ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระสารีบุตร "บันลือสีหนาท"  (อ่าน 403 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พระสารีบุตร "บันลือสีหนาท"
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2023, 05:46:13 am »
0



วุฏฐิสูตร : ว่าด้วย จิตของพระสารีบุตร
เหตุการณ์ : พระสารีบุตรถูกกล่าวหาว่า เดินกระทบภิกษุรูปหนึ่งแล้วไม่ขอโทษ


พระสารีบุตรบันลือสีหนาทว่า

    "กายคตาสติอันภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้ ไม่ขอโทษแล้ว พึงหลีกจาริกไปเป็นแน่ จิตของท่านนั้นเหมือนแผ่นดิน น้ำ ไฟ ลม ผ้าขี้ริ้ว ที่รับสิ่งทั้งที่สะอาดและไม่สะอาด แต่ก็ไม่ได้มีใจอึดอัด เกลียดชังสิ่งเหล่านั้น
     เหมือนลูกของคนจัณฑาลที่ตั้งจิตนอบน้อมอยู่ตลอดเวลา เหมือนโคเขาหักที่สงบเสงี่ยม ไปไหนก็ไม่เอาเท้าหรือเขาไปกระทบอะไร
     มีใจเสมอด้วยแผ่นดิน แผ่นน้ำ ไฟ ลม ลูกของคนจัณฑทาล อันไพบูลย์ กว้างใหญ่ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ พระสารีบุตรอึดอัด ระอา และเกลียดชังกายอันเปื่อยเน่านี้ และบริหารกายที่มีรูทะลุเป็นช่องเล็ก ช่องใหญ่"


     ๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

ภิกษุที่กล่าวหาพระสารีบุตรขอโทษและกล่าวต่อพระพุทธเจ้าว่า ตนได้กล่าวตู่สารีบุตรด้วยคำอันไม่มี เปล่า เท็จ ไม่เป็นจริง ขอให้พระผู้มีพระภาครับโทษโดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไป พระผู้มีพระภาคเห็นว่าภิกษุนั้นเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืนตามธรรม พระองค์รับโทษของภิกษุนั้น

เมื่อภิกษุเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยเจ้าแล้วแก่พระสารีบุตรให้อดโทษต่อภิกษุผู้นี้ เพราะมิฉะนั้นโทษนั้นจะทำให้ ศีรษะของภิกษุนั้นแตกเป็น ๗ เสี่ยง พระสารีบุตรอดโทษต่อผู้ภิกษุนั้นและขอให้ภิกษุนั้นอดโทษต่อพระสารีบุตรด้วยหากโทษของตนนั้นมีอยู่

พระสารีบุตรไม่มีความโกรธ หรือความประทุษร้ายแม้เพียงน้อยนิดในภิกษุผู้กล่าวตู่ตนด้วยคำโกหก แต่ยังประคองอัญชลีให้ภิกษุนั้นอดโทษแก่ตน

    ๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

พระผู้มีพระภาคสรรเสริญพระสารีบุตรว่า

    "ไม่ว่าใครก็ไม่อาจทำให้ความโกรธหรือความประทุษร้าย เกิดขึ้นกับภิกษุเช่นพระสารีบุตรได้ จิตของสารีบุตรนั้นเปรียบได้เช่นแผ่นดินใหญ่ เช่นกับเสาเขื่อนและเช่นกับห้วงน้ำใสที่ไม่มีเปลือกตม ที่คงที่ มีวัตรดี ไม่ยินดี ยินร้าย ไม่เป็นผู้ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ๘
     เพราะไม่ว่าชนทั้งหลายทิ้งของสะอาดหรือไม่สะอาด แผ่นดินหรือเสาเขื่อนนั้นก็ไม่ยินดียินร้าย ภิกษุขึ้นชื่อว่าเป็นผู้คงที่ ชื่อว่าผู้มีวัตรดี เพราะเมื่อชนทั้งหลายทำสักการะและอสักการะก็ไม่ยินดี ไม่ยินร้ายว่า ชนเหล่านี้สักการะเราด้วยปัจจัย ๔ แต่ชนเหล่านี้ไม่สักการะ"


เมื่อพระผู้มีพระภาคแสดงธรรมเสร็จ ภิกษุ ๙ พันรูปบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา


 



Thank to :-
Source : https://uttayarndham.org/node/936
วุฏฐิสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๒๑๕ หน้า ๓๐๐-๓๐๓ และคาถาธรรมบท
Photo : https://pubhtml5.com/neyf/nkvi/basic/51-100
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ