ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะสาระวันนี้ "พอเพียง เป็นกรรมฐาน ที่อยู่คู่นักภาวนา"  (อ่าน 5549 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ธรรมะสาระวันนี้ "พอเพียง เป็นกรรมฐาน ที่อยู่คู่นักภาวนา"

 วันนี้จะมาบอกเล่ากรรมฐาน กันต่อ ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าช่วงนี้อาตมาออกบทความที่ออกจะหนัก ๆ ให้กับท่านทั้งหลายได้อ่านกันไปหลายเรื่อง ทั้งฟังเสียงบ่นในกระทู้ และจดหมาย และบางคำถามก็ถามคำถามที่ง่าย ๆ อย่างไม่คิดว่าน่าจะไม่รู้กันเลย
 
  ดังนั้นวันนี้ก็จะมานำเสนอหัวข้อกรรมฐานสำคัญคือ กรรมฐานที่ขาดไม่ได้ นั่นก็คือ กรรมฐานพอเพียง ย้ำว่าทำให้เกิดความพอเพียงแก่ผู้ปฏิบัตินะ ถ้าไม่ต้องการพอเพียงก็เป็นนักภาวนาไม่ได้

  สำหรับกรรมฐาน นี้ ถ้าเป็นระดับ อุปจาระฌาน แล้วต้องปฏิบัติภาวนาเช่นเดียวกับขั้นตอนของกรรมฐาน แต่กรรมฐานนี้เป็น ได้ทั้ง สมถะและ วิปัสสนา นะจ๊ะ นั่นก็คือ " อาหาเรปฏิกูลสัญญา "





  (ข)    ธรรม    ๕    ประการที่ควรเจริญ    คืออะไร
      คือ    สัมมาสมาธิ    ประกอบด้วยองค์    ๕    ได้แก่
          ๑.    มีปีติแผ่ไป
          ๒.    มีสุขแผ่ไป
          ๓.    มีการกำหนดรู้จิตผู้อื่นแผ่ไป
          ๔.    มีแสงสว่าง๑แผ่ไป
          ๕.    ปัจจเวกขณญาณเป็นนิมิต
    นี้    คือธรรม    ๕    ประการที่ควรเจริญ




อาหาเรปฏิกูลสัญญา ความสำคัญมั่นหมายว่าอาหารเป็นสิ่งปฏิกูล มีการพิจารณาว่าอยู่ 3 สภาพ
 คือ สภาพก่อนจะได้อาหาร
     สภาพเมื่อได้รับอาหาร
     สภาพเมื่ออาหารได้ถูกบริโภคแล้ว

    เป้าหมายคือ ให้ผู้ปฏิบัติภาวนารู้จัก พอเพียงในการบริโภคไม่ หลงใหลกับ รส กับ กลิ่น กับผัสสะ กับรูป ของอาหาร เพียงบริโภคเพื่อให้มีชีิวิต เพราะสิ่งปฏิกูลย่อมมีประโยชน์เพื่อ ประทังชีวิต คลายความหิว และเพื่อยังอัตตภาพคือ กายให้มีกำลัง และชีวิตในการภาวนาต่อไป

  ดังนั้นอาหาเรปฏิกูลสัญญา จัดเป็นกรรมฐานที่เป็น วิปัสสนาโดยตรง เพราะอาศัยเหตุแห่งสติในการพิจารณา และเมื่อใดจิต กำหนดนิมิตอารมณ์ สภาพปฏิกูลของอาหารได้ ก็จะได้ลักษณะที่เป็นทิพย์คือ นิมิต เป็นองค์กำหนดกรรมฐาน สนับสนุนกำลังวิปัสสนา จากหยาบ สู่ ความประณีต จากความประณีต สู่ธาตุ

  อาหาเรปฏิกูลสัญญา ปรากฏชื่อในขั้นตอนปฏิบัติเรียกว่า สัญญา 10 ประการ


  พระสุตตันตปิฎก  อังคุตตรนิกาย  สัตตกนิบาต  ๕.มหายัญญวรรค  ๖.ทุติยสัญญาสูตร

  เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า    ‘อาหาเร    ปฏิกูลสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้วย่อมมีผลมาก    มีอานิสงส์มาก    หยั่งลงสู่อมตะ    มีอมตะเป็นที่สุด‘    เพราะอาศัยเหตุอะไร    เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

 ภิกษุทั้งหลาย    เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า    ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอาหาเร    ปฏิกูล-สัญญาอยู่โดยมาก    จิตย่อมหดกลับ    งอกลับ    หมุนกลับ    ไม่ออกไปรับตัณหาในรสอุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่    ขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่เข้าไปในไฟย่อมหดกลับ    งอกลับ    หมุนกลับ    ไม่คลี่ออก    ฉันใด    ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก    จิตย่อมหดกลับ    งอกลับ    หมุนกลับ    ไม่ออกไปรับตัณหาในรสฉันนั้นเหมือนกันแล    อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่
            ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอาหาเร    ปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก    จิตย่อมไหลไปตามตัณหาในรส    ความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่    ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า    ‘อาหาเรปฏิกูลสัญญา    เรามิได้เจริญแล้ว    คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงไม่มีแก่เราภาวนาพละของเรายังไม่ถึงที่’    เพราะฉะนั้น    ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในอาหาเร    ปฏิกูลสัญญานั้น
            แต่ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอาหาเร    ปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก    จิตย่อมหดกลับ    งอกลับ    ฯลฯ    ตัณหาในรส    อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า    ‘อาหาเร    ปฏิกูลสัญญา    เราเจริญดีแล้ว    คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงมีแก่เรา    ภาวนาพละของเราถึงที่แล้ว’    เพราะฉะนั้น    ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในอาหาเร    ปฏิกูลสัญญานั้น
            เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า  '  ‘อาหาเร    ปฏิกูลสัญญาที่ภิกษุเจริญ    ทำให้มากแล้วย่อมมีผลมาก    มีอานิสงส์มาก    หยั่งลงสู่อมตะ    มีอมตะเป็นที่สุด'’    (๓)




สำหรับพระภิกษุ การเจริญ อาหาเรปฏิูกูลสัญญา นั้นถูกถ่ายทอดวิธีการปฏิบัติไว้ ด้วยวิธีการพิจารณาปัจจัย 4 ซึ่งพระภิกษุจะใช้ สวดเตือนสติ ในระหว่างที่ก่อนใช้สอยปัจจัย 4 ระหว่างใช้สอยปัจจัย 4 และ ใช้สอยปัจจัย 4 แล้ว
    บทที่ว่า ก็มี บท ปฏิสังขาโย อันนี้ก่อนใช้ปัจจัย 4
                 บท ยถาปัจจะยัง อันนี้ระหว่างใช้ปัจจัย 4
                 บท อัชชะมะยา  อันนี้หลังจากใช้สอยปัจจัย 4
  ดังนั้นเวลาผู้ภาวนา เข้าไปปฏิบัตภาวนา ในสำนักต่าง ๆ ธรรมที่เรียกว่า ปัจเวกขณปัจจัยนี้ จึงถูกสอดแทรกไว้ให้ผู้ภาวนาได้ร่วมสวด และ ร่วมใช้ ที่นี้ถ้าสวดอย่างเดียวก็ยังดี สมัยหนึ่งอาจจะเข้าใจ แต่ถ้าสวดแล้วทำความเข้าใจด้วยสติ ระลึได้ มีสัมปชัญญะรู้ตัว ก็จะทำให้จิตพ้นจากการครอบครองปัจจัย 4

   ผลการภาวนาเบื้องต้นก็คือ จิตผ่องใส จากปัจจจัย 4 รู้จักใช้สอย จิตมีความพอเพียงไม่บริโภคเกินความพอดี ไม่ใช้สอยเกินความต้องการ ไม่แสวงหาให้ซับซ้อน คุณสมบัติเหล่านี้อาจจะไม่เหมาะกับชาวบ้าน แต่เหมาะกับผู้ที่มีความปรารถนาในการพ้นจากทุกข์ พ้นจากสังสารวัฏ เพราะต้องดำเนินสติสัมปชัญญะได้อย่างนี้ จึงทำให้ชีวิต รุ้จักพอ ไม่แสวงหาเกินจำเป็น

   ในส่วนของสมถะกรรมฐาน จักยังไม่กล่าวถึงเพราะธรรมส่วนนี้มุ่งเป็นวิปัสสนา คือทำให้จิตรู้ตื่น ไม่หลง กับปัจจัยสี่ มีอาหารเป็นต้น

  เจริญธรรม / เจริญพร



 

 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 08, 2012, 10:37:20 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
อาหาเรปฏิกูลสัญญา ส่วนของกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 10:47:53 am »
0
คำอาราธนาอาหาเรปฏิกูลสัญญา
               ข้าฯขอภาวนาอาหาเรปฏิกูลสัญญา เพื่อจะขอเอาอุปจารสมาธิ ในห้องอาหาเรปฏิกูลสัญญา ในบทอันชื่อว่า คมนโต นี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด ฯลฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด
               อุกาสะในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า เพื่อจะขอเอายังอุปจารสมาธิ ในห้องอาหาเรปฏิกูลสัญญา ในบทอันชื่อว่า คมนโต นี้จงได้ ขอจงเจ้ากูมาบังเกิดปรากฏ ในจักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาอยู่นี้เถิด
อิติปิโสฯลฯ ภควาติ สัมมาอะระหัง ๓ ที อะระหัง ๓ ที
คำภาวนาอาหาเรปฏิกูลสัญญา
   ๑.คมนโต    ปฏิกูลัง
   ๒.ปริเยสนโต ปฏิกูลัง
   ๓.ปริโภคโต    ปฏิกูลัง
   ๔.อาสยโต    ปฏิกูลัง
   ๕.นิธานโต   ปฏิกูลัง
   ๖.อปริปกฺโต    ปฏิกูลัง
   ๗.ปริปกฺโต    ปฏิกูลัง
   ๘.ผลโต    ปฏิกูลัง
   ๙.นิสสนฺทโต   ปฏิกูลัง
   ๑๐.สมฺมกฺขนโต ปฏิกูลัง


   อธิบาย อาหาเรปฏิกูลสัญญา  อาหาเรปฏิกูลสัญญา คือ ความสำคัญหมายว่า ไม่สะอาดในอาหาร แปลว่า สภาพผู้นำมา อาหารมี ๔ อย่าง
   ๑.กวฬิงการาหาร ย่อมนำมาซึ่งโอชาในรสอาหาร
   ๒.ผัสสาหาร ย่อมนำเวทนามา มี สุข เป็นต้น
   ๓.มโนสัญเจตนาหาร ย่อมนำปฏิสนธิ ในภพ ๓ มา
   ๔.วิญญาณาหาร ย่อมนำอายตนะภายนอก ๖ มา

   อาหาร ๔ อย่างภัยย่อมนำมา มี กวฬิงการาหาร ภัยคือ ความเข้าไปหา ย่อมมีเพราะผัสสาหาร คือการเข้าถึง ย่อมมีในมโนสัญเจตนาหาร ภัย คือ ปฏิสนธิ ย่อมมีในวิญญาณาหาร ในอาหารทั้งหลายมีภัยจำเพาะ จึงควรสอนตนด้วยพุทโธวาท กวฬิงการาหาร เปรียบด้วยเนื้อบุตร ผัสสาหาร เปรียบด้วยโคถลกหนัง มโนสัญเจตนาหาร เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง วิญญาณาหาร เปรียบด้วยหอกหลาว

   ในอาหาร ๔ นี้หมายเอา กวฬิงการาหาร อาหารเป็นคำๆถือเอาที่ปฏิกูลในอาหาร ความปฏิกูลในกพฬิงการาหาร แยกเป็น ของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้ม โดยอาการ ๑๐ คือ โดยการเดินไป-โดยการแสวงหา-โดยการบริโภค-โดยการผสมกลืนไป-โดยการพักในกระเพาะอาหาร-โดยยังไม่ย่อย- โดยผล –โดยการไหลออก- โดยความเปรอะเปื้อน

   ๑.ปฏิกูลโดยการเดินไป(คมนโต) พระโยคาวจรพิจารณาเห็นปฏิกูลเมื่อถือบาตรและจีวรเดินไปในที่ชนไม่เบียดเสียด มุ่งสู่หมู่บ้านเพื่อต้องการอาหาร ดังสุนัขจิ้งจอกมุ่งหน้าสู่ป่าช้า ต้องเจอปฏิกูลด้วยปัสสาวะ อุจจาระ น้ำลาย น้ำมูก ซากสุนัข ซากโค ซากงู ส่งกลิ่นเหม็นมากระทบจมูก
   ๒.ปฏิกูลโดยการแสวงหา(ปริเยสนโต) ต้องถือบาตรด้วยมือข้างหนึ่ง ยกจีวรด้วยมือข้างหนึ่ง ถึงประตูเรือน ต้องย่ำ หลุมโสโครก แอ่งน้ำครำ มูลสุนัข มูลสุกร พระโยคาวจรพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า โอ ปฏิกูลจริงหนอ
   ๓.ปฏิกูลโดยการบริโภค(ปริโภคโต) เธอหย่อนมือลงขยำอาหารอยู่ เหงื่อออกตามนิ้วทั้งห้า บิณฑบาตนั้นเสียความงาม โขลกด้วยสาก คือ ฟัน พลิกไปด้วยลิ้น ราวกะข้าวในรางสุนัข ของดีกลับกลายเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดอย่างยิ่ง
   ๔.ปฏิกูลโดยอาสยะ(อาสยะโต) พิจารณาว่าอาหารที่ได้บริโภคเข้าไปแล้วนี้ มีอาโปอยู่ในลำไส้ออกมาผสมที่กลืนลงไปในลำไส้ เมื่อกำลังเข้าไปในลำไส้ ย่อมเปรอะเปื้อนด้วยน้ำดี เสมหะ หนอง เสลด โลหิต เหมือนยางมะซางข้นๆน่าเกลียดยิ่งนัก
   ๕.ปฏิกูลโดยพักอยู่ในกระเพาะอาหาร(นิธานโต) อาหารที่กลืนเข้าไปเปื้อนด้วยน้ำดี เสมหะ หนอง เลือด เข้าไปพักอยู่ในกระเพาะเช่นหลุมคูถ อุจจาระ อันไม่ได้ล้างมา ๑๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง
   ๖.ปฏิกูลโดยยังไม่ย่อย(อปริปักโต) อาหารที่กลืนลงไปวันนั้น วันนี้บ้าง วันก่อนบ้าง อันฝ้าและเสมหะปิดคลุมไว้ เป็นฟอง เป็นต่อม ระอุสันดาปในร่างกายอบเอา มืดมิดตลบด้วยกลิ่นซากสัตว์ดังป่าช้าส่งกลิ่นน่าเกลียดปฏิกูล
   ๗.ปฏิกูลโดยย่อยแล้ว (ปริปักโต) อาหารเป็นสิ่งย่อยแล้วในร่างกายด้วยไฟธาตุ กลายเป็นอุจจาระ เหมือนดินสีเหลืองที่เขาบดเข้าบรรจุไว้ในกระบอก กลายเป็นมูตรไป
   ๘.ปฏิกูลโดยผล(ผลโต) อาหารย่อยดีแล้วจึงผลิตซากต่างๆ มีขน ผม เล็บ ฟัน เป็นต้น ถ้าย่อยไม่ดีก่อโรค ๑๐๐ ชนิด เช่น เรื้อน กลาก หืด ไอ เป็นต้น นี่ผลมัน
   ๙.ปฏิกูลโดยการไหลออก (นิสสันทโต) อาหารเมื่อกลืนลงไปในช่องเดียว ไหลออกหลายช่อง เช่น ขี้หู ขี้ตา อุจจาระ ปัสสาวะเมื่อออกมาส่งกลิ่นเหม็นน่าเกลียด
   ๑๐.ปฏิกูลโดยความเปลื้อน(สัมมักขนโต) อาหารเมื่อกินก็เปื้อนมือ ปาก เพดานปาก เป็นปฏิกูลเพราะถูกอาหาร เมื่อออกก็เปื้อนทวาร มี ช่องหู ช่องตา ช่องจมูก ช่องทวารหนัก ช่องทวารเบา ทวารเหล่านี้ก็เปื้อน
อาหาเรปฏิกูลสัญญาฌาน


     เมื่อเจริญกวฬิงการาหารย่อมปรากฏเป็นปฏิกูล เมื่อเจริญมากๆทำให้มากซึ่งนิมิต นิวรณธรรมทั้งหลายย่อมระงับ จิตตั้งมั่นเป็นอุปจารสมาธิไม่ถึงอัปปนาสมาธิ เพราะ กวฬิงการาหารเป็น สภาพลึกอานิสงส์แห่งอาหาเรปฏิกูลสัญญา

     ภิกษุประกอบเนืองๆซึ่ง กวฬิงการาหารสัญญานี้ จิตย่อมถอย ย่อมหด จากรสตัณหา ปราศจากความมัวเมาในการกินอาหาร เธอจะกำหนดรูปขันธ์ได้โดย ความกำหนดรู้เบญจกามคุณ


ที่มาจากหนังคู่มือ การปฏิบัติกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ
โดย พระครูสิทธิสังวร
วัดราชสิทธาราม คณะ5


ดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้ที่นี่
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=55.0

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 08, 2012, 11:04:08 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

drift-999

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 239
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ครับ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อ่านแล้วถูกใจครับ อ่านง่าย ๆ ครับ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

วรรณา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 158
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ดูจากข้อปฏิบัติ บริกรรม แล้ว น่าจะเป็นเรื่องของพระใช่หรือไม่คะ
สำหรับ อุบาสก อุบาสิกา ควรจะภาวนา กรณีอย่างนี้ ทำอย่างไรคะ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ก้านตอง

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 195
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พวกกินเจ มังสวิรัติ สงเคราะห์ในการปฏิบัติกรรมฐานส่วนนี้หรือไม่คะ

  :coffee2: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

SAWWALUK

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

nonestop

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 87
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อันที่จริง ผมก้เคยเห็นพระเดินเลือกตักอย่างนี้ บ่อยครับ ถามความรู้สึกผมคือ แล้วมันแตกต่างจากวิธิวางสำหรับตั้งวงให้ตรงไหน เพราะท่านก้เลือกใส่บาตรเหมือนกัน และ ก็เลือกตักเหมือนกัน แถมยังเหลือทิ้งกันครึ่งบาตรด้วครับ ผมไปดูที่ิงเศษอาหารในงานปฏิบัติธรรม มากเลยนะครับ จากบาตรพระสงฆ์

   คือไม่ทราบว่าวิธีเดินตักนี้ ลดกิเลสอย่างไร ? ครับ

   :smiley_confused1: :c017:
บันทึกการเข้า
nonestop  หยุดทำ้ร้าย หยุดเบียดเบียน หยุดการกลับมาเกิด กันเถิดครับ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อันที่จริง ผมก้เคยเห็นพระเดินเลือกตักอย่างนี้ บ่อยครับ ถามความรู้สึกผมคือ แล้วมันแตกต่างจากวิธิวางสำหรับตั้งวงให้ตรงไหน เพราะท่านก้เลือกใส่บาตรเหมือนกัน และ ก็เลือกตักเหมือนกัน แถมยังเหลือทิ้งกันครึ่งบาตรด้วครับ ผมไปดูที่ิงเศษอาหารในงานปฏิบัติธรรม มากเลยนะครับ จากบาตรพระสงฆ์

   คือไม่ทราบว่าวิธีเดินตักนี้ ลดกิเลสอย่างไร ? ครับ

   :smiley_confused1: :c017:

   อันนี้เป้นเรื่องในใจแล้ว แต่ถามว่า การฉันเป็นวง กับ ฉันในบาตร แตกต่างกันตรงไหน
   ก็ตอบว่า ตรงที่รูปแบบ เท่านั้น
   แต่การภาวนา เป็นเรื่องในใจ เป็นเรื่องการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย

   ยกตัวอย่าง หลวงพ่อโต ท่านก็จะปฏิบัติทำในใจ ถ้าคำไหนท่านฉันด้วยความรู้สึกว่าอร่อย ท่านจะคายออก นั่นเป็นวิธีการที่จะกำราบกิเลสในแบบของท่าน แต่ละรูป แต่ละองค์ ก็จะต้องมีการฝึกฝนจิตในภายในกันไปด้วย ส่วนการฉันในบาตรจะทำให้เกิดความสะดวกในเรื่องการจัดการหลายอย่าง และการแจกจ่ายจักทั่วถึง ซึ่งโดยปกติแล้ว ภัตรที่มีความปราณีต จักไม่ถึงพระผู้น้อยที่มีพรรษาน้อยหรือบวชใหม่ เพราะคนส่วนใหญ่จะนำภัตรที่มีความปราณีตไปถวายแก่พระเถระ ซึ่งหลายครั้งที่สังเกต พระเถระก็ไม่ค่อยฉัน คุณค่าอาหารนั้นจึงไม่สมประสงค์ของผู้ถวายจริง แม้มีจริงศรัทธาแล้ว แต่พระคุณเจ้ามิได้แจกจ่ายต่อไป ดังนั้น ภัตรจะเสมอภาคเพราะได้รับการสละให้พอเพียงแก่สงฆ์ ในเรื่องการจัดการยังมีประโยขน์อีกหลายเรื่อง

    สำหรับอาหารที่เหลือแล้วนำไปทิ้งนั้น ก็ถึงส่วนแห่งบุญตามทานหากผู้ฉันในบาตรได้ฉันเป็นประจำก้จะประมาณในการ ตักอาหารได้เอง ก็ต้องใช้เวลาหน่อย เพราะใหม่ความหิวอาจจะทำให้ตักมากเกินไปก็เป็นได้

    ดังนั้นส่วนของการพิจารณานั้น ต้องอาศัย สติ และ ปัญญา ควบคู่กันไป

   เจริญธรรม / เจริญพร

   ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา