ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รู้จัก "Social addiction" โรคจดจ่อมือถือ ติดโซเชียลฯ  (อ่าน 447 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
รู้จัก "Social addiction" โรคจดจ่อมือถือ ติดโซเชียลฯ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2020, 05:59:48 am »
0


รู้จัก "Social addiction" โรคจดจ่อมือถือ ติดโซเชียลฯ

สัปดาห์นี้พาไปรู้จักปัญหา “Social addiction” โรคติดสื่อสังคมออนไลน์ แนะเช็ก 7 อาการเสพติดจดจ่อสมาร์ตโฟน ตีกรอบเวลาท่องโลกโซเชียลฯ ก่อนถลำลึกคุมไม่ได้เสี่ยง “วิตกกังวล-ไบโพลาร์-ซึมเศร้า”

ปฏิเสธได้ยากว่า...ในปัจจุบัน “เทคโนโลยี” ไม่ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเรา และหากจะพูดว่า “สมาร์ตโฟนเปรียบเสมือน...ปัจจัยที่ 5 ของมนุษย์” ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไร

เนื่องจากว่าทุกวันนี้สมาร์ตโฟนสามารถทำให้เราเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็ว รวมถึงเข้าถึงโลกของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social media) อื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้นการที่เราเข้าถึงโซเชียลมีเดียได้ง่ายขึ้น และด้วยธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคม ซึ่งต้องการการยอมรับจากผู้คนรอบข้าง จึงทำให้มีความเสี่ยงในการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์ได้ง่ายขึ้นมากตามไปด้วย

แต่ลักษณะพฤติกรรมและความรุนแรงที่เป็นผลลัพธ์จากการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์จะเป็นอย่างไร ร.อ.หญิง พญ.กานติ์ชนิต ผลประไพ จิตแพทย์ รพ.พระรามเก้า บอกว่า เราสามารถสังเกตตัวเองว่ามีอาการของ Social addiction หรือโรคติดสื่อสังคมออนไลน์นี้ได้ จากลักษณะอาการหลายประการที่มีความเป็นไปได้สูงที่จะพบปัญหาการติด Social media และอาจก่อให้เกิดภาวะของโรคซึมเศร้า โรคเครียด วิตกกังวล สมาธิสั้น และไบโพลาร์ได้

เพราะการจดจ่ออยู่กับสมาร์ตโฟน หรือท่องอยู่แต่ในโลกโซเชียลฯ เป็นเวลานานตลอดทั้งวัน แน่นอนว่าจะไปเบียดเวลาพักผ่อนให้ลดน้อยลง และที่สำคัญจะมีพฤติกรรมเกิดการฝั่งตัวเองในโลกออนไลน์มากเกินไป ส่งผลให้ตัดขาดจากผู้คนรอบข้าง



“ผู้ป่วยบางราย ใช้ชีวิตในโลกสมมุติมากกว่าโลกแห่งความเป็นจริงเสียอีก” ร.อ.หญิง พญ.กานติ์ชนิต ยกตัวอย่างให้ฟัง

เราสามารถเริ่มต้นเช็กอาการเสพติดสื่อสังคมออนไลน์ หรือ Social addiction ได้ดังนี้

1. อยู่กับโซเชียลฯ มากกว่าที่ตั้งใจไว้
2. ช่วงเวลาที่ไม่ได้ใช้โซเชียลฯ มักจะมีอาการกระวนกระวายใจหรือหงุดหงิด
3. พยายามที่จะควบคุมการเข้าถึงโซเชียลฯ ของตัวเอง แต่ไม่สามารถควบคุมได้
4. คิดถึงโซเชียลฯ อยู่เรื่อย ๆ ไม่ว่ากำลังทำอะไรอยู่ก็ตาม
5. ทุกครั้งที่เครียดมักจะใช้โซเชียลฯ คลายเครียด
6. โกหกหรือปิดบัง เพื่อที่จะได้เล่นโซเชียลฯ
7. โซเชียลฯ เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาการทำงานหรือความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด



อย่างไรก็ตาม ลักษณะอาการเหล่านี้เป็นตัวชี้บอกได้ว่า...สื่อสังคมออนไลน์ กำลังเริ่มมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ซึ่งเราสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดสื่อสังคมออนไลน์ได้ในเบื้องต้น ได้แก่ พยายามจำกัดเวลาการใช้โซเชียลฯ ให้ลดลง หรือกำหนดเวลาให้แน่ชัด

โดยสามารถใช้การตั้งเตือนก่อนที่จะครบเวลาที่กำหนด และพยายามหากิจกรรมอื่นทำ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น งานอดิเรกที่สนใจ การออกกำลังกาย การพบปะเพื่อนหรือญาติ การไปท่องเที่ยว การหากิจกรรมคลายความเครียด

ดังนั้นหากพบว่าตนเองหรือคนรอบข้างมีอาการของ Social addiction แล้วไม่สามารถจัดการกับตัวเองด้วยวิธีเบื้องต้นได้ ก็ควรนัดหมายเข้าพบจิตแพทย์ เพื่อคัดกรอง วินิจฉัย และรักษาปัญหา Social addiction และโรคร่วมอื่น ๆ ทางจิตเวชต่อไป.



คอลัมน์ : Healthy Clean  โดย “ทวีลาภ บวกทอง”
ขอบคุณภาพจาก : Pixabay , Gerd Altmann ,Лечение наркомании
ขอบคุณ : https://www.dailynews.co.th/article/757982
เสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 12.00 น.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ