ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หนทางแห่งการดับทุกข์ เริ่มต้นจากมี"สัมมาทิฏฐิ"  (อ่าน 1470 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




หนทางแห่งการดับทุกข์ เริ่มต้นจากมี"สัมมาทิฏฐิ"

สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นถูกที่เกิดจากมีความรู้ความเข้าใจในพระธรรมของพระพุทธองค์อย่างถูกต้อง ในประการแรกคือเชื่อในกฏแห่งกรรมว่ากรรมมีจริง ผลของกรรมมีจริง ทุกคนมีกรรมเป็นของตนเอง

ชีวิตคนเราต่างล้วนต้องการให้ตนมี “ความสุข” ทั้งทางกายและใจกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเพศอะไร วัยไหน คนดี คนเลว คนรวย คนจน คนสูงศักดิ์หรือต่ำศักดิ์เพียงใดก็ตามที การดำเนินชีวิตประจำวันมีแต่ความโลภ ซึ่งเป็นความติดข้องต้องการในสิ่งต่างๆ

ในแต่ละวันอยากเห็นสิ่งที่สวยงามทางตา อยากได้ยินเสียงที่น่าฟังทางหู อยากได้กลิ่นหอมทางจมูก อยากลิ้มรสอร่อยทางลิ้น อยากได้การสัมผัสทางกายที่ไม่เย็นและร้อนจนเกินไป อยากได้การสัมผัสทางกายที่ไม่อ่อนและแข็งจนเกินไป เมื่อได้รับในสิ่งที่ต้องการก็มี “ความสุขสมหวังทางใจ”

ในทางกลับกันหากไม่ได้เห็นสิ่งที่สวยงามทางตา ไม่ได้ยินเสียงที่น่าฟังทางหู ไม่ได้กลิ่นที่หอมทางจมูก ไม่ได้รับรสชาติที่อร่อยทางลิ้น ไม่ได้รับการสัมผัสทางกายที่เย็นและร้อนอย่างพอเหมาะพอดี ไม่ได้รับการสัมผัสทางกายที่อ่อนและแข็งอย่างพอเหมาะพอดี เมื่อไม่ได้รับในสิ่งที่ต้องการก็มี “ความทุกข์ทางใจ”


 :96: :96: :96: :96:

การดำเนินชีวิตประจำวันของแต่ละคนมีการรับรู้ทางปัญจทวาร คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และนึกคิดทางมโนทวารหรือทางใจ ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาพระธรรม ซึ่งเป็นคำสอนของพระบรมศาสดา พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์อย่างถูกต้อง จึงมีแต่ความยินดีและความยินร้ายในสิ่งต่างๆ ที่เจือปนด้วย “กิเลสหยาบหนา” ไม่เว้นแต่ละวัน นำพาชีวิตให้เร่าร้อนด้วยไฟกิเลสที่ลุกโชนอยู่ตลอดเวลา

ทั้งความโลภที่อยากได้และพอใจในสิ่งที่ต้องการ ความโกรธ ที่ไม่อยากได้และไม่พอใจในสิ่งที่ไม่ต้องการ ความหลง ที่ไม่รู้ความเป็นจริง แต่ผู้ที่ศึกษาพระธรรมที่มีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง จึงจะไม่เป็นผู้ที่มีความยินดียินร้ายกับสิ่งต่างๆ จนเกินไป

เพราะมีสติยั้งคิดกับสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในสิ่งที่ต้องการและไม่ต้องการ ไม่เป็นผู้เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงควรศึกษาพระธรรมเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง “ความทุกข์” ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันก็จะมีน้อยลงไม่เดือดร้อนจนเกินไป

 :25: :25: :25: :25:

ในทางพระพุทธศาสนามีการกล่าวถึง โลกธรรม 8 ซึ่งเป็นธรรมดาของโลกมี 8 ประการ คือ มียศคู่กับเสื่อมยศ มีลาภคู่กับเสื่อมลาภ มีสรรเสริญคู่กับนินทา มีสุขคู่กับทุกข์ โลกธรรม 8 นี้ไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน สิ่งใดที่มีอยู่ก็จะกลับไม่มีในเวลาใดเวลาหนึ่ง ถือเป็นธรรมดาของโลกไม่มีอะไรจีรังยั่งยืนพุทธศาสนิกชน จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ ทั้งหลายที่มีอยู่ ทุกสิ่งอย่างเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยทั้งสิ้น เหตุปัจจัยที่ดีย่อมส่งผลดี เหตุปัจจัยที่ไม่ดีย่อมส่งผลไม่ดีเช่นกัน

สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นถูก ที่เกิดจากการมีความรู้ความเข้าใจในพระธรรมของพระพุทธองค์อย่างถูกต้อง ความเห็นถูกในประการแรก คือ “เชื่อในกฏแห่งกรรมว่ากรรมมีจริง ผลของกรรมมีจริง ทุกคนมีกรรมเป็นของตนเอง” หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์จะนำความสุขความเจริญแก่ผู้ที่น้อมนำไปประพฤติปฏิบัติทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

ความเห็นถูกในประการต่อมา คือ การรักษาศีล โดยละเว้นการประพฤติชั่วทางกายและวาจา การเจริญสมาธิโดยมีสติอยู่กับปัจจุบัน รู้เท่าทันกับสิ่งที่มากระทบทางปัญจทวารและการนึกคิดทางมโนทวาร การเจริญปัญญาทางมโนทวารเพื่อให้รู้ถึงสภาวธรรมที่ประกอบด้วยรูปขันธ์และนามขันธ์เป็นอารมณ์


 st12 st12 st12 st12

ความเห็นถูกในประการสุดท้าย คือ อริยสัจ 4 ซึ่งเป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือ ทุกข์ (การเวียนว่ายตายเกิด) สมุทัย (เหตุที่เกิดทุกข์) นิโรธ (ความดับทุกข์) มรรค (วิธีให้ถึงความดับทุกข์)

สัมมาทิฏฐิ เป็นเบื้องต้นของอริยมรรคมีองค์ 8 ที่จะเป็นเหตุนำไปสู่การดับทุกข์มี 8 ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (การเจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีพชอบ) สัมมาสติ (การระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (การตั้งจิตมั่นชอบ)

“พุทธศาสนิกชน” จึงไม่ควรตั้งอยู่บนความประมาทในการดำเนินชีวิต การศึกษาพระธรรม การประพฤติปฏิบัติตนโดยรักษากาย วาจา ใจให้สุจริต จะนำพาชีวิตให้มีความสุขความเจริญตามอัตภาพของแต่ละบุคคล



คอลัมน์ : ว่ายทวนน้ำ โดย “ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล”
ขอบคุณภาพจาก : วิกิพีเดีย, sites.google.com, Suphak Chanthajit   
ขอบคุณที่มา  : https://www.dailynews.co.th/article/573173
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 12, 2017, 10:06:27 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: หนทางแห่งการดับทุกข์ เริ่มต้นจากมี"สัมมาทิฏฐิ"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2017, 12:58:05 pm »
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: หนทางแห่งการดับทุกข์ เริ่มต้นจากมี"สัมมาทิฏฐิ"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2017, 08:51:10 pm »
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์