ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ น่าจะเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา  (อ่าน 6614 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เนื่องด้วยวันมาฆะบูชา เป็นวันสำคัญที่พระพุทธเจ้า ทรงประกาศธรรมหลักหัวใจของพระศาสนา

 สำหรับดิฉัน คิดว่า หัวใจสำคัญ อยู่ที่ การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ


   การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ ทำอย่างไร เป็นอย่างไร

   1. ขันติเป็นธรรมเผากิเลส

   2. นิพพานเป็นธรรมอันยิ่ง

   3. ความเป็นบรรพชิต

   4. ความเป็นสมณะ

   5. การไม่พูดร้าย ไม่กล่าวร้าย

   6. การระมัดระวังในปาฏิโมก

   7. ความประมาณในการบริโภค

   8. การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด

   9. ความประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง

  อันนี้เป็นบทสรุปของ ในส่วนของการทำจิตให้ยิ่ง

 เครดิตพระอาจารย์ จากเมล

 :25:
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

udom

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 97
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
"มาฆบูชา" ย่อมาจาก "มาฆปุรณมีบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ

ในครั้งพุทธกาลได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ๔ ประการด้วยกัน คือ
๑.พระสงฆ์สาวก ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกัน ยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย
๒.พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง
๓.พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์
๔.และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔

ในครั้งกระนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์ หลักคำสอนที่เป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา ทรงตรัสเป็น พระคาถา รวม ๓ พระคาถาครึ่ง ดังนี้ คือ

พระคาถาที่ ๑
ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต ฯ

พระคาถาที่ ๒
สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ ฯ

พระคาถาที่ ๓
อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ

ครึ่งพระคาถา
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธานสาสนํ ฯ

สรุปความโดยย่อคือ

๑.สพฺพปาปสฺส อกรณํ
พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้ละการกระทำความชั่ว(สมุทัย)ด้วยประการทั้งปวง

การ จะละอะไรให้ผลสำเร็จได้นั้น ต้องกระทำการละที่จิตของตนเองทั้งสิ้น อกุศลธรรม กรรมชั่วทั้งหลายล้วนเกิดจากจิตที่มีอวิชชาความทะยานอยาก(ตัณหา)อุปาทาน เที่ยวออกไปยึดมั่นถือมั่นในเรื่องราวต่างๆ(อารมณ์)ในโลกมาเป็นของๆตน เมื่อละชั่วได้แล้วต้อง...

๒.กุสลสฺสูปสมฺปทา
พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้ ต้องกระทำความดี(เจริญสติ)ให้มาก ให้ยิ่งๆขึ้น เพื่อยังประโยชน์ตนประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อม

การ จะกระทำความดี(เจริญสติ)ให้มาก ให้ยิ่งๆขึ้น ให้ถึงพร้อมได้นั้น เราต้องเจริญสติ สมาธิ ปัญญาที่ไหน ถ้าไม่ใช่เจริญสติ สมาธิ ปัญญาที่จิตของตน กรรมดีและกรรมชั่ว ล้วนเกิดขึ้นที่จิตของตน กรรมดีและกรรมชั่วทั้งหลายที่ตนได้กระทำลงไป จิตของตนต้องเป็นผู้รับผลของการกระทำกรรมดีและกรรมชั่วเหล่านั้น เมื่อเจริญสติได้แล้ว

๓.สจิตฺตปริโยทปนํ
พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้ ชำระจิตของตนให้มีสติบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองด้วยกำลังสติ สมาธิ ปัญญา

อุปกิเลส เครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย ล้วนเกิดขึ้นที่จิตของตนในขณะที่เผลอสติ เหตุเพราะอวิชชา ตัณหาความทะยานอยาก อุปาทาน ณ ภายในจิตของตน เราจึงต้องเจริญสติให้มาก ให้ยิ่งๆขึ้น ให้ถึงพร้อม ด้วยการปฏิบัติสัมมาสมาธิเพื่อให้จิตมีกำลังสติ สมาธิ ปัญญาในการปล่อยวางอวิชชา ตัณหา อุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องราวอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดในโลกออกไปจาก จิตให้หมด

จะเห็นได้ว่า คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ในโอวาทปาฏิโมกข์ ณ วันมาฆฤกษ์ พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนแต่เรื่องจิตกับอารมณ์เท่านั้น ไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากนี้

พระบาลีที่ยกมาครึ่งพระคาถานั้น ก็แสดงไว้อย่างชัดเจนว่า “อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธานสาสนํ การให้จิตมีธรรมอันยิ่ง เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”

เป็น การเน้นย้ำให้เห็นว่า เรื่องจิตนั้นเป็นหัวใจสำคัญในพระพุทธศาสนา ถ้าขาดซึ่งการสั่งสอนเรื่องปฏิบัติฝึกฝนอบรม ชำระจิต ให้จิตมีสติบริสุทธิ์จากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายด้วยสัมมาสมาธิเสียแล้ว ศาสนาพุทธคงไม่แตกต่างไปจากศาสนาอื่นๆ

ศาสนาอื่นๆ ก็สอนเรื่องศีลธรรม จริยธรรมทั่วๆไป ให้ละการทำเรื่องชั่วช้าทั้งหลาย กระทำแต่ความดีเช่นกัน ต่างกันที่ ในศาสนาอื่นไม่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ หรืออริยสัจ ๔ ซึ่งเป็นทางเดินของจิตที่จะนำไปสู่ความเป็นพระอริยเจ้า(โลกุตตรจิต) เพราะอริยมรรคมีองค์ ๘หรือ อริยสัจ ๔นั้น มีเฉพาะแต่ในพระพุทธศาสนาของเราเท่านั้น ตราบใดที่ยังมีการปฏิบัติอริยมรรค ๘ โลกนี้จึงไม่ว่างเว้นไปจากพระอรหันต์

ในองค์แห่งอริยมรรค ๘ นั้น พระพุทธองค์ทรงเน้นย้ำในเรื่องการปฏิบัติทางจิต โดยมีสัมมาสมาธิเป็นใหญ่เป็นประธานแวดล้อมด้วยมรรคอีก ๗ องค์ และมรรคที่แวดล้อมทั้ง ๗ องค์นั้น มีสัมมาทิฐิเป็นใหญ่เป็นประธาน ดังปรากฏแสดงไว้ในมหาจัตตารีสกสูตร

และยังมีพระสูตรอื่นๆ ที่ทรงแสดงเนื่องกันไว้ ดังมีพระบาลีที่ตรัสไว้ว่า “สมา ธึ ภิกฺขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด ผู้ที่มีจิตตั้งมั่น(สัมมาสมาธิ)แล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง(สัมมาทิฐิ) ดังนี้”

และพระ พุทธเจ้าทุกๆพระองค์ที่ทรงอุบัติขึ้นในโลกนี้ ก็ล้วนทรงสั่งสอนให้ชำระจิตให้มีสติบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง ทั้งหลาย โดยให้ฝึกฝนอบรมจิตของตน(ไม่ใช่จิตของคนอื่น) ดังพระบาลีที่มีตรัสไว้ว่า “อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธานสาสนํ การทำให้" จิต" มีธรรมอันยิ่ง(อธิจิต เต) เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”

และมีพระพุทธพจน์กล่าวรับรองเรื่อง การชำระ “จิต” ไว้ใน "อธิจิตสิกขา เป็นไฉน?" ซึ่งความตรงกับ "สัมมาสมาธิ เป็นไฉน?" ดังนี้คือ

อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน? (สัมมาสมาธิเป็นไฉน?)

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบไป
มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
นี้ชื่อว่า อธิจิตตสิกขา (สัมมาสมาธิ)


สรุป

หัวใจพระพุทธศาสนา ก็คือ การปฏิบัติสัมมาสมาธิ
ซึ่งต้องอาศัยความเพียร (สัมมาวายามะ)
ประคองจิตให้ระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ (สัมมาสติ)
จิตจึงจะสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ

เมื่อจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ย่อมเกิดปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง (สัมมาทิฐิ)
ทำให้จิตมีพลังปล่อยวางอารมณ์ที่เข้ามากระทบจิต (สัมมาสังกัปปะ)

ทำให้ไม่กระทำความชั่ว ทำแต่ความดี (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)

ครบอริยมรรคมีองค์ ๘ และครบตามพระโอวาทปาฏิโมกข์
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อนุโมทนา สาธุ การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ แท้ที่จริงเป็นแก่นของพระพุทธศาสนา เลยนะจ๊ะ

แต่แก่น จะมีได้ต้องมี เปลือก และ กระพี้ด้วย

 ต้นไม้ที่จะมีเปลือก กระพี้ แก่น ก็ต้องอาศัย อากาศ อาหาร ดิน ด้วยนะจ๊ะ

เจริญธรรม

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ เจ้าคะ พระอาจารย์
 :25:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา สาธุ กับเรื่องดี ๆ ในช่วง วันมาฆะบูชา ได้ระลึกถึง โอวาทปาฏิโมกข์ บ้างคร้า..

สาธุ สาธุ สาธุ

 :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง