ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อานาปานสติ  (อ่าน 7666 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Program

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 22
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
อานาปานสติ
« เมื่อ: มีนาคม 13, 2010, 10:18:41 pm »
0
อานาปานสติ

พระธรรมเทศนาโดย
พระธรรมโกศาจารย์ (ท่านเจ้าประคุณพุทธทาส อินทปัญโญ)

ในกรณีปกติให้นั่งตัวตรง (ข้อกระดูกสันหลังจรดกันสนิทเต็มหน้าตัดของมันทุกๆ ข้อ)

........๑. ศรีษะตั้งตรงตามองไปที่ปลายจมูกให้อย่างยิ่งจนไม่เห็นสิ่งอื่น จะเห็นอะไร หรือไม่เห็นก็ตามใจ ขอให้จ้องมองเท่านั้น พอชินเข้าจะได้ผลดีกว่าหลับตา และไม่ชวนให้ง่วงนอนได้ง่ายด้วย โดยเฉพาะคนขี้ง่วงให้ทำอย่างลืมตานี้แทนหลับตา ทำไปเรื่อยๆ ตามันจะหลับของมันเอง ในเมื่อถึงขั้นที่มันจะต้องหลับ หรือจะหัดทำอย่างหลับตาเสียตั้งแต่ต้นก็ตามใจ แต่วิธีที่ลืมตานั้นจะมีผลดีกว่าหลายอย่าง แต่ว่าสำหรับบางคนรู้สึกว่าทำยาก โดยเฉพาะพวกที่ยึดถือในการหลับตา ย่อมไม่สามารถทำอย่างลืมตาได้เลย

........๒. มือปล่อยวางไว้บนตักซ้อนกันตามสบาย ขาขัดหรือซ้อนกันโดยวิธีที่จะช่วยยันน้ำหนักตัว ให้นั่งได้ถนัดและล้มยาก ขาขัดอย่างซ้อนกันธรรมดาหรือจะขัดไขว้กันนั่นแล้วแต่จะชอบหรือทำได้ คนอ้วนจะขัดขาไขว่กันอย่างที่เรียกว่า ขัดสมาธิเพชรนั้น ทำได้ยากและไม่จำเป็น ขอแต่ให้นั่งคู้ขาเข้ามา เพื่อรับน้ำหนักตัวให้สมดุลล้มยากก็พอแล้ว ขัดสมาธิอย่างเอาจริงเอาจังยากๆ แบบต่างๆ นั้นไว้สำหรับเมื่อจะเอาจริงอย่างโยคีเถิด

........๓. ในกรณีพิเศษสำหรับคนป่วยคนไม่ค่อยสบายหรือแม้แต่คนเหนื่อย จะนั่งอิงหรือนั่งเก้าอี้ หรือเก้าอี้ผ้าใบ สำหรับเอนทอดเล็กน้อย หรือนอนเลยสำหรับคนเจ็บไข้ก็ทำได้ ทำในที่ไม่อับอากาศ หายใจได้สบายไม่มีอะไรกวนจนเกินไป

........๔. เสียงอึกทึกที่ดังสม่ำเสมอ และไม่มีความหมายอะไร เช่น เสียงคลื่น เสียงโรงงานเหล่านี้ ไม่เป็นอุปสรรค เว้นแต่จะไปยึดถือว่าเป็นอุปสรรคเสียเอง เสียงที่มีความหมายต่างๆ เช่น เสียงคนพูดกันนั้น เป็นอุปสรรคแก่ผู้หัดทำ ถ้าหาที่เงียบเสียงไม่ได้ ก็ให้ถือว่าไม่มีเสียงอะไร ตั้งใจทำไปก็แล้วกัน มันจะค่อยได้เอง

........๕. ทั้งที่ตามองเหม่อ ดูปลายจมูกอยู่ก็สามารถรวมความนึกหรือความรู้สึก หรือเรียกภาษาวัดว่า สติ ไปกำหนดจับ อยู่ที่ลมหายใจเข้าออกของตัวเองได้ คนที่ชอบหลับตาก็หลับตาแล้วตั้งแต่ตอนนี้ คนชอบลืมตาลืมไปได้เรื่อยๆ จนมันค่อยๆ หลับของมันเองเมื่อเป็นสมาธิมากขึ้นๆ

........๖. เพื่อจะให้กำหนดได้ง่ายๆ ในขั้นแรกหัด ให้พยายามหายใจให้ยาวที่สุดที่จะยาวได้ ด้วยการฝืนทั้งเข้าและออกหลายๆ ครั้งเสียก่อนเพื่อจะได้รู้ตัวเองให้ชัดเจนว่า ลมหายใจที่มันลากเข้าออกเป็นทางอยู่ภายในนั้น มันลากถูหรือกระทบอะไรบ้าง ในลักษณะอย่างไร และกำหนดได้ง่ายๆ ว่า มันไปรู้สึกว่าสุดลงที่ตรงไหนที่ในท้อง โดยเอาความรู้สึกที่กระเทือนนั้นเป็นเกณฑ์ พอเป็นเครื่องกำหนดส่วนสุดข้างใน และส่วนสุดข้างนอก ก็กำหนดง่ายๆ เท่าที่จะกำหนดได้

........๗. คนธรรมดาจะรู้สึกลมหายใจกระทบปลายจะงอยจมูก ให้ถือเอาตรงนั้นเป็นที่สุดข้างนอก ถ้าคนจมูกแฟบหน้าหัก ริมฝีปากบนเชิด ลมจะกระทบปลายริมฝีปากบนอย่างนี้ีก็็ให้กำหนดเอาที่ตรงนั้น ว่าเป็นที่สุดท้ายข้างนอก แล้วก็จะได้จุดทั้งข้างนอกและข้างใน โดยกำหนดเอาว่าที่ปลายจมูกจุดหนึ่งที่สะดือจุดหนึ่ง แล้วลมหายใจได้ลากตัวมันเอง ไปมาอยู่ระหว่างจุดสองจุดนี้ ขึ้นลงอยู่เสมอ


........๘. ทีนี้ทำใจของเราให้เป็นเหมือนอะไรที่คอยวิ่งตามลมนั้นไม่ยอมพรากทุกครั้ง ที่หายใจทั้งขึ้นและลงตลอดเวลาที่ทำสมาธินี้ จัดเป็นชั้นหนึ่งของการกระทำ เรียกกันง่ายๆ ในที่นี้ก่อนว่า ขั้น “วิ่งตามตลอดเวลา” กล่าวมาแล้วว่าเริ่มต้นที่เดียวให้พยายามฝืนหายใจให้ยาวที่สุดและให้แรงๆ และหยาบที่สุดหลายๆ ครั้งเพื่อให้พบจุดหัวท้าย แล้วพบเส้นที่ลากอยู่ตรงกลางๆ ให้ชัดเจน

........๙. เมื่อจิตหรือสติจับหรือกำหนดตัวลมหายใจที่เข้าๆ ออกๆ ได้โดยทำความรู้สึกที่ๆ ลมมันกระทบลากไป แล้วไปสุดลงที่ตรงไหน แล้วจึงกลับเข้าหรือกลับออกก็ตามดังนี้แล้ว ก็ค่อยๆ ผ่อนให้การหายใจนั้นค่อยๆ เปลี่ยนเป็นหายใจอย่างธรรมดาโดยไม่ต้องฝืน แต่สตินั้นคงกำหนดที่ลมได้ตลอดเวลาตลอดสาย เช่นเดียวกับเมื่อแกล้งหายใจหยาบแรงๆ นั้นเหมือนกัน คือกำหนดได้ตลอดสายที่ลมผ่านจากจุดข้างใน คือสะดือหรือท้องส่วนล่าง ก็ตามถึงจุดข้างนอกคือปลายจมูก หรือปลายริมฝีปากบนแล้วแต่กรณี ลมหายใจจะละเอียด หรือแผ่วลงอย่างไร สติก็คงกำหนดได้ชัดเจนอยู่เสมอไป โดยให้การกำหนดนั้นละเอียดเข้าตามส่วน

........๑๐. ถ้าเผอิญเป็นว่าเกิดกำหนดไม่ได้เพราะลมจะละเอียดเกินไป ก็ให้ตั้งต้นหายใจให้หยาบหรือแรงกันใหม่ แม้จะไม่เท่าทีแรกก็เอาพอให้กำหนดได้ชัดเจนก็แล้วกัน กำหนดกันไปใหม่จนให้มีสติรู้สึกอยู่ที่ลมหายใจ ไม่มีขาดตอนให้จนได้ คือจนกระทั่งกายใจอยู่ตามธรรมดา ไม่มีฝืนอะไรก็กำหนดได้ตลอดมันยาวหรือสั้นแค่ไหนก็รู้ มันหนักหรือเบาเพียงไหนก็รู้พร้อมอยู่ในนั้น เพราะสติเพียงแต่คอยเกาะแจอยู่ติดตามไปมาอยู่กับลมตลอดเวลา ทำได้อย่างนี้เรียกว่า ทำการบริกรรมในขั้น “วิ่งตามไปกับลม” ได้สำเร็จ

........๑๑. การทำไม่สำเร็จนั้น คือสติ หรือความนึกไม่อยู่กับลมตลอดเวลา เผลอเมื่อไรก็ไม่รู้ มารู้เมื่อมันไปแล้ว และก็ไม่รู้ว่ามันไปเมื่อไร โดยอาการอย่างไรเป็นต้น พอรู้ก็จับตัวมันมาใหม่ และฝึกกันไปกว่าจะได้ในขั้นนี้ ครั้งหนึ่ง ๑๐ นาที เป็นอย่างน้อยแล้วจึงค่อยฝึกขั้นต่อไป

........๑๒. ขั้นต่อไป ซึ่งเรียกว่า บริกรรมขั้นที่สอง หรือขั้น “ดักดูอยู่แต่ตรงที่แห่งใดแห่งหนึ่ง” นั้นจะทำต่อเมื่อทำขั้นแรกข้างต้นได้แล้วเป็นดีที่สุด หรือใครจะสามารถข้ามมาทำขั้นที่สองนี้ได้เลย ก็ไม่ว่า ในขั้นนี้จะให้สติ หรือความนึกคอยดักกำหนดอยู่ตรงที่ใดแห่งหนึ่ง โดยเลิกการวิ่งตามลมเสีย ให้กำหนดความรู้สึก เมื่อลมหายใจเข้าไปถึงที่สุดข้างใน คือสะดือครั้งหนึ่งแล้วปล่อยวางหรือวางเฉย แล้วกำหนดรู้สึกกันเมื่อลมออกมากระทบที่สุดข้างนอกคือปลายจมูกอีกครั้งหนึ่ง แล้วก็ปล่อยว่างหรือวางเฉย จนมีการกระทบส่วนสุดข้างในคือสะดืออีก ทำนองนี้เรื่อยไปไม่มีการเปลี่ยนแปลง

........๑๓. เมื่อเป็นขณะที่ปล่อยวาง หรือวางเฉยนั้นจิตก็ไม่ได้หนีไปอยู่บ้านช่องไร่นา หรือที่ไหนเลยเหมือนกัน แปลว่าสติคอยกำหนดที่ส่วนสุดข้างในหนึ่งข้างนอกแห่งหนึ่ง ระหว่างนั้นปล่อยเงียบหรือว่าง เมื่อทำได้อย่างนี้เป็นที่แน่นอนแล้ว ก็เลิกกำหนดข้างในเสีย คงกำหนดแต่ข้างนอก คือที่ปลายจมูกแห่งเดียวก็ได้ สติคอยเฝ้ากำหนดอยู่แต่ที่จะงอยจมูก ไม่ว่าลมจะกระทบเมื่อหายใจเข้าหรือเมื่อหายใจออกก็ตาม ให้กำหนดรู้ทุกครั้ง สมมติเรียกว่าเฝ้าแต่ตรงที่ปากประตู ให้มีความรู้สึกครั้งหนึ่งๆ เมื่อลมผ่านออกนั้นว่าง หรือเงียบ ระยะกลางที่ว่างหรือเงียบนั้นจิตไม่ได้หนีไปอยู่ที่บ้านช่องหรือที่ไหนอีก เหมือนกัน

........๑๔. ทำได้อย่างนี้เรียกว่า ทำบริกรรมในชั้น “ดักอยู่แต่ในที่แห่งหนึ่ง” นั้นได้สำเร็จ จะไม่สำเร็จก็ตรงที่จิตหนีไปเสียเมื่อไรก็ไม่รู้ มันกลับเข้าไปในประตู หรือเข้าประตูแล้วลอดหนีไปทางไหนเสียก็ได้ ทั้งนี้เพราะระยะที่ว่างหรือเงียบนั้น เป็นไปไม่ถูกต้องและทำไม่ดีมาตั้งแต่ข้างต้นของขั้นนี้ เพราะฉะนั้นควรให้ดีหนักแน่น และแม่นยำมาตั้งแต่ขั้นแรก คือขั้น “วิ่งตามตลอดเวลา” นั้นทีเดียว

........๑๕. แม้ขั้นต้นที่สุดหรือที่เรียกว่าขั้น “วิ่งตามตลอดเวลา” ก็ไม่ใช่ทำได้โดยง่ายสำหรับทุกคน และเมื่อทำได้ก็มีผลเกินคาดมาแล้วทั้งกายและใจ จึงควารทำให้ได้และทำให้เสมอๆ จนเป็นของเล่นอย่างการปริหารกายมีเวลาสองนาทีก็ทำ เริ่มหายใจให้แรงจนกระดูกลั่นก็ยิ่งดี จนมีเสียงหวีดหรืออซูดซาดก็ได้ แล้วค่อยผ่อนให้เบาไปๆ จนเข้าระดับปกติของมัน

........๑๖. ตามธรรมดาที่คนเราหายใจอยู่นั้นไม่ใช่ระดับปกติ แต่ว่าต่ำกว่า หรือน้อยกว่าปกติโดยไม่รู้สึกตัวโดยเฉพาะเมื่อทำกิจการงานต่างๆ หรืออยู่ในอิริยาบถที่ไม่เป็นอิสระนั้นลมหายใจของตัวเอง อยู่ในลักษณะที่ต่ำกว่าปกติ ที่ควรจะเป็นทั้งที่ตนเองไม่ทราบได้ เพราะฉะนั้นจึงให้เริ่มด้วยหายใจอย่างรุนแรงเสียก่อน แล้วจึงค่อยปล่อยให้เป็นไปตามปกติ อย่างนี้จะได้ลมหายใจที่เป็นสายกลางหรือพอดี และทำร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติด้วยเหมาะสำหรับจะกำหนดเป็นนิมิตร ของอานาปานัสสติ ในขั้นต้นนี้ด้วย

........๑๗. ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าการบริกรรมขั้นต้นที่สุดนี้ ขอให้ทำจนเป็นของเล่นปกติสำหรับทุกคน และทุกโอกาสเถิด จะมีประโยชน์ในส่วนสุขภาพทั้งทางกายและใจอย่างยิ่ง แล้วจะเป็นบันไดสำหรับขั้นสองต่อไปอีกด้วย แท้จริง ความแตกต่างกันในระหว่างขั้น “วิ่งตามตลอดเวลา” กับ “ดักดูอยู่เป็นแห่งๆ” นั้นมีไม่มากมายอะไรนัก เป็นแต่เป็นการผ่อนให้ประณีตเข้า คือมีระยะการกำหนดด้วยสติน้อยเข้าแต่คงมีผล คือจิตหนีไปไม่ได้เท่ากัน

........๑๘. เพื่อให้เข้าใจง่ายจะเปรียบกับพี่เลี้ยงไกวเปลเด็กอยู่ข้างเสาเปล ขั้นแรกก็จับเด็กใส่ลงในเปลแล้วเด็กยังไม่ง่วง ยังคอยจะดิ้นหรือลุกออกจากเปล ในขั้นนี้พี่เลี้ยงจะต้องคอยจับตาดูแหงนหน้าไปมาดูเปลไม่ให้วางตาได้ ซ้ายทีขวาทีอยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เด็กมีโอกาสตกมาจากเปลได้ ครั้นเด็กชักจะยอมนอน คือไม่ค่อยจะดิ้นรน แล้วพี่เลี้ยงก็หมดความจำเป็นที่จะต้องแหงนหน้าไปมา ซ้ายทีขวาทีตามระยะที่เปลไกวไปไกวมา พี่เลี้ยงคงเพียงแต่มองเด็กเมื่อเปลไกวมาตรงหน้าตนเท่านั้นก็พอแล้ว มองแต่เพียงครั้งหนึ่งๆ เป็นระยะๆ ขณะที่เปลไกวไปมาตรงหน้าตนพอดี เด็กก็ไม่มีโอกาสลงจากเปลเหมือนกันเพราะเด็กชักจะยอมนอนขึ้นมา ดังกล่าวแล้ว

........๑๙. ระยะแรกของการบริกรรมกำหนดลมหายใจในขั้น “วิ่งตามตลอดเวลา” นี้ก็เปรียบกันได้กับ ระยะที่พี่เลี้ยงต้องคอยส่ายหน้าไปมาตามเปลที่ไกวไม่ให้วางตาได้ ส่วนระยะที่สอง กำหนดลมหายใจเฉพาะที่ปลายจมูกที่เรียกว่า ขั้น “ดักอยู่แห่งใดแห่งหนึ่ง” นั้นก็คือขั้นที่เด็กชักจะง่วงและยอมนอนจนพี่เลี้ยงจับตาดูเฉพาะเมื่อเปลไกว มา ตรงหน้าตนนั่นเอง

........๒๐. เมื่อฝึกหัดมาได้ขั้นที่สองนี้อย่างเต็มที่ก็อาจฝึกต่อไปถึงขั้นที่ผ่อนระยะ การกำหนดของสต ิให้ประณีตเข้าๆ จนเกิดสมาธิชนิดแน่วแน่เป็นลำดับ ไปจนถึงเป็นฌาณขั้นใดขั้นหนึ่งได้ ซึ่งพ้นไปจากสมาธิอย่างง่ายๆ ในขั้นต้นๆ สำหรับคนธรรมดาทั่วไป และไม่สามารถนำมา กล่าวรวมกันไว้ในที่นี้เพราะ เป็นเรื่องละเอียดรัดกุม มีหลักเกณฑ์ซับซ้อน ต้องศึกษากันเฉพาะผู้สนใจถึงขั้นนั้น ในขณะนี้เพียงแต่ขอให้สนใจในขั้นมูลฐานกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเป็นของเคยชินเป็นธรรมดาอันอาจจะตะล่อมเข้าเป็นขั้นสูงขึ้นไปตาม ลำดับ ในภายหลัง
สิ่งที่มนุษย์ควรจะได้พบ ขอให้ฆารวาสทั่วไปได้มีโอกาสทำสมาธิ ชนิดที่อาจทำประโยชน์ทั้งกายและใจ สมความต้องการในขั้นต้นเสียขั้นหนึ่งก่อน เพื่อจะได้เป็นผู้ชื่อว่ามีศีล สมาธิ ปัญญา ครบสามประการ หรือมีความเป็นผู้ประกอบตนอยู่ในมรรคมีองค์แปดประการได้ครบถ้วน แม้ในขั้นตน ก็ยังดีกว่าไม่มีเป็นไหนๆ กายจะระงับลงไปกว่าที่เป็นอยู่ตามปกติก็ด้วยการฝึกสมาธิสูงขั้นไปตามลำดับๆ เท่านั้น และจะได้พบ “สิ่งที่มนุษย์ควรจะได้พบ” อีกสิ่งหนึ่งซึ่งทำให้ไม่เสียทีที่เกิดมา

ท่านที่สนใจฝึกสมาธิขั้นสูงขึ้นไป ขอให้อ่านหนังสือเรื่องอานาปานัสสติสมบูรณ์แบบ อันเป็นวิธีการฝึกสมาธิที่เหมาะอย่างยิ่งกับวิธีการนี้

คัดลอกจากหนังสือ สมาธิเบื้องต้น (อานาปานัสสติ)
บันทึกการเข้า

Program

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 22
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: อานาปานสติ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 13, 2010, 10:31:01 pm »
0
คำอาราธนากัมมัฏฐาน (อานาปาน์)

(นำ หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะเส ฯ )

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ๓ จบ

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี

ระตะนัตตะยัง เม สะระณัง วะรัง พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าอันประเสริฐ

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ ด้วยการกล่าวความจริงนี้

โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา ขอความสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ ฯ

ข้าขออธิษฐาน ต่อพระทรงญาณ ผู้ชนะมารทั้งห้า ขอจิตของข้า จงละนิวรณ์ คือ

กามฉันท์ กับทั้งพยาบาท ถีนะมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉา

อย่าได้ครอบงำ ข้าทำปฏิญญา ตั้งสัตย์อธิษฐาน ต่อคุณพระธรรม ผู้นำมรรคา ให้จิตของข้า มีภาวนา

คือบริกรรม อุปจาระ และอัปปะนา เป็นจิตสิกขา กับนิมิตต์ ๓ ประการ

กอปร์ด้วยองค์ฌาน วิตกวิจาร ปีติและสุข กับเอกัคคะตา ถึงอุเบกขา เป็นสมาธิแจ้งชัด

ข้าขอตั้งสัตย์ แด่พระสังฆรัตน์ ผู้ปฏิบัติดี ขอให้วะสี มี ๕ ประการ

คืออาวัชชะนะ สมาปัชชะนะ อธิฏฐานะ และวุฏฐานะ ปัจจะเวกขณะ จงมาชำนาญ

ด้วยการภาวนา พระพุทธรักษา พระธรรมรักษา พระสังฆรักษา

ขอพระอานาปาน์ จงมาปรากฎ ในมโนทวาร ขอรัตนะ ๓ ประการ คุ้มกันอันตราย

นำสุขมาให้ ได้วิมุตติ์เป็นผล ล่วงพ้นปวงมาร ด้วยเดชอธิษฐาน ณ กาลนี้เทอญ ฯ

( แล้วนั่งกำหนดจิตพอสมควรแก่เวลาที่ตั้งไว้ )
บันทึกการเข้า

TCnapa

  • สมาชิก
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 82
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 19, 2010, 02:03:30 pm »
0
ในการฝึก กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นผู้ฝึกจะได้ฝึกในห้องที่ 4

มีสองส่วนในการภาวนา คือ อุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต

ประกอบด้วย สโตริกาญาณ 16 รูปวัตถุ และ ญาณสติในพระอานาปานสติ 200 ญาณสติในส่วนวิปัสสนา

==================================================
ขอบคุณท่าน Program มากคะ javascript:void(0);
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นครูบ้านนอก แต่ก็ไม่ออกจากศีล และธรรม นะจ๊ะ

saithong

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +13/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อานาปานสติ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 21, 2010, 06:56:06 am »
0

เรียน คุณ Program

======================================
ขอทราบ อานิสงค์การฝึก อานาปานสติ ด้วยคะ

 :25:
บันทึกการเข้า

Program

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 22
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: อานาปานสติ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 22, 2010, 12:00:05 am »
0

เรียน คุณ Program

======================================
ขอทราบ อานิสงค์การฝึก อานาปานสติ ด้วยคะ

 :25:
ผลฉับพลันของอานาปานสติ
........“การบำเพ็ญอานาปานสติ ย่อมก่อให้เกิดผลในทันทีทันใดแก่ท่านได้ กล่าวคือ การเจริญอานาปานสตินี้ เป็นผลดีต่อสุขภาพกาย ต่อการผ่อนคลาย(คลายเครียด) ทำให้หลับสนิท และต่อประสิทธิภาพในการทำงานในชีวิตประจำวันของท่าน ทำให้ท่านมีความสงบและมีความสุขใจขึ้น
........แม้ในขณะที่ท่านมีความเครียด หรือความกังวล หากได้เจริญอานาปานสติ(จนใจสงบ) แม้พียง ๒ นาทีเท่านั้น ท่านก็จะเห็นได้ด้วยตัวท่านเองว่า ตัวท่านเองมีความสงบและความเยือกเย็นขึ้นมาอย่างทันทีทันใด ท่านจะรู้สึกเหมือนกับว่าท่านได้ตื่นขึ้นอย่างสดชื่นหลังจากที่พักผ่อนมา อย่างเต็มที่แล้ว”
-----------------------------------------------------------------------------



อานาปานสติกรรมฐาน มีอานิสงส์ 12 ประการ
1.   สามารถตัดเสียซึ่งวิตก มีกามวิตก เป็นตัน เพราะเป็นธรรมอันละเอียดและประณีต
2.   เป็นธรรมเครื่องพักอยู่ อันละมุนละไมและเป็นสุข
3.   เจริญให้มาก ทำให้มากแล้วย่อมยังสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ เมื่อสติปัฎฐาน 4 อันบุคคลเจริญให้มากทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชงฌ์ 7 ให้บริบูีรณ์ เมื่อบุคคบยังโพชงฌ์ 7 ให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
4.   ผู้ที่ได้สำเร็จอรหัตผล โดยอาศัยการเจริญอานาปานสติกรรมฐานเป็นบาท ย่อมกำหนดรู้ในอายุสังขารของตนว่าจะอยู่ไปได้เท่าไร และสามารถรู้กาลเวลาที่จะปรินิพพานด้วย
5.   หลับเป็นสุข ไม่ดิ้นรน
6.   ตื่นก็เป็นสุขคือมีใจเบิกบาน
7.   มีร่างกายสงบเรียบร้อย (มีกายไม่โยกโคลง)
8.   มีหิริโอตตัปปะ
9.   น่าเลื่อมใส
10.   มี อัธยาศัยประณีต
11.   เป็นที่รักของคนทั้งหลาย
12.   ถ้ายังไม่ได้ สำเร็จมรรค ผล นิพพาน เมื่อธาตุขันธ์แตกดับลงก็มีสุตคิโลกสวรรค์เป้นที่ไปในเบื้องหน้า
หลวงพ่อ ดร. สะอาด ฐิโตภาโส


อานิสงส์มากมายครับดูได้จากลิงค์ตัวอย่าง
http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=484.0
http://www.oknation.net/blog/pierra/2009/02/24/entry-1
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม บำเพ็ญสติ ปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มาก แล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้ บริบูรณ์ได้ ฯ
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: อานาปานสติ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มีนาคม 23, 2010, 05:14:40 am »
0
 :25:         
           :043:อานาปานสติ...เป็นพระกรรมฐานที่อาศัยการกำหนดลมอัสสาสะ(หายใจเข้า),ปัสสาสะ (หายใจออก) เข้าก็รู้ออกก็รู้ลมหายใจสั้นก็รู้(สั้นแค่ไหน) ลมหายใจยาวก็รู้(ยาวแค่ไหน) กำหนดสติอยู่อย่างนั้น...ในหลายๆสำนักปฏิบัติอย่างนี้และที่สำคัญสายพระกรรมฐานอานาปานสติเป็นสายหลวงปู่มั่น ภูริฑัตโต พระอริยะเถราจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน(อรัญวาสี...สายวัดป่า) ซึ่งถือว่าเป็นสายใหญ่สายหลักตามความเข้าใจอย่างนั้นด้วยท่านโด่งดังมีชื่อเสียงมาก ณ.กึ่งพุทธกาลนี้(อนึ่ง...โดยความเข้าใจส่วนตัวหลวงปู่มั่นท่านเป็นพุทธภูมิมาแต่เดิมแต่ได้ตัดสินใจลาเพียงเพื่อเข้าสู่ความเป็นสาวกภูมิละวัฏฏะไม่ขอเกิดอีกเข้าสู่พระนิพพานไปด้วยเห็นว่าภัยในวัฏฏะนั้นมากท่านจึงเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในกึ่งพุทธกาลนี้ที่นำพาเวไนยชนแม้มากเข้าสู่กระแสแห่งพระนิพพาน...ดังนั้นศิษย์สายหลวงปู่มั่นแม้มากที่เข้าใจว่าเป็นพระอรหันต์กันแทบทั้งสิ้น)...ดังนั้นจึงมีผลให้พระกรรมฐานสายอานาปานสติจึงเป็นที่นิยมแพร่หลายยาวนาน
                                                                                      :character0029:
           :043:ผมนั้นก็ได้อาศัยรูปแบบพระกรรมฐานสายนี้ฝึกด้วยเห็นว่าง่ายมาตั้งแต่วัยเยาว์ และด้วยความที่ไม่เข้าใจไม่รู้ลึกจึงได้สั่งสมประสพการณ์อ่านเก็บเอาความเข้าใจไว้จากสื่อต่างๆมากมายแต่ก็ไม่เข้าใจอยู่ดีแม้จะสอบถามผู้รู้ก็ไม่ได้ความกระจ่างใดใด จึงได้ละความเพียรเก็บเอาประสพการณ์จากสมาธิไว้เรียนรู้ในโอกาสต่อไปเมื่อเจริญวัยขึ้น แม้เมื่อเจริญวัยแล้วได้มีโอกาสไปศึกษาปฏิบัติธรรมยังสำนักต่างๆก็อึดอัดด้วยเข้าไม่ถึงผู้รู้แท้จริงจึงเคว้งคว้างอีกเหตุเพราะผู้คนนั้นมากยากจะเข้าถึงครูบาอาจารย์...ก็ยังเก็บเอาความสงสัยต่อไป
                                                                                                                                                :character0029:
           :043:จวนจนกระทั่งได้พบพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ สายพระราหุลพุทธชิโนรส โดยมีสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า(หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน) ซึ่งทรงเป็นพระอริยะเถราจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานแห่งยุครัตนโกสินทร์...ทำให้ผมมีโอกาสได้รู้ได้เข้าใจและที่สำคัญได้ไขข้อข้องใจในเรื่องการปฏิบัติที่ติดค้างยาวนานว่าสิ่งที่เกิดกับผมนั้นคือการเข้าถึงองค์ปิติธรรม ๕ ดังนั้นการได้มีโอกาสพบพระอาจารย์สนธยา ธัมมวังโส นี้ถือว่าสำคัญเพราะละข้อกังขาได้ส่วนหนึ่งและได้ถูกชักนำไปพิสูจน์ถึงถ้ำพระอรหันต์วัดเขาสมโภชน์จังหวัดลพบุรีมาแล้วจึงเชื่อได้ว่านี้ใช่เลย
     :character0029:
           :043:สหายกัลยาณธรรมทั้งหลายครับ...ทุกท่านได้มีโอกาสพบพระอาจารย์ที่รู้เข้าใจและหาได้ยากในกึ่งพุทธกาลนี้จงอย่าละโอกาสเพียรเข้าหาหมั่นศึกษาและน้อมนำเอาองค์ธรรมให้เกิดขึ้นในกายในตัวในตนเถิดจึงจะชื่อได้ว่าเกิดไม่เสียชาติเกิดครับ...ส่วนผู้ที่ไม่อาจละข้อกังขาใดใดนั้นผมสังสัยเลยว่าปฏิบัติไม่จริงคงอ่านมากจำมากกล่าวกันไปตามวิสัยรู้แล้วบอกกล่าว...การปฏิบัติจริงต้องละทิฏฐิมานะถือดีละความรู้ความสามารถทางโลกออกไปก่อนทำใจให้นิ่งมีความเคารพในครูอาจารย์ไม่ปรามาสแล้วลองพิจารณาดูตามวิสัยแห่งบัณฑิตที่ต้องรู้จักแสวงหาเข้าถึงและเข้าใจจึงจะเป็นบัณฑิตแท้อย่างหลงกับตำราอรรถความรู้มากเพราะจำแต่ใจไม่รู้ซึ้งย่อมไม่คู่ควรเลยกับคำว่าบัณฑิต...สวัสดี

                                                                                                                                                      :character0029:                     
         
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2010, 05:34:08 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา