ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมนักบวชหมู่บ้านพลัม จึงร้องเพลงได้.?  (อ่าน 1548 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ที่นี่หมู่บ้านพลัมไม่สนใจของขลัง ๑. - สังฆะในความหมายใหม่

วิปัสสนาบนหน้าข่าว โดยพระชาย วรธัมโม เรื่อง พระสมบูรณ์ สุมังคโล ภาพ

เคยมีคนถามว่า การอบรมปฏิบัติธรรมของหมู่บ้านพลัม เขาปฏิบัติอะไรกันบ้าง.?

    รู้สึกว่าเป็นคำถามที่ตอบยากเพราะการปฏิบัติธรรมของหมู่บ้านพลัมไม่ใช่การสอนให้รู้จักการภาวนาเจริญสติเพียงอย่างเดียวแต่ยังรวมเรื่องอื่นๆ เข้าไปไว้ในการปฏิบัติธรรมด้วย ที่สำคัญก็คือหมู่บ้านพลัมไม่สนใจพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์หรือของขลัง แต่สนใจให้คนลงมือปฏิบัติธรรมเข้าถึงธรรมกันจริงๆ มากกว่า

    การมาเยือนเมืองไทยของหลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ในวัย ๘๗ ปีครั้งนี้ ยังคงชักชวนให้คนไทยมาลิ้มรสธรรมะโดยปราศจากเครื่องรางของขลังเช่นเคย ภายใต้หัวข้อ "จริยธรรมประยุกต์" มีเนื้อหาเหมาะสำหรับผู้เข้าร่วมที่เป็นครู อาจารย์ หรือบุคลากรที่ทำงานด้านการสอน

    การปฏิบัติธรรมครั้งนี้เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) วังน้อย พระนครศรีอยุธยา ระหว่างวันที่ ๔-๘ เมษายน ๒๕๕๖



เริ่มต้นด้วยการร้องเพลง

    วันแรกของการปฏิบัติธรรมเริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑ ทุ่ม และไม่ได้เริ่มต้นด้วยการสมาทานศีล ไม่ได้เริ่มต้นด้วยการสวดมนต์ตามรูปแบบที่มักปฏิบัติกัน แต่เริ่มต้นด้วยการร้องเพลงประสานเสียงของคณะนักบวชชายหญิงจากหมู่บ้านพลัม เป็นการปลุกผู้ฟังให้ตื่นจากความหลับใหลไปกับเสียงร้องเพลงธรรมะที่ไพเราะยากจะหาฟังได้จากที่ไหน

     การร้องเพลงขัดกับวินัยที่พระพุทธเจ้าห้ามนักบวชร้องเพลงมิใช่หรือ ?
     ทำไมนักบวชหมู่บ้านพลัมจึงร้องเพลงกันได้ ?

     คำตอบ คือ การร้องเพลงของนักบวชหมู่บ้านพลัมไม่ได้ร้องเพื่อกระตุ้นอารมณ์เหมือนเพลงประโลมโลกทั่วไป แต่เป็นการร้องที่นำไปสู่การตระหนักรู้ในการปฏิบัติ เป็นบทเพลงที่ทำให้ผู้ปฏิบัติตระหนักรู้ในความเกี่ยวข้องกับสรรพสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว เป็นบทสวดที่กล่าวสรรเสริญพระโพธิสัตว์ผู้มีเมตตาต่อการรับฟังความทุกข์ยากของสรรพสัตว์

     ถ้าบทเพลงจะทำให้การหยั่งรู้ลงในธรรมของผู้ร้องหรือผู้ฟังมีมากขึ้นการร้องเพลงนั้นก็คือการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่งเช่นกัน ใครก็ตามที่เข้ามาปฏิบัติภาวนากับหมู่บ้านพลัมสิ่งที่แรกๆ ที่ต้องทำก็คือการร้องเพลง

     การร้องเพลงในขณะที่เรายังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ในความหมายหนึ่งคือการได้ปลดปล่อยความทุกข์ทางใจออกไป ในขณะเดียวกันก็ถือเป็นการเพิ่มพลังในการปฏิบัติธรรมไปด้วย เมื่อเนื้อหาของเพลงจูงใจผู้ร้องและปลุกใจผู้ฟังในเกิดความมั่นคงในการปฏิบัติ หนทางของมหายานอาจจะมีความแตกต่างจากเถรวาทด้วยมุมมองธรรมะที่กลับด้านออกไป

     เมื่อร้องเพลงจบหลวงปู่ลงมาบรรยายธรรมข้างล่างแทนที่จะพูดบนเวทีเพื่อความใกล้ชิดคนฟังยิ่งขึ้น
     หลวงปู่กล่าวถึงความสุขว่า ถ้าเรามีความสุขเราจะสามารถทำให้คนที่อยู่รอบๆ ตัวเรามีความสุขไปด้วย แต่เมื่อใดที่เรามีทุกข์ เรามีความโกรธมีความหงุดหงิด สิ่งเหล่านั้นจะกระจายไปยังคนที่อยู่รอบๆ ตัวเราด้วยเหมือนกัน ถ้าเราไม่มีความสุขเราก็ไม่มีอะไรจะให้คนอื่น ถ้าเรามีความสุขเราก็สามารถทำให้คนอื่นมีความสุขได้ด้วย

     พร้อมยกตัวอย่างให้ฟังว่าพระพุทธเจ้าเป็นครูที่มีความสุขที่สุดในโลกคนหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้ามีความสุขมากมาย พระองค์ก็สามารถช่วยให้คนมากมายเหล่านั้นหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ด้วยเช่นกัน นี่เป็นคำสอนง่ายๆ ที่ทำให้เห็นว่าเรามีส่วนช่วยให้บุคคลรอบๆ ตัวเรามีความสุขได้เพียงเราทำตัวเองให้มีความสุขภายในเสียก่อน เมื่อนั้นความสุขจากภายในของเราก็จะแผ่กระจายออกไปยังบุคคลรอบข้าง





"สังฆะ"ในความหมายใหม่

    ทุกครั้งที่หลวงปู่เดินทางไปจัดภาวนาที่ไหนก็ตามท่านจะไปพร้อมกับภิกษุ-ภิกษุณีจำนวนมากมาย ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน ท่านมากันเป็นคณะใหญ่พร้อมด้วยนักบวชชายหญิงจำนวน ๑๖๐ รูป เพื่อต้อนรับผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมจำนวน ๗๐๐ คน

     ผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมจำนวนมากขนาดนี้ถ้าไม่ใช่มืออาชีพคงจัดการให้เพลิดเพลินไปกับการปฏิบัติธรรม ๕ วันไม่ได้แน่ แต่ใครจะรู้ว่าที่ต้องมากันเป็นคณะใหญ่
     ก็เพราะหลวงปู่ต้องการให้ผู้ปฏิบัติธรรมเข้าใจคำว่า "สังฆะ" ในความหมายใหม่ว่า
     หมายถึง 'การอยู่ร่วมกันของผู้ปฏิบัติธรรม' โดยไม่จำกัดว่าต้องหมายถึง "คณะสงฆ์"
     อย่างที่ชาวพุทธทั่วไปเข้าใจกัน อาจเป็นกลุ่มฆราวาสด้วยกันก็ได้


     ด้วยจำนวนผู้เข้าร่วมประมาณ ๗๐๐ คนได้ถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มสังฆะย่อยซึ่งเรียกว่า "กลุ่มครอบครัว" ประมาณ ๒๐ กลุ่ม โดยมีนักบวชจากหมู่บ้านพลัมเข้าไปกำกับดูแลกลุ่มสังฆะย่อยทุกกลุ่มคล้ายเป็นพี่เลี้ยงธรรมะในกลุ่มสังฆะนั้นเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมมีโอกาสพูดคุยกับนักบวชและแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันอย่างทั่วถึง

     นี่คือเหตุผลว่าทำไมหลวงปู่ต้องพานักบวชติดตามไปด้วยมากมาย เพื่อเป็นการแบ่งงานกันทำตามความหมายของ "สังฆะ"

     เมื่อนักบวชมีโอกาสนำภาวนาในกลุ่มย่อย ก็ทำให้นักบวชเกิดการเจริญเติบโตจากการได้เป็นผู้นำ ไม่ใช่หลวงปู่เก่งเพียงคนเดียวแต่ลูกศิษย์ไม่เอาไหนเลย นี่เป็นวิธีการฝึกลูกศิษย์ที่ชาญฉลาดของอาจารย์ทีเดียว นั่นเป็นส่วนของการบริหารจัดการผู้เข้าร่วมจำนวนมาก หมู่บ้านพลัมยังต้องบริหารจัดการเรื่องเครื่องเสียงที่นำไปเองด้วย

    ใครจะรู้ว่าแต่ละครั้งที่หลวงปู่ไปจัดกิจกรรมภาวนาที่ไหนก็ต้องพกพาเครื่องเสียงไปเองทั้งไมโครโฟน ลำโพง เครื่องขยายเสียง หูฟังสำหรับการแปลภาษาในกรณีที่มีผู้เข้าร่วมเป็นชาวต่างประเทศ และยังต้องจัดหาอาสาสมัครมาเป็นล่ามแปลเป็นภาษาต่างๆ บางครั้งนักบวชในหมู่บ้านพลัมก็เป็นล่ามให้เพราะนักบวชในหมู่บ้านพลัมมาจากหลายชาติหลายภาษา และยังมีการบันทึกวิดีโอ บันทึกภาพนิ่ง เหล่านี้เป็นหน้าที่ของนักบวชในหมู่บ้านพลัมจัดการเองทั้งสิ้น

     ถามว่าทำไมต้องมีเครื่องเสียงไปเอง เพราะหลวงปู่ให้ความสำคัญกับการฟังมาก ธรรมะดีแต่ถ้าเครื่องเสียงไม่ดีการบรรยายธรรมะก็ไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ฟัง ในเมื่องานหลักของหมู่บ้านพลัมคือการเผยแผ่ธรรมะ การมีครื่องเสียงไปเองจึงเป็นสิ่งจำเป็น เหมือนกับวงดนตรีที่ต้องการให้คนฟังประทับใจก็ต้องมีเครื่องเสียงที่มีคุณภาพ ทั้งหมดคือความหมายของ "สังฆะ" คือการทำงานเป็นทีมร่วมกัน


กลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง

    แนวทางการปฏิบัติธรรมของหมู่บ้านพลัมอีกอย่างหนึ่งคือ ต้องการให้ผู้ปฏิบัติกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง คำว่ากลับไปเป็นเด็กคือกลับไปสู่ความรู้สึกที่บริสุทธิ์ ไม่เสแสร้ง ไม่มายา
     ตอนที่เราเป็นเด็กเราดีใจเราก็หัวเราะออกมาดังๆ เราเสียใจเราก็ร้องไห้มีน้ำตาไหลออกมา
     แต่เมื่อเราโตขึ้นเราถูกความเป็นผู้ใหญ่กดทับความรู้สึกบริสุทธิ์นี้ไว้
     เราถูกความมีหน้ามีตากดทับไว้ เราถูกหน้าที่การงานความรับผิดชอบกดทับไว้
     ทำให้บางครั้งเราดีใจมากๆ เราก็แสดงออกมาไม่ได้
     บางครั้งเราเสียใจจนอยากร้องไห้ เราก็ไม่สามารถทำได้
     เพราะคนรอบข้างจะบอกกับเราว่า "โตแล้วยังร้องไห้อีก"


     แต่สำหรับหมู่บ้านพลัมแล้ว เราดีใจเราก็หัวเราะออกมาดังๆ ได้ เราเสียใจเราก็ร้องไห้ได้ นักบวชในหมู่บ้านพลัมทั้งชายหญิงร้องไห้เป็นกันทุกรูป เพราะทุกคนเรียนรู้จากหลวงปู่ว่าเราไม่ควรเสแสร้งกับอารมณ์ความรู้สึกของเรา เมื่อเราหัวเราะเราก็มีสติระลึกรู้ไปกับการหัวเราะ เมื่อเราร้องไห้เราก็มีสติไปกับการร้องไห้ เพราะเราตระหนักรู้ว่ามันเป็นเพียงภาวะชั่วคราว ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป การกดทับอารมณ์เหล่านั้นไว้มีแต่จะเป็นผลเสียต่อสุขภาพจิต การได้ปลดปล่อยอารมณ์เหล่านั้นออกไปอย่างเหมาะสมและมีการระลึกรู้เป็นการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง

    (อ่านตอนจบวันพระหน้า)


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20130503/157520/ที่นี่หมู่บ้านพลัมไม่สนใจของขลัง๑.สังฆะในความหมายใหม่.html#.UYcLk0rSi8
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

mongkol

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 95
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำไมนักบวชหมู่บ้านพลัม จึงร้องเพลงได้.?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 01:50:29 pm »
0
  ก็ท่านเป็น นักบวช ฝ่าย มหายาน นี่ครัีบ การร้องเพลง รำดาบ มวย เต้น มีลูก มีเมีย ในสายมหายาน เขาทำได้ แต่  สุดแท้แต่คนที่คิดว่า เข้าถึงได้

    การปรุงแต่ง ด้วย กามคุณ เพื่อเข้าสู่ ความสงบนั้น ผมเคยฝึกแบบเซ็น ฟังเพลง ทำสมาธิ แต่ ไม่เคยได้สมาธิเลยครับ ( หมายถึง ฌาน นะครับ )

   ก็เล่าให้ฟังได้่เท่านี้


   ของดีเรามีอยู่ ผมว่า อย่าไปเลียนแบบเลยครับ

    :s_hi:
บันทึกการเข้า