ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมกาย  (อ่าน 3764 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมกาย


ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง "กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมกาย" ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้



๑. ว่าด้วยการอบรมกาย
                               

หลายๆคนคงสงสัยแต่ไม่เข้าใจสำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ๆว่า การอบรมกายมันคือสิ่งใด คืออะไร อย่างไหนจึงเรียกว่าถูกต้อง
การอบรมกายที่พระตถาคตตรัสไว้ดีแล้วนั้น คือ

ก. การอบรมไม่ให้กายนั้นต้องทรมานเกินไป เช่น
     - อดข้าว
     - กลั้นลมหายใจจนหายใจออกทางหู หรือ ผิวหนัง
     - ทรงอิริยาบถที่ทรมานกาย
ข. การอบรมไม่ให้กายนั้นต้องสบายมากเกินไป เช่น
     - กินเพราะอยาก
     - เสพย์เมถุน
     - ปล่อยตัวไปตามที่ทะยานอยาก จนทำร้ายเบียดเบียนคนอื่น
ค. การอบรมในทางสายกลางเป็นสิ่งที่ควรเจริญ คือ
     - มีอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ที่ไม่กระทำทางกายเพื่อเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
     - ไม่เค่งทำให้กายทรมาน เสื่อมโทรม
     - ไม่หละหลวมกระทำทางกายที่เป็นอกุศลกรรมใดๆ
     - มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม+สติระลึกรู้แลดูอยู่รู้เท่าทันในอายตนะทั้ง 5 มีความสำรวมระวังในอายตนะทั้ง 5 คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย อยู่ในอิริยาบถที่เหมาะสมดีงาม
     - มีสีลสังวรสำรวมกาย วาจา โดยอาศัยการพึงระลึกตรึกนึกในกุศลวิตก พิจารณาเห็นคุณและโทษจากเจตนาทางกายและวาจา คือ คุณและโทษกรรมที่กระทำทางกายและวาจาอยู่เนืองๆ เมื่อรู้อารมณ์ใดๆทางสฬายตนะให้พึงมี "ขันติ" คือ มีความอดทนอดกลั้น ทนได้ทนไว้ ด้วยรู้จักปล่อย รู้จักละ รู้จักวางในอารมณ์ที่รับรู้ เข้าสู่ "โสรัจจะ" คือ มีสีลสังวรณ์สำรวมกายและวาจาไว้ สงเคราะห์ลงใน กุศลกรรมบท ๑๐ และ สัลเลขสูตร

ง. การอบรมกายนี้ ดั่งข้อที่ ๑.๑-๑.๓ ข้างต้นนี้ เป็นไปเพื่อไม่ให้กายนี้เสื่อมสภาพเกินกาลอันควร เป็นไปเพื่อไม่ให้กระทำในกายการอันประมาท ไม่ทำในกายให้เป็นอกุศลกรรม เป็นไปเพื่อความมีสภาพกายที่ดีเหมาะแก่การเจริญสมาธิให้จิตตั้งมั่น
     - การดำรงกายเพื่อให้สภาพจิตเรานั้นตั้งมั่นเป็นไฉน คือ การมีอิริยาบถ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ที่ทำให้เกิดจิตตั้งมั่นได้ง่าย และ คงสภาวะจิตนั้นได้นาน
     - การดำรงกายเพื่อให้สภาพจิตเรานั้นไม่เกิดสภาวะที่ติดข้องขัดเคืองใจ ส่งผลให้สภาพจิตเรานั้นมัวหมองใจ เศร้าหมองใจ หรือ ติดใจเพลิดเพลินยินดี




การอบรมกายในอิริยาบถทั้ง ๔ โดย ย่อ มีดังนี้                         

๑.๑ การอบรมกายในอิริยาบถการ "ยืน"

- คือ การยืนโดยมีสัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม มีสติระลึกในสภาวะที่ทรงอยู่ แลดูกำกับรู้ในอิริยาบถนั้น
- คือ การยืนโดยรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่ทุกขณะไม่ทิ้งไป
- คือ การยืนในท่าทีที่สำรวม ไม่แสดงการยืนที่ส่ออกุศล ลามกใดๆ
- เมื่อยืนอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อมว่ายืนอยู่ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม+สติระลึกรู้เท่าทันสภาวะที่ทรงกายอยู่
- เมื่อยืนอยู่ก็รู้ลมหายใจเข้า-ออกอยู่ตลอดเวลา
- เมื่อยืนอยู่ก็ยืนด้วยความสำรวม มีความสงบรำงับไว้อยู่
- เมื่อยืนอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อมว่ายืนอยู่ พิจารณาเห็นความไม่งามไม่น่าพิศมัยแห่งกายนี้ แลเห็นสักแต่เป็นเพียงธาตุที่มาประชุมกัน แลเห็นความเสื่อมไปแห่งกายนี้อยู่
- เมื่อยืนอยู่ก็รู้พิจารณาเห็นกายภายในอยู่ หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้งในกายของตนเองบ้าง ที่มีเฉพาะตนบุคคลนั้นๆบ้าง
- เมื่อยืนอยู่ก็รู้พิจารณาเห็นกายภายนอกอยู่ หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของบุคคลอื่นๆบ้าง ว่าเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
- เมื่อยืนอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อมว่ายืนอยู่ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม+สติระลึกรู้เท่าทันสภาวะที่ทรงอิริยาบถนั้นๆอยู่ ยืนตรงก็รู้ว่าตรง ยืนเอียงก็รู้ว่าเอียง ยืนแล้วปวดขาก็รู้ว่าปวด

๑.๒ การอบรมกายในอิริยาบถการ "เดิน"

- คือ การเดินโดยมีสัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม มีสติระลึกในสภาวะที่ทรงอยู่ แลดูกำกับรู้ในอิริยาบถนั้น
- คือ การเดินโดยรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่ทุกขณะไม่ทิ้งไป
- คือ การเดินในท่าทีที่สำรวม ไม่แสดงการยืนที่ส่ออกุศล ลามกใดๆ
- เมื่อเดินอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อมว่าเดินอยู่ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม+สติระลึกรู้เท่าทันสภาวะที่ทรงกายอยู่
- เมื่อเดินอยู่ก็รู้ลมหายใจเข้า-ออกอยู่ตลอดเวลา
- เมื่อเดินอยู่ก็ยืนด้วยความสำรวม มีความสงบรำงับไว้อยู่
- เมื่อเดินอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อมว่าเดินอยู่ พิจารณาเห็นความไม่งามไม่น่าพิศมัยแห่งกายนี้ แลเห็นสักแต่เป็นเพียงธาตุที่มาประชุมกัน แลเห็นความเสื่อมไปแห่งกายนี้อยู่
- เมื่อเดินอยู่ก็รู้พิจารณาเห็นกายภายในอยู่ หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้งในกายของตนเองบ้าง ที่มีเฉพาะตนบุคคลนั้นๆบ้าง
- เมื่อเดินอยู่ก็รู้พิจารณาเห็นกายภายนอกอยู่ หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของบุคคลอื่นๆบ้าง ว่าเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
- เมื่อเดินอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อมว่าเดินอยู่ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม+สติระลึกรู้เท่าทันสภาวะที่ทรงอิริยาบถนั้นๆอยู่ ก้าวย่างอยู่ก็รู้ว่าก้าวย่างอยู่ ขาข้างใดก้าวย่างอยู่ก็รู้ว่าขาข้างใดกำลังก้าวย่างอยู่ ขาข้างใดแตะพื้นสัมผัสสิ่งใดๆก็รู้ว่าแตะพื้นอยู่สัมผัสสิ่งไรๆอยู่ สัมผัสแล้วมีสภาพอย่างไรก็รู้ในสภาพนั้นๆอยู่

๑.๓ การอบรมกายในอิริยาบถการ "นั่ง"

- คือ การนั่งโดยมีสัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม มีสติระลึกในสภาวะที่ทรงอยู่ แลดูกำกับรู้ในอิริยาบถนั้น
- คือ การนั่งโดยรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่ทุกขณะไม่ทิ้งไป
- คือ การนั่งในท่าทีที่สำรวม ไม่แสดงการยืนที่ส่ออกุศล ลามกใดๆ
- เมื่อนั่งอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อมว่านั่งอยู่ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม+สติระลึกรู้เท่าทันสภาวะที่ทรงกายอยู่
- เมื่อนั่งอยู่ก็รู้ลมหายใจเข้า-ออกอยู่ตลอดเวลา
- เมื่อนั่งอยู่ก็ยืนด้วยความสำรวม มีความสงบรำงับไว้อยู่
- เมื่อนั่งอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อมว่านั่งอยู่ พิจารณาเห็นความไม่งามไม่น่าพิศมัยแห่งกายนี้ แลเห็นสักแต่เป็นเพียงธาตุที่มาประชุมกัน แลเห็นความเสื่อมไปแห่งกายนี้อยู่
- เมื่อนั่งอยู่ก็รู้พิจารณาเห็นกายภายในอยู่ หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้งในกายของตนเองบ้าง ที่มีเฉพาะตนบุคคลนั้นๆบ้าง
- เมื่อนั่งอยู่ก็รู้พิจารณาเห็นกายภายนอกอยู่ หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของบุคคลอื่นๆบ้าง ว่าเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
- เมื่อนั่งอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อมว่านั่งนอยู่ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม+สติระลึกรู้เท่าทันสภาวะที่ทรงอิริยาบถนั้นๆอยู่ นั่งขัดสมาธิอยู่ก็รู้ว่านั่งขัดสมาธิอยู่ นั่งบนเก้าอี้เอาขาลงเอาเท้าแตะพื้นก็รู้ว่านั่งบนเก้าอี้เอาขาลงเอาเท้าแตะพื้น

๑.๔ การอบรมกายในอิริยาบถการ "นอน"

- คือ การนอนโดยมีสัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม มีสติระลึกในสภาวะที่ทรงอยู่ แลดูกำกับรู้ในอิริยาบถนั้น
- คือ การนอนโดยรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่ทุกขณะไม่ทิ้งไป
- คือ การนั่งในท่าทีที่สำรวม ไม่แสดงการยืนที่ส่ออกุศล ลามกใดๆ
- เมื่อนอนอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อมว่านั่งอยู่ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม+สติระลึกรู้เท่าทันสภาวะที่ทรงกายอยู่
- เมื่อนอนอยู่ก็รู้ลมหายใจเข้า-ออกอยู่ตลอดเวลา
- เมื่อนอนอยู่ก็ยืนด้วยความสำรวม มีความสงบรำงับไว้อยู่
- เมื่อนอนอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อมว่านอนอยู่ พิจารณาเห็นความไม่งามไม่น่าพิศมัยแห่งกายนี้ แลเห็นสักแต่เป็นเพียงธาตุที่มาประชุมกัน แลเห็นความเสื่อมไปแห่งกายนี้อยู่
- เมื่อนอนอยู่ก็รู้พิจารณาเห็นกายภายในอยู่ หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้งในกายของตนเองบ้าง ที่มีเฉพาะตนบุคคลนั้นๆบ้าง
- เมื่อนอนอยู่ก็รู้พิจารณาเห็นกายภายนอกอยู่ หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของบุคคลอื่นๆบ้าง ว่าเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
- เมื่อนอนอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อมว่านอนอยู่ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม+สติระลึกรู้เท่าทันสภาวะที่ทรงอิริยาบถนั้นๆอยู่ นอนตะแครงขวาอยู่ก็รู้ว่านอนตะแครงขวาอยู่ นอนหลายอยู่ก็รู้ว่านอนหงายอยู่

๑.๕ การอบรมกายเมื่อรู้อารมณ์ทางตาและหู "มองเห็นและได้ยิน"

- เมื่อมองก็รู้ว่าขณะนี้ตนกำลังมองอยู่
- เมื่อฟังเสียงอยู่ก็รู้ว่าขณะนี้ตนกำลังฟังเสียงอยู่
- เมื่อเห็นหรือได้ยินสิ่งไรๆสภาพไรๆก็รู้ว่าตนมองเห็นสิ่งนั้นๆได้ยินเสียงนั้นๆในสภาวะสภาพนั้นๆอยู่
- เมื่อเกิดอารมณ์ความรู้สึกไรๆขึ้น ให้พึงตั้งขันติไว้ พิจารณาเห็นคุณและโทษโดยยกสติขึ้นแยกจากอารมณ์ความรู้สึกนั้นๆว่า หากเราได้กระทำสิ่งไรๆทางกายและวาจาตามที่ใจใคร่ปารถนาต้องการนั้นมันเป็นคุณหรือเป็นโทษ
- พึงตั้งกายและวาจาอยู่ในความสงบนิ่งไว้ให้อยู่ในความสำรวมเป็นสัมมาโดยชอบทางกายและวาจาไว้ ไม่กระทำการใดๆทางกายและวาจาให้เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

๑.๖ การอบรมกายเมื่อรู้อารมณ์ทางกาย "รู้การกระทบสัมผัสใดๆทางกาย"

- เมื่อรู้ว่ากายถูกกระทบสัมผัสอยู่ก็ให้รู้ว่ากายถูกกระทบสัมผัสอยู่
- เมื่อรู้ว่าสิ่งใดมากระทบสัมผัสทางกายก็รู้ว่ามีสิ่งนั้นๆมากระทบสัมผัสทางกายอยู่
- พึงรู้ว่าผลการการกระทบสัมผัสจากสิ่งนั้นๆเราได้รับความรู้สึกทางกายเป็นอย่างไร ร้อน เย็น แข็ง อ่อน เอิบอาบซ่านกาย เคลื่อนไหวตรึงกาย ชากาย ทิ่มเสียด แสบ กรีดปวดกายเป็นต้น ก็ให้รู้เพียงว่าสภาวะธรรมนี้ๆเกิดขึ้นทางกายเราเท่านั้นไม่มีเกินกว่านี้
- พึงมีความข่มใจจากกิเลส คือ ทมะ ด้วยอาศัยความตรึกนึกอันเป็นกุศลมองในแง่มุมที่ดี ไม่เป็นไปเพื่อความร้อนรุ่ม เร่าร้อนเดือดดานกายและใจ เช่น ยุงกัดก็ยังดีกว่าผึ้งต่อย ถูกด่ายังดีกว่าถูกมือตบตี ถูกมือตบตียังดีกว่าถูกไม้ฟาด ถูกไม้ฟาดก็ยังดีกว่าถูกมีด หอกหลาว ฟัน แทง เป็นต้น เข้าสู่ความสงบใจจากกิเลส คือ อุปสมะ ความสงบใจจากกิเลส อันส่งผลให้ ขันติ และ โสรัจจะสมบูรณ์ เกิดความสำรวมสงบทางกายและวาจา อันเป็นสัมมาทางกายและวาจาขึ้นบริบูรณ์ดีงาม เพราะการกระทำการใดๆอิริยาบถใดๆทางกายและวาจาอาศัยวิตกและวิจารเป็นใหญ่จึงต้องมี ทมะและอุปสมะควบคู่ไปกับขันติและโสรัจจะเสมอๆดังนี้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 19, 2014, 03:43:54 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมกาย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2013, 02:58:51 pm »
0

การเจริญในการอบรมกายที่พุทธบริษัททั้งหลายควรเจริญและปฏิบัติ ที่พระตถาคตตรัสสอนไว้ดีแล้วนั้นมีดังนี้

           กายานุปัสสนา คือ เป็นทั้งการฝึกสติ และให้ใช้สตินั้น พิจารณากาย หรือตามดูรู้เท่าทันตามจริงในสังขารกายต่างๆ   ตลอดจนเพื่อนำสติที่ฝึกหัดดีนั้น นํามาพิจารณาและปฏิบัติใน เวทนา จิต และธรรม อีกต่อไป,  จุดประสงค์คือเป็นการฝึกสติในขั้นแรกแล้วใช้สตินั้นพิจารณากาย เพื่อให้เกิดนิพพิทาความหน่ายคลายกําหนัดและความหลงไหลในกาย  อันท่านได้กล่าวไว้ดังนี้
                    ๑.๑  อานาปานบรรพ หรืออานาปานสติ เป็นการฝึกสติ ให้มีสติตามกําหนดตามลมหายใจเข้า,ลมหายใจออก  อันท่านกล่าวไว้ว่าลมหายใจนั้นก็เป็นกายสังขารชนิดหนึ่ง(การกระทําทางกาย) เช่น เดียวกับการยืน นอน เดิน นั่ง ฯ.
                    การปฏิบัติในข้อนี้มีความสับสนกันมาก  เพราะมีความนิยมเอาลมหายใจเช่นกันเป็นอุบาย กล่าวคือ เป็นอารมณ์หรือเครื่องกำหนด,เครื่องล่อจิต เพื่อปฏิบัติสมาธิหรือฌาน   จริงๆแล้วอานาปานสติเป็นการปฏิบัติวิปัสสนาที่ต้องเป็นการมีสติตามดูรู้เข้าใจลมหายใจอย่างมีสติ   มิใช่ขาดสติโดยการปล่อยให้เลื่อนไหลเข้าสู่ภวังค์หรือสมาธิอันแสนสงบสบายแต่อย่างเดียวดังที่นิยมปฏิบัติกันโดยไม่รู้ตัว,   แต่ถ้าปฏิบัติสมถสมาธิโดยใช้ลมหายใจเป็นเครื่องกำหนดหรืออารมณ์ ก็ขอให้เป็นไปโดยรู้ตัวว่าทำสมาธิ ก็ถือว่าถูกต้องตามวัตถุประสงค์   แต่มิใช่ว่าตั้งใจฝึกสติ แต่กลับไปทำสมถสมาธิจนจิตระงับด้วยเข้าใจผิด ว่าเพื่อเอาแต่ความสงบ,สุข,สบาย  แล้วไปคิดไปนึกเอาเองว่าเป็นการฝึกสติ
                    ๑.๒ อิริยาบถ กําหนดรู้เท่าทันอิริยาบถ เป็นการฝึกสติ ให้ให้มีสติรู้เท่าทันอิริยาบถต่างๆ  เช่น ยืน  นอน  เดิน  นั่ง ฯ.
                    ๑.๓ สัมปชัญญะ เป็นการฝึกสติในขั้นต่อไป กล่าวคือ ขั้นแรกระลึกรู้เพียงอิริยบทเดียวให้ชำนาญ  แล้วให้ฝึกความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในการเคลื่อนไหวที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง เช่น ในการดื่ม การกิน การเดิน การเคี้ยว ปัสสาวะ อุจจาระ ฯลฯ.  (เพื่อให้เกิดความชำนาญหรือเป็นวสี และไม่เกาะเกี่ยวมีสติแต่กับสิ่งใดแต่อย่างเดียว  แต่มีสติระลึกรู้ในสิ่งอื่น หรือทั่วพร้อมในสิ่งอื่นๆอีกด้วย  เพื่ออำนวยประโยชน์เมื่อนำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันในการเห็น กายบ้าง เวทนาบ้าง จิตบ้าง หรือธรรมบ้าง อันล้วนเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน) อยากแนะนำให้ต่อเนื่องสัมพันธ์กันคือสติระลึกรู้ต่อเนื่องในอิริยบถต่างๆที่เปลี่ยนไปมาด้วย  ไม่ใช่เดินก็พิจารณาแต่เดินอย่างเดียว  เช่น เมื่อเดินก็รู้ว่าเดิน แต่เมื่อดื่มนํ้าก็รู้ว่าดื่มนํ้าคืออิริยบถที่ต่อเนื่องกัน  ไม่ใช่อิริยบถเดียวแต่หมายถึงรู้เท่าทันต่อเนื่องกันไป  และมีสติระลึกรู้ไม่เพ่งจนแน่วแน่จนเป็นสมาธิระดับสูง  เพราะต้องการฝึกสติเป็นหลักหรือประธานตามชื่อพระสูตร  ไม่ใช่สมาธิ  สมาธิเป็นผลที่เกิดตามมาบ้างเท่านั้น   บางท่านฝึกสัมปชัญญะในการเดิน ก็ไปเป็นการฝึกสติตามอิริยบถแต่อย่างเดียวเสียแน่วแน่ต่อเนื่องเป็นสมาธิในการยก การเหยียบ การย่าง  ผลที่ออกมาจึงเป็นการเจริญอิริยบถจนเป็นสมถสมาธิแต่ฝ่ายเดียวโดยไม่รู้ตัว  ดังนั้นการฝึกจึงควรมีสติ ไม่ปล่อยให้เป็นไปในรูปสมาธิเป็นหลัก  กล่าวโดยย่อก็คือ มีสติรู้เท่าทันอิริยาบถต่างๆที่เกิดขึ้นหรือสังขารขึ้นนั่นเอง ไม่เกาะเกี่ยวกับอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งโดยเฉพาะดังเช่นในข้อ ๑.๒ อิริยาบถ แต่รู้สึกตัวทั่วพร้อม,  จึงเหมาะอย่างยิ่งในการปฏิบัติต่อจากข้อ ๑.๒ อิริยาบถข้างต้น  ก็เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ในการปฎิบัติในชีวิตประจำวัน กล่าวคือ มีสติต่อเนื่องแต่ไม่เกาะเกี่ยวกับสิ่งใดแต่อย่างเดียวจนขาดสติไม่รู้เท่าทันในสิ่งอื่นๆ แต่มีสติรู้เท่าทันในสิ่งต่างๆทั่วพร้อม ดังเช่น สติรู้เท่าทันในกายบ้าง เวทนาบ้าง จิตบ้าง ธรรมบ้าง,  จึงไม่ใช่การไปมีสติยึดเกาะแต่กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดแต่ฝ่ายเดียวจนไม่มีสติในสิ่งอื่นๆ  ซึ่งถ้าเป็นไปอย่างนั้นก็จัดว่าเป็นสติในลักษณะอุปัฏฐานะในวิปัสสนูปกิเลสอันให้โทษ   ในพระอภิธรรม ท่านให้คำจำกัดความของ สัมปชัญญะ ไว้ดังนี้ : ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ (พระไตรปิฏก เล่มที่ ๓๕ ข้อที่ ๔๕๕)  หรือการรู้ตัวทั่วพร้อมในกิจหรืองานที่กระทำนั่นเอง
                    ๑.๔ ปฏิกูลมนสิการ เป็นการใช้สติที่ฝึกนั้น  นำสติมาพิจารณาในกายตนว่า ล้วนประกอบด้วยสิ่งที่ไม่สะอาด ปฏิกูลต่างๆทั้งสิ้น เพื่อให้เกิดนิพพิทาคลายความรัก ความหลงใหล ความลุ่มหลง ความยึดถือ ทั้งในกายตน ตลอดจนในกายของบุคคลอื่นๆอีกด้วย
                     ๑.๕ ธาตุมนสิการ เป็นการใช้สติในการพิจารณาให้เห็นว่า กายเรานั้นตามความเป็นจริงขั้นสูงสุด(ปรมัตถ์) หรือแก่นแท้แล้วล้วนเกิดแต่เหตุของธาตุทั้ง ๔ มาเป็นปัจจัยกัน  หรือกายสักแต่ว่าธาตุ ๔ มาเป็นปัจจัยประชุมปรุงแต่งรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนอยู่ชั่วขณะหรือระยะหนึ่งเท่านั้น  จึงไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้  เพื่อให้เกิดนิพพิทา คลายความกำหนัดในกาย
                     ๑.๖ นวสีวถิกา พิจารณาศพในสภาพต่างๆ อันมี ๙ ระยะ  เพื่อให้นิพพิทาคลายความยึดมั่น ความหลงใหล ลุ่มหลงในกาย ว่ากายเราหรือบุคคลอื่นๆ ต่างก็ล้วนเป็นอสุภที่เน่าเปื่อยสลายไปเป็นเช่นนี้เป็นที่สุด   ในปัจจุบันนี้คงต้องใช้การน้อมนึกพิจารณา


      [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า 
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
    เธอมีสติหายใจออก  มีสติหายใจเข้า
    เมื่อหายใจออกยาว  ก็รู้ชัด(มีสติ)ว่า  เราหายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า  เราหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า  เราหายใจออกสั้น
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า  เราหายใจเข้าสั้น
    ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า   เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
        ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน
    เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว   
    เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่าเราชักสั้น  แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า  เราหายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้ายาว  ก็รู้ชัดว่า  เราหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า  เราหายใจออกสั้น
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า  เราหายใจเข้าสั้น
    ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
    ย่อมสำเนียกว่า  เราจักเป็นผู้กำหนดกองลมทั้งปวง หายใจเข้า
    ย่อมสำเนียกว่า  เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า  เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
        ดังพรรณนามาฉะนี้   ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกาย ในกายภายในบ้าง
(หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของตนเองบ้าง,  แล้วอุเบกขา อันเป็นอาการแสดงความหมายดังบทสรุปทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก")
        พิจารณาเห็นกาย ในกายภายนอกบ้าง
(หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของบุคคลอื่นๆบ้าง ว่าล้วนเป็นเช่นกัน,  แล้วอุเบกขา อันมีความหมายดังบทสรุปทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก")
        พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง (ทั้งของตนเองบ้าง, ทั้งของผู้อื่นบ้าง)
        พิจารณาเห็นธรรม(ธรรมชาติ,สภาวธรรม)คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง (พิจารณาจากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕, ปฏิจจสมุปบันธรรม)
        พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมในกายบ้าง (พิจารณาใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในพระไตรลักษณ์)
        พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง (พิจารณาจากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ และพระไตรลักษณ์)
        ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้  เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น   เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ(ความเชื่อ,ความยึดมั่น)ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก(ไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน  ดังด้วยการอุเบกขาในโพชฌงค์เสียนั่นเอง)
        ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า  พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ (อย่างแจ่มแจ้ง)


จบอานาปานบรรพ

        [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัด(มีสติ)ว่าเราเดิน   
        เมื่อยืน ก็รู้ชัด(มีสติ)ว่าเรายืน   เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง   เมื่อนอน ก็รู้ชัดว่าเรานอน
        หรือ เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ
        ดังพรรณนามาฉะนี้   ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกาย ในกายภายในบ้าง
(หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของตนเองบ้าง,  แล้วอุเบกขา อันมีความหมายดังบทสรุปทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก")
        พิจารณาเห็นกาย ในกายภายนอกบ้าง
(หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของบุคคลอื่นๆบ้าง ว่าล้วนเป็นเช่นกัน,  แล้วอุเบกขา อันมีความหมายดังบทสรุปทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก")
        พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง (ทั้งของตนเองบ้าง, ทั้งของผู้อื่นบ้าง)
        พิจารณาเห็นธรรม(ธรรมชาติ,สภาวธรรม)คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง (พิจารณาจากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕, ปฏิจจสมุปบันธรรม)
        พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมในกายบ้าง (พิจารณาใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในพระไตรลักษณ์)
        พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง (พิจารณาจากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ และพระไตรลักษณ์)
        ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้  เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น   เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ(ความเชื่อ,ความยึดมั่น)ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก(ไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน  ดังด้วยการอุเบกขาในโพชฌงค์เสียนั่นเอง)
        ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า  พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ (อย่างแจ่มแจ้ง)


จบอิริยาปถบรรพ

        [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก  ในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง
        ดังพรรณนามาฉะนี้   ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกาย ในกายภายในบ้าง
(หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของตนเองบ้าง,  แล้วอุเบกขา อันมีความหมายดังบทสรุปทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก")
        พิจารณาเห็นกาย ในกายภายนอกบ้าง
(หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของบุคคลอื่นๆบ้าง ว่าล้วนเป็นเช่นกัน,  แล้วอุเบกขา อันมีความหมายดังบทสรุปทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก")
        พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง (ทั้งของตนเองบ้าง, ทั้งของผู้อื่นบ้าง)
        พิจารณาเห็นธรรม(ธรรมชาติ,สภาวธรรม)คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง (พิจารณาจากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕, ปฏิจจสมุปบันธรรม)
        พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมในกายบ้าง (พิจารณาใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในพระไตรลักษณ์)
        พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง (พิจารณาจากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ และพระไตรลักษณ์)
        ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้  เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น   เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ(ความเชื่อ)ไม่อาศัยอยู่แล้ว  และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก(ไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน  จึงอุเบกขาในโพชฌงค์เสียนั่นเอง)
        ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า  พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ (อย่างแจ่มแจ้ง)


จบสัมปชัญญบรรพ

        [๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ  แต่พื้นเท้าขึ้นไป  แต่ปลายผมลงมา  มีหนังเป็นที่สุด(โดย)รอบ  เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้   ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ผังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปากสองข้าง เต็มด้วยธัญชาติต่างชนิดคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง  งา ข้าวสาร บุรุษผู้มีนัยน์ตาดี(ปัญญา)แก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี  นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน (พิจารณาให้เห็นสิ่งต่างๆ ที่ผสมปนเปเป็นปฏิกูล ไม่สะอาดอยู่ภายใน ทั้งยังประกอบไปด้วยซากพืช อสุภะของสัตว์ใหญ่น้อย ดุจดังสุสานใหญ่, ทางหนึ่งพึงเข้าทางปาก อีกทางหนึ่งพึงขับถ่ายออกมาปฏิกูลเหลือกำลัง จึงอุปมาได้ดังไถ้ก้นรั่ว ที่มีปากเข้าอยู่ด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านก็ก้นรั่วเสีย เติมเท่าไรจึงไม่รู้จักเต็ม จึงต้องหมั่นเติมอยู่เสมอๆ ทุกๆวัน วันละหลายๆครั้ง)
        ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ผังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
        ดังพรรณนามาฉะนี้   ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกาย ในกายภายในบ้าง
(หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของตนเองบ้าง,  แล้วอุเบกขา อันมีความหมายดังบทสรุปทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก")
        พิจารณาเห็นกาย ในกายภายนอกบ้าง
(หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของบุคคลอื่นๆบ้าง ว่าล้วนเป็นเช่นกัน,  แล้วอุเบกขา อันมีความหมายดังบทสรุปทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก")
        พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง (ทั้งของตนเองบ้าง, ทั้งของผู้อื่นบ้าง)
        พิจารณาเห็นธรรม(ธรรมชาติ,สภาวธรรม)คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง (พิจารณาจากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕, ปฏิจจสมุปบันธรรม)
        พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมในกายบ้าง (พิจารณาใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในพระไตรลักษณ์)
        พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง (พิจารณาจากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ และพระไตรลักษณ์)
        ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้  เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น   เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ(ความเชื่อ)ไม่อาศัยอยู่แล้ว  และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก(อุเบกขา) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า  พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ (อย่างแจ่มแจ้ง)


จบปฏิกูลมนสิการบรรพ

        [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ตั้งอยู่ตามปรกติโดยความเป็นธาตุ ว่ามีอยู่ในกายนี้  (อันมี)ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
        คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน ฆ่าโคแล้ว แบ่งออกเป็นส่วน นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง ฉันใด(เพื่อให้ผู้สัญจรไปมา เห็นได้อย่างเด่นชัด  ย่อมง่ายต่อการขายเนื้อโคนั้นได้อย่างรวดเร็ว   ดังนั้นการแบ่งกายแห่งตนออกเป็นธาตุทั้ง ๔ ก็เช่นกัน  ก็เพื่อให้พิจารณาเห็นเข้าใจได้ชัดเจนและง่ายขึ้น)
        ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ตั้ง อยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน(แร่ธาตุต่างๆ,ของข้นแข็ง) ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม (พิจารณาแยกกาย  ให้เห็นว่าเกิดมาแต่เหตุปัจจัยของธาตุทั้ง ๔  จึงจะเห็นกายที่แท้จริงอย่างเด่นชัดทั่วถึง  ดุจดั่งเนื้อโคที่แบ่งออกเป็นส่วนแล้ววางขายตรงทาง ๔ แพร่ง  ก็เพื่อให้พิจารณาให้เห็นเข้าใจในกายได้โดยทั่วถึงและรวดเร็ว)
(รายละเอียดของ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม)
        ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง...ฯลฯ อย่างนี้แล  ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ...................ฯ


จบธาตุมนสิการบรรพ

        [๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า  ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง  สองวันบ้าง  สามวันบ้าง  ที่ขึ้นพอง  มีสีเขียวน่าเกลียด  มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด   เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้(ของตนเอง)เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้  ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้
        ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกาย ในกายภายในบ้าง ฯลฯ   อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
        [๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง  ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง  ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง   หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง  หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง  หมู่สัตว์ตัวเล็กๆต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง 
เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า  ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้
        ดังพรรณนามาฉะนี้   ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกาย ในกายภายในบ้าง
(หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของตนเองบ้าง,  แล้วอุเบกขา อันมีความหมายดังบทสรุปทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก")
        พิจารณาเห็นกาย ในกายภายนอกบ้าง
(หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของบุคคลอื่นๆบ้าง ว่าล้วนเป็นเช่นกัน,  แล้วอุเบกขา อันมีความหมายดังบทสรุปทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก")
        พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง (ทั้งของตนเองบ้าง, ทั้งของผู้อื่นบ้าง)
        พิจารณาเห็นธรรม(ธรรมชาติ,สภาวธรรม)คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง (พิจารณาจากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕, ปฏิจจสมุปบันธรรม)
        พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมในกายบ้าง (พิจารณาใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในพระไตรลักษณ์)
        พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง (พิจารณาจากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ และพระไตรลักษณ์)
        ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้  เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น   เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ(ความเชื่อ)ไม่อาศัยอยู่แล้ว  และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก(อุเบกขา) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า  พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ (อย่างแจ่มแจ้ง)
        [๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ
        [๒๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก  ปราศจากเนื้อ  แต่ยังเปื้อนเลือด  ยังมีเส้นเอ็น  ผูกรัดอยู่ ฯลฯ
        [๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก  ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว  ยังมีเส้นเอ็น  ผูกรัดอยู่ ฯลฯ
        [๒๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูก  ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว  เรี่ยรายไปในทิศใหญ่ทิศน้อย คือกระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง  กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง  กระดูกขาไปทางหนึ่ง   กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง  กระดูกหลังไปทางหนึ่ง  กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง  กระดูกสีข้างไปทางหนึ่ง  กระดูกหน้าอกไปทางหนึ่ง  กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง  กระดูกแขนไปทางหนึ่ง  กระดูกคอไปทางหนึ่ง  กระดูกคางไปทางหนึ่ง  กระดูกฟันไปทางหนึ่ง  กระโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง ฯลฯ
        [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกมีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์ ฯลฯ
        [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกกองเรียงรายอยู่แล้วเกินปีหนึ่งขึ้นไป ฯลฯ
        [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกผุ เป็นจุณแล้ว 
เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้
        ดังพรรณนามาฉะนี้   ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกาย ในกายภายในบ้าง
(หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของตนเองบ้าง,  แล้วอุเบกขา อันมีความหมายดังบทสรุปทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก")
        พิจารณาเห็นกาย ในกายภายนอกบ้าง
(หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของบุคคลอื่นๆบ้าง ว่าล้วนเป็นเช่นกัน,  แล้วอุเบกขา อันมีความหมายดังบทสรุปทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก")
        พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง (ทั้งของตนเองบ้าง, ทั้งของผู้อื่นบ้าง)
        พิจารณาเห็นธรรม(ธรรมชาติ,สภาวธรรม)คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง (พิจารณาจากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕, ปฏิจจสมุปบันธรรม)
        พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมในกายบ้าง (พิจารณาใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในพระไตรลักษณ์)
        พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง (พิจารณาจากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ และพระไตรลักษณ์)
        ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้  เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น   เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ(ความเชื่อ,ความยึดมั่น)ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก(ไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน  จึงอุเบกขาในโพชฌงค์เสียนั่นเอง)
        ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า  พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ (อย่างแจ่มแจ้ง)


จบนวสีวถิกาบรรพ

จบกายานุปัสสนา


ขอขอบคุณที่มาจาก http://www.nkgen.com/34.htm#กายานุปัสนา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 04, 2013, 02:30:20 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมกาย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2014, 03:38:05 pm »
0


สัลเลขสูตร

                    "ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลา(กิเลสหรือดับกิเลส)"


[๑๐๔]    ดูกรจุนทะ เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลากิเลสในข้อเหล่านี้แล คือ

             เธอทั้งหลาย พึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน
             ในข้อนี้เราทั้งหลายจักเป็น ผู้ไม่เบียดเบียนกัน.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์
             ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักงดเว้นจากการฆ่าสัตว์.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลักทรัพย์
             ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักงดเว้นจากการลักทรัพย์.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเสพเมถุนธรรม
             ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักประพฤติพรหมจรรย์.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวเท็จ
             ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงด เว้นจากการกล่าวเท็จ.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวส่อเสียด
             ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักงดเว้นจากการกล่าวส่อเสียด.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำหยาบ
             ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักงดเว้นจากการกล่าวคำหยาบ.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำเพ้อเจ้อ
             ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักงดเว้นจากการกล่าวเพ้อเจ้อ.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมักเพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น
             ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีจิตพยาบาท
             ในข้อนี้ เราทั้งหลายจัก ไม่มีจิตพยาบาท.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความเห็นผิด
             ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักมีความเห็นชอบ.(สัมมาทิฏฐิ)

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความดำริผิด
             ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักมีความดำริชอบ.(สัมมาสังกัปปะ)

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวาจาผิด
             ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี วาจาชอบ.(สัมมาวาจา)

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีการงานผิด
             ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักมีการงานชอบ.(สัมมากัมมันตะ)

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีอาชีพผิด
             ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี อาชีพชอบ.(สัมมาอาชีวะ)

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความเพียรผิด
             ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักมีความเพียรชอบ.(สัมมาวายามะ)

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีสติผิด
             ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี สติชอบ.(สัมมาสติ)

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีสมาธิผิด
             ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี สมาธิชอบ.(สัมมาสมาธิ)

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีญาณผิด
             ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี ญาณชอบ.(สัมมาญาณ)

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวิมุติผิด
             ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี วิมุติชอบ.(สัมมาวิมุตติ)

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม
             ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักปราศจากถีนมิทธะ.(ความหดหู่และเคลิมเคลิ้มเซื่องซึม ความง่วงเหงาซึมเซา)

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฟุ้งซ่าน
             ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน.(คิดนึกเรื่อยเปื่อย คิดวนเวียนปรุงแต่ง จิตส่งออกไปภายนอก)

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวิจิกิจฉา
             ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักห้าม พ้นจากวิจิกิจฉา.(ความคลางแคลงสงสัย)

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความโกรธ
             ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่มีความโกรธ.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักผูกโกรธไว้
             ในข้อนี้ เราทั้งหลายจัก ไม่ผูกโกรธไว้.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักลบหลู่คุณท่าน
             ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่ลบหลู่คุณท่าน.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักยกตนเทียมท่าน
             ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่ยกตนเทียมท่าน.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความริษยา
             ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่มีความริษยา.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความตระหนี่
             ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักไม่มีความตระหนี่.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักโอ้อวด
             ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ โอ้อวด.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีมารยา
             ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ มีมารยา.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดื้อด้าน
             ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ ดื้อด้าน.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดูหมิ่นท่าน
             ในข้อนี้เราทั้งหลายจักไม่ ดูหมิ่นท่าน.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ว่ายาก
             ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ว่าง่าย.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีมิตรชั่ว
             ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมี กัลยาณมิตร.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนประมาท
             ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นคนไม่ประมาท.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนไม่มีศรัทธา
             ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นคนมีศรัทธา.(ความเชื่อ ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล)

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักไม่มีหิริ
             ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็น ผู้มีหิริในใจ.(ความละอายบาป ละอายใจต่อการทำความชั่ว)

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักไม่มีโอตตัปปะ
             ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้มีโอตตัปปะ.(ความกลัวบาป เกรงกลัวต่อความชั่วและผลของกรรมชั่ว)

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสุตะน้อย
             ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้มีสุตะมาก.(การเล่าเรียน สดับฟัง ศึกษาหาความรู้ ฝึกตนให้เชี่ยวชาญ)

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนเกียจคร้าน
             ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ปรารภความเพียร.
             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสติหลงลืม
             ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้มีสติดำรงมั่น.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนมีปัญญาทราม
             ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นคนถึงพร้อมด้วยปัญญา.

             เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก
             ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือ อย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย.

เหตุแห่ง จิตตุปบาท เราได้แสดงแล้ว  (จิตตุปบาท มาจาก จิต + อุปาทะ จึงหมายถึงการเกิดขึ้นของจิต)
ดูกรจุนทะ กิจอันใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ เอ็นดูอนุเคราะห์ แก่เหล่าสาวกจะพึงทำ กิจนั้นเราทำแก่เธอ ทั้งหลายแล้ว
ดูกรจุนทะ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจเถิด อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย
นี้เป็นคำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย ฉะนี้แล.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระมหาจุนทะชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.


พระผู้มีพระภาคตรัสบท ๔๔ ทรงแสดงสนธิ ๕
พระสูตรนี้ ชื่อสัลเลขสูตร ลุ่มลึก เปรียบด้วยสาคร ฉะนี้.
จบ สัลเลขสูตร ที่ ๘

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 19, 2014, 03:42:12 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ