สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กันยายน 15, 2020, 06:06:57 am



หัวข้อ: สังคมสงฆ์ยุค “ถูกกระชับพื้นที่”
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 15, 2020, 06:06:57 am


(https://static.posttoday.com/media/content/2020/08/09/5236C0062A91F734DDCF9ECFAC868832.jpg)



สังคมสงฆ์ยุค “ถูกกระชับพื้นที่”

ตอนนี้ผมชักไม่เชื่อแล้วว่า การปฎิรูปกิจการพระพุทธศาสนาคือทางรอดของคณะสงฆ์ บรรยากาศตอนนี้ในวงการคณะสงฆ์เงียบ วังเวง หงอยเหงา อย่างไรพิกล ๆ หลายวัด ปิดวัดยังไม่เปิดให้สาธุชนเข้าไปท่องเที่ยวเที่ยว หลายวัดเจ้าอาวาสเก็บตัวเงียบอยู่แต่ภายในกุฎิ รอดูท่าทีอะไรบางอย่าง

ยิ่งกฎมหาเถรสมาคมฉบับใหม่ประกาศใช้..เสียงเล็ดลอดซุบซิบดังออกมาพอได้ยินบ้างว่า เราจะผลีผลามจะใช้สมณวิถีแบบเดิมไม่ได้แล้ว สมกับเป็นยุคนิว นอร์มอล จริง ๆ

ยิ่งเห็นหนังสือจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่ส่งคำร้องเรียนพฤติกรรมของพระภิกษุบิณฑบาต จากศูนย์ร้องเรียนสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว..พระคุณเจ้าที่บิณฑบาตหวังเงินถึงกับซี้ด !!

วงการสงฆ์ระยะนี้ กระทบตั้งแต่ระดับบนจนถึงระดับล่าง..หากเปรียบกับสังคมด้านนอกหมายถึงกระทบทั้งนายทุนและประชาชนหาเช้ากินค่ำ

เห็นบทบาทของอดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแล้วเรื่อง สิทธิในการบวชของภิกษุณีในประเทศไทยแล้ว..งานนี้ช้างชนช้าง

มหาเถรสมาคมยืนกระต่ายขาเดียวมาตลอดว่า พระภิกษุณี สายเถรวาทขาดสายไปนานแล้ว จะมารื้อฟื้นไม่ได้ แต่อีกฝ่ายอ้าง การบวชภิกษุณีประเทศศรีลังกายังมี มหายานเขาก็มี ทำไมเมืองไทยจะมีบ้างไม่ได้ ตอนนี้ต้องรอชมว่า “ซุ้มใครจะแข็งกว่ากัน"


(https://static.posttoday.com/media/content/2020/08/09/7192D149FCCDF70656452EEC78C06B24_1000.jpg)

วงการคณะสงฆ์ตั้งแต่กำจัดสายแข็งไป 3 รูป...วันนี้ทิศทางเปลี่ยนไปแล้วจริง ๆ ตอนนี้ผู้เขียนคิดว่า หากคณะสงฆ์ต้องการปฎิรูปพระพุทธศาสนาให้รอด ทั้งคณะสงฆ์และพระพุทธศาสนา มี 2 ทางเลือก คือ กลับคืนสู่แก่นแท้ของความเป็นพระภิกษุดังที่พวกเราเรียนกันมาในหนังสือ ธรรมบท

ธุระของพระภิกษุในพระพุทธศาสนามี 2 อย่าง คือ วิปัสสนาธุระ และคันถะธุระ นอกจากนี้มิใช้ธุระของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา

ภารกิจ 6 ด้านที่มหาเถรสมาคม คณะสงฆ์กระทำอยู่ตอนนี้ ล้วนก่อให้เกิดเป็นไปตามความต้องการของ “ทางการเมือง” บางเรื่องการเมืองยืมตราของมหาเถรสมาคมเป็นเครื่องมือ..ด้วยซ้ำไป

คณะสงฆ์ต้องกลับไปสู่รากเหง้าของตนเอง คณะสงฆ์ต้องกลับไปสู่ชุมชน ทำนองว่า ถึงเวลากลับวัดกันแล้ว เมื่อทิศทางการเมืองเปลี่ยนไป คณะสงฆ์ต้องนิ่ง แล้วกลับไปสุ่จุดแข็งของเรา..คือ วิปัสสนา และการศึกษา

@@@@@@@

ประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางพระพุทธศาสนา ทำอย่างไรแบรนด์พระพุทธศาสนาในไทยคือ วิปัสสนาจึงจะเข็มแข็ง ทำอย่างไรพระภิกษุ พระวิปัสสนาจารย์ในบ้านเรา จึงจะมีองค์ความรู้ศาสตร์สมัยใหม่เช่น ด้านไอที ด้านภาษาอังกฤษ นำหลักธรรมพุทธศาสนาที่แท้จริง ออกไปเปิดให้สังคมภายนอกรับรู้

ประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางพระพุทธศาสนา ทำอย่างไรเราจึงจะเห็นพระภิกษุสงฆ์ที่มีคุณภาพ มีศักยภาพ มีการศึกษาที่ถูกต้อง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีกับนานาอารยะประเทศนำไปเป็นแบบอย่าง ในฐานะศูนย์กลางพระพุทธศาสนา

ผู้เขียนก็แอบฝัน..เหมือนกับคนบางคนบางกลุ่มที่แอบฝัน..อยากเห็นวงการคณะสงฆ์เดินตามรอยนี้ แต่จะให้มาบวชอีกรอบไหม..เห็นการกระชับอำนาจที่ใช้กับวงการคณะสงฆ์ยุคนี้แล้ว อยู่แบบอด ๆ อยาก ๆ แบบนี้แหละดีแล้ว ไม่อยากเป็นดั่ง นกในกรงทอง

       
   
ขอบคุณ : https://www.posttoday.com/dhamma/630260 (https://www.posttoday.com/dhamma/630260)
สังคมสงฆ์ยุค“ถูกกระชับพื้นที่” โดย อุทัย มณี         
วันที่ 09 ส.ค. 2563 เวลา 11:09 น.