เรื่องทั่วไป > ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน)

ความประมาท ของคนนั่งสมาธิ 11 ประการ

(1/2) > >>

raponsan:

ความประมาท ของคนนั่งสมาธิ 11 ประการ

หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์ตลอด 45 พรรษาแล้ว
ทรงเปล่งปัจฉิมวาจาก่อนดับขันธปรินิพพาน ณ เมืองกุสินารา ว่า "ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราจักเตือนเธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง
มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด"
(มหาปรินิพพานสูตร ฑี.ม. 10/143/180) ความหมาย "ความไม่ประมาท"
คือการที่สติกำกับตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะคิด จะพูด จะทำสิ่งใดๆ จะไม่ยอมถลำ
สู่ทางเสื่อม และไม่ยอมพลาดโอกาสในการสร้างความดี.

การเจริญภาวนา เป็นเหตุให้เกิดการตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า หากไม่ประกอบเหตุ
คือการเจริญภาวนา ผลคือการตรัสรู้ธรรม ย่อมไม่มี ดังนั้นการเจริญภาวนา หรือพูดสั้นๆ
ว่าการนั่งสมาธิ จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้หวังความสุขความหลุดพ้นเป็นอย่างยิ่ง
ผู้ไม่นั่งสมาธิ ได้ชื่อว่าประมาทที่สุด เพราะหากไม่เข้าถึงกายธรรมอรหันต์
เป็นพระอรหันต์ ก็ตกเป็นบ่าวเป็นทาสกิเลสตลอดไป ผู้ไม่นั่งสมาธิได้ชื่อว่าประมาท
ขอยกไว้แม้ผู้นั่งสมาธิแล้วก็ยังได้ชื่อว่าประมาทอยู่หากมีลักษณะ 11 ประการ ดังนี้

 

1. ไม่ทำกิจโดยเคารพ คือนั่งสมาธิไปอย่างนั้นๆ ไม่ศึกษาว่าทำถูกต้อง ถูกวิธีหรือไม่
ทำผิดก็คิดว่าทำถูก ทำน้อยก็คิดว่าทำมาก จึงได้รับผลไม่เต็มที

2. ไม่ทำติดต่อกัน คือนั่งสมาธิแบบเดี๋ยวจริงเดี๋ยวหย่อน เหมือนธารน้ำที่ไม่เชื่อมต่อกัน
ก็กลายเป็นร่องน้ำเป็นหย่อมๆ ไป

3. ทำๆ หยุดๆ คือนั่งสมาธิไปช่วง เลิกนั่งไปอีกช่วงเหมือนกระแตที่วิ่งๆ หยุดๆ
แม้ช่วงที่ได้นั่งสมาธิจะได้ผลอย่างดี แต่หากทำๆ หยุดๆ แล้วก็ ยากที่จะเอาดีได้
เหมือนนักกีฬาที่มีความสามารถเฉพาะตัวสูง หากซ้อมบ้างไม่ซ้อมบ้าง ก็ยากที่จะก้าว
ไปสู่ความเป็นเลิศได้

4. ทำอย่างท้อถอย คือนั่งสมาธิเหมือนคนซังกะตายเหมือนลูกจ้างที่ทำงานไม่เต็มแรง

5. ทอดฉันทะ คือทำแบบเลื่อนลอย ทำแบบหมดรัก
"ความรัก" จะก่อให้เกิดพลังอย่างน่าอัศจรรย์

6. ทอดธุระ อาการหนักกว่า ทอดฉันทะอีก คือไม่สนใจทำแล้ว

7. ไม่ติด คือทอดธุระแล้วก็ชะล่าใจ ชักนั่งสมาธิไม่ติดแล้ว ผุดลุกผุดนั่ง

8. ไม่คุ้น คือพอทิ้งไปมากเข้าบ่อยเข้า ครั้นมานั่งสมาธิอีก ก็เหมือนมาเริ่มต้นใหม่
เหมือนไม่เคยนั่งสมาธิมาก่อน รู้สึกอึดอัดขัดข้องไปหมดก็ต้อง อดทน...อดทน...
แล้วก็ อดทน ก็จะดีขึ้นไปเรื่อยๆ เอง ไม่ควรท้อถอย หรือหมดกำลังใจ

9. ไม่ทำจริงๆ จังๆ คือทำแบบเช้าชาม เย็นชาม ทำพอได้ชื่อว่าทำ

10. ไม่ตั้งใจทำ คือทำแบบถูกบังคับให้นั่ง ทำแบบให้คิดจะเอาดี อันที่จริง
จะตั้งใจนั่งสมาธิกับไม่ตั้งใจช่วงเวลานั้นก็ใช้เวลาเท่ากัน ไหนๆ จะต้องเสียเวลาแล้ว
ก็น่าจะทำให้ดีที่สุด

11. ไม่หมั่นประกอบ คือนานๆ ทำที ทำที่ก็ทำแต่น้อย เช่นนั่งสมาธิปีละ3 ครั้ง
ครั้งละ 10 นาทีเป็นต้น พระพุทธองค์ท่านทรงสอนให้เราสันโดษในปัจจัย 4
แต่ไม่ใช่สันโดษในการสร้างความดี ความดีเป็นสิ่งที่ต้องสร้างอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เหมือนทะเลไม่อิ่มด้วยน้ำ บัณฑิตไม่อิ่มด้วยความดี โดยเฉพาะความดีที่เกิดจากการ
นั่งสมาธิเจริญภาวนา

ความประมาททั้ง 11 ประการนี้ จะค่อยๆ บั่นทอนความดี จากการนั่งสมาธิไปเรื่อยๆ
จนเราหมดกำลังใจที่จะทำต่อไป ดังนั้นจึงควรเร่งตรวจสอบตนเองและหมั่นฝึกใจ
ให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายเรื่อยไป จนกว่าจะเข้าถึงพระนิพพาน

ความไม่ประมาทแบบย่อ ความไม่ประมาทคำเดียวแต่ได้ย่อพระไตรปิฏกทั้งหมดลง
คำๆ นี้อุปมาเหมือนรอยเท้าสัตว์ทุกรอย สามารถบรรจุในรอยเท้าช้างได้
พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ได้สรุปเรื่องความไม่ประมาทอย่างง่ายๆ ว่า
"ท่านทั้งหลายจงรีบฝึกฝนอบรมตนให้เข้าถึงธรรมกายให้ได้ อย่าประมาทในชีวิต
"ประมาท" หมายถึง เอาใจออกห่างศูนย์กลางกายใจออกจากศูนย์กลางกายได้ชื่อว่า
ประมาทแล้ว การเข้าถึงะรรมกายก็จะยืดออกไป ทำให้สิ่งที่เราจะเรียนรู้อะไรต่างๆ
อีกมากมายหมดสิ้นไป... ให้ตรึกระลึกถึงศูนย์กลางกายตั้งแต่ตื่นจนกระทั้งหลับ
วางใจให้ถูกส่วนให้ละเอียดอ่อน ให้จริงจังจริงใจ และสม่ำเสมอทุกวัน ความสม่ำเสมอ
เป็นหัวใจแห่งการปฎิบัติธรรม ไม่ว่าจะเซ็ง เครียด เบื่อ กลุ้ม เจ็บไข้ อย่างไรก็ตาม
ทันทีที่เราปิดตาจรดศูนย์กลางกายก็เป็นการกำชัยชนะล้านเปอร์เซนต์แล้ว"
ชีวิตปลา รักน้ำ ขวนขวายที่จะอยู่กับน้ำ และขาดน้ำไม่ได้ฉันใด ชีวิตเราก็ต้องรัก
ศูนย์กลางกาย ขวนขวายที่จะอยู่กับศูนย์กลางกายและขาดศูนย์กลางกายไม่ได้ฉันนั้น

Ref: วารสารกัลฯ ฉบับที่ 144 ธันวาคม 2540
จากยอดดอย โดยทันต์จิตต์
ที่มา  เว็บพลังจิต

sangtham:
 :25:

สาูธุ อนุโมทามิ จำพระมาอย่าว่ากันนะครับ กับสถานการณ์การใช้

ผมว่ายังขาดเรื่องใหญ่อีกเรื่องครับ

:อีกอย่างครับ คือการขาดความเข้าใจในการภาวนา หรือ กรรมฐาน:

vijitchai:
ผมว่า จริง ๆ แล้ว อาจจะขาดมากกว่านั้น ครับเช่น นิสัย ผมต้องการให้มีการบังคับครับ เพราะผมไม่ค่อยชอบบังคับตัวเองเท่าไรครับ ผมสังเกต ตัวเองพอมาที่วัดก็นั่งกรรมฐานได้ พอกลับบ้านแล้ว ก็นั่งไม่ได้

ทั้งที่อยู่กับพระอาจารย์ ที่วัดท่านก็นั่งอยู่ด้วยผมนั่งกรรมฐานได้เป็นชั่วโมง
แต่ทำไม ผมกลับมานั่งคนเ้ดียวที่บ้านทั้งที บ้านผมเองนั้นก็เงียบสงบ อากาศก็ดี นั่งในห้องแอร์ แต่กลับนั่งไม่ได้เหมือนที่วัดเลยครับ

 :040: ต้องให้เป็นภาระพระอาจารย์ ช่วยผมด้วยครับ

Thanya:
ขอบคุณครับ อ่านได้กำลังใจในการฝึกต่อไปครับ

มะเดื่อ:
เรื่องนี้มีประโยชน์กับผมมาก ๆ เลยครับ

 :25: :25:

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป