ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ลำดับการสืบทอด พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ  (อ่าน 5173 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
    • ดูรายละเอียด
ลำดับการสืบทอด
 

           ครั้งพระเจ้าอโศกมหาราช ส่งพระโสณเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้า พร้อมคณะพระสงฆ์ปัญจวรรค เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาใน ดินแดนสุวรรณภูมิ คือ ไทย พม่า ลาว เขมร ในปัจจุบันนี้ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๖–๒๗๐ ปี พระสงฆ์ได้สืบทอด พระพุทธศาสนา และพระธรรมวินัย กันเรื่อยมา จวบจนถึงปัจจุบันนี้ พระสงฆ์ที่อยู่วัดใกล้บ้าน เรียกว่า พระสงฆ์คามวาสี พระสงฆ์ที่อยู่วัดในป่า เรียกว่าพระสงฆ์อรัญวาสี พระสงฆ์ที่อยู่วัดคามวาสี และวัดอรัญวาสี ต้องศึกษาพระธรรมวินัยทั้งปริยัติ และปฏิบัติควบคู่กันไป ไม่มีการแบ่งแยกทางการศึกษา ว่าจะศึกษาทางไหนก่อน ถ้าจะศึกษาทางปฏิบัติต้องไปยังสำนักพระกัมมัฏฐานหลัก สำนักพระกัมมัฏฐานใหญ่ อันเป็นศูนย์กลางของการปฏิบัติ ในยุคต่างๆ

        ยุคศรีทวาราวดี สำนักพระกัมมัฏฐานหลัก สำนักพระกัมมัฏฐานใหญ่คือ วัดแสนท้าวโคตร เมืองศรีทวาราวดี มีพระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า เป็นเจ้าสำนัก เป็นศูนย์กลางของพระกัมมัฏฐานในยุคอาณาจักรศรีทวาราวดี สำนักเล็ก คือ วัดพญาราม เมืองศรีทวาราวดี วัดสุวรรณาราม เมืองศรีทวาราวดี ฯ

      ยุคศรีทวาราวดี พระอาจารย์กัมมัฏฐานประจำยุคคือ พระราชสามีรามมหาเถรเจ้า(เพชร)

       ยุคกรุงสุโขทัย สำนักพระกัมมัฏฐานหลัก สำนักพระกัมมัฏฐานใหญ่คือ วัดไตรภูมิ-ป่าแก้ว มีพระวันรัตมหาเถร เป็นเจ้าสำนัก เป็นศูนย์กลางพระกัมมัฏฐาน ในยุคอาณาจักรสุโขทัย, สำนักพระกัมมัฏฐานเล็กในยุคสุโขทัยเช่น วัดป่ารัตนา พระครูญาณไตรโลกเป็น เจ้าสำนัก วัดสุทธาวาส พระครูญาณสิทธิ เป็นเจ้าสำนักฯ

      ยุคสุโขทัย พระอาจารย์กัมมัฏฐานประจำยุคคือ พระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า(สิงห์)

      ยุคกรุงศรีอยุธยา วัดป่าแก้ว หรือเรียกกันอีกอย่างว่า วัดเจ้าพญาไท เป็นสำนักพระกัมมัฏฐานหลัก สำนักพระกัมมัฏฐานใหญ่ พระพนรัตน เป็นพระอาจารย์ใหญ่ เป็นเจ้าสำนัก เป็นศูนย์กลางพระกัมมัฏฐาน ในยุคอาณาจักรอยุธยา มีสำนักพระกัมมัฏฐานเล็กๆสิบกว่าวัด ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น วัดศรีอโยธยา พระพากุลเถร เป็นเจ้าสำนัก ๑วัดโบสถ์ราชเดชะ พระพุฒาจารย์ เป็นเจ้าสำนัก ๑ วัดโรงธรรม พระญาณไตรโลกเป็นเจ้าสำนัก๑ วัดกุฎ พระอุบาลี เป็นเจ้าสำนัก๑ วัดเจ้ามอน พระญาณโพธิ เป็นเจ้าสำนัก ๑ วัดประดู่ พระธรรมโกษา เป็นเจ้าสำนัก๑ วัดกุฎีดาว พระเทพมุนี เป็นเจ้าสำนัก๑ วัดสมณะโกฎ พระเทพโมฬี เป็นเจ้าสำนัก ๑ วัดมเหยงค์ พระธรรมกิติ เป็นเจ้าสำนัก๑ ฯ นับว่าสมัยกรุงศรีอยุธยา มีวัดอรัญวาสี เป็นสำนักพระกัมมัฏฐานมาก เปรียบเทียบได้ว่ามี มหาวิทยาลัยพระกัมมัฏฐานทางพระพุทธศาสนามาก

       ยุคอยุธยา พระอาจารย์กัมมัฏฐานประจำยุคคือ พระพนรัต(รอด) หรือ หลวงปู่เฒ่า พระสังฆราชาฝ่ายอรัญวาสี

         ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีวัดอรัญวาสีสำนักพระกัมมัฏฐานหลัก สำนักพระกัมมัฏฐานใหญ่ ๑วัด คือวัดราชสิทธาราม(พลับ) สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน เป็นเจ้าสำนัก เป็นพระอาจารย์ใหญ่ ประจำกรุงรัตนโกสินทร์ วัดราชสิทธารามจึงเป็นศูนย์กลางของกัมมัฏฐาน ประจำกรุงรัตนโกสินทร์ มีสำนักเล็กคือ วัดราชาธิวาส พระปัญญาวิศาลเถร(ศรี) เป็นเจ้าสำนัก

       ยุครัตนโกสินทร์ พระอาจารย์กัมมัฏฐานประจำยุคคือ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน จึงนับได้ว่ากรุงรัตนโกสินทร์ มีมหาวิทยาลัยพระกัมมัฏฐาน ทางพระพุทธศาสนาเพียง ๒ แห่ง สำหรับสำนักวัดราชาธิวาสนั้น เมื่อพระปัญญาวิศาลเถร(ศรี) มรณะภาพลงแล้ว พระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ก็ค่อยๆเสื่อมลง ปัจจุบันหมดไปแล้ว เพราะอยู่ในที่ใกล้ความเจริญมากกว่า(ฝั่งกรุงเทพฯ) ความเจริญของสมัยใหม่เข้ามาเร็ว และไม่มีการบำรุงรักษาไว้ ต่อมาเหลือเพียงวัดราชสิทธาราม(พลับ)เพียงวัดเดียว ที่รักษาความเป็นสำนักพระกัมมัฏฐานใหญ่ สำนักพระกัมมัฏฐานหลัก มัชฌิมา แบบลำดับ แทนวัดแสนท้าวโกฐ ยุคทวาราวดี แทนวัดไตรภูมิ-ป่าแก้ว ยุคสุโขทัย แทนวัดป่าแก้ว ยุคกรุงศรีอยุธยา ไว้ได้ยาวนานที่สุด ซึ่งแต่ละยุคศึกษาพระกัมมัฏฐาน แบบเดียวกัน จนกระทั้งถึงบัดนี้ โดยมีพระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายพระกัมมัฏฐานสืบทอดโดยไม่ขาดสาย ไม่ขาดระยะมาถึง ๑๒ รุ่น บางยุคก็เจริญ บางยุคก็เสื่อมลงบ้าง ตามหลักพระไตรลักษณ์ พระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของกรุงรัตนโกสินทร์นี้ นำสืบทอดมาจากกรุงศรีอยุธยา สู่ กรุง รัตนโกสินทร์ โดยการนำมาของ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๒ เมื่อปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ เห็นว่าพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของเก่าดั่งเดิม กำลังจะแตกกระจาย โดยรู้เท่าไม่ถึงการจะเกิดเป็นสายต่างๆขึ้นมา การศึกษาพระกัมมัฏฐานภาคปฏิบัติจะไม่เป็นระเบียบแบบแผนเหมือนแต่ก่อน ว่า พระกัมมัฏฐานไหน ควรเรียนก่อนเรียนหลัง

         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการชุมนุมพระสงฆ์สมถะ-วิปัสสนา ทั้งนอกกรุงในกรุง ทำการสังคายนาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เพื่อรักษาพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มิให้แตกกระจาย สูญหาย ทำให้เป็นปึกแผ่นเหมือนแต่ก่อน โดยสังคายนาพระสงฆ์ผู้สืบทอดพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน) เป็นองค์ประธานสังคายนาฝ่ายสงฆ์ เมื่อสังคายนาเสร็จแล้ว ทรงแต่งตั้งพระสงฆ์ไปเป็นพระอาจารย์ บอกพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จึงได้สืบทอดมาจนทุกวันนี้

พระกัมมัฏฐานนั้นมี ๒ อย่าง

๑. พระกัมมัฏฐานภาคปริยัติ คือ พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค

๒.พระกัมมัฏฐานภาคปฏิบัติคือ พระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ สืบทอดโดยการปฎิบัติ และจำสืบๆต่อกันมา โดยไม่ขาดสาย เพื่อป้องกันอุปาทาน และทางเดินของจิตเสีย เมื่อเรียนภาคปฏิบัติแล้ว จึงเรียนพระกัมมัฏฐานภาคปริยัติ คือการอ่าน พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค เพื่อเอาความรู้ทางจิต ออกมาทางคำพูด เพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้อง และอธิบายได้ใจความ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 18, 2011, 02:44:52 pm โดย tcarisa »
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
    • ดูรายละเอียด
Re: ลำดับการสืบทอด พระกรรมฐาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2011, 02:44:07 pm »
ลำดับพระมหาเถรเจ้าผู้สืบทอด

พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ

จากดินแดนชมภูทวีป ถึงดินแดนสุวรรณภูมิ

(ตั้งแต่ประมาณ พศ.๒๗๔ ถึง พ.ศ.๒๕๔๐)



ยุคพุทธกาล
๑. พระราหุลเถรเจ้า เป็นพระอาจารย์ใหญ่ประจำยุคพุทธกาล ชมภูทวีป
หลังพุทธกาล ครั้งปฐมสังคายนา

๒. พระโกลิกะเถรเจ้า ชมพูทวีป เป็นพระอาจารย์ใหญ่ประจำยุค
หลังพุทธกาล ครั้งทุติยสังคายนา

๓. พระมัลลิกะเถรเจ้า ชมพูทวีป เป็นพระอาจารย์ใหญ่ประจำยุคหลังพุทธกาล

พระมัลลิกะเถรเจ้า ทรงบอกพระกรรมฐานมัชฌิมาให้กับ พระโมคคัลลีบุตรติสสเถรเจ้า และพระโสนันตเถรเจ้า


หลังพุทธกาล ครั้งตติยสังคายนา
๔. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถรเจ้า บอกพระกรรมฐานให้กับ พระโสณเถรเจ้า พระอุตตรเถรเจ้า พระมหินท์เถรเจ้า ต่อมาพระเถรทั้งสามพระองค์เรียนพระกรรมฐานมัชฌิมา ต่อกับพระโสนันตเถรเจ้า เนื่องจากพระโมคคัลลีบุตรติสสเถรเจ้า เข้านิพพาน

๕. สายพระโสณเถรเจ้า
- พระอุตตรเถรเจ้า,พระโสณเถรบอกพระกรรมฐานมัชฌิมาให้กับ พระชาลตะเถรเจ้า พระกิตตระเถรเจ้า พระภูริยะเถรเจ้า

สายพระมหินทเถรเจ้า พระอัฎฎิยเถรเจ้า
- พระมหินทเถรบอกพระกรรมฐานมัชฌิมาให้กับพระอุตติยะเถรเจ้า พระสัมพละเถรเจ้า พระภัททสาลเถรเจ้า


ลังกาทวีป
๖. พระอุบาลีเถรเจ้า พระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานมัชฌิมา ประจำเกาะลังกา
สายพระโสณเถร พระอุตตรเถร เดินทางมาแวะพักลังกาทวีป บอกพระกรรมฐานให้กับ พระจิตตกะเถรเจ้า ต่อมา คณะของพระมหินทเถรเจ้ามาเกาะลังกา พระจิตตกะเถรเจ้า ทรงศึกษากับ พระมหินทเถรเจ้าเพิ่มเติม พระจิตตกะเถรเจ้า บอกพระกรรมฐานมัชฌิมาให้กับ พระอุบาลีเถรเจ้า แห่งเกาะลังกา




ศรีพระอริยะสงฆ์ผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ยุคฟูนัน
ศรีพระอริยะสงฆ์ผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ยุคสุวรรณภูมิ (ฟูนัน)

คณะพระโสณเถรเจ้า พระอุตตระเถรเจ้า

ยุคสุวรรณภูมิ
(สมัยฟูนัน เจ้าแห่งภูเขา กำลังรุ่งเรือง)
พระมหาเถรเจ้าทั้ง ห้าพระองค์ เป็นพระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานมัชฌิมา ประจำยุคสุวรรณภูมิ
๑. พระโสณเถรเจ้า
๒. พระอุตตระเถรเจ้า
๓. พระชาลตะเถรเจ้า
๔. พระกิตตระเถรเจ้า
๕. พระภูริยะเถรเจ้า
พระญาณเถรเจ้า ๑ พระณิชาเถรเจ้า ๑ พระปถวีเถรเจ้า ๑ พระชาติเถรเจ้า ๑ พระติสสเถรเจ้า ๑ พระปาโสเถรเจ้า ๑ พระเตชิตะเถรเจ้า ๑ จากชมพูทวีป ๑๒ รูป
มีพระสังฆเถร ติดตามจาริกมาจาก เกาะลังกา ๕ รูป คือ พระโสตถิยะเถรเจ้า ๑ พระชิตตะเถรเจ้า ๑ พระเสวกะเถรเจ้า ๑ พระชินโสเถรเจ้า ๑ พระปาละเถรเจ้า ๑
มีพระสังฆเถร ติคตามจาริกมาจาก นครตามพรลิงค์(นครศรีธรรมราช) ๓ รูป พระโกลันยาเถรเจ้า ๑ พระปิตะเถรเจ้า ๑ พระเชตุเถรเจ้า ๑
คณะของพระโสณเถร พระอุตระเถร แยกย้ายไปเผยแผ่ตามเมืองต่างๆ


เมืองสุวรรณสังข์
(เมืองทวาราวดี-อู่ทอง มอญ)
(พระราชสามีรามมหาเถร)
๑. พระโสณเถรเจ้า
๒. พระชาลตะเถรเจ้า
๓. พระญาณเถรเจ้า
๔. พระราชสามีรามเถรเจ้า(เพชร)
๕. พระสิทธาจารย์ญาณเถรเจ้า(ด้วง)
๖. พระสิทธาจารย์ญาณเถรเจ้า(อิง)


เมืองศรีสุวรรณ
(นครปฐม-มอญ)
๑. พระอุตตระเถรเจ้า
๒. พระเสวกะเถระเจ้า
๓.พระสิทธิตะเถรเจ้า
๔.พระปาลมุตตะเถรเจ้า


เมืองสะเทิม
(เมืองมอญ)
(พระราชสปทังเถร)
๑.พระกิตตระเถรเจ้า
๒.พระปถวีเถรเจ้า
๓.พระปาโสเถรเจ้า
๔.พระเตชิตะเถรเจ้า



เมืองศรีเทพ
(พระราชสามีรามฯ)
๑.พระภูริยะเถรเจ้า
๒.พระโสตถิยะเถรเจ้า
๓.พระชิตตะเถรเจ้า
๔.พระชินโสเถรเจ้า
๕.พระปาลเถรเจ้า


ยุคทวราวดี
ศรีพระอริยะสงฆ์ผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ยุคศรีทวาราวาดี พระราชสามีรามมหาเถรเจ้า(เพชร)
เป็นพระอาจารย์ใหญ่บรมครูประจำยุคทวาราวดี

๑. พระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า (ใจ)
สิทธิวิหาริก พระญาณสิทธาจารย์เถรเจ้า(ด้วง)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๒. พระญาณวิมุตติสุวรรณมหาเถรเจ้า (ไข)
สิทธิวิหาริก พระญาณสิทธาจารย์เถรเจ้า(ด้วง)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๓. พระญาณวิมุตติสุวรรณมหาเถรเจ้า(แสง)
สิทธิวิการิก พระญาณวิมุตติสุวรรณมหาเถรเจ้า(ไข)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๔. พระญาณวิมุตติสุวรรณมหาเถรเจ้า (ชัย)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๕. พระญาณวิมุตติสุวรรณมหาเถรเจ้า (โต)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๖. พระญาณวิมุตติสุวรรณมหาเถรเจ้า (จริง)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๗. พระญาณวิมุตติสุวรรณมหาเถรเจ้า (พ่วง)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๘. พระญาณวิมุตติสุวรรณมหาเถรเจ้า (เกตุ)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๙. พระญาณรัตนสุวรรณมหาเถรเจ้า (สาน)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๑๐. พระญาณรัตนสุวรรณมหาเถรเจ้า (ตา)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๑๑. พระญาณรัตนสุวรรณมหาเถรเจ้า (ปาน)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๑๒. พระญาณรัตนสุวรรณมหาเถรเจ้า (ดำ)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๑๓. พระญาณรัตนวงศ์มหาเถรเจ้า (ก่อ)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๑๔. พระญาณรัตนวงศ์มหาเถรเจ้า (เพียร)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๑๕. พระญาณรัตนวงศ์มหาเถรเจ้า ( แดง)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๑๖. พระญาณรัตนวงศ์มหาเถรเจ้า ( ธรรม)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๑๗. พระญาณรัตนวงศ์มหาเถรเจ้า (แสง )
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๑๘. พระญาณรัตนวงศ์มหาเถรเจ้า (ฟ้า)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๑๙. พระญาณรัตนวงศ์มหาเถรเจ้า (ขาว)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๒๐. พระญาณรัตนวงศ์มหาเถรเจ้า (เดช)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๒๑. พระญาณรัตนวงศ์มหาเถรเจ้า ( ยา)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๒๒. พระญาณรัตนวงศ์มหาเถรเจ้า (ขาว)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๒๓. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า ( ตอง)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๒๔. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า ( ชอบ)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๒๕. พระญาณไตรวุฒิคุณมหาเถรเจ้า (ปอ)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๒๖. พระญาณไตรวุฒิคุณมหาเถรเจ้า (แพร)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๒๗. พระญาณไตรวุฒิคุณมหาเถรเจ้า ( อัง)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๒๘. พระญาณไตรวุฒิคุณมหาเถรเจ้า (ชิต)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๒๙. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า (อาด)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๓๐. พระญาณไตรลักษณ์มหาเถรเจ้า (แสม)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๓๑. พระญาณไตรลักษณ์มหาเถรเจ้า (เพชร)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๓๒. พระญาณไตรลักษณ์มหาเถรเจ้า ( โปง)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๓๓. พระญาณไตรลักษณ์มหาเถรเจ้า ( ผล)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๓๔. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า ( พิงคะ)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๓๕. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า ( คุต)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๓๖. พระญาณประสิทธิ์มหาเถรเจ้า ( เองนำ)
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๓๗. พระญาณประสิทธิ์มหาเถรเจ้า ( เกด )
(ไม่มีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์)

๓๘. พระญาณประสิทธิ์มหาเถรเจ้า (จีบ)
เริ่มมีตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์ ครั้งแรก พระพุทธโฆษาจารย์ (โชติ)

๓๙. พระญาณประสิทธิ์มหาเถรเจ้า (กลิ่น)
พระพุทธโฆษาจารย์ (นิด)

๔๐. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า ( แพร)
พระพุทธโฆษาจารย์ (ปล่อง)

๔๑. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า ( ชิด)
พระพุทธโฆษาจารย์ (วง)

๔๒. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า (ปาน)
พระพุทธโฆษาจารย์ (ยา)

๔๓. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า ( ชาด)
พระพุทธโฆษาจารย์ (แปลก)

๔๔. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า ( ชัย)
พระพุทธโฆษาจารย์ (สอง)

๔๕. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า (กล่อม)
พระพุทธโฆษาจารย์ (เปลื้อง)

๔๖. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า ( เวท)
พระพุทธโฆษาจารย์ (แสง)

๔๗. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า (สี)
พระพุทธโฆษาจารยย์ (ยง)

๔๘. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า (สุก)
พระพุทธโฆษาจารย์ (เขต)

๔๙. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า (เดช)
พระพุทธโฆษาจารย์ (ยก)

๕๐. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า ( ฟัก)
พระพุทธโฆษาจารย์ (ช่วง)

๕๑. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า (ปลา)
พระพุทธโฆษาจารย์ (โอ)

๕๒. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า (เกด)
พระพุทธโฆษาจารย์ (สาม)

๕๓. พระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า (เขต )
พระพุทธโฆษาจารย์ (แช)


ศรีพระอริยสงฆ์ เมืองละโว้
สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา จากอาณาจักรศรีทวาราวดี
พระราชสุวรรณมุนีมหาเถรเจ้า(ทอง) สัทธิวิหาริกของ พระญาณไตรวุฒิคุณมหาเถรเจ้า(ปอ) มีพระมหาเถรเจ้าสืบทอดมาถึง ๔๙ พระองค์


ศรีพระอริยสงฆ์ เมืองบ้านคูเมือง (สิงห์บุรี)
สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา จากเมืองศรีทวาราวดี สู่เมืองบ้านคูเมือง
๑. พ่อเจ้า (จัน) วัดดงตาล สัทธิวิหาริกของพระญาณไตรโลก วัดแสนท้าวโคตร เมืองศรีทวาราวดี
๒. พ่อเจ้า ( โย่ง) วัดดงตาล
๓. พ่อเจ้า ( ตาล) วัดดงตาล
๔. พ่อเจ้า ( แพร) วัดดงตาล บอกพระกรรมฐานให้กับ พระญาณสุวรรณ มหาเถรเจ้า(สิงห์) วัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย
๕. พ่อเจ้า(ขวัญ) วัดดงตาล ศึกษาพระกรรมฐาน แบบมัชฌิมากับ พ่อเจ้าแพร
๖. พ่อเจ้า (เต็ม) วัดดงตาล ศึกษาพระกรรมฐาน แบบมัชฌิมากับ พ่อเจ้าแพร
เมืองบ้านคูเมืองไม่มี ตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์





ยุคสุโขทัย
ศรีพระอริยสงฆ์ผู้สืบทอด
พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เมืองสุโขทัย
ก่อนสถาปนาเป็นอานาจักรศรีสุโขทัย

๑. พระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า ( สิงห์) เป็นพระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานมัชฌิมา บรมครูประจำยุคกรุงสุโขทัย สมัยพระเจ้าประกันติราช สถิตวัดมหาธาตุ เป็นพระสังฆราชา พระองค์ท่านทรงศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับสืบต่อมาจาก พ่อเจ้าแพร แห่งวัดดงตาล เมืองบ้านคูเมือง ชานเมืองละโว้ ใกล้เขตเมืองสุโขทัย

๑. พระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า(สิงห์) สมัยพระเจ้าประกันติราช
พระพุทธโฆษาจารย์ (โปร่ง)

๒. พระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า ( เหม) สมัยพระเจ้าประกันติราช
พระพุทธโฆษาจารย์(โปร่ง)

๓. พระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า (ชิต) สมัยพระเจ้าปทุมวงศ์
พระพุทธโฆษาจารย์ (เซง)

๔. พระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า (เชื้อ) สมัยพระเจ้าปทุมวงศ์ (องค์เดิม)

๕. พระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า (สาย) สมัยพระเจ้าสุริยราชา
พระพุทธโฆษาจารย์ (อ่อน)

๖. พระญาณมุนีมหาเถรเจ้า ( ตา ) สมัยพระเจ้าจันทราชา
พระพุทธโฆษาจารย์(โชติ)

๗. พระญาณมุนีมหาเถรเจ้า ( คง) สมัยพระเจ้าจันทราชา (องค์เดิม)

๘. พระญาณมุนีมหาเถรเจ้า (อยู่ ) สมัยพระเจ้าอรุณราชา
พระพุทธโฆษาจารย์(ชัย)

๙. พระญาณมุนีมหาเถรเจ้า( ชัย) สมัยพระเจ้าอรุณราชา (องค์เดิม)

๑๐. พระญาณมุนีมหาเถรเจ้า ( อยู่ ) สมัยพระเจ้าชัยฟ้า
พระพุทธโฆษาจารย์(แฝง)

๑๑. พระญาณมุนีมหาเถรเจ้า (เสือ) สมัยพระเจ้าชัยฟ้า (องค์เดิม)

๑๒. พระทักษิณาทิศาจารย์ (มั่น) สมัยพระเจ้าชัยฟ้า (องค์เดิม)

๑๓. พระญาณมุนีมหาเถรเจ้า(แสง) สมัยพ่อขุนนาวนำถม
พระพุทธโฆษาจารย์(ปรือ)

๑๔.พระครูญาณไตรโลก ( ดา) สมัยพ่อขุนบางกลางหาว (องค์เดิม)


ศรีพระอริยะสงฆ์สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ยุคสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย
๑. พระวันรัตมหาเถร ( อาด) สมัยขุนศรีอินทราทิตย์
์พระพุทธโฆษาจารย์ (เปล่ง)

๒. พระวันรัตมหาเถร (ขาว ) สมัยพ่อขุนบานเมือง
พระพุทธโฆษาจารย์ (ก้อง)

๓. พระวันรัตมหาเถร (ชื่น) สมัยพ่อขุนบานเมือง (องค์เดิม)

๔. พระวันรัตมหาเถร (เงิน) สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พระพุทธโฆษาจารย์ (ขาม)

๕. พระวันรัตมหาเถร ( สิงห์) สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (องค์เดิม)

๖. พระวันรัตมหาเถร ( มาก) สมัยปู่ไสยสงคราม
พระพุทธโฆษาจารย์ (ลือ)

๗. พระมหาวันรัตเถร (ขุน) สมัยพญาเลอไท
พระพุทธโฆษาจารย์ (เมฆ)

๘. พระวันรัตมหาเถร ( เรือง) สมัยพญาเลอไท (องค์เดิม)

๙. พระวันรัตมหาเถร (แสง) สมัยพญางั่วนำถม
พระพุทธโฆษาจารย์ (ชื่น)

๑๐. พระวันรัตมหาเถร (สี) สมัยพระมหาธรรมราชาที่๑ พญาลิไท
พระพุทธโฆษาจารย์ (ใจ)

๑๑. พระวันรัตมหาเถร (ไม่ทราบ) สมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๒
พระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน)

๑๒. พระวันรัตมหาเถร (นวน) สมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๓ พญาไสยลือไท
พระพุทธโฆษาจารย์ (สี)

๑๒. พระวันรัตมหาเถร (สอน)สมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๔ พญาบาลเมืองหรือบรมบาล
พระพุทธโฆษาจารย์ (ฉาย)


ยุคอยุธยา
ศรีอริยสงฆ์สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา
ยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
(ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๙๓–๒๓๑๐ ปี รวม ๔๑๗ ปี )

๐พระพนรัตน(รอด) หรือหลวงปู่เฒ่า ทรงเป็นพระอาจารย์ใหญ่
กรรมฐานมัชฌิมา บรมครูประจำยุคกรุงศรีอยุธยา

๑. พระพนรัตน (จวน) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๒. พระพนรัตน ( แดง) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๓. พระพนรัตน (รอด)หลวงปู่เฒ่า วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๔. พระพนรัตน (สี ) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๕. พระพนรัตน (รอด องค์ที่๒) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๖. พระพนรัตน (แสง) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๗. พระพนรัตน ( คร้าม) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๘.พระพนรัตน (จุ่น) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๙. พระพนรัตน ( เอื๊ยน.) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๑๐. พระพนรัตน (มี) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๑๑. พระพนรัตน(เดช) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๑๒. พระพนรัตน ( สอน) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๑๓. พระพนรัตน ( พระมหาเถรคันฉ่อง) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๑๔. พระพนรัตน (อ้น) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๑๕. พระพนรัตน ( ขุน) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๑๖. พระพนรัตน (มาก) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๑๗. พระพนรัตน (ใหญ่) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๑๘. พระพนรัตน ( บุญ) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๑๙. สมเด็จพระญาณมุนี พระสังฆราช(สิงห์) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราช ฝ่ายขวา

๒๐. พระพนรัตน (แปร) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๒๑. พระพนรัตน (ดำ) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๒๒. พระพนรัตน (แก้ว) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๒๓. พระพนรัตน (ใย) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๒๔. พระพนรัตน ( ผา) วัดป่าแก้ว
ตำแหน่งพระสังฆราชาฝ่ายซ้าย

๒๕. ท่านพระครูปลัดเขียน วัดป่าแก้ว
ท่านเป็นถานานุกรมพระพนรัตน(แปร)

๒๖. พระครูวินัยธรรมจ้อย วัดท่าเกวียน
ท่านเป็นถานานุกรมพระพนรัตน(แปร)

๒๗. ท่านขรัวตาทอง วัดท่าหอย
พระอาจารย์หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน

๒๘. พระครูรักขิตญาณ(สี) วัดโรงช้าง
พระอาจารย์หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน

๒๙. พระธรรมภาวนาเถร ( อิน) วัดราชาวาส
พระอาจารย์หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน

๓๐. ท่านขรัวตาเจ้า วัดเกาะหงส์
พระอาจารย์หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน




ยุคธนบุรี
ศรีอริยสงฆ์สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา
ยุคกรุงธนบุรี
(พ.ศ. ๒๓๑๐ - พ.ศ.๒๓๒๕ ระยะเวลานาน ๑๕ ปี)
พระปัญญาวิศาลเถร (ศรี) วัดสมอลาย ศิษย์พระธรรมภาวนาเถร (อิน) วัดราชาวาส อยุธยา เพื่อนสหธรรมิก หลวงปู่พระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม

เปลี่ยนจากยุคกรุงศรีอยุธยามากรุงธนบุรี มาถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ (ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๐ - พ.ศ.๒๓๒๕)


สมาชิกแสดงการอนุโมทนาบทความของคุณ:

suppysuppy, karuna, ritt, watchara, ปาฏิหาริย์, toppdt
หัวข้อกระทู้นี้, มี 6 สมาชิก แสดงการอนุโมทนา!
   บันทึกการเข้า
ร่วมบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้
http://www.prommapanyo.com/smf/index.php?topic=1681.msg16083;topicseen#msg16083
กรรมฐานตามรอยหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดฯ
http://www.prommapanyo.com/smf/index.php?topic=2798.msg22135#msg22135
รับอาสาสมัครอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุเพื่อป้องกันภัยพิบัติ
http://www.prommapanyo.com/smf/index.php?topic=827.msg5095#msg5095
veerawong
ทีมงานชุมชนคนรักหลวงปู่ดู่
กัลยาณมิตร
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3666

อนุโมทนา
-มอบให้: 11424
-ได้รับ: 32242



เว็บไซต์
   
   
ลำดับพระมหาเถรเจ้าผู้สืบทอด พระกรรมฐานมัชฌิมาจาก;ชมภูทวีปถึงสุวรรณภูมิ2
« ตอบ #33 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2011, 03:11:06 PM »
   

ยุครัตนโกสินทร์
ศรีอริยสงฆ์สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา
ยุคกรุงรัตนโกสินทร์

พระอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมา
บรมครูประจำยุครัตนโกสินทร์คือ หลวงปู่สุก
ชาวบ้านเรียกขานพระนามท่านว่า หลวงปู่ไก่เถื่อน หรือสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน

๑. พระพรหมมุนี(ชิต) ชาวเมืองเรียก ท่านเจ้าคุณหอไตร
สถิตวัดราชสิทธาราม รัชสมัยรัชกาลที่ ๒ - ๓
ศึกษาพระกรรมฐานต่อจาก สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน

๒. พระครูวินัยธรรม (กัน) ชาวเมืองเรียก หลวงปู่กัน
สถิตวัดราชสิทธาราม รัชสมัยรัชกาลที่ ๓
ศึกษาพระกรรมฐานต่อจาก สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน

๓. พระญาณสังวร (ด้วง) ชาวเมืองเรียก หลวงปู่ใหญ่
สถิตวัดราชสิทธาราม รัชกาลที่ ๓ - รัชกาลที่ ๔
ศึกษาพระกรรมฐานต่อจาก สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน

๔. พระญาณโกศลเถร (รุ่ง) ชาวเมืองเรียก หลวงปู่รุ่ง
สถิตวัดราชสิทธาราม
ศึกษาพระกรรมฐานต่อจาก สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน

๕. พระญาณสังวร (บุญ) ชาวเมืองเรียก หลวงปู่บุญ
สถิตวัดราชสิทธาราม รัชกาลที่ ๔
ศึกษาพระกรรมฐานต่อจาก สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน
และพระพรหมมุนี (ชิต)

๖. พระญาณโยคาภิรัติเถร (มี) ชาวเมืองเรียก หลวงปู่มี
สถิตวัดราชสิทธาราม รัชกาลที่ ๔
ศึกษาพระกรรมฐานต่อจาก สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน พระพรหมมุนี (ชิต)
พระญาณสังวร (ด้วง)

๗. พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) หลวงปู่เมฆ
สถิตวัดราชสิทธาราม รัชกาลที่ ๔ – รัชกาลที่ ๕
ศึกษาพระกรรมฐานต่อจาก สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน พระพรหมมุนี (ชิต)
พระญาณสังวร(ด้วง)

๘. พระสังวรานุวงศเถร (เอี่ยม)
สถิตวัดราชสิทธาราม ชาวบ้านมักเรียกท่านว่า หลวงพ่อใจดีบ้าง หลวงพ่อผิวเหลืองบ้าง รัชกาลที่ ๕ - รัชกาลที่ ๖
ศึกษาพระกรรมฐานต่อจาก พระญาณสังวร (บุญ) พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ)

๙. พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) คนทั้งหลายเรียกท่านว่า เจ้าคุณสังวราฯ บ้าง หลวงปู่ชุ่มบ้าง
สถิตวัดราชสิทธาราม รัชกาลที่ ๖ – รัชกาลที่ ๗
ศึกษาพระกรรมฐานต่อจาก พระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม)

๑๐. พระครูสังวรสมาธิวัตร (แป๊ะ) ชาวบ้านเรียกว่า ท่านพระครูใหญ่
สถิตวัดราชสิทธาราม รัชกาลที่ ๘ – รัชกาลที่ ๙
ศึกษาพระกรรมฐานต่อจาก พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) พระสังวรานุวง์เถร (ชุ่ม)

๑๑. พระครูญาณสิทธิ์ (เชื้อ) ชาวบ้านเรียกว่า หลวงตาญาณ
สถิตวัดราชสิทธาราม รัชกาลที่ ๙
ศึกษาพระกรรมฐานต่อจาก พระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม)
พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) พระครูสังวรสมาธิวัตร (แป๊ะ)

๑๒. พระครูปัญญาวุธคุณ (บรรจง) ชาวบ้านเรียกว่า หลวงตาอางค์
สถิตวัดราชสิทธาราม รัชกาลที่ ๙
ศึกษาพระกรรมฐานต่อจาก พระครูญาณสิทธิ (เชื้อ)
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ลำดับการสืบทอด พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 23, 2012, 11:05:31 pm »
มีเป็นหนังสือตำนานสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของพระราหุลเถรเจ้า
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร(พลับ) นิครับ
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
Re: ลำดับการสืบทอด พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2014, 11:35:19 pm »
ประวัติ และประเพณีการสืบกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ

    ดึงมาเพื่อตราไว้ในดวงจิตดวงใจของเหล่าศิษย์ทั้งหลาย ว่าครูอาจารย์ของเรามี เราศิษย์มีครู

       ปัจจุบันก็คือพระครูสิทธิสังวร  (พระอาจารย์จิ๋ว)

     ท่านรับขึ้นกรรมฐาน ทุกวัน ที่คณะ5

     ยินดีต้อนรับทุกท่าน
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา