ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมสาระวันนี้ "คุณเป็น สัมมาทิฏฐิ แล้ว หรือ ยัง หรือเพียงคิดว่าเป็น บทที่ 1"  (อ่าน 8241 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

วันนี้จะมานำเสนอ เกี่ยวกับเรื่องความเห็น ซึ่งเรียกว่า ทิฏฐิ เพื่อความบริบูรณ์ของมรรค และเป็นเหตุชำระความเห็นผิด ที่บางคนบางท่าน ( แม้แต่ตัวเราเอง ) ก็อาจจะยังไม่รู้ตัว จนบางครั้งก็กล่าวแต่เพียงสั้น ๆ ว่า สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นจริงในอริยสัจจะ 4 เป็นการพูดและกล่าวอย่างรวม ๆ จนไม่ทราบความเห็นอันละเอียด พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสแสดงพระสูตร ทิฏฐิ 62 ประการ และ สัสสตวาทะ 4 ซึ่งมีการกล่าวถึงความหมายของการปฏิบัติที่มี ทิฏฐิ ( ความเห็น )ผสมอยู่ จนกระทั่งถึงการกล่าว วาทะ เรื่อง พระนิพพาน ที่หลายท่านนำมาทุ่มเถียงกันเป็น วาทะ เรียกว่า นิพพานวาทะ จนกลายเป็น นิพพานวิวาทะ ขึ้นมา ทั้งหมดนี้ ล้วยเกี่ยวเนื่องกับเรื่อง ทิฏฐิ โดยตรงและ เป็นหนทางที่ปราชญ์ผู้ควรตรัสรู้ตาม พระสุคต ควรจะรู้ตามด้วย



พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  สีลขันธวรรค  [๑.พรหมชาลสูตร]
 ทิฏฐิ  ๖๒  สัสสตวาทะ  ๔

 
ทิฏฐิ ๖๒
ปุพพันตกัปปิกวาทะ ๑๘
 ความเห็นกำหนดขันธ์ส่วนอดีต
            [๒๘]    ภิกษุทั้งหลาย  มีธรรมเหล่าอื่นอีกที่ลึกซึ้ง  เห็นได้ยาก  รู้ตามได้ยากสงบประณีต  ใช้เหตุผลคาดคะเนเอาไม่ได้  ละเอียด  รู้ได้เฉพาะบัณฑิต  ซึ่งตถาคต(๑)  รู้แจ้งได้เองแล้วสั่งสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตามอันเป็นเหตุให้คนกล่าวยกย่องตถาคตถูกต้องตามความเป็นจริง  ก็ธรรมที่ลึกซึ้ง  เห็นได้ยาก  รู้ตามได้ยาก  ...  อันเป็นเหตุให้คนกล่าวยกย่องตถาคตตามความเป็นจริง    คืออะไรบ้าง
            [๒๙]    ภิกษุทั้งหลาย  มีสมณพราหมณ์(๒)พวกหนึ่งกำหนดขันธ์ส่วนอดีต  มีความเห็นคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต  ปรารภขันธ์ส่วนอดีต  ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่าง  ๆ  ด้วยมูลเหตุ  ๑๘  อย่าง  ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นอาศัยอะไรปรารภอะไรจึงกำหนดขันธ์ส่วนอดีต  มีความเห็นคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต  ปรารภขันธ์ส่วนอดีต    ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิต่าง  ๆ    ด้วยมูลเหตุ  ๑๘  อย่าง


                  สัสสตวาทะ ๔
               เห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยง
            [๓๐]    ภิกษุทั้งหลาย  มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่าเที่ยง  บัญญัติอัตตา(๓)และโลกว่าเที่ยงด้วยมูลเหตุ  ๔  อย่าง  ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นอาศัยอะไรปรารภอะไรจึงมีวาทะว่าเที่ยง  บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยงด้วยมูลเหตุ  ๔  อย่าง
 



(๑) คำว่า ตถาคต ในที่นี้ เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสหมายถึงพระองค์เอง แทนคำว่า “เรา” (อุตตมบุรุษ)
(๒) เป็นคำเรียกพราหมณ์พวกหนึ่งที่เป็นสมณะ ชื่อว่าเป็นสมณะโดยการบวช และชื่อว่าเป็นพราหมณ์โดยชาติกำเนิด (ที.สี.อ. ๒๙/๙๕ )
(๓) อัตตาในที่นี้หมายถึง วิญญาณอมตะหรืออาตมัน



มูลเหตุที่ ๑
             [๓๑]    ๑.    สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้   อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลสความเพียรที่ตั้งมั่น  ความหมั่นประกอบ   ความไม่ประมาท  และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิ(๔)    ที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น    (บริสุทธิ์ผุดผ่อง    ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน    ปราศจากความเศร้าหมอง)    ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ    คือ๑    ชาติบ้าง    ๒    ชาติบ้าง    ๓    ชาติบ้าง    ๔    ชาติบ้าง    ๕    ชาติบ้าง    ๑๐    ชาติบ้าง    ๒๐ ชาติบ้าง    ๓๐    ชาติบ้าง    ๔๐    ชาติบ้าง    ๕๐    ชาติบ้าง    ๑๐๐    ชาติบ้าง    ๑,๐๐๐    ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐    ชาติบ้าง    หลายร้อยชาติบ้าง    หลายพันชาติบ้าง    หลายแสนชาติบ้าง    ว่า‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น    มีตระกูล    มีวรรณะ    มีอาหาร    เสวยสุขทุกข์    และมีอายุอย่างนั้น  ๆ    จุติ(เคลื่อน)จากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น    แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น    มีตระกูล    มีวรรณะ    มีอาหาร    เสวยสุขทุกข์    และมีอายุอย่างนั้น  ๆ    จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’    เขาระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้    เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า    ‘อัตตาและโลกเที่ยง    ยั่งยืน    ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขาดุจเสาระเนียด    ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป    ท่องเที่ยวไป    จุติและเกิด    แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่แน่    เพราะเหตุอะไร    เพราะว่าเราอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส    ความเพียรที่ตั้งมั่น    ความหมั่นประกอบ    ความไมประมาท    และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น    ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ    คือ    ๑    ชาติบ้าง    ๒    ชาติบ้าง    ๓    ชาติบ้าง    ๔    ชาติบ้าง    ๕    ชาติบ้าง    ๑๐    ชาติบ้าง    ๒๐    ชาติบ้าง    ๓๐    ชาติบ้าง    ๔๐    ชาติบ้าง    ๕๐    ชาติบ้าง   ๑๐๐    ชาติบ้าง    ๑,๐๐๐    ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐    ชาติบ้าง    หลายร้อยชาติบ้าง    หลายพันชาติบ้าง    หลายแสนชาติบ้าง    ว่า‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น    มีตระกูล    มีวรรณะ    มีอาหาร    เสวยสุขทุกข์    และมีอายุอย่างนั้น  ๆ    จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น    แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น    มีตระกูล    มีวรรณะ    มีอาหาร    เสวยสุขทุกข์    และมีอายุอย่างนั้น  ๆ    จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้    เราระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้    เพราะการได้บรรลุคุณวิเศษนี้    เราจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง    ยั่งยืนตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขาดุจเสาระเนียด    ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป    ท่องเที่ยวไป    จุติและเกิด    แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่แน่’
  ภิกษุทั้งหลาย  นี้เป็นมูลเหตุที่  ๑  ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้วปรารภแล้ว    จึงมีวาทะว่าเที่ยง   บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง




(๔) สมาธิแห่งจิต  คือสมาธิในรูปาวจรจตุตถฌาน  (ที.สี.อ.  ๓๑/๙๗)


 
   มูลเหตุที่ 1  ทิฏฐิเห็นว่า อัตตานี้เที่ยง โลกนี้เที่ยง

    ไม่ใช่เรื่องธรรมดา ที่คนทั่วไปจะมากล่าวกัน แต่เป็นเรื่องที่บุคคลที่มีความสามารถด้วยการปฏิบัติ และภาวนาจนถึงขึ้นอัปปนาจิตมีความสามารถทางจิตวิญญาณ ระลึกชาตได้เป็นร้อยเป็นพันชาติ หมื่นชาต แสนชาต หรือมากกว่านั้นจนมองเห็นได้ว่า ตนเองมีการเกิดไป เกิดมา เป็นเรื่องเที่ยงแท้ แต่ไม่มีพุทธญาณที่จะแจ้งแทงตลอดเรื่องชาต เมื่อเห็นอย่างนั้นก็กล่าวว่า อัตตานี้เที่ยงเพราะมีการเกิด โลกนี้เที่ยงเพราะตายไปกี่ชาติ ก็ยังอยู่ในโลกอย่างนี้ โลกก็ยังอยูอย่างนี้เป็นต้น ความเห็นจัดเป็น มิจฉาทิฏฐิ แต่ก็เป็นทิฏฐิที่เห็นไว้ได้ครึ่ง ๆ กลาง ๆ อย่างนั้นไม่แจ่มแจ้ง แจ่มชัดเรื่องชาตตามความหมายพุทธศาสนา


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2012, 10:43:38 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
          มูลเหตุที่ ๒
            [๓๒]    ๒.    อนึ่ง  ในมูลเหตุที่  ๒  สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไรปรารภอะไรจึงมีวาทะว่าเที่ยง  บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง
            สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้  อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส  ความเพียรที่ตั้งมั่น  ความหมั่นประกอบ  ความไม่ประมาท  และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น  ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ  คือ๑  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป(๑)  บ้าง  ๒  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง  ๓  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง  ๔  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง  ๕  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง
๑๐  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง  ว่า  ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น  มีตระกูล  มีวรรณะมีอาหาร  เสวยสุขทุกข์  และมีอายุอย่างนั้น  ๆ  จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น  แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น  มีตระกูล  มีวรรณะ  มีอาหาร  เสวยสุขทุกข์  และมีอายุอย่างนั้น  ๆ  จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’  เขาระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
            เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกเที่ยง  ยั่งยืน  ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขาดุจเสาระเนียด  ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป  ท่องเที่ยวไป  จุติและเกิด  แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่แน่  เพราะเหตุอะไร  เพราะว่าเราอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส  ความเพียรที่ตั้งมั่น  ความหมั่นประกอบ  ความไม่ประมาท  และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น  ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ  คือ๑  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง  ๒  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง  ๓  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง  ๔  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง  ๕  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง๑๐  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง  ว่า  ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น  มีตระกูล  มีวรรณะมีอาหาร  เสวยสุขทุกข์  และมีอายุอย่างนั้น  ๆ  จุติจากภพนั้นจึงไปเกิดในภพโน้นแม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น  มีตระกูล  มีวรรณะ  มีอาหาร  เสวยสุขทุกข์  และมีอายุอย่างนั้น  ๆ  จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’  เราระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้  เพราะการได้บรรลุคุณวิเศษนี้  เราจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง  ยั่งยืน  ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขาดุจเสาระเนียด  ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป  ท่องเที่ยวไป  จุติและเกิด  แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่แน่’
            ภิกษุทั้งหลาย  นี้เป็นมูลเหตุที่  ๒  ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้วปรารภแล้ว  จึงมีวาทะว่าเที่ยง  บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง

 


๑ สังวัฏฏกัป คือ กัปฝ่ายเสื่อม,  ช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังพินาศ วิวัฏฏกัป คือ กัปฝ่ายเจริญ, ช่วงระยะเวลา ที่โลกกลับฟื้นขึ้นมาใหม่  (วิ.อ. ๑/๑๒/๑๕๘)



  มูลเหตุที่ 2  บัญญัติอัตตาว่าเที่ยง และ โลกว่าเที่ยง ด้วยสามารถแห่งการเห็นชาติ ตายเกิดเป็นกัปป์ ๆ

   มูลเหตุที่ 2 ก็ชี้ชัดลงไปว่าแม้บุคคลผู้มีความสามารถ มองเห็นชาติได้เป็นกัปป์ ก็ยังไม่เห็นที่สุดของการสิ้นชาติ จึง แต่ยังมองเห็นการเกิดของชาติ และ โลกยังคงอยู่เช่นเดิม เขาเหล่านั้นจึงบัญญัติว่า อัตตานี้เที่ยง โลกนี้เที่ยงอย่างนี้ 


Aeva Debug: 0.0009 seconds.Aeva Debug: 0.0005 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2012, 11:43:01 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

        มูลเหตุที่ ๓
           [๓๓]    ๓.    อนึ่ง  ในมูลเหตุที่  ๓  สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไรปรารภอะไรจึงมีวาทะว่าเที่ยง  บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง            สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้  อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส  ความเพียรที่ตั้งมั่น  ความหมั่นประกอบ  ความไม่ประมาท  และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น  ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ  คือ๑๐  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง  ๒๐  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง  ๓๐  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง  ๔๐  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง  ว่า  ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้นมีตระกูล  มีวรรณะ  มีอาหาร  เสวยสุขทุกข์  และมีอายุอย่างนั้น  ๆ  จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น  แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น  มีตระกูล  มีวรรณะ  มีอาหาร  เสวยสุขทุกข์  และมีอายุอย่างนั้น  ๆ  จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’  เขาระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
            เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า  ‘อัตตาและโลกเที่ยง  ยั่งยืน  ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขาดุจเสาระเนียด  ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป  ท่องเที่ยวไป  จุติและเกิด  แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่แน่  เพราะเหตุอะไร    เพราะว่าเราอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส  ความเพียรที่ตั้งมั่น  ความหมั่นประกอบ  ความไม่ประมาท  และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น  ระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ  คือ๑๐  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง  ๒๐  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง  ๓๐  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง  ๔๐  สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง  ว่า  ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้นมีตระกูล  มีวรรณะ  มีอาหาร  เสวยสุขทุกข์  และมีอายุอย่างนั้น  ๆ  จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น  แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น  มีตระกูล  มีวรรณะ  มีอาหารเสวยสุขทุกข์และมีอายุอย่างนั้น  ๆ  จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’  เขาระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไและชีวประวัติอย่างนี้  เพราะการได้บรรลุคุณวิเศษนี้  เราจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง  ยั่งยืน  ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขาดุจเสาระเนียด  ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป  ท่องเที่ยวไป  จุติและเกิด  แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่แน่’
           ภิกษุทั้งหลาย  นี้เป็นมูลเหตุที่  ๓  ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้วปรารภแล้ว    จึงมีวาทะว่าเที่ยง    บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2012, 11:44:08 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

       มูลเหตุที่ ๔
            [๓๔]      ๔.    อนึ่ง  ในมูลเหตุที่  ๔  สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไรปรารภอะไรจึงมีวาทะว่าเที่ยง  บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง
            สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นนักตรรกะ(๑) เป็นนักอภิปรัชญา(๒) แสดงทรรศนะของตนตามหลักเหตุผลและการคาดคะเนความจริงอย่างนี้ว่า  ‘อัตตาและโลกเที่ยง  ยั่งยืน  ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขาดุจเสาระเนียด  ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป  ท่องเที่ยวไป    จุติและเกิด    แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่แน่’
            ภิกษุทั้งหลาย  นี้เป็นมูลเหตุที่  ๔  ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้วปรารภแล้ว    จึงมีวาทะว่าเที่ยง    บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง




๑ นักตรรกะ(ตกฺกี)  ผู้ที่ให้เหตุผลตามแนวของตรรกศาสตร์  (Logic)  มี  ๔  จำพวก  คือ  อนุสสติกะ  อนุมาน จากข้อมูลที่เป็นประสบการณ์  ชาติสสระ  อนุมานโดยการระลึกชาติ  ลาภิตักกิกะ  อนุมานจากประสบการณ์ ภายในของตน  และ  สุทธิตักกิกะ  อนุมานโดยใช้เหตุผลล้วน ๆ  (ที.สี.อ.  ๓๔/๙๘)๒ นักอภิปรัชญา(วีมํสี)  ผู้ที่ให้เหตุผลโดยการคาดคะเนความจริงเอาจากการเทียบเคียงจนพอใจถูกใจแล้วยึด   ถือเป็นทฤษฎี  เช่น  คาดคะเนในเรื่องที่เกี่ยวกับปฐมเหตุของโลกและจักรวาล  (ที.สี.อ.  ๓๔/๙๙)




                  สรุปสัสสตวาทะ
            [๓๕]    ภิกษุทั้งหลาย  สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีวาทะว่าเที่ยง  บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง  ด้วยมูลเหตุ  ๔  อย่างนี้แล  ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวกมีวาทะว่าเที่ยง  บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง  ด้วยมูลเหตุทั้ง  ๔  อย่างนี้  หรือด้วยมูลเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งใน  ๔  อย่างนี้  ไม่พ้นไปจากนี้
           [๓๖]    ภิกษุทั้งหลาย  เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า  มูลเหตุแห่งทิฏฐิเหล่านี้ที่บุคคลยึดถืออย่างนี้แล้ว  ย่อมมีคติและภพหน้าอย่างนั้น  ๆ  ตถาคตรู้มูลเหตุนั้นชัด  และยังรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีกจึงไม่ยึดมั่นเมื่อไม่ยึดมั่นจึงรู้ความดับด้วยตนเองรู้ความเกิดความดับคุณ  โทษ  และอุบายเครื่องสลัดเวทนาออกตามความเป็นจริง  ตถาคตจึงหลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น
           [๓๗]    ภิกษุทั้งหลาย  ธรรมเหล่านี้แล  ลึกซึ้ง  เห็นได้ยาก  รู้ตามได้ยาก  สงบประณีต  ใช้เหตุผลคาดคะเนเอาไม่ได้  ละเอียด  รู้ได้เฉพาะบัณฑิต  ซึ่งตถาคตรู้แจ้งได้เองแล้วสั่งสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตามอันเป็นเหตุให้คนกล่าวยกย่องตถาคตถูกต้องตามความเป็นจริง
                  ภาณวารที่ ๑ จบ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2012, 11:48:52 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
      สำหรับเรื่อง ทิฏฐิ 62 นี้ยังไม่จบ ที่โพสต์ไว้เป็นเพียง บทเริ่มต้น พระสูตรมีความยาว 30 กว่าหน้า แต่ก็ควรทำความเข้าใจไปด้วย ค่อยๆ อ่านแล้วทำความเข้าใจ ทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ เพราะบางท่านเวลาถามอาตมา มากันทางจดหมายบ้าง ข้อความส่วนตัวบ้าง แต่ละท่านล้วนแล้วส่วนใหญ่ หลักลอยในการภาวนา ไม่มีเป้าหมายในการภาวนาที่แท้จริง เพียงแต่ภาวนาเพื่อให้ได้สุขเล็กน้อย ทั้งที่บางท่านสามารถภาวนาได้มากกว่าตรงนั้น ดังนั้นเป้าหมายของกรรมฐาน นั้น มีเป้าหมายชัดเจน ในการภาวนา
     แต่การที่ท่านทั้งหลายมีเป้าหมายไม่ชัดเจน หรือ ไม่รู้ว่ามาภาวนาเพื่ออะไร ก็เป็นเพราะว่าท่านทั้งหลายไม่เข้าใจเรื่องสัมมาทิฏฐิ อย่างที่ควร หรืออย่างถูกต้อง

    ดังนั้นการเข้าศึกษา ทิฏฐิ 62 ประการนี้ จึงเป็นเรื่องที่ควรจะได้อ่านรับทราบไว้ เพื่อไม่ได้ให้ท่านทั้งหลาย ปฏิบัติกรรมฐาน ผิดแนวทาง ซึ่งนับว่าเป็นการสูญเสียโอกาสที่สำคัญ เพราะว่าท่านทั้งหลาย มีโอกาสที่จะสามารถ ภาวนา เพื่อมรรค และ ผล ได้ในชาตินี้ แต่ก็จะเสียโอกาส และจะพลาดพลั้งเสียทีใน วัฏฏะสงสาร นี้ต่อไป

    จึงเจริญขอให้ท่าน พึงทำความเข้าใจ กับบทความที่ออกมาในช่วงนี้ ซึ่งพยายามเน้นวิถีเบื้องต้นที่ท่านทั้งหลาย ควรจะต้องตื่น ด้วยสติ สัมปชัญญะ ว่า อะไร ควร หรือ อะไรไม่ควร นะจ๊ะ

    เจริญธรรม


    ;)
Aeva Debug: 0.0005 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2012, 12:15:45 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ครับกับบทความ แต่ช่วงนี้พระอาจารย์จะออกบทความไปแนวสนทนาธรรมเป็นหลักนะครับ อยากให้ออกบทความในแนวปฏิบัติ มากกว่านะครับ

   :c017: :25:
บันทึกการเข้า

nimit

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 117
  • เรามาเพื่อจรรโลงพระกรรมฐาน
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
ตอนนี้ ตามอ่านอยุ่ครับ

   กับ 62 ทิฏฐิ นี้ ประเดิมด้วย มูลเหตุ สัสสตทิฏฐิวาทะ ความเห็นว่าอัตตาเที่ยง โลกเที่ยง ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ ผมสรุป มี  2 ประเด็นคือ
   1.เกิดจากกลุ่มที่มีความสามารถพิเศษ คือ มีตาทิพย์ไปในอดีต ตั้งแต่ 1 ชาต เป็นต้นไป ทั้งหมดล้วนเมื่อระลึกเห็นได้ แต่ไม่เห็นการไม่เกิดอีก เพียงแต่เห็นการเกิดตายของบุคคลทั่วไป ของตนเองเท่านั้นที่ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ แม้จะย้อนชาติไปเท่าไหร่ ก็ยังเห็นการเวียนว่ายตายเกิดเช่นเดิม กลุ่มพวกนี้จึงกล่าวยืนยัน เรือง อัตตาเที่ยง โลกเที่ยง และที่สำคัญที่สุดกลุ่มคนพวกนี้ เห็นคุณค่าของ ศีล ของ ทาน ของ บุญ ของกรรมด้วย ถึงแม่้พระพุทธเจ้าตรัสยังเป็นความเห็นที่ผิด แต่ส่วนตัว ก็ยังเห็นว่าอย่างน้อยก็ยังเรื่องกรรม และการเกิด พวกนี้น่าจะเข้าถึงธรรมที่เรียกว่าอนัตตาได้ เร็วกว่าบุคคลทั่วไปหากได้รับการศึกษาเรื่อง วิปัสสนาโดยตรง

   2.กลุ่มนักคิด ตรรกะ ที่เรียกว่าผู้คงแก่การเรียน ที่วิเคราะห์ในเชิงต่าง ๆ ในด้านการอธิบาย ก็ช่วยยืนยันว่า อัตตานี้เที่ยง โลกเที่ยง ไม่มีสูญสลาย เหมือนพวกนักวิทยาศาสตร์ที่ออกค้นอะไรทั่วโลก นอกโลก กลุ่มนี้ถึงอย่างไรก็เรียกว่า กลุ่มนักตรึก นักคิด ส่วนตัวก็คืิดว่าน่าจะมีโอกาสในธรรมอยูบ้างครับ
   
    สำหรับทิฏฐิทั้งสองประการนี้ ผมไม่เห็นคล้อยตามถึงแม้ผมจะไม่มีฤทธิ์ระลึกชาติได้ หรือ ตรึกคิดในมุมไหน ผมกลับมีศรัทธาเชื่อในธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว้า การสิ้นสุดสังสารวัฏ เป็นสิ่งที่หมายและเหมือนความหวังที่กำเนิดเกิดขึ้นเพื่อรอสิ่งนี้  แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าเราพลาดมาถึงปัจจุบันนี้กี่ชาติแล้วครับ

    :s_hi: :25: :c017:
บันทึกการเข้า
ธรรมจักรสถิตอยู่ ณ ที่ใด ที่นั้นมีแต่ความร่มเย็น

ส้ม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 184
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นบทความที่คิดว่า พระอาจารย์ออกมาเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก อีกเรื่องหนึ่งคะ พยายามอ่านทบทวนอยู่เช่นกันคะว่าเราเข้าไปทิฏฐินี้หรือไม่ แต่ก็ตอบว่า เชื่อว่าต้องมีการเกิดอีก คะถ้ายังไม่สำเร็จธรรม แต่เรื่องว่าเที่ยงนี้ คือการเกิดจะเที่ยงแท้ต่อไป ถ้าเรายังไมเห็นธรรมที่เรียกว่า อนิตตนา นะคะ

    :88: :49: :25: :c017:
บันทึกการเข้า
เส้นทางแสนเปรี้ยว จะมีสุขจริงบ้างหรือไม่ ?

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นบทความที่ดี ถ้าตั้งใจอ่าน ปกติผมเป็นผู้ที่อ่านบทความยาวไม่ค่อยเก่ง ถ้าพระอาจารย์ออกเป็นตอน ๆ น่าจะตามอ่านได้อย่างดีนะครับ

   :25: :c017:
บันทึกการเข้า

magicmo

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 122
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบพระคุณมากๆครับ
บันทึกการเข้า
ขายส่งชุดชั้นในราคาไม่แพงเครื่องกรองน้ำ ดื่มสะอาดสนามกีฬา ฟุตบอลหญ้าเทียม เช่าราคาถูก

intro

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 77
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
แสดงว่า กระทู้นี้ยังไม่จบ สินะครับ

ติดตามอ่านอยู่นะครับ ได้ใจความที่เข้าใจง่าย ดีมากเลยครับ จากที่ผมอ่านมาก็ในส่วน สัสตะวาทะ ที่พวกที่แรก คือ มีแนวคิด 4 ประการ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

   1. กลุ่มผู้อิทธิฤทธิ์ ถึงขึ้น ระลึกชาติได้ อย่างเป็นแสนกัปป์
    2.กลุ่มนักคิด แนว วิทยาศาสตร คือ เชื่อสิ่งที่เห็น

  แต่ทั้งสองกลุ่ม ก็เห็นแล้วจึง เชื่อ

   กลุ่มที่ 1 ดูหนังกี่รอบก้เป็นเช่นเดิม จึงสรุป ว่า อัตตา เที่ยง โลก เที่ยง เป็นต้น

   กลุ่มที่ 2 ประเมิน อนุมาน คิดคาดการณ์ เอาเพราะเห็นอยู่ว่า อัตตา เป็นอย่างนี้ โลกเป็นอย่างนี้

   ขอบคุณมากครับ

  :25: :c017:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ขอให้ ศิษย์ ทุกท่านทบทวนเรื่องนี้กันก่อนที่จะได้อธิบาย เพิ่มเติม ต่อ ในทิฏฐิ ต่อไป เจริญธรรม / เจริญพร

  ;) Aeva Debug: 0.0004 seconds.
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

bangsan

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 109
  • ( รูปพระอาจารย์ กิตติวุฑโท )
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ด้วยความเคารพ กำลังทบทวน อ่านกลับไปกลับมาอยู่ครับ

  :25: :c017:
บันทึกการเข้า
ธรรม ธรรม ทำ ทำ ธรรม แล้ว ก็ ทำด้วย

SAWWALUK

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นบทความที่อ่านหลายรอบกว่าจะเข้าใจ แต่ ก็ยังไม่เข้าใจว่า เกี่ยวเนื่องกับการภาวนาอย่างไร คะ

  :c017: :25:
บันทึกการเข้า

SAWWALUK

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
[๕๙๒] สัมมาทิฐิเป็นวิราคะเพราะความเห็น
         สัมมาสังกัปปะเป็นวิราคะเพราะความดำริ
         สัมมาวาจาเป็นวิราคะเพราะความกำหนด
         สัมมากัมมันตะเป็นวิราคะเพราะความตั้งขึ้นไว้ชอบ
         สัมมาอาชีวะเป็นวิราคะเพราะชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้ว
         สัมมาวายามะเป็นวิราคะเพราะประคองไว้
         สัมมาสติเป็นวิราคะเพราะตั้งมั่น
         สัมมาสมาธิเป็นวิราคะเพราะไม่ฟุ้งซ่าน
        สติสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะตั้งมั่น
        ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะเลือกเฟ้น
        วิริยสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะประคองไว้
        ปีติสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะแผ่ซ่านไป
        ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความสงบ
        สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความไม่ฟุ้งซ่าน
        อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความพิจารณาหาทาง
        สัทธาพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา
        วิริยพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน
        สติพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความประมาท
        สมาธิพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ
        ปัญญาพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา
        สัทธินทรีย์เป็นวิราคะ เพราะความน้อมใจเชื่อ
        วิริยินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความประคองไว้
        สตินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความตั้งมั่น
        สมาธินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความไม่ ฟุ้งซ่าน
        ปัญญินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความเห็น
        อินทรีย์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่พละเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว
        โพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่านำออกไป
        มรรคเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ
        สติปัฏฐานเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าตั้งมั่น
        สัมมัปปธานเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเริ่มตั้งไว้
        อิทธิบาทเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ
        สัจจะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นของถ่องแท้สมถะเป็นวิราคะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
        วิปัสสนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น
        สมถวิปัสสนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน
        ธรรมที่คู่กันเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน
        สีลวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าสำรวมจิตตวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
        ทิฐิวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเห็น
        วิโมกข์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าพ้นวิเศษ
        วิชชาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าแทงตลอด
        วิมุติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าสละ
        ขยญาณเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าตัดขาด
        ฉันทะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นมูล
        มนสิการเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน
        ผัสสะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม
        เวทนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุมลง
        สมาธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นประธาน
       สติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่
       ปัญญาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้นๆ
       วิมุติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นสารธรรม
       สัมมาทิฐิเป็นมรรคเพราะความเห็น
       สัมมาสังกัปปะเป็นมรรคเพราะความดำริ ฯลฯ
       นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด วิราคะเป็นมรรคอย่างนี้ ฯ

คำถามจากเมล เรื่อง การจางคลายจากกิเลส มีหลักการอย่างไร
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1611.0
บันทึกการเข้า