ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: นมัสการพระบรมธาตุนาดูน ขอพรพระยืน "ข้ามสะพานแกดำ" อันซีนใหม่ "มหาสารคาม"  (อ่าน 3382 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


นมัสการพระบรมธาตุนาดูน ขอพรพระยืน "ข้ามสะพานแกดำ" อันซีนใหม่ "มหาสารคาม"

“มหาสารคาม” หรือ “เมืองตักสิลา” ได้รับการขนานนามว่าเป็น “พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร” โดยตั้งอยู่จุดกึ่งกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เรียกว่า “สะดืออีสาน”

“มหาสารคาม” หรือ “เมืองตักสิลา” ได้รับการขนานนามว่าเป็น “พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร” โดยตั้งอยู่จุดกึ่งกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เรียกว่า “สะดืออีสาน” เป็นแหล่งเพาะปลูกผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญและเป็นแหล่งเพาะบ่มศิลปวัฒนธรรมของชาวอีสานมาตั้งแต่บรรพกาล
 
นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญมานานนับร้อยปี โดยพบหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยคุปตะ และปัลลวะของอินเดียผ่านเมืองพุกามในรูปแบบของศิลปะสมัยทวารวดี เช่น บริเวณเมืองกันทรวิชัยและเมืองนครจัมปาศรี โดยพบพระยืนกันทรวิชัย พระพิมพ์ดินเผา ตลอดทั้งพระบรมสารีริกธาตุ ทั้งยังได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ผ่านทางชนชาติขอมสมัยลพบุรี เช่น กู่สันตรัตน์ กู่บ้านเขวา กู่บ้านแดง และกู่อื่น ๆ รวมไปถึงเทวรูปและเครื่องปั้นดินเผาของขอมที่อยู่ตามพื้นผิวดินทั่วไปในจังหวัดมหาสารคาม

ไม่เพียงเท่านั้นมหาสารคามยังเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม ฯลฯ จึงได้รับการขนานนามว่า ตักสิลาแห่งอีสานและชาวไทยญ้อ โดยประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ถือปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีจารีตประเพณีฮีตสิบสอง คองสิบสี่ ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย มีการไปมาหาสู่กัน ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันตามแบบของคนอีสาน




ขณะเดียวกันก็มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน น่าศึกษา โดยมีโบราณสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น พระบรมธาตุนาดูนพุทธมณฑลอีสานตั้งอยู่ที่บ้านนาดูน อำเภอนาดูน ซึ่งเป็นที่ขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต เพราะบริเวณนี้ได้เคยเป็นที่ตั้งของนครจำปาศรีมาก่อน โบราณวัตถุต่าง ๆ ที่ค้นพบได้นำไปแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น และที่สำคัญยิ่งก็คือการขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-15 สมัยทวารวดี รัฐบาลจึงอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูนขึ้นในเนื้อที่ 902 ไร่ บริเวณรอบ ๆ จะมีพิพิธภัณฑ์ทางศาสนาและวัฒนธรรม สวนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ซึ่งตกแต่งให้เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา

“พระกันทรวิชัย” พระพุทธมงคล หรือ วัดพระยืน หรือที่เรียกติดปากว่ากันทรวิชัย หรือพระพุทธรูปยืนมงคล จังหวัดมหาสารคาม ตั้งอยู่ตำบลคันธารราษฎร์ อำเภอกันทรวิชัย บนทางหลวงหมายเลข 213 ห่างจากตัวเมืองประมาณ 14 กิโลเมตร เป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี สร้างขึ้นด้วยหินทรายแดง เหมือนพระพุทธรูปมิ่งเมือง กล่าวกันว่า พระพุทธรูปมิ่งเมืององค์นี้ เมื่อท้าวมหาชัย เจ้าเมืองมหาสารคามคนแรกได้รวบรวมไพร่พลจากร้อยเอ็ดมาตั้งเมืองใหม่ได้สร้างศาลหลักเมืองและอัญเชิญศาลเจ้าพ่อหลักเมืองมาประทับเพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง และให้ประชาชนทั่วไปสักการบูชา




“สะพานไม้แกดำ” อันซีนแห่งใหม่ของมหาสารคาม ตั้งอยู่บ้านแกดำ อำเภอแกดำ ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน ชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจก่อสร้างขึ้นมาในราว พ.ศ. 2507 ใช้ข้ามหนองแกดำเชื่อมระหว่าง 15 หมู่บ้านซึ่งคดเคี้ยวมีความยาว 20 เมตร กว้าง 4 เมตร ชาวบ้านสร้างขึ้นมาเพื่อใช้สัญจรไปมา แต่ก็ยังไม่แล้วเสร็จดี ลักษณะของสะพานจะใช้ไม้เป็นลำวางไว้เท่านั้นและมีการคดเคี้ยวไปมาตามความตื้นของน้ำในหนอง ในปีนี้เองที่มีการได้สร้างสะพานทั้งหมดใหม่ ซึ่งมีความยาว 453.5 เมตร กว้าง 1 เมตร ประโยชน์ที่เพิ่มเข้ามาคือเพื่อให้นักเรียนเดินทางไปเรียนในตอนเช้าและกลับในตอนเย็น และนักท่องเที่ยวแห่กันมาถ่ายภาพเป็นที่ระลึก

“วนอุทยานโกสัมพี” อ.โกสุมพิสัย ลักษณะเป็นสวนป่ามีต้นไม้กว่า 3,618 ชนิด เช่น ต้นยางใหญ่ ต้นตะแบก ต้นกระทุมและมีหนองน้ำธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของนกต่าง ๆ และลิงแสมสีทองจำนวน 800 ตัว ซึ่งลิงแสมสีทองเป็นพันธุ์ที่หายาก นอกจากนี้ยังมีจุดที่น่าสนใจในวนอุทยานเช่น แก่งตาดอยู่ในลำชีซึ่งจะเห็นเฉพาะช่วงหน้าแล้งหินดินดานจะโพล่ มีน้ำไหลกระทบหินดินดานเป็นฟองคลื่นขาวสะอาดสวยงามขึ้นมาให้นักท่องเที่ยวได้ลงไปเล่นได้ วนอุทยานโกสัมพีตั้งอยู่ที่ตำบลหัวขวาง ริมฝั่งแม่น้ำชี และมีลานข่อยที่ตกแต่งเป็นรูปต่าง ๆ.





:: เรื่องกินเรื่องใหญ่ ::

มาถึงจังหวัดมหาสารคามถิ่นอีสานต้องลิ้มรสอาหารเลิศรส “ไก่งวงตักสิลาพื้นบ้าน” นายชัชวาล ประเสริฐ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการปศุสัตว์ เขต 4 กล่าวว่า “ร้านคิวช็อป” ตั้งอยู่ในศูนย์วิจัยและพัฒนาปศุสัตว์เขต 4 ต.แวงน่าง อ.เมือง จำหน่ายไก่งวงแบรนด์ตักสิลาสี่ได้มาตรฐานจากฟาร์มและจากโรงเชือด มีไก่งวงแช่แข็ง และอาหารไก่งวงอร่อย เช่น ลาบไก่งวง ก๋วยเตี๋ยวไก่งวง ตุ๋นไก่งวง ไก่งวงรมควัน ไก่งวงมะนาว

นางอุทัยววรรณ สีธรรา หรือจ๊อด เจ้าของ เล่าว่า เปิดร้านมาได้ 10 ปีแล้ว ปัจจุบันมี 2 สาขาแถวหน้ามหาวิทยาลัยมหาสารคาม และที่บ้านดินดำ ต.เกิ้ง อ.เมือง โดยสืบทอดการทำอาหารจากบรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตายาย อาหารที่ขึ้นชื่อ คือ ส้มตำ ตำแตง ตำอาจารย์ ไข่ต้มยางมะตูม ปลานิลเผาเกลือ และต้มแซ่บกระดูก ใครได้ลิ้มรสแล้วจะติดใจเนื่องจากต้องต้มโดยใช้เตาถ่านจะทำให้น้ำต้มซุปกลมกล่อม

“ร้านบายสเต๊กไก่งวง” นายธเนศ ดวงโพธิ์พิมพ์ เจ้าของร้านบาบายสเต๊ก เล่าว่า ร้านตั้งอยู่ถนนริมคลองสมถิล  อ.เมือง อาหารรสเด็ด คือ ลาบไก่งวง ไก่งวงผัดพริกไทยดำ โครงไก่งวงทอด ข้าวต้มไก่งวง ไก่งวงอบ เน้นอาหารสดใหม่และสะอาด

แซ่บที่ “แพกลางน้ำ” ร้านอาหารญ้อภูไทกับอาหารอีสานต้นตำหรับ นายสมศักดิ์ ดาวเสก เจ้าของร้าน เล่าว่า เปิดร้านมาได้ 19 ปีแล้ว ซึ่งเป็นร้านอาหารญ้อภูไท เนื่องจากชาวอำเภอกันทรวิชัยพื้นเพดั้งเดิมเป็นชาวไทญ้อ ซึ่งตั้งอยู่เลขที่165 หมู่ 1 ต.ท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย ทางเข้ามหาวิทยาลัยมหาสารคาม เน้นวัตถุพื้นบ้าน ผักปลอดสารพิษปลูกเอง หรือผักโครงการหลวง อาหารที่ขึ้นชื่อ อ่อมหวาย (ต้นตำหรับ) ตำญ้อภูไท แหนมปลาอินทรีย์ ไก่บ้านทอด ปลาช่อนลุยสวน ห่อหมกปลาตอง ปลานิลตะไคร้กรอบ ต้มยำพวงไข่



“ร้านรื่นรมย์” จุดศูนย์รวมนิสิต นักศึกษา อาจารย์ ยามว่างสุดฮิตแบบเบา ๆ ที่ทุกคนผ่านไปผ่านมาต้องแวะ นายธีรวุฒิ บุ่งสุด เจ้าของร้าน เล่าว่า ชอบเปิดร้านขายเครื่องดื่ม และอยากให้ลูกค้าประทับใจ จึงต้องใส่ใจทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัยให้กับลูกค้า ร้านเป็นซุ้มและมีที่นั่งมุมน่ารักให้กับลูกค้า ซึ่งตั้งอยู่ข้างศูนย์นวัตกรรมหม่อนไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีนิสิตนักศึกษาแวะมาซื้อตลอดทั้งวัน มีเครื่องดื่ม เช่น กาแฟเย็น กาแฟร้อนพร้อมน้ำชาร้อน ๆ ชาเขียว ชานมเย็น น้ำดื่มเพื่อสมุนไพร กระเจี๊ยบ ชามะนาว เก๊กฮวย  ของทานเล่น เช่น ขนมจีบ ลูกชิ้น ขนมปังญวน ฯลฯ

“ร้านครัวต้นเครื่อง” เน้นวัตถุดิบสดและปลอดสารพิษ อาหารเพื่อสุขภาพ นางเอมอร เอี่ยมวิจารณ์ เจ้าของร้านเปิดเผยว่า เป็นต้นตำรับอาหารเพื่อสุขภาพ วัตถุดิบทุกชิ้นสด ใช้ผักปลอดสารพิษจากโครงการหลวง ไม่ใส่ผงชูรส น้ำพริกตำเอง อาหารขึ้นชื่อ ปลาอินทรีย์ หมูอบซอส ปลาอินทรีย์ทอดน้ำปลา ทอดมันปลาอินทรีย์ แกงป่าเห็ดโคน นมจีนน้ำยาปู สเต๊กปลาอินทรีย์ อาหารทะเล ไปซื้อเองสด ๆ วันต่อวัน.





ของดี ‘สารคาม’ ไหมสร้อยดอกหมาก เสื่อกกบ้านแพง เทียนแก้วแม่พูลศรี

"ขนมเทียนแก้วแม่พูลศรี” โอทอปหนึ่งเดียวของมหาสารคามที่คนจากจังหวัดข้างเคียงถึงกับต้องขับรถข้ามมาซื้อไปรับประทานเพราะติดใจในรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ นางพูลศรี รอบวงศ์จันทร์ เจ้าของสูตรลับที่ใครต่อใครติดใจ กล่าวว่า สมัยก่อนจะทำเฉพาะเวลามีงานเทศกาล งานประเพณี งานทางศาสนา หรือการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เท่านั้น เมื่อไปทำบุญก็นำไปฝากญาติโยมด้วยนอกจากจะถวายพระ จนเริ่มมีคนติดใจในรสชาติและสั่งทำตามที่ลูกค้าต้องการ บางส่วนก็นำไปขายที่ตลาดจนได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ถึงกับต้องว่าจ้างแรงงาน รวมทั้งเพิ่มยอดในการผลิตขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันมีสมาชิกช่วยทำขนมเทียนแก้วจิ๋วอยู่ 15 คน ทำหน้าที่แตกต่างกันไปแต่สามารถทำแทนได้หากขาดใครคนใดคนหนึ่งไป
       
ขนมเทียนแก้วเป็นไส้เค็ม แป้งใสมองเห็นไส้ถั่วเขียว ขนาดพอดีคำ ห่อด้วยใบตอง บรรจุใส่ชะลอมที่สวยงาม  ขนมเทียนแก้วที่ห่อแล้วยังไม่นึ่งสามารถเก็บเข้าตู้เย็นได้นาน 2-3 สัปดาห์ ส่วนขนมเทียนที่นึ่งแล้วเข้าตู้เย็นเก็บรักษาได้นาน 1 สัปดาห์ และในอุณหภูมิปกติ 2 วัน นอกจากจำหน่ายตรงหน้าบ้านแล้ว ยังมีการนำไปจำหน่ายตามสำนักงาน หน่วยงานราชการ พร้อมมีบริการรับส่งโดยเฉพาะวันศุกร์-อาทิตย์ และช่วงเทศกาลต่าง ๆ



       
“ผ้าไหมสร้อยดอกหมาก” นางเบ็ญจพร เรืองเดช ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านกุดรัง (ทอผ้าไหม) บ้านกุดรัง เล่าว่า ผ้าไหมลายสร้อยดอกหมาก เป็นผ้าลายเอกลักษณ์ของจังหวัดมหาสารคามที่สืบทอดกันมาช้านาน ด้วยภูมิปัญญาของบรรพบุรุษตามแบบผ้าลายโบราณดั้งเดิมของถิ่นอีสานที่เกือบจะสูญหายไป ด้วยความที่ลายผ้ามีความละเอียดและใช้ระยะเวลาในการทอมาก ผู้ทอต้องมีความอดทน ความรู้ และความชำนาญ เส้นไหมที่นำมาใช้จะต้องเส้นเล็ก มีความสม่ำเสมอ เพื่อให้มีความสวยงามและทันต่อความต้องการของตลาด จึงมีการพัฒนาทักษะฝีมือ มีการรวมกลุ่มของสมาชิกที่เข้มแข็ง โดยปัจจุบันมีสมาชิกในกลุ่ม 15 ราย สร้างรายได้ให้แต่ละคนเดือนละประมาณ 4,000-5,000 บาท
       
“ขนมกะหรี่ปั๊บ” อ.กุดรัง มี นางสมจิตร รัตน์รองใต้ เป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนาโพธิ์ จากจุดเริ่มต้นที่รวมกลุ่มกันเพื่อสร้างอาชีพและรายได้เสริม โดยนอกจากจะร่วมออกงานแสดงสินค้าต่าง ๆ แล้ว ยังส่งขายตามร้านค้าชุมชน หน่วยงานราชการ และส่งขายถึงต่างประเทศ กะหรี่ปั๊ปบ้านนาโพธิ์ ต.กุดรัง ผ่าน อย. รับประกันด้านอาหาร มีเครื่องหมายการค้า ทะเบียนพาณิชย์ ทะเบียนวิสาหกิจชุมชนครบถ้วน อีกทั้งยังได้รับการรับรองให้เป็นสินค้าโอทอประดับ 4 ดาว เคล็ดลับของการทำขนมกะหรี่ปั๊ปให้อร่อย คือ ทอดในน้ำมันใหม่ โดยไม่มีการทอดซ้ำซึ่งทำให้กะหรี่ปั๊บมีรสชาติอร่อย และมีกลิ่นหอมของไส้ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีขนมโบราณ เช่น ดอกจอก และถั่วตัด ที่สะอาด รสชาติกลมกล่อมอีกด้วย.


     กิริยา กากแก้ว.






ขอบคุณภาพและบทความจาก : http://www.dailynews.co.th/article/520427
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

kingman

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 27
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
   ของดีมีก็ต้องโชร์
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ