สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: komol ที่ ตุลาคม 25, 2010, 08:55:33 am



หัวข้อ: มีหลักการในการพิจาณา อนิจจัง ในกรรมฐาน หรือป่าวครับ
เริ่มหัวข้อโดย: komol ที่ ตุลาคม 25, 2010, 08:55:33 am
ผมมักจะได้ยินว่า พระ พูดสอนให้พิจารณา ความไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น

อยากทราบมีหลักการในการพิจารณาความไม่เที่ยง อย่างไรครับ

ที่จะทำการพิจารณาให้เข้าใจ ให้ง่าย ๆ และถูกต้องตามหลักในพระพุทธศาสนา

โดยที่เราไม่ต้องไปนั่ง คิดเอง

 :25:


หัวข้อ: Re: มีหลักการในการพิจาณา อนิจจัง ในกรรมฐาน หรือป่าวครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ตุลาคม 26, 2010, 06:50:26 am
ในการฝึกอานาปานสติ มีการกำหนด อนิจจลักษณะ 2 ส่วน คือส่วนของความไม่เที่ยง 25 ประการ

ส่วนของความเสื่อม ( ทุกข์ ) 25 ประการ รวมกันเป็นหลักกำหนด อนิจลักษณะ 50 ประการ ดังนี้

        ๑.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในรูปหายใจออก
        ๒.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในรูปหายใจเข้า
        ๓.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในเวทนาหายใจเข้า
        ๔.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในเวทนาหายใจออก
        ๕.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในสัญญาหายใจเข้า
        ๖.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในสัญญาหายใจออก
        ๗.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในสังขาร หายใจเข้า
        ๘.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในสังขาร หายใจออก
        ๙.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในวิญญาณ หายใจเข้า
        ๑๐.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในวิญญาณ หายใจออก
        ๑๑.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในจักษุ หายใจเข้า
        ๑๒.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในจักษุ หายใจออก
        ๑๓.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในหู หายใจเข้า
        ๑๔.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในหู หายใจออก
        ๑๕.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในจมูก หายใจเข้า
        ๑๖.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในจมูก หายใจออก
        ๑๗.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในลิ้น หายใจเข้า
        ๑๘.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในลิ้น หายใจออก
        ๑๙.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในกาย หายใจเข้า
        ๒๐.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในกาย หายใจออก
        ๒๑.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในจิต หายใจเข้า
        ๒๒.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในจิต หายใจออก
        ๒๓.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในชราและมรณะ หายใจออก
        ๒๔.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในชราและมรณะ หายใจเข้า
        ๒๕.ย่อมศึกษาว่าจักพิจารณาธรรมทั้งหลายด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความไม่เที่ยงหายใจออกหายใจเข้า ( พิจารณาความเสื่อมอีก ๒๕ ลักษณะ รวมกันเป็น ๕๐ ลักษณะ )



หัวข้อ: Re: มีหลักการในการพิจาณา อนิจจัง ในกรรมฐาน หรือป่าวครับ
เริ่มหัวข้อโดย: tcarisa ที่ ตุลาคม 27, 2010, 06:53:57 pm
ได้นำหลักการนี้ ไปพิจารณา วิปัสสนาแล้วคะ

รู้สึกว่าเข้าใจง่าย ๆ ไม่เหมือนเมื่อก่อน ที่กำหนดเอง มั่วไปหมด แล้วแต่จะนึก

 :25:


หัวข้อ: Re: มีหลักการในการพิจาณา อนิจจัง ในกรรมฐาน หรือป่าวครับ
เริ่มหัวข้อโดย: pichai ที่ ตุลาคม 29, 2010, 07:24:41 am
อนุโมทนา ครับได้ฟังคราวที่แล้ว จดจำไม่ได้ รอบนี้ได้อ่านจึง มีแนวทางในการภาวนามากขึ้นครับ

 :85: