เอ้..ข้าตั้งชื่อให้เจ้าด้วยดีกว่า
ชื่ออะไรดี เจ้าอยู่ในไม้ไผ่ ไม้ไผ่ก็เวฬุกะ เอาเป็นชื่อเวฬุกะก็แล้วกันนะ เลื้อยเข้าไปดีๆ นะ อย่างนั้นๆ อุ๊ย..น่าเอ็นดู” “ข้าว่าปล่อยมันไปเถอะ อย่าเลี้ยงไว้เลย ระวังเถอะเลี้ยงงูพิษไว้สักวันมันจะทำร้ายเจ้า” “ใช่ๆ ข้าก็ว่าอย่างนั้นแหละ เจ้าอย่าเลี้ยงไว้เลยนะ” “เลียนแบบคำพูดข้าอีกแล้ว เมื่อไหร่เจ้าจะนึกบทเองได้ซะทีเนี่ย..เฮ้อ” “ท่านดูเจ้าเวฬุกะของเราซิน่ารักๆ ยิ่งโตก็ยิ่งหล่อเหมือนข้าใช่ไหม๊”
 “อึย..น่ากลัวจะตาย ไม่เห็นจะน่ารักเลย ท่านว่ามะ" "เอ้า ทีตอนจะให้พูดตามนะไม่พูด เฮ้อเสียอารมณ์จริงๆ” “เจ้าหนุ่มชื่อว่างูพิษย่อมไว้ใจไม่ได้ปล่อยมันไปเสียเถอะ เจ้าเชื่ออาจารย์เถอะนะ” “โธ่อาจารย์มันเชื่องจะตาย ข้าเลี้ยงมันอย่างดี มันก็ต้องรักข้าซิ ไม่เป็นไรหรอกอาจารย์อย่าคิดมากเลย” “เฮ้อ เจ้านี่ชั่งว่านอนสอนอยากซะจริงๆ อนิจจาไว้ใจงูพิษเช่นนี้ ก็ระวังให้ดีเถอะเจ้า”
  “โห๊ย..อาจารย์งูพิษที่ไหนกันเล่า ข้าเอามาเลี้ยงตั้งแต่เด็กพิษมันหายไปหมดแล้ว อาจารย์ดูซิ มันรักข้าจะตาย” แล้วศิษย์ผู้ดื้อรั้น ก็มิฟังคำตักเตือนจากใครยังเลี้ยงดูงูเวฬุกะต่อไป จนวันเวลาผ่านไปเมื่อฤดูแล้งเวียนมาถึง “เอ้า นี่อาหารของเจ้า กินให้อิ่มนะ ข้าจะต้องเข้าป่าไปหาอาหารมาเก็บไว้ เฮ้อไปตั้ง 3 วันแน่ะ
ข้าคงคิดถึงเจ้าแน่เลย ระหว่างที่ข้าไม่อยู่เจ้าอย่าดื้อน่า แล้วข้าจะหาของอร่อยๆ มาฝากเจ้านะ” “เอ้าๆๆ ล่ำลากันอยู่นั่นแหละสายมากแล้วตามมาเร็วๆ เข้า” “ท่านจะเอ็ดมันทำไม่ บอกมันดีๆ ก็ได้” “อย่าพูดอะไรที่ไม่เหมือนข้าได้ไหม๊” “ขัดใจจริงๆ เลย” “จะเอายังไงกันแน่เนี่ยพอคิดบทได้เองก็จะให้พูดตาม” “เวฬุกะข้าไปละนะอยู่ดีๆ นะจ๊ะงูน้อยของข้า”
ศิษย์หนุ่มตามขบวนศิษย์อื่นๆ ไปหาผลไม้ในป่าด้วยความจำใจ ในใจก็เฝ้าคิดถึงลูกงูเวฬุกะอยู่ตลอดเวลา ช่วงเวลา 3 วันที่เขาไม่อยู่เวฬุกะของเขาจะกินอยู่อย่างไร ยิ่งเดินทางไปได้ไกลเท่าไหร่ ความกังวลของเขาก็เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น สามวันผ่านไปพวกฤาษีและศิษย์หาของป่าได้มากพอจึงพากันกลับ
 “เย้ กลับอาศรมกันซะทีป่านนี้เวฬุกะคงรอข้าจะแย่แล้ว” “อย่ามัวแต่ดีใจซิ มาช่วยพวกข้าเก็บของด้วย” “ใช่อย่ามัวแต่ดีใจซิ มาช่วยเก็บของ” “ดีมาก พูดตามข้าอย่างนี้แหละ เออดีๆๆ” “สองคนนี้มันจะไม่พูดกับคนอื่นเลยหรือไงเนี่ย เล่นรับมุขกันอยู่สองคน ดูซิข้าไม่เด่นเลย” “เวฬุกะลูกรักข้าจะไปหาเจ้าแล้วนะ พวกท่านตามข้ามาเร็วๆ ซิะ”
  “ข้าไม่ได้หนุ่มไฟแรงเหมือนเจ้านี่ โอ๊ย..เมื่อยจังเลย พักก่อนดีไหม๊ท่าน” “ท่านอย่าถามข้าซิ ข้ามีหน้าที่ตามท่านอย่างเดียว” “นี่น้องเขียด นี่น้องกบ อ๊บๆ เจ้ากิ้งก่าอีกไปเป็นอาหารของเวฬุกะข้าซะดีๆ อ้วนๆ อย่างนี้ลูกข้าชอบ” “ข้าว่าอย่าเก็บไปเลย ป่านนี้เวฬุกะของเจ้าคงหนีหายไปแล้วหล่ะ” “ใช่ๆๆ คงหนีหายไปแล้วหล่ะ ฮ่ะๆๆๆ”
 “พวกท่านอย่ามาพูดให้ข้าใจเสียได้ไหม๊ ลูกข้าต้องอยู่รอข้ากลับมาแน่ๆ เวฬุกะจ๋า ข้ามาแล้วจ้า ข้าออกมาดูซี ข้ามีอาหารมาฝากเจ้าเยอะแยะเลย รีบออกมาเร้ว ไหนๆๆ ไม่เจอกันตั้ง 3_วันคิดถึงจังเลย ขอดูหน้าหน่อย” ธรรมชาติของงูพิษคือเลี้ยงไม่เชื้อง ยิ่งหิวยิ่งดุร้าย เวฬุกะถูกขังอยู่ในกระบอกไม้ไผ่ 3 วัน 3 คืน
 ทั้งหิว ทั้งโกรธไม่เหลือร่องรอยของงูเชื้องแสนน่ารักน่าเอ็นดูเลยสักนิด เมื่อไม้ไผ่ถูกเปิดออกมันก็พุ่งตัวออกมาอย่างรวดเร็ว ฉกเข้าที่ดวงตาของศิษย์หนุ่มผู้เป็นคนเลี้ยงมันมาอย่างโหดเหี้ยม “โอ๊ย เวฬุกะลูกรัก เจ้ากัดพ่อทำไม โอ๊ย...ข้าอุตส่าห์เอาเจ้ามาเลี้ยงหาอาหารให้เจ้ากินนะ ปล่อยๆ ปล่อยข้า โอ๊ยๆ”
  ด้วยความหิวเวฬุกะพุ่งตัวออกมาทำร้ายศิษย์หนุ่มที่เลี้ยงมันมาตั้งแต่เด็กด้วยความโกรธ อนิจจานี่แหละงูพิษ ย่อมไว้ใจไม่ได้ “ใครก็ได้ช่วยข้าด้วย โอ๊ยๆๆ...” จากงูน้อยแสนน่ารักกลายเป็นงูพิษที่ดุร้าย เวฬุกะฉกฝังเขี้ยวลงที่ดวงตาของผู้มีพระคุณ ปล่อยน้ำพิษจนศิษย์หนุ่มฤาษีสะท้านไปทั่วร่าง ล้มลงขาดใจตายอยู่ตรงนั้นทันที
  งูพิษก็คืองูพิษ อย่างไรเสียมันก็คงไม่ลืมสัญชาตญาณไปได้ นี่แหละโทษของการดื้อรั้นที่ว่ายากสอนยาก ไม่เชื่อฟังคำตักเตือนของใคร สุดท้ายก็ต้องพบจุดจบอย่างน่าอนาจ หากศิษย์หนุ่มผู้นี้เชื่องฟังคำของอาจารย์และเหล่าฤาษีคนอื่นสักนิดเขาก็คงไม่ต้องมาจบชีวิตด้วยอายุเพียงเท่านี้

 
 
โยอัตถะกามัส สะ หิตานุกัมปิโน โอวัชชะมาโน นะ กะโรติ
สาสะนัง เอวัง โส นิหะโต เสติ เวฬุกัสสะยะถา ปิตา
 
พุทธกาลวาระนั้น ศิษย์ผู้ดื้อรั้นเกิดมาเป็น ภิกษุที่ว่ายากสอนยาก
ฤาษีบริวาร เกิดมาเป็น พุทธบริษัททั้งหลาย
พระอาจารย์ เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
    • ดูรายละเอียด
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ