ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "จิตสงบระงับ" เป็นพื้นฐานกรรมฐาน ภาวนาระดับนี้อย่าคิดว่าจะไม่เกิดอีกนะยังไม่พ้น  (อ่าน 3295 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
สืบเนื่อง ห้วข้อธรรมของทุกท่าน เวลาแจ้งถามกันมา ก็จะพูดความที่จิตเข้าไปนิ่ง กล่าวคือ สงบ อยู่อย่างนั้น รู้สึกเป็นสุขบ้าง บางคนรู้สึกทำให้ใจวางเฉย ซึ่งเป็นการดี

  เมื่อพระโยคาวจร (หมายถึงผู้ประกอบความเพียร ในธรรมเครื่องตรัสรู้ตามพระสุคต ) ได้ภาวนาปฏิบัติกรรมฐาน ผ่านลำดับของกรรมฐาน จนเข้าภาวะที่สงบ ที่ดูเหมือนปล่อยวาง อยากทราบการที่จิต หยุดนิ่ง มีลักษณะปล่อยวางอย่างนี้ถูกต้องหรือไม่ในการปฏิบัติภาวนา

   ส่วนนี้คงจะตอบให้ไม่ได้ ว่าถูก หรือ ผิดเพราะเป็นเรื่องส่วนตัว แต่ลักษณะที่จิต จะมีความสงบระงับอย่างนี้ จะมีอยู่สามส่วนด้วยกัน

    1.จิตสงบระงับ ตั้งแต่ ฌานที่ 4 เพราะละสุข และ ละทุกข์เสียได้ จิตเข้าเอกัคคตารมณ์ เพราะสุขไม่ปรากฏ และ ทุกข์ไม่ปรากฏ ด้วยอาการละอันเป็นจิตพร้อมควรแก่งาน สงบนิ่งอย่างนี้ก็ยังมีนิมิตภายในเป็น รูปนิมิต ประจำตัว ดังนั้นถึงจะสงบนิ่งนิมิตนี้ก็จะอยู่อย่างนั้นเหมือนกายที่เรานั่งอยู่ นอนอยู่ เดินอยู่ ยืนอยู่ ก็คงมีอยู่อย่างนั้นเพียงแต่อารมณ์เข้าไปสู่เอกัคคตา ( ความที่มีอารมณ์เดียว )

    2.จิตสงบระงับด้วยอำนาจปัญญา ในการภาวนาประกอบด้วยการยกธรรม เกิดธรรมสังเวศ และเห็นตามความเป็นจริง จิตเข้าไปสงบระงับเป็นการชั่วคราวด้วยอำนาจปัญญานั้น การปฏิบัติอย่างนี้เป็นไปตามลำดับของโพชฌงค์ 7 การที่จิตสงบระงับลงชั่วคราวนั้นด้วย ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ นี้ก็เป็นธรรมที่สงบระงับชั่วคราว มีลักษณะการปล่อยวาง เมื่อจิตวางแล้ว ก็จะเป็นสมาธิมองเห็นตามความเป็นจริง คือการรู้แจ้งตามความเป็นจริง

    3.จิตสงบระงับอย่างสิ้นเชิง เป็นคุณของพระอรหันต์ เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นแล้วไม่ถอยกลับ เป็นอย่างนี้อนุโมทนา

    4.จิตสงบระงับ เพราะเปลี่ยนเรื่องเหตุปัจจัย เปลี่ยนอารมณ์ จิตสงบระงับนี้เป็นจิตปุถุชน จึงกล่าวเป็นลำดับสุดท้าย ถึงไม่กล่าวท่านทั้งหลายก็เข้าใจกันอยู่ในส่วนนี้

    ดังนั้นท่านทั้งหลายที่ มีจิตสงบระงับก็ให้พิจารณาในความสงบระงับทั้ง สี่ประการนี้ดูท่านก็จะเข้าใจตัวท่านเอง แต่การที่เราสงบระงับนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะไปกล่าวบอกใครต่อใครให้ทราบ ก็เป็นเพียงธรรมภายในที่เกิดขึ้นภายในเรา หลายท่านมักจะต้องการไปบอกเขาอย่างนี้ ในยุคนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ หรือมีความจำเป็นใด ๆ ที่ต้องไปบอกกล่าวว่าเราปฏิบัติถึงความสงบระงับอย่างนี้แล้ว เพียงแต่ท่านภาวนาของท่านให้พ้นจากสังสารวัฏอันหาแก่นสารมิได้ นี้ก้เพียงพอแล้ว อย่ามัวติด ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ กันอยู่เลย ชีวิตเราน้อยนักไม่ได้มีเวลามากหากต้องพลาดพลั้งจากช่วงนี้ไปแล้ว ก็คงจะอีกนานแสนนานกว่าจะได้พบธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นได้ง่าย เพราะต่อไปสัทธรรมปฏิรูป ก็จะเกิดขึ้นมามากและ พระพุทธศาสนาก็จะหมดไปตามคำทำนายของพระพุทธองค์ที่ทรงได้แสดงไว้แล้ว

     วิธีทำจิตให้สงบระงับแบบบุคคลทั่วไป
     1.ทำการกล่าวคำขอขมา พระรัตนตรัย     
     2.ทำการอธิษฐานเพื่อภาวนานี้เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า
     3.กำหนดจิตไว้ที่ ฐานจิตที่หนึ่ง ต่ำจากสะดือสองนิ้ว
     4.กำหนดคำบริกรรมว่า พุทโธ กำหนดให้เร็วไม่ต้องผูกกับลมหายใจเข้าหรือออก กำหนดอยู่อย่างนั้น ตามความชอบใจ
     5.ทำการอธิษฐานหยุดการภาวนา
     6.แผ่ส่วนกุศลให้กับผู้ที่ท่านอยากให้ได้บุญด้วยในครั้งนี้ จะเป็นใครก็ตามใจ ท่านเถิด
 
   ทำอย่างนี้ไม่ต้องกำหนดอิริยาบถใด ๆ เพียงแต่ท่านนั่งอยู่ กระทำภาวนาแบบนี้ สัก 5 นาทีขึ้นไปจะดี วันหนึ่งให้ทำบ่อย ๆ ดีกว่าไม่ทำเลย

     ขอให้ท่านทั้งหลายถึงความสงบระงับในภายในด้วยกันทุกท่านทุกคนเทอญ

    เจริญพร / เจริญธรรม


     ;)     
     

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 23, 2012, 10:37:29 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระอาจารย์ให้วิธีการปฏิบัติกรรมฐาน เบื้องต้นเลยนะครับ งานนี้เพียงแต่ไม่กล่าวชื่อว่าปฏิบัติกรรมฐาน มัชฌิมา โดยตรง นะครับ

 อนุโมทนาสาธุ ครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา