ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การรักษา ศีล เป็นการทำบุญ หรือไม่ คะ  (อ่าน 5824 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

juntra

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
การรักษา ศีล เป็นการทำบุญ หรือไม่ คะ
« เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 08:32:18 am »
0
คือไม่ค่อยมีโอกาส ไปทำบุญ อย่างคนอื่นเขา ก็เลยรักษา ศีล 5 ให้ได้ วันไหนทำได้ ก้อุทิศส่วนกุศลจากการรักษาศีลนี้ไปให้ บุคคลที่เป็นที่รักเป็นต้น

 แต่โดยส่วนตัว ก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจคะว่า ศีล นี้จัดเป็น บุญ แล้วอุทิศไปแล้ว ผู้ที่ได้รับจะได้อานิสงค์ อย่างไรในการอุทิศให็คะ

  :88: :58: :c017:
บันทึกการเข้า

ส้ม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 184
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การรักษา ศีล เป็นการทำบุญ หรือไม่ คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 11:22:06 am »
0
บุญจากการรักษา ศีล อุทิศให้กันด้วยหรือคะ

 ยังนึกไม่ออกเลยว่า อุทิศไปแล้ว ผู้ที่ได้รับจะได้ัรับบุญอย่างไร ?

  นึำกไม่ออกเหมือนกันคะ

 น่าจะเป็นเหมือนการปฏิบัติบูขา นั้นผลบุญก็อยู่ที่เรา อยู่ดีนะคะ

 พอดีเปิดมาเว็บได้ฟัง เรื่อง ศีล พอดีเลยคะ

อานิสงค์ ของการมีศีล ก็คือ รูปสวย รูปงาม

    ลองฟังอานิสงค์ ที่พระท่านได้สรุป ก็น่าคิดนะคะ

     ศีล ย่อมได้มาซึ่งความสุข

    ศีล ย่อมถึงพร้อมด้วยโภคะสมบัติ

    ศีล นำมาซึ่งมาซึ่งพระนิพพาน

    ดังนั้น บุคคลพึงรักษาศีล

   ลองฟัง  วิสุทธิมรรค ม.30 ดูก็ได้นะคะ เผื่อจะได้แนวทางคะ

  :25: :25: :25:

 

  พึ่งจะเข้าใจคะ รูปสวยมาจากศีลนี่เอง

บันทึกการเข้า
เส้นทางแสนเปรี้ยว จะมีสุขจริงบ้างหรือไม่ ?

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การรักษา ศีล เป็นการทำบุญ หรือไม่ คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 12:42:17 pm »
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

             [๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ
   บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน ๑
   บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีล ๑
   บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยภาวนา ๑


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานนิดหน่อย ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลนิดหน่อย ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นผู้มีส่วนชั่วในมนุษย์ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานพอประมาณ ทำบุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีลพอประมาณ ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นผู้มีส่วนดีในมนุษย์ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาราชทั้ง ๔ ในชั้นนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นจาตุมมหาราชโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพทิพย์ ฯ


 ......ฯลฯ........ฯลฯ........

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  บรรทัดที่ ๔๙๙๓ - ๕๐๔๖.  หน้าที่  ๒๑๕ - ๒๑๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=4993&Z=5046&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=126
ขอบคุณภาพจาก http://img.ryt9.com



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

     ตรัสแสดงบุญกิริยาวัตถุ ( เรื่องของการทำบุญ ) ๓ ประการ คือ
     บุญญกิริยา วัตถุสำเร็จด้วย ๑.ทาน, ๒.ศีล, ๓.ภาวนา( การอบรม ) คือ


     ๑. ทำ ๒ ข้อแรกน้อย ไม่มีข้อหลังเลย ทำให้ตายไปแล้ว เกิดมีส่วนชั่วในมนุษย์
     ๒. ทำ ๒ ข้อแรกพอประมาณ ไม่มีข้อหลังเลย ทำให้เกิดมีส่วนดีในมนุษย์
     ๓. ทำ ๒ ข้อแรกมาก แต่ไม่มีข้อหลังเลย ทำให้เกิดในเทพชั้นจาตุมหาราช ๔.-๕. ทำเหมือนข้อที่ ๓ ทำให้เกิดในเทพชั้นดาวดึงส์, ชั้นยามะ, ชั้นดุสิต, ชั้นนิมมานรดี, ชั้นปรนิมมิตวสัตตี.


อ้างอิง พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน อ.(สุชีพ ปุญญานุภาพ)
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/15.2.html
ขอบคุณภาพจาก http://statics.atcloud.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การรักษา ศีล เป็นการทำบุญ หรือไม่ คะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 01:24:04 pm »
0
 
ภาพจากwww.dhammathai.org

สุดยอดหญิงงามในสมัยพุทธกาล คือ นางวิสาขา หากคุณจันทราและคุณส้ม ต้องการสวยแบบนางวิสาขา คือ สวยแบบเบญจกัลยาณี ต้องทำอย่างนี้ครับ

      ถาม:  คนที่จะได้เป็นเบญจกัลยาณี ต้องทำบุญอย่างไรบ้างเจ้าคะ ?
      ตอบ:  เบญจกัลยาณีนี้ จุดสำคัญที่สุดก็คือว่าซ่อมพระพุทธรูป เป็นพระพุทธรูปปรักหักพังอย่างไรก็ไปซ่อม แต่ว่าขณะเดียวกัน ถ้ามีเมตตาเป็นปกติ มีศีลเป็นปกติ ก็จะสวยอยู่แล้ว คราวนี้ความสวยนี้จะเสื่อมไปตามวัย เบญจกัลยาณีนี้ถ้ามีลูกเมื่อไรจะอยู่แค่นั้น ได้กำไรกว่าเขาอยู่อันหนึ่ง


ที่มา http://www.grathonbook.net/book/33.3.html


ลิงค์แนะนำ
"อานิสงส์การซ่อมแซมพระพุทธรูป"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3648.0

"สวยขึ้นได้ทันทีในชาตินี้ ด้วยอานิสงส์ขัดพระพุทธรูป"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3647.msg13204#msg13204




เบญจกัลยาณี ความงามของสตรี ๕ อย่าง คือ
     ๑. ผมงาม คือ หญิงที่มีผมยาวถึงสะเอวแล้วปลายผมงอนขึ้น
     ๒. เนื้องาม คือหญิงที่มีริมฝีปากแดงดุจผลตำลึงสุกและเรียบชิดสนิทกันดี
     ๓. กระดูกงาม คือหญิงที่มีฟันสีขาวประดุจสังข์ และเรียบเสมอกัน
     ๔. ผิวงาม คือหญิงที่มีผิวงามละเอียด ถ้าดำก็ดำดังดอกบัวเขียว ถ้าขาวก็ขาวดังดอกกรรณิกา
     ๕. วัยงาม คือ หญิงที่แม้จะคลอดบุตรถึง ๑๐ ครั้ง ก็ยังคงสภาพร่างกายสาวสวยดุจคลอดครั้งเดียว





อีกอย่างก็คือ ถือศีลข้อแรกโดยเคร่งครัด

        อานิสงส์ของศีลข้อที่ 1  เว้นจากการฆ่าสัตว์
          1. เป็นผู้มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน
          2. มีร่างกายสูงใหญ่สมส่วน 
          3. มีความแคล่วคล่องว่องไว   
          4. มีฝ่าเท้าเต็ม
          5. มีความแช่มช้อย   
          6. มีความอ่อนโยน 
          7. มีความสะอาด 
 
          8. มีความแกล้วกล้า 
          9. มีกำลังมาก     
          10. มีวาจาสละสลวย
          11. เป็นที่รักของชาวโลก 
          12. พวกพ้องบริวารไม่แตกแยกกัน
          13. ไม่เป็นคนขี้กลัว   
          14. ไม่ถูกทำลาย
          15. ไม่ตายเพราะถูกผู้อื่นทำร้าย   
          16. มีพวกพ้องบริวารมาก
          17. มีรูปงาม (มีผิวพรรณงาม)   
          18. มีทรวดทรงงาม

          19. มีโรคน้อย
          20. ไม่เป็นคนเศร้าโศก
          21. ไม่พลัดพรากจากคนและของรัก 
          22. มีอายุยืน


อ้างอิง

ที่มา http://main.dou.us/view_content.php?s_id=311
ขอบคุณภาพจาก http://main.dou.us,http://a5.sphotos.ak.fbcdn.net


อานิสงส์รักษาศีล

......พ่อค้าสำเภา ได้ไปค้าขายหัวเมืองต่าง ๆ ในท้องมหาสมุทรอยู่มาวันหนึ่งเกิด
มรสุมพายุพัดอันแรงกล้า จนพวกพ่อค้าสำเภาหมดปัญญาแก้ไขได้คิดทอดอาลัยตามแต่บุญกรรม หัว
หน้าพ่อค้าสำเภาเรียกมาพร้อมกัน ๕๐๐ คน ให้สมาทานศีลเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวไปในชาติหน้ากันเถิด
เมื่อสมาทานศีลจบแล้ว เรือสำเภาก็แตก จมลงในมหาสมุทรนั้น พ่อค้า ๕๐๐ คน ถึงแก่ความตายพร้อม
กันหมดด้วยอำนาจรักษาศีลด้วยความตั้งใจเพียงชั่วครู่เท่านั้น ก็ไปเกิดในสวรรค์มีวิมานทองเป็นที่อยู่
ตลอดทั้ง ๕๐๐ คน


ที่มา http://www.84000.org/anisong/20.html



บทสรุปอานิสงส์ของศีล

          อานิสงส์ของศีล สามารถกล่าวโดยสรุปได้เป็น 3 ข้อใหญ่ ได้ดังนี้
 
                    "สีเลนะ  สุคะติง  ยันติ
                     สีเลนะ  โภคะสัมปะทา
                     สีเลนะ  นิพพุติง  ยันติ
                     ตัสมา  สีลัง  วิโสธะเย" 


          มีความหมายดังต่อไปนี้
 
          1. สีเลนะ สุคะติง ยันติ แปลว่า ศีลทำให้ไปสู่สุคติ 
 
          2. สีเลนะ โภคะสัมปะทา  แปลว่า ศีลทำให้มีโภคทรัพย์
 
          3. สีเลนะ นิพพุติง ยันติ  แปลว่า ศีลทำให้ไปพระนิพพาน


          โดยเฉพาะในข้อ 3 นี้ หมายความว่า ศีลมีส่วนทำให้ไปถึงพระนิพพานได้ ถ้าไม่มีศีลก็ไปพระ-นิพพานไม่ได้ และพระนิพพานมีความหมายเป็น 2 นัย ด้วยกัน คือ
 
          1. พระนิพพานขั้นต้น หมายถึง คนที่มีศีลย่อมเกิดความสบายใจ จะอยู่ที่ใดก็สงบร่มเย็นเป็นสุข
 
          2. พระนิพพานขั้นสูง หมายถึง ศีลทำให้ผู้รักษาหมดกิเลส ผู้ที่หมดกิเลสย่อมได้ไปพระนิพพานทั้งสิ้น
 
          พระนิพพานเป็นเป้าหมาย สูงสุดของชาวพุทธ แต่จะไปสู่เป้าหมายสูงสุดได้ มีความจำเป็นต้องปฏิบัติไปตามลำดับขั้นตอน คือ ศีล สมาธิ และปัญญา เพราะศีลเป็นที่ตั้งของสมาธิ สมาธิเป็นที่ตั้งของปัญญา ถ้าไม่รักษาศีลให้บริสุทธิ์แล้ว สมาธิและปัญญาก็เกิดขึ้นไม่ได้
 
          ดังนั้น จึงต้องรักษาศีลก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อปิดกั้นทุจริตทางกาย และวาจา เป็นผลให้เกิด ความบริสุทธ์ทางกาย วาจา ใจ อันเป็นที่ตั้งแห่งคุณความดีทั้งหลาย ดังมีภาษิตกล่าวไว้ว่า

        "ศีลเป็นเขตแดน เป็นเครื่องปิดกั้นทุจริต ทำจิตให้ร่าเริงแจ่มใส และเป็นท่าหยั่งลงมหาสมุทร คือ นิพพานของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เพราะฉะนั้นบุคคลพึง รักษาศีลให้บริสุทธิ์"


อ้างอิง

ที่มา http://main.dou.us/view_content.php?s_id=311
ขอบคุณภาพจาก http://a5.sphotos.ak.fbcdn.net,http://main.dou.us


   ผมแนบไฟล์หนังสือ "อานิสงส์ของการรักษาศัล" ฉบับเต็ม มาให้อ่าน เชิญดาวน์โหลด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 24, 2011, 03:47:17 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การรักษา ศีล เป็นการทำบุญ หรือไม่ คะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 01:48:36 pm »
0
คือไม่ค่อยมีโอกาส ไปทำบุญ อย่างคนอื่นเขา ก็เลยรักษา ศีล 5 ให้ได้ วันไหนทำได้ ก้อุทิศส่วนกุศลจากการรักษาศีลนี้ไปให้ บุคคลที่เป็นที่รักเป็นต้น

 แต่โดยส่วนตัว ก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจคะว่า ศีล นี้จัดเป็น บุญ แล้วอุทิศไปแล้ว ผู้ที่ได้รับจะได้อานิสงค์ อย่างไรในการอุทิศให็คะ

  :88: :58: :c017:

     หากจะถามว่า อุทิศบุญที่เกิดจากศีล ให้คนตายแล้ว คนตายจะเป็นอย่างไร
เรื่องบุญบาป วิบากกรรม เป็นเรื่องอจินไตย ยากที่ปุถุชนจะเข้าใจ เราไม่จำเป็นต้องไปสนใจ 

   พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงอานิสงส์ของศีลไว้แล้ว ในเบื้องต้นศีลเป็นทางสู่สวรรค์ อย่าได้ลังเลสงสัย อยากอุทิศก็อุทิศไป อุทิศแล้วสบายใจก็ทำไป


    เวลาอุทิศบุญขอแนะนำว่า ให้อาราธนาบารมีพระพุทธเจ้าก่อน เช่น
    ข้าพเจ้าขออาราธนาบารมีพระพุทธเจ้า อุทิศบุญ ทาน ศีล ภาวนา ที่ข้าพเจ้าได้สั่งสมมาทุกๆชาติ
ตราบจนบัดนี้ ให้กับ......


    อย่างไรก็ตาม การรักษาศีลได้บุญน้อยกว่า การภาวนา

    :welcome: :49: :25: ;)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การรักษา ศีล เป็นการทำบุญ หรือไม่ คะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กันยายน 25, 2011, 08:03:46 am »
0
อนุโมทนา ครับ เป็นเรื่องที่ใกล้ตัว มาก แล้วก็ทำกันเป็นประจำ จนนึกไม่ถึงว่า อุทิศผลแห่งศีล แล้วผู้ที่ได้รับจะได้ผลแห่งศีลอย่างไร บ้าง

 สนับสนุนทุกท่านให้ได้อ่าน พลานุภาพแห่งศึล ครับ เพราะว่าโลกเรานี้จะอยู่สุขสงบร่มเย็นกันได้เพราะศีลครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

วรรณา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 158
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การรักษา ศีล เป็นการทำบุญ หรือไม่ คะ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2011, 08:47:48 am »
0
อ่านคำเตือนจิต สะกิดใจ เรื่อง
ผู้มีปัญญา ไม่พึงหมิ่น ผลแห่งทาน และ ศีล
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5671.0

ก็เลยพามาทบทวนเรื่อง ศีล กันบ้างนะคะ

 :25:
บันทึกการเข้า

ลำใย

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 83
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การรักษา ศีล เป็นการทำบุญ หรือไม่ คะ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2011, 09:38:18 am »
0
[๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการนี้ นำความสุข
มาให้ ให้อารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ห้วงบุญ
ห้วงกุศล ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึง
พระพุทธเจ้าเป็นสรณะ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๑ นำความสุขมาให้ ให้
อารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ฯ
            อีกประการหนึ่ง อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ
นี้เป็นห้วง บุญห้วงกุศลประการที่ ๒ ฯลฯ
            อีกประการหนึ่ง อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ นี้
เป็นห้วงบุญห้วงกุศล ประการที่ ๓ ฯลฯ
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการนี้ เป็นมหาทาน อันบัณฑิตพึงรู้ว่า
เป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย
ไม่เคยกระจัด กระจาย อันบัณฑิตไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์
ผู้เป็น วิญญูไม่เกลียด ทาน ๕ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน
ธรรม วินัยนี้ เป็นผู้ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริย สาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่
เบียด เบียน แก่สัตว์หาประมาณมิได้ ครั้นให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความ
ไม่ เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย
ความ ไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียน หาประมาณมิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น
ทาน ประการที่ ๑ ที่เป็นมหาทาน บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสาย
แห่ง พระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย อันบัณฑิต
ไม่ รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูไม่เกลียด ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นห้วง
บุญห้วงกุศลประการที่ ๔ ฯลฯ
            อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละอทินนาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน ฯลฯ
นี้เป็นทานประการที่ ๒ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๕ ฯลฯ
            อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
ฯลฯ นี้เป็นทานประการที่ ๓ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๖ ฯลฯ
            อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท ฯลฯ นี้
เป็น ทานประการที่ ๔ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๗ ฯลฯ
            อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็น
ที่ ตั้งแห่งความประมาท งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้ง
แห่ง ความประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ
สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทแล้ว ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ความ
ไม่ มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้ ครั้นให้ความไม่มีภัย ความ
ไม่ มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่ง
ความ ไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนหาประมาณมิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้ เป็นทานประการที่ ๕ ที่เป็นมหาทาน บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็น
เชื้อ สายแห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย
อัน บัณฑิตไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูไม่เกลียด
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๘ นำสุขมาให้ ให้อารมณ์
อัน เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา
น่า ใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ห้วง บุญห้วงกุศล ๘ ประการนี้แล นำสุขมาให้ ให้อารมณ์อันเลิศ มีสุขเป็นผล
เป็น ไปเพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อ
ประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุข ฯ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
            อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
            ปุญญาภิสันทสูตร
บันทึกการเข้า

NP2706

  • เราต้องสร้างสะพานระหว่างสมองกับหัวใจ ให้ความรู้ที่เป็นสัญญานี้ทราบซึ้งเข้าไปถึงหัวใจ
  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 96
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การรักษา ศีล เป็นการทำบุญ หรือไม่ คะ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2011, 11:40:49 am »
0
 
บุญกิริยาวัตถุ ( เรื่องของการทำบุญ ) ๓ ประการ คือ
     บุญญกิริยา วัตถุสำเร็จด้วย
    ๑.ทาน,
    ๒.ศีล,
    ๓.ภาวนา( การอบรม )
    การรักษาศีล  เพื่อปิดกั้นทุจริตทางกาย และวาจา เป็นผลให้เกิด ความบริสุทธ์ทางกาย วาจา ใจ อันเป็นที่ตั้งแห่งคุณความดีทั้งหลาย
 
 :c017:
บันทึกการเข้า
"Only two things are infinite, the universe and human stupidity,
and I'm not sure about the former."