ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธรูป เริ่มมีมาในสมัยใด  (อ่าน 12503 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
พระพุทธรูป เริ่มมีมาในสมัยใด
« เมื่อ: มกราคม 29, 2010, 05:56:28 am »
0
แบบว่า ผมอาจจะติดในแนวสวนโมกอยู่บ้างครับ

เพราะผมไปอบรมอยู่ประจำ ที่วัดชลประทานรังสฤษดิ์

" ไหว้พระพุทธ ระวังสะดุดทองคำ ไหว้พระธรรม ระวังสะดุดใบลาน ไหว้พระสงฆ์ ระวังสะดุดลูกชาวบ้าน"

พระพุทธรูป มีประวัติการสร้างมาตั้งแต่สมัยใด สร้างมาเพื่ออะไร
ผมนั่งดู วีดีโออยู่ชุดหนึ่ง มีเรื่องและภาพ ของการทำลายพระพุทธรูปด้วย การทำอย่างนี้ถือว่าเป็นการย่ำยีชาวพุทธหรือป่าวครับ
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พระพุทธรูป เริ่มมีมาในสมัยใด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 29, 2010, 03:35:31 pm »
0
พระพุทธรูปศิลปะคันธาระ-อินเดีย-กุษาณะ

กำเนิดพระพุทธรูป

ตั้งแต่พระบรมศาสกาปรินิพพานเป็นต้นมา จนถึง พ.ศ. ๕๐๐ โดยประมาณ ยังไม่มีการสร้างพระพุทธรูปเป็นที่เคารพบูชาแต่อย่างใด การกำเนิดพระพุทธรูปมีทรรศนะที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แบ่งออกเป็น ๓ ประเด็น คือ

พระถังซัมจั๋ง

    ๑. เชื่อว่าพระพุทธรูปที่เกิดมาในสมัยที่พระพุทธองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่ ในหนังสือจดหมายเหตุของพระถังซัมจั๋ง ซึ่งเดินทางเข้าอินเดียได้กล่าวถึง พระเจ้าอุเทนเมืองโกสัมพี สร้างพระพุทธรูปไม้จันทร์บูชาพระพุทธองค์ และพระเจ้าปเสนทิโกศล เมืองสาวัตถีก็สร้างพระพุทธปฏิมาขึ้นเช่นกัน แต่หลักฐานทางโบราณคดียังไม่มีการขุดพบ จึงยังไม่มีสิ่งยืนยันที่เด่นชัด หรือมีน้ำหนักพอ นอกจากนั้นยุคสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช หลังพุทธปรินิพพานสองร้อยปีเศษ ก็ไม่ปรากฏว่าพระองค์สร้างพระพุทธรูปแต่อย่างใด เป็นแต่แกะสลักรอยพระพุทธบาทแทนเท่านั้น

ศิลปแบบคันธารราฐสมัยพระเจ้ามิลินท์

    ๒. เกิดในสมัยพระเจ้ามิลินท์ หรือเมนันเดอร์ซึ่งเป็นกษัตริย์ กรีกปกครองอินเดียโดยมีเมืองหลวงที่สาคละ ในหนังสือตำนานพระพุทธเจดีย์ของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพกล่าวว่าเริ่มสร้างสมัยนี้ แต่มาแพร่หลายสมัยพระเจ้ากนิษกะมหาราช ในหนังสือประวัติศาสตร์พุทธศาสนาของพระราชธรรมนิเทศ ( ระแบบ ฐิตญาโณ ) กล่าวว่าสร้างในสมัยพระเจ้ามิลินท์เช่นกัน ทฤษฎีนี้มีผู้ยอมรับมากที่สุด

พระพุทธรูปแบบคันธาระ

    ๓. เกิดในสมัยพระเจ้ากนิษกะมหาราช ซึ่งปกครองอินเดียเหนือ โดยมีศูนย์กลางที่เมืองปุริษปุระ หรือเปชวาร์ หนังสือกำเนิดพระพุทธรูปหลายสมัยของบรรจบ เทียมทัต กล่าวว่า พระพุทธเจ้าแบบคันธาระเกิดในสมัยพระเจ้ากนิษกะนี้ ก่อนหน้านี้ยังไม่มีการสร้างแต่อย่างใด พระเจ้ากนิษกะทรงรับสั่งให้ช่างกรีกสร้างพระพุทธรูปขึ้นตามแนวพุทธลักษณะ ศิลปะผสมกรีก – โรมัน

 
เหรียญตราพระพุทธเจ้า สมัยพระเจ้ากนิษกะ

   อย่างไรก็ตาม ในการสร้างพระพุทธรูปส่วนมากแล้วเชื่อกันว่าเริ่มจากสมัยพระเจ้ามิลินท์เป็นต้นมา กล่าวคือเมื่อชนชาวกรีกสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์เข้ามารุกรานอินเดีย ได้ตั้งรกรากถาวรที่ บากเตรีย คันธาระ สาคละ และหลายส่วนของอัฟกานิสถาน ปากีสถาน และอินเดียตอนเหนือ คำว่า คันธาระ (Gandhara ) มาจากคำว่า คันธารี หมายถึงผู้คนที่อาศัยอยู่ในแคว้นคันธาระ

    คติของพวกกรีกไม่รังเกียจในการสร้างรูปเคารพ และก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นพุทธมามกะ ก็ได้สร้างรูปเคารพของตนอยู่มากมายหลายองค์ด้วยกัน เช่น เทพเจ้าจูปีเตอร์ หรือ ซิวส์ ฮิรา เฮอร์มีส อิรีส อพอลโล อาร์เมตีส เอเธนา เป็นต้น เทพเจ้าเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเทพเจ้าประจำธรรมชาติ

 
เทพเจ้าอพอลโล ตามคติของกรีก

    และพวกกรีกสร้างเป็นเทวรูปดุจมนุษย์ที่มีสัดส่วนงดงาม จนจัดเป็นสัญญลักษณ์อันโดดเด่นแห่งปฏิมากรรมชาติกรีกโบราณ ครั้นเมื่อเปลี่ยนใจมาเลื่อมใสพุทธศาสนาแล้ว นิสัยความเคยชินที่ได้กราบไหว้บูชาเทวรูป ทำให้พวกกรีกเกิดมโนภาพคิดสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาทดแทนเทวรูป เพื่อให้เป็นทัศนานุสตินึกถึงพระบรมศาสดา ไม่เกิดความว้าเหว่เปลี่ยวใจ ฉะนั้นจึงได้เกิดคติในการสร้างพระพุทธรูปขึ้นในหมู่ชาวกรีกก่อน

พระพุทธรูปปางลีลา ที่พุทธมณฑล ที่มีพระลักษณะสวยงาม
ผลงานการออกแบบของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี

   ภายหลังพุทธมามกะชนชาติอินเดียได้พบเห็นพระพุทธรูปเข้าก็เกิดความศรัทธา จึงได้หันมานิยมสร้างพระพุทธรูปตามอย่างคติของชาวกรีกขึ้น แต่ก็ได้ดัดแปลงเป็นแบบอย่างศิลปกรรมแห่งชาติของตน แม้พวกพราหมณ์พลอยเกิดสร้างเทวรูป พระอิศวร พระนารายณ์ ขึ้นกราบไหว้บูชา คติรังเกียจการสร้างรูปเคารพจึงเป็นอันจืดจางไปจากชาติชาวอินเดียโดยพฤตินัย ในสมัยพระเจ้ามิลินทะจึงนับว่าเป็น ยุคแรกแห่งการสร้างพระพุทธรูป

อ้างอิงจาก
มหามกุฏราชวิทยาลัย พุทธศาสนประวัติระหว่าง ๒๕๒๒ ปีที่แล้ว. (กรุงเทพ:มหามกุฏราชวิทยาลัย,๒๕๓๗),หน้า ๑๗๑
Kanai Lal Hazra.Royal Patronage of Buddhism in India. (Delhi:Sangeeta Printers,1984.) Page 118
น.ณ.ปากน้ำ ( แปล). คันธาระแหล่งปฐมกำเนิดพระพุทธรูป พระเจ้ามิลินท์และพระนาคเสน.(กรุงเทพฯ: บำรุงนุกูลกิจ,๒๕๒๖),หน้า ๑๙


พระพุทธรูปปางห้ามแก่นจันทร์

เรื่องพระพุทธรูปองค์แรกในพุทธศาสนา มี 2 ทฤษฏี


    เมื่อครั้งพุทธกาล มีพุทธพยากรณ์ไว้ว่า 500 ปี หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว "พระเจ้ามิลินท์" กษัตริย์นักปราชญ์ชาวกรีกผู้มากด้วยบุญบารมีจะกรีธาทัพเข้ามายึดอินเดีย และด้วยอานุภาพปัญญาของตน จะย่ำยีเสียซึ่งสมณพราหมณ์ทั้งหลายด้วยปัญหาอันละเอียดลึกซึ้ง


    แต่จะมีภิกษุนามว่า "นาคเสน" ไปทำลายถ้อยคำของพระเจ้ามิลินท์และตอบข้อสงสัยในเรื่องราวของชีวิตมนุษย์ ทำให้พระองค์เกิดความร่าเริงยินดีด้วยปัญญาที่ก่อเกิดด้วยศรัทธาที่พระเจ้ามิลินท์มีต่อพระศาสนา จึงได้สร้างพระพุทธรูปองค์แรกของโลก

     พระพุทธรูปองค์แรกในพุทธศาสนา สร้างขึ้นภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ๗ ปี ในครั้งนั้นพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยประทับจำพรรษาอยู่บนสวรรค์นานถึง ๓ เดือน

      พระเจ้าอุเทนแห่งกรุงโกสัมพีผู้เคยทรงเฝ้าใกล้ชิดพระพุทธเจ้าทรงรำลึกถึงพระองค์เป็นอย่างยิ่ง จึงทรงอาราธนาพระโมคคัลลาน์ พระอัครสาวกเบื้องซ้ายผู้ทรงฤทธิ์มาก ให้พานายทุสิทะช่างแกะสลักฝีมือเอกขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อจะได้เห็นพระพุทธเจ้าแล้วจดจำพระพุทธลักษณะไว้

    เมื่อกลับมายังโลกมนุษย์ นายทุสิทะก็แกะสลักไม้แก่นจันทน์แดงอันหอมและมีค่ามากให้เป็นพระพุทธปฏิมาที่งามสมบูรณ์ เป็นพระพุทธรูปยืนสูงประมาณ ๖ – ๗ เมตร แล้วอัญเชิญประดิษฐานไว้ในพระวิหาร โดยมีฉัตรศิลาแขวนห้อยอยู่ ณ เบื้องบนองค์พระพุทธรูป

    ในกาลต่อมา ประมาณ พ.ศ. ๑๑๗๒ ผู้ที่ได้เคยพบเห็นพระพุทธรูปองค์แรกนี้ด้วยตาตนเองคือ พระภิกษุเฮี่ยนจัง (พระถังซัมจั๋ง) ซึ่งได้เดินทางไปอินเดีย เมื่อจะกลับจากอินเดียท่านได้จำลองพระพุทธรูปองค์นี้ให้เป็นขนาดเล็ก แล้วอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ประเทศจีนพร้อมกับพระไตรปิฎก


พระพุทธรูปปางห้ามแก่นจันทร์
   

    ส่วนพระพุทธรูปองค์ที่สองที่มีชื่อว่า “พระจันทนพิมพ์”นั้น พระเจ้าปเสนทิโกสลแห่งกรุงสาวัตถีเป็นผู้สร้างไว้ก่อนพระพุทธเจ้าจะเสด็จปรินิพพาน ๗ ปี สาเหตุแห่งการสร้างเกิดจากเย็นวันหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกสลมีพระราชประสงค์จะทรงสดับพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าดังที่ได้ทรงปฏิบัติมาเป็นนิตย์จึงเสด็จไปเฝ้า แต่ไม่ทรงพบ

    เพราะพระพุทธเจ้าเสด็จไปทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดเวไนยสัตว์นอกเขตพระเชตวัน ยังไม่เสด็จกลับมา พระเจ้าปเสนทิโกสลจึงรู้สึกโทมนัสพระทัยว่า เมื่อใดที่พระพุทธเจ้ามิได้ประทับอยู่ในพระเชตวันวิหารก็ทำให้รู้สึกว่าขาดพระองค์ไป จึงได้แต่ทรงบูชาพระพุทธอาสน์แทนองค์พระพุทธเจ้าในวันนั้น

    ในวันต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกสลจึงกราบทูล ขอพระอนุญาตพระพุทธเจ้าสร้างพระพุทธปฏิมาไว้ เพื่อว่าเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดสัตว์ที่อื่น บรรดาพุทธศาสนิกชนผู้ศรัทธาจะได้สักการบูชาพระพุทธรูปแทนพระองค์ตลอดไป พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาต

    พระเจ้าปเสนทิโกสลจึงให้นายช่างสร้างพระพุทธรูปด้วยไม้แก่นจันทน์แดงอันหาค่ามิได้ เป็นพระพุทธรูปนั่ง องค์พระพุทธรูปสูง ๒๒ นิ้ว กว้าง ๒๓ นิ้วครึ่ง (วัดจากพระอังสาด้านขวาถึงด้านซ้าย) และโปรดให้สร้างพระมณฑปซึ่งล้วนแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ แล้วให้อัญเชิญพระพุทธรูปอันงามสมบูรณ์ยิ่งประดิษฐานบนบุษบกเรือนแก้วกลางพระมณฑปนั้น

    พระพุทธรูป “พระจันทนพิมพ์” ที่พระเจ้าปเสนทิโกสลสร้างขึ้นนี้ตามประวัติมีว่า ต่อมาได้ตกทอดมาประดิษฐาน ณ ดินแดนทางเหนือของไทยคือที่จังหวัดตาก ภายหลังมีผู้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดปทุมารามในเมืองพะเยา วัดศรีภูมิ วัดสวนดอก และวัดเจ็ดยอด (วัดมหาโพธาราม) ในจังหวัดเชียงใหม่ตามลำดับ แต่ปัจจุบันนี้ไม่ปรากฏองค์พระพุทธรูปแล้ว



เอกสารอ้างอิง
   ๑. จดหมายเหตุแห่งพุทธอาณาจักรของพระภิกษุฟาเหียน ซึ่งได้ออกจากเมืองจีนท่องเที่ยวไปเพื่อแสวงหาคัมภีร์พระไตรปิฎกในประเทศอินเดียตลอดถึงสิงหล ตั้งแต่ พ.ศ. ๙๔๒ ถึง ๙๕๗. พระยาสุรินทร์ฤาชัย ( จันทร์ ตุงคสวัสดิ์ ) แปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับของศาสตราจารย์ เจมส์ เล็กส์. เอ็ม. เอ. แอลแอล. ดี. พมิพ์ครั้งที่ ๓ มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ๒๕๒๒ หน้า ๕ - ๑๐๒
   ๒. ประวัติพระถังซัมจั๋ง แปลจากต้นฉบับภาษาจีนเป็นภาษาไทย โดยนายเคงเหลียน สีบุญเรือง พิมพ์เป็นธรรมานุสรณ์ ในงานฌาปนกิจศพนายเอี่ยงยี่ เจริญ-สถาพร (โยมเตี่ยของท่าน กิตติวุฑโฒ ภิกขุ ขณะนั้น) ๒๕ เมษายน ๒๕๑๕ หน้า ๑-๒๗๖
   ๓. ปัญญาสชาดก. พระนคร : โรงพิมพ์อักษรบริการ, ๒๔๙๙. [/color]
ที่มา  http://board.palungjit.com/f10 /กำเนิดพระพุทธรูป-127687.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 18, 2012, 11:00:59 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

patra

  • RDNpromote
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรมรรค
  • *
  • ผลบุญ: +100/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 971
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พระพุทธรูป เริ่มมีมาในสมัยใด
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2010, 10:21:13 pm »
0
แนะนำให้อ่านครับ
 :13:
บันทึกการเข้า
ข้าพจ้า สนับสนุนการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

sakol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พระพุทธรูป เริ่มมีมาในสมัยใด
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2011, 07:58:22 pm »
0
เป็นเรื่องที่ควรอ่านมากครับ ผมเองก็เข้าใจผิดเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธรูปมาตั้งนาน

อ่านเรื่องนี้จะทราบเรื่องราวของพระพุทธรูปได้นะครับ

 :13: :13: :13:
บันทึกการเข้า