ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความเสื่อม ๕ ประการ  (อ่าน 5482 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

timeman

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 91
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ความเสื่อม ๕ ประการ
« เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2011, 09:18:00 am »
0
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
             อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
             สัมปทาสูตร
             [๑๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อม ๕ ประการนี้
             ๕ ประการเป็นไฉน คือ
                  ความเสื่อมญาติ ๑
                  ความเสื่อมเพราะโภคะ ๑
                  ความเสื่อมเพราะโรค ๑
                  ความเสื่อมศีล ๑
                  ความเสื่อมทิฐิ ๑
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไปแล้ว ย่อมไม่เข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุแห่งความเสื่อมญาติ เพราะเหตุแห่งความเสื่อมโภคะ
หรือเพราะเหตุแห่งความเสื่อมเพราะโรค
             (แต่ว่า) สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก เพราะเหตุแห่งความเสื่อมศีล หรือเพราะเหตุแห่งความเสื่อมทิฐิ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อม ๕ ประการ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมบัติ ๕ ประการนี้
             ๕ ประการเป็นไฉน คือ
                  สมบัติคือญาติ ๑
                  สมบัติคือโภคะ ๑
                  สมบัติคือความไม่มีโรค ๑
                  สมบัติคือศีล ๑
                  สมบัติคือทิฐิ ๑
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไปแล้ว ย่อมไม่เข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ เพราะเหตุแห่งสมบัติคือญาติ เพราะเหตุแห่งสมบัติคือโภคะ หรือ
เพราะเหตุแห่งสมบัติคือความไม่มีโรค
             (แต่ว่า) สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะเหตุแห่งสมบัติคือศีล หรือเพราะเหตุแห่งสมบัติคือทิฐิ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมบัติ ๕ ประการนี้แล ฯ
             จบสูตรที่ ๑๐
             จบคิลานวรรคที่ ๓

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=3439&Z=3462     
บันทึกการเข้า
ทะลุมิติ มาหา ความจริง ของตัวเอง

translate

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 105
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความเสื่อม ๕ ประการ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 07:41:24 am »
0
ขอวิเคราะห์ ธรรม ยามเช้า คะ

  ความเสื่อม 5 ประการ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสแสดงไว้นั้น พระองค์ ทรงตรัสถึง

   ความเสื่อม 2 ประการ ที่นำไปสู่ อบายภูมิ วินิบาต เมื่อสัตว์ทั้งหลาย ตายไปแล้ว คือ

    1.ความเสื่อมศีล
    2.ความเสื่อมทิฐิ

   ดังนั้น ความเสื่อง ศีล นี่พอจะเข้าใจ คะ

   แต่ความเสื่อมทาง ทิฏฐิ นี่สิค ไม่ค่อยจะเข้าใจ ต้องเป็นทิฏฐิ แบบไหน ที่จะไ่ม่เสื่อม
 หรือเป็น ทิฏฐิ ที่มั่นคงต่อพระรัตนตรัย คือ ทิฏฐิ ที่ไม่เสื่อม

    :smiley_confused1: :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ว่าด้วย นานาทิฏฐิ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 10:23:33 am »
0

   แต่ความเสื่อมทาง ทิฏฐิ นี่สิค ไม่ค่อยจะเข้าใจ ต้องเป็นทิฏฐิ แบบไหน ที่จะไ่ม่เสื่อม
 หรือเป็น ทิฏฐิ ที่มั่นคงต่อพระรัตนตรัย คือ ทิฏฐิ ที่ไม่เสื่อม



ทิฏฐิ ความเห็น, ทฤษฎี;
       ความเห็นผิดมี ๒ คือ
           ๑. สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง
           ๒. อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ;
       อีกหมวดหนึ่ง มี ๓ คือ
           ๑. อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ
           ๒. อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ
           ๓. นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี คือถืออะไรเป็นหลักไม่ได้ เช่น มารดาบิดาไม่มีเป็นต้น;
       ในภาษาไทยมักหมายถึง การดื้อดึงในความเห็น
       (พจนานุกรมเขียน ทิฐิ);
       (ข้อ ๔ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม, ข้อ ๓ ในอนุสัย ๗)


ทิฏฐิบาป ความเห็นลามก


ทิฏฐิปปัตตะ ผู้ถึงทิฏฐิ คือ บรรลุสัมมาทิฏฐิ,
       พระอริยบุคคลตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป จนถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค ที่เป็นผู้มีปัญญินทรีย์แรงกล้า ไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ (ถ้าบรรลุอรหัตตผล กลายเป็นปัญญาวิมุต);
       ดู อริยบุคคล ๗


ทิฏฐิมานะ
       ทิฏฐิ แปลว่า “ความเห็น” ในที่นี้หมายถึง ความเห็นดื้อดึง ถึงผิดก็ไม่ยอมแก้ไข
       มานะ ความถือตัว
       รวม ๒ คำ เป็นทิฏฐิมานะ หมายถึง ถือรั้น อวดดี หรือดึงดื้อถือตัว


ทิฏฐิวิบัติ วิบัตแห่งทิฐิ, ความผิดพลาดแห่งความคิดเห็น, ความเห็นคลาดเคลื่อน ผิดธรรมผิดวินัย ทำให้ประพฤติตนนอกแบบแผน ทำความผิดอยู่เสมอ
       (ข้อ ๓ ในวิบัติ ๔)


ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งความเห็น
       คือ เกิดความรู้ความเข้าใจ มองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง คลายความหลงผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ลงได้
       (ข้อ ๓ ในวิสุทธิ ๗)


ทิฏฐิสามัญญตา ความเป็นผู้มีความเสมอกันโดยทิฐิ, มีความเห็นร่วมกัน, มีความคิดเห็นลงกันได้
       (ข้อ ๖ ในสารณียธรรม ๖)


นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี
       เช่น เห็นว่า ผลบุญผลบาปไม่มี บิดามารดาไม่มี ความดีความชั่วไม่มี
       เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด ที่ร้ายแรงอย่างหนึ่ง;
       ดู ทิฏฐิ


ภวทิฏฐิ ความเห็นเนื่องด้วยภพ,
       ความเห็นว่า อัตตาและโลกจักมีอยู่คงอยู่เที่ยงแท้ตลอดไป เป็นพวกสัสสตทิฏฐิ


มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิด, ความเห็นที่ผิดจากคลองธรรม เช่นเห็นว่าทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น และความเห็นที่ไม่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
       (พจนานุกรมเขียน มิจฉาทิฐิ);
       (ข้อ ๑ ในมิจฉัตตะ ๑๐)


สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน,
       ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่น เห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน เป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐)


สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจจ์ ๔,
       เห็นชอบตามคลองธรรมว่า
           ทำดีมีผลดี
           ทำชั่วมีผลชั่ว
           มารดาบิดามี (คือมีคุณความดีควรแก่ฐานะหนึ่งที่เรียกว่ามารดาบิดา)
           ฯลฯ,
       เห็นถูกต้องตามที่เป็นจริงว่า ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยงเป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในมรรค)


สัมมาทิฏฐิสูตร พระสูตรแสดงความหมายต่างๆ แห่งสัมมาทิฏฐิ เป็นภาษิตของพระสารีบุตร
       (สูตรที่ ๙ ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก)


สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง คือความเห็นว่า อัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป
       เช่น เห็นว่าคนและสัตว์ตายไปแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนดวงชีพหรือเจตภูตหรือมนัสเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง;
       ตรงข้ามกับ อุจเฉททิฏฐิ
       (ข้อ ๑ ในทิฏฐิ ๒)


อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ, เห็นว่าการกระทำไม่มีผล
       อธิบายอย่างง่าย เช่น ทำชั่ว หากไม่มีคนรู้คนเห็น ไม่มีคนชม ไม่มีคนลงโทษ ก็ชื่อว่าไม่เป็นอันทำ
       เป็นมิจฉาทิฏฐิร้ายแรงอย่างหนึ่ง
       (ข้อ ๑ ในทิฏฐิ ๓)


อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ
       คือ ความเห็นผิดว่า คนเราจะได้ดีหรือชั่วตามคราวเคราะห์ ถึงคราวจะดี ก็ดีเอง ถึงคราวจะร้าย ก็ร้ายเอง ไม่มีเหตุอื่นจะทำให้คนดีคนชั่วได้
       (ข้อ ๒ ในทิฏฐิ ๓)


อัตตานุทิฏฐิ ความตามเห็นว่าเป็นตัวตน


อันตคาหิกทิฏฐิ ความเห็นที่ยึดเอาที่สุด
       คือ แล่นไปถึงที่สุดในเรื่องหนึ่งๆ มี ๑๐ อย่าง คือ
           ๑. โลกเที่ยง
           ๒. โลกไม่เที่ยง
           ๓. โลกมีที่สุด
           ๔. โลกไม่มีที่สุด
           ๕. ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น
           ๖. ชีพก็อย่าง สรีระก็อย่าง
           ๗. สัตว์ตายแล้ว ยังมีอยู่
           ๘. สัตว์ตายแล้ว ย่อมไม่มี
           ๙. สัตว์ตายแล้วทั้งมีอยู่ ทั้งไม่มี
           ๑๐. สัตว์ตายแล้วจะมีอยู่ ก็ไม่ใช่ ไม่มีอยู่ ก็ไม่ใช่


อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ เช่น เห็นว่าคนและสัตว์จุติจากอัตภาพนี้ แล้วขาดสูญ;
       ตรงข้ามกับ สัสสตทิฏฐิ
       (ข้อ ๒ ในทิฏฐิ ๒)

อ้า่งอิง
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%B7%D4%AF%B0%D4
ขอบคุณภาพจาก www.bloggang.com/,www.phuketdata.net/



หามาไขข้อข้องใจของคุณ translate ส่วนตัวแล้ว เห็นว่า ทิฏฐิที่สำคัญและควรทำความเข้าในเบื้องต้น
คือ สัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิ สักกายทิฏฐิ

 :welcome: :49: ;)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความเสื่อม ๕ ประการ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 05:20:07 pm »
0
อนุโมทนา สาธุ คะ ตอบได้ละเอียด ดีคะ

 :25: :25: :88:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ความเสื่อม ๕ ประการ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 08:25:26 pm »
0

   แต่ความเสื่อมทาง ทิฏฐิ นี่สิค ไม่ค่อยจะเข้าใจ ต้องเป็นทิฏฐิ แบบไหน ที่จะไ่ม่เสื่อม
 หรือเป็น ทิฏฐิ ที่มั่นคงต่อพระรัตนตรัย คือ ทิฏฐิ ที่ไม่เสื่อม


  คนที่มีทิฏฐิ ที่ไม่เสื่อม ต้องเป็นอริยบุคคล อย่างต่ำก็ต้องเป็นโสดาบัน(ปัตติผล)

  เนื่องจากละสังโยชน์สามข้อแรกได้ คือ สักกายทิฏฐิ สีลพตปรามาส และวิจิกิจฉา

  คุณธรรมของโสดาบัน คือ มีศีลบริบูรณ์ มั่นคงและไม่สงสัยในพระรัตนตรัย มีจิตมุ่งตรงนิพพานไม่เสื่อม


   :49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ