ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความหมายที่แท้จริงของคำว่า “พร” และการให้พร  (อ่าน 24678 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ความหมายที่แท้จริงของคำว่า “พร” และการให้พร

กัลยาณมิตร และสหธรรมิก ทุกท่านครับ หากท่านเป็นแฟนเพลงลูกกรุงรุ่นเก่า
สมัย สุเทพ ชรินทร์ หรือธานินทร์ คงพอจะจำเพลงนี้ได้ เพลงนี้มีคำร้องอยู่ว่า

ผู้หญิง ที่สวยอย่างคุณ
ทำบุญ ไว้ด้วยอะไรจึงสวยน่าพิสมัย
น่ารักน่าใคร่ พริ้งพราว

คงถวายมะลิไหว้พระวรรณะจึงได้นวลขาว เนตรน้อย
ดั่งสอยจากดาว กระพริบพร่างพราวหนาวใจ
 
ตักบาตร คงใส่ ด้วยข้าวหอม
จึงสวย ละม่อมละไม บุญทาน ที่ทำด้วยเต็มใจ

เธอจึงได้พรสี่ประการ อายุ วรรณะ สุขะ
พละและปฏิภาณ เพียงพบเจ้านั้นไม่นาน
พี่ซมพี่ซาน ลุ่มหลง


ที่ยกเพลงนี้ขึ้นมา เพียงอยากจะบอกว่า คนสมัยก่อนเค้านิยมกล่าวคำอวยพรในวาระต่างๆว่า
“ขอให้สมบูรณ์ด้วย อายุ วรรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ”

โดยส่วนตัวเชื่อว่า หลายท่านไม่ทราบความหมายและที่มา
จึงขออนุญาตนำข้อธรรมในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ของท่าน ป.อ.ปยุตโต
มาให้พิจารณาตามอัธยาศัย ดังนี้ครับ

พร ๕ (สิ่งน่าปรารถนาที่บุคคลหนึ่งอำนวยให้ หรือแสดงความประสงค์ด้วยความปรารถนาดีให้เกิดมีขึ้นแก่บุคคลอื่น; สิ่งประเสริฐ, สิ่งดีเยี่ยม)

พรที่รู้จักกันมากได้แก่ ชุดที่มีจำนวน ๔ ข้อ ซึ่งเรียกกันว่า จตุรพิธพร หรือ พร ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ

พรที่เป็นชุดมีจำนวน ๕ ข้อบ้าง ๖ ข้อบ้าง ก็มี เช่น อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ
; อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สุขะ พละ
; อายุ วรรณะ สุขะ ยศ เกียรติ สัคคะหรือสวรรค์ พร้อมทั้ง อุจจากุลีนตาคือความมีตระกูลสูง
; อายุ วรรณะ ยศ สุข อาธิปัจจะคือ ความเป็นใหญ่

และชุดที่จะกล่าวถึงต่อไปคือ อายุ วรรณะ สุขะ โภคะ พละ

อย่างไรก็ดี พึงทราบว่า คำว่า พร ในที่นี้ เป็นการใช้โดยอนุโลมตามความหมายในภาษาไทย ซึ่งเพี้ยนไปแล้วจากความหมายเดิมในภาษาบาลี ในภาษาบาลีแต่เดิม พร หมายถึง ผลประโยชน์หรือสิทธิพิเศษ

ที่อนุญาตหรืออำนวยให้ตามที่ขอ พรที่กล่าวถึง ณ ที่นี้ทั้งหมด ในบาลีไม่ได้ เรียกว่า พร แต่เรียกว่า ฐานะ หรือธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ (ซึงจะบรรลุได้ด้วยกรรม คือการกระทำที่ดีอันเป็นบุญ)

สำหรับพระภิกษุ พรหรือธรรมอันน่าปรารถนาเหล่านี้ หมายถึงคุณธรรมต่างๆ ที่ควรปลูกฝังฝึกอบรมให้เกิดมี ดังพุทธพจน์ว่า : ภิกษุท่องเที่ยวอยู่ ภานในถิ่นท่องเที่ยว ที่เป็นแดนของตนอันสืบทอดมาแต่บิดา (คือ สติปัฏฐาน ๔) จักเจริญด้วย

๑. อายุ คือ พลังที่หล่อเลี้ยงทรงชีวิตให้สืบต่ออยู่ได้ยาวนาน ได้แก่ อิทธิบาท ๔

๒. วรรณะ คือ ความงามเอิบอิ่มผ่องใสน่าเจริญตาเจริญใจ ได้แก่ ศีล

๓. สุขะ คือความสุข ได้แก่ ฌาน ๔

๔. โภคะ คือ ความพรั่งพร้อมด้วยทรัพย์สินและอุปกรณ์ต่างๆ อันอำนวยความสุข ความสะดวกสบาย ได้แก่ อัปปมัญญา หรือพรหมวิหาร ๔

๕. พละ คือ กำลังแรงความเข้มแข็งที่ทำให้ข่มขจัดได้แม้แต่กำลังแห่งมาร ทำให้สามารถดำเนินชีวิตที่ดีงามปลอดโปร่งเป็นสุข บำเพ็ญกิจด้วยบริสุทธิ์และเต็มที่ ไม่มีกิเลสหรือความทุกข์ใดใดจะสามารถบีบคั้นครอบงำ ได้แก่ วิมุตติ ความหลุดพ้น หมดสิ้นอาสวะ หรืออรหัตตผล


บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ที่มา ของการให้พร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2010, 12:24:01 pm »
0
ที่มา ของการให้พร

เมื่อถึงเทศการปีใหม่ หรือในงานมงคลใดๆไม่ว่าจะเป็นงาน
วันเกิด วันแต่งงาน วันขึ้นบ้านใหม่ ทุกท่านก็คงจะได้ให้พร
หรือรับพร จากผู้ที่เรารู้จักไปไม่น้อยทีเดียว บางท่านก็ขอพร
จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ กันมากมาย ทุกคนต่างก็หวังว่า พรนั้นจะศักดิ์-
สิทธิ์ แต่พรเหล่านั้นจะศักดิ์สิทธิ์จริงหรือ? พรคือสิ่งใดกันแน่?
อย่างไรจึง เป็นพรที่แท้จริง?อย่างไรจึงเป็นพรที่ประเสริฐที่สุด?
 


โดยแท้จริงแล้ว คำว่า "พร" นั้นแปลว่า..."คำพูด ที่แสดงความ
ปรารถนา" ซึ่งเกิดจากผู้รับพร ต้องการความดี ความเป็นมงคล
เรื่องของการให้พร ขอพร มีบันทึกมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว


มีการขอพรของนางวิสาขา ต่อพระพุทธองค์...การขอพรของนาง

ในเบื้องต้น พระพุทธองค์ทรงคำนึงเรื่อง ศีล และความถูกต้อง
จึงไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุให้พรใดๆเลย แม้พระองค์เอง ก็ไม่ให้พร
แต่สอนให้ทำความดีแทน เมื่อนางวิสาขา ซึ่งเป็นอุบาสิกา มาขอ
พร พระพุทธองค์ตรัสว่า..."ตถาคตเลิกให้พรแล้ว วิสาขา"

ทั้งนี้เพราะความ สำเร็จ ย่อมไม่ได้จากพรที่รับ แต่มาจากผลของกรรม
หรือการกระทำที่ทำไว้ ดังพุทธพจน์ที่ว่า..."ผู้ใดทำกรรมอย่างใด
ไว้ ย่อมได้รับผลแห่งกรรมนั้น"


แต่ ต่อมา เมื่อพระสงฆ์ไม่ให้พรเลย ก็เป็นที่ติเตียนของชาวบ้านอีก
พระ พุทธองค์จึงทรงพิจารณาและเห็นว่า ที่แท้แล้ว ชาวบ้านต้อง
การสิ่งที่เป็น มงคล จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุให้พรได้

ดังพุทธพจน์
นี้..."ดูกรภิกษุทั้ง หลาย ชาวบ้านมีความต้องการด้วยสิ่งเป็นมงคล
เราอนุญาตให้ภิกษุ...ให้ พรตอบแก่ชาวบ้านว่า ขอท่านจงเจริญชน
มายุยืนนาน"....พระวินัยปิฎก ๗/๑๘๖

ถ้า สังเกตุดีๆ เราจะพบว่า เมื่อมีการอวยพร หรือรับพร ทุกคนจะ
รู้สึกได้ ทันทีว่า นั่นเป็นสิ่งดี เป็นสิ่งดีงามที่เกิดขึ้นในตอนนั้น ทั้งนี้
เพราะ อะไร เพราะมีคุณธรรมอย่างหนึ่งเกิดขึ้นเสมอ ในการให้พร

นั้นคือ "เมตตาธรรม" เป็นความเมตตาของผู้ให้พร ที่ประสงค์จะ
ให้ผู้รับ มีความสุข มีความเจริญ ได้รับสิ่งที่ดี...ผู้รับเองก็รู้สึกได้
ในทันที ดังนั้น การให้พร และรับพร จึงเป็นสิ่งที่ดีเสมอ ในสังคมเรา

 


การขอพร ก็เป็นเรื่องแปลก ความจริง เราทุกคนก็ทราบกันว่า
..."ผลย่อมมาจากเหตุ" คือ...เช่นทำดี ก็ย่อมได้ดี แต่ในสมัยนี้
เมื่อเราขอพร เราก็มักจะขอผลที่ดีงามเลย คือ ขอผลดี โดยไม่
หวังว่าจะทำเหตุที่ดีแต่ อย่างใด แต่สมัยโบราณ คนจำนวนมาก
ขอพรที่จะได้ทำเหตุที่ดี คือ ขอเพื่อจะได้มีโอกาสทำความดี เช่น...
พรของนางวิสาขา เป็นต้น

นาง วิสาขาได้ขอพรที่จะถวาย ผ้าสรง น้ำ อาหาร ที่เหมาะกับภิกษุ
อาพาธ และยา เป็นต้น คือ ขอต่อพระพุทธองค์ให้ภิกษุรับของเหล่า
นี้ได้ จากบุคคลที่ต้องการถวาย โดยนางวิสาขา ไม่ได้ขอพร อะไร
ให้แก่ตนเองเลย แต่เป็นการขอโอกาสที่จะทำดี และให้มีพุทธบัญญัติ
ให้พระสงฆ์รับสิ่งเหล่า นี้ได้จากคนทั่วไป เพื่อที่ทุกคนจะได้ทำบุญ
เหล่านี้ได้

อย่างไรก็ ตาม การให้พรหรือรับพร เป็นเรื่องของความดีงามทั้ง
สิ้น แต่นี้ไป เมื่อเราจะให้พรใคร ให้ตั้งความเมตตาไว้ในใจแล้ว
ให้พร เมื่อจะรับพร ให้คิดว่า เราจะทำสิ่งที่ดีงาม เพื่อที่พรที่เรารับ
นั้นจะได้ ศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคลมากขึ้น พระพุทธองค์ทรงสอนว่า...
เมื่อเรามี 'ความสุจริต'...พร้อมทั้ง กายวาจาใจ เมื่อนั้น คือ..'มงคล
ดี เวลาดี' จะทำอะไรก็ดี จะรับพร ก็ย่อมต้องดีด้วยเช่นกัน ฯ

อ้างอิง
~จากหนังสือ..."พร อันประเสริฐ". โดย น.ท. น.พ. จักรพงศ์ ไพบูลย์~
http://onknow.blogspot.com/2010/01/blog-post_1257.html

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พระบิณฑบาตให้พร ควรหรือไม่
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2010, 12:39:45 pm »
0
การให้พร
พระบิณฑบาตให้พร ควรหรือไม่


สมัยปัจจุบัน มีโยมจำนวนมากเข้าใจผิดคิดว่าทำบุญใส่บาตรถวายทานแล้ว หากไม่ได้รับพรก็จะไม่ได้บุญหรือได้บุญน้อย เมื่อรับพรแล้วจะได้บุญเต็มที่ แม้พระบางรูปก็มีความเข้าใจเช่นนั้น เมื่อฉันอาหารหรือรับอาหารของโยมแล้ว หากไม่ให้พร โยมจะไม่ได้บุญ ความคิดของโยมกับพระสมัยนี้บางท่านตรงกัน คือโยมต้องการรับพรเพื่อจะได้บุญมาก ๆ พระต้องการให้พรเพื่อจะเอาบุญให้โยม

เมื่อเป็นอย่างนี้ โยมทำบุญ ใส่บาตรถวายทานแล้ว จึงขวนขวายแต่ในการรับพรอย่างเดียว บางท้องถิ่นจะถือเรื่องนี้อย่างจริงจัง พระรับบาตรต้องให้พรด้วย ถ้าไม่ให้พร โยมก็จะแสดงกิริยาอาการไม่พอใจ จนถึงต่อว่าต่อขานว่า “พระอะไรรับบาตรแล้วไม่ให้พร ใช้ไม่ได้” หรือบางครั้งถึงกับผูกโกรธพระรูปนั้นเลยทีเดียว และคิดอกุศลว่า “จะไม่ใส่บาตรพระรูปนี้อีกต่อไป” พอรุ่งขึ้น พระไปบิณฑบาต โยมก็ไม่ใส่บาตรจริง ๆ ตามที่คิดไว้ แค่นั้นยังไม่พอ โยมบางคนพยายามจำชื่อของพระรูปนั้นพร้อมที่อยู่ เอาไปฟ้องหลวงพ่อที่ปกครองในเขตนั้น ๆ

เพื่อให้เรียกพระรูปนั้นมาอบรมสั่งสอน หลวงพ่อก็คล้อยตาม ถามโยมว่า “พระรูปนั้นชื่ออะไร อยู่ที่ไหน” โยมก็บอกว่า “พระชื่อนี้ อยู่วัดนั้น” หลวงพ่อก็ให้โยมไปนิมนต์พระรูปนั้นมา แล้วอบรมพร่ำสอนเป็นการใหญ่ว่า “ท่าน เราเป็นสมณะ มีชีวิตเนื่องด้วยผู้อื่น ต้องทำตัวให้เป็นคนเลี้ยงง่าย บำรุงง่าย อย่าหัวดื้อ

เวลาฉันอาหารหรือรับบาตรโยมแล้ว ควรให้พรทุกครั้ง ถ้าพระไม่ให้พร โยมจะไม่ได้บุญ จำไว้นะ ครั้งหน้าอย่าทำอย่างนี้อีก” จึงน้อมรับโอวาทโดยเคารพว่า “ผมจะไม่ทำผิดอย่างนี้อีกครับหลวงพ่อ” ถ้าพระรูปนั้นขืนทำผิดรอบสอง น่าจะโดนหนักกว่านี้แน่ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระที่ท่านมาจากต่างถิ่น ก็ไม่นึกเลยว่าจะเป็นเรื่องร้ายแรงขนาดนี้

      
ปัจจุบันประเพณีให้พรขณะบิณฑบาตได้แพร่หลาย ไปยังภาคต่าง ๆ ของประเทศ เมื่อโยมชอบหรือต้องการอย่างใด พระท่านก็จะทำอย่างนั้น เพื่อเอาใจโยมไม่อยากขัดใจทั้งไม่อยากขัดศรัทธา เดี๋ยวจะเป็นการทำศรัทธาของโยมให้ตกไป เรื่องนี้อาจจะเป็นเพราะพระกลัวจะเสื่อมลาภ กลัวโยมจะไม่ใส่บาตร เมื่อ

เป็นอย่างนั้น ท่านขวนขวายในการให้พรอย่างจริงจัง ไม่สนใจว่าโยมจะรีบไปธุระหรือไม่ ถ้าโยมคนไหนเจอพระท่านให้พรชุดใหญ่ต้องนั่งประนมมือนานหน่อย เจอชุดเล็กก็เร็วหน่อย แต่โยมบางคนชอบชุดใหญ่ เท่าที่สังเกตดูตอนที่พระท่านให้พรเสร็จโยมจะสาธุเสียงดัง คงคิดว่าพระท่านให้พรเยอะ ๆ ได้บุญมาก โยมบางคนไม่ชอบ ก็นั่งบิดไปบิดมา กว่าพระท่านจะให้พรจบ บางครั้งไปทำงานแทบไม่ทัน

เวลาบิณฑบาตในตลาด ตอนเช้า พระจะนิยมให้พรแข่งกันจนเสียงดัง ดูเหมือนเป็นการประจบโยม เพื่อลาภสักการะ เพื่อให้โยมศรัทธา สถานที่กลางตลาดเช่นนั้น ผู้คนเดินสวนกันไปสวนกันมา โยมเบียดพระ พระเบียดโยม มือหิ้วของ บ่าสะพายย่ามอุ้มบาตรเดินไป ดูแล้วไม่เหมาะสม ไม่งามเลย   
 

   ความจริงเรื่องบุญนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่ตรงที่พระท่านให้ พร หรือไม่ให้พรแต่อย่างใด บุญนั้นเกิดขึ้นอยู่ที่เจตนาในการให้ทาน เมื่อมีเจตนาในการให้เกิดขึ้น บุญก็เกิดขึ้นในขณะนั้น จะเห็นได้ว่า บางครั้งไม่ได้ถวายทาน ทั้งยังไม่ได้ใส่บาตร บุญก็เกิดขึ้นได้ เช่นโยมคิดว่าพรุ่งนี้เช้า จะไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด ขณะนั้นเจตนาในการบริจาคทานเกิดขึ้นแล้ว บุญก็เกิดขึ้น (เรียกว่าบุพพเจตนา),

พอถึงตอนเช้าโยมก็ไปทำบุญเลี้ยงพระตามที่คิดไว้ ในขณะจัดอาหารหวานคาวหรือถวายอาหารพระ บุญก็เกิดอยู่ตลอด (เรียกว่า มุญจเจตนา), หลังจากถวายทานเสร็จแล้ว โยมระลึกถึงทานที่ทำไปแล้วเมื่อใด บุญก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น (เรียกว่า อปรเจตนา), ระลึกถึงบ่อย ๆ บุญก็เกิดบ่อย ๆ ถึงโยมจะได้รับพรหรือไม่ก็ตาม นี้เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า บุญสามารถเกิดได้ทั้งก่อนให้ทาน ขณะกำลังให้ทานและหลังจากให้ทานแล้ว ไม่เกี่ยวกับการให้พร หรือรับพรแต่อย่างใด ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

“ทาน จะมีผลมาก มีอานิสงส์มากต้องมีเจตนาประกอบด้วยกาลทั้ง ๓ คือ


๑. ปุพพเจตนา ได้แก่ เจตนา คือความตั้งใจที่เกิดขึ้นก่อนการให้ทาน มีใจชื่นชมยินดี เมื่อเริ่มคิดว่า “เราจะทำบุญให้ทาน” ในวันพรุ่งนี้ มะรืนนี้ เป็นต้น

๒. มุญจเจตนา ได้แก่ เจตนา คือความตั้งใจที่เกิดขึ้นในขณะกำลังให้ทาน เช่น กำลังใส่บาตร กำลังถวายทานเป็นต้น ก็มีใจเลื่อมใส

๓. อปรเจตนา ได้แก่ เจตนา คือความตั้งใจที่เกิดขึ้นภายหลังการให้ทานเสร็จแล้ว มีใจปลาบปลื้ม นึกถึงทานครั้งใด ปลื้มใจทุกครั้ง”  (องฺ.ฉกฺก. ๓/๖๒๘)

สรุป โยมเวลาทำบุญใส่บาตรถวายทานแล้ว อย่าวุ่นวายอยู่กับการรับพรให้มากนัก จิตใจจะขุ่นมัว เปิดโอกาสให้กิเลสเข้ามาแทรกได้ง่าย บุญก็จะไม่เกิด พระท่านจะให้พระหรือไม่ โยมอย่าถือเอาเป็นสาระจริงจัง เมื่อเจตนาครบทั้ง ๓ กาลแล้ว อานิสงส์จะงอกงามไพบูลย์ยิ่งขึ้น ดังได้กล่าวมาแล้ว


มูลเหตุของการอนุโมทนา

สมัยก่อน การแสดงธรรมในรูปแบบพรรณนาอานิสงส์ของการทำบุญให้ท่าน เรียกว่า “อนุโมทนา” แต่ปัจจุบันใช้คำเปลี่ยนไปเป็น “ให้พร”

สมัยพุทธกาล พระทั้งหลายฉันเสร็จแล้ว ไม่อนุโมทนาในโรงฉัน พวกโยมก็เพ่งโทษติเตียน บ่นว่า “ทำไม สมณะเชื้อสายศากยบุตร จึงไม่อนุโมทนาในโรงฉัน” พระทั้งหลายได้ยินพวกญาติโยมเหล่านั้น ตำหนิติเตียนเช่นนี้ จึงกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงอาศัยมูลเหตุนั้นแล้วตรัสรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อนุโมทนาในโรงฉันได้”  (วิ.จุลฺ. ๗/๓๔๓)

พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระอนุโมทนาในโรงฉันได้ แต่ไม่ได้อนุญาตให้อนุโมทนาตอนบิณฑบาต พระพอฉันภัตตาหารเสร็จจะอนุโมทนาทุกครั้ง การอนุโมทนา ก็คือ การพรรณนาอานิสงส์ของการทำบุญให้ทานนั่นเอง เป็นการแสดงธรรมอย่างหนึ่ง หรือ เรียกว่า “สัมโมทนียกถา คือ การแสดงอานิสงส์ของการทำบุญให้ทาน เพื่อให้ญาติโยมร่าเริงสมาทานอาจหาญ ในการทำบุญให้ทานยิ่ง ๆ ขึ้น”

พระบิณฑบาตไม่ควรให้พร
 

ในเวลาบิณฑบาต พระต้องสำรวมตา ซึ่งเป็นวัตรอย่างหนึ่ง ต้องประพฤติในคราวเข้าไปในละแวกบ้าน คือ มีตาทอดลงเบื้องต่ำ มองดูชั่วแอก เวลาไปบิณฑบาตควรนำกรรมฐานไปด้วย เวลากลับก็นำกรรมฐานกลับด้วย ถ้าหากว่ามัวแต่จะให้พรโยม ความสำรวมก็จะเสียไป พระท่านยืนให้พร โยมนั่งรับพร ยิ่งไม่สมควรถือว่าไม่เคารพธรรม

ดังนั้น พระยืนแสดงธรรมแก่คนที่นั่งไม่ได้ป่วยไข้ ต้องอาบัติทุกกฎ ดังที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า “ภิกษุควรใส่ใจว่า เรายืนอยู่ จะไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่” (วิ.มหาวิ. ๒/๙๔๐)

“ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ยืนแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่ ต้องอาบัติทุกกฎ” (วิ.มหาวิ. ๒/๙๔๑)

มีวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้ คือ เวลาพระไปบิณฑบาต ถ้าโยมต้องการให้ท่านอนุโมทนา ใส่บาตรเสร็จแล้วนิมนต์ท่าน เมื่อพระท่านอนุโมทนา โยมควรยืนขึ้นถอดรองเท้า และหมวกเป็นต้น ประนมมือรับฟัง หรือถ้าหาเก้าอี้ให้ท่านนั่ง โยมจะยืนหรือนั่งฟังท่านอนุโมทนา อย่างนี้ก็ใช้ได้ พระไม่ต้องอาบัติทุกกฎ และชื่อว่าเคารพพระธรรม ทั้งพระและโยม

ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า “ภิกษุนั่ง จะแสดงธรรมแก่คนผู้ยืนอยู่หรือนั่งอยู่ก็ควร (ไม่เป็นอาบัติ) ภิกษุยืน จะแสดงธรรมแก่ผู้ยืนอยู่เหมือนกันก็ได้ (ไม่ต้องอาบัติ)”  (วิ.มหาวิ.อฏฺ. ๒/๙๖๓)

บางท้องถิ่น พระจะสอนโยมว่า เวลาใส่บาตรให้เอาเสื่อมาปูนั่งรวมกันหลาย ๆ คน เอาเก้าอี้มาให้พระท่านนั่ง แล้วจึงอนุโมทนา อย่างนี้ก็สมควรเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นโยมผู้หญิงคนเดียว พระภิกษุจะอนุโมทนา (แสดงธรรม) เป็นภาคภาษาบาลี คือ เป็นคาถายาวเกิน ๖ คำไม่ได้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นแต่มีผู้ชายที่รู้เดียงสา มานั่งเป็นเพื่อน ดังที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า “ภิกษุใด แสดงธรรมแก่ผู้หญิงเกิน ๕-๖ คำ เว้นไว้แต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ เป็นปาจิตตีย์”  (วิ.มหาวิ. ๒/๑๙๐)

อธิบาย วาจา ๖ คำ หมายความว่า

๘ คำ (พยางค์) เท่ากับ ๑ บาท (บาทหนึ่งมี ๘ พยางค์)
๔ บาท เป็น ๑ คาถา (คาถาหนึ่ง มี ๔ บาท)
วาจา ๑ คำ เท่ากับ บาทหนึ่ง หรือเรียกว่า บทหนึ่ง
วาจา ๖ คำ เท่ากับ คาถาครึ่ง (มี ๖ บาท)


ตัวอย่าง มโนปุพฺพงฺคมา  ธมฺมา (คำที่ ๑) มโนเสฏฺฐา  มโนมยา (คำที่ ๒)
มนสา  เจ  ปสนฺเนน (คำที่ ๓) ภาสติ  วา  กโรติ  วา (คำที่ ๔)
ตโต  นํ  สุขมเนฺวติ (คำที่ ๕) ฉายา  ว  อนุปายินี.(คำที่ ๖)

พระต้องการจะกล่าวเนื้อความในคัมภีร์อรรถกถา ธรรมบทหรือชาดก เป็นต้น จะกล่าวเพียง ๕-๖ บท (บาท) ควรอยู่ เมื่อจะกล่าวพร้อมกับบาลี กล่าวธรรมอย่าให้เกิน ๖ บาท คือ จากพระบาลีบทหนึ่ง จากอรรถกถา ๕ บท (วิ.มหาวิ.อฏฺ. ๒/๑๙๓)

พระจะแสดงธรรมแก่ผู้หญิงคนเดียว เป็นคาถาได้เพียงคาถาครึ่ง (๖ คำ) นอกนั้นต้องบรรยายเป็นภาษาไทย ถ้ามีผู้หญิงหลายนั่งอยู่รวมกัน เมื่อแสดงธรรม พระต้องบอกว่า “อาตมาจะแสดงธรรมแก่พวกโยมคนละคาถานะ” แล้วก็แสดงไป อย่างนี้ไม่เป็นอาบัติ หรือถ้าโยมผู้หญิง ถามปัญหาธรรม พระตอบปัญหาได้จนจบเรื่อง แม้ว่าเรื่องนั้นยาวขนาดไหน เช่น โยมถามว่า “ทีฆนิกายมีเนื้อความอย่างไร” พระสามารถแสดงจนจบทีฆนิกายก็ได้ ไม่ต้องอาบัติ (วิ.มหาวิ.อฏฺ. ๒/๑๙๔)

ถ้า พระแสดงธรรมเป็นภาษาไทยหรือภาษาอื่นนอกจากภาษาบาลี แม้แสดงยาวก็ไม่เป็นอาบัติ ตัวอย่างที่ท่านแสดงไว้ว่า “ไม่เป็นอาบัติ แม้ในคำที่อาศัยพระนิพพาน ซึ่งท่านรจนาไว้โดยผูกเป็นโคลงกลอน เป็นต้น ด้วยอำนาจภาษาต่าง ๆ”
(วิ.มหาวิ.อฏฺ. ๒/๑๖๑)
 

เวลาบิณฑบาตในสถานที่ต่าง ๆ มีตลาดเป็นต้น ที่มีผู้คนพลุกพล่าน พระยืนให้พร โยมนั่งรับพรอย่างนี้ ไม่สมควรอย่างมาก ถือว่าไม่รู้จักกาลเทศะ ทั้งไม่เคารพธรรม แม้พระนั่งอยู่บนอาสนะต่ำ แสดงธรรมแก่คนไม่ได้เป็นไข้นั่งอยู่บนอาสนะสูง ก็ถือว่าไม่เคารพธรรมเหมือนกัน และต้องอาบัติทุกกฎด้วยเช่นกัน

เรื่องความไม่เคารพธรรมนี้ พระพุทธองค์ทรงตำหนิติเตียนพระฉัพพัคคีย์ผู้นั่งอยู่อาสนะต่ำแสดงธรรมแก่คน ทั้งหลายผู้นั่งอยู่บนอาสนะสูงโดยอเนกปริยาย จึงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ภรรยาของคนจัณฑาลคนหนึ่งในเมืองพาราณสีได้ตั้งครรภ์ เกิดอาการแพ้ท้องอยากกินมะม่วง นางได้บอกกับสามีว่า “พี่ หนูกำลังตั้งครรภ์ หนูอยากกินมะม่วงจังเลย”

สามีพูดตอบว่า “ฤดูนี้ไม่ใช่ฤดูมะม่วงออกผล จะเอาผลมะม่วงมาจากไหนกัน” นางอ้อนสามีว่า “ถ้าหนูไม่ได้กินมะม่วง หนูขอตายดีกว่า” ช่วงเวลานั้น ต้นมะม่วงต้นหนึ่งของหลวงออกผลตลอดปี คนจัณฑาลกลัวภรรยาตาย ก็ได้เดินไปที่มะม่วงต้นนั้น พอไปถึงก็ได้แอบปีนขึ้นไปนั่งอยู่บนต้นมะม่วงนั้น

พอดีพระเจ้าแผ่นดินได้เสด็จไปถึงต้นมะม่วงนั้น แล้วประทับนั่งบนพระราชอาสน์สูง ทรงเรียนมนต์กับพราหมณ์ปุโรหิต คนจัณฑาลคิดว่า “พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ ประทับนั่งบนพระราชอาสน์สูงเรียนมนต์ ชื่อว่าไม่เคารพธรรม และพราหมณ์คนนี้นั่งบนอาสนะต่ำสอนมนต์แก่พระเจ้าแผ่นดิน ผู้ประทับนั่งบนพระราชอาสน์สูง ก็ชื่อว่าไม่เคารพธรรม

ส่วนเราผู้ลักมะม่วงของหลวง เพราะสตรีเป็นเหตุ ก็ชื่อว่าไม่เคารพธรรมเหมือนกัน การกระทำนี้ล้วนต่ำทรามทั้งสิ้น โลกนี้ทั้งหมดถึงความยุ่งเหยิงไม่มีเขตแดนเสียแล้ว” พอคิดเสร็จ จึงได้ไต่ลงมาจากต้นมะม่วงได้ยืนอยู่ข้างหน้าของพระเจ้าแผ่นดินและพราหมณ์ ทั้งสองนั้น แล้วกล่าวคาถาขึ้นว่า

“ทั้งสองไม่รู้อรรถ ทั้งสองไม่เห็นธรรม คือพราหมณ์ผู้สอนมนต์โดยไม่เคารพธรรม และพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงเรียนมนต์ก็ไม่เคารพธรรม”


พราหมณ์นั้นกล่าวคาถาตอบว่า
“เพราะข้าวสุกแห่งข้าวสาลีอันขาวผสมกับแกงเนื้อ ข้าพเจ้าบริโภคแล้ว ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ได้ประพฤติอยู่ในธรรม ที่เหล่าพระอริยะเจ้าสรรเสริญแล้ว”

คนจัณฑาลนั้นได้กล่าวสอนพราหมณ์สองคาถาว่า

“ท่านพราหมณ์ เราติเตียนการได้ทรัพย์และการได้ยศ เพราะนั่นเป็นการเลี้ยงชีพโดยความเป็นเหตุให้ตกต่ำ และเป็นการเลี้ยงชีพโดยทางที่ไม่ชอบธรรม จะมีประโยชน์อันใดด้วยการเลี้ยงชีพเช่นนั้น ท่านจงรีบออกไปจากประเทศนี้เสียเถิดท่านพราหมณ์ แม้สัตว์ที่มีชีวิตเหล่าอื่น ก็ยังหุงหาอาหารกินได้ อธรรมที่ท่านได้ประพฤติมาแล้ว อย่าได้ทำลายท่าน ดุจก้อนหินทำลายหม้อน้ำ ฉะนั้น”

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลครั้งนั้น พราหมณ์นั่งบนอาสนะต่ำสอนมนต์แก่พระเจ้าแผ่นดินผู้ประทับนั่งบนพระราชอาสน์ สูง ยังไม่เป็นที่พอใจของเรา ไฉนในกาลบัดนี้ (เรา) จักพอใจที่ภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำ แล้วแสดงธรรมแก่คนนั่งบนอาสนะสูงเล่า” เมื่อทรงติเตียนแล้ว บัญญัติสิกขาบทห้ามไว้ว่า “ภิกษุพึงใส่ใจปฏิบัติว่า เรานั่งบนอาสนะต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่งบนอาสนะสูง”  (วิ.มหาวิ. ๒/๙๔๐)

“ภิกษุใด อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งบนอาสนะต่ำ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะสูง ต้องอาบัติทุกกฎ”
(วิ.มหาวิ. ๒/๙๔๐)

พระธรรมเป็นเครื่องชี้ทางบรรเทาทุกข์ ชี้สุขเกษมศานต์ ชี้ทางพระนฤพานที่พ้นโศกวิโยคภัยแก่สรรพสัตว์ พระสัทธรรมมีค่ามากกว่าวัตถุสิ่งของใด ๆ ในโลก ไม่สามารถประเมินพระธรรมเป็นราคาได้

พระพุทธองค์สมัยเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ ได้ฟังธรรมจากสำนักพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ซาบซึ้งในรสพระธรรม มองไม่เห็นไทยธรรมอื่นใดมีค่าคู่ควรแก่การบูชาพระธรรมเลย นอกจากศีรษะอันเป็นอวัยวะสูงสุดของตนเท่านั้น จึงได้ตัดศีรษะบูชาพระธรรม

แม้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ทรงเคารพพระธรรมมาก ถ้าพระองค์ทรงได้เห็นได้ยินใครแสดงอาการไม่เคารพพระธรรม จะทรงตำหนิติเตียนว่า “ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว”

เรื่องการเคารพพระธรรม พระพุทธองค์ทรงประพฤติเป็นแบบอย่างมาแล้ว ถ้าพระภิกษุแสดงธรรมอยู่ในที่ไม่ไกล พระองค์จะเสด็จไปประทับยืนฟังธรรมอยู่ที่ใกล้ และจะไม่เข้าไปในระหว่างที่พระภิกษุแสดงธรรมยังไม่จบ ต่อเมื่อแสดงธรรมจบแล้ว จึงเสด็จเข้าไป เพราะพระองค์เคารพพระธรรม และไม่ต้องการจะรบกวนการแสดงธรรม
 

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี สมัยนั้นท่านพระนันทกะแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายทำให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญร่าเริง ในอุปัฏฐานศาลา พระพุทธเจ้าทรงสดังเสียงการแสดงธรรมอันไพเราะของพระนันทกะที่กำลังแสดงอยู่

จึงตรัสถามพระอานนท์ว่า ใครแสดงธรรมด้วยถ้อยคำอันไพเราะในศาลานั้น พระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้เป็นวาระ (แสดงธรรม) ของพระนันทกเถระผู้เป็นธรรมกถึก พระองค์จึงตรัส (ชมเชย) ว่า อานนท์ ภิกษุนั่นแสดงธรรมไพเราะยิ่งนัก แม้เราก็จะไปฟัง ตอนนั้นเป็นเวลาเย็นพอดี พระองค์เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ทรงปิดบังฉัพพรรณรังสีไว้ในกลีบจีวรแล้ว ประทับยืนด้วยเพศที่ไม่มีใครรู้จัก ฟังธรรมกถาอยู่ ณ ซุ้มประตูด้านนอก

เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว ท่านพระอานนท์ได้ทูลถวายสัญญาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปฐมยามล่วงไปแล้ว ขอพระองค์ทรงพักผ่อนสักหน่อยเถิด พระพุทธเจ้าก็ทรงประทับยืนอยู่ ณ ที่นั้นนั่นแล เมื่อเลยมัชฌิมยามไปแล้ว ท่านก็ได้ทูลอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์เป็นขัตติยสุขุมาลชาติโดยปกติ ทรงเป็นพระพุทธเจ้า สุขุมาลชาติ ทรงเป็นสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง มัชฌิมยามก็ล่วงไปแล้ว ขอจงทรงพักผ่อนสักครู่เถิด พระพุทธเจ้าก็ทรงประทับยืนอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเอง ตลอดทั้งคืน จนอรุณขึ้นก็ดี

การจบธรรมกถาก็ดี การเปล่งฉัพพรรณรังสีของพระทศพลก็ดี ได้มีพร้อมในคราวเดียวกัน ครั้นทรงทราบว่ากถาจบแล้ว ทรงกระแอม และทรงเอาปลายพระนขาเคาะที่บานประตู ภิกษุเหล่านั้นเปิดประตูให้พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ดีแล้ว ลำดับนั้น พระองค์ได้ตรัส (ชมเชย) ท่านพระนันทกะว่า


 “ดูก่อนนันทกะ ธรรมบรรยายของเธอนี้ยาวมาก แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ เรายืนฟังจนจบกถาอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอกจนเมื่อยหลัง”  (องฺ.นวก.อฏฺ. ๔/๗๑๓-๗๑๙)

เราเหล่าพระภิกษุเป็นพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร เมื่อได้ทราบปฏิปทาของพระบรมศาสดาเช่นนี้แล้ว ยิ่งต้องเคารพพระสัทธรรมให้มาก ต้องทำความยำเกรง หวงแหนพระสัทธรรมยิ่งกว่าชีวิต อย่าเห็นแก่ลาภสักการะเล็ก ๆ น้อย ๆ จนลืมธรรม อย่าเอาธรรมอันมีค่าสูงยิ่งไปแลกกับอาหารของชาวบ้าน เหมือนเอาเพชรที่มีค่ามากไปแลกกับถ่านที่ไร้ค่า ฉะนั้น พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า

“นรชน (บุคคล) พึงสละทรัพย์ เพราะเหตุแห่งอวัยวะที่ประเสริฐกว่า เมื่อจะรักษาชีวิต พึงสละอวัยวะ (อันเป็นที่รักยิ่ง) เสีย เมื่อตามระลึกถึงธรรม (รักษาพระธรรม) พึงสละอวัยวะ ทรัพย์และแม้ชีวิตได้ทั้งหมด”  (ขุ.ชา. ๒๘/๖๓๔, วิสุทฺธิ. ๑๖๑)

ผู้ต้องการจะรักษาพระธรรม ควรน้อมเอาพระพุทธพจน์บทนี้มาไว้ในใจ ถ้าเห็นใครแสดงอาการไม่เคารพธรรม ก็ไม่ควรแสดงธรรมให้ฟัง ธรรมแม้มีค่ามาก แต่ไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่บุคคลผู้ไม่ต้องการ เหมือนเอาพลอยที่มีค่าให้แม่ไก่ แม่ไก่ไม่รู้ค่าก็เขี่ยทิ้งไป ฉะนั้น

ประเพณีเป็นเหตุให้เข้าใจผิดได้
แต่บางสถานที่มีประเพณีไม่เหมือนกัน ก็เป็นเหตุให้เข้าใจผิดพลาดได้ เช่น ในกรณีของคนไทย ถ้าพระยืนอยู่โยมนั่ง ถือว่าแสดงความเคารพแล้ว ปัจจุบันมีพระธรรมกถึกหลายรูปไปแสดงธรรมตามที่ต่าง ๆ ยืนบรรยายธรรมบนแสตน (แท่นยืน) โยมก็นั่งอยู่บนเก้าอี้ฟังธรรม ดูแล้วเหมือนจะถูกต้อง แต่ก็ไม่ถูก ทำให้ต้องอาบัติตามสิกขาบทที่กล่าวมาแล้วนี้ 


ถ้าพูดถึงทางพระธรรมวินัยแล้ว การยืนฟังธรรมถือว่าแสดงความเคารพ เช่น พระยืนแสดงธรรม โยมต้องยืนฟังธรรม ถ้าพระนั่งแสดงธรรม โยมจะนั่งฟังหรือยืนฟังธรรมก็ได้ ถือว่าแสดงความเคารพ

ในสมัย ปัจจุบันนี้ มีพระบางรูปไม่รู้วินัย เมื่อโยมใส่บาตรเสร็จแล้วก็ให้พร ฉะนั้น โยมควรยืนประนมมือรับพร ด้วยการทำอย่างนี้ ก็ชื่อว่า ช่วยเปลื้องท่านให้พ้นจากอาบัติ และโยมก็ได้ชื่อว่าแสดงความเคารพพระสัทธรรมด้วย

ถ้าศึกษาเรียนรู้ให้เข้าใจดีทั้งพระและโยม ก็จะปฏิบัติได้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยสะดวกยิ่งขึ้น และเป็นแบบอย่างที่ดีงามให้อนุชนรุ่นหลังได้ประพฤติตามสืบต่อไป

เหตุผลที่กล่าวมานี้ จึงพอสรุปได้ว่า พระภิกษุ คือ ผู้นำทางศาสนา เป็นหัวหน้าของพุทธบริษัททั้ง ๔ เมื่อเห็นญาติโยมทำอะไรไม่ถูกไม่ควร ต้องเอาธุระแนะนำหรือพร่ำสอน ชี้ผิดชี้ถูกตามเหตุผลที่พระพุทธเจ้าทรงอธิบายไว้ เช่น บอกโยมว่า “โยมต้องการรับพร (ฟังธรรม) ให้ยืนขึ้น ถ้าโยมนั่ง พระยืน ถือว่า ไม่เคารพธรรม” เป็นต้น

อ้างอิง
จากหนังสือ วินัยพระน่ารู้คู่มือโยม
คณะทำงานวัดเขาสนามชัย รวบรวมและเรียบเรียง
http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2010/06/Y9328411/Y9328411.html

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พระพุทธรูป "ปางประทานพร"
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2010, 12:49:02 pm »
0
ปางประทานพร(นั่ง )

   
   พระพุทธรูปปาง ประทานพร ( นั่ง ) วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา ( ตัก ) แบฝ่าพระหัตถ์ขวายื่นออกไปวางที่พระชานุ ( เข่า )

ความเป็นมาของปางประทานพร (นั่ง )
   เมื่อครั้งพระ อานนท์ถูกสงฆ์เลือกให้ทำหน้าที่เป็นพระอุปัฏฐาก ท่านได้ขอพร ๘ ประการ จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร ๔ ข้อแรก ได้แก่

 
- ไม่ประทานจีวรอันประณีตแก่ท่าน
- ไม่ประทานบิณฑบาตอันประณีตที่พระองค์ได้มาแก่ท่าน
- ไม่ประทานให้ท่านอยู่คันธกุฏิเดียวกับพระพุทธองค์
- และไม่ทรงพาท่านไปในที่นิมนต์


ส่วน ๔ ข้อหลังได้แก่

- ขอให้พระพุทธองค์ไปในที่นิมนต์ที่ท่านรับไว้
- ถ้าท่านนำพุทธบริษัทมาจากแดนไกลขอให้ได้เข้าเฝ้าทันที
- ถ้าท่านมีความสงสัยขอให้ถามท่านได้ทันที
- และข้อสุดท้ายคือ ถ้าพระพุทธองค์ทรงไปแสดงพระธรรมที่ไหน ถ้าท่านไม่ได้ฟัง ขอให้แสดงแก่ท่านอีกครั้งหนึ่ง


ทั้งนี้เพื่อป้องกัน คำครหาว่าท่านอุปัฏฐากแล้วไม่ได้รับความเอื้อเฟื้อจาก พระพุทธองค์เลยพระพุทธองค์ได้ประทานพรทั้ง ๘ ประการ แก่พระอานนท์


ปางประทานพร(ยืน)
    

   พระพุทธรูปปางประทานพร (ยืน) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ขวาเสมอพระอุระ ( อก ) แบฝ่าพระหัตถ์ออกไปข้างหน้า พระหัตถ์ซ้ายห้อยลง แบฝ่าพระหัตถ์ออกไปข้างหน้า บางแบบยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้น ห้อยพระหัตถ์ขวา

ความเป็นมาของปางประทานพร (ยืน)

   มหาอุบาสิกา วิสาขา บุตรีของธนัญชัยเศรษฐี เป็นหญิงที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นเบญจกัลยาณี ได้แก่ มีผมงาม เนื้องาม ฟันงาม ผิวงาม วัยงาม นางมีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก และเป็นพระโสดาบันบุคคลตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ ในช่วงฤดูฝนในพรรษาหนึ่ง นางวิสาขาไให้นางทาสีของนางมานิมนต์พระภิกษุ


พอดีฝนตก พระภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝนอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร นางทาสีเข้าใจว่าเป็นนักบวชลัทธิชีเปลือย จึงกลับไปบอกนางวิสาขา หลังจากถวายภัตตาหารและพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว

นางวิสาขาจึงกราบทูลขอประทานพรจากพระพุทธองค์เพื่อถวายสิ่งของต่าง ๆ แก่ภิกษุ ภิกษุณี ได้แก่
(๑) ผ้าอาบน้ำฝน
(๒) อาหารสำหรับภิกษุอาคันตุกะ
(๓) อาหารสำหรับภิกษุผู้เตรียมจะไป
(๔) อาหารสำหรับภิกษุป่วยไข้
(๕) อาหารสำหรับภิกษุผู้พยาบาลภิกษุ
(๖) ยาสำหรับภิกษุผู้ป่วยไข้
(๗) ขอให้ได้ถวายข้าวยาคู
(๘) ผ้าอาบน้ำสำหรับภิกษุณี พระพุทธองค์ทรงประทานพรทั้ง ๘ ข้อแก่นางวิสาขา


ที่มา  http://www.dhammathai.org/

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
เพลง"ทำบุญด้วยอะไร"
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2010, 01:02:29 pm »
0
   
เพลง ทำบุญด้วยอะไร

สาวสวยระดับจักรวาลคนนี้ ทำบุญด้วยอะไรหนอ

ชื่อเพลง : ทำบุญด้วยอะไร
ร้องโดย : ธานินทร์ อินทรเทพ
คำร้อง/ทำนอง : พยงค์ มุกดา

ผู้หญิง ที่สวยอย่างคุณ
ทำบุญ ไว้ด้วยอะไรจึงสวยน่าพิสมัย
น่ารักน่าใคร่ พริ้งพราว คงถวายมะลิไหว้พระ

วรรณะจึงได้นวลขาว เนตรน้อย ดั่งสอยจากดาว
กระพริบพร่างพราวหนาวใจ ตักบาตร คงใส่ ด้วยข้าวหอม
จึงสวย ละม่อมละไม บุญทาน ที่ทำด้วยเต็มใจ

เธอจึงได้พรสี่ประการ อายุ วรรณะ สุขะ
พละและปฏิภาณ เพียงพบเจ้านั้นไม่นาน
พี่ซมพี่ซาน ลุ่มหลง

(ดนตรี).................
ผู้หญิง ที่สวยอย่างคุณ ทำบุญไว้ด้วยอะไร
จึงสวยน่าพิสมัย น่ารักน่าใคร่ พริ้งพราว
คงถวาย มะลิไหว้พระวรรณะจึงได้นวลขาว

เนตรน้อย ดั่งสอยจากดาว กระพริบพร่างพราว หนาวใจ
ตักบาตรคงใส่ ด้วยข้าวหอม จึงสวย ละม่อมละไม
บุญทาน ที่ทำ ด้วยเต็มใจเธอจึงได้พรสี่ประการ

อายุ วรรณะ สุขะ พละและปฏิภาณ
เพียงพบ เจ้านั้นไม่นานพี่ซมพี่ซาน ลุ่มหลง

 
คนนี้อีกคน ไม่รู้ทำบุญด้วยอะไร

ที่มา  http://board.palungjit.com/f188/เพลง-ทำบุญด้วย อะไร-ธานินทร์-อินทรเทพ-207469.html


ขอรบกวน คุณรักหนอ หรือ น้องหมวยนีย์ 
ช่วยโพสต์ เสียงร้อง มิวสิควิดีโอ หรือคาราโอเกะ ของเพลง “ทำบุญด้วยอะไร” ให้หน่อย
เพื่อให้กระทู้นี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขออนุโมทนาล่วงหน้า

 :c017: :c017: :c017:
 :49: :49: :58: :58:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
เพลง "ทำบุญด้วยอะไร"
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2010, 04:36:27 pm »
0
ทำบุญด้วยอะไร - ธานินทร์อินทรเทพ


ชื่อเพลง : ทำบุญด้วยอะไร
ร้องโดย : ธานินทร์ อินทรเทพ
คำร้อง/ทำนอง : พยงค์ มุกดา

ผู้หญิง ที่สวยอย่างคุณ
ทำบุญ ไว้ด้วยอะไรจึงสวยน่าพิสมัย
น่ารักน่าใคร่ พริ้งพราว คงถวายมะลิไหว้พระ

วรรณะจึงได้นวลขาว เนตรน้อย ดั่งสอยจากดาว
กระพริบพร่างพราวหนาวใจ ตักบาตร คงใส่ ด้วยข้าวหอม
จึง สวย ละม่อมละไม บุญทาน ที่ทำด้วยเต็มใจ

เธอจึงได้พรสี่ประการ อายุ วรรณะ สุขะ
พละและปฏิภาณ เพียงพบเจ้านั้นไม่นาน
พี่ซมพี่ซาน ลุ่มหลง

(ดนตรี).................
ผู้หญิง ที่สวยอย่างคุณ ทำบุญไว้ด้วยอะไร
จึงสวยน่าพิสมัย น่ารักน่าใคร่ พริ้งพราว
คงถวาย มะลิไหว้พระวรรณะจึงได้นวลขาว

เนตรน้อย ดั่งสอยจากดาว กระพริบพร่างพราว หนาวใจ
ตักบาตรคงใส่ ด้วยข้าวหอม จึงสวย ละม่อมละไม
บุญ ทาน ที่ทำ ด้วยเต็มใจเธอจึงได้พรสี่ประการ

อายุ วรรณะ สุขะ พละและปฏิภาณ
เพียงพบ เจ้านั้นไม่นานพี่ซมพี่ซาน ลุ่มหลง
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: ความหมายที่แท้จริงของคำว่า “พร” และการให้พร
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2010, 04:57:31 pm »
0
เพลงนี้ มีร้อง หลายคน สาว ๆ คงเลือกไ่ม่ถูก ว่าจะโพสต์ของคนไหน

 :25:
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น