ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มี ก็คู่ กับคำว่า ไม่มี เพราะ มี และ ไม่มี เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน  (อ่าน 21083 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

nopporn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาระธรรม จากจดหมาย พระอาจารย์
 เรื่อง สุญญตา ข้อความใน Email
 มีเท่านี้คะ นานแล้ว จนวันนี้จะนำมาถามต่อคะ




มี ก็คู่ กับคำว่า ไม่มี 
เพราะว่า มี และ ไม่มี เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน...
ไม่มี ก็คือ มี
มี ก็คือ ไม่มี
พูดเหมือน ผันผวน มาอารมณ์ไหน แต่ เรื่องพวกนี้ ถ้าเป็น ธยานะ นั้น ฉับพลันทันที และสำนวนพวกนี้ จะถูกนำมาใช้บ่อยมาก เป็นการแสดงถึง ทัศนะญาณ ในธรรม ที่สื่อออกมาส่วนหนึ่ง
   ส่วน จะถูก หรือ จะผิด ก็ขึ้นอยู่กับ สถานการณ์ และ ระดับธรรม ของผู้ที่ได้ยิน ได้ฟัง
   บางครั้ง พูดผิดเวลา แสดงผิดช่วง ความหมายที่ดี เลยกลายเป็นร้าย เป็นโทษ ไปก็มี

  สมัยหนึ่ง พระอาจารย์ พบเพื่อนรักท่านหนึ่ง คือเป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่เด็ก ไปไหนด้วยกัน เที่ยวด้วยกัน กินด้วยกัน และเราก็จากกันมาหลายปี ประมาณ 7 ปี พอมาเจอกัน ท่านก็ดีใจ เพราะมาบวชพระเช่นกัน ในขณะนั้น เราก็ดีใจ และก็อยากให้เพื่อน ได้ถึงธรรม บางอย่างในความหมายที่เรารู้มา

    จึงพูดไปขณะนั้นว่า เจอ เหมือน ไม่เจอ ไม่เจอ ก็เหมือนเจอ ไม่ใช่บังเอิญ ว่าเจอ แต่เป็นเพราะว่า ไม่เจอ จึงได้เจอ พบก็เหมือนไม่พบ เพราะว่า พบแล้ว ก็ไม่มีการพบ

     เพื่อนฟังตอนนั้น เขาเสียใจ มากกว่าดีใจ สังเกตจากสีหน้า แต่ก็ไม่มีโอกาสคุย และก็ไม่ได้เจอกันอีก เลย ตั้งแต่วันนั้น เขาประกาศฝากกับมาว่า เลิกเป็นเพื่อนกัน

     นี่ คือ ข้อความสมัยที่ ฉัน เข้าไปศึกษาที่สวนโมกข์ และชมชอบ นิทานเซ็น การพูด และแสดง ความเหมายเซ็น ในสมัยนั้นเป็นที่ชื่นชอบมาก ๆ แต่ สุดท้าย ก็เข้าใจอยู่อย่างหนึ่ง คือ มันฉลาดที่จะพูด และใช้ความฉลาดนั้นเป็นประโยชน์ แก่ตนเองที่พูด เพื่อรับรองส่วนที่พูด แต่ขณะเดียวกัน ใจมันก็รู้ว่า ไม่ได้ลดกิเลสอะไรเลย ทั้ง ๆ ที่มีความเข้าใจในขณะนั้นอย่างนั้น หรือ มากกว่านั้น

      ดังนั้น เรื่องและสำนวน คำว่า มี ก็คือ ไม่มี หรือ ไม่มี ก็คือ มี นี้ มันยังฟังยาก ไม่ใช่เรื่องที่อันใคร ๆ จะนำไปพูดซี้ซั้วได้ เพราะอาจจะนำมาซึ่งความเสียหาย

      ที่พูดนี้เกี่ยวกับอะไร
      เกี่ยวมาก และ เกี่ยวอย่างยิ่ง เพราะ ปัจจุบัน มีผู้นำคำว่า สุญญตา ไปใช้ผิดความหมายกันมากขึ้น ...

       ดังนั้นในหัวข้อนี้ จะมาเปิดความเข้าเรื่อง สุญญตา กันก่อน แต่ต้องอาศัยเวลาอีกสักพักหนึ่ง เพราะตอนนี้เหนื่อยแล้ว จะต้องพักผ่อนก่อน....

     รอพิมพ์บทความต่อไป ก็แล้วกัน ดูธรรม พิจารณาตน ให้มากขึ้น
   
       ;)
      เจริญธรรม / เจริญพร


   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 19, 2015, 08:34:07 am โดย nopporn »
บันทึกการเข้า
อยู่แก๊งค์ ป่วนอ๊บ

เสริมสุข

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 223
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
อยากได้รับความสุข จาก ธรรมะ อยากได้รับ ..... แหมก็อยากนี้จ๊ะ

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านแล้ว ไม่เข้าใจเลยครับ เรื่องนี้

  :49:
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ลึกซึ้ง จึงอยากตามอ่านเรื่องนี้ จริง ๆ ครับ
  thk56 like1 st11 st12
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับเรื่อง สุญญตา จำได้ว่าเคยฟังพระอาจารย์บรรยายเรื่องนี้ 6 ครั้ง นะคะ

    1. ปณิหิตสุญญตา   
    2. อัปปณิหิตสุญญตา
    3. อนัตตะสุญญตา
    4. สุญญตาผลสมาบัติ
        4.1 วิหารสุญญตาสมาบัติ
        4.2 มหาวิหารสุญญตาสมาบัติ
    5. สุญญัง
    6. สุญญตาวิโมกข์

   :49:
         
     

   
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12
  สนใจ ใคร่อยากรู้ แล้ว คะ

  :49: :58:
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

saieaw

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 271
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คุณ nopporn มีข้อมูล เพิ่ม หรือ ไม่ คะ
  st12 st12 :49:
บันทึกการเข้า

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ธรรมนี้ลึกซึ้งมาก แต่ขอแสดงความเห็น ตามภูมิธรรม ดังนี้

“จึงพูดไปขณะนั้นว่า เจอ เหมือน ไม่เจอ ไม่เจอ ก็เหมือนเจอ ไม่ใช่บังเอิญ ว่าเจอ แต่เป็นเพราะว่า ไม่เจอ จึงได้เจอ”


ลองพิจารณา ๒ เหตุการณ์นี้


เหตุการณ์ที่ ๑  เราขึ้นรถไฟฟ้าไปทำงาน คนเยอะมาก เห็นคนมากมาย ไม่เจอคนที่รู้จักเลย

เหตุการณ์ที่ ๒ เราขึ้นรถไฟฟ้าไปทำงาน คนเยอะมาก เห็นคนมากมาย และเจอเพื่อนเก่าที่เคยสนิทกัน แต่ไม่ได้เจอกันมานาน หลังจากนั้นก็ไปเล่าให้เพื่อนสนิทที่ทำงานฟัง


ขยายความ เหตุการณ์ที่ ๑ 

          เราขึ้นรถไฟฟ้าไปทำงาน เห็นคนมากมาย แต่วันนั้นไม่เจอคนที่รู้จัก ถึงจะเห็นคนอื่นเยอะมากมาย แต่ไม่เจอคนที่เรารู้จัก วันนั้นก็เป็นธรรมดา ๆ วันหนึ่งของเรา

ขยายความ เหตุการณ์ที่ ๒

          เราขึ้นรถไฟฟ้าไปทำงาน เห็นคนมากมาย และได้เจอเพื่อนเก่าที่เคยสนิทกันบนรถไฟฟ้า วันนั้นก็คงมีเรื่องเล่าให้เพื่อนสนิทที่ทำงานฟัง



อธิบาย เหตุการณ์ที่ ๒

          เพราะเรามีเพื่อนเก่าที่เคยสนิทกัน และเรากับเค้าจำกันได้ เมื่อเรากับเพื่อนเจอกันจึงชื่อว่า “เจอ” ในขณะที่เราอยู่กับเพื่อน “สภาวะ ไม่เจอ จึงไม่เกิด เพราะขณะนั้น เรากับเพื่อน เจอ กันอยู่” แต่ถ้าเราคุยกับเพื่อนเรียบร้อยแล้ว ต่างคนต่างแยกย้ายกันไป “สภาวะ เจอ ก็ดับลง สภาวะ ไม่เจอ จึงเกิดขึ้น ” เพราะสภาวะ “เจอ” กับ “ไม่เจอ” ย่อมเกิดพร้อมกันไม่ได้

          เมื่อแยกย้ายกันไปแล้ว ถ้าเรากับเพื่อนยังจำกันได้อยู่ เมื่อมาเจอกันอีก “สภาวะ ไม่เจอ ก็ดับลง สภาวะ เจอ ก็เกิดขึ้น”

          ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า เพราะ “ไม่เจอ” จึงได้ “เจอ”

          แต่ก็เพราะ “เจอ” จึงได้ “ไม่เจอ” เช่นกัน

อธิบาย เหตุการณ์ที่ ๑

          คนมากมายบนรถไฟฟ้า ถือว่าเราได้เห็น เราคงไม่เรียกว่าเจอ เพราะเรากับเค้าไม่รู้จักกัน

          ตาเราเห็นรูป ที่เป็นบุคคลต่าง ๆ เหล่านั้น จึงสักว่าเห็นรูป เท่านั้น

          สำหรับเหตุการณ์นี้จึงไม่มีคำว่า “เจอ” กับ “ไม่เจอ”



ธรรมะจากเรื่องนี้

          ถ้าเราได้เจอ รูปที่เราพอใจ เราก็เป็นสุข
          ถ้าเราไม่ได้เจอ รูปที่เราพอใจ เราก็เป็นทุกข์
          ถ้าเราได้เจอ รูปที่เราไม่พอใจ เราก็เป็นทุกข์
          ถ้าเราไม่ได้เจอ รูปที่เราไม่พอใจ เราก็เป็นสุข

          พิจารณาแล้วก็เพราะ เจอ กับ ไม่เจอ นั้นแหละที่ทำให้เป็นทุกข์
          ถ้าเราวาง เราคลาย เราว่าง จากคำ เจอ กับ ไม่เจอ นั้นแหละจึงเป็นสุขที่แท้จริง

          ดังนั้นแล้ว
          ตาเห็นรูป ก็สักว่า เห็นรูป ใจเราก็รู้แค่ว่า นั่นเป็นรูป
          หูได้ยินเสียง ก็สักว่า ได้ยิน ใจเราก็รู้แค่ว่า นั่นเป็นเสียง
          จมูกได้กลิ่น ก็สักว่า ได้กลิ่น ใจเราก็รู้แค่ว่า นั่นเป็นกลิ่น
          ลิ้นรับรส ก็สักว่า ได้รับรส ใจเราก็รู้แค่ว่า นั่นเป็นรส
          กายสัมผัส ก็สักว่า ได้สัมผัส ใจเราก็รู้แค่ว่า นั่นเป็นสัมผัส

พบ กับ ไม่พบ --- มี กับ ไม่มี ก็พิจารณาเหมือนกัน

ถ้า เรา ว่างจาก เจอ ไม่เจอ พบ ไม่พบ มี ไม่มี ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ สุข ทุกข์ สรรเสริญ นินทา ก็ชื่อว่า สุญญตา

ถ้าว่างจาก มีเรา เป็นเรา ของเรา เรา ก็ชื่อว่า สุญญตา

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 22, 2015, 12:39:12 pm โดย ดนัย »
บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :welcome:


            ตอบซิ   ....ตอบซิ.....มีท่านหนึ่ง  กล่าวไว้ เป็นการเชื้อเชิญ  และทดสอบ   ภูมิธรรม  ตามอารมณ์ที่ทุกท่านเห็นของท่านเองแบบใดท่านก็พูดกันออกมาแบบนั้นไม่ตองกลัวว่าจะผิดหรือจะถูก

         เพราะมันไม่มีหรอก ผิดถูกนี่ มันไม่มีเพราะ ว่ามันไม่มีอะไรยังไง ล่ะ



                     ส่วนความเห็นของข้าพเจ้า   เห็นและลงที่ไตรลักษณ์  อย่างเดียว

         ทดสอบ  จิตที่ยังเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา  ท่านเห็นระดับใด ท่านก็ได้ระดับนั้น ของท่าน

            ผมเห็นเป็น   ความเกิดดับ  เท่านั้น


       พบกันก็เพื่อจะจาก จากกันก็เพื่อจะพบกันใหม่  เพราะตายเกิด เกิดตาย คือเกิดดับ เป็นแค่สภาวะ

         และทุกสำนวนของครูอาจารย์ ที่ยกเรื่องอื่นไว้ ในกระทู้นี้

              ผมเห็นลงแบบนี้  ทั้งหมด

                มีเพื่อไม่มี  ไม่มีเพื่อจะมีอีก

               มีก็เพื่อจะหมด หมดก็เพื่อจะมีอีก   สภาวะความ ความไม่ทนสภาพ ความเสื่อม ชรา และมรณะ แทรกอยู่ในทุกสังขตธรรม

          แทรกอยู่ทุกการก้าวเดินในความเป็นจริง

             สภาวะรูปนามเป็นเพียงแค่สภาวะพระไตรลักษณ์ ปรากฏ  สลับไปสลับมา

               เห็นเป็นสภาวะเกิด-ดับ   เพราะจิตนั้น  ยังต้อง  รับรู้

                ขออนุโมทนาสาธุธรรม  ในธรรมของทุกท่าน ครับ

                ตอบซิ   ตอบซิ      ไม่มีผิดไม่มีถูกหรอก   แสดงธรรมกันออกมา  เถอะครับ

บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คุณ ดนัย ถอดออกมาอธิบายอย่าง เข้าใจง่ายดี

   like1 like1 like1

 st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ไม่นึกเลยว่า จะมีหลักธรรม ลึกซึ้ง ขนาดนี้
ว่าแต่ คุณ nopporn ไปถามอะไร พระอาจารย์ ท่าน ถึงได้ตอบมาไว้อย่างนั้น คะ

 คุณดนัย ยอดมาก ที่อธิบาย แบบเปรียบเทียบ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ อย่างนี้
 
   st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

translate

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 105
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ความหมายเป็น สภาวะ
   เจอ ก็คือ ปัจจุบัน ไม่เจอ เป็นอดีต
  ไมเจอ ก็คือ ปัจจุบัน เจอ เป็นอดีต
   มันสลับกันอย่างนี้

   เพราะสิ่งเหล่านี้ มี สิ่งนี้จึง มี
   เพราะสิ่งเหล่านี้ ไม่มี สิ่งนี้จึง ไม่มี
   มีเป็นเหตุปัจจัย ของคำว่า ไม่มี เพราะ มี อาศัย ไม่มี
   เมื่อ มี ดับไป ไม่มี ก็ต้องดับไป
   เมื่อ ไม่มี ดับไป มี ก็ต้องดับไป
   เมื่อ มี เกิดขึ้น ไม่มี ก็เกิดขึ้น

    โอ ล้ำลึกมาก ยิ่ง ใคร่ครวญ ก็ยิ่งเห็นว่า หาแก่นสารมิได้เลย ไม่ควรเข้าไปยึดมั่น ถือมั่น ว่า เป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัว เป็นตนของเรา นั่นเอง ( สัพเพ ธัมมานาลัง อะภินิเวสายะ ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น )

     สาธุ สาธุ สาธุ

   :49:
   
บันทึกการเข้า

ISSARAPAP

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 129
  • โดดเดี่ยว แต่ไม่เดียวดาย สัจจะธรรมแท้ ไม่มีสูตร
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 thk56 thk56 thk56
 ที่แต่ละท่าน มาแจกธรรม ผมนึกว่า ผมบ้าอยู่คนเดียว ซะอีก ที่คิดกลับไปกลับมาใน ข้อความที่คุณ nopporn แสดงไว้ แต่ เพราะว่าผมนิสัยไปทางเซ็นอยู่แล้วด้วย ยิ่ง อ่าน ก็ ยิ่งพยายาม ตาม ว่า มีข้อความธรรม ใด ๆ แฝงอยู่ ในข้อความนั้นบ้าง ก็คิดทบทวนหลายอย่าง

   โดยเฉพาะป้าย นี้
 

  มันเป็นภาพที่คล้าย กับ คำว่า ซาโตริ
   

   คือความหมาย ของคำว่า ซาโตริ นั้น หมายความ รู้แจ้ง ใน อัตตา
 
   ที่นี้คำว่า สุญญตา เป็นภาพที่เกี่ยวข้อง แต่เนื้อหา ไปยกตัวอย่าง ถึง สิ่งคู่ ซึ่งเคยฟังในรายการเรื่อง ธรรมส่วนสอง หรือ สองส่วน คือ ขาว คู่ ดำ ธรรม คู่ อธรรม ดี คู่ กับ ชัว มี คู่ กับ ไม่มี เป็นต้น

    ดังนั้นสภาวะ ธรรม เกิด ก็ คู่  กับ ดับ
                        มี ก็ คู่ กับ ไม่มี
               มันเป็นอาศัย ซึ่งกัน และ กัน โดยอาศัย ความยึดมั่นถือมั่น ด้วย จำไว้ ( สัญญา ) เป็นสำคัญ

    สัญญา ( จำได้ ก็คือตัวการบอกว่า เป็น เรา เป็น ของเรา เป็นตัว เป็นตนของเรา )
    ดังนั้น ถ้า สัญญา จำไม่ได้ ก็ ไม่มี เรา นั่นเอง

         like1 like1 like1 st12 st11 thk56
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 22, 2015, 12:32:59 pm โดย patra »
บันทึกการเข้า
ความสันโดษ เป็นบรมสุข

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นหัวข้อธรรมะ ที่อยู่ในช่วง รอพระอาจารย์ ดีเยี่ยมครับ
 thk56 like1 st11 st12 st12
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :035: :035: :035:       

      ในเรื่องของคู่ทั้งหลายในโลก  เช่นสุข-ทุกข์  มี-ไม่มี  เจอ-ไม่เจอ ล้วนเป็นของคู่

          การละของคู่  การปล่อยทั้งคู่  มัชฌิมาปฏิปทา ไม่มีสูงไม่มีต่ำ  มันต้องกลางๆ ครูท่านว่าอย่างนั้น

     ครูอาจารย์ท่านพูดตามอารมณ์ธรรมของท่าน  แต่ผู้ฟังก็เห็นตามอารมณ์ผู้ฟัง

                ผมว่า มีพระสูตร ของพระพุทธเจ้า อยู่บทหนึ่งนะ  ที่เข้าได้ กับ ของคู่ กระทู้นี้

        น่าจะเป็นเรื่อง   ที่ตรัสเกี่ยวกับธรรมสองส่วน นี้นะ

              เพราะ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ คือกรรมฐานของพระพุทธเจ้า เเละสืบทอดต่อมาโดยพระราหุล

    ซึ่งพระพุทธองค์ ทรงวางรากฐานเอาไว้อย่าง เป็นระเบียบ  เช่นพระไตรปิฏกหมวด ต่างๆที่กำกับ ญาณทัศนะทั้งหลาย

       ผมรู้สึกว่า ใช่และชอบใจมีสุข เมื่อครูบาอาจารย์ ยกพระไตรปิฏก ที่โดนใจ


               ว่าไปตามอารมณ์ครับ  ขออนุโมทนาสาธุธรรมยามดึก 23.00 น.

           
       
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 22, 2015, 11:18:32 pm โดย aaaa »
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
แต่ ทั้งหมด มันเกี่ยวกับ คำว่า สุญญตา อย่างไร ครับ

  thk56 st12
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

สัญญา คือ ความจำ ไม่ใช่เหตุให้เกิดทุกข์

ความยึดมั่น ถือมั่น ว่าเราเป็นสัญญา สัญญาเป็นเรา เรามีในสัญญา สัญญามีในเรา นั่นเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

แต่ในความเป็นจริงแล้ว สัญญาไม่ใช่เรา สัญญาไม่เป็นเรา สัญญาไม่มีในเรา

เพราะถ้า เราใช่สัญญา เราเป็นสัญญา เรามีในสัญญา


สิ่งใดที่อยากจำได้ เราก็ต้องจำได้ไปตลอด แต่ในความเป็นจริงเป็นอย่างนั้นมั้ย

สิ่งใดที่ไม่อยากจำได้ อยากลืม ก็ต้องลบความทรงจำนั้นได้ แต่ในความเป็นจริงเป็นอย่างนั้นมั้ย

เราควบคุมสัญญาได้จริงหรือ

ถ้าควบคุมไม่ได้ เราใช่สัญญา เราเป็นสัญญา เรามีในสัญญา จริงหรือ



พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ความจำเรื่องเก่า ๆ หายไปอย่างนั้นหรือ ความจำเรื่องใหม่ ๆ ไม่เกิดขึ้นอย่างนั้นหรือ


ถ้าใครอ่านมาทั้งหมดแล้วเข้าใจ ก็อนุโมนาด้วย

แต่ความเข้าใจก็เกิดจากสังขาร (การปรุงแต่ง การตรึก นึก คิด) และก็สัญญา (จำที่ ตรึก นึก คิด เอาไว้) เมื่อถึงกาล ถึงเวลา ก็เปลี่ยนแปลงไป ตั้งอยู่ไม่ได้ ดับไป

ถึงเข้าใจ และจำได้ ก็วางความยึดมั่น ถือมั่นไม่ได้

ต้องปฏิบัติในมรรค 8 จนถึงสัมมาสมาธิ เอาสัมมาสมาธินั้น ไปรู้ ไปเห็น ว่าอะไรคือ ความยึดมั่น ถือมั่น ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ถึงจะวางได้


เรื่องที่คุยกันอยู่นี่ ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ สำหรับบางคน

แต่บางคนนั้น ถึงแม้ว่าศึกษาแล้ว เข้าใจแล้ว แต่วางความยึดมั่น ถือมั่นในขันธ์ ๕ ได้หรือยัง

ความรู้ ความเข้าใจ ก็เป็นอุปการะต่อการรู้แจ้ง เห็นจริง ตามความเป็นจริง

เพียงแต่เราต้องเดินต่อไปในมรรค 8 เท่านั้น

อย่าหยุดแค่ รู้และเข้าใจ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 23, 2015, 05:27:06 am โดย ดนัย »
บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เกิด คู่กับ ดับ    และ     ดับ คู่กับ เกิด ก็จริง
เมื่อมี เกิด แล้ว ต้องมี ดับ จริง
แต่มี ดับ แล้ว ไม่จำเป็นต้อง เกิด อาจจะเกิด หรือ ไม่เกิด ก็ได้

สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุ (ที่ทำให้เกิด) ดับ
เพราะถ้า เกิด แล้วต้อง ดับ          ดับ แล้วต้อง เกิด          ก็ไม่มีนิพพาน
ความตั้งใจในตอนที่พระพุทธเจ้าออกบวช ก็เพราะไม่ต้องการเกิด


ถ้าจะทำความเห็นให้ถูก ควรเห็นว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น ก็เพราะมีเหตุที่ทำให้เกิด
สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุดับ
และถ้าเหตุที่ทำให้เกิด หมดไป การเกิดก็ไม่เกิด

นิพพานัง ปรมัง สุญญัง           นิพพาน เป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง    ก็เพราะว่างจากการเกิด การดับ ว่างจากธรรมที่ทำให้เกิด

นิพพานัง ปรมัง สุขัง               นิพพาน เป็น สุขอย่างยิ่ง เพราะ การเกิด เป็นทุกข์


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 23, 2015, 08:55:14 am โดย ดนัย »
บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

เหตุการณ์ ที่ผมยกตัวอย่าง เป็นเพียงการเปรียบเทียบให้คนทั่วไปพอเข้าใจได้

แต่ถ้าเห็นตามความเป็นจริงแล้ว ต้องเป็นอย่างนี้

ในขณะที่เรากับเพื่อนเจอกัน สภาวะ เจอ ก็ขึ้น แล้วก็ดับลงเลย
ตอนที่ยืนคุยกันอยู่ เป็นสภาวะที่ ว่างจาก เจอ กับ ไม่เจอ
ตอนที่เรากับเพื่อนแยกกัน สภาวะ ไม่เจอ ก็ขึ้นแล้วดับลงเลย
ช่วงที่เราไม่เจอกับเพื่อน เป็นสภาวะ ที่ว่างจาก ไม่เจอ กับ เจอ

ถ้าเรากับเพื่อนมาเจอกันอีก แต่จิตวาง การเจอ กับ ไม่เจอ ได้
เพราะจิต       ว่าง (สุญญตา)      จากอุปาทาน ความยึดมั่น ถือมั่น ว่าเป็นเรา เป็นของเรา ได้
"เจอก็เหมือนไม่เจอ ไม่เจอก็เหมือนเจอ"



แต่ถ้าจิตยังมีอุปาทานอยู่ เวลาที่เราเจอกับเพื่อน สภาวะการเจอ กับ ไม่เจอ ก็ยังเกิดดับอยู่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 23, 2015, 05:43:22 am โดย ดนัย »
บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
แล้ว ปัญญา กับ สังขาร แตกต่างกันอย่างไร คะ

 ถ้า การ ตรึก นึก คิด คือ สังขาร การ เกิดแห่งธรรม เป็น สังขาร ด้วยหรือไม่ ?

 ขอบคุณมากคะ  :58:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

nopporn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
โอ ไม่นึกว่า เรื่องราว จะมีเนื้อหาลึกซึ้ง ขนาดนี้เลยนะคะ
  เรา ถามพระอาจารย์ เรื่อง ธรรมส่วนสอง คืออะไร เท่านั้นเอง

  แต่ได้ประโยชน์ มากเลยคะ ที่หลายท่านมาแสดงความเห็น ยิ่งคุณ ดนัย แสดงความเห็นได้ลึกซึ้งมาก บางทีก็อ่านแล้ว ก็ยังทำความเข้าใจไม่ได้ เดี๋ยวจะลำดับ ถาม นะคะ

   :58: thk56 st12
บันทึกการเข้า
อยู่แก๊งค์ ป่วนอ๊บ

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าพิจารณา จาก ที่คุณ ดนัย แสดงไว้นั้น ก็คือ

    มี ไม่มี มี ไม่มี  มี ไม่มี มี ไม่มี  มี ไม่มี มี ไม่มี  มี ไม่มี
   
     ( ถ้าเขียนอย่างนี้ จะมองเห็นง่าย ขึั้น )


    มี เกิด มีดับ ไม่มี เกิด ไม่มี ดับ มี เกิด มีดับ ไม่มี เกิด ไม่มี ดับ มี เกิด มีดับ ไม่มี เกิด ไม่มี ดับ
    ( ถ้าเขียนอย่างนี้ จะมองเห็นง่าย ขึั้น )

    ส่วน สุญญตา ก็อยู่ ในะหว่าง ความเกิด และ ความดับ
 

    มี เกิด มีดับ สุญญตา ไม่มี เกิด ไม่มี ดับ  มี เกิด มีดับ สุญญตา ไม่มี เกิด ไม่มี ดับ
    ( ถ้าเขียนอย่างนี้ จะมองเห็นง่าย ขึั้น )   

    ไม่รู้ผม สื่อ แบบที่คุณ ดนัย ให้ความหมาย หรือ ป่าว ขอความเห็นด้วย ครับ

    :smiley_confused1: st12
   
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
สุญญตา นั้น แปลว่า อะไร ผมก็ไม่ค่อยคุ้นเคย ต่อคำนี้ แต่เอาเป็นว่า

     สุญญตา นั้นปรากฏ ใน ธรรมที่เป็น กฏแห่งธรรม คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ใน วิโมกข์ 3 ส่วนวิปัสสนา แสดงไว้ในแบบ นี้ ( แต่ไม่รู้มีข้อความยืนยันหรือไม่ ? )
   คือ

   (107) วิโมกข์ 3 (ความหลุดพ้น, ประเภทของความหลุดพ้น จัดตามลักษณะการเห็นไตรลักษณ์ ข้อที่ให้ถึงความหลุดพ้น — liberation; aspects of liberation)
       1. สุญญตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยเห็นความว่างหมดความยึดมั่น ได้แก่ ความหลุดพ้น ที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนัตตา คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตา แล้วถอนความยึดมั่นเสียได้ — liberation through voidness; void liberation) = อาศัยอนัตตานุปัสสนา ถอนอัตตาภินิเวส.
       2. อนิมิตตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนิจจัง คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจตา แล้วถอนนิมิตเสียได้ — liberation through signlessness; signless liberation) = อาศัยอนิจจานุปัสสนา ถอนวิปัลลาสนิมิต.
       3. อัปปณิหิตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นทุกข์ คือ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกขตาแล้วถอนความปรารถนาเสียได้ — liberation through dispostionlessness; desireless liberation) = อาศัยทุกขานุปัสสนา ถอนตัณหาปณิธิ.

 (  http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=107 ทีมาของเนื้อหาส่วนนี้ )
   
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :welcome: :49: :08: :08: :035: :035: :035: :s_good: thk56        ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
แล้ว ปัญญา กับ สังขาร แตกต่างกันอย่างไร คะ

 ถ้า การ ตรึก นึก คิด คือ สังขาร การ เกิดแห่งธรรม เป็น สังขาร ด้วยหรือไม่ ?

 ขอบคุณมากคะ  :58:


          สมมติว่าผมไปเที่ยวสถานที่แห่งหนึ่ง เป็นสถานที่สวยงามมาก อากาศเย็นสบาย แถมอากาศแถวนั้นก็ดีมาก หายใจเข้าไปแล้วรู้สึกสดชื่นมาก ทุ่งหญ้าเขียวขจี บริเวณรอบ ๆ ประกอบไปด้วยต้นใหญ่ ในทุ่งหญ้านั้น ก็มีดอกไม้นานา ๆ พรรณนา หลากหลายสี ดูแล้วสบายตา แล้วยังมีทะเลสาบ มีน้ำใสแจ๋ว ใสมาก ๆ จนเห็นพื้นของทะเลสาบ อยู่แล้วมีความสุขมาก

๑.   ถ้าผมไปเที่ยวมาแล้ว แต่ไม่ได้เอารูปให้คุณกบดู แค่เล่าให้ฟัง แค่อธิบายให้ฟัง แล้วคุณกบก็ ตรึก นึก คิด เอา ว่าอากาศเป็นอย่างนั้น ทุ่งหญ้าเป็นอย่างนี้ ต้นไม้เป็นอย่างนั้น ดอกไม้เป็นอย่างนี้ ทะเลสาบเป็นอย่างนั้น

๒.   ถ้าผมไปเที่ยวมาแล้ว เอารูปให้คุณกบดู แล้วเล่าประกอบกับให้ดูรูป แล้วคุณกบก็ ตรึก นึก คิด เอาว่า อากาศเย็นแบบนั้น อากาศสดชื่นแบบนี้

๓.   ถ้าผมบอกสถานที่ บอกเส้นทาง แล้วคุณกบไปเที่ยวเองกับเพื่อน หรือครอบครัว


คุณกบว่าการรู้ในข้อไหน จะชัดเจนที่สุด จะถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริงที่สุด




ฉันใดก็ฉันนั้น


          พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า ขันธ์ทั้ง ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา ไม่มีในเรา

เราฟังแค่นี้แล้วมา ตรึก นึก คิด ก็เป็น ข้อ ๑

ถ้ามีพระอรหันต์มาวาดภาพประกอบเรื่อง ขันธ์ ๕ แล้วเรามา ตรึก นึก คิด ก็เป็น ข้อ ๒

ถ้าเราพาตัวเองไปรู้เอง เห็นเอง ก็เป็น ข้อ ๓


จุดสำคัญอยู่ที่


          เราต้องหาตัวเองให้เจอ ต้องรู้ให้ได้ว่า ถ้าพระพุทธเจ้าบอกว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา แล้วอะไรหละที่เป็นเรา มันมีอยู่ สิ่งที่เป็นเราจริง ๆ มีอยู่ เราเอาตัวเราจริง ๆ นั่นแหละ ไปรู้ให้ได้ว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา ถ้าเราเอาตัวเองจริง ๆ ไปรู้ได้ ก็วางได้ วางได้ ก็ชื่อว่ารู้แจ้ง เห็นจริง เห็นตามความเป็นจริง

          การปฏิบัติให้รู้แจ้ง ก็ปฏิบัติใน มรรค 8 นั่นแหละ ปฏิบัติจนถึง สัมมาสมาธิ ได้จริง ๆ เราจะเห็นตัวเราเอง อาการเห็นนั้นมาบางคนก็เห็นเป็นนิมิต บางคนก็ไม่มีนิมิต แต่ก็เข้าถึงตัวเราเหมือนกัน ขึ้นกับบุญบารมีที่เราบำเพ็ญมา ว่าเราปรารถนาแบบไหน แต่ในเบื้องปลาย หรือที่สุด ก็ถึงเหมือนกัน รู้แจ้ง เห็นจริง เหมือนกัน เป็นพระอรหันต์เหมือนกัน

          บางคนไม่เข้าใจเรื่องนี้ ก็ใช้สังขารไปปรุงแต่ง วิมุตติ นิพพาน อรหัตตผล ก็ปรากฏเป็น อรหันต์ปลอม เพราะเวลาเจริญวิปัสสนา ก็ทำเป็นวิปัสสนึก พอเป็นวิปัสสนึก วิมุตติก็นึก นิพพานก็นึก อรหัตตผลก็นึก

          บางคนเจริญพระกรรมฐาน ไปจับอารมณ์ความว่างจากสุข จากทุกข์ ว่าเป็นนิพพาน แท้จริงแล้วเป็นแค่ อทุกขมสุข ไปยึดติดความว่าง ว่าเป็นนิพพาน เป็นมิจฉาสมาธิไป


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 23, 2015, 08:49:45 pm โดย ดนัย »
บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
โอ ไม่นึกว่า เรื่องราว จะมีเนื้อหาลึกซึ้ง ขนาดนี้เลยนะคะ
  เรา ถามพระอาจารย์ เรื่อง ธรรมส่วนสอง คืออะไร เท่านั้นเอง

  แต่ได้ประโยชน์ มากเลยคะ ที่หลายท่านมาแสดงความเห็น ยิ่งคุณ ดนัย แสดงความเห็นได้ลึกซึ้งมาก บางทีก็อ่านแล้ว ก็ยังทำความเข้าใจไม่ได้ เดี๋ยวจะลำดับ ถาม นะคะ

   :58: thk56 st12

ขอบคุณ คุณ nopporn

ที่ผมมาตอบกระทู้ เพราะ เห็นว่าเป็นธรรมะ ที่น่าสนใจ แต่ยังไม่มีใครเข้ามาให้ความเห็นมากนัก

และช่วงนี้พระอาจารย์ท่านก็อาพาธ คงทำให้ท่านต้องพักผ่อนมากขึ้น ท่านเลยเข้ามาตอบน้อยสักหน่อย

ผมยังเป็นผู้ขึ้นชื่อว่า ยังมีกิจที่ตนต้องปฏิบัติอยู่ ดังนั้นบางอย่างที่ตอบไปก็ยังตอบไปด้วยความไม่รู้ (อวิชชา) อยู่ เพราะบางครั้งสิ่งที่ผมคิดว่ารู้แจ้ง แต่จริ่ง ๆ ก็ยังไม่รู้แจ้ง เพราะการปฏิบัติธรรมนั้นมีลำดับอยู่ ปฏิบัติได้แค่ไหนก็ตอบได้แค่นั้น บางครั้งเผลอไปตอบธรรมที่สูงกว่าที่ผมมีอยู่ก็อาจตอบผิด แต่ทุกครั้งที่ตอบ ทุกกระทู้ ก็นำมาจากผลที่ผมปฏิบัติได้จริง ไม่ได้นึกเอาเอง หรือตอบตามตำรา ที่เอามาจากตำราก็มีบางส่วน เพราะบางครั้งสิ่งที่เรารู้ มันก็ยากที่อธิบายให้ฟังได้ ก็ใช้วิธีทบทวนสิ่งที่เรารู้เห็นมา เทียบเคียงกับตำรา เพื่ออธิบายเป็นสมมติบัญญัติ




บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :035: :035: :035:
         ครับ  ช่วงนี้เห็น ศิษย์ครูออกมาช่วยงาน กันบ้างแล้วผมรู้สึกอิ่มใจ


                 ขออนุโมทนาสาธุธรรม  ทุกๆท่านนะครับ


      ตอนนี้  ท่านธวัชชัย  อินเตอร์เน็ต เครื่องพีซีเสีย   เค้ายังไม่มาดูให้

             พอดีเมื่อวานเจอกัน  ครับ

                            ก็ว่ากันไปตามถนัด  ของทุกท่านนะครับ  จงแสดงธรรมกันออกมา

             ตามที่เห็นครับ  ผิดถูกอย่างไร  เดี๋ยวมีผู้มาแก้ให้ครับ 

                               ขออนุโมทนา
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าพิจารณา จาก ที่คุณ ดนัย แสดงไว้นั้น ก็คือ

    มี ไม่มี มี ไม่มี  มี ไม่มี มี ไม่มี  มี ไม่มี มี ไม่มี  มี ไม่มี
   
     ( ถ้าเขียนอย่างนี้ จะมองเห็นง่าย ขึั้น )


    มี เกิด มีดับ ไม่มี เกิด ไม่มี ดับ มี เกิด มีดับ ไม่มี เกิด ไม่มี ดับ มี เกิด มีดับ ไม่มี เกิด ไม่มี ดับ
    ( ถ้าเขียนอย่างนี้ จะมองเห็นง่าย ขึั้น )

    ส่วน สุญญตา ก็อยู่ ในะหว่าง ความเกิด และ ความดับ
 

    มี เกิด มีดับ สุญญตา ไม่มี เกิด ไม่มี ดับ  มี เกิด มีดับ สุญญตา ไม่มี เกิด ไม่มี ดับ
    ( ถ้าเขียนอย่างนี้ จะมองเห็นง่าย ขึั้น )   

    ไม่รู้ผม สื่อ แบบที่คุณ ดนัย ให้ความหมาย หรือ ป่าว ขอความเห็นด้วย ครับ

    :smiley_confused1: st12
 


     "มี ก็คู่ กับคำว่า ไม่มี 

               เพราะว่า มี และ ไม่มี เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน...

      ไม่มี ก็คือ มี

               มี ก็คือ ไม่มี"



     เพราะมีคนดี จึงมีคนชั่ว              เพราะมีคนชั่ว จึงมีคนดี
คนที่ไม่ชั่ว ก็คือ คนดี                คนที่ไม่ดี ก็คือ คนชั่ว

     เพราะมีความดี จึงมีความชั่ว       เพราะมีความชั่ว จึงมีความดี
ความไม่ชั่ว คือ ความดี             ความไม่ดี คือ ความชั่ว

     เพราะมีกุศล จึงมีอกุศล               เพราะมี อกุศล จึงมีกุศล
สิ่งที่ไม่ใช่อกุศล คือ กุศล          สิ่งที่ไม่ใช่กุศล คือ อกุศล

     เพราะ มี “มี” จึง มี “ไม่มี”             เพราะมี “ไม่มี” จึงมี “มี”
เมื่อไม่มี “ไม่มี” ก็คือ “มี”         เมื่อไม่มี “มี” ก็คือ “ไม่มี”


     ธรรมข้อนี้ น่าจะเป็นธรรม เพื่อละกิเลสตัวสุดท้ายคือ ความหลง
พระอนาคามี ละกิเลส คือ โลภะ ราคะ โทสะ ได้เด็ดขาด แต่ยังเหลือ โมหะ


     ผู้มีบารมีธรรมสูง บำเพ็ญบารมีมาดี ทำสติเป็นมหาสติได้ ยกธรรมนี้ขึ้นพิจารณา ถ้าจิต (ตัวเรา) เกิดปัญญารู้แจ้ง เห็นจริง เห็นตามความเป็นจริง วางอุปาทานความยึดมั่น ว่าเป็นเรา เป็นของเราได้ ก็อาจตรัสรู้ธรรมในครั้งเดียวเป็นพระอรหันต์เลย

     ธรรมนี้น่าจะสูงเกินกว่าที่ผมจะแสดงได้ ผมเป็นเพียงผู้ที่คิดว่าพระนิพพานเป็นไปได้ ดับแล้วไม่เกิดได้ เป็นแค่พอรู้ทางที่จะเดินไปข้างหน้าเท่านั้น   


ขอให้ผู้รู้แจ้งธรรมมาแสดงในภายหลังเถิด


     แต่อย่างน้อย กระทู้ที่ผมตอบไป ก็ถือว่าเป็นการสนทนาธรรม

ผิดก็จะได้รู้ว่าผิด และก็จะได้รู้ว่าถูกเป็นอย่างไร

     จะได้นำสิ่งที่ถูกไปปฏิบัติ ไปน้อมนำ (โอปนยิโก) เข้าสู่ใจ สู่จิต ของเรา



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 23, 2015, 08:42:05 pm โดย ดนัย »
บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สุญญตา นั้น แปลว่า อะไร ผมก็ไม่ค่อยคุ้นเคย ต่อคำนี้ แต่เอาเป็นว่า

     สุญญตา นั้นปรากฏ ใน ธรรมที่เป็น กฏแห่งธรรม คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ใน วิโมกข์ 3 ส่วนวิปัสสนา แสดงไว้ในแบบ นี้ ( แต่ไม่รู้มีข้อความยืนยันหรือไม่ ? )
   คือ

   (107) วิโมกข์ 3 (ความหลุดพ้น, ประเภทของความหลุดพ้น จัดตามลักษณะการเห็นไตรลักษณ์ ข้อที่ให้ถึงความหลุดพ้น — liberation; aspects of liberation)
       1. สุญญตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยเห็นความว่างหมดความยึดมั่น ได้แก่ ความหลุดพ้น ที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนัตตา คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตา แล้วถอนความยึดมั่นเสียได้ — liberation through voidness; void liberation) = อาศัยอนัตตานุปัสสนา ถอนอัตตาภินิเวส.
       2. อนิมิตตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนิจจัง คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจตา แล้วถอนนิมิตเสียได้ — liberation through signlessness; signless liberation) = อาศัยอนิจจานุปัสสนา ถอนวิปัลลาสนิมิต.
       3. อัปปณิหิตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นทุกข์ คือ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกขตาแล้วถอนความปรารถนาเสียได้ — liberation through dispostionlessness; desireless liberation) = อาศัยทุกขานุปัสสนา ถอนตัณหาปณิธิ.

 (  http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=107 ทีมาของเนื้อหาส่วนนี้ )
   

ตามความเห็นของผม

๑. สุญญตวิโมกข์ คือ ปัญญาวิมุุตติ

๒. อนิมิตตวิโมกข์ คือ เจโตวิมุตติ โดยอาศัยนิมิต เพื่อละนิมิต

๓. อัปปณิหิตวิโมกข์ อาจจะเป็น เจโตวิมุตติอนิมิต หรือ เมตตาเจโตวิมุตติ




บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

saieaw

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 271
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
โห นาน ๆ จะได้เห็น การสนทนา ธรรมกัน แบบ ขั้นสูงที่นี่ นะ

  นานมาก ที่จะมีใคร กล้า มาวิจารณ์ ธรรมขั้นสูง ณ บอร์ดนี้

    อนุโมทนา คะ อย่างน้อย ก็ตามอ่าน และ ลุ้นพิจารณาธรรม ตามด้วย นี่ถ้าได้ศิษย์ ก้นกุฏิ สายพระอาจารย์ มาแสดงกันทั้งหมด สงสัย ว่า จะอ่านได้ยาก มากนะเนี่ย ......

    แต่ ขอวิจารณ์ บ้าง นะคะ

         เอากลับไปเรื่อง หัวข้อก่อนนะคะ

             มี ก็คู่ กับคำว่า ไม่มี  เพราะ มี และ ไม่มี เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน

    กระทู้เปิด ด้วย การแสดง คำ สอง คำ คือ คำว่า  มี   และ คำว่า ไม่มี
           และแสดงเหตุผล ว่า   มี และ ไม่มี เป็นปัจจัย ซึ่งกันและกัน

       จากการตามอ่าน ข้อความแต่ละท่านทำให้เห็นว่า

     คำว่า มี จะมีได้ ก็เพราะอาศัยคำว่า ไม่มี
     และ คำว่า ไม่ม่ จะมีได้ ก็เพราะอาศัยคำว่า มี

        มี คืออะไร ?
        ไม่ม่ คืออะไร ?
        มี และ ไม่มี สำคัญอย่างไร ?

       มี หมายถึง การปรากฏของ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มี จะมีได้ ก็ต่อ
             ตา เห็น
             หู ได้ยิน
             จมูก ได้กลิ่น
             ลิ้น ได้รส
             กาย กระทบสัมผัส
             ใจ ปรากฏอารมณ์
        ไม่มี หมายถึง การไม่ปรากฏ ของสิ่งใด สิ่งหนึ่ง ดังนี้
             รูป ไม่ปรากฏ
             เสียง ไม่ปรากฏ
             กลิ่น ไม่ปรากฏ
             รส  ไม่ปรากฏ
             สิ่งกระทบ ไม่ปรากฏ
             อารมณื ไม่ปรากฏ

        จะเห็นว่า มี นั้นมีกำเนิด จาก อายตนะภายใน   ส่วนไม่มี นั้นคือการไม่ปรากฏ ของอายตนะ ภายนอก

       เท่านี้นะจ๊ะ จำมาจาก พระอาจารย์ อาจจะมีประโยชน์ แก่ท่านที่ดำเนินการ น้อมใจในธรรม เรียกว่า ธรรมวิจยะ นะคะ

      :s_hi: :s_hi: :s_hi: :49: st11 st12 :58:
             

   
บันทึกการเข้า

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
อย่าง นี้ ก็ควร เขียนสูตร ให้มอง ง่าย อย่างนี้ใช่หรือไม่จ๊ะ
 
     ตา    เห็น    รูป   ปรากฏ   รูป    ชื่อว่า  มี    ไม่ปรากฏ    รูป    ชือว่า   ไม่มี
     หู     ฟัง     เสียง  ปรากฏ  เสียง  ชื่อว่า  มี   ไม่ปรากฏ   เสียง   ชื่อว่า   ไม่มี
     จมูก  ดม    กลิ่น   ปรากฏ   กลิ่น  ชื่อว่า  มี   ไม่ปรากฏ   กลิ่น   ชือว่า   ไม่มี
     ลิ้น    ลิ้ม      รส    ปรากฏ   รส    ชื่อว่า  มี   ไม่ปรากฏ   รส    ชือว่า   ไม่มี
     กาย  กระทบ  สัมผัส  ปรากฏ  สัมผัส ชื่อว่า  มี   ไม่ปรากฏ  สัมผัส ชือว่า   ไม่มี
     ใจ    รับ      อารมณ์ ปรากฏ  อารมณ์ ชื่อว่า  มี   ไม่ปรากฏ  อารมณ์   ชือว่า   ไม่มี

    1. เอ แล้วสูตร สุญญตา มันเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?
    2. ถ้าเป็นไปตามสูตร ก็จะเห็นว่า มี ไม่ได้เกี่ยวข้อง กับ ไม่มี ใช่ไหม ?
    3. ถ้าตอนที่ว่าไม่ปรากฏ คือ ไม่มี อันนี้ คือ สุญญตา ใช่ไหม ?
    4. ถ้าไม่ใช่ สุญญตา อยู่ตรงไหน ของสูตร นี้ ?

     โทษนะจ๊ะ พยายามพิจารณาตาม อยู่ นะจ๊ะ
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

saieaw

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 271
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
โห ป้า ฟ้าใส ถามเองเลยนะ แล้ว หลานจะตอบอย่างไร ละจ๊ะ
 เอาเป็นว่า ตอบตามพระอาจารย์ ที่เคยได้ฟัง นะคะ
   
        มี อาศัยการปรากฏ 
        ไม่มี ก็อาศัยการปรากฏ
        ดังนั้น มี และ ไม่มี อาศัยการปรากฏ เหมือนกัน
        คำตอบว่า เจอ เหมือน ไม่เจอ  มี เหมือน ไม่มี เพราะอาศัยเหตุปัจจัยของการปรากฏเช่นเดียวกัน
     ดังนั้นคำตอบนี้ เป็นส่วนของ ปรมัตถ์ ไม่ใช่ บัญญัติอารมณ์ ใด ๆ จึงมีค่า เท่ากับ เหมือน หญิง และ ชาย กำเนิดจาก ครรภ์มารดา เหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่เพศ ฉันใด ก็ ฉันนั้น
        มี กำเนิดจากมาจาก ตา เห็น และ ( ปรากฏ )
       ไม่มี กำเนิดมาจาก ตา ไม่เห็น      ( ไม่ปรากฏ )
        ดังนั้น มี และ ไม่มี จึงมาจาก กำเนิด เดียวกับ
       เมื่อ มี กำเนิด ไม่มี ก็เป็น ดับ นั่นเอง

        ที่นี้ สุญญตา ถ้ากลับไปฟัง หรือ ดู การอธิบาย ปฏิจจสมุปบาท ของพระอาจารย์แล้ว มันมีอยู่ 4 แบบ นะคะ ตรงนี้ มีอยู่ 4 ลักษณะ แต่พระอาจารย์ท่านเพิ่มไว้เป็น 5 ลักษณะ

       คำว่า ลักษณะ ก็คือ อัตลา หรือ ความมีตัวตน ใชคำว่า อัตตลักษณ์ เพราะการอธิบาย อนัตตา ต้องอาศัย อัตตา ถ้าไม่มี อัตตา ก็ไม่มี อนัตตา ดังนั้นผู้ที่จะเข้า อนัตตลักษณะ จึงต้องเข้าใจ อัตตลักษณะ ก่อน นั่นเอง จึงเป็นเหตุ ให้พระพุทธเจ้า ทรงตรัสแสดงเรื่อง อนัตตลักขณสูตร เป็นสูตรที่ 2 เรียกว่า สูตรแห่งการเป็นพระอรหันต์

       รายละเอียด มากกว่า นี้ หลานไปไม่รอด นะคะ คุณป้า ต้องคุณ กับ คุย ดนัย คุณ raponsan คุณ aaaa คุณ Admax คุณ ธุลีธวัช คุณ Translate คุณ ISARAPAP ถ้าหากต้องการข้อมูล ที่แน่นเปรียะ ละคะ แน่นอน ธัมมะวังโส คะ

      :88: :58: :25: like1
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1
        เพราะรู้ว่ามีรูป  จึงรู้ว่าไม่มีรูป     มีรูปฌาน จึงมีอรูปฌาน


           รู้ว่ารูปเกิด  จึงรู้รูปดับ  เพราะรู้มีรูป จึงรู้ว่าไม่มีรูป

           แล้วเกิดขึ้นพร้อมดับ ล่ะ   เป็นอย่างไร   

           แล้วอารมณ์ในรูป  ล่ะ เป็นอย่างไร

                   มีใครอธิบายได้  ช่วยแจกแจงแถลงไข ว่าให้ฟังหน่อย ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :hee20hee20hee: :035:
        พระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน ( ตรงระหว่าง )  ฌานสี่  จะขึ้นฌานห้า

          คือไม่ใช่ทั้งสี่ และห้า  แต่ระหว่าง...between  มีรูป-ไม่มีรป


                   แปลว่าพระพุทธองค์   ทรงเลือก   ตรงกลาง( มัชฌิมาทางสายกลาง) ระหว่าง   รูป และ อรูป

                มี กับ ไม่มี...มีรูป กับ ไม่มีรูป....พระพุทธองค์ทรงไม่ได้เลือกทั้งสองสิ่งนั้น

                           พระองค์ทรงเลือกมัชฌิมา ทางสายกลาง

                                       ธรรมจากครูบาอาจารย์อีกที  ว่าไปตามอารมณ์ครับ

                                              สาธุธรรมครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 st12 st12
  นับว่า หัวข้อนี้ หลังจากเปิด กระทู้มา และมีผู้ตอบ เราก็อ่าน และทบทวนกลับไป กลับมา หลายรอบ แต่ก็ยังไม่เข้าใจ เรื่อง สุญญตา อยู่ดี

   แต่ข้อความ ของ น้อง ไซอิ๋ว นี้ ลึกซึ้ง นะคะ มีเรื่องของ อัตตา และ อนัตตา รวมอยู่ในความหมาย

  ก็คงต้องรอผู้ มีความเข้าใจ มาเพิ่มเนื้อหา ให้ คะ

   
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

 ถ้า การ ตรึก นึก คิด คือ สังขาร การ เกิดแห่งธรรม เป็น สังขาร ด้วยหรือไม่ ?

 ขอบคุณมากคะ  :58:

ธรรมนั้นแท้จริงแล้ว จะมีพระพุทธเจ้า หรือไม่มี พระพุทธเจ้า ธรรมนั้นก็มีอยู่ เรียกว่าธรรมนั้นเป็น อกาลิโก

ผมไม่เคยได้ยินว่า พระพุทธเจ้าคิดธรรม เคยได้ยินแต่ตรัสรู้ธรรม

คำว่าตรัสรู้ธรรม ก็หมายถึงรู้ธรรม พระพุทธเจ้าเพียงแต่เข้าไปรู้ธรรม ธรรมนั้นมีอยู่แล้ว

เมื่อท่านตรัสรู้ธรรมแล้ว ท่านจึงทบทวนว่าธรรมนี้ลึกซึ้งนัก จะอธิบายให้ผู้อื่นฟังเข้าใจหรือ

จนมีผู้ไปอาราธนาพระพุทธเจ้าว่า สัตว์ผู้มีธุลีในดวงตาน้อยยังมีอยู่... ท่านจึงได้แสดงธรรม


ไม่รู้ว่าสิ่งที่ผมอธิบายจะทำให้คุณ กบ เข้าใจหรือไม่

สำหรับเรื่องนี้ ถามมาได้อีก ผมจะตอบเท่านที่ตอบได้

เรื่องนี้ก็นับว่าเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คำถามของคุณ กบ ก็แสดงถึงภูมิธรรมระดับหนึ่ง

ความสงสัยก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ผู้ที่ไม่สงสัยก็ไม่เกิดตัณหาในการศึกษาธรรม เกิดตัณหาในการบรรลุธรรม

แต่ผู้ที่จะบรรลุธรรม ก็ต้องวางตัณหาก่อน ถ้ายังยึดอยู่ก็ไม่บรรลุธรรม

อาศัยตัณหา เพื่อละตัณหา อาศัยสังขาร เพื่อละสังขาร

สัพเพ สังขารา อนิจจา สังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งทั้งปวงไม่เที่ยง

สัพเพ สังขารา ทุกขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์

สัพเพ ธรรมา อนัตตา ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา มิใช่อัตตาตัวตน






บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

         ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ  พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น


         ธรรมเหล่านั้นดับไปก็เพราะเหตุดับ   พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนั้น


                เป็นพระธรรมที่พระอัสชิ  มอบแด่พระสารีบุตร  ในคราวที่พบกันครั้งแรก


                     ก่อนที่พระอัสชิ   จะพาไปพบพระตถาคตเจ้าพระบรมศาสดา
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

translate

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 105
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


 ภาพประกอบส่วนนี้ ขี้ชัดเรื่อง สุญญตา

    คำวา สุญญตา นั้น แปลว่า ว่างเปล่า
    คำว่า สุญญะ  แปลว่า สูญ ( ไม่มี )
   
    ดังนั้น 2 คำนี้ หลายท่านไปตีความผิดกันนะครับ
    เพราะคำว่า สุญญตา นั้น ไม่ได้บอกว่า ไม่ม่ แต่บอกว่า ว่างเปล่า นั้นแสดงว่า มี แต่ ว่างเปล่า
    ในขณะที่คำว่า สุญญะ นั่น หมายถึง ไม่มี นั่นแสดงว่า มี หรือ ไม่มี มาก่อน

    คำว่า ว่างเปล่า นั้น มีคุณลักษณะ คือ มี แต่เหมือน ไม่มี และ มีคุณลักษณะของคำว่า มี อยู่ในตัว นั่นเอง


     :49:
บันทึกการเข้า