สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: catwoman ที่ เมษายน 19, 2013, 11:25:16 am



หัวข้อ: พระฉันในบาตร ผิด หรือ ถูก พระฉันนอกบาตร สมควร หรือ ไม่สมควร
เริ่มหัวข้อโดย: catwoman ที่ เมษายน 19, 2013, 11:25:16 am
 ask1

   คือไปทำบุญมาคะ บางวัดก็ให้พระฉันในบาตร บางวัดก็ัจัดเป็นสำรับ เป็นองค์เป็นรูป ไม่ทราบวิธีการไหน ถูกหรือผิด คะ

  thk56


หัวข้อ: Re: พระฉันในบาตร ผิด หรือ ถูก พระฉันนอกบาตร สมควร หรือ ไม่สมควร
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ เมษายน 20, 2013, 07:31:58 pm

(http://www.bloggang.com/data/vj01/picture/1272461120.jpg)

ธุดงค์วัตร 13 ข้อ

ธุดงควัตร คือข้อปฏิบัติที่เข้มงวดเป็นพิเศษ เพื่อความขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบังคับให้ภิกษุถือปฏิบัติ ใครจะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ผู้ที่จะปฏิบัติธุดงควัตรนั้น สามารถเลือกได้เองตามความสมัครใจ ว่าจะปฏิบัติข้อใดบ้าง เป็นเวลานานเท่าใด เมื่อจะถือปฏิบัติก็เพียงแต่กล่าวคำสมาทานธุดงควัตรข้อที่ตนเลือก แล้วก็เริ่มปฏิบัติได้เลย ธุดงควัตรมี 13 ข้อคือ

หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับจีวร)

1.) การถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คือการใช้แต่ผ้าเก่าที่คนเขาทิ้งเอาไว้ตามกองขยะบ้าง ข้างถนนบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง นำผ้าเหล่านั้นมาซัก ย้อมสี เย็บต่อกันจนเป็นผืนใหญ่แล้วนำมาใช้ งดเว้นจากการใช้ผ้าใหม่ทุกชนิด (บังสุกุล = คลุกฝุ่น)

2.) การถือผ้า 3 ผืน (ไตรจีวร) เป็นวัตร คือการใช้ผ้าเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น อันได้แก่ สบง(ผ้านุ่ง) จีวร(ผ้าห่ม) สังฆาฏิ(ผ้าสารพัดประโยชน์ เช่น คลุมกันหนาว ปูนั่ง ปูนอน ปัดฝุ่น ใช้แทนสบง หรือจีวรเพื่อซักผ้าเหล่านั้น ปัจจุบันภิกษุไทยมักใช้พาดบ่าเมื่อประกอบพิธีกรรม)



(https://fbcdn-sphotos-d-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/554241_4079331661976_753166690_n.jpg)


หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับบิณฑบาต)


3.) การถือบิณฑบาตเป็นวัตร คือการบริโภคอาหารเฉพาะที่ได้มาจากการรับบิณฑบาตเท่านั้น ไม่บริโภคอาหารที่คนเขานิมนต์ไปฉันตามบ้าน

4.) ถือการบิณฑบาตตามลำดับบ้านเป็นวัตร คือจะรับบิณฑบาตโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่เลือกว่าเป็นบ้านคนรวยคนจน ไม่เลือกว่าอาหารดีไม่ดี มีใครใส่บาตรก็รับไปตามลำดับ ไม่ข้ามบ้านที่ไม่ถูกใจไป

5.) ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ในแต่ละวันจะบริโภคอาหารเพียงครั้งเดียว เมื่อนั่งแล้วก็ฉันจนเสร็จ หลังจากนั้นก็จะไม่บริโภคอาหารอะไรอีกเลย นอกจากน้ำดื่ม

6.) ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร คือจะนำอาหารทุกชนิดที่จะบริโภคในมื้อนั้น มารวมกันในบาตร แล้วจึงฉันอาหารนั้น เพื่อไม่ให้ติดในรสชาดของอาหาร

7.) ถือการห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร คือเมื่อรับอาหารมามากพอแล้ว ตัดสินใจว่าจะไม่รับอะไรเพิ่มอีกแล้ว หลังจากนั้นถึงแม้มีใครนำอะไรมาถวายเพิ่มอีก ก็จะไม่รับอะไรเพิ่มอีกเลย ถึงแม้อาหารนั้นจะถูกใจเพียงใดก็ตาม



(http://picdb.thaimisc.com/b/bangsaen15/866-64.jpg)


หมวดที่ ๓ เสนาสนปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับเสนาสนะ )

8.) ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร คือจะอยู่อาศัยเฉพาะในป่าเท่านั้น จะไม่อยู่ในหมู่บ้านเลย เพื่อไม่ให้ความพลุกพล่านวุ่นวายของเมืองรบกวนการปฏิบัติ หรือเพื่อป้องกันการพอกพูนของกิเลส

9.) ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร คือจะพักอาศัยอยู่ใต้ต้นไม้เท่านั้น งดเว้นจากการอยู่ในที่มีหลังคาที่สร้างขึ้นมามุงบัง

10.) ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร คือจะอยู่แต่ในที่กลางแจ้งเท่านั้น จะไม่เข้าสู่ที่มุงบังใดๆ เลย แม้แต่โคนต้นไม้ เพื่อไม่ให้ติดในที่อยู่อาศัย

11.) ถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร คือจะงดเว้นจากที่พักอันสุขสบายทั้งหลาย แล้วไปอาศัยอยู่ในป่าช้า เพื่อจะได้ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ ไม่ประมาท

12.) ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เป็นวัตร คือเมื่อใครชี้ให้ไปพักที่ไหน หรือจัดที่พักอย่างใดไว้ให้ ก็พักอาศัยในที่นั้นๆ โดยไม่เลือกว่าสะดวกสบาย หรือถูกใจหรือไม่ และเมื่อมีใครขอให้สละที่พักที่กำลังพักอาศัยอยู่นั้น ก็พร้อมจะสละได้ทันที

13.) ถือการนั่งเป็นวัตร คือจะงดเว้นอิริยาบถนอน จะอยู่ใน 3 อิริยาบทเท่านั้น คือ ยืน เดิน นั่ง จะไม่เอนตัวลงให้หลังสัมผัสพื้นเลย ถ้าง่วงมากก็จะใช้การนั่งหลับเท่านั้น เพื่อไม่ให้เพลิดเพลินในการนอน


ที่มา http://www.watkoh.com/data/ssn_dhm/tudong13.ph (http://www.watkoh.com/data/ssn_dhm/tudong13.ph)
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/,https://fbcdn-sphotos-d-a.akamaihd.net/,http://picdb.thaimisc.com/ (http://www.bloggang.com/,https://fbcdn-sphotos-d-a.akamaihd.net/,http://picdb.thaimisc.com/)


หัวข้อ: Re: พระฉันในบาตร ผิด หรือ ถูก พระฉันนอกบาตร สมควร หรือ ไม่สมควร
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ เมษายน 20, 2013, 07:48:34 pm

(http://2.bp.blogspot.com/_jsG6iyIU1vM/RuO5tcqHUWI/AAAAAAAAAoo/X3hw1aLOc08/s400/DSCN1355.JPG)

วัดป่าสายหลวงปู่มั่น มีระเบียบเกี่ยวกับการฉันเป็นอย่างเดียวกัน คือ ฉันมื้อเดียวในตอนสาย ฉันอาหารที่ได้จากบิณฑบาต และฉันในบาตร มีเฉพาะน้ำและสิ่งที่ใช้ดื่มเท่านั้นที่ใส่ถ้วยไว้นอกบาตรได้
    ดังนั้นพระป่าต้องออกบิณฑบาตทุกวัน นอกจากอาพาธหรือเดินไม่ได้
    ธรรมดาวัดป่าจะอยู่ห่างจากหมู่บ้าน เพื่อให้พ้นจากการรบกวนจากคน สัตว์ และเสียง
    แต่จะต้องไม่ไกลเกินไปจนเดินไปบิณฑบาตไม่ไหว
    โดยมากจะอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณสองถึงสามกิโลเมตร พอจะเดินไปกลับได้ภายในหนึ่งชั่วโมงครึ่ง

ตามปกติจะออกจากวัดประมาณ หกโมงเช้าเศษ หลังจากทำความสะอาดตอนเช้าเสร็จ ก่อนจะออกบิณฑบาตต้องจัดบาตรให้พร้อมโดยผูกมัดบาตรให้แน่น และเรียบร้อย ท่านจะสะพายบาตรไปบิณฑบาต เวลาออกจากวัดจะเดินไปเป็นกลุ่ม พระภิกษุผู้น้อยจะอยู่ข้างหน้า พระผู้ใหญ่อยู่ข้างหลัง
    พอเข้าเขตบ้านพระภิกษุข้างหน้าจะหยุดคอยให้พระผู้ใหญ่นำเดินเข้าหมู่บ้านเป็นแถวเรียงหนึ่ง ตามลำดับอาวุโส
    และรับอาหารอย่างเป็นระเบียบน่าดู เมื่อรับไปทั่วแล้วก็วกกลับวัด
    บางทีพระผู้น้อยจะรับบาตรของพระผู้ใหญ่ไปสะพายแทน
    บางทีชาวบ้านขออาสาสะพายหรืออุ้มบาตรไปส่งจนถึงวัด


(http://www.dmc.tv/images/ScoopUpdate/Dream/D530222/D530222p14.jpg)

    การฉันภัตตาหารพระภิกษุทุกรูปจะขึ้นไปรวมบนศาลาที่นั่งฉัน แล้วเข้าที่นั่งฉันจัดอาหารลงบาตร ที่นั่งนั้นได้จัดปูอาสนะไว้เรียบร้อยก่อนออกบิณฑบาต การนั่งจะเรียงตามอาวุโส พระภิกษุทุกรูปจะถ่ายบาตรเอาอาหารใส่ลงในถาดที่วางไว้เป็นของกลาง

     พระภิกษุที่เป็นเจ้าหน้าที่ยกถาดไปถวายให้สมภารก่อนแล้ว จึงส่งต่อไปตามลำดับ อาหารที่เลือกไว้แต่ละรูป จะจัดลงในบาตรเพื่อจะฉันต่อไป เสร็จแล้วเอาผ้าปิดปากบาตรไว้ คอยจนเสร็จพร้อมกัน พระภิกษุที่เป็นประธานว่าบท ยถา..สัพพี เสร็จแล้วจึงเปิดผ้าคลุมบาตรขึ้นพร้อมกัน พิจารณาอาหารในบาตรตามหลักที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ เช่น ให้สำนึกว่าฉันภัตตาหาร เพื่อให้คลายทุกข์ที่เกิดจากความหิว ไม่ใช่เพื่อความมีรสอร่อย ฯลฯ

     เสร็จแล้วจึงเริ่มฉันระหว่างนั้นไม่มีการพูดจากัน เพราะต่างก็พิจารณาไปเรื่อย ๆ เมื่อฉันเสร็จก็เช็ดถูพื้นศาลาตรงบริเวณที่ตัวนั่ง ยกบาตรออก เก็บเครื่องปูลาดเข้าที่ อาหารเหลือก้นบาตรเทลงถาดมอบให้แก่ผู้ที่ต้องการ นำบาตรไปล้างและเช็ดถูจนสะอาดแล้วคว่ำผึ่งแดดให้แห้ง

      บาตรเป็นบริขารที่สำคัญยิ่งสำหรับพระป่า จะไปไหนต้องเอาไปด้วยเสมอ บาตรมักจะใหญ่กว่าบาตรของพระบ้าน แต่เป็นเพราะท่านถือธุดงค์ฉันในบาตร ถ้าบาตรแคบจะฉันไม่สะดวก นอกจากนั้นเวลาท่านเดินทางยังใช้บาตรบรรจุเครื่องอัฐบริขารต่าง ๆ แล้วสะพายไปจึงต้องรักษาบาตรให้สะอาด แล้วผึ่งแดดให้แห้งสนิท ต้องรักษาไม่ให้เกิดสนิม


http://www.dhammajak.net/phrapa/4.html (http://www.dhammajak.net/phrapa/4.html)


หัวข้อ: Re: พระฉันในบาตร ผิด หรือ ถูก พระฉันนอกบาตร สมควร หรือ ไม่สมควร
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ เมษายน 20, 2013, 08:02:56 pm
ask1

   คือไปทำบุญมาคะ บางวัดก็ให้พระฉันในบาตร บางวัดก็ัจัดเป็นสำรับ เป็นองค์เป็นรูป ไม่ทราบวิธีการไหน ถูกหรือผิด คะ

  thk56


(http://i.ytimg.com/vi/mh31fY5WSCs/hqdefault.jpg)
ภาพจาก http://i.ytimg.com/ (http://i.ytimg.com/)


    ans1 ans1 ans1
   
    การฉันในบาตรอยู่ในธุดงค์วัตร พระพุทธเจ้าไม่ได้บังคับ ใครจะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติก็ได้
    ดังนั้น จึงไม่มีวิธีไหนถูกหรือวิธีไหนผิด การฉันในบาตรส่วนใหญ่เป็นวัตรของวัดป่า
    แต่ขอให้สังเกตว่า วัดสังฆทาน นนทบุรี ของหลวงพ่อสนอง ก็ฉันในบาตรเหมือนกัน
    ดังนั้น ธุดงด์วัตรไม่จำเป็นต้องอยู่ในป่าเสมอไป

     :25: :25: :25: