ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนานการเข้าสับ เข้าคืบ เข้าวัดออกวัด สะกด  (อ่าน 3033 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

chatchay

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 244
  • เกิดเป็นคนต้องมีดี บวชทั้งทีต้องสร้างดีให้กับตน
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การเข้าสัพ พระปีติ ๕ พระยุคล ๖ สุขสมาธิ ๒  พระราหุลเถรเจ้า ทรงศึกษากับพระสารีบุตรเถรเจ้า องค์พระอุปัะชฌาย์ ครั้งทรงบรรพชาเป็นสามเณร  เพื่อให้จิต คล่องแคล่ว ชำนิชำนาญ

การ เข้าสะกด พระปีติทั้ง ๕ พระยุคลทั้ง ๖ สุขสมาธิ ๒ ประการ  พระราหุลเถรเจ้า ทรงเป็นต้นแบบ กล่าวคือ  สัทธิวิหาริกของ พระราหุลองค์หนึ่ง กำลังนั่งบำเพ็ญภาวนาอยู่ ขณะนั้นบังเอิญเกิดมีกิ่งไม้แห้งหักตกลงสู่พื้นมีเสียงดังเกิดขึ้น พระภิกษุสัทธิวิหาริกของ พระราหุลเถรเจ้า กำลังบำเพ็ญภาวนาอยู่ก็สดุ้งตกใจเล็กน้อย  จิตก็ตกจากสมาธิ พระ ราหุลเถรเจ้าเห็นดังนั้น  ทรงทราบได้ทันทีว่า กุลบุตรที่มีจิตใจกล้าแข้งก็มี  กุลบุตรที่มีจิตใจอ่อนไหวต่อเสียงก็มี ครั้นได้ยินเสียงดัง อันเป็นเสี้ยนหนามต่อสมาธิเกิดขึ้น ผู้มีจิตอ่อนไหว จิตจะตกจากสมาธิทันที    กาลต่อมาพระราหุลเถรเจ้า   จะทรงทดลองสะกดสมาธิจิต ของพระภิกษุสัทธิวิหาริกขึ้น  โดยใช้ไม้เคาะให้เกิดเสียงดังขึ้นขณะ ภิกษุสัทธิวิหาริกนั้นกำลังเดินจิต ในพระปีติทั้ง ๕ พระยุคลทั้ง ๖ พระสุขสมาธิ ๒ ประการ เมื่อได้ยินเสียงไม้เคาะสะกด ให้เลื่อนปีติ ยุคล ๖ สุขสมาธิ ๒ ทีละขั้น  จนจิตนั้นไม่สะดุงสะเทือนต่อเสียง เป็นจิตที่ทนต่อเสียง มีจิตเข้มแข็งขึ้นเป็นลำดับ   

การเคาะไม้สะกด มีมาจนถึง การสังคายนาครั้งที่ ๓  จึงเปลื่ยนมาใช้ลูกดินเผา ทิ้งลงในบาตรดินเผาให้เกิดเสียงแทน   ใช้มาจนถึงยุคทวาราวดี  ถึงสมัยสุโขทัย  จึงเปลื่ยนมาเป็นลูกตะกั่วสะกดแทน  ต่อมาพระมหาเถรนามว่าแก้ว นำลูกสะกดมาเจาะรูตรงกลางเสียบไม้ ปักกับเทียนเป็นระยะ  วางเทียนที่ติดลูกสะกดไว้ บนไม้ตีนกา นำไม้ตีนกาวางบนปากบาตร  จุดเทียน ไฟไหม้เทียนลามมาถึง ไม้เสียบลูกสะกดอยู่ ลุกสะกดตกลงบาตรดินมีเสียงดัง ผู้เข้าสะกดสะดุ้ง  ลูกต่อๆมาตก ไม่สะดุ้ง ทนต่อเสียงมีจิตกล้าแข้ง จิตไม่ตกจากสมาธิ  วิธีนี้ใช้เรื่อยๆมาจนถึงสมัยอยุธยา   รัตนโกสินทร์  ถึงปัจจุบันนี้  ส่วนมากสถานที่เข้าสะกด จะใช้เวลากลางคืน สะกดในป่าช้า เพื่อสะกดสงบความกลัว  สงบความสะดุ้งของจิต

ที่มา
1. การสืบทอดพระกรรมฐาน http://www.somdechsuk.com/download/karnsaebtodprakammathan.doc เรียบเรียงโดย พระครูสิทธิสังวร
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
โทษอันใดที่ข้าพเจ้าล่วงเกินแล้วต่อพระรัตนตรัย ด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ขอพระรัตนตรัย โปรดจงงดซึ่งโทษล่วงเกินนั้นแก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ด้วยเทอญ