ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบความหมาย ของคำว่า ทิฏฐุชุกัมม์  (อ่าน 10445 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ฟ้ังพระอาจารย์บรรยายไปเมื่อสักครู่ และมีการกล่าวเรื่อง ทิฏฐุชุกัมม์ ที่ถูกยกมาพูดกล่าวมากที่สุด แต่พระอาจารย์ยังไม่ได้ความหมาย

   ทิฏฐุชุกัมม์ กับ สัมมาทิฏฐิ แตกต่างกันหรือไม่ครับ หรือเป็นเรื่องเดียวกัน ครับ

   thk56
บันทึกการเข้า

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบความหมาย ของคำว่า ทิฏฐุชุกัมม์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 10:56:14 am »
0
ยังหาไม่พบในพระสูตร ครับ
สนใจเหมือนกัน

 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบความหมาย ของคำว่า ทิฏฐุชุกัมม์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 11:17:44 am »
0

อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
สังคีติสูตร

     พึงทราบวินิจฉัยในบุญญกิริยาวัตถุต่อไป.
     ทานนั่นเอง ชื่อว่าทานมัย. การทำบุญนั้นด้วยวัตถุ (คือที่ตั้ง) แห่งบุญญานิสงส์เหล่านั้นด้วย
     ดังนั้น จึงชื่อบุญญกิริยาวัตถุ (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ). แม้ในบุญญกิริยาวัตถุข้ออื่นๆ ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้.


     แต่โดยความหมาย พึงทราบบุญญกิริยาวัตถุ ๓ อย่างเหล่านี้
     พร้อมทั้งบุรพภาคเจตนา (ความตั้งใจก่อนแต่จะทำ)
     และอปรภาคเจตนา (ความตั้งใจภายหลังจากทำแล้ว)
     ด้วยอำนาจแห่งเจตนาที่สำเร็จด้วยทาน เป็นต้น ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น.

    และในเรื่องนี้ บุคคลทำกรรมอย่างหนึ่งๆ ด้วยกาย นับตั้งแต่บุรพภาคเจตนา ก็จัดเป็นกายกรรม.
     เมื่อเปล่งวาจาอันมีความหมายอย่างนั้น จัดเป็นวจีกรรม.
     เมื่อไม่ได้ยังองค์แห่งกายและองค์แห่งวาจาให้ไหว คิดด้วยใจ (อย่างเดียว) ก็จัดเป็นมโนกรรม.


    อีกนัยหนึ่ง สำหรับผู้ให้ทานวัตถุมีข้าวเป็นต้น (ในเวลาที่กล่าวว่า) ข้าพเจ้าให้อันนทาน (ให้ข้าว) เป็นต้นก็ดี
    ในเวลาที่ระลึกถึงทานบารมีแล้วให้ก็ดี จัดเป็นบุญญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน.
    ตั้งอยู่ในวัตรและศีลแล้วให้ จัดเป็นบุญญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีล.
    เริ่มตั้งความพิจารณาโดยความสิ้นไปเสื่อมไปแล้วให้ จัดเป็นบุญญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยภาวนา.



    บุญกิริยาวัตถุอย่างอื่นมีอีก ๗ อย่าง คือ บุญญกิริยาวัตถุ
     - อันประกอบด้วยความเคารพยำเกรง
     - ประกอบด้วยการขวนขวาย (ช่วยทำกิจของผู้อื่น)
     - การให้ส่วนบุญ
     - การอนุโมทนาส่วนบุญ
     - อันสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
     - อันสำเร็จด้วยการฟังธรรม
     - บุญกิริยาวัตถุคือการทำความเห็นให้ตรงดังนี้.


    บรรดาบุญญกิริยาวัตถุทั้ง ๗ นั้น
    - ความเคารพยำเกรง พึงทราบโดยอาการ เช่นเห็นพระผู้เฒ่าแล้ว ลุกรับ รับบาตรจีวร กราบไหว้ หลีกทางให้เป็นต้น.
    - การขวนขวาย พึงทราบด้วยการทำวัตร ปฏิบัติแก่พระภิกษุผู้แก่กว่าตน ด้วยการที่เห็นภิกษุเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต แล้วถือบาตรไปชักชวน รวบรวมภิกษาในบ้าน และด้วยการได้ฟังว่า ไปเอาบาตรของพวกภิกษุมา ดังนี้แล้วเร่งรีบไปนำบาตรมา เป็นต้น.
    - การให้ส่วนบุญพึงทราบ ด้วยการที่ถวายปัจจัย ๔ แล้ว (ตั้งจิตอุทิศ) ให้เป็นไปว่าส่วนบุญจงมีแก่สรรพสัตว์.
    - การอนุโมทนาส่วนบุญ พึงทราบด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญที่ผู้อื่นให้ว่า สาธุ ถูกดีนักแล้ว.
    - ภิกษุรูปหนึ่งตั้งอยู่ในความปรารถนาว่า คนทั้งหลายจักรู้จักเราว่า เป็นธรรมกถึกด้วยอุบายอย่างนี้. เป็นผู้หนักในลาภแสดงธรรม ข้อนั้นไม่มีผลมาก.
    - ภิกษุรูปหนึ่งแสดงธรรมที่ตนคล่องแก่ชนอื่นๆ โดยไม่ได้หวังผลตอบแทน นี้ชื่อว่าบุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยการแสดงธรรม.
    - บุคคลผู้หนึ่ง เมื่อจะฟังธรรมก็ฟังด้วยความมุ่งหมายว่า คนทั้งหลายจักได้รู้จักเราว่ามีศรัทธาด้วยอาการอย่างนี้ ข้อนั้นไม่มีผลมาก.
    - บุคคลผู้หนึ่งฟังธรรมด้วยจิตที่อ่อนโยนแผ่ประโยชน์ว่าจักมีผลมากแก่เราด้วยอาการอย่างนี้ นี้ชื่อว่าบุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยการฟังธรรม.
    - ส่วนการทำความเห็นให้ตรง เป็นลักษณะกำหนดสำหรับบุญญกิริยาวัตถุทุกอย่าง.
      ที่จริง คนทำบุญอย่างใดๆ ก็ตาม มีผลมากได้ ก็ด้วยความเห็นตรงนั่นเอง.

     บุญญกิริยาวัตถุ ๗ อย่างเหล่านี้
     พึงทราบว่ารวมเข้าได้กับบุญญกิริยาวัตถุ ๓ อย่างข้างต้นนั่นเอง ด้วยประการดังนี้.
     ในที่นี้ ความเคารพยำเกรงและการขวนขวาย (ช่วยทำกิจของผู้อื่น) รวมลงได้ในสีลมัยบุญญกิริยาวัตถุ. 
     การให้ส่วนบุญและการอนุโมทนาส่วนบุญ รวมลงได้ในทานมัยบุญญกิริยาวัตถุ,
     การแสดงธรรมและการฟังธรรม รวมลงได้ในภาวนามัยบุญญกิริยาวัตถุ,
     การทำความเห็นให้ตรง รวมลงได้ทั้ง ๓ อย่าง.

_____________________________________________________
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221&p=3
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=11&A=4501&Z=7015



บุญกิริยาวัตถุ 10 (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, ทางทำความดี )
       1. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ)
       2. สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี)
       3. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ)
       4. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม)
       5. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้)
       6. ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น)
       7. ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น)
       8. ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้)
       9. ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้)
     10. ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง)


       ข้อ 4 และข้อ 5 จัดเข้าในสีลมัย; 6 และ 7 ในทานมัย; 8 และ 9 ในภาวนามัย; ข้อ 10 ได้ทั้งทาน ศีล และภาวนา

______________________
อ้างอิง ที.อ. 3/246; สังคหะ 29.


ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง, การแก้ไขปรับปรุงความคิดเห็นให้ถูกต้อง
       ข้อ ๑๐ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐

_______________________________________________________
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ และประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/, http://variety.teenee.com/ ,http://www.oknation.net/ , http://www.dmc.tv/i



      ans1 ans1 ans1

      คำว่า "ทิฏฐุชุกัมม์" ไม่ปรากฏในชั้นพระไตรปิฎก แต่อยู่ในชั้นอรรถกถา
      เป็นการอธิบายเพื่อขยายความ บุญญกิริยาวัตถุ ๓ (ทาน ศีล ภาวนา) ซึ่งปรากฏในพระไตรปิฏก
      "ทิฏฐุชุกัมม์" เป็นการทำความเห็นให้ตรง จัดอยู่ในบุญญกิริยาวัตถุทั้งหมด
      ดังนั้นความหมายโดยรวมของ ทิฏฐุชุกัมม์ จึงหมายถึงการทำบุญในที่ข้อ ๑ ถึงข้อที่ ๙ นั่นเอง

      หากถามว่าแล้วต่างจากสัมมาทิฏฐิอย่างไร ขอให้ดูในกระทู้ถัดไป......

       :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 06, 2013, 11:22:00 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรมิต

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 89
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบความหมาย ของคำว่า ทิฏฐุชุกัมม์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 12:19:05 pm »
0
 st11 st12
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบความหมาย ของคำว่า ทิฏฐุชุกัมม์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 12:25:09 pm »
0

เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง

     [๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ   
     - สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
     - สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ


    [๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ
     ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชาแล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
     สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ฯ


   [๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่นี้แล สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ


     ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฐิ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
     ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาทิฐิได้ มีสติบรรลุสัมมาทิฐิอยู่ สติของเธอนั้นเป็นสัมมาสติ ฯ
     ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฐิของภิกษุนั้น ฯ

___________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3747&Z=3768&pagebreak=0             




สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจจ์ ๔,
       เห็นชอบตามคลองธรรมว่า
           ทำดีมีผลดี
           ทำชั่วมีผลชั่ว
           มารดาบิดามี (คือมีคุณความดีควรแก่ฐานะหนึ่งที่เรียกว่ามารดาบิดา)
           ฯลฯ,
       เห็นถูกต้องตามที่เป็นจริงว่า ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยงเป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในมรรค)


มรรคมีองค์ 8 หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า “ทางมีองค์ 8 ประการ อันประเสริฐ”); องค์ 8 ของมรรค (มัคคังคะ) มีดังนี้
       1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท)
       2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป)
       3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต 4)
       4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต 3)
       5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ)
       6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน 4)
       7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน 4)
       8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน 4)


       องค์ 8 ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ 3 ข้อต้น คือ ข้อ 3-4-5 เป็น ศีล ข้อ 6-7-8 เป็น สมาธิ ข้อ 1-2 เป็น ปัญญา

_____________________________________________________
อ้างอิง ที.ม. 10/299/348; ม.มู. 12/149/123;  ม.อุ. 14/704/453; อภิ.วิ. 35/569/307.
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์และธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://mblog.manager.co.th/ , http://www.dhamma5minutes.com/ , http://board.postjung.com/



       ans1 ans1 ans1

       ทิฏฐุชุกัมม์ เหมือนกับสัมมาทิฏฐิ ในข้อแรก คือ
       สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์
       เพราะ ทิฏฐุชุกัมม์ เป็นบุญญกิริยาวัตถุ


       ส่วนในข้อที่สอง คือ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค
       สัมมาทิฏฐิข้อนี้ระบุชัดเจนว่า ต้องเป็นองค์มรรค
       อรรถกถาที่อธิบาย คำว่า ทิฏฐุชุกัมม์ ไม่ได้ระบุว่า เป็นองค์มรรค
       หากยึดตามคำอธิบายในอรรถกถา คงตอบได้เท่านี้

       ความเห็นส่วนตัวผมคิดว่า หากยึดเอาจุดประสงค์ของการภาวนาเป็นหลัก คือ รู้แจ้งอริยสัจ
       ทิฏฐุชุกัมม์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนการภาวนา สัมมาทิฏฐิก็เป็นทาง(มรรค)ของการภาวนา
       ต่างฝ่ายต่างก็สนับสนุนให้รู้อริยสัจ จึงอาจกล่าวได้ว่า ทั้งสองคำเหมือนกันโดยจุดประสงค์

     
       แต่อย่างไรก็ตาม สัมมาทิฏฐิที่แท้จริง(รู้แจ้งอริยสัจ) ต้องอยู่ใน "ปัญญาสิกขา" เท่านั้น
       ส่วนทิฏฐุชุกัมม์ เป็นการหมายรวมเอา "ทาน ศีล ภาวนา" เข้าไว้ด้วยกัน

       ขอคุยเท่านี้ครับ

        :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 06, 2013, 12:26:56 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

mongkol

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 95
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบความหมาย ของคำว่า ทิฏฐุชุกัมม์
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 01:44:12 pm »
0
วันนี้ฟังพระอาจารย์ บรรยายเรื่อง สัมมาทิฏฐิ กับ ทิฏฐุชุกัมม์ พอดีในตอนเช้าครับ ท่านกล่าวว่า

    ผัดซีอิ๊ว กับ ผัดไทย แตกต่างกันตรงไหน

    สัมมาทิฏฐิ กับ ทิฏฐุชุกัมม์ ก็ต่างกันเช่นนั้น


    เท่าที่จำได้และประโยค โดนใจ ก็ตรงนี้ ครับ


   :49: :s_hi:
บันทึกการเข้า

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบความหมาย ของคำว่า ทิฏฐุชุกัมม์
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2013, 12:35:59 pm »
0
ไม่เข้าใจ เรื่อง ผัดซีอิ๊ว กับ ผัดไทย มาเกี่ยวกับ ธรรมะ หัวข้อนี้ได้อย่างไร คะ

  :58: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ