ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธุระในพระพุทธศาสนา (สองอยา่ง) มาจากไหน?  (อ่าน 3467 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อยากทราบว่าพระพุทธเจ้า ได้กล่าวในเรื่องธุระสองอย่าง อันได้แก่ คันถะธุระ และวิปัสสนาธุระ นั้น

ในพระไตรปิฎก มีบันทึกกล่าวไว้ที่ตรงไหนบ้างครับ? (อยากทราบอ้างอิงครับ)

และให้ความสำคัญอย่างไหนมากกว่ากัน หรือเท่ากันครับ?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 16, 2010, 09:18:44 am โดย ปญฺญาปโชโต »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ธุระในพระพุทธศาสนา (สองอยา่ง) มาจากไหน?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2010, 09:29:22 pm »
0


            ในประโยค ป.ธ. ๓ พระธรรมบทภาค ๑ เรื่อง ภิกษุสองสหาย มีใจความเล่าว่า เมื่อพระศาสดา

ประทับอยู่ที่พระเชตวันกรุงสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุสองสหายได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 19 และ

พระคาถาที่ 20 นี้


ผู้มีส่วนและไม่มีส่วนแห่งสามัผล

         มีเรื่องราวกล่าวถึงชายจากตระกูลคฤหบดีชาวเมืองสาวัตถี 2 คน ที่เป็นสหายกัน ได้ฟังธรรมของ

พระบรมศาสดาแล้วเกิดเลื่อมใส ออกบวชพร้อมกัน อยู่ในสำนักอุปัชฌายาจารย์ 5 พรรษาแล้ว รูปหนึ่งเรียน

กัมมัฏฐานออกป่า ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "วิปัสสกะภิกษุ" อีกรูปหนึ่งพอใจเรียน ปริยัติ หรือคันถธุระ ซึ่งต่อไปนี้

จะเรียกว่า "คันถิกะภิกษุ"

พระวิปัสสกะพยายามอยู่ไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย

ส่วนพระคันถิกะเรียนพระไตรปิฎกแตกฉานได้เป็นอาจารย์ของภิกษุประมาณ 500 เป็นคณาจารย์ใหญ่ของคณะ

ถึง 18 คณะ


ภิกษุเป็นอันมากเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระบรมศาสดาแล้ว ไปสู่สำนักพระวิปัสสกะ สมัครตนเป็นศิษย์ของ

ท่าน อยู่บำเพ็ญวิปัสสนาไม่นานก็ได้สำเร็จอรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย

ภิกษุเหล่านั้น มีความประสงค์จะเฝ้าพระบรมศาสดาจึงเรียนท่านว่า

"กระผมทั้งหลายใคร่ไปเฝ้าพระศาสดา"

"ไปเถิดท่านผู้มีอายุ" พระวิปัสสกะกล่าว

"ท่านทั้งหลายจงถวายบังคมพระบรมศาสดา และนมัสการพระสาวกผู้ใหญ่ 80 รูป ในนามของเราด้วย (ฝาก

นมัสการ) อนึ่ง มีภิกษุผู้เป็นสหายของเราอยู่รูปหนึ่ง ท่านทั้งหลายจงนมัสการภิกษุนั้นในนามของเราด้วย"

ภิกษุเหล่านั้นไปถวายบังคมพระบรมศาสดา พระอสีติมหาสาวกและภิกษุผู้เป็นสหายของอาจารย์ตามลำดับ

"ใครคืออาจารย์ของพวกท่าน" พระคันถิกะภิกษุถาม

"ภิกษุผู้เป็นสหายของท่านที่บวชพร้อมกัน" ภิกษุทั้งหลายตอบ

เมื่อภิกษุทั้งหลายเดินทางมาเชตวนาราม วิปัสสกะภิกษุได้ฝากข่าวมาเยี่ยมเยียนภิกษุผู้สหายเนืองๆ จนภิกษุผู้

สหายประหลาดใจว่า "สหายของเราบวชแล้วเข้าป่า ไม่ได้เรียนพระไตรปิฎกเลย ไม่รู้ธรรมอะไรมาก ยังสามารถ

มีศิษย์ได้มากมายถึงปานนี้ เมื่อท่านมาเฝ้าพระบรมศาสดา เราจักถามปัญหาดู"

ต่อมาพระวิปัสสกะภิกษุมาเฝ้าพระบรมศาสดา เก็บบาตรและจีวรไว้ในสำนักพระคันถิกะ ครั้นเมื่อเฝ้าพระศาสดา

และนมัสการพระอสีติมหาสาวกเสร็จ ก็ไปพักที่สำนักของพระคันถิกะผู้สหาย

พระคันถิกะให้ศิษย์ของตนปฏิบัติพระวิปัสสกะ แล้วนั่งบนอาสนะเสมอกัน ตั้งใจจะถามปัญหา

พระบรมศาสดาทรงทราบเหตุการณ์นั้นด้วยพระญาณ ทรงดำริว่า "พระคันถิกะภิกษุจะพึงตกนรก เพราะเหตุ

เบียดเบียนพระวิปัสสกะภิกษุ" ดังนี้แล้ว ทรงอาศัยเมตตานุเคราะห์ในคันถิกะภิกษุนั้น จึงทรงกระทำประหนึ่งว่า

เสด็จเที่ยวจาริกในวิหาร มาถึงสำนักของคันถิกะภิกษุแล้วประทับนั่งบนอาสนะ แล้วตรัสถามปัญหาหลายอย่าง

เริ่มต้นแต่ปัญหาเกี่ยวกับปฐมฌานแก่คันถิกะภิกษุ ไปจนถึงปัญหาในรูปสมาบัติและอรูปสมาบัติ แต่ภิกษุนั้นตอบ

ไม่ได้สักปัญหาเดียว เมื่อทรงถามวิปัสสกะภิกษุ ท่านตอบได้

ท่านถามปัญหาเกี่ยวกับโสดาปัตติมรรค จนถึงอรหัตตผล คันถิกะภิกษุตอบไม่ได้ แต่วิปัสสกะภิกษุตอบได้

พระบรมศาสดาทรงประทานสาธุการแก่วิปัสสกะภิกษุนั้น พวกเทวดาก็ช่วยกันสาธุการด้วย พวกสัทธิวิหาริก

อันเตวาสิกของพระคันถิกะตำหนิพระศาสดาว่า ทรงประทานสาธุการแก่พระเถระแก่ซึ่งไม่รู้อะไร ส่วนอาจารย์

ของตน พระบรมศาสดาไม่กระทำแม้สักว่าการชมเชยสรรเสริญ อาจารย์ของพวกตนเป็นอาจารย์ของภิกษุถึง

500

พระศาสดาจึงว่า

"ภิกษุทั้งหลาย! อาจารย์ของพวกเธอเป็นเหมือนคนเลี้ยงโค ได้เพียงค่าจ้างในศาสนาของเรา ส่วนวิปัสสกะภิกษุ

บุตรของเราเป็นเหมือนเจ้าของโคได้บริโภคแล้วซึ่งปัญจโครสตามใจของตน" ดังนี้แล้วตรัสว่า

"บุคคล แม้จะกล่าวธรรมที่มีประโยชน์ได้มาก แต่มิได้ประพฤติตามธรรมนั้น ก็จัดว่าเป็นผู้ประมาท ย่อมไม่มีส่วน

แห่งสามัญผล เหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค คอยนับโคให้คนอื่น ไม่ได้ดื่มปัญจโครส (รสอันเกิดแต่โค 5 อย่าง คือ

นมสด นมส้ม เปรียง เนยใส เนยข้น)

ฝ่ายบุคคล แม้จะกล่าวธรรมที่มีประโยชน์ได้น้อย แต่เป็นผู้ประพฤติตามธรรม ละราคะ โทสะ และโมหะได้ เป็น

ผู้รอบคอบ มีจิตหลุดพ้นด้วยดี ไม่ยึดมั่นถือมั่นทั้งในโลกนี้และโลกอื่น ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล".


จากนั้นพระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบทพระคาถาที่ 19 และพระคาถาที่ 20 ดังนี้

พหุ ปิ เจ สหิตํ ภาสมาโน

น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต

โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ

น ภาควา สามญฺญสฺส โหติฯ

คนที่ได้แต่ท่องจำตำราได้มาก

แต่มัวประมาท ไม่ปฏิบัติตามคำสอน

ย่อมไม่ได้รับผลที่ควรจะได้จากการบวช

เหมือนคนเลี้ยงโค นับโคให้คนอื่นเขา.


อปฺปมฺปิ เจ สหิตํ ภาสมาโน

ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี

ราคญจ โทสญฺจ ปหาย โมหํ

สมฺมปฺปชาโน สุวิมุตฺตจิตฺโต

อนุปาทิยาโน อิธ วา หุรํ วา

ส ภาควา สามญฺญสฺส โหติฯ

คนที่ท่องจำตำราได้น้อย แต่ประพฤติตามธรรม

ละราคะ โทสะ โมหะได้

รู้แจ้งเห็นจริง มีจิตหลุดพ้น

ไม่ยึดมั่นทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

เขาย่อมได้รับผลของการบวช.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมากบรรลุพระโสดาบันป็นต้น พระธรรมเทศนามีประโยชน์แก่มหาชน.


อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑

หน้าต่างที่ ๑๔ / ๑๔.




อ้างอิง :  http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=25488&start=0
             http://larndham.org/index.php?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 15, 2010, 10:12:51 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา