ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มาลุตชาดก-ว่าด้วยการถือความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่  (อ่าน 2813 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์

มาลุตชาดก-ว่าด้วยการถือความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่

ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาลมีพระภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ 2 รูป นามว่าพระกาละและพระชุนหะ ทั้งสองรูปตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดอยู่ในป่าแห่งหนึ่งในเขตชนบทหนึ่งในแคว้นโกศล พระทั้งสองรูปนั้นยังติดนิสัยตั้งแต่สมัยยังเป็นฆราวาส มาคนละอย่าง พระชุนหะชมชอบความงามของพระจันทร์เต็มดวงข้างขึ้น
 “พระจันทร์คืนนี้ช่างสวยจริงๆ แสงจันทร์นวลผ่อง ดูแล้วสบายตา จิตใจสงบดีจริงๆ” ส่วนพระกาละชอบมองหมู่ดาวที่ส่องแสงระยิบระยับจับตาในคืนข้างแรม “อืม..คืนนี้ดวงดาวเต็มฟ้าส่องแสงระยิบระยับจับใจ มองแล้วช่างสุขใจเหลือเกิน....สวยจริงๆ เลย” ในวันหนึ่งพระภิกษุทั้งสองรูปได้สนทนากันเกี่ยวกับลมฟ้าอากาศ
 ด้วยความเห็นและความชอบที่ไม่ตรงกัน จึงทำให้เกิดการถกเถียงกันขึ้น “ท่านรู้หรือไม่ว่าคืนไหนอากาศจะหนาวจัด” “ต้องเป็นคืนข้างแรมซิ เราสังเกตมานานแล้วนะท่าน ถ้าคืนไหนเป็นคืนข้างแรมแล้วละก็ คืนนั้นนะ จะหนาวจัดทุกทีเลยละท่าน”
 พระชุนหะเมื่อได้ฟังคำตอบจากพระกาละก็มีความคิดที่ไม่เห็นด้วยจึงแย้งออกมาว่า “เราก็อยู่ป่ามานาน เราสังเกตเห็นว่าอากาศมักจะหนาวจัดคืนข้างขึ้นต่างหากละท่าน” “แต่เราว่าต้องเป็นคืนข้างแรมซิ ข้างขึ้นนะ อากาศจะอบอุ่นท่านไม่รู้รึไง” “ทำไม่เราจะไม่รู้ ท่านนั้นแหละที่ไม่รู้” “เรานะรู้ ท่านนั้นแหละที่ไม่รู้”
พระภิกษุทั้งสองโต้เถียงกันด้วยเรื่องนี้เป็นเวลานานแต่ไม่อาจจะหาข้อยุติได้ ในที่สุดจึงชวนกันออกเดินทางไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อให้พระพุทธองค์ตัดสินให้ ภิกษุทั้งสองรูปอดทนเดินทางไกลเป็นเวลาแรมเดือนข้ามเขตแดนชนบทน้อยใหญ่มายังนครสาวัตถีเพียงเพื่อให้องค์พระศาสดา
 ตัดสินปัญหาอันไม่เป็นสาระ เนื่องด้วยต่างฝ่ายต่างถือทิฐิมานะเข้าหากัน หลงยึดมั่นแต่ความคิดเห็นของตนโดยไม่พิจารณาถึงสาเหตุที่แท้จริง “ดูก่อนภิกษุเมื่อชาติก่อนโน้น เราก็ตอบปัญหานี้แก่เธอทั้งสองแล้ว แต่เธอจำไม่ได้ จึงต้องย้อนมาถามปัญหาเดิมซ้ำอีก”
 พระภิกษุทั้งสองเมื่อได้ยินก็รู้สึกแปลกใจ จึงกราบทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์ทรงเล่าเรื่องราวในอดีตชาติของตนให้ฟัง พระพุทธองค์จึงทรงแสดง มาลุตชาดก มีเนื้อความดังนี้ นานมาแล้วในป่าอันอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่ง ฝูงสัตว์มากมายต่างดำเนินชีวิตและอยู่รวมกันต่างปกติสุข
ในฝูงสัตว์นั้นก็มีราชสีห์กับเสือโคร่งอยู่ด้วย ทั้งสองตัวอาศัยอยู่ถ้ำเดียวกันตลอดมา “วันนี้ไม่ออกไปหาอาหารกินรึ” “เรายังท้องอิ่มอยู่เลย ขอนอนพักดีกว่า” “เราก็เหมือนกัน นอนพักอย่างท่านดีกว่า” ตามปกติราชสีห์ชอบออกหากินในคืนเดือนหงาย ครั้นตกดึกลมแรงก็หนาวสั่น หลงเข้าใจว่าอากาศหนาวเพราะข้างขึ้น
  “โอ๊ย..ลมแรงจริงๆ คงข้างขึ้นซินะ ถึงได้อากาศหนาวอย่างนี้” ส่วนเสือโคร่งชอบออกล่าเหยื่อในคืนเดือนมืด พอลมพัดมาแรงจัด จึงรู้สึกหนาว จึงทึกทักเอาว่า อากาศหนาวเพราะข้างแรม “อากาศหนาวอย่างนี้ คงเป็นเพราะข้างแรมซินะ ลมยิ่งพัดแรงก็ยิ่งหนาวขึ้นอีก"
อยู่มาวันหนึ่งสัตว์ทั้งสองก็ได้สนทนากันตามปกติ แต่แล้วก็เกิดเรื่องที่ทำให้สัตว์ทั้งสองถกเถียงกันอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน “ท่านราชสีห์ ท่านว่าคืนไหนที่อากาศหนาวที่สุด” “ก็คืนข้างแรมนะซิท่าน เราออกไปหากินทีไร ก็หนาวสั่นทุกที” “อะไรกัน ต้องเป็นข้างขึ้นต่างหากที่อากาศหนาวมาก”
 “ท่านเอาอะไรมาพูด คืนข้างแรมต่างหากที่หนาวสุดๆ” “ท่านนั่นแหละ เอาอะไรมาพูด เราออกหากินข้างนอกทีไร เราก็หนาวจับใจทุกทีเลย” “คืนข้างขึ้นไม่เห็นจะหนาวเลย เรานอนอุ่นสบาย” ทั้งเสือโคร่งและราชสีห์ต่างแผดเสียงเถียงกันลั่นป่าเมื่อหาข้อยุติไม่ได้ ทั้งสองจึงชวนกันไปหาพระฤาษี
 ซึ่งบำเพ็ญตบะอยู่ ณ เชิงเขาแห่งนั้น “เอ้..เราว่าทะเลาะกันไปก็ไม่มีประโยชน์ เราไปถามท่านฤาษีให้รู้เรื่องกันไปเลยดีกว่า” “ได้เลย ท่านฤาษีจะต้องบอกว่า คืนข้างขึ้นอากาศหนาวที่สุดแน่ๆ” “ไม่ใช่ๆ ต้องเป็นคืนข้างแรม” สัตว์ทั้งสองอดทนเดินทางข้ามน้ำข้ามภูเขาเพื่อไปพบพระฤาษีที่อยู่ ณ เชิงเขา
  “ไกลเหมือนกันนะเนี่ย แต่ไม่เป็นไรหรอก เราอดทนได้ ยังไงๆ ท่านฤาษีก็ต้องคิดเหมือนกับเรา คืนข้างแรมต้องหนาวที่สุดอยู่แล้ว” “ไม่ใช่หรอก คืนข้างขึ้นต่างหากที่หนาว” เมื่อสัตว์ทั้งสองเดินทางมาถึงก็ได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้กับฤาษีฟัง “ท่านฤาษี ท่านบอกท่านเสือโคร่งไปเถอะ ว่าคืนข้างขึ้นเป็นคืนที่หนาวเหน็บที่สุด”
 “แหมๆ ท่านราชสีห์ ท่านไม่ต้องไปบอกท่านฤาษีหรอก เขารู้อยู่แล้วว่าคืนข้างแรมเป็นคืนที่หนาวที่สุดต่างหาก” “ไม่ใช่ต้องเป็นคืนข้างขึ้น” “ไม่ใช่ต้องเป็นคืนข้างแรมซิ” “เฮ้อพวกเจ้าทั้งสองไม่ต้องทะเลาะกันหรอกว่าจะข้างขึ้นหรือข้างแรง เมื่อมีลมพัดมา ย่อมรู้สึกหนาวเหมือนกัน เพราะความหนาวเกิดแต่ลม
  ไม่ได้เกิดเพราะข้างขึ้นหรือข้างแรมหรอก” “ห๊า..เป็นเพราะลมจริงหรือ ท่านฤาษี” “อ้าว..ไม่ได้เป็นเพราะข้างขึ้นข้างแรมรึเนี่ย” “ที่เจ้าทั้งสองต่างทิฐิว่าตนรู้ แต่ที่จริงไม่รู้ อุตส่าห์เดินทางข้ามน้ำข้ามภูเขามาด้วยความลำบาก เพื่อให้เราตอบคำถามที่ไม่เป็นประโยชน์อันใดเลย”
  เมื่อราชสีห์และเสือโคร่งทราบความจริงจากฤาษีแล้วก็หมดทิฐิ กราบอำลาแล้วเดินกลับถ้ำของตนอย่างเป็นสุขใจ “เฮ้อ..คราวนี้ก็โล่งใจกันซะทีนะ ท่านเสือ ว่าแต่ว่าเราต้องเดินกลับอีกไกลเหมือนกันนะเนี่ย เหนื่อยจัง” “ฮ้า..เราไม่น่าทะเลาะกันด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่องเลยนะเนี่ย เฮ้อ..เหนื่อยจัง” “อันความหนาวเกิดแต่ลม ไม่ว่าข้างขึ้นหรือข้างแรม เมื่อมีลมพัดพาความหนาวมา ก็ย่อมรู้สึกหนาว บัดนี้ท่านทั้งสองคงจะเข้าใจดีแล้วนะ”


เสือโคร่งในครั้งนั้น กำเนิดเป็น พระกาละ
ราชสีห์ กำเนิดเป็น พระชุนหะ
ฤาษี เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 07, 2015, 05:19:35 pm โดย Pom jaravee »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Hero

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 557
    • ดูรายละเอียด
Re: มาลุตชาดก-ว่าด้วยการถือความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2015, 05:36:37 pm »
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ทำไมต้องมีอินทรีแดง เพราะสังคมเราบางครั้งก็ตาบอด
ปล่อยให้คนดี เดือดร้อน ดังนั้นจึงต้องมีผู้ปกป้องคนดี
hero ไม่ได้มีแต่ในหนังเท่านั้น นะครับ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
    • ดูรายละเอียด
Re: มาลุตชาดก-ว่าด้วยการถือความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2015, 04:42:42 pm »
 gd1 gd1 thk56 thk56
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ