ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พิจารณา วิธีรวมจิต ที่เขากล่าวไว้หน่อยครับ  (อ่าน 5534 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าเราอยากให้จิตรวมสงบได้เร็วต้องมีศีลควบคุมใจ ต้องมีกัลยาณมิตรคอยชี้นำ   ต้องปฏิบัติให้ถูกกับจริตของตนต้องเร่งความเพียรฯลฯ   ต้องปฏิบัติทั้งอิริยาบถใหญ่(ยืน-เดิน-นั่ง-นอน) และอิริยาบถย่อย(กิน-ดื่ม-ดู-ฟังฯลฯ)ทุกขณะที่ตื่นที่นึกได้  ที่ว่างจากงานที่ทำอยู่เป็นประจำ   นอกจากนี้นอนให้น้อย    พูดให้น้อย   แต่ปฏิบัติให้มากอุทิศบุญกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรทุกครั้ง   หลังจากปฏิบัติ   ทำได้อย่างจิตสงบเร็ว

โดย : karn
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้

translate

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 105
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พิจารณา วิธีรวมจิต ที่เขากล่าวไว้หน่อยครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 09:37:36 pm »
0
ผมไม่เห็นว่า จะเป็นวิธีรวมจิต ตรงไหนเลยครับ

ให้มีศีล
หากัลยาณมิตร
ปฏิบัติให้ถูกจริต
ภาวนาทุกอิริยาบถหลัก
มีสติสัมปชัญญะในอิริยาบถย่อย
ทุกครั้งที่นึกได้
ให้แผ่เมตตา

ไม่เห็นจะวิธีรวมจิต ใด  ๆ เลยครับ

 :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พิจารณา วิธีรวมจิต ที่เขากล่าวไว้หน่อยครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2011, 06:15:23 am »
0
พิจารณาดูตามริงค์นี้...ครับ



http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=940.0

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 12, 2011, 06:22:34 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พิจารณา วิธีรวมจิต ที่เขากล่าวไว้หน่อยครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2011, 08:18:51 am »
0
สาธุ นำมาลิงก์ มาได้ดี แต่หาวิธีวางอารมณ์ในการภาวนา กับ เบื้องต้น และวิธีรวมศูนย์จิต เพิ่มมาด้วยก็ดีนะจ๊ะ

เจริญพร


 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

สาวิตรี

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +6/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 148
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พิจารณา วิธีรวมจิต ที่เขากล่าวไว้หน่อยครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2011, 11:16:48 am »
0
ก่อนศึกษาเรื่อง รวมจิต ควรศึกษาเรื่อง นี้ไว้ด้วยคะ

แค่ "รู้" เฉยๆ รู้อาการไปเรื่อยๆ ก็พอครับ
ไม่ทราบจุดประสงค์นะครับว่าคุณต้องการไปนิพพาน หรือปฏิบัติให้แค่ความสงบเฉยๆ แต่ค่อนข้างเสี่ยง

มีธรรมมาฝาก เป็นคู่มือในการปฏิบัติกรรมฐานที่ทุกท่านต้องมี ลองพิจารณาดูครับ

วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง
มิจฉาสมาธิ มีเหตุให้เกิดขึ้นจาก มิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดเข้าใจผิดจากความเป็นจริง มีตัณหาคือความอยากเป็นต้นเหตุที่สำคัญ เมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิแล้วจึงเกิดภาพหลอกที่เรียกว่านิมิต นิมิตนี้เองจึงเป็นกลลวงของกิเลสสังขาร ผู้ไม่มีปัญญาจึงเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นของจริง มีความดีใจ พอใจในนิมิตนั้น ๆ จนลืมตัวจึงเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นของดี มีความฝักใฝ่พอใจในนิมิตจนจิตเกิดเป็นวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง ขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว นี้ก็เพราะไม่มีปัญญารอบรู้ในวิธีทำสมาธิที่ถูกต้องนั่นเอง จึงทำให้จิตเกิดวิปลาสเหม่อลอย ไม่มีสติควบคุมจิตของตัวเองได้เลย ที่เรียกว่ากรรมฐานแตกเป็นบ้านไปก็เป็นในลักษณะนี้ก็เพราะทำสมาธิไม่มีปัญญา เป็นองค์ประกอบรอบรู้เอาไว้ ถ้าทำสมาธิมีความจริงจังมากเท่าไรก็จะเพิ่มวิปลาสมากขึ้นเท่านั้น สติปัญญาไม่มี อาการของวิปัสสนูปกิเลสก็เริ่มปรากฏตัวขึ้นที่ใจ ดังจะได้อธิบายเรื่องของวิปัสสนูปกิเลสที่เกิดขึ้นจากมิจฉาสมาธิ ที่มีความสงบอย่างผิด ๆ ให้ผู้ทำสมาธิรับรู้เอาไว้ เพื่อจะได้ข้อคิดสังเกตดูตัวเองว่า เมื่อทำสมาธิไปแล้วมีผลเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ถ้าผิดไปก็จะได้แก้ไขให้ทันต่อเหตุการณ์
•  โอภาส เมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิแล้วจะเกิดความสว่างในทางใจ ความสว่างนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับนิสัยของแต่ละคนไม่เหมือน กัน เมื่อความสว่างนี้เกิดขึ้นกับตัวเองเมื่อไร ให้รีบไปหาครูอาจารย์ช่วยแนะวิธีแก้ไข ครูอาจารย์นั้นต้องมีความรอบรู้ในวิธีทำสมาธิเป็นอย่างดี จึงจะช่วยแก้ไขให้ได้ ถ้าครูอาจารย์ไม่มีความรู้ในทางนี้ ก็จะส่งเสริมตอกย้ำให้ทำในวิธีนี้ต่อไป ผู้ได้รับผลที่ผิด ๆ ก็ตกอยู่กับผู้ทำสมาธิเอง
•  ปีติ          ผู้ทำสมาธิจะมีความเอิบอิ่มใจเป็นอย่างมากมีความเบิกบานใจอยู่ตลอดเวลา จะยืนเดินนั่งนอนอยู่ในอิริยาบถไหนใจจะมีความเอิบอิ่มอยู่ตลอดทั้งวันทั้ง คืน ในช่วงนั้นมีแต่เฝ้าดูจิตที่มีความเอิบอิ่มอยู่เป็นนิจ ความคิดทางสติปัญญาจะพิจารณาในเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็หมดสภาพไป ใจมีแต่ความเพลิดเพลินอยู่กับปีตินั้น ๆ
•  ปัสสัทธิ       ความสงบใจที่เป็นผลจากการทำสมาธิจะมีความสงบเป็นอย่างมาก จะมีความแน่วแน่มั่นคงอย่างแนบแน่นทีเดียว ใจไม่คิดวอกแวกแส่ส่ายไปตามอารมณ์แต่อย่างใด จะเป็นอารมณ์แห่งความรักหรืออารมณ์แห่งความชัง เนื่องจากสาเหตุอันใดก็ตามไม่มีความอยากคิดในเรื่องอะไรทั้งนั้น จะยืนเดินนั่งนอนอยู่ในที่ไหนมีแต่ความสงบใจอยู่ตลอดเวลา นี้ก็เป็นโมหสมาธิหลงอยู่ในความสุขจนลืมตัว ไม่อยากคิดพิจารณาให้เป็นไปในการเจริญทางสติปัญญาแต่อย่างใด เพราะกลัวว่าใจจะเกิดความฟุ้งซ่าน มีแต่ใช้สติระลึกรู้อยู่ในอารมณ์แห่งความสงบนั้น ๆ จึงเป็นสมาธิที่โง่เขลาหาความฉลาดไม่ได้เลย
•  สุขะ   เมื่อจิตมีความสงบดีแล้วย่อมเกิดความสุขภายในใจเป็นอย่างมาก จะยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ในที่ไหนใจจะมีแต่ความสุขอยู่ตลอดเวลา ถือว่าใจมีความสุขแล้ว อยากให้ความสุขนี้อยู่เป็นคู่ของใจตลอดไปไม่อยากให้เสื่อมคลาย นี้เองผู้ปฏิบัติในยุคนี้จึงมีความต้องการภาวนาหาความสุขใจเพียงเท่านั้น ที่สอนกันว่าทำสมาธิเพื่อให้เกิดความสุขภายในใจถ้าปัญญาไม่มีก็จะหลงความสุข ได้
•  ญาณะ เมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิได้แล้วย่อมมีความรู้เกิดขึ้น ความรู้ที่เกิดขึ้นนี้เองจะทำให้เกิดความหลงผิดไปได้ง่าย จะตีความหมายไปว่าปัญญาญาณได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้ว อยากรู้เรื่องอะไรอยากรู้ในธรรมหมวดไหนก็กำหนดถามลงไปที่ใจ ก็จะมีความรู้ตอบขึ้นมาในหมวดธรรมนั้น ๆ จะเข้าใจไปว่าคุณธรรมได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้ว อยากรู้ว่าเราอยู่ในคุณธรรมระดับไหน ก็จะมีความรู้บอกขึ้นมาว่า เป็นคุณธรรมของพระอริยโสดาบันบ้าง เป็นคุณธรรมของพระสกิทาคามีบ้าง เป็นคุณธรรมของพระอนาคามีบ้าง เป็นคุณธรรมของพระอรหันต์บ้างจึงได้เกิดความเชี่อมั่นในความรู้ที่เกิดขึ้น ว่าเป็นจริงที่ฝังใจอย่างสนิททีเดียว ใครจะมาว่ามีความสำคัญผิด ก็จะยืนยันว่าเรามีญาณรู้ที่ถูกต้องและมีความเชื่อมั่นว่าตัวเองได้บรรลุ ธรรมเป็นพระอริยเจ้าจริง ถ้าเป็นในลักษณะนี้จึงยากที่จะแก้ไข
•  อธิโมกข์    น้อมใจเชื่อว่าเป็นของจริงอย่างฝังใจทีเดียว เข้าใจว่าเรามีดวงตาเห็นธรรม ก็เพราะมีญาณรู้ที่เกิดขึ้นจากสมาธิความสงบเป็นต้นเหตุนั่นเอง มีความเชื่อมั่นในความรู้ของตัวเองสูงมากให้ความสำคัญตัวเองว่า พุทโธ รู้ตื่นเบิกบานได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้วถ้ามีอภิญญาอย่างใดอย่างหนึ่งเกิด ขึ้นก็จะเกิดความเชื่อมั่นเพิ่มทิฏฐิมานะอัตตาจนลืมตัว ถ้าพระเป็นในลักษณะนี้ก็จะได้รับพยากรณ์จากลูกศิษย์ว่า อาจารย์ของเราได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ทันที
•  ปัคคาหะ   มีความเพียรที่เข้มแข็งเป็นอย่างมาก ความเพียรนั้นจะมุ่งทำสมาธิให้จิตมีความสงบเพียงอย่างเดียว จะไปที่ไหนอยู่ในที่ใดจะปรารภความเพียรทำสมาธิอยู่เสมอ จะอยู่เฉพาะตัวหรือในสังคมใดจะอยู่ในความสำรวมผิดปกติ จะอยู่แบบนิ่งเฉยไม่อยากจะพูดคุยกับใคร ๆ ผู้ที่ไม่เข้าใจก็คิดว่าเป็นผู้ปฏิบัติที่เคร่งครัดมาก หรือลืมตาก็จะอยู่ในท่าเงียบขรึมซึมเซ่อเหม่อลอย ไม่ชอบอยู่ในสังคมอยากจะอยู่เป็นเอกเทศเฉพาะตัว ไม่มีความฉลาดรอบรู้ในทางปัญญาแต่อย่างใด จึงเรียกว่า มิจฉาวายามะ เป็นความผิดไม่ถูกต้องชอบธรรมแต่อย่างใด
•  อุปัฏฐาน   มีสติระลึกรู้ในอารมณ์ภายในใจได้ดีมาก แต่เป็นเพียงสติสมาธิเท่านั้น ส่วนสติปัญญาจะไม่มีกับผู้เป็นในลักษณะนี้แต่อย่างใด ถ้าอารมณ์ของใจเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยอย่างไร ก็จะมีสติระลึกรู้ไปตามอารมณ์ประเภทนั้น ๆ ไม่ชอบพิจารณาในทางสติปัญญาแต่อย่างใด ไม่สนใจพิจารณาในเรื่องที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถึงจะพูดธรรมะได้ก็พูดไปตามตำราที่ได้ศึกษามาเท่านั้น จึงเรียกว่า มิจฉาสติ ระลึกรู้ในสิ่งใด จะไม่เป็นไปในความถูกต้องชอบธรรมแต่อย่างใด
•  อุเบกขา   ความวางเฉยในทางใจได้ดีมาก ใจไม่รับในอารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ อะไรที่มาสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเป็นสิ่งที่จะให้เกิดความรักความชัง ใจจะวางเฉยอยู่ตลอดเวลาเมื่อใจลงสู่อุเบกขาความวางเฉยที่มั่นคงแล้ว จะไม่ทำให้เกิดความรู้สึกในอารมณ์ ไม่มีความเอาใจใส่ในสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้น เมื่อเป็นอย่างนี้จะทำสมาธิได้ง่าย แต่ก็จะเป็นมิจฉาสมาธิ ความตั้งใจมั่นผิดต่อไป จึงยากที่จะแก้ไขหรือแก้ไขไม่ได้เลย
•  นิกันติ   มีความยินดีพอใจในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด ยอมรับผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นของจริง มีความเชื่อ ว่าเป็นแนวทางที่จะทำให้ถึงซึ่งมรรคผลนิพพานได้แน่นอน ใครจะมาว่าภาวนาผิดอย่างไรก็มีความมั่นใจในตัวเองว่าภาวนาถูกต่อไป และยังไปตำหนิผู้อื่นว่าภาวนาไม่เก่งเหมือนเรา ถึงครูอาจารย์องค์ที่มีความฉลาดรอบรู้เข้ามาช่วยเหลือก็สายไปเสียแล้ว ชีวิตได้ทุ่มเทในการทำสมาธิอย่างจริงจัง ก็มาพังเพราะวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นนี้เอง 
ผู้ทำสมาธิถ้าไม่กำจัดตัวมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดให้หมดออกจากใจได้ เมื่อทำสมาธิเพิ่มเข้าไปกำลังใจที่เกิดจากการทำสมาธิ ก็จะไปบวกกันกับมิจฉาทิฏฐิเดิมที่มีอยู่ ก็จะเกิดเป็นมิจฉาสมาธิ ความตั้งมั่นผิด แล้วกลายเป็นวิปัสสนูปกิเลสดังที่ได้อธิบายมาแล้ว

โดย : คุณมะเดื่อ
บันทึกการเข้า

ลำใย

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 83
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พิจารณา วิธีรวมจิต ที่เขากล่าวไว้หน่อยครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2011, 11:22:00 am »
0
เคยอ่านตำรา มามากมาย บางอย่างก็แต่งขึ้นแต่ไม่ปรากฎว่ามีที่มาจากพระไตรปิฎก 
เลยต้องฟังหูไว้หู พิจารณาก่อนดีกว่าเชื่อไปตามตำรา

เช่น อุปกิเลส วิปัสสนูกิเลส 
คำว่ากิเลส เป็นอะไรที่เข้าใจง่ายๆ

๑) วิปัสสนูปกิเลส ไม่ใช่คำที่พระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้น
แต่เป็นศัพท์ใหม่ของคัมภีร์ชั้นหลัง
เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง และเกิดขึ้นกับนักภาวนาทั่วไป

๒) วิปัสสนูปกิเลส แท้จริงไม่ใช่กิเลสที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติวิปัสสนาอย่างถูกต้อง
ได้ผลบางอย่างที่ดี

แต่เป็นสภาพน่าชื่นชม
ทำให้คนที่เจริญสติน้อย คนที่มีสติหลงลืม
เกิดความติดใจ  ราคะ  ไม่ทำให้อยากไปไกลเกินกว่านั้น
หรือบางทีถึงขั้นเข้าใจว่าเป็นการบรรลุมรรคผล
ขอให้ดูนิยามตามคัมภีร์ชั้นหลังซึ่งเป็นต้นบัญญัติว่าไว้ดังนี้ครับ

วิปัสสนูปกิเลส อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา
สภาพน่าชื่นชม
ทำให้คนที่เจริญสติน้อย คนที่มีสติหลงลืม
เกิดความติดใจ  ราคะ  ไม่ทำให้อยากไปไกลเกินกว่านั้น
ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว
จึงไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ มีอยู่ ๑๐ อย่างคือ
๑. โอภาส แสงสว่าง ๒. ปีติ ความอิ่มใจ ๓. ญาณ ความรู้
๔.ปัสสัทธิ ความสงบการและจิต ๕. สุข ความสบายกายสบายจิต
๖. อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ ๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่พอดี
๘.อุปัฏฐาน สติชัด ๙. อุเบกขา ความวางจิตเป็นกลาง ๑๐. นิกันติ ความพอใจ
 :49:
บันทึกการเข้า

PISSAMAI

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 84
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
พระสารีบุตรแก้อุปกิเลสของ ท่านอนุรุทธะอย่างไร
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2011, 11:23:25 am »
0
พระสารีบุตรแก้อุปกิเลสของ ท่านอนุรุทธะอย่างไร

พระไตรปิฎก เล่มที่ 20 สุตตันตปิฎกที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
อนุรุทธสูตรที่ ๒

[๕๗๐]  ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่
ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกล่าวว่า ขอโอกาสเถิดท่านสารีบุตร

"ผมตรวจดูตลอดพันโลกด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์"

"ก็ผมปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไม่หลงลืม กายสงบระงับไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา"

"เออก็ไฉนเล่า จิตของผมจึงยังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น"

ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรท่านอนุรุทธะ
การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า เราตรวจดูตลอดพันโลก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
ดังนี้ เป็นเพราะมานะของท่าน

การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า ก็เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติมั่นไม่หลงลืม
กายสงบระงับไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา
ดังนี้ เป็นเพราะอุทธัจจะของท่าน

ถึงการที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า เออก็ไฉนเล่า จิตของเรายังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น
ดังนี้ ก็เป็นเพราะกุกกุจจะของท่าน

เป็นความดีหนอ ท่านพระอนุรุทธะจงละธรรม๓อย่างนี้ ไม่ใส่ใจธรรม๓อย่างนี้
แล้วน้อมจิตไปในอมตธาตุ

ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะต่อมาได้ละธรรม ๓ อย่างนี้ ไม่ใส่ใจถึงธรรม ๓ อย่างนี้
น้อมจิตไปในอมตธาตุ ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว
เป็นผู้ไม่ประมาท มีตนอันส่งไปอยู่ ไม่นานนัก ได้ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์
อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องกันนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แหละ
ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 12, 2011, 11:25:25 am โดย PISSAMAI »
บันทึกการเข้า

PISSAMAI

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 84
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระพุทธเจ้า สอนวิธีแก้วิปัสสนูกิเลส แก่ พระอนุรุทธะ
๑๐. อนุรุทธสูตร

[๑๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าเภสกลามิคทายวัน
แขวงเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะอยู่
ที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์ ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกเร้นอยู่
ในที่ลับ เกิดความปริวิตกทางใจอย่างนี้ว่า ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความ
ปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่
ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วย
หมู่คณะ ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน ของบุคคลผู้
มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคล
ผู้มีจิตไม่มั่นคง ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ฯ
            ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกทางใจของท่านพระอนุรุทธะ
แล้ว เสด็จจากเภสกลามิคทายวัน แขวงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท ไป
ปรากฏเฉพาะหน้าท่านอนุรุทธะที่วิหารปาจีนวังสทายวัน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง
เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะ
ที่จัดไว้ถวายแล้ว แม้ท่านพระอนุรุทธะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธะว่า ดีแล้วๆ อนุรุทธะ
ถูกละ ที่เธอตรึกมหาปุริสวิตกว่าธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย
มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ... ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มี
ปัญญาทราม ดูกรอนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ว่า
ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่
ทำให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ทำ
ให้เนิ่นช้า ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้
ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึก
มหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตก
วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก
๘ ประการนี้ ในการนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ในกาลใดแล เธอ
จักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุ
จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ
ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก
๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้มีปรกติได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่ง
ฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ผ้าบังสุกุล
จีวรจักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ อยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่หวาดเสียว ด้วย
ความอยู่เป็นสุข ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนหีบใส่ผ้าของคฤหบดี
หรือบุตรแห่งคฤหบดี อันเต็มไปด้วยผ้าสีต่างๆ ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใด
แล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบัน ในกาลนั้น โภชนะ คือ คำข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง จักปรากฏแก่เธอผู้
สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนข้าวสุก (หุงจาก) ข้าวสาลี
คัดเอาดำออกแล้ว มีแกงและกับหลายอย่าง ของคฤหบดีและบุตรแห่งคฤหบดี
ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และ
จักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิต
ยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น เสนาสนะ คือ โคนไม้ จัก
ปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนเรือนยอด
ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี ฉาบทาไว้ดีแล้ว ปราศจากลม ลงลิ่มสลักมิด
ชิด ปิดหน้าต่างสนิท ฉะนั้น ดูกรอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริส-
*วิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก
ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ที่นอน
ที่นั่งอันลาดด้วยหญ้า จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน
เปรียบเหมือนบัลลังก์ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี อันลาดด้วยผ้าโกเชาว์ขน
ยาว ลาดด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยผ้าสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดี
ทำด้วยหนังชะมด มีเครื่องลาดเพดานแดง มีหมอนข้างแดงสองข้าง ฉะนั้น ดูกร
อนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า จักปรากฏ
แก่เธอผู้สันโดษ ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนเภสัชต่างๆ คือ
เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี
ฉะนั้น ฯ


....


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของ
บุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความปรารถนา
น้อยย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้
สันโดษย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้สงัด
ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สงัด เป็นผู้ปรารภความเพียร
ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติ
ตั้งมั่นย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีสติตั้งมั่น เป็นผู้มีจิตมั่นคง
ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีจิตมั่นคง เป็นผู้มีปัญญา
ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีปัญญา เป็นผู้ชอบใจในธรรมที่
ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้ชอบใจ
ในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของ
บุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ดังนี้ เรา
อาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
..
ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรม
ที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคล
ผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เรา
อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งมั่นอยู่ในความดับกิเลสเป็นเครื่องเนิ่นช้า ย่อมหลุดพ้น ข้อที่เรา
กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้
เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรม
ที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้
กล่าวแล้ว ฯ
บันทึกการเข้า

ทินกร

  • ถวายชีวิตเพื่อพุทธศาสน์
  • ผู้บริหารเว็บ
  • มีเหตุมีผล
  • *
  • ผลบุญ: +17/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 365
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พิจารณา วิธีรวมจิต ที่เขากล่าวไว้หน่อยครับ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2011, 03:33:18 pm »
0
ของแบบนี้ คงต้องฝึกกันละครับ นึกจะให้รวมเลย แล้วจิตมันจะรวมและรวมได้นานคงเป็นเรื่องที่ยาก
กับมนุษย์ยุคปัจจุบันเช่นเราๆ  ฝึกกำหนดลมหายใจ กำหนดพองยุบ และอีกหลายๆ วิธี นี้ก็เป็นวิธีรวมจิต
ต้องฝึกครับ ขอย้ำ ไม่มีใครช่วยใครได้ครับต้องทำเอง
บันทึกการเข้า
พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

www.madchima.org
http://saraburisat.ps-satcom.com รับติดตั้งจานดาวเทียมครับ
http://www.yutyaplaza.com ลงประกาศฟรี ของชาวอยุธยา