ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กิจกรรมวันสงกรานต์ และเรื่องน่ารู้  (อ่าน 8627 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
กิจกรรม วันสงกรานต์


วันจ่ายสงกรานต์
ใน วันจ่ายสงกรานต์ นอกจากเตรียมเครื่องเสื้อผ้าใหม่ๆ ไว้แต่ง เขายังทำขนมกวน สำหรับทำบุญถวายพระ และแจกชาวบ้าน ขนมนั้นโดยมากเป็นขนมเปียกข้าวเหนียวแดง และขนมกะละแมเป็นพื้น การแจกนอกจากจะเป็นเครื่องแสดงไมตรียังเป็นเรื่องอวดฝีมือด้วยว่าใครกวนขนม ได้ดีกว่ากัน

การทำขนมในวันนี้นั้น ถ้าบ้านไหนเจ้าบ้านเป็นผู้มั่งคั่งก็ต้องกวน ขนมอย่างนั้นกันเป็นจำนวนมาก จึงจะพอแจกจ่ายให้สมกับฐานะที่เขากวนในวันสงกรานต์ เพื่อแจกแก่ชาวบ้านเพื่อนบ้าน ก็เพราะ สมัยนั้นหาซื้อได้ยาก จึงต้องทำช่วยตัวเองคนแต่ก่อนไม่มีขนมมาขาย อยากกินก็ต้องทำกินเอง เหตุนี้ในวันสงกรานต์หรือว่าในงานอะไร จึงต้องกวนขนมกันเป็นงานใหญ่ สำหรับเลี้ยงพระ และแจกแก่ผู้ที่นับถือและเพื่อนบ้าน จึงได้มีการกวนขนมกันในเทศกาลสงกรานต์และตรุษสารท มีประเพณีสืบกันมาที่ชาวตะวันตกทำเค้กปีใหม่ไปให้กันหรือกำนัลใคร ที่เรานำแบบอย่าง ชาวตะวันตกมาเพราะสะดวก

ทำบุญตักบาตร

 


สงกรานต์ วันต้นหรือวันมหาสงกรานต์ ชาวบ้านลุกขึ้นแต่ไก่ขัน เพื่อเตรียม ไปตักบาตรถวายพระ พอหุงหาอาหารเสร็จ ก็จัดเตรียมอาหารและสิ่งของถวายพระ บรรจุลงภาชนะมีถ้วยโถโอชามอย่างดี แล้วแต่จะมี แล้วเอาวางเรียงลงในถาด หรือภาชนะอย่างอื่นๆ ที่นิยมในท้องถิ่น เพื่อนำไปทำบุญตักบาตรและเลี้ยงพระประจำหมู่บ้านของตนเรื่องการแต่งตัว จะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มใหม่ ซึ่งเตรียมหาไว้ ก่อนหน้าวันสงกรานต์หลายวัน โดยเฉพาะหญิงสาวจะได้แต่งตัวให้สวยพริ้ง เพื่อไปอวดตามวิสัยของคนหนุ่มคนสาวที่รักสวยรักงาม และหญิงสาวพวกนี้ และที่เป็นคนยกเครื่องไทยธรรมของทำบุญ หลังจากตักบาตรเสร็จแล้ว มีเลี้ยงพระฉันเช้าที่ศาลาการเปรียญ โดยมัคนายกเป็นผู้จัดการเรื่องปูเสื่อสาดอาสนะ พอพระฉันเสร็จ ยถาสัพพีอนุโมทนาแล้ว ชาวบ้านก็กลับบ้านกันไป

ก่อพระเจดีย์ทราย
 


ไม่มีกำหนดแน่นอนว่าจะต้องก่อในวันสงกรานต์ ถึงวันอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับ สงกรานต์ ก็มีก่อกัน และไม่จำเป็นต้องก่อที่ในวัดบางแห่งที่อยู่ใกล้แม่น้ำ ตอนเหนือๆ ก่อพระเจดีย์ทรายที่หาดทรายในแม่น้ำก็มี เช่น จังหวัดกำแพงเพชร ในวันก่อ เขามีทำบุญเลี้ยงพระที่หาดทรายด้วย เรียกกันว่า ก่อพระทรายนำไหล เสร็จแล้วก็มีเลี้ยงพระและเลี้ยงดูกันส่วนทางภาคอีสาน บางแห่งเขาทำบุญสงกรานต์เป็นสองระยะ ระยะ แรกทำบุญตักบาตรกลางลานในวันตรุษ ระยะหลังทำบุญตักบาตรที่ลานบ้านในวันสงกรานต์

ทางอำเภอ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีการทำบุญตักบาตรกลางบ้านเหมือนกัน คือเลี้ยงพระกันที่สองข้างถนน จึงเห็นได้ว่าการตักบาตรจะทำกันที่ไหนก็ได้ แล้วแต่สะดวกและนัดกัน ทางจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการก่อพระเจดีย์ทราย เป็นสองตอน ตอนที่หนึ่งก่อที่ลานวัดในวันตรุษ และอีกตอนหนึ่งก่อที่ลานบ้านในวันมหาสงกรานต์ การก่อพระเจดีย์ทรายที่กลางลานบ้านเขาก่อแต่องค์เดียวเป็นส่วนรวม จะขนาดเล็กขนาดใหญ่ก็แล้วแต่กำลังที่จะไปหาบขนเอาทรายมาได้มากน้อยเท่าไหร่ สำหรับก่อ

ทรายที่จะนำมาก่อนั้นเอามาจากลำห้วยลำธารหรือตามหาดทราย ในแม่น้ำ แล้วแต่จะสะดวก การขนทรายก็ไม่ต้องจ้างใครที่ไหน พวกหนุ่มๆ สาวๆ และเด็กๆ นั่นแหละเป็นผู้โกยไปขนใส่กระบุงหาบคอนกันมาเวลาเย็น

ปล่อยนกปล่อยปลา

 


เรื่อง ปล่อยนกปล่อยปลานั้น ที่ทำกันมากคือปล่อยปลา เพราะในกรุงเทพฯ ถ้ามีเงินก็หาซื้อเอาไปปล่อยได้สะดวก ปลาที่ปล่อยโดยมากเป็นปลาชนิดที่เขาไม่กินกัน เพราะเป็นลูกปลาตัวเล็กๆ จับเอามามากๆ ได้สะดวกเพราะ มันตกคลักจับเอา มาได้ก็รวมเอามาขายส่ง โดยมากเป็นลูกปลาหมอ เพราะมันอดทน ไม่ตายง่ายเหมือนปลาชนิดอื่น

การแห่ปลา พวกผู้ชายจะไม่แห่ปลาในตำบลของตน แต่มีประเพณีว่า ชายตำบลนี้ต้องเข้าร่วมแห่ปลาตำบลโน้นเพื่อเชื่อมสามัคคีกัน

เรื่อง ปล่อยนกปล่อยปลา ที่มักทำกันในวันสงกรานต์ เพราะก่อนหน้าวันสงกรานต์เป็นหน้าแล้งอากาศร้อนจัดน้ำแห้งขอดขาดตอนเป็น ห้วงๆ คงเหลือแต่ที่มีแอ่งและหนองน้ำ ปลาก็ตกคลัก อีกไม่ช้าพอน้ำแห้งหมด ปลาเหล่านั้นก็จะต้องตาย ชาวบ้านจึงพากันไปจับปลาที่ตกคลัก ถ้าเป็นลูกปลาจะกินไม่ได้เนื้อได้หนังอะไรก็เลี้ยงไว้ในตุ่มเอาบุญ แล้วนำไปปล่อยในวันสงกรานต์ จึงเกิดเป็นประเพณีปล่อยปลา และลามมาถึงปล่อยนกด้วย

บังสุกุลอิฐ
นอกจากปล่อยนกปล่อยปลาในวันสงกรานต์แล้ว ยังมีประเพณีบังสุกุลอัฐญาติ ผู้ใหญ่ การบังสุกุลนั้นทำแต่ครั้งเดียวจะทำในวันสงกรานต์วันไหนแล้วแต่จะสมัครใจและ นัดหมายกัน โดยมากทำในวันสรงน้ำพระ หรือไม่ก็ทำกันใน วันท้ายวันสงกรานต์ ถ้าจะทำกันในวันแรกของสงกรานต์ เมื่อพระฉันเพลแล้ว ให้เสร็จธุระกันไปก็ได้ ตามประเพณีแต่ก่อนเขาไม่เอาอัฐิเข้าบ้าน ถ้าเป็นชาวบ้านมักฝังญาติผู้ใหญ่ไว้ใต้โคนต้นโพในวัด ฝังไส้ตรงเหลี่ยมไหนรากไหนของต้นโพเขาจำเอาไว้ และนิมนต์พระไปบังสุกุลที่ตรงนั้น

เรื่องบังสุกุลอัฐิในวันสงกรานต์ ถ้าว่าถึงประเพณีชาวฮินดูก็ไม่มี เพราะเมื่อเขาเผาศพแล้ว ตามปกติก็ทิ้งอัฐิ
และเถ้าถ่านลงในแม่น้ำ โดยเฉพะแม่น้ำคงคา เพราะฉะนั้นเรื่องบังสุกุลอัฐิก็คงเป็นประเพณีเดิมของเรา
ไม่ใช่ได้มาจากอินเดีย ในท้องถิ่นเราบางแห่ง เมื่อถึงวันสงกรานต์ เขามีพิธีบวงสรวงผีปู่ย่าตายาย ประจำหมู่บ้าน ซึ่งทางภาคอีสานเรียกว่า ผีปู่ตา และภาคพายัพเรียกว่า ผีปู่ย่า ภาคปักษ์ใต้เรียกว่า ผีตายาย และผีประจำเมืองคือผีหลักเมือง และ ผีเสื้อเมืองด้วย

ทางภาคกลางมีประเพณีอันเนื่องด้วยสงกรานต์อีกอย่างหนึ่งคือ ห้ามตักน้ำตำ ข้าวเก็บผักหักฟืน อันเป็นงานประจำวันครัวเรือนและเป็นงานอยู่ในหน้าที่ของผู้หญิง จะต้องเตรียมหาสำรองเอาไว้ให้พร้อม
ก่อนถึงวันสงกรานต์ จะได้ไม่กังวล

สรงน้ำ รดน้ำ และสาดน้ำ


การ สรงน้ำพระพุทธรูป มีดอกไม้ ธูปเทียน ไปบูชา แล้วเอาน้ำอบไปประพรมที่องค์พระ ทำเป็นสังเขปพอเป็นพิธีว่าได้แสดงความเคารพบูชาและสรงน้ำท่านในวันขึ้นปี ใหม่แล้ว เมื่ออัญเชิญพระพุทธรูปมา ก็มีการแห่แหนกันอย่างสนุกสนาน สรงน้ำพระพุทธรูปแล้วก็มีการสรงน้ำพระสงฆ์ โดยมากมักเป็นสมภารเจ้าวัดเป็นการสรงน้ำจริงๆ สรงเสร็จครองไตรจีวรใหม่ที่อุบาสกอุบาสิกานำมาถวาย ท่านก็ขึ้นธรรมาสน์เทศน์อำนวยพรปีใหม่ให้แก่ผู้ที่ไปสรงน้ำ นอกจากนี้ยังมีการ รดน้ำญาติผู้ใหญ่ หรือ ผู้ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ เพื่อขอศีลขอพรตามประเพณี

สรงน้ำพระ เสร็จแล้ว ก็ชวนกันเล่นสนุก สาดน้ำ และเลี้ยงกันที่ลานวัด ของที่เลี้ยงมีขนมปลากริมไข่เต่า และลูกแมงลักน้ำกะทิ ซึ่งชาวบ้านเรี่ยไรออกเงิน และจัดทำเอามาเลี้ยงกันด้วยความสามัคคี

เหตุ ที่มีการสรงน้ำ รดน้ำ และสาดน้ำในวันสงกรานต์ เนื่องมาจากความเชื่อ ที่ว่าการสาดน้ำ จะช่วยให้ฝนฟ้าตกบริบูรณ์ประการหนึ่ง น้ำเป็นเครื่องหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์ เมื่อมีน้ำการเพาะปลูก ทำไร่ไถนาก็ได้ผล ประการหนึ่ง และถือกันว่าน้ำเป็นเครื่องชำระมลทินให้สะอาดอีกประการหนึ่ง เหตุนี้น้ำจึงเป็นสิ่งที่ใช้ในพิธีต่างๆ อาบน้ำ ซัดน้ำ หรือรดน้ำ เมื่อทำพิธีสมรส อาบน้ำเมื่อตาย อาบน้ำเมื่อโกนจุก หรือบวชนาค ฯลฯ

รดน้ำดำหัว
 


เครื่อง ดำหัวของภาคพายัพ ที่เขานำไปรดน้ำผู้ใหญ่ในวันพญาวัน นอกจากดอกไม้ธูปเทียนและผ้าใหม่สำหรับผลัด เขายังมีหมากพลูไปด้วย เพราะหมากพลูเป็นเครื่องแสดงความเคารพนับถือและ เป็นเครื่องแสดงไมตรีจิตด้วยอีกโสดหนึ่งและยังมีน้ำส้มป่อยและน้ำอบ

น้ำ ส้มป่อยเป็นของใช้แทนสบู่ที่เมื่อก่อนยังไม่มีสิ่งนี้ สำหรับสระผมและชำระร่างกาย ผู้ใหญ่เมื่อรับเครื่องดำหัวแล้ว ก็เอาน้ำส้มป่อยและน้ำอบประพรมบนศีรษะพอเป็นกิริยา ว่าได้ดำน้ำสระหัวแล้ว ต่อจากนั้นก็ให้ศีลให้พร กันตามประเพณี

อนึ่งในวันนี้บางคนยังนำ เสื้อผ้าของเขาสำรับหนึ่ง ต่างคนเอาบรรจุลงขันของตน พร้อมด้วยเครื่องบริขาร มีกล้วย มีอ้อย มีใบขนุน มีใบแก้วเป็นต้น นำไปตั้งที่ลานวัดภายในมณฑลวงด้ายสายสิญจน์ แล้วพระสงฆ์ จะประพรมเสื้อผ้าเหล่านั้นด้วยน้ำมนต์ เพื่อความบริสุทธิ์ของเสื้อผ้าเพื่อใช้ในปีใหม่ เสร็จแล้วนำกลับมาเก็บไว้อย่างนั้นหลายๆ วัน

ที่มา   http://www.songkran.net/App_ASPX/SongkranMainAct.aspx
----------------------------------------------- 

งาน สำคัญบุญสงกรานต์

วันที่ 13 เมษายน วันสังขานต์ล่อง
เริ่มจากตอนเช้ามีการยิงปืนขับไล่ เสนียดจัญไร ให้ล่วงลับไปกับสังขานต์ และในแต่ละบ้านมีการทำความสะอาด ตลอดจนตามถนนและตรอกซอยเข้าบ้าน จากนั้นก็ทำความสะอาดชำระล้างร่างกาย สระเกล้าดำหัวให้สะอาดมีจิตใจผ่องใส หลังจากนั้นไปเที่ยวตามหมู่บ้านหรือในปัจจุบันนิยมไปเที่ยวตามสถานที่ท่อง เที่ยวต่างๆ เรียกว่า “ไปแอ่วปีใหม่” วันนี้มีการเล่นรดน้ำกันแล้ว
 


วันที่ 14 เมษายน วันเนา หรือวันเน่า
วัน “ขนทราย” หรือ วันเนา์ วันปู๋ติ วันนี้จะทำสิ่งต่างๆ ที่เป็นมงคล ไม่ด่่าทอหรือทะเลาะวิวาท ตอนเช้าไปจ่ายของและอาหาร เตรียมทำบุญถวายพระ ในวันรุ่งขึ้น วันเตรียมอาหารและเครื่องไทยทานเรียกว่า“วันดา” (คำวันสุกดิบทางภาคอื่น) และทุกบ้านจะทำกับข้าวที่สามารถเก็บไว้ได้หลายวัน เช่น แกงเส้นร้อน แกงอ่อม ฯลฯ หรือไม่ก็จำพวกห่อนึ่ง เช่น ห่อนึ่งไก่ ห่อนึ่งปลา ฯลฯ พร้อมทั้งตระเตรียมอาหารหวาน และเครื่องไทยทานไว้ให้พร้อม

ตอนบ่าย มีการขนทรายจากแม่น้ำ นำไปไว้ที่วัดใกล้บ้าน โดยก่อเจดีย์ทรายตามลานวัด เจดีย์ทรายจะถูกประดับตกแต่งด้วยตุง (ธง) ทำด้วยกระดาษสีตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม และรูปอื่นๆ ชายธงมีการทานช่อ (ทำด้วยกระดาษสีต่างๆ) ตัดเป็นลวดลายติดปลายไม้สำหรับปักที่กองเจดีย์ทรายการทานธงและทานช่อนี้ ด้วยถือคติว่า ผู้บริจาคทานเมื่อตายไปแล้วจะได้อาศัยชายธง หอบหิ้วให้พ้นจากนรกได้ อานิสงส์การทานตุงหรือช่อนี้มีอยู่ในพระธรรมเทศนาใบลานตามวัดทั่วไป เจดีย์ทรายนี้จะทำพิธีถวายทานในวันรุ่งขึ้น มีการปล่อยนกปล่อยปลาอีกด้วย ในวันเดียวกันนี้มีการเล่นน้ำกันอย่างหนัก และเป็นที่สนุกสนานโดยเฉพาะคนหนุ่มคนสาว
 


ทุกๆ ปี เมื่อถึงเทศกาลตรุษสงกรานต์ ชาวเหนือมีประเพณีอย่างหนึ่งที่ยึดถือปฏิบัติ คือ “สุมาคารวะ” ลูกหลานจะมาขอขมาลาโทษในความผิดต่างๆ ที่เคยกระทำมาต่อญาติผู้ใหญ่ ถือว่าเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีของผู้น้อย อันมีต่อผู้ใหญ่ เรียกกันว่า “การไปดำหัว” หรือประเพณีดำหัว การไปดำหัวของคนไทยภาคเหนือ มักจะเริ่มกันใน “วันพญาวัน” (คือวันเถลิงศก)


วันที่ 15 เมษายน วันพญาวัน หรือวันเถลิงศก
ตอนเช้า จัดเตรียมอาหารคาวหวานใส่สำรับไปถวายพระที่วัด และทำบุญตักบาตรและนำไปให้ผู้เฒ่า ผู้แก่ ครูอาจารย์ หรือบุคคลที่ตนเคารพนับถือ เรียกว่าไปทานขันข้าว (ตานขันข้าว) การทานขันข้าวนี้ นอกจากจะทานให้พระ ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือดังกล่าวแล้วก็มีการถวายทานเพื่ออุทิศส่วนกุศล ถึงญาติพี่น้อง บิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว โดยพระที่วัดจะแยกย้ายกันนั่งประจำที่บริเวณวัดเพื่อให้ศีลให้พร แก่ผู้ไปทานขันข้าว
เสร็จจากการทำบุญตักบาตร ก็มีการถวายทานเจดีย์ทราย ปล่อยนกปล่อยปลา มีการสรงน้ำพระพุทธเจดีย์ มีการค้ำต้นโพธิ์ภายในวัดและหมู่บ้าน มีการสรงน้ำพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง เช่น เชียงใหม่ก็จะมีการสรงน้ำพระพุทธรูป เสตังคมณี (พระแก้วขาว) วัดเชียงมั่น พระเจ้าทองทิพย์ และ พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์ พระเจ้าเก้าตื้อ วัดสวนดอก เสาอินทขิล หรือเสาหลักเมือง ส่วนตามจังหวัดต่างๆ ก็จะมีการไปสักการะบูชาพระพุทธรูปสำคัญประจำบ้าน เมืองตนเช่นเดียวกัน เช่น ลำปาง ก็ไปสรงน้ำพระแก้วมรกตที่วัดพระธาตุลำปางหลวง เมืองน่านที่วัดพระธาตุแช่แห้ง และที่แพร่ก็ไปสรงน้ำ ที่พระธาตุช่อแฮเป็นต้น
 


ตอนบ่าย ก็จะเริ่มการดำหัว และจะทำเรื่อยไปจนถึงวันรุ่งขึ้น หรือวันปากปี
วันที่สี่ เป็นวันปากปี มีการดำหัวตามวัดต่างๆ ที่ใกล้เคียงและห่างไกล ซึ่งมีพระในวัดและในหมู่บ้านนั้นนำไป การไปดำหัวตามวัดนี้มักจะแบ่งแยกกันเป็นสายๆ เพราะบางวัดที่อยู่ห่างไกลก็ไม่ได้ไปกันอย่างทั่วถึงนอกจากวัดที่คนนิยมไป กันอย่างสม่ำเสมอ เรียกตามภาษาเมืองว่า “ไปเติงกั๋น” หรือไปวัดของเจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด หรือพระเถระผู้ใหญ่


ที่มา  http://www.songkran.net/App_ASPX/SongkranImportantAct.aspx
--------------------------------------------

น่ารู้ ก่อนลุย

1. สงกรานต์เป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ของไทย กิจกรรมของสงกรานต์ไม่ได้มีแต่การเล่นน้ำเท่านั้น แต่ยังมีกิจกรรมที่น่าจะทำอีกมาก เช่น การทำบุญ การทำความสะอาดบ้านเรือนและบริเวณบ้าน ซึ่งนับเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งด้วย

2. จุดประสงค์ของการรดน้ำ สาดน้ำในเทศกาลสงกรานต์นั้นคือ การอวยพรและขอพรกันด้วยน้ำ มิใช่ตั้งใจให้เป็นการเล่นหรือต่อสู้อย่างเอาเป็นเอาตาย

3. การประแป้งดินสอพอง แต่เดิมเป็นเพียงการแต่งตัวตามสมัยนิยมของแต่ละคน ดังนั้นใครอยากประแป้งก็ประเอง ไม่ต้องไปประให้เขา การถูกเนื้อต้องตัวผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ไม่ใช่มารยาทที่ดีของสุภาพชน อย่าทำเลย
 


4. การรดน้ำสงกรานต์ที่ถูกต้องมี 2 ประเภท คือ
- การ รดน้ำผู้ใหญ( ธรรมเนียมดั้งเดิมนิยมว่าควรมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ) เป็นการรดน้ำเพื่อแสดง
ความเคารพและขอพรจากท่าน เมื่อไปรดน้ำที่มือท่าน ไม่ต้องไปอวยพรท่าน เพราะเราเป็นเด็ก รอรับพรจากท่านก็พอ ผู้ใหญ่จะเป็นผู้ให้พรเอง
- การรดน้ำผู้ใหญ่ที่อยู่ในวัยเดียวกันหรืออ่อนวัยกว่า เป็นการรดน้ำอวยพร ถ้าจะให้สุภาพควรขออนุญาตเสียก่อน แล้วจึงรดน้ำที่หัวไหล่ และสามารถกล่าวอวยพรได้ตามต้องการ ถ้าสนิทสนมกันอยู่แล้วก็สามารถรดน้ำและเล่นสนุกสนานได้ตามประสาเพื่อน แต่ทั้งนี้ก็ควรอยู่ในขอบเขตของมารยาท ศีลธรรม และความปลอดภัย

5. น้ำที่นำมารดและสาดกันถือเป็นสิ่งที่เป็นมงคล ดังนั้นจึงต้องเป็นน้ำสะอาด น้ำอบ น้ำหอมน้ำดอกไม้ ( ไม่จำเป็นต้องเป็นน้ำอบไทยเสมอไป น้ำอบฝรั่งก็ได้ ) แต่ไม่ควรใช้น้ำสกปรกหรือน้ำแข็งเด็ดขาด
 


6. ของรดที่นำไปมอบให้ผู้ใหญ่ ตามธรรมเนียมมักเป็นสิ่งของที่เกี่ยวกับการอาบน้ำและการแต่งตัวเป็นหลัก เช่น เสื้อผ้า ผ้าห่ม ผ้านุ่ง ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขนหนู สบู่ น้ำหอม แป้ง ของเหล่านี้เป็นของหลักซึ่งจำเป็นต้องมี แต่ไม่จำเป็นต้องให้ทุกอย่างที่กล่าวมา เลือกจัดให้ตามความเหมาะสม ส่วนของอื่นๆ เช่น ดอกไม้ ขนม นั้นเป็นของประกอบ มีก็ได้ ไม่มีก็ได้

7. การกราบเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูง โดยการยอบตัวลง พนมมือ และก้มลงจนมือที่พนมไว้ ท้องแขน และศีรษะจดพื้น ตรงหน้าคนหรือสิ่งที่เราตั้งใจจะกราบ การกราบปกติไม่ต้องแบมือ ไม่ว่าสิ่งของหรือบุคคลนั้นจะเป็นที่เคารพอย่างสูงเพียงใด จะแบมือก็เฉพาะกราบพระพุทธรูป หรือพระสงฆ์เท่านั้น

8. การสรง น้ำพระพุทธรูปหรือรูปเคารพ ไม่ควรรดน้ำลงตรงๆ ที่พระเศียรหรือส่วนศีรษะ ให้รดน้ำลงในส่วนอื่นๆ จะสุภาพเหมาะสมกว่า
 


9. การรดน้ำ ดำหัว เป็นประเพณีของไทยภาคเหนือกลุ่มล้านนา ซึ่งมีรายละเอียดบางอย่างแตกต่างเป็นพิเศษจากภาคอื่นๆ คำว่าดำหัว เป็นภาษาถิ่น ไม่ควรนำไปใช้เรียกการรดน้ำสงกรานต์ของภาคอื่นๆ เพราะจะทำให้ผิดความหมาย

10. สงกรานต์เป็นประเพณีของคนไทยทุกศาสนา ไม่เฉพาะชาวพุทธเท่านั้น การทำบุญก็เลือกถือปฏิบัติตามแนวของศาสนาที่ตนนับถือได้ ส่วนกิจกรรมอื่นๆเป็นของกลางๆใครๆก็ปฏิบัติได้

11. สงกรานต์ปีหนึ่งมีหนเดียว ขอเชิญชวนให้แต่งกายแบบไทยๆ เป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมอันดีงามของเรา เท่ และ ไม่ร้อนดีด้วย

ขอขอบคุณ หนังสือ อ.ส.ท. Young Traveller ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
ที่มา   http://www.songkran.net/App_ASPX/SongkranMustknow.aspx




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 09, 2010, 06:45:58 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: กิจกรรมวันสงกรานต์ และเรื่องน่ารู้
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 16, 2010, 06:43:45 pm »
0
 :49:
:015: :043: :015: :043: :015: :043: :015:  :043:วันสงกรานต์ประเพณีมีมานาน
เพื่อสืบสานอย่าเชือนแชแลไม่เห็น
เข้าขอพรรดน้ำท่านนั่นจำเป็น
ลูกหลานเหลนได้เจริญอย่าเขินอาย
 :043:มะลิโรยโปรยแป้งดินกลิ่นน้ำอบ
ยกขึ้นจบน้อมรดองค์ปฏิมา
ให้ใจผ่อนให้ร้อนคลายหายโรคา
ภัยนานาอย่ากรายกล่ำให้ฉ่ำเย็น
 :043:เถลิงศกวันสงกรานต์ที่ผ่านมา
ให้หรรษามีน้ำใจมิใฝ่เวร
งานบุญช่วยร่วมด้วยมิหลีกเร้น
ได้ประเด็นร้อยความเรียงเพียงนี้เอย.
 
:043: :015: :043: :015: :043: :015: :043:                                        ธรรมธวัช...!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 16, 2010, 08:56:16 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา