ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้ปรารภความเพียรต้องตั้ง "สัตยาธิษฐาน"  (อ่าน 2186 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ผู้ปรารภความเพียรต้องตั้งสัตยาธิษฐาน
๓. ฆฏสูตร

     [๖๙๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
     สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ในวิหารเดียวกัน ในพระเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ครั้งนั้นแล เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่เร้น เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว ได้สนทนาปราศรัยกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ


     [๖๙๒] ครั้นท่านพระสารีบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ท่านโมคคัลลานะ อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก ผิวหน้าของท่านบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ชะรอยวันนี้ ท่านมหาโมคคัลลานะ จะอยู่ด้วยวิหารธรรมอันละเอียด ฯ
     ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส วันนี้ผมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันหยาบ อนึ่ง ผมได้มีธรรมีกถา ฯ
     สา. ท่านมหาโมคคัลลานะได้มีธรรมีกถากับใคร ฯ
     ม.  ผมได้มีธรรมีกถากับพระผู้มีพระภาค ฯ
     สา. เดี๋ยวนี้พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ไกลนัก ท่านมหาโมคคัลลานะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยฤทธิ์หรือ หรือว่าพระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาท่านมหาโมคคัลลานะด้วยฤทธิ์ ฯ
     ม. ผมไม่ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยฤทธิ์ แม้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ได้เสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์ แต่ผมมีทิพยจักษุและทิพยโสตธาตุอันหมดจดเท่าพระผู้มีพระภาค แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีทิพยจักษุและทิพยโสตธาตุอันหมดจดเท่าผม ฯ
     สา. ท่านมหาโมคคัลลานะได้มีธรรมีกถากับพระผู้มีพระภาคอย่างไร ฯ


      :25: :25: :25:

     [๖๙๓] ม. ผมได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคในที่นี้ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าผู้ปรารภความเพียรๆ ดังนี้ ก็บุคคลจะชื่อว่าเป็นผู้ปรารภความเพียรด้วยเหตุประมาณเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
     อาวุโส เมื่อผมกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะผมดังนี้ว่า
     โมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ปรารภความเพียร ด้วยตั้งสัตยาธิษฐานว่า
     จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็นและกระดูกก็ตามที เลือดและเนื้อในร่างกายจงเหือดแห้งไปเถิด ผลอันใดที่จะพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ ยังไม่บรรลุผลนั้นแล้ว จะหยุดความเพียรเสียเป็นอันไม่มี โมคคัลลานะ ภิกษุย่อมเป็นผู้ปรารภความเพียรอย่างนี้แล

     อาวุโส ผมได้มีธรรมีกถากับพระผู้มีพระภาคอย่างนี้แล ฯ

     st12 st12 st12

    [๖๙๔] สา. อาวุโส เปรียบเหมือนก้อนหินเล็กๆ ที่บุคคลเอาไปวางเปรียบเทียบกับขุนเขาหิมพานต์ฉันใด เราเมื่อเปรียบเทียบเคียงกับท่านมหาโมคคัลลานะก็ฉันนั้นเหมือนกัน แท้จริง ท่านมหาโมคคัลลานะเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เมื่อจำนงอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกัปแล ฯ

     [๖๙๕] ม. อาวุโส ก้อนเกลือเล็กๆ ที่บุคคลหยิบเอาไปวางเปรียบเทียบกับหม้อเกลือใหญ่ ฉันใด ผมเมื่อเปรียบเทียบท่านสารีบุตรก็ฉันนั้นเหมือนกันแท้จริง ท่านพระสารีบุตรเป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงชม ทรงสรรเสริญ ทรงยกย่องแล้วโดยปริยายมิใช่น้อย มีอาทิว่า ภิกษุผู้ถึงซึ่งฝั่งคือพระนิพพาน เป็นผู้เยี่ยมด้วยปัญญา ด้วยศีลและอุปสมะ คือพระสารีบุตร ดังนี้ ฯ
     ท่านมหานาคทั้งสองนั้น เพลิดเพลินคำสนทนาที่เป็นสุภาษิตของกันและกัน ด้วยประการดังนี้แล ฯ

     จบสูตรที่ ๓


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๗๒๔๖ - ๗๒๙๒. หน้าที่ ๓๑๑ - ๓๑๓.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=7246&Z=7292&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=691



สัตยาธิษฐาน การตั้งความจริงเป็นหลักอ้าง, ความตั้งใจแน่วแน่มุ่งต่อผลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยการอ้างความจริงเป็นหลักประกัน
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ผู้ปรารภความเพียรต้องตั้ง "สัตยาธิษฐาน"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 13, 2014, 08:37:10 am »
0


พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์


พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  มูลปัณณาสก์  [๑.  มูลปริยายวรรค]
๔.  ภยเภรวสูตร


{๔๑} [๔๕] พราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้เกียจคร้าน ปราศจากความเพียร เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมประสบความกลัว และความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งโทษของตนคือความเป็นผู้เกียจคร้าน ปราศจากความเพียร

ส่วนเรามิใช่เป็นผู้เกียจคร้าน มิใช่ปราศจากความเพียร เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ   เราเป็นผู้ปรารภความเพียร(๑) พระอริยะเหล่าใดเป็นผู้ปรารภความเพียร เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้หนึ่งในบรรดาพระอริยะเหล่านั้น’

 


เชิงอรรถ

(๑) ปรารภความพียร ในที่นี้หมายถึง มีความเพียรที่บริบูรณ์  และมีความเพียรที่ประคับประคองไว้สม่ำเสมอไม่หย่อนนัก  ไม่ตึงนัก  ไม่ให้จิตปรุงแต่งภายใน  ไม่ให้ฟุ้งซ่านภายนอก

คำว่า  ความเพียร  ในที่นี้หมายเอาทั้ง  ความเพียรทางกาย  เช่น  เพียรพยายามทางกายตลอดคืนและวัน  ดุจในประโยคว่า  “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีด้วยการเดินจงกรม  ด้วยการนั่งตลอดวัน”  (อภิ.วิ.(แปล)๓๕/๕๑๙/๓๙๑)

และ ความเพียรทางจิต  เช่น  เพียรพยายามผูกจิตไว้ด้วยการกำหนดสถานที่ เป็นต้น  ดุจในประโยคว่า “เราจะไม่ออกจากถ้ำนี้จนกว่าจิตของเราจะหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน”(องฺ.เอกก.อ.  ๑/๑๘/๔๓)

   

ที่มา โปรแกรมตรวจค้นพระไตรปิฎก (E-tipitaka 2.1)


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ 
พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
สุตตันตภาชนีย์
มาติกานิเทศ


[๖๐๙] ก็ภิกษุเป็นผู้ประกอบความเพียรตลอดปฐมยามและปัจฉิมยามเป็นอย่างไร

     ภิกษุในศาสนานี้ ชำระจิตให้หมดจด จากธรรมที่กั้นกางจิตไม่ให้บรรลุความดี ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวัน
     ชำระจิตให้หมดจดจากธรรมที่กั้นกางจิตไม่ให้บรรลุความดี ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี


     สำเร็จสีหไสยาสน์ โดยนอนตะแคงขวา วางเท้าซ้อนกัน มีสติสัมปชัญญะ
     ทำสัญญาในการลุกขึ้นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี
     ลุกขึ้นชำระจิตให้หมดจดจากธรรมที่กั้นกางจิตไม่ให้บรรลุความดี ด้วยการเดินจงกรมด้วยการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี


     ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรตลอดปฐมยามและปัจฉิมยาม


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=7871&Z=8548


กระทู้แนะนำ "ปรารภความเพียร คือ อะไร"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5495.0
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ