ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เราควรเชื่อ เรื่อง ชาติ หน้า อย่างไร จึงจะถูกต้องคะ  (อ่าน 5232 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เราควรเชื่อ เรื่อง ชาติ หน้า อย่างไร จึงจะถูกต้องคะ

  ได้ยินการพูดเรื่องการเชื่อชาติหน้า ชาติหลัง ในฐานะชาวพุทธ เราควรเชื่อเรื่อง ชาติหน้า อย่างไร คะ จึงจะสมควรเพราะได้ยินมาว่า บ้่างท่านก็เชื่อชาติหน้า แต่เป็นเพียงสภาวะ เพราะปฏิเสธชาติแบบภพ บางท่านก็บอกว่า เชื่อแบบภพ แบบสภาวะ ก็ชัดเจนเอง สรุปแล้วก็คือ ชาติ สำหรับ ชาวพุทธควรจะทำอย่างไร คะ

  ???
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

โลกหน้ามีจริงหรือไม่

ในเรื่องนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างไรบ้าง ?
พุทธดำรัสตอบ “..... ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์สองพวกนั้น สมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบวงสรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี อุปปาติกสัตว์ไม่มี

สมณพราหมณ์ที่ไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้รู้ทั่ว ไม่มีในโลกดังนี้ เป็นอันหวังข้อนี้ได้คือ

จักเว้นกุศลธรรม ๓ ประการ นี้ คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต จักสมาทานอกุศลธรรม ๓ ประการ นี้ คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต แล้วประพฤติข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะ อันเป็นคุณฝ่ายขาวแห่งกุศลธรรม ก็โลกหน้าที่อยู่จริง ความเห็นของผู้นั้นว่าไม่มีความเห็นของเขานั้นเป็นมิจฉาทิฐิ ก็โลกหน้ามีอยู่จริง

แต่เขาดำริว่าโลกหน้าไม่มี ความดำริของเขานั้นเป็นมิจฉาสังกัปปะ ก็โลกหน้ามีอยู่จริง แต่เขากล่าวว่าโลกหน้าไม่มี วาจาของเขานั้นเป็นมิจฉาวาจา ผู้นี้ย่อมทำตนเป็นข้าศึกต่อพระอรหันต์ ผู้รู้แจ้งโลกหน้า ก็โลกหน้ามีอยู่จริง เขายังให้ผู้อื่นเข้าใจว่า โลกหน้าไม่มี

การให้ผู้อื่นเข้าใจของเขานั้นเป็นการให้เข้าใจผิดโดยไม่ชอบธรรม และเขายังจะยกตนข่มผู้อื่น ด้วยการให้ผู้อื่นเข้าใจผิด ไม่ขอบธรรมนั้นด้วย เขาละคุณคือ ความเป็นคนมีศีลแล้ว ตั้งไว้เฉพาะแต่ส่วนโทษ คือความเป็นคนทุศีลไว้ก่อนเทียว

ด้วยประการฉะนี้ อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่านี้ คือ มิจฉาทิฐิ มิฉาสังกัปปะมิจาวาจา ความเป็นข้าศึกต่อพระอริยะ การให้ผู้อื่นเข้าใจผิดโดยไม่ชอบธรรม การยกตน การข่มผู้อื่น ย่อมมีเพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัยด้วยประการฉะนี้ ฯ”

อปัณณกสูตร ม. ม. (๑๐๖)
ตบ. ๑๓ : ๑๐๒-๑๐๓ ตท.๑๓ : ๙๒
ตอ. MLS. II : ๗๑

ที่มา http://www.84000.org/true/037.html
ขอบคุณภาพจาก http://statics.atcloud.com/



๑๐ . อปัณณกสูตร
สูตรว่าด้วยธรรมะที่ไม่ผิด

    ๑ . พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จแวะพัก ณ บ้านพราหมณ์ชื่อ “สาลา”
    ได้ตรัสถามพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาลาว่า ท่านมีศาสดาใด ๆ ที่น่าพอใจ ที่ท่านได้ศรัทธามีอาการ ( อันดี ) บ้างหรือไม่.   เมื่อเขาตอบว่า   ไม่มี   จึงตรัสว่า เมื่อพวกท่านไม่ได้ศาสดาที่น่าพอใจ ก็จงสมาทานประพฤติธรรมะที่ไม่ผิด ธรรมะที่ไม่ผิด ที่สมบูรณ์แล้ว สมาทานแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่ท่าน.


ธรรมะที่ไม่ผิดข้อแรก

  ๒. ตรั้นแล้วตรัสขยายความเรื่องธรรมะที่ไม่ผิดต่อไป . ทรงแสดงถึงสมณพราหมณ์ที่เห็นว่า   “ ไม่มี ”   ( นัตถิกทิฏฐิ ) เช่น ไม่มีผลของกรรมดีกรรมชั่ว กับสมณพราหมณ์ที่เห็นเป็นปฏิปักษ์กัน คือเห็นว่า   “ มี ”   พวกที่เห็นว่า   “ไม่มี ”   หวังได้ว่าจะเพิกถอนสุจริตทางกาย วาจา ใจ, สมาทาน ประพฤติทุจจริตทางกาย   วาจา   ใจ   เพราะไม่เห็นของอกุศลธรรม ไม่เห็นอานิสงส์ของกุศลกรรม. ความเห็น ความดำริ และคำพูดถึงโลกหน้า ซึ่งมีอยู่ว่า   “ ไม่มี ” 

     ดังนี้ ย่อมเป็นความเห็นผิด ความดำริผิด และคำพูดผิด เขาย่อมกล่าวเป็นปฏิปักษ์ต่อพระอรหันต์ผู้รู้จักโลกหน้า ย่อมทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าโลกหน้าไม่มี อันเป็นการบัญญัติต่อสัทธรรมและยกตนข่มผู้อื่นเพราะเหตุนั้น เดิมมีศีลดีก็ละเสีย,   ตั้งความเป็นผู้ทุศีล,   มีความเห็นผิด,   ความดำริผิด ,  คำพูดผิด,   มีความเป็นปฏิปักษ์ต่อพระอริยเจ้า มีการบัญญัติอสัทธรรม มีการยกตนข่มผู้อื่น

     ฉะนี้ อกุศลธรรมจึงชื่อว่าเกิดมีขึ้นเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย. ในข้อนั้นวิญญูชนพิจารณาเห็นว่า ถ้าโลกหน้าไม่มี คนคนนี้ตายแล้วจักทำตนให้ปลอดภัยได้ แต่ถ้าโลกหน้ามี ก็จักเข้าถึงอบาย  ทุคคติ  วินิบาต  นรก.

     แม้แต่สมณพราหมณ์จะกล่าวไว้ว่า โลกหน้ามี   ถ้อยคำของสมณพราหมณ์เหล่านั้นจะเป็นจริงหรือไม่ จงยกไว้ แต่คนนั้นก็ถือเอาโทษ   ทั้งสองฝ่าย คือถูกติเตียนในปัจจุบัน และตายไปก็จักเข้าถึงอบาย  ทุคคติ   วินิบาต   นรก. คนคนนั้นชื่อว่าถือผิดสมาทานผิดซึ่งอปัณณกธรรม ( ธรรมะที่ไม่ผิด) แผ่ไปแต่ความเห็นแง่เดียวของตน เว้นฐานะอันเป็นกุศล.

    ส่วนผู้เห็นว่า “ มี ” ( ซึ่งเป็นทางตรงกันข้าม) ชื่อว่าถือถูก สมาทานถูกซึ่งปัณณกธรรม แผ่ไปซึ่งอปัณณกธรรม แผ่ไปซึ่งส่วนทั้งสอง ( ทั้งวาทะของตนและวาทะของคนอื่น ) เว้นฐานะอันเป็นอกุศล.


อ้างอิง
พระไตรปฺิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ ชื่อมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๕
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/5.2.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.96rangjai.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 17, 2012, 09:17:06 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ปัญหาที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบ

ปัญหา ได้ทราบว่ามีปัญหาบางประเภทที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบปัญหาดังกล่าวนั้นมีอะไรบ้าง ? และเพราะเหตุไรพระพุทธองค์ไม่ทรงตอบ ?

พุทธดำรัสตอบ “..... ดูก่อนมาลุงกยบุตร.... เธอทั้งหลายจงจำปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ และจงจำปัญหาที่เราพยากรณ์.... อะไรเล่าที่เราไม่พยากรณ์


ดูก่อนมาลุงกยบุตร ทิฐิว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มีไม่มีอยู่ก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้

ดังนี้เราไม่พยากรณ์.... ก็เพราะเหตุไร ข้อนั้นเราจึงไม่พยากรณ์ เพราะข้อนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่ายเพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูก่อน มาลุงกยบุตร เหตุนั้น เราจึงไม่พยากรณ์ข้อนั้น

“..... ดูก่อนมาลุงกยบุตร.... อะไรเล่าที่เราพยากรณ์ ดูก่อนมาลุงกยบุตร ความเห็นว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดังนี้เราพยากรณ์ ก็เพราะเหตุไรเราจึงพยากรณ์ข้อนั้น เพราะข้อนั้นไประกอบด้วยประโยชน์เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่ายเพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เหตุนั้น เราจึงพยากรณ์ข้อนั้น

“..... ดูก่อนมาลุงกยบุตร.... บุคคลใดแลจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคจักไม่ทรงพยากรณ์แก่เรา (ซึ่งทิฐิ ๑๐ ประการนั้น) เพียงใด เราจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพียงนั้น ตถาคตไม่พึงพยากรณ์ข้อนั้นเลยและบุคคลนั้นพึงทำกาละ (ตาย) ไปโดยแท้

ดูก่อนมาลุกยบุตร เปรียบเหมือนบุรุษต้องศรอาบยาพิษที่ฉาบทาไว้หนา มิตรอมาตรย์ญาติสาโลหิตของบุรุษนั้น พึงไปหานายแพทย์ผู้ชำนาญในการผ่าตัดมาผ่า บุรุษผู้ต้องศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า

เรายังไม่รู้จักบุรุษผู้ยิงเรานั้นว่า เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ หรือศูทร......มีชื่อว่าอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้...... สูงต่ำหรือปานกลาง..... ดำขาวหรือผิวสองสี อยู่บ้าน นิคมหรือนครโน้นเพียงใด เราจักไม่นำลูกศรนี้ออกเพียงนั้น บุรุษผู้ต้องศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เรายังไม่รู้จักธนูที่ใช้ยิงเรานั้นเป็นชนิดมีแร่หรือเกาทัณฑ์....

สายที่ยิงเรานั้นเป็นสายทำด้วยปอ ผิวไม้ ไผ่ เอ็น ป่าน หรือเยื่อไม้ ลูกธนูที่ยิงเรานั้น ทำด้วยไม้ที่เกิดเองหรือไม่ปลูก ทางเกาทัณฑ์ที่ยิงเรานั้นเขาเสียบด้วยขนปีกนกแร้ง นกตะกรุม เหยี่ยว นกยูง หรือนกชื่อว่าสิถิลหนุ (คางหย่อน) เกาทัณฑ์นั้นเขาพันด้วยเอ็นวัว ควาย ค่าง หรือลิง...... ลูกธนูชนิดที่ยิงเรานั้นเป็นชนิดอะไร ดังนี้เพียงใด เราจักไม่นำลูกศรนี้ออกเพียงนั้น

ดูก่อนมาลุงกยบุตร บุรุษนั้นพึงรู้ข้อนั้นไม่ได้เลย โดยที่แท้บุรุษนั้นพึงทำกาละไปฉันใด ดูก่อนมาลุกยบุตร บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคจักไม่ทรงพยากรณ์ทิฐิ ๑๐ นั้น ฯลฯ แก่เราเพียงใด เราจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพียงนั้น ข้อนั้นตถาคตไม่พยากรณ์เลย โดยที่แท้บุคคลนั้นพึงทำกาละไป ฉันนั้น”

จูฬมาลุงกโยวาทสูตร ม. ม. (๑๕๐-๑๕๒)
ตบ. ๑๓ : ๑๔๗-๑๕๒ ตท.๑๓ : ๑๓๒-๑๓๕
ตอ. MLS. II : ๙๙-๑๐๑


ที่มา http://www.84000.org/true/040.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

• ไม่เชื่อนรกสวรรค์มีโทษร้ายแรงแค่ไหน?• ทำอย่างไรจะเชื่อคนที่บอกว่าเห็นมาจริง?



• ไม่เชื่อนรกสวรรค์มีโทษร้ายแรงแค่ไหน?

ถาม : มักมีผู้กล่าวว่าถ้าไม่เชื่อเรื่องนรกสวรรค์ ก็ถือว่ายังเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นผู้หลง
ผิด เป็นผู้เที่ยงที่จะได้ไปสู่อบาย อันนี้จริงเท็จอย่างไร บอกตรงๆ ว่าอยากเชื่อ แต่ไม่เคยปลง
ใจได้สนิท ในเมื่อไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นจะให้หลอกตัวเองว่ารู้แจ้งเห็นจริงอย่างไรไหว?

ตอบ :
เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์นั้น ชาวพุทธเรามีคนอยู่สองกลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มหนึ่งเชื่อว่ามี
จริงชนิดสุดลิ่มทิ่มประตู ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งไม่เชื่อแบบค้านหัวชนฝา ส่วนพวกที่อยู่ตรงกลางๆ นั้นผม
ไม่ค่อยอยากนับ เพราะเมื่อสืบกันลึกๆ แล้วพวกที่บอกว่าเผื่อใจไว้ทั้งสองแบบ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่าย
หนึ่ง ที่แท้ก็แอบคิดเงียบๆ ไปในสุดโต่งข้างหนึ่งอยู่ดี ไม่เห็นจะเป็นกลางจริงสักคน


และการจะบอกว่าใครเอียงไปทางเชื่อหรือไม่เชื่อนั้น ต้องดูด้วยว่าเป็นจังหวะไหนของชีวิต
เขา บางคนสมัยวัยรุ่นท้าตีท้าต่อยกับเทวดามั่วไปหมดเพราะนึกว่าไม่มี เห็นเป็นเรื่องสนุกกับการท้า
ทายสิ่งที่ตนสรุปว่างมงาย แต่พอโตขึ้นอีกหน่อย ผ่านความประจักษ์แจ้งว่าสิ่งที่ตนไปท้าทายเอาไว้
นั้นน่าจะมีจริง และสนองความอยากรู้อยากเห็นของเขาด้วยประสบการณ์แสบๆ คันๆ ก็เปลี่ยนเป็น
คนที่มีศีรษะน้อมลงไหว้ได้ทั่วทั้งสิบทิศไป บางรายกลายเป็นคนทรงเจ้าไปเลยก็มี

ชาวพุทธกลุ่มที่ ‘เชื่อว่ามี’ นั้น มักแสดงความเป็นห่วงเป็นใยคนไม่เชื่อไปต่างๆ นานา เข้า
ขั้นพยายามบีบบังคับแบบหักดิบทำนองว่า ‘เธอต้องเชื่อ เพราะแค่ไม่เชื่อก็ต้องไปนรกแล้ว’ นี่เป็นคำ
ที่ศาสนิกชนทั้งหลายมักใช้ทิ่มแทงกัน ไปๆ มาๆ ความหวังดีก็กลายเป็นการสาปแช่งคนอื่นโดยไม่
ทันรู้สึกตัว คือออกอาการทำนองว่าไม่เชื่อคนรู้ดีอย่างเรา เดี๋ยวสวย เดี๋ยวเจอนรกสถานเดียว เป็น
ต้น


การเชื่อแบบไม่รู้เห็นกับตัวว่านรกสวรรค์หน้าตาเป็นอย่างไร แถมไม่รู้จักเหตุแห่งการไปสู่
นรกหรือสวรรค์อย่างแท้จริงนั้น ยังไม่ถือว่าเป็นผู้พ้นจากความน่ากลัวนะครับ เช่นเที่ยวไปสาปแช่ง
คนที่เขาไม่เชื่ออย่างเราเป็นประจำ ก็ได้ชื่อว่ายังนิยมในการเบียดเบียนด้วยวาจา ยังชอบทิ่มแทงให้
ผู้อื่นเกิดความเจ็บใจ ยังติดนิสัยข่มขู่ให้ใครต่อใครหวาดกลัว อย่างนี้ย่อมเป็นผู้เหมาะที่จะได้รับผล
สะท้อนกลับเป็นภพที่อาศัยอันเต็มไปด้วยการเบียดเบียน เต็มไปด้วยการทิ่มแทงให้เจ็บปวด เต็มไป
ด้วยความน่าพรั่นพรึงอยู่

คนเราชอบมีอำนาจ ชอบรู้สึกว่าตัวเองมีอิทธิพลเหนือคนอื่น แล้วก็มักจะนึกว่าความรู้หรือ
ความปักใจเชื่อของตนคืออำนาจ สามารถเอาไปใช้บีบให้ผู้อื่นตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางความเชื่อ
ของตน นี่จึงมักเกิดโศกนาฏกรรมทางวิญญาณ เช่นพร่ำพูดเรื่องนรกสวรรค์ด้วยวิธีขู่เข็ญบังคับหรือ
สาปแช่ง เมื่อซักไซ้รายละเอียดเข้าก็ตอบไม่ได้ เพราะไม่ใช่ผู้ที่รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง เป็นแต่เพียง
ฟังคนอื่นมา ดังนั้นแทนที่ผู้ฟังจะเกิดความคล้อยตามก็กลายเป็นรู้สึกต่อต้าน พานจะทำให้เห็นนรก
สวรรค์เป็นแค่เรื่องของคนงมงายไป


หากปรารถนาดีกับผู้อื่นอย่างแท้จริง ต้องเข้าใจให้ได้ว่าการบีบบังคับให้เชื่อว่านรก
สวรรค์มีจริงนั้น อาจทำลายศรัทธาเสียก่อนที่ศรัทธาจะเกิดด้วยซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
สำหรับยุคที่เต็มไปด้วยความน่าคลางแคลงนี้

เคยมีคนทูลถามพระพุทธเจ้าทำ นองว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อเรื่องพรรค์นี้ด้วยวิธีใดดี
พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสตอบโดยใจความสรุปคือเมื่อเราเป็นผู้สั่งสมบุญ ย่อมเกิดสุขทางใจในปัจจุบัน
และอุ่นใจว่าถ้าชาติหน้ามี เราย่อมเป็นผู้ได้เสวยสุขในสรวงสวรรค์ แต่หากเราเป็นผู้สั่งสมบาป ก็
ย่อมเกิดทุกข์ทางใจในปัจจุบัน และต้องหวาดหวั่นว่าถ้าชาติมี เราอาจไม่แคล้วต้องไปเสวยทุกข์ใน
อบายภูมิ


นอกจากนั้นท่านยังตรัสไว้ว่าการสร้างเหตุปัจจัยที่ถูกต้อง มีความสลักสำคัญเหนือการ
คาดหวัง เหนือการพร่ำวอน เหนือการปักใจเชื่อตามๆ กันมา กล่าวคือเมื่อทำเหตุอันควรจะไปสู่
สวรรค์ แม้ไม่ปรารถนาหรือพร่ำภาวนาว่าเราจงไปสวรรค์ทุกค่ำเช้า เขาก็จะไปสู่สวรรค์อยู่ดี ตรงข้าม
เมื่อทำเหตุอันควรจะไปสู่นรก แม้ปรารถนาหรือพร่ำภาวนาว่าเราจงพ้นนรกทุกค่ำเช้า เขาก็ย่อมต้อง
ไปสู่นรกอยู่ดี

แม้จะเป็นผู้มีความเห็นถูกอยู่ส่วนหนึ่ง คือเชื่อว่านรกสวรรค์มี แต่ยังมีความเห็นผิด
ว่าตนเบียดเบียนคนอื่นไม่เป็นไร การผูกเวรกับใครๆ ไม่ต้องรับโทษ อย่างนี้เขาก็ยังได้ชื่อ
ว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่ และตกอยู่ภายใต้ความไม่แน่นอนว่าคติข้างหน้าจะร้ายหรือดี
เช่นเดียวกัน หรืออาจจะยิ่งกว่าผู้ไม่เชื่อนรกสวรรค์เสียอีก




• ทำอย่างไรจะเชื่อคนที่บอกว่าเห็นมาจริง?

ถาม : จะเชื่อได้อย่างไรว่าใครเห็นนรกสวรรค์จริง ฟังเล่ามาแต่ละคนพูดกันไปคนละ
เรื่อง บางทีขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะพวกที่หลับตาไปเห็นแบบนั่งทางใน จะรู้
อย่างไรว่าพวกเขาไม่ได้คิดฝันไปเอง?

ตอบ :
ความเชื่อยุคใหม่นั้นมีอะไรประหลาดๆ ได้ไม่จำกัด บางคนบอกว่าจะเชื่อนรกสวรรค์ก็
ต่อเมื่อเห็นภูตผีปีศาจหรือเทวดานางฟ้าด้วยตาเปล่า บางคนหนักกว่านั้น คือบอกว่าจะเชื่อนรก
สวรรค์ก็ต่อเมื่อพูดให้เขาเชื่อด้วยหลักฐานและเหตุผลอันคิดตามได้ เรียกว่าเป็นพวกหัวดื้อเต็มพิกัด
จะยอมลงให้กับคัมภีร์ไหนศาสนาใดก็ต่อเมื่อมีใครป้อนภาพ เสียง สัมผัสที่เกี่ยวกับนรกสวรรค์ให้แก่
เขา โดยที่เขาไม่ต้องลงทุนทำอะไรเลย ขอเป็นช้างกินอ้อยที่ถูกยื่นมาถึงปากเท่านั้น


หากเข้าใจว่าคนเราสามารถเห็นนรกสวรรค์ได้ด้วยตาเปล่า ก็คงไม่ต่างจากการเข้าใจว่า
คนเราสามารถเห็นสัญญาณโทรทัศน์ได้ หรือฟังคลื่นวิทยุได้โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องรับ และหาก
เข้าใจว่าคนเราสามารถตระหนักในความมีอยู่ของนรกสวรรค์ได้ด้วยความคิด ก็คงไม่ต่างจากการ
เข้าใจว่าคนเราสามารถล่วงรู้ถึงการมีอยู่ของเชื้อโรคเล็กๆ และแกแลกซี่ใหญ่ๆ โดยไม่ต้องอาศัย
กล้องจุลทรรศน์และกล้องดูดาว

อย่างไรก็ตาม ในทางตรงข้าม บางคนก็พร้อมจะศรัทธาภาพเสียงพิเศษบางอย่างรวดเร็ว
เกินไป เช่นเพียงหลับฝันชัดๆ หรือบางคนนั่งสมาธิได้ความนิ่งเพียงเล็กน้อยแล้วเกิดนิมิตต่างๆ
นานา ก็หลงปักใจเชื่ออย่างเอาเป็นเอาตายว่าสิ่งที่ตนเห็นนั้นถูกยิ่งจริงแท้ แล้วนำมาขยายให้ผู้อื่น
ฟัง บางทีก็ใส่สีตีไข่เข้าไปตามอัตโนมัติของตน หรือหนักกว่านั้นคือตั้งใจหลอกลวงชาวบ้านให้
หลงเชื่อว่าตนเป็นผู้รู้เห็นนรกสวรรค์แจ่มแจ้ง ทั้งที่ทราบแก่ใจว่าตนเป็นเพียงหนึ่งในพวกสิบแปด
มงกุฎเท่านั้น


ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการประจักษ์ความมีอยู่จริงของนรกสวรรค์นั้น เป็นเรื่องรู้เห็นเฉพาะตัว
พูดง่ายๆ ว่าเป็นเรื่องที่คนๆ หนึ่งต้องสำรวจตนเองด้วยความซื่อสัตย์ว่าวิธีเห็นของเขานั้นน่าเชื่อ
เพียงใด สำหรับผู้ฟังซึ่งปราศจากญาณรู้เห็นนั้นเป็นเรื่องยากที่จะไปรู้ไต๋ของเขา
คงได้แต่กล่าวว่าคนรู้จริงเขาสำรวจตัวเองกันอย่างไร เขาดูครับว่าขณะนั้นมีสิ่งใดทำให้จิต
บิดเบี้ยว เห็นผิดเพี้ยนเหมือนมองผ่านกระจกเว้าหรือกระจกนูนได้บ้างหรือไม่ หากมีเหตุปัจจัยที่ทำ
ให้บิดเบี้ยวได้อยู่ เขาก็จะค่อยๆ กำจัดปัจจัยนั้นทิ้งไปทีละข้อๆ จนกระทั่งจิตกลายสภาพเป็นเหมือน
กระจกใสที่เรียบสนิท ไม่หลงเหลือแม้รอยขีดข่วนเป็นฝ้ามัวสักนิดเดียว

สิ่งที่ทำให้จิตบิดเบี้ยวไม่อาจรู้เห็นอะไรได้ตามจริง จำแนกเป็นข้อใหญ่ๆ ได้ดังนี้
๑) สิ่งปิดกั้นอย่างหยาบ – เช่น ความโลภอยากรู้เห็น ความโลภอยากเป็นผู้อยู่เหนือ
มนุษย์ ความเป็นผู้ไม่อาจสลัดความติดใจในราคะ ความเป็นผู้ไม่อาจหลุดจากความพยาบาท ความ
เป็นผู้มีความหดหู่ง่วงงุน ความเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านซัดส่ายจับไม่ติด และความเป็นผู้คิดลังเลสงสัย
กลับไปกลับมาไม่หยุด หากปราศจากสิ่งปิดกั้นอย่างหยาบดังกล่าวมาแล้ว จิตก็จะสามารถตั้งมั่น
เป็นสมาธิ มีความรู้เห็นคมชัด ทรงคุณภาพพอต่อการน้อมไปรู้สิ่งที่เกินหูเกินตาบ้างแล้ว


๒) สิ่งที่ทำให้เกิดความเห็นพร่าเพี้ยน – เช่น ความช่างปรุงแต่งจินตนาการ ความปักใจ
เชื่ออยู่ก่อนว่านรกสวรรค์เป็นอย่างไร ความตั้งมั่นของจิตที่ไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ ความลิงโลดหรือขน
ลุกขนชันในยามแรกเห็น ความเพลิดเพลินในปีติสุขอันเกิดแต่วิเวกในสมาธิซึ่งก่อนิมิตวิจิตรตระการ
หากจิตมีความเป็นกลาง เที่ยงตรงเหมือนตาชั่งที่อยู่ในดุลพอดี ปราศจากความยินดียินร้ายใดๆ ก็
สามารถน้อมไปรู้เห็นสิ่งลี้ลับเหนือโลกได้ตามจริง หลายสิ่งจะเปิดเผยต่อจิตอันทรงอุเบกขานั้นแจ่ม
ชัดยิ่งกว่าตาเห็นรูปและหูได้ยินเสียง


หากผู้ที่ทรงสมาธิได้เป็นปกติ น้อมจิตไปรู้เห็นนรกสวรรค์ได้เป็นปกติ ไม่ใช่เห็นแบบภาพ
ล้มลุก หรือฟลุกเจอแบบนานทีปีหน ก็จะมีชีวิตที่ไม่จำกัดอยู่ด้วยกรอบคับแคบของหูตา แต่จะมีชีวิต
ที่เปิดกว้างด้วยอายตนะรับรู้เหนือมนุษย์ คล้ายเศรษฐีที่อาจเดินทางด้วยเครื่องบินเปลี่ยน
บรรยากาศไปทุกมุมโลกได้ตามปรารถนา ไม่ต้องจำเจอยู่แต่เฉพาะในเมืองใดประเทศไหนเพียงหนึ่ง
เดียวเหมือนคนธรรมดาทั่วไป
 


สรุปรวบรัดว่าสำหรับคนธรรมดาทั่วไปที่ยังมีราคะ โทสะ โมหะเหนียวแน่น ไม่มีเวลาปฏิบัติ
ภาวนาจนเกิดสมาธิผ่องแผ้วนั้น ควรหมั่นศึกษาให้มากว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรเป็นโทษ กระทั่ง
เกิดกุศลจิตอยู่เป็นปกติ จิตอันรวมเป็นกระแสมหากุศลนั้นจะบอกเราเองครับว่าถ้านรกมี เราก็ไม่
พรั่นเลย เพราะเราจะไม่ไหลลงนรกด้วยกระแสแห่งอกุศลเป็นแน่

ขณะเดียวกันถ้าสวรรค์มี เราก็ไม่รู้สึกแปลกแยกหรือต่ำต้อยเกินกว่าจะเอื้อมถึงแต่
อย่างใด เพราะจิตวิญญาณย่อมอุบัติบนสรวงสวรรค์ด้วยแรงส่งของพลังกุศลโดยแท้__



คัดลอกจาก
เตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว เล่ม ๑ โดย ดังตฤณ
ขอบคุณภาพจาก http://www.dmc.tv/images/,http://larnbuddhism.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 17, 2012, 09:38:12 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ปัญหาที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์และไม่ทรงพยากรณ์

   [๑๕๒] ดูกรมาลุงกยบุตร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายจงทรงจำปัญหาที่เราไม่
พยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ และจงทรงจำปัญหาที่เราพยากรณ์ โดยความ
เป็นปัญหาที่เราพยากรณ์เถิด.

ดูกรมาลุงกยบุตร อะไรเล่าที่เราไม่พยากรณ์
ดูกรมาลุงกยบุตรทิฏฐิว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด
ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป มีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้ ดังนี้ เราไม่พยากรณ์.


ดูกรมาลุงกยบุตร ก็เพราะเหตุไร ข้อนั้นเราจึงไม่พยากรณ์
เพราะข้อนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย
เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
เพื่อนิพพาน เหตุนั้นเราจึงไม่พยากรณ์ข้อนั้น.


ดูกรมาลุงกยบุตร อะไรเล่า ที่เราพยากรณ์
ดูกรมาลุงกยบุตร ความเห็นว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์
นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดังนี้ เราพยากรณ์.


ก็เพราะเหตุไร เราจึงพยากรณ์ข้อนั้น
เพราะข้อนั้น ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่าย
เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
เพื่อนิพพาน เหตุนั้นเราจึงพยากรณ์ข้อนั้น.


เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย
จงทรงจำปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์
และจงทรงจำปัญหาที่เราพยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราพยากรณ์เถิด.


อ้างอิง            
พระไตรปิฎกเล่ม ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์   "จูฬมาลุงโกฺยวาทสูตร"               
คัดลอกมาจาก พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 25, 2012, 10:39:43 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ฉลาดสุดสุด !!! ถึงพริกถึงขิง+++ สำหรับท่านที่ไม่เชื่อ นรก สวรรค์

เล่มที่ ๑๐ ชื่อทีฆนิกาย มหาวัคค์
เป็นพระสุตตันตปิฎก (เล่ม ๒)
ปายาสิราชัญญสูตร


สูตรว่าด้วยพระเจ้าปายาสิ
    เหตุการณ์เกิดขึ้นในแคว้นโกศล พระกุมารกัสสป พร้อมด้วยภิกษุสงส์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป จาริกไปในแคว้นนั้น แวะพัก ณ ป่าไม้สีเสียด อันตั้งอยู่ทิศเหนือของเสตัพยนคร . สมัยนั้น พระเจ้าปายาสิ (เป็นเพียงราชัญญะ คือพระราชาที่มิได้อภิเษก) ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าปเสนทิโกศลให้ครอบครองเสตัพยนคร.

    พระเจ้าปายาสิมีความเห็นผิดเกิดขึ้นว่า โลกอื่นไม่มี สัตว์เป็นอุปปาติกะ (เกิดใหญ่โตขึ้นทันที เช่น เทพ) ไม่มี ผลของกรรมดีกรรมชั่วไม่มี.

    เมื่อได้สดับกิตติศัพท์อันงามของพระกุมารกัสสป พราหมณ์คฤหบดีทั้งหลายก็พากันเดินทางไปหาเป็นกลุ่ม ๆ พระเจ้าปายาสิทอดพระเนตรเห็นเช่นนั้น ตรัสถามทราบความก็เสด็จไปด้วย เมื่อผู้ที่ไปกล่าวสัมโมทนียกถาปราศรัยตามสมควรแล้ว

พระเจ้าปายาสิก็ประกาศทิฏฐิของพระองค์ดังกล่าวแล้วแก่พระเถระ ซึ่งจะย่อคำโต้ตอบเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้:



พวกทำชั่วตายไปแล้ว ไม่มีใครมาบอกว่า “นรกมีจริง”
๑.   พระเถระถามว่า ที่ทรงเห็นว่าโลกอื่นไม่มี เป็นต้นนั้น พระจันทร์พระอาทิตย์เป็นเทวดาหรือมนุษย์ ในโลกนี้หรือโลกอื่น. ตรัสตอบว่า พระจันทร์พระอาทิตย์อยู่ในโลกอื่น มิใช่เทวดาหรือมนุษย์ในโลกนี้.

     ตรัสเล่าว่า มีมิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของพระองค์ที่ประพฤติชั่วมีประการต่าง ๆ เมื่อบุคคลเหล่านั้นเจ็บไข้ ซึ่งพระองค์เห็นว่าจะไม่หายแน่ ก็เสด็จไปหา และสั่งว่า

ถ้าไปตกนรก เพราะประพฤติชั่วตามคำของสมณพราหมณ์แล้ว ขอให้กลับมาบอก พวกเหล่านั้นรับคำแล้ว ก็ไม่มีใครมาบอกเลย. พระองค์จึงไม่เชื่อโลกอื่นมี.


พระเถระกล่าวว่า เปรียบเหมือนโจรที่ทำผิดราชบุรุษจับได้ ก็นำตระเวนไปสู่ที่ประหารชีวิต โจรเหล่านั้นจะขอผัดผ่อนให้ไปบอกพวกพ้องก่อนจะได้หรือไม่ ตรัสตอบว่า ไม่ได้.

พระเถระจึงกล่าวว่า พวกที่ทำชั่วก็เช่นกัน ถ้าไปตกนรก ก็คงไม่ได้รับอนุญาตจากนายนิรยบาลให้มาบอก.


พวกทำดีตายไปแล้ว ไม่มีใครมาบอกว่า “สวรรค์มีจริง”
๒.   ตรัสเล่าว่า พระองค์เคยสั่งคนที่ทำความดีว่า ถ้าตายไปสู่สุคติโลกสวรรค์ เพราะประพฤติดีตามคำของพราหมณ์แล้ว ขอให้กลับมาบอก. พวกนั้นรับคำ ก็ไม่มีใครมาบอกเลย พระองค์จึงไม่เชื่อว่าโลกอื่นมี.

พระเถระทูลว่า เปรียบเหมือนคนตกลงไปในหลุมอุจจาระมิดศีรษะ พระองค์สั่งให้ราชบุรุษช่วยยกขึ้นจากหลุมนั้น เอาซี่ไม้ไผ่ปาดอุจจาระออก ทำความสะอาดหมดจดแล้ว นำพวงมาลัยเครื่องลูบไล้และผ้ามีราคาแพงมาให้นุ่งห่ม พาขึ้นสู่ปราสาท บำเรอด้วยกามคุณ ๕ บุรุษนั้นจะอยากลงไปอยู่ในหลุมอุจจาระอีกหรือไม่.

ตรัสตอบว่า ไม่อยาก. ถามว่าเพราะเหตุไร. ตรัสตอบว่า เพราะหลุมอุจจาระไม่สอาด มีกลิ่นเหม็น ปฏิกูล.
 
พระเถระทูลว่า มนุษย์ก็เป็นผู้ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น ปฏิกูล สำหรับเทวดาทั้งหลาย พวกทำความดีที่ไปสู่สุคติโลกสวรรค์ จะกลับมาบอกอย่างไร.



พวกทำดีตายไปแล้ว ไม่มีใครมาบอกว่า “อยู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์”

๓.   ตรัสเล่าว่า พระองค์เคยสั่งคนที่ทำความดีว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า ผู้ที่ทำความดีจะไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ถึงความเป็นสหายของเทพชั้นดาวดึงส์ เมื่อท่านทั้งหลายไปเกิดเช่นนั้นแล้ว ขอให้กลับมาบอกด้วย พวกนั้นรับคำแล้ว ก็ไม่มีใครมาบอกเลย พระองค์จึงไม่เชื่อว่าโลกอื่นมี

พระเถระทูลว่า ร้อยปีของมนุษย์เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของชั้นเทพดาวดึงส์ ๓๐ ราตรี เป็น ๑ เดือน , ๑๒ เดือน เป็น ๑ ปี , ๑ พันปีทิพย์เป็นประมาณแห่งอายุของเทพชั้นดาวดึงส์. ผู้ทำความดีที่ไปเกิดในที่นั้นคิดว่า อีกสัก ๒- ๓ วัน จะไปบอก พระเจ้าปายาสิ จะมาบอกได้หรือไม่.

ตรัสตอบว่า มาไม่ได้ เพราะข้าพเจ้าคงตายไปนานแล้ว แต่ก็ใครบอกแก่ท่านเล่าว่า เทพชั้นดาวดึงส์มีอายุยืนขนาดนั้น ข้าพเจ้าไม่เชื่อเลย.

พระเถระทูลว่า เปรียบเหมือนคนที่เสียจักษุแต่กำเนิด มองไม่เห็นอะไรเลย จึงกล่าวว่า สีดำ ขาว เขียว เหลือง แดง แสดไม่มี คนที่เห็นสีเช่นนั้นก็ไม่มี ดวงดาว พระจันทร์ พระอาทิตย์ไม่มี ผู้เห็นดวงดาว พระจันทร์ พระอาทิตย์ก็ไม่มี เพราะข้าพเจ้าไม่รู้ไม่เห็น สิ่งนั้นจึงไม่มีดังนี้ ผู้นั้นจะชื่อว่ากล่าวชอบหรือไม่.

ตรัสตอบว่า กล่าวไม่ชอบ.

พระเถระจึงทูลว่า พระองค์ที่ปฏิเสธเรื่องเทพชั้นดาวดึงส์ก็เป็นเช่นนั้น. สมณพราหมณ์บางพวกที่เสพเสนาสนะป่าอันสงัด ไม่ประมาท ทำความเพียร ชำระทิพยจักษุ มองเห็นโลกนี้โลกอื่นและสัตว์อุปปาติกะด้วยจักษุอันเป็นทิยย์ เหนือจักษุของมนุษย์มีอยู่. เรื่องของปรโลกพึงเห็นอย่างนี้ ไม่พึงเข้าใจว่าจะได้เห็นได้ด้วยตาเนื้อนี้.



  สมณพราหมณ์ที่มีศีลมีธรรม ถ้าเชื่อว่าตายแล้วจะไปสู่โลกหน้าที่ดีกว่า ทำไมไม่ฆ่าตัวตายเสียเลยล่ะ

๔.   ตรัสเล่าว่า พระองค์เคยเห็นสมณพราหมณ์ที่มีศีลมีธรรมอันงาม ใคร่มีชีวิต ไม่อยากตาย
ใคร่ความสุข เกลียดทุกข์ จึงทรงคิดว่า

ถ้าสมณพราหมณ์ผู้มีศีลธรรมอันงามเหล่านี้ รู้ตัวว่าตายไปแล้ว จะดีกว่าชาตินี้ ก็ควรจะกินยาพิษ เชือดคอตาย ผูกคอตาย หรือโดดเหวตาย แต่เพราะไม่รู้ว่าตายไปแล้วจะดีกว่าชาตินี้ จึงรักชีวิต ไม่อยากตาย ใคร่ความสุข เกลียดทุกข์

ข้อนี้เป็นเหตุให้พระองค์ไม่ทรงเชื่อว่าโลกอื่นมี สัตว์อุปปาติกะ ( เกิดเติบโตขึ้นทันที ) มี ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วมี.

พระเถระทูลเปรียบเทียบถวายว่าพราหมณ์คนหนึ่งมีภริยา ๒ คน คนหนึ่งมีบุตรอายุ ๑๐ หรือ ๑๒ ปี อีกคนหนึ่งมีครรภ์จวนคลอด. พราหมณ์นั้นถึงแก่กรรม มาณพผู้เป็นบุตรจึงพูดกับมารดาเลี้ยงว่า ทรัพย์สมบัติทั้งปวงนี้ ตกเป็นของข้าพเจ้าทั้งหมดของท่านไม่มีเลย ขอท่านจงมอบความเป็นทายาทของบิดาแก่ข้าพเจ้า.
   
นางพราหมณีผู้เป็นมารดาเลี้ยงตอบว่า เจ้าจงรอก่อนจนกว่าเราจะคลอด ถ้าคลอดเป็นชาย ก็จะได้ส่วนแบ่งส่วนหนึ่ง ถ้าเป็นหญิง แม้น้องหญิงนั้นก็จะต้องตกเป็นของเจ้า. [๒]

แต่มาณพนั้นก็เซ้าซี้อย่างเดิม แม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓ นางพราหมณีจึงถือมีดเข้าไปในห้อง ผ่าท้องเพื่อจะรู้ว่าเด็กในท้องเป็นชายหรือหญิง เป็นการทำลายตัวเอง ทำลายชีวิต ทำลายเด็กในครรภ์ และทำลายทรัพย์สมบัติ เพราะเป็นผู้เขลา แสวงหาสมบัติโดยไม่แยบคาย จึงถึงความพินาศ.

สมณพราหมณ์ผู้มีศีล มีธรรมอันดี ที่เป็นบัณฑิต ย่อมไม่ชิงสุกก่อนสุก ย่อมรอจนกว่าจะสุก สมณะพราหมณ์เหล่านี้ดำรงชีวิตอยู่นานเพียงใด ผู้อื่นก็ได้ประสบบุญมากเพียงนั้น และท่านก็ปฏิบัติเพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ฯลฯ

(ยังมีข้อโต้แย้งอีก ๕ ข้อ แต่พระกุมารกัสสป ก็ยกอุปมามาอธิบายได้หมด)

+++++++++++++++++++++++


พระองค์ก็เช่นเดียวกัน ทรงหาโลกอื่นโดยวิธีที่ไม่ถูก. ในที่สุดได้แนะนำให้พระเจ้าปายาสิทรงสละความเห็นผิดนั้นเสีย.

    แต่พระเจ้าปายาสิทรงอ้างว่า ทรงสละไม่ได้ เพราะพระเจ้าปเสนทิโกศล และพระราชาในรัฏฐะอื่น ๆ ก็ทรงทราบกันทั่วไปว่า พระองค์มีความเห็นอย่างนี้ ก็จะพากันติเตียนได้. พระกุมารกัสสปเถระจึงยกอุปมา เพื่อจูงใจให้ทรงละความเห็นผิดนั้น ๆ

แต่เมื่อยังไม่ทรงยอม ก็ยกอุปมาอื่นอีก โดยนัยนี้เป็นอุปมา ๔ ข้อดังต่อไปนี้:-

๑.   เปรียบเหมือนพ่อค้าเกวียนหมู่ใหญ่ เดินทางจากภาคตะวันออกไปตะวันตก แล้วได้แบ่งกองเกวียนออกเป็น ๒ กอง กองละประมาณ ๕๐๐ เล่ม ให้ขบวนหนึ่งล่วงหน้าไปก่อน อีกขบวนหนึ่งจะตามไปภายหลัง ขบวนที่ล่วงหน้าไปก่อนถูกคนเดินทางสวนหลอกให้ทิ้งหญ้าทิ้งน้ำ เล่าว่าข้างหน้าฝนตกในทางกันดาร พุ้มไม้, หญ้า , ไม้ , และน้ำบริบูรณ์

หัวหน้ากองเกวียนหลงเชื่อจึงพาพวกไปตายหมดสิ้น เพราะทิ้งหญ้าทิ้งน้ำแล้วก็หาน้ำและหญ้าข้างหน้าไม่ได้ พวกไปทีหลังไม่ยอมเชื่อคนหลอก ไม่ยอมทิ้งหญ้าทิ้งน้ำ จึงเดินทางข้ามทางกันดารโดยสวัสดี. แล้วเปรียบว่าพระองค์แสวงหาโลกอื่นโดยไม่แยบคาย จะพลอยให้คนที่เชื่อถือพากันถึงความพินาศไปด้วย เหมื่อนนายกองเกวียนคณะแรก.

๒.   เปรียบเหมือนชายเลี้ยงหมูคนหนึ่ง ไปสู่หมู่บ้านอื่น เห็นคูถ ( อุจจาระ ) แห้ง ที่เขาทิ้งไว้เป็นอันมากก็คลี่ผ้าห่มออก เอาคูถแห่งใส่แล้วห่อทูลเหนือศีรษะมา ในระหว่างทางฝนตก คูถนั้นก็ไหลเลอะเปรอะไป คนทั้งหลายจึงพากันติเตียนว่าเป็นบ้า หรือไปแบกห่อคูถมาทำไม. เขาตอบกลับว่า ท่านต่างหากเป็นบ้าเพราะของที่แบกมานี่เป็นอาหารของหมู. พระองค์ก็เปรียบเหมือนอย่างนั้น ขอจงทรงสละความคิดเห็นผิดนั้นเสียเถิด.


   ๓. เปรียบเหมือนนักเลงสกา ๒ คนเล่นสกากัน คนหนึ่งย่อมกลืนลูกโทษที่มาถึงตัว [๔] .     (หมายถึงลูกสกาที่จะทำให้แพ้ ). อีกคนหนึ่งงบอกว่า ท่านชนะเรื่อยข้างเดียว ขอลูกสกาให้ข้าพเจ้าทำพิธีบ้าง . คนชนะจึงส่งให้ไป. นักเลงคนที่ ๒ จึงเอายาพิษทาลูกสกา. เมื่อเล่นครั้งที่ ๒ นักเลงสกาคนแรกก็กลืนลูกโทษที่มาถึงนั้นอีก ( และตายเพราะกลืนยาพิษเข้าไปด้วย) . พระองค์ก็เปรียบเหมือนนักเลงสกา ( ที่กลืนยาพิษไปกับลูกสกาด้วย) ของจงทรงสละความเห็นผิดนั้นเสียเถิด.

๔.   เปรียบเหมือนชาย ๒ คนชวนกันไปยังชนบทเพื่อหาทรัพย์ ไปพบป่านในระหว่างทางก็ห่อป่านเดินทางไป ครั้นไปพบด้ายที่ทอจากป่าน คนหนึ่งเห็นด้ายมีราคากว่าก็ทิ้งป่านห่อด้ายไป อีกคนหนึ่งไม่ยอมทิ้ง ด้วยถือว่าแบกมาไกลแล้ว ผูกรัดไว้ดีแล้ว. โดยนัยนี้ไปพบผ้าเปลือกไม้. ผ้าฝ้าย , เหล็ก , โลหะ , ดีบุก ตะกั่ว, เงิน, ทอง คนหนึ่งทิ้งของเก่าถือเอาของใหม่ที่มีราคากว่า

แต่อีกคนหนึ่งไม่ยอมทิ้ง ถือว่าแบกมาไกลแล้วผูกรัดไว้ดีแล้ว เมื่อกลับไปถึงบ้าน บุตร ภริยา เพื่อนฝูงแบกห่อป่าน ก็ไม่ชื่นชม แต่บุตร จริยาเพื่อนฝูงของผู้แบกห่อทองกลับมา ต่างชื่นชม. พระองค์จะเป็นอย่างผู้แบกห่อป่าน ขอจงสละความเห็นผิดนั้นสียเถิด.


   พระเจ้าปายาสิทรงเลื่อมใสในพระกุมารกัสสปเถระ สรรเสริญภาษิต ประกาศพระองค์เป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็รนสรณะตลอดพระชนมชีพ แล้วทรงถามถึงวิธีบูชายัญ ซึ่งพระเถระก็ถวายคำแนะนำให้บูชาโดยไม่มีการฆ่าสัตว์ พระเจ้าปายาสิก็ทรงปฏิบัติตาม โดยให้มีการแจกทาน ( ทำงานสังคมสงเคราะห์) แล้วเพิ่มของที่ให้ดีขึ้นโดยลำดับ.



[๒.] พึงสังเกตว่า วัฒธรรมเกี่ยวกับการจัดมรดกตามคตินี้ หญิงไม่มีสิทธิอะไรในทรัพย์สินของบิดาเลย สุดแต่ชายผู้เป็นพี่จะจัด เพราะตัวเองตกอยู่ในฐานะที่พี่ชายจะใช้สอย หรือถือเอาเป็นภริยาได้ ( ถ้าเป็นน้องต่างมารดา)
[๔.]   แสดงว่าลูกสกาเป็นแบบลูกเต๋า ในอรรถกถาแก้ว่า เล่นด้วยลูกสี่เหลี่ยม ( ลูกเต่า ) ก็มี เล่นด้วยลูกขลุบ หรือลูกคลี ( คุล ) ก็มี การกลืนลูกสกา อาจเป็นเคล็ดให้ได้ชัยชนะเรื่อย ๆ


ที่มา หนังสือ "พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน ย่อความจากประไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ๔๕ เล่ม" โดยคุณสุชีพ ปุญญานุภาพ
ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammajak.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
เราควรเชื่อ เรื่อง ชาติ หน้า อย่างไร จึงจะถูกต้องคะ

  ได้ยินการพูดเรื่องการเชื่อชาติหน้า ชาติหลัง ในฐานะชาวพุทธ เราควรเชื่อเรื่อง ชาติหน้า อย่างไร คะ จึงจะสมควรเพราะได้ยินมาว่า บ้่างท่านก็เชื่อชาติหน้า แต่เป็นเพียงสภาวะ เพราะปฏิเสธชาติแบบภพ บางท่านก็บอกว่า เชื่อแบบภพ แบบสภาวะ ก็ชัดเจนเอง สรุปแล้วก็คือ ชาติ สำหรับ ชาวพุทธควรจะทำอย่างไร คะ

  ???

     ตอบง่ายๆ หากเป็นชาวพุทธก็ต้อง "เชื่อ" ว่าผลของกรรมมีจริง ชาติหน้ามีอยู่จริง
     หากจะพูดให้ครอบคลุมหลักธรรมของพุทธศาสนา ก็ต้องยกเอา"วงจรปฏิจจสมุปบาท"มาอธิบาย
     
     การเข้าใจในหลักปฏิจจสมุปบาท จะตอบปัญหาของคุณสุนีย์ได้ทั้งหมด

     ถามว่า ควรเชื่ออย่างไร
     ตอบว่า เชื่อแบบปฏิจจสมุปบาท



     

ปฏิจจสมุปบาท สภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น, การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา มีองค์คือหัวข้อ ๑๒ ดังนี้

     ๑. (และ ๒.)อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขารจึงมี
     ๓. สงฺขาราปจฺจยา วิญฺาณํ เพราะสังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
     ๔. วิญฺาณปจฺจยา นามรูปํ เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

     ๕. นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ เพราะนามรูป เป็นปัจจัย สฬายตนจึงมี
     ๖. สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
     ๗. ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
     ๘. เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนา เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี

     ๙. ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ เพราะตัณหา เป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
     ๑๐. อุปาทานปจฺจยา ภโว เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย ภพจึงมี
     ๑๑ ภวปจฺจยา ชาติ เพราะภพ เป็นปัจจัย ชาติจึงมี
     ๑๒. ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เพราะชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี


     โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ
     โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงมีพร้อม

     เอวเมตตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ
     ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้



ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://nkgen.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณมากคะ

 สาธุ

  :c017:
บันทึกการเข้า