ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถามเรื่อง สุข ของสมาธิ คะ  (อ่าน 7790 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

pinmanee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 163
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ถามเรื่อง สุข ของสมาธิ คะ
« เมื่อ: สิงหาคม 24, 2011, 10:17:26 am »
0
เพื่อเป็นการทำความเข้าใจ เพราะอ่านมาหลายกระทู้ และ มักจะพูดถึงการติดสุข ของสมาธิ

จึงมีความคิดว่า อย่างนั้น เรา มาทำความเข้าใจ กับคำว่า สุข ของ สมาธิ กันก่อนดีหรือไม่คะ

เพราะส่วนตัว ก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจเลยคะ ว่า สุข ของ สมาธิ คือ อะไร บางท่านก็บอกว่า ความสบายใจ คือ

สุขสมาธิ อย่างนี้ใช่หรือไม่คะ

  ขอให้ศิษย์ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ทุกท่าน ช่วยไขข้อข้องใจ นี้ด้วยคะ

  :25: :25: :25: :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ถามเรื่อง สุข ของสมาธิ คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2011, 12:00:12 pm »
0
ขอบคุณภาพจากwww.dmc.tv

สุข ความสบาย, ความสำราญ, มี ๒
           ๑. กายิกสุข สุขทางกาย
           ๒. เจตสิกสุข สุขทางใจ,
       อีกหมวดหนึ่ง มี ๒ คือ
           ๑. สามิสสุข สุขอิงอามิส คืออาศัยกามคุณ
           ๒. นิรามิสสุข สุขไม่อิงอามิส คืออิงเนกขัมมะ
       (ท่านแบ่งเป็นคู่ๆ อย่างนี้อีกหลายหมวด)


อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


สุขของคฤหัสถ์ สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี และควรขวนขวายให้มีอยู่เสมอ มี ๔ อย่างคือ
       ๑. สุขเกิดจากความมีทรัพย์ (ที่ได้มาด้วยเรี่ยวแรงของตน โดยทางชอบธรรม)
       ๒. สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ (เลี้ยงตน เลี้ยงคนควรเลี้ยง และทำประโยชน์)
       ๓. สุขเกิดจากความไม่มีหนี้
       ๔. สุขเกิดความประพฤติไม่มีโทษ (มีสุจริตทั้ง กาย วาจา และใจ),
       เฉพาะข้อ ๔ ตามแบบเรียนว่า สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ


อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ, จิตมั่นชอบ คือสมาธิที่เจริญตามแนวของ ฌาน ๔ (ข้อ ๘ ในมรรค)

     
อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


ฌาน การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่ เป็นอัปปนาสมาธิ, ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก;
       ฌาน ๔ คือ
           ๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
           ๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๓ (ปีติ สุข เอกัคคตา)
           ๓. ตติยฌาน มีองค์ ๒ (สุข เอกัคคตา)
           ๔. จตุตถฌาน มีองค์ ๒ (อุเบกขา เอกัคคตา);


       ฌาน ๕ ก็เหมือนอย่าง ฌาน ๔ นั่นเอง แต่ตามแบบอภิธรรม ท่านซอยละเอียดออกไป โดยเพิ่มข้อ ๒ แทรกเข้ามา คือ
           ๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
           ๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๔ (วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
           ข้อ ๓. ๔. ๕. ตรงกับ ข้อ ๒. ๓. ๔. ในฌาน ๔ ตามลำดับ


อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


  คุณพิณมณี คงอ่านกระทู้ไม่ละเอียด เลยไม่เข้าใจ

  ถ้าเราเอา สัมมาสมาธิ (ซึ่งหมายถึง ฌาน ๔) เป็นที่ตั้ง การที่จะอธิบายเรื่องฌาน ต้องอธิบายด้วยองค์ฌาน
  และองค์ฌานก็ประกอบด้วย สุข

  ดังนั้น สุข ในองค์ฌาน ก็คือ สุข ของสัมมาสมาธินั่นเอง

  ถ้าจะถามว่า สุข ที่ไม่ได้อยู่ในสัมมาสมาธิ ต่างกันอย่างไร กับสุขที่อยู่ในสัมมาสมาธิ
  ตอบว่า เรื่องนี้เป็น "ปัจจัตตัง" รู้ก็รู้ด้วยตนเอง ยากที่จะอธิบายให้ใครเข้าใจได้

   :welcome: :49: :25: ;)



  เพื่อที่จะให้เกิดความเข้าใจที่กว้างขวางขึ้น ขอให้คุณพิณมณี พิจารณาความหมายของสุขต่างๆ ดังนี้


  กามสุข สุขในทางกาม, สุขที่เกิดจากกามารมณ์


 กามสุขัลลิกานุโยค การประกอบตนให้พัวพันหมกมุ่นอยู่ในกามสุข เป็นที่สุดอย่างหนึ่ง ในบรรดาที่สุด ๒ คือ
       กามสุขัลลิกานุโยค ๑
       อัตตกิลมถานุโยค ๑


 กายิกสุข สุขทางกาย เช่น ได้ยินเสียงไพเราะ ลิ้มรสอร่อย ถูกต้องสิ่งที่อ่อนนุ่ม เป็นต้น

 เจตสิกสุข สุขทางใจ, ความสบายใจ แช่มชื่นใจ
       ดู สุข

 นิรามิสสุข สุขไม่เจืออามิส, สุขไม่ต้องอาศัยเครื่องล่อหรือกามคุณ ได้แก่ สุขที่อิงเนกขัมมะ;
       ดู สุข


 บรมสุข สุขอย่างยิ่ง ได้แก่ พระนิพพาน

 โลกียสุข ความสุขอย่างโลกีย์, ความสุขที่เป็นวิสัยของโลก, ความสุขที่ยังประกอบด้วยอาสวะ
       เช่น กามสุข มนุษยสุข ทิพยสุข ตลอดถึงฌานสุข และวิปัสสนาสุข


 โลกุตตรสุข, โลกุตรสุข ความสุขอย่างโลกุตตระ, ความสุขที่เหนือกว่าระดับของชาวโลก, ความสุขที่เหนือกว่าระดับของชาวโลก, ความสุขเนื่องด้วยมรรคผลนิพพาน



  วิมุตติสุข สุขเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลส อาสวะ และปวงทุกข์;
       พระพุทธเจ้าภายหลังตรัสรู้แล้วใหม่ๆ ได้เสวยวิมุตติสุข ๗ สัปดาห์ตามลำดับคือ
           สัปดาห์ที่ ๑ ประทับภายใต้ร่มไม้มหาโพธิ์ ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท
           สัปดาห์ที่ ๒ เสด็จไปประทับยืนด้านอีสาน ทรงจ้องดูต้นมหาโพธิ์ไม่กระพริบพระเนตร ที่นั้นเรียกว่า อนิมิสเจดีย์
           สัปดาห์ที่ ๓ ทรงนิรมิตที่จงกรมขึ้นระหว่างกลางแห่งพระมหาโพธิ์และอนิมิสเจดีย์ เสด็จจงกรมตลอด ๗ วัน ที่นั้นเรียก รัตนจงกรมเจดีย์
           สัปดาห์ที่ ๔ ประทับนั่งขัดบัลลังก์พิจารณาพระอภิธรรมปิฎก ณ เรือนแก้วที่เทวดานิรมิตในทิศพายัพแห่งต้นมหาโพธิ์ ที่นั้นเรียก รัตนฆรเจดีย์
           สัปดาห์ที่ ๕ ประทับใต้ร่มไม้ไทร ชื่ออชปาลนิโครธ ทรงตอบปัญหาของพราหมณ์หุ ํหุกชาติ แสดงสมณะและพราหมณ์ที่แท้ พร้อมทั้งธรรมที่ทำให้เป็นสมณะและเป็นพราหมณ์ พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่าธิดามาร ๓ ตน ได้มาประโลมพระองค์ ณ ที่นี้
           สัปดาห์ที่ ๖ ประทับใต้ต้นไม้จิก ชื่อ มุจจลินท์ มีฝนตก มุจจลินทนาคราชมาวงขนดแผ่พังพานปกป้องพระองค์ ทรงเปล่งอุทานแสดงความสุขทีแท้ อันเกิดจากการไม่เบียดเบียนกัน เป็นต้น
           สัปดาห์ที่ ๗ ประทับใต้ต้นไม้เกต ชื่อ ราชายตนะ พาณิช ๒ คน คือ ตปุสสะ และภัลลิกะ เข้ามาถวายสัตตุผล สัตตุก้อน และได้แสดงตนเป็นปฐมอุบาสกถึงสรณะ ๒
       เมื่อสิ้นสัปดาห์ที่ ๗ ที่นี้แล้ว เสด็จกลับไปประทับใต้ต้นอชปาลนิโครธอีก ทรงดำริถึงความลึกซึ้งแห่งธรรมที่ตรัสรู้คือ ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน แล้วน้อมพระทัยที่จะไม่แสดงธรรม เป็นเหตุให้สหัมบดีพรหมมากราบทูลอาราธนา
       และ ณ ที่นี้เช่นกัน ได้ทรงพระดำริเกี่ยวกับสติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นเอกายนมรรคและอินทรีย์ ๕ อันมีอมตธรรมเป็นที่หมาย;
       พึงสังเกตว่า เรื่องในสัปดาห์ที่ ๒-๓-๔ นั้น เป็นส่วนที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวแทรกเข้ามา
       ความนอกนั้น มาในมหาวรรค แห่งพระวินัยปิฎก
       (เรื่องดำริถึงสติปัฏฐานและอินทรีย์ มาในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค พระสุตตันตปิฎก)



 สามิสสุข สุขเจืออามิส, สุขที่ต้องอาศัยเหยื่อล่อ ได้แก่สุขที่เกิดจากกามคุณ
       (ข้อ ๑ ในสุข ๒)


  สุขเวทนา ความรู้สึกสุขสบาย (ข้อ ๑ ในเวทนา ๓)


 สุขสมบัติ สมบัติคือความสุข, ความถึงพร้อมด้วยความสุข


 สุขาวดี แดนที่มีความสุข, เป็นชื่อสวรรค์ของพระอมิตาภพุทธ ฝ่ายมหายาน

 สุขุม ละเอียด, ละเอียดอ่อน, นิ่มนวล, ซึ้ง


 สุขุมาลชาติ มีพระชาติละเอียดอ่อน, มีตระกูลสูง

 อทุกขมสุข (ความรู้สึก)ไม่ทุกข์ไม่สุข, ความรู้สึกเฉยๆ (ข้อ ๓ ในเวทนา ๓)
       บางทีเรียก อุเบกขา (คือ อุเบกขาเวทนา)


อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก www.212cafe.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 24, 2011, 07:22:45 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

pinmanee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 163
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ถามเรื่อง สุข ของสมาธิ คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2011, 12:10:17 pm »
0
ขอบคุณ ที่ตอบคนแรก เลยนะคะ ตอนแรกคิดว่าจะไม่มีใึครตอบ

จะขออ่านก่อน เดี๋ยวจะกลับมาถามใหม่นะคะ

  :25: :25: :c017: :25:
บันทึกการเข้า

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ถามเรื่อง สุข ของสมาธิ คะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2011, 02:22:35 pm »
0
เนื้อหา นำเสนอ ตรงตามคำถาม

ต้องกดให้รางวัล นะครับ

  อนุโมทนา ด้วยครับ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ถามเรื่อง สุข ของสมาธิ คะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2011, 07:51:10 pm »
0
ความสุข (Happiness) เงินซื้อไม่ได้




สุขวรรค - หมวดสุ


สพฺพตถ ทุกฺขสฺส สุขํ ปหานํ            ละเหตุทุกข์ได้เป็นสุขในที่ทั้งปวง

อพฺยา ปชฺฌํ สุขํ โลเก            ความไม่เบียดเบียนเป็นสุขในโลก

นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ            ความสุข (อื่น) ยิ่งกว่าความสงบไม่มี

นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ            นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

อทสฺสเนน พาลานํ      นิจฺจเมว สุขี สิยาํ            จะพึงมีความสุขเป็นนิตย์ ก็เพราะไม่พบเห็นคนพาล

สุขํ สุปติ พุทฺโธ จ     เยน เมตฺตา สุภาวิตาํ            ผู้เจริญเมตตาดีแล้วย่อมหลับและตื่นเป็นสุข

สุโข พุทฺธานํ อุปฺปาโท            ความเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนำสุขมาให้

สุสุขํ วต ชีวาม อาตุเรสุ อนาตุรา อาตุเรสุ มนุสฺเสสุ วิหราม อนาตุรา
     ในหมู่มนุษย์ ผู้มีกิเลส พวกเราหมดกิเลสแล้ว ช่างอยู่สุขสบายจริงหนอ ในหมู่มนุษย์ ผู้มีกิเลส พวกเราอยู่ปราศจากกิเลส

สุสุขํ วต ชีวาม อุสฺสุกฺเกสุ อนุสฺสุกา อุสฺสุกฺเกสุ มนุสฺเสสุ วิหราม อนุสฺสุกา
     ในหมู่มนุษย์ ผู้มีความกระวนกระวาย พวกเราไม่กระวนกระวาย ช่างอยู่เป็นสุขสบายจริงหนอ ในหมู่มนุษย์ ผู้มีความกระวนกระวาย พวกเราอยู่ปราศจากความกระวนกระวาย

สุสุขํ วต ชีวาม เยสํ โน นตฺถิ กิญฺจนํ ปีติภกฺขา ภวิสฺสาม เทวา อาภสฺสรา ยถา
     พวกเราไม่มีกิเลสเศร้าหมองใจ ช่างอยู่สุขสบายจริงหนอ พวกเรามีปีติเป็นภักษาหาร เปรียบปานเหล่าอาภัสรพรหม

ชยํ เวรํ ปสวติ ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต อุปสนฺโต ชยปราชยํ
     ผู้แพ้ย่อมก่อเวร ผู้พ่ายย่อมอยู่เป็นทุกข์ ผู้ละความแพ้และความพ่ายเสีย มีใจสงบระงับนั่นแหละเป็นสุข

นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ นตฺถิ โทสสโม กลิ นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ
     ไม่มีไฟใดเสมอด้วยราคะ ไมีมีโทษใดเสมอด้วยโทสะ ไม่มีทุกข์ใดเสมอด้วยเบญจขันธ์ ไม่มีสุขใดเสมอด้วยความสงบ

สาธุ ทสฺสนมริยานํ สนฺนิวาโส สทา สุโข อทสฺสเนน พาลานํ นิจฺจเมว สุขี สิยา ฯ
     การพบพระอริยเจ้าเป็นความดี การอยู่ร่วมกับท่านให้เกิดสุขทุกเมื่อ เมื่อไม่คบคนพาลเสียได้ คนเราพึงมีความสุขเป็นนิจนิรันดร์

พาลสงฺคตจารี หิ ทีฆมทฺธาน โสจติ ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส อมิตฺเตเนว สพฺพทาธีโร จ สุขสํวาโส ญาตีนํว สมาคโม
     เพราะผู้คบคนพาล ย่อมเศร้าโศกนาน การอยู่ร่วมกับคนพาลมีแต่ความทุกข์ เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรู การอยู่ร่วมกับนักปราญ์มีแต่ความสุข เหมือนสมาคมของญาติ



http://www.oknation.net/blog/print.php?id=4724
http://www1.mod.go.th/heritage/religion/proverb/proverb.htm
http://thaiproverb.kapook.com/?cat=25
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 24, 2011, 08:31:24 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ถามเรื่อง สุข ของสมาธิ คะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2011, 08:50:13 pm »
0
เบิร์ด : กับบทเพลงความสุขในจินตนาการ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 24, 2011, 09:04:04 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

nopporn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ถามเรื่อง สุข ของสมาธิ คะ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2011, 09:00:17 pm »
0
อ่านกระทู้ นี้ ชื่นชม มีสาระจริง ๆ ทีม มัชฌิมา ตอบได้น่าอ่านมาก เป็นมิตร มาก ๆ เลยจ้า

อนุโมทนา ด้วยคะ

 :25: :88: :58:
บันทึกการเข้า
อยู่แก๊งค์ ป่วนอ๊บ

บุญสม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ถามเรื่อง สุข ของสมาธิ คะ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กันยายน 01, 2011, 09:24:12 am »
0
เพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ ในการภาวนา ได้มากเลยครับ
อนุโมทนา กุศล กับทุกท่านด้วยครับ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ถามเรื่อง สุข ของสมาธิ คะ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ตุลาคม 26, 2011, 09:15:51 am »
0
ถ้าแนววิทยาศาสตร์ ก็มีคำตอบครับ
       การทรมาณตนจนถึงที่สุด ร่างกายจะหลั่ง แอนดอร์ฟิล ออกมาครับเพื่อ
ระงับความเจ็บปวดแทนการสลบ และถ้ามีการหลั่ง แอนดอร์ฟิล ออกมามาก
เกินไป ก็จะทำให้เกิดความสุขบนความเจ็บปวดนั่นครับ ปลาเองเมื่อกำลัง
โดนทุบก็จะหลั่ง แอนดอร์ฟิล มาลดความเจ็บปวดให้ตัวเองเช่นกันครับ
บางคนมีความสุขจากการเจ็บปวด เรียกว่า ซาดิสซึม ครับ
        ผมกำลังศึกษาเรื่อง สมาธิทำให้เกิดสุขได้จริงหรือไม่ เพราะมีข้อสงสัย
ตรงทีว่า การนั่งทับขาตัวเองเป็นการทรมาณ ดังนั้น ความสุขทีเกิดขึ้นนั้น
อาจจะไม่ใช่ความสุขที่เกิดจากผลของสมาธิครับ แต่เป็นผลมาจากทางร่างกาย
ที่ร่างกาย หลั่ง แอนดอร์ฟิล ออกมาเพื่อระงับความเจ็บปวดแค่นั้นเอง ดังนั้นอาจ
เป็นไปได้ว่า การนั่งสมาธิกับปิติและสุข ไม่ได้มีความสัมพันธฺ์กันครับ เป็นเพียง
ผลจากร่างกายและการอุปทานที่เกิดขึ้น
        หรือเรื่อง การเดินจงกรมก่อนนั่งสมาธิได้ผลดีกว่าการนั่่งสมาธิโดยทันที
เรื่องนี้ก็สามารถอธิบายปรากฏการณ์ได้ด้วยวิทยาศาสตร์ครับ
    ผมเห็นท่าน จขกท. กล่าวถึงวิทยาศาสตร์ ก็ทำให้คิดไปได้ว่า ท่านจขกท.
นั้นไม่ได้งมงายจนเกินไป และมีกำลังสติปัญญาที่จะแยกแยะได้ว่า อันไหนคือ
อุปทาน อันไหนคือความจริง
        ผมชอบความจริงครับ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับการนั่งสมาธิก็แล้วแต่ ผมจะ
ตั้งข้อสมมุติฐานทันทีว่า นั่นไม่ได้เป็นผลมาจากสมาธิครับ แต่มีองค์ประกอบ
อย่างอื่นเข้ามาร่วมด้วย เพราะผมไม่คิดว่า จะเสียเวลาทั้งชีวิตไปกับเรื่องที่
อุปโลกน์กันขึ้นมาหรือเรื่องที่เพ้อฝันกันไปเอง ทั้งๆที่จริงแล้วมันไม่ได้มีอยู่จริง
ความจริงก็คือความจริงครับ อุปทานส่วนอุปทานครับ ถ้าเอามาปนกันเมื่อไร
ท่านจะไม่มีวันรู้ว่า ความจริงนั้นเป็นอย่างไร และก็ยังหลับอยู่ในความฝันไป
ตลอดกาล ไม่มีวันเข้าใจคำว่า "ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน"

                                                                                                            ++

จากคุณ    : สองนิ้วชี้
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ถามเรื่อง สุข ของสมาธิ คะ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2011, 08:40:59 am »
0
ภาวนาอย่ากลัว ติด สุข รีบเร่ง เข้าหาความสุข เสีย เพราะ

 ปีติ และ สุข นั้นเป็นราก เป็นเหง้า เป็นธรรมสภาวะ ที่ควรเข้าถึงก่อนเป็น สภาวะธรรมแรก

ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย ที่ภาวนากรรมฐาน จงซ้ำซากในพระธรรมปีติ พระยุคลธรรมหก พระสุขสมาธิ นี้ให้มากเพราะ สภาวะธรรมแท้ คือ สุข สมาธิ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ต่อการวิปัสสนา

การเรียนธรรม พระกรรมฐาน ต้องเข้าใจธรรม สองส่วน

  คือ สุข และ ทุกข์

  สุข และ ทุกข์ คือ เวทนา เป็นแก่นธรรมแรก ใน อริยสัจจะ 4

  สุข คือ ทุกข์ ทุกข์ คือ สุข

  ดังนั้น ขอให้ท่านทั้งหลาย อย่ากลัวสุข อันประณีต อันเกิดแต่สมาธิ เพราะสุข นี้ สนับสนุนแก่นธรรม

  เจริญธรรม

  ;)

 
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ