ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ลักษณะของการ สยบความฟุ้งซ่าน คือ คุณสมบัติของสมาธิ  (อ่าน 3955 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

ลักษณะของการ สยบความฟุ้งซ่าน คือ คุณสมบัติของสมาธิ

 หลายท่านมักจะเข้าใจกันผิดเสมอว่า เมื่อทำสมาธิ ก็ต้องละจากนิวรณ์ คือ กามฉันทะ ความพอใจ พยาปาทะ ความไม่พอใจ เป็นสองลำดับแรก แต่อันที่จริงแล้ว ลักษณะของสมาธิ ต้องเริ่มจากการสยบความฟุ้งซ่าน ก่อน อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน ไปในอารมณ์ต่าง ๆ เป็นตัวนิวรณ์ ที่ต้องสยบตัวแรก ดังนั้นเมื่อเริ่มทำสมาธิ สิ่งที่จะเป็นเครื่องมือ ขจัดความฟุ้งซ่าน ได้ก่อน ก็คือ  วิตก คือ การเพ่งอารมณ์ที่มีวัตถุทางใจเป็นที่ัั้ตั้ง และ วิจาร การภาวนาและวางอารมณ์ กับวัตถุทางอารมณ์ ที่ตั้งไว้

   พูดชัดๆ  ก็คือ วิตก ก็คือ ปัคคาหะนิมิต ที่ตั้งฐานจิต นั่นเอง  ส่วน วิจาร ก็คือ บริกรรมนิมิต และ อุเบกขานิมิต ในการภาวนานั่นเอง

   
    ส่วนมากผู้ภาวนา มักจะเสียที่ วิจาร คือ วางอารมณ์ไม่ได้ รวมศูนย์จิตไม่ได้ จึงทำความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นมาก เรียกว่า สมาธิแตก ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุด ก็คือ ต้องเลือก  วิตก ที่เหมาะสมในการภาวนา และ ความฉลาดในการภาวนา ที่ชื่อว่่าวิจาร

     วิตกที่เหมาะสม หมายถึง การเลือกกรรมฐาน ที่เหมาะแก่จริต ของตน ในที่นี้ ดีที่สุดก็คือ พุทธานุสสติ ความเคารพรักพระพุทธเิจ้านับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในการภาวนา ดังนั้นองค์ วิตก ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับนั้นมี รูปแบบที่ดีและชัดเจนอยู่แล้ว มีการไต่อารมณ์เป็นลำดับ จนจิตเข้าอุปจาระสมาธิ เริ่มตั้งแต่

     พระธรรมปีติ 5 เข้าวัด ออกวัด สะกด เข้าคืบ เข้าสับ
     พระยุคลธรรม 6 ก็เช่นเดียวกัน
     พระสุขสมาธิ ถึงตรงนี้เป็นอุปจาระสมาธิขั้นเต็มแล้ว
     พระอานาปานสติ  จึงเป็นกรรมฐาน ลำดับต่อไป

    ความฉลาดในการภาวนา ก็คือการทำตามลำดับขั้นตอน เมื่อทำตามลำดับขั้นตอน ก็ย่อมสำเร็จธรรมที่ควรแก่การภาวนา นั่นเอง

    ความฉลาด ในการภาวนา ทำอย่างไร ?

       ก็ทำตามที่ ครูอาจารย์แนะนำ ตามลำัดับขั้นตอนของพระกรรมฐาน ในพรกรรมฐาน ทุกคนยังมีความเข้าใจผิดอยู่ว่า สมาธิ หมายถึง สภาวะว่าง อันนี้ผิด  สมาธิ มิได้หมายถึง สภาวะว่าง  แต่ สมาธิ หมายถึง ความตั้งใจมั่นคง อยู่กับ องค์แห่งสมาธิ ตามลำดับ และ ปล่อยวางองค์แห่ง สมาธิ ตามลำดับ


       อุปจาระสมาธิ  มีองค์ 4 คือ วิตก วิจาร ปิีติ สุข  (เอกัคคตา อย่างอ่อน) เป็น ปริสุทธิเบกขา
       ปฐมฌาน มีองค์ 5 คือ วิตก วิจาร ปีิติ ิสุข  เอกัคคตา เป็น ปริสุทธิเบกขา
       ทุติยฌาน มีองค์ 3  คือ   ปีติ สุข เอกัคคตา ( ปล่อยวาง วิตก และ วิจาร ) เป็น ปริสุทธิเบกขา
       ตติยฌาณ มีองค์  2 คือ สุข เอกัคคตา ( ปล่อยวาง ปีติ ) เป็น ปริสุทธิเบกขา
       จุตุตฌาน มีองค์  1 คือ เอกัคคตา  ปล่อยวาง สุข  ถึงตรงนี้เรียกว่า  ฌานุเบาขา
       เมื่อเจริญตรงนี้ ยกอารมณ์ ขึ้นวิปัสสนา ด้วย โพชฌงค์ 7 ก็เป็น โลกุตตฌาน เรียกว่า ตัตรมัชฌุตเบกขา
       
       ด้วยของสมาบัติ 8 จะไม่กล่าวในที่นี้ ขึ้นอยู่กับ วาสนาบารมี ที่สั่งสมกันมา ด้วยประการหนึ่ง

      ;)
   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 11, 2013, 11:27:53 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st12 st12 st12

 แม้จะยังไม่ค่อยจะเข้าใจ แต่ก็พยายามอ่าน อยู่คะ

 thk56
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 :72:           st12           ???           st12           ;)           st12            :34:

ได้รับการสอนสั่งจนมีความเข้าใจส่วนนี้ แต่อ่อนซ้อมและซ่อมอยู่บ่อยครั้งจึงมิกล้าเข้าสอบเลยสักครั้งผิดถูกลองมาแล้ว แต่ยังคงทนงมั่นใจที่จะก้าวข้ามผ่านด้วยอุตสาหะแห่งตน วันนี้ขอเพียรเติมเต็มอยู่กับทานและพิจารณาชีวิตให้ชัดในอนิจจะสัญญาจึงจักเพียรภาวนา
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

sakol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 thk56
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ