ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มารไม่มี บารมีไม่เกิด  (อ่าน 14469 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
มารไม่มี บารมีไม่เกิด
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 08:25:11 pm »
0


กองทัพทั้ง ๑๐ ของมาร
โดย พระกัมมัฎฐานาจริยะ อู ปัณฑิตาภิวังสะ เจ้าอาวาสวัดปัณฑิตาราม ประเทศเมียนมาร์

     การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน อาจเปรียบได้กับการทำสงครามระหว่างสภาวจิตที่เป็นกุศลและอกุศลกองทัพฝ่ายอกุศลได้แก่ กิเลส หรือที่รู้จักกันในนามว่า “กองทัพทั้ง ๑๐ ของมาร”

     ในภาษาบาลี คำว่า “มาร” หมายถึงผู้ทำลายหรือผูสังหาร ซึ่งเป็นบุคลาธิษฐานของพลังที่ทำลายล้างคุณธรรม ตลอดจนสรรพชีวิต กองทัพของมารพร้อมที่จะโจมตีผู้ปฏิบัติได้ตลอดเวลา ไม่เว้นแม้แต่พระพุทธองค์ในคืนที่จะตรัสรู้

       :25: :25: :25: :25:

      คัมภีร์สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ปธานสูตร ได้แสดงถึงพระดำรัสของพระผูมี้พระภาค ที่ตรัสไว้กับมาร ดังนี้

      “กิเลสกามทั้งหลาย เรากล่าวว่า เป็นกองทัพที่ ๑. ของท่าน
         ความไม่ยินดี เป็นกองทัพที่ ๒.
          ความหิวกระหาย เป็นกองทัพที่ ๓.
           ตัณหา(ความทะยานอยาก) เป็นกองทัพที่ ๔.
            ถีนมิทธะ(ความหดหู่ เชื่องซึม) เป็นกองทัพที่ ๕.
             ความกลัว เป็นกองทัพที่ ๖.
              วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) เป็นกองทัพที่ ๗.
               มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) และถัมภะ(ความหัวดื้อ) เป็นกองทัพที่ ๘.
                ลาภ สรรเสริญ สักการะและยศที่ได้มาผิดๆ เป็นกองทัพที่ ๙.
                 การยกตนข่มผู้อื่น เป็นกองทัพที่ ๑๐.
       ดูก่อนมาร เสนาของท่านมีปกติมีธรรมดำ(อกุศลธรรม) คนขลาดเอาชนะเสนามารไม่ได้ ส่วนคนกล้าเท่านั้น ย่อมเอาชนะกองทัพของมารแล้วได้รับความสุข”


       st12 st12 st12 st12

      พลังมืด(ธรรมดำ) อันเป็นอกุศลในจิตของเรานี้ จะถูกกำจัดได้ด้วยกำลังของกุศลจากการเจริญสติปัฏฐานวิปัสสนาซึ่งมีสติเป็นศาตราวุธ พร้อมทั้งศรัทธา วิริยะ สมาธิและปัญญา ที่เป็นกลยุทธ์ในการจู่โจมและป้องกัน เมื่อมารมาท้าทายพระพุทธองค์ เราทราบดีว่าฝ่ายใดเป็นผู้ชนะ แต่ในการปฏิบัติของเรา ฝ่ายไหนเล่าจะเป็นฝ่ายชนะ





         กองทัพที่ ๑ กิเลสกาม

      กิเลสกามเป็นกองทัพแรกของมาร เนื่องจากกุศลกรรมที่เราเคยทำไว้ในอดีต (ไม่ว่าทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ)ทำให้มาเกิดในโลกนี้ในมนุสสภูมิ ซึ่งเป็นภูมิหนึ่งในกามสุคติภูมิทั้งหลาย แต่ละบุคคลย่อมต้องเผชิญกับสิ่งยั่วยวนต่างๆ รูป สวย เสียงไพเราะ กลิ่นหอม ความคิดอันบรรเจิด และอารมณ์ที่น่ายินดีพอใจเข้ามากระทบทวารทั้งหกอยู่ตลอดเวลา ตัณหาจึงเป็นผลที่เกิดจากการกระทบกับอารมณ์เหล่านั้น

      อิฏฐารมณ์และตัณหาเป็นรากฐานที่สำคัญสองประการของกิเลสกาม ความผูกพันยึดมั่นที่เรามีต่อครอบครัวทรัพย์สมบัติการงาน และเพื่อนฝูง ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพแรกนี้ ซึ่งยากนักที่จะต่อกรด้วย บางคนต่อสูด้วยการบวชเป็นพระเป็นชี ทิ้งครอบครัวและสิ่งร้อยรัดไว้เบื้องหลัง

      โยคีที่อยู่ระหว่างการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ก็ต้องละทิ้งครอบครัวและการงานของตนไว้ชั่วคราว เพื่อที่จะต่อสู้กับพลังของความยึดมั่นถือมั่น ที่ร้อยรัดเราไว้กับอารมณ์ทางทวารทั้งหก ทุกครั้งที่ปฏิบัติวิปัสสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเข้าอบรมกรรมฐาน ผู้ปฏิบัติต้องทิ้งสิ่งที่เพลินใจหลายๆอย่าง แต่ถึงแม้จะจำกัดสภาพแวดล้อมลงมาขนาดนี้ ผู้ปฏิบัติก็ยังพบว่า สภาพแวดล้อมบางอย่างน่าพอใจ และบางอย่างก็ไม่น่าพอใจ ในภาวะเช่นนี้อาจเป็นประโยชน์ที่ผู้ปฏิบัติจะคิดว่า กำลังต่อสู้กับมาร ซึ่งเป็นศัตรูของความหลุดพ้น





           กองทัพที่ ๒ ความไม่ยินดี

         กองทัพที่สองของมาร คือความไม่ยินดีในพรหมจรรย์ โดยเฉพาะต่อการปฏิบัติวิปัสสนาในระหว่างการปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติอาจรู้สึกไม่ถูกใจกับเบาะอาสนะที่แข็งหรือสูงเกินไป หรือเบื่ออาหารที่ไม่ถูกปาก หรือสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันในระหว่างการปฏิบัติ
       การที่เรื่องโน้นเรื่องนี้โผล่ขึ้นมา ทำให้ผู้ปฏิบัติไม่อาจเข้าถึงความสุขของการปฏิบัติได้ บางทีผู้ปฏิบัติอาจคิดว่าเป็นความผิดของวิธีการปฏิบัติก็เป็นไปไดั เพื่อเอาชนะความไม่พอใจเหล่านี้ ผู้ปฏิบัติพึงกระทำตนเป็นอภิรติบุคคลผู้มีความยินดี และอุทิศตนให้แก่พระธรรม

       หลังจากที่พบและปฏิบัติตามวิธีการที่ถูกต้องแล้ว ผู้ปฏิบัติจะเริ่มเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ ปีติ ความสุข และความสบายก็จะเกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติของจิตที่เป็นสมาธิ ณ เวลานี้ ผู้ปฏิบัติจะรู้ได้ว่า ความสุขจากพระธรรมนั้น เหนือกว่าความสุขทางโลกยิ่งนัก นี่คือ ทัศนคติของอภิรติ

        :96: :96: :96: :96:

       อย่างไรก็ตาม หากไม่ปฏิบัติด้วยความระมัดระวังแล้ว ผู้ปฏิบัติก็ไม่อาจพบกับรสของพระธรรมที่ลํ้าลึกเป็นเลิศนี้ และความลำบากจากการปฏิบัติจะก่อให้เกิดความไม่พอใจ แล้วมารจะเป็นผู้ชนะการเอาชนะความยากลำบากในการปฏิบัติวิปัสสนานี้เปรียบเสมือนการเข้าสู่สงคราม ผู้ปฏิบัติอาจใช้กลยุทธ์แบบจู่โจม ตั้งรับ หรือแบบกองโจรก็ได ้ แล้วแต่ความสามารถเฉพาะตน

       หากผู้ปฏิบัติเป็นนักต่อสู้ที่เข้มแข็งก็จะก้าวหน้า หากผู้ปฏิบัติไม่เข้มแข็งพอ ก็อาจถอยทัพเป็นการชั่วคราว แต่ไม่ถึงกับแตกทัพล้มลุกคลุกคลาน และวิ่งหนีอย่างไม่เป็นกระบวน ในทางตรงข้ามเป็นการถอยทัพอย่างมีกลยุทธ์ มีการวางแผนและการดำเนินการเพื่อรวบรวมกำลังเอาไว้ ต่อสู้ให้ได้ชัยชนะในที่สุด

         :03: :03: :03: :03: :03:

        บางครั้งความไม่พอใจกับสภาพแวดล้อมหรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการปฏิบัติมิได้เกิดจากมารเสมอไปกล่าวคือ ความไม่ได้ดั่งใจของจิตที่มีความโลภ อย่างไรก็ตามความไม่พึงพอใจที่เกิดขึ้นบ่อยๆ จะกระทบกระเทือนต่อความก้าวหน้าของการปฏิบัติ ดังนั้นควรมีสิ่งจำเป็นที่เป็นพื้นฐาน

        สำหรับความเป็นอยู่ที่เอื้อต่อการปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติต้องมีที่พักพิงอาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เมื่อมีสิ่งเหล่านี้ครบถ้วน ผู้ปฏิบัติก็จะสามารถทุ่มเทชีวิตจิตใจให้แก่การปฏิบัติวิปัสสนาได้ ความจำเป็นที่จะต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเป็นองค์ประกอบที่สี่ของการอบรมอินทรีย์ ดังที่ได้กล่าวไว้ในบทที่แล้ว หากผู้ปฏิบัติพบว่ามีสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติก็อาจพยายามแก้ไขอุปสรรคเหล่านั้นได้ แต่แน่นอนว่าจะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น โดยให้แน่ใจว่าผู้ปฏิบัติมิได้ยอมจำนนต่อกองทัพที่สองของมาร





       กองทัพที่ ๓ ความหิวกระหาย

        อาหารเป็นปัญหาหรือไม่ บางครั้งผู้ปฏิบัติอาจสามารถเอาชนะกิเลสกามและความไม่พอใจได้ แต่กลับพ่ายแพ้ต่อกองทัพที่สามของมารคือความหิวกระหาย ในอดีตหรือแม้แต่ในปัจจุบัน พระภิกษุสงฆ์และแม่ชีต้องอาศัยอาหารจากความเอื้อเฟื้อของชาวบ้าน ปกติแล้วพระสงฆ์ต้องออกบิณฑบาตตามชุมชนหรือหมู่บ้านที่อุปถัมภ์อุปฏัฐากท่าน

        บางครั้งพระสงฆ์อาจอยู่ในที่ที่ห่างไกล และอาศัยอาหารจากผู้ศรัทธาเพียงไม่กี่บ้านบางวันอาจได้รับอาหารเพียงพอ แต่บางวันก็ไม่ได้อาหารที่พอเพียง ในทำนองเดียวกันกับผู้ปฏิบัติที่อยู่ในวัดหรือสถานที่อบรมวิปัสสนากรรมฐาน อาหารอาจไม่เหมือนที่บ้าน ผู้ปฏิบัติอาจไม่ได้ของหวานที่ตนชอบ หรือได้ลิ้มรสเปรี้ยว เค็ม มันอย่างที่ตนคุ้นเคย เมื่อไม่ได้อาหารอย่างที่ต้องการ ผู้ปฏิบัติอาจรู้สึกหิวจนไม่อาจรวบรวมสมาธิเข้าถึงพระธรรมได้เป็นธรรมดาที่บางครั้ง

         ans1 ans1 ans1 ans1

        เราอาจจ่ายค่าอาหารราคาแพงในภัตตาคาร แต่แล้วกลับไม่ชอบอาหารจานนั้นเลย ความจริงมีโอกาสน้อยมากที่เราจะได้อะไรอย่างใจไปทุกอย่าง ไม่เพียงอาหารเท่านั้น แต่รวมไปถึงเครื่องนุ่งห่ม เครื่องบันเทิง และกิจกรรมอื่นๆ ที่ให้ความอุ่นใจ หรือความตื่นเต้นเร้าใจ ความหิวกระหายนี้ ครอบคลุมถึงสิ่งที่น่าพึงพอใจและสิ่งจำเป็นอื่นๆ อีกมากมาย

        หากผู้ปฏิบัติมีความสันโดษ มีความพอใจกับทุกสิ่งที่ตนได้รับ กองทัพที่สามของมารก็ไม่อาจรบกวนผู้ปฏิบัติได้มากนัก ไม่มีใครได้อะไรอย่างใจตนเองทุกอย่าง แต่ก็อาจพยายามจำกัดความต้องการให้อยู่ในกรอบที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมได้

         st12 st12 st12 st12

        หากผู้ปฏิบัติรวบรวมกำลังในการปฏิบัติให้ก้าวหน้าก็จะสามารถลิ้มรสที่แท้จริงของพระธรรม ซึ่งไม่มีรสใดเทียมได้ หากเป็นเช่นนี้กองทัพที่สามของมารก็จะดูเหมือนของเด็กเล่นสำหรับผู้ปฏิบัติ มิฉะนั้น ก็เป็นการยากที่จะต่อสู้กับความหิวกระหายมันเป็น ความรูสึ้กที่ไม่สบาย ไม่มีใครชอบ เมื่อความหิวกระหายปรากฏขึ้น สติก็ไม่อาจตั้งอยู่ได้ จิตใจจะเริ่มวางแผนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ปฏิบัติอาจแสวงหาข้ออ้างที่ฟังดูแยบคายมาสนับสนุนเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการ เช่นเพื่อประโยชน์ของการปฏิบัติ เพื่อสุขภาพจิต เพื่อช่วยระบบย่อยอาหารแล้วก็เริ่มขวนขวายหาอาหารที่ตนต้องการมา ร่างกายก็เกิดความไม่สงบ เพื่อสนองตัณหาดังกล่าว


         ยังมีต่อ....


ขอบคุณภาพจาก
http://www.blogodisea.com/
https://dhammaweekly.files.wordpress.com/
https://i.ytimg.com/
http://watbotjang.myreadyweb.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 25, 2015, 08:28:51 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มารไม่มี บารมีไม่เกิด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 10:03:04 pm »
0

         ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
"วาจาน่าเอ็นดู" ของมาร เป็นเช่นไร.?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2015, 09:57:25 am »
0

เสนามาร ๑๐ เหล่า
ปธานสูตรที่ ๒

       [๓๕๕] มารได้เข้ามาหาเราผู้มีตนส่งไปแล้วเพื่อความเพียร บากบั่นอย่างยิ่ง เพ่งอยู่ ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เพื่อบรรลุนิพพานอันเกษมจากโยคะ กล่าววาจาน่าเอ็นดูว่า
      "ท่านผู้ซูบผอม มีผิวพรรณเศร้าหมอง ความตายของท่านอยู่ในที่ใกล้ เหตุแห่งความตายของท่านมีตั้งพันส่วน ความเป็นอยู่ของท่านมีส่วนเดียว ชีวิตของท่านผู้ยังเป็นอยู่ประเสริฐกว่า
      เพราะว่าท่านเป็นอยู่จักกระทำบุญได้ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ และบูชาไฟอยู่ ย่อมสั่งสมบุญได้มาก
      ท่านจักทำประโยชน์อะไรด้วยความเพียร ทางเพื่อความเพียรพึงดำเนินไปได้ยาก กระทำได้ยาก ให้เกิดความยินดีได้ยาก"

       มารได้ยืนกล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระพุทธเจ้า

       พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์นี้กะมารผู้กล่าวอย่างนั้นว่า
       "แน่ะมารผู้มีบาป ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของคนประมาท ท่านมาในที่นี้ด้วยความต้องการอันใด ความต้องการอันนั้นด้วยบุญ แม้มีประมาณน้อย ก็ไม่มีแก่เรา ส่วนผู้ใดมีความต้องการบุญ มารควรจะกล่าวกะผู้นั้น เรามีศรัทธา ตบะ วิริยะ และปัญญา
        ท่านถามเราแม้ผู้มีตนส่งไปแล้วผู้เป็นอยู่อย่างนี้เพราะเหตุไร ลมนี้พึงพัดกระแสแม่น้ำทั้งหลายให้เหือดแห้งไปได้ เลือดน้อยหนึ่งของเราผู้มีใจเด็ดเดี่ยวไม่พึงเหือดแห้ง เมื่อโลหิตเหือดแห้งไปอยู่ ดีและเสลษม์ย่อมเหือดแห้งไป เมื่อเนื้อสิ้นไปอยู่ จิตย่อมเลื่อมใสโดยยิ่ง สติปัญญาและสมาธิของเราย่อมตั้งมั่นโดยยิ่ง
        เรานั้นถึงจะได้รับเวทนาอันแรงกล้าอยู่อย่างนี้ จิตย่อมไม่เพ่งเล็งกามทั้งหลาย
        ท่านจงดูความที่สัตว์เป็นผู้บริสุทธิ์


         :96: :96: :96: :96: :96:

        กามทั้งหลายเรากล่าวว่า เป็นเสนาที่ ๑ ของท่าน
          ความไม่ยินดีเรากล่าวว่า เป็นเสนาที่ ๒ ของท่าน
           ความหิวและความระหาย เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๓ ของท่าน
            ตัณหา เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๔ ของท่าน
             ถีนมิทธะ เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๕ ของท่าน
              ความขลาดกลัว เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๖ ของท่าน
               ความสงสัย เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๗ ของท่าน
                ความลบหลู่ความหัวดื้อ เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๘ ของท่าน
                 ลาภ สรรเสริญ สักการะ เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๙ ของท่าน และยศที่ได้มาผิด ซึ่งเป็นเหตุให้
                  บุคคลยกตนและดูหมิ่นผู้อื่น เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๑๐ ของท่าน



       แน่ะมาร เสนาของท่านนี้มีปกติกำจัดซึ่งคนผู้มีธรรมดำ คนผู้ไม่กล้าย่อมไม่ชนะซึ่งเสนาของท่านนั้น ส่วนคนผู้กล้าย่อมชนะได้ ครั้นชนะแล้วย่อมได้ความสุข ก็เพราะเหตุที่ได้ความสุขนั้น แม้เรานี้ก็พึงรักษาหญ้ามุงกระต่ายไว้ น่าติเตียนชีวิตของเรา เราตายเสียในสงครามประเสริฐกว่า แพ้แล้วเป็นอยู่จะประเสริฐอะไร
       สมณพราหมณ์บางพวกหยั่งลงแล้วในเสนาของท่านนี้ ย่อมไม่ปรากฏ ส่วนผู้ที่มีวัตรงามย่อมไปโดยหนทางที่ชนทั้งหลายไม่รู้
       เราเห็นมารพร้อมด้วยพาหนะยกออกแล้วโดยรอบ จึงมุ่งหน้าไปเพื่อรบ มารอย่าได้ยังเราให้เคลื่อนจากที่ โลกพร้อมด้วยเทวโลกย่อมครอบงำเสนาของท่านไม่ได้
       เราจะทำลายเสนาของท่านเสียด้วยปัญญา เหมือนบุคคลทำลายภาชนะดินทั้งดิบทั้งสุก ด้วยก้อนหิน ฉะนั้น
       เราจักกระทำสัมมาสังกัปปะให้ชำนาญและดำรงสติให้ตั้งมั่นเป็นอันดี
       แล้วจักเที่ยวจากแคว้นนี้ไปยังแคว้นโน้น แนะนำสาวกเป็นอันมาก
       สาวกผู้ไม่ประมาทเหล่านั้นมีใจเด็ดเดี่ยว กระทำตามคำสั่งสอนของเราจักถึงที่ซึ่งไม่มีความใคร่ ที่ชนทั้งหลายไปถึงแล้วย่อมไม่เศร้าโศก"


        :41: :41: :41: :41:

      มารกล่าวคาถาว่า
      "เราได้ติดตามรอยพระบาทของพระผู้มีพระภาคสิ้น ๗ ปี ไม่ได้ประสบช่องของพระสัมพุทธเจ้าผู้มีศิริ"
      มารได้ไปตามลมรอบๆก้อนหิน ซึ่งมีสีคล้ายก้อนมันข้น ด้วยคิดว่า
      "เราจะประสบความอ่อนโยนในพระโคดมนี้บ้าง ความสำเร็จประโยชน์พึงมีบ้าง"
      มารไม่ได้ความพอใจในพระสัมพุทธเจ้าได้ กลายเป็นลมหลีกไป ด้วยคิดว่า
      "เราถึงพระโคดมแล้ว จะทำให้ทรงเบื่อพระทัยหลีกไป เหมือนกาถึงไสลบรรพตแล้วบินหลีกไป ฉะนั้น"
      พิณของมารผู้ถูกความโศกครอบงำแล้ว ได้ตกจากรักแร้ ลำดับนั้น มารนั้นเสียใจ ได้หายไปในที่นั้นนั่นแลฯ


      จบปธานสูตรที่ ๒


อ้างอิง :- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๘๔๓๖-๘๔๙๘. หน้าที่ ๓๖๙-๓๗๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=8436&Z=8498&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=355
ขอบคุณข่าวจาก
http://3.bp.blogspot.com/
http://1.bp.blogspot.com/
http://0.static-atcloud.com/





ว่าด้วยมารเสนา

      [๑๓๔] คำว่า บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินนั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวงคือ ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบอย่างใดอย่างหนึ่ง มีความว่า มารเสนาเรียกว่าเสนา กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ ฯลฯ อภิสังขาร คือ อกุศลกรรมทั้งปวง ชื่อว่า มารเสนา.
 
     สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
     กิเลสกาม เรากล่าวว่าเป็นมารเสนาที่ ๑ ของท่าน
     ความไม่ยินดี เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๒ ของท่าน
     ความหิวกระหาย เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๓ ของท่าน
     ตัณหา เรากล่าวเป็นเสนาที่ ๔ ของท่าน
     ความง่วงเพราะหาวนอน เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๕ ของท่าน
     ความขลาด เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๖ ของท่าน
     ความลังเลใจ เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๗ ของท่าน
     ความลบหลู่และความกระด้าง เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๘ ของท่าน
     ลาภ ความสรรเสริญ สักการะ และยศที่ได้โดยทางผิด เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ ๙ ของท่าน
     ความยกตนและข่มผู้อื่น เรากล่าวว่า เป็นเสนาที่ ๑๐ ของท่าน

     ดูกรพระยามาร เสนาของท่านเหล่านี้ เป็นผู้มีปกติกำจัดผู้มีธรรมดำ คนไม่กล้าย่อมไม่ชนะเสนานั้นได้ ส่วนคนกล้าย่อมชนะได้ ครั้นชนะแล้วย่อมได้สุข ดังนี้.

     เมื่อใด มารเสนาทั้งหมดและกิเลสอันทำความเป็นปฏิปักษ์ทั้งหมด อันบุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินนั้นชนะแล้ว ให้แพ้แล้ว ทำลายเสีย กำจัดเสีย ทำให้ไม่สู้หน้าแล้วด้วยอริยมรรค ๔ เมื่อนั้นบุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินนั้น เรียกว่า เป็นผู้กำจัดเสนา.
     บุคคลนั้นเป็นผู้กำจัดเสนาในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ อารมณ์ที่รู้แจ้ง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินนั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือ ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบอย่างใดอย่างหนึ่ง.


อ้างอิง :- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๑๘๒๒-๒๒๓๙. หน้าที่ ๗๗-๙๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=1822&Z=2239&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=109
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 26, 2015, 10:02:02 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: มารไม่มี บารมีไม่เกิด
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2015, 11:03:24 am »
0



กองทัพที่ ๔ ตัณหา(ความทะยานอยาก)

ตัณหาเป็นกองทัพที่สี่ของมาร ยกตัวอย่างพระภิกษุรูปหนึ่ง หลังจากบิณฑบาต บางครั้งบาตรของท่านอาจจะยังไม่เต็ม หรือยังไม่มีใครใส่อาหารที่เหมาะกับความต้องการทางโภชนาการมาให้ แทนที่จะเดินกลับวัด ท่านอาจพยายามเดินบิณฑบาตต่อไปบนเส้นทางใหม่ที่ยังไม่เคยไป ซึ่งบางทีก็อาจได้อาหารสมประสงค์ เส้นทางใหม่ๆ แบบนี้ อาจยาวขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าผู้ปฏิบัติจะเป็นพระภิกษุสงฆ์หรือไม่ก็ตาม ผู้ปฏิบัติก็อาจคุ้นเคยกับพฤติกรรมแบบนี้ เริ่มด้วยอาการอยากตามด้วยการวางแผน แล้วก็ลงมือทำเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ กระบวนการทั้งหมดอาจทำให้ทั้งร่างกายและจิตใจเหน็ดเหนื่อยเป็นอย่างมาก




กองทัพที่ ๕ ถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)

จากนั้นกองทัพที่ห้าของมารก็เริ่มรุกเข้ามา กองทัพนี้ได้แก่ความหดหู่ เซื่องซึม และง่วงเหงา ความยากลำบากในการปฏิบัติที่เกิดจากความหดหู่ เซื่องซึมนี้ นับว่าเป็นเรื่องใหญ่มากทีเดียว ควรที่จะขยายความต่อไป

   ความหดหู่ แปลมา จากคำบาลีว่า ถีนะ ซึ่งความจริงหมายถึง จิตใจที่อ่อนแอท้อถอย เหี่ยวเฉา เหนียวหนืด และอืดอาด ไม่สามารถจับอารมณ์กรรมฐานได้มั่นคง

     เมื่อ ถีนะ ทำให้จิตใจอ่อนแอ มันก็จะทำให้ร่างกายอ่อนแอไปด้วยโดยอัตโนมัติ จิตที่ซึมเซาย่อมไม่อาจประคองร่างกายใหนั้่งตัวตรงและมั่นคงอยู่ได้ การเดินจงกรมกลายเป็นอิริยาบถที่ยากเย็น

     เมื่อ ถีนะ ปรากฏอยู่ อาตาปี ความเพียรเพ่งอารมณ์ก็หายไป จิตจะมีความแข็งกระด้าง ขาดความเฉียบคมและว่องไว แม้ผู้ปฏิบัติอาจมีความเพียรตอนเริ่มปฏิบัติ ความเฉื่อยชาอาจคืบคลานเข้ามาครอบงำจนต้องเร่งความเพียรเพื่อแผดเผาความง่วงให้หมดไป
     เมื่อความเซื่องซึมครอบงำจิต พลังทางบวกของจิตส่วนหนึ่งย่อมถูกปิดกั้น ความอ่อนแอจะห่อหุ้มองค์ธรรมที่เป็นกุศล กล่าวคือ วิริยะ สติ วิตกและวิจาร จนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้

    สภาวะเช่นนี้เรียกโดยรวมว่า ถีนมิทธะ คือ จิตที่หดหู่เซื่องซึม
    ถีนะ หมายถึง สภาพที่ทำให้จิตหดหู่ เซื่องซึม ท้อถอยจากอารมณ์ และ
    มิทธะ หมายถึง สภาพที่ทำให้เจตสิก หดหู่ เซื่องซึม ท้อถอยจากอารมณ์
    กล่าวคือ สภาวจิตที่ถูกความหดหู่ เซื่องซึม ครอบงำ


      ask1 ask1 ask1 ask1

    ในการปฏิบัติไม่มีประโยชน์อะไรที่จะแยกแยะสภาวะของ “ถีนะ” และ “มิทธะ” ออกจากกัน กล่าวโดยรวมๆ ก็นับว่าใช้ได้ เช่นเดียวกับการถูกคุมขังอยู่ในที่แคบๆ ความหดหู่เซื่องซึม เปรียบเหมือนภาวะที่ปิดกั้นกุศลธรรมให้ขาดอิสระในการแสดงธรรมชาติแท้จริงออกมา การกีดขวางกุศลธรรมนี้แหละ เป็นสาเหตุให้เกิดความหดหู่ เซื่องซึม ซึ่งเป็น นิวรณ์หรือเครื่องปิดกั้น(กุศลธรรม) อย่างหนึ่ง

    ในที่สุดกองทัพที่ห้าของมารก็สามารถทำให้การปฏิบัติหยุดชะงักลงได้ ตาของผู้ปฏิบัติจะค่อยๆหรี่ลง และทันใดนั้นศีรษะก็ค้อมมาข้างหน้า ผู้ปฏิบัติจะเอาชนะภาวะที่ถดถอยเช่นนี้ได้อย่างไร
    ครั้งหนึ่งเมื่อพระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้ายกำลังเจริญวิปัสสนาอยู่ในป่า และถูกถีนมิทธะเข้าครอบงำ จิตของท่านหดหู่และเซื่องซึมไร้ประโยชน์เหมือนกับเนยที่แข็งตัวเมื่อถูกความเย็น ในขณะนั้นพระพุทธองค์ทรงเล็งเห็นสภาวจิตของพระโมคคัลลานะ จึงเสด็จมาโปรดและตรัสว่า
    “ดูก่อนโมคคัลลานะ เธอกำลังโงนเงน ง่วงนอน และสัปหงกอยู่หรือ”
     พระอัครสาวกตอบว่า
     “ขอรับพระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์กำลังสัปหงกอยู” ท่านตอบตรงไปตรงมาอย่างเปิดเผย
     พระพุทธองค์ตรัสว่า
     “ดูก่อนโมคคัลลานะ ตถาคตจะสอนวิธีในการเอาชนะความหดหู่เซื่องซึม ให้ ๘ ประการ”


 ans1 ans1 ans1 ans1

วิธีเอาชนะความง่วง ๘ ประการ

วิธีแรกได้แก่ การเปลี่ยนทัศนคติของตนเอง เมื่อความเซื่องซึมเข้าครอบงำ ผู้ปฏิบัติอาจถูกลวงให้ยอมแพ้ ด้วยความคิดว่า
     “ง่วงเหลือเกิน ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะมานั่งอยู่อย่างนี้ฉันน่าจะนอนลงสักประเดี๋ยว เพื่อรวบรวมกำลังดีกว่า”
     ตราบใดที่ผู้ปฏิบัติยังมีความคิดเช่นนี้ สภาวจิตที่ง่วงเหงาซึมเซาก็จะคงอยู่
     แต่ในทางตรงกันข้าม หากผู้ปฏิบัติตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยวว่า
     “ฉันจะนั่งกำหนดดูความเซื่องซึมง่วงเหงานี้ และถ้ามันยังกลับมาอีก ฉันจะไม่ยอมแพ้”
     นี่คือ การเปลี่ยนทัศนคติที่พระพุทธองค์ทรงหมายถึงความเด็ดเดี่ยวเช่นนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการเอาชนะกองทัพที่ห้าของมาร

     อีกโอกาสหนึ่งที่จะต้องมีการปรับทัศนคติก็คือ เมื่อการปฏิบัติวิปัสสนามีความสะดวกราบรื่นพอถึงจุดที่ผู้ปฏิบัติมีความชำนาญในการกำหนดอาการพองยุบของท้องได้ โดยไม่ต้องอาศัยความพยายามแล้ว ผู้ปฏิบัติจะเริ่มผ่อนคลาย นั่งสบายๆ และเฝ้ากำหนดดูควาเคลื่อนไหวอย่างสงบ ด้วยอาการผ่อนคลายนี้ ความง่วงเหงาหาวนอนจะคืบคลานเข้ามาได้ง่ายๆ
     หากมีอาการเช่นนี้ ผู้ปฏิบัติพึงเร่งสติ กำหนดรู้อาการพองยุบด้วยความระมัดระวัง หรือมิฉะนั้นก็ให้เพิ่มจุดในการกำหนดอารมณ์โดยใช้คำบริกรรมภาวนาการเพิ่มจุดในการกำหนดอารมณ์นี้ ต้องอาศัยเทคนิคเฉพาะ เนื่องจากต้องใช้ความพยายามสูงกว่าการกำหนดพองยุบเฉยๆ วิธีการนี้ จะทำให้ผู้ปฏิบัติตื่นตัวขึ้น

     ผู้ปฏิบัติอาจบริกรรม “พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกหนอ”
     เมื่อกำหนด “นั่งหนอ” ให้ระลึกรู้ความรู้สึกที่ร่างกายอยู่ในอาการที่นั่ง
     เมื่อกำหนด “ถูกหนอ” ให้ระลึกรู้จุดกระทบสัมผัสจุดใดจุดหนึ่งหรือหลายจุด ขนาดเท่ากับเหรียญสิบบาทในระหว่างการกำหนด “ถูกหนอ” นี้ ผู้ปฏิบัติพึงระลึกรู้กลับมาที่เดิมเสมอ ถึงแม้ว่าจะไม่รู้สึกว่าถูกอะไรอยู่ทุกครั้ง ยิ่งความง่วงรุนแรงเท่าไหร่ ก็ควรเพิ่มจุดระลึกรู้การกระทบสัมผัสมากขึ้นเท่านั้น โดยอาจมากประมาณ ๖ จุด
     เมื่อกำหนด “ถูกหนอ” ครบแต่ละรอบ ให้ระลึกรู้ย้อนกลับไปที่ท้องแล้วเริ่มต้นใหม่ วิธีการนี้มักจะได้ผลพอสมควร แต่ก็มิใช่ว่าจะไม่มีโอกาสผิดพลาด

วิธีแก้อาการง่วงนอนวิธีที่สอง ให้นึกถึงข้อธรรมที่ให้แรงบันดาลใจที่จำได้หรือท่องจำไว้จนขึ้นใจ แล้วพยายามทำความเข้าใจความหมายของข้อธรรมนั้นให้ลึกซึ้งที่สุด บางทีผู้ปฏิบัติอาจเคยนอนลืมตาโพลงอยูทั่้งคืน เพราะเฝ้าคิดถึงคำนึงถึงความหมายของเรื่องราวบางอย่าง
    หากเคยเป็นเช่นนี้ ผู้ปฏิบัติย่อมเข้าใจถึงวิธีการแก้ง่วงประการที่สองของพระพุทธองค์
    ตามหลักอภิธรรม อาการคิดมีองค์ธรรมได้แก่ วิตก หรือการยกจิตขึ้นสู่อารม ์ องค์ธรรมนี้ สามารถช่วยให้จิตเบิกบานและมีความสดชื่นขึ้นได้ นับเป็นยารักษาความหดหู่และเซื่องซึมโดยตรง

กลยุทธ์ที่สาม ในการต่อสู้กับความง่วงก็คือการท่องข้อธรรมต่างๆนั้นดังๆ ถ้าหากผู้ปฏิบัติอยู่กันเป็นกลุ่ม ก็คงไม่ต้องบอกว่า ให้ผู้ปฏิบัติบริกรรมข้อธรรมนั้นๆ ดังเพียงให้ตัวเองได้ยินก็พอ

ถ้าหากยังไม่รู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้น ให้ใช้วิธีที่แรงขึ้น เช่น ดึงหรือไชหูตัวเอง เอามือสีกันเองหรือลูบแขน ขา และใบหน้า ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต และทำให้ตื่นตัวขึ้นบ้าง

หากความง่วงยังคงอยู่ ให้ลุกขึ้นอย่างมีสติแล้วไปล้างหน้า ผู้ปฏิบัติอาจใช้นํ้าหยอดตาเพื่อให้สดชื่นขึ้น

ถ้ายังไม่หายให้มองไปยังวัตถุที่มีแสงสว่าง เช่น พระจันทร์ แสงแดด หรือหลอดไฟ ซึ่งจะช่วยให้จิตสว่างไสวขึ้น ความผ่องแผ้วของจิตก็เป็นแสงชนิดหนึ่ง ด้วยแสงนี้ ผู้ปฏิบัติจะสามารถตั้งความพยายามที่จะเฝ้ากำหนดดูพองยุบอย่างชัดเจน ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุดอีกครั้ง

หากไม่มีวิธีไหนใช้ได้เลย ก็ให้เดินจงกรมเร็วๆแบบมีสติ

สุดท้ายหากไม่หายง่วง ก็ให้นอนเสีย หากมีอาการง่วงเหงาหาวนอนเรื้อรัง อาจเกิดจากอาการท้องผูกก็เป็นได้ หากเป็นเช่นนั้น ผู้ปฏิบัติควรหาวิธีระบายท้องที่เหมาะสม





กองทัพที่ ๖ ความกลัว

กองทัพที่หกของมาร คือ ความกลัวหรือความขลาด ความกลัวสามารถก่อกวนผู้ปฏิบัติที่อยู่ในท้องถิ่นห่างไกลได้ง่ายๆ โดยเฉพาะเมื่อความเพียรเริ่มอ่อนกำลังลง ภายหลังจากที่หดหู่และเซื่องซึมเข้าครอบงำ ความพยายามอย่างกล้าหาญเท่านั้นที่จะขับไล่ความกลัวให้หมดไปได้ เช่นเดียวกับความเข้าใจธรรมะอย่างถ่องแท้ ซึ่งเป็นผลอันเกิดจากความเพียร สติและสมาธิ

พระธรรมเป็นเครื่องป้องกันอันตรายที่ประเสริฐที่สุดที่หาได้ในโลกนี้ ความศรัทธาและการปฏิบัติธรรมเป็นยาขนานเลิศที่จะขจัดความกลัว การรักษาศีล มีอานิสงส์ที่ทำให้ผู้ปฏิบัติประสบกับสิ่งที่ดีงาม และมีความสุข การเจริญสมาธิทำให้คลายทุกข์ จากจิตที่ถูกกระทบด้วยอารมณ์ และความคิดน้อยลง และการเจริญปัญญานำผู้ปฏิบัติเข้าสู่พระนิพพาน ที่ซึ่งความกลัวและภยันตรายทั้งหลายปลาสนาการไปด้วยการปฏิบัติธรรม

      :25: :25: :25: :25:

     ผู้ปฏิบัตินับได้ว่า เป็นผู้ที่ดูแลปกป้อง และเป็นกัลยาณมิตรที่ดีที่สุดของตนเอง
     พื้นฐานของความกลัวมาจากโทสะซึ่งเป็นธรรมชาติที่ประทุษร้ายในอารมณ์ เนื่องจากไม่สามารถเผชิญหน้ากับปัญหาบุคคลผู้นั้น จึงไม่แสดงอาการออกมาภายนอก แต่รอโอกาสที่จะวิ่งหนี แต่หากผู้ปฏิบัติสามารถเผชิญกับปัญหาได้ตรงๆ ด้วยจิตที่เบิกบานและผ่อนคลาย
     ความกลัวก็จะไม่เกิดขึ้นในระหว่างการอบรมวิปัสสนากรรมฐาน ผู้ปฏิบัติที่ห่างเหินจากธรรม จะรู้สึกกลัวและขาดความเชื่อมั่น เมื่อคิดถึงผู้ปฏิบัติคนอื่นๆ และวิปัสสนาจารย์

     ยกตัวอย่างเช่น เมื่อถูกความง่วงเหงารบกวนอย่างหนัก ผู้ปฏิบัติอาจหลับติดต่อได้ถึง ๕ ชั่วโมง ในระหว่างการนั่งสมาธิ และอาจมีสติแจ่มใสได้เพียงไม่กี่นาทีต่อวันผูป้ ฏิบัติเหลา่ นี้มักจะรู้สึกต่ำต้อย เขินอาย และกระอักกระอ่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเริ่มคิดเปรียบเทียบประสบการณ์ของตนกับผู้ปฏิบัติคนอื่น ที่ดูเหมือนจะมีสมาธิอยู่ตลอดเวลา
     บางครั้งในประเทศสหภาพพม่า ผู้ปฏิบัติที่ย่อหย่อนมากๆ อาจหายตัวไป ๒-๓ วัน โดยไม่มาสอบอารมณ์ บางคนก็หนีกลับบ้านไปเลย เหมือนกับเด็กนักเรียนที่ไม่ได้ทำการบ้าน ถ้าหากผู้ปฏิบัติเหล่านี้จะใช้ความพยายามอย่างกล้าหาญ สติก็จะสว่างไสวราวกับแสงอาทิตย์ สามารถเผาผลาญเมฆหมอกแห่งความง่วงเหงาให้สิ้นไป

      st12 st12 st12 st12

     หากเป็นเช่นนี้ พวกเขาจะสามารถเผชิญหน้ากับวิปัสสนาจารย์ได้อย่างเชื่อมั่น และพร้อมที่จะรายงานสิ่งที่ตนได้พบเห็นในแสงเห็นพระธรรม ไม่ว่าจะประสบกับอะไรในระหว่างการปฏิบัติธรรม ขอให้ผู้ปฏิบัติพึงมีความกล้าหาญและซื่อสัตย์ในการรายงานให้วิปัสสนาจารย์ทราบ
     บางครั้งผู้ปฏิบัติอาจเข้าใจผิดว่า การปฏิบัติกำลังพังทลายลง ในขณะที่ความจริงกำลังก้าวหน้าอยู่วิปัสสนาจารย์ที่ดี จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถเอาชนะความรู้สึกไม่มั่นคงเหล่านี้ และช่วยให้การปฏิบัติก้าวหน้าต่อไปได้ตามหนทางของพระธรรม ด้วยความเพียร ศรัทธา และความเชื่อมั่น


     ยังมีต่อ......


ขอบคุณภาพจาก
http://www.dhammajak.net/
http://0.static-atcloud.com/
http://phattuvietnam.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มารไม่มี บารมีไม่เกิด
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2015, 01:36:43 pm »
0
 st12 st12 st12 st11
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

waterman

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 302
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มารไม่มี บารมีไม่เกิด
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2015, 08:34:58 pm »
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: มารไม่มี บารมีไม่เกิด
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2015, 11:08:43 am »
0


กองทัพที่ ๗  ความลังเลสงสัย

ความซึมเซาหดหู่ เป็นเพียงสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความลังเลสงสัยขีดความสามารถของตนเอง ความสงสัยนี้ เป็นกองทัพที่เจ็ดอันน่าสะพรึงกลัวของมาร เมื่อเริ่มย่อหย่อนในการปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติก็อาจเริ่มสูญเสียความเชื่อมั่นในตนเอง โดยปกติการครุ่นคิดคำนึงย่อมไม่สามารถช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น ในทางตรงข้าม ความสงสัยจะเกิดขึ้น แล้วขยายตัวออกไปช้าๆ ตอนแรกอาจเป็นความสงสัยตนเองแล้วเปลี่ยนเป็นความสงสัยในวิธีปฏิบัติ บางทีอาจเลยไปสงสัยวิปัสสนาจารย์ว่า ท่านมีความรู้พอที่จะเข้าใจสภาวะของตนหรือไม่ หรือว่าตนเองเป็นผู้ปฏิบัติรายพิเศษ ที่ต้องอาศัยคำสั่งสอนพิเศษโดยเฉพาะ ประสบการณ์ที่ผู้ปฏิบัติคนอื่นรายงานคงจะคิดขึ้นเอง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการปฏิบัติกลายเป็นข้อสงสัยไปหมด

กองทัพที่เจ็ดของมารนี้ ภาษาบาลีเรียกว่า วิจิกิจฉา ซึ่งวิจิกิจฉา หรือความลังเลสงสัยมีความหมายลึกซึ้งกว่าความสงสัยธรรมดา เป็นอาการที่จิตหมดพลังจากการซัดส่ายของจิตเอง ยกตัวอย่างเช่น ผู้ปฏิบัติที่ถูกความหดหู่ซึมเซาเล่นงานจะไม่สามารถประคองการระลึกรู้อันจะเป็นปัจจัยให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง แต่หากมีสติอยู่ก็อาจกำหนดรู้รูปและนามได้ จนประจักษ์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างปรมัตถธรรมทั้งสองว่า เป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกันได้ แต่หากผู้ปฏิบัติไม่สามารถเฝ้ากำหนดดูโดยตรง ลักษณะที่แท้จริงของรูปและนามก็จะไม่ปรากฏชัด ไม่มีใครสามารถทำความเข้าใจกับสิ่งที่ไม่ได้ประจักษ์ด้วยตนเองได้ ผู้ปฏิบัติที่ขาดสติ ก็อาจใช้ความคิดพิจารณาหาเหตุผลเอาเอง “สงสัยนักว่ารูปกับนามนี้ประกอบด้วยอะไร และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร”

 :25: :25: :25: :25:

อย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติคนนั้นจะทำได้เพียงแค่การตีความจากประสบการณ์ผสมผสานกับจินตนาการของตนเอง ซึ่งเป็นอันตรายมาก เนื่องจากจิตไม่สามารถแทงทะลุสภาวธรรมต่างๆตามความเป็นจริง จิตจะเกิดความกระสับกระส่าย แล้วเปลี่ยนเป็นฉงนฉงาย ลังเลสงสัย ซึ่งเป็นอีกลักษณะหนึ่งของ วิจิกิจฉาการใช้ความคิดหาเหตุผลมากเกินไป จึงทำให้เหนื่อยล้า

เนื่องจากผู้ปฏิบัติยังไม่เห็นสภาวธรรมได้ถ่องแท้จนจิตเกิดความเชื่อมั่นและตั้งมั่น ในทางตรงข้าม จิตของผู้ปฏิบัติจะเป็นเหมือนถูกสาปให้ซัดส่ายอยู่กับทางเลือกต่างๆ อาศัยที่ได้จำวิธีเจริญกรรมฐานต่างๆไว้มาก ผู้ปฏิบัติอาจทดลองวิธีนั้นวิธีนี้ และในที่สุดอาจตกลงไปจมอยู่ใน “หม้อจับฉ่าย” ของการปฏิบัติธรรม

วิจิกิจฉาอาจเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวงในการปฏิบัติ เหตุใกล้ของความซัดส่ายของจิตที่ลังเลสงสัยก็คือ การขาดความใส่ใจในอารมณ์ อันเป็นการปรับจิตใจที่ไม่ถูกต้องในการแสวงหาสัจจธรรม การกำหนดจิตให้ตรงกับอารมณ์ที่ปรากฏในปัจจุบันขณะ จึงเป็นวิธีรักษาความลังเลสงสัยที่ดีที่สุด หากเฝ้ากำหนดดูอย่างถูกวิธี และในอารมณ์ที่ถูกต้องแล้ว ก็จะประจักษ์ในสิ่งที่แสวงหา กล่าวคือ ลักษณะที่แท้จริงของสิ่งทั้งปวง เมื่อใดเห็นสิ่งเหล่านี้ตามที่เป็นจริงด้วยตนเองแล้ว ผู้ปฏิบัติก็จะหมดความสงสัยไปเอง

 :96: :96: :96: :96: :96:

การสร้างเหตุปัจจัยให้เกิดการระลึกรู้อย่างถูกต้องนั้นผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องมีวิปัสสนาจารย์ที่สามารถแนะนำเพื่อให้สามารถดำเนินตามหนทางแห่งสัจจธรรมและปัญญา พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ผู้ตั้งใจแสวงหาสัจจธรรมพึงเข้าหาวิปัสสนาจารย์ที่มีความสามารถและเป็นที่พึ่งได้ ถ้าหากผู้ปฏิบัติไม่สามารถแสวงหาวิปัสสนาจารย์เช่นนี้ ก็อาจหันไปหาตำรับตำราการเจริญวิปัสสนาที่มีอยู่มากมายในปัจจุบัน แต่พึงระวังโดยเฉพาะผู้ปฏิบัติที่ชอบอ่านหนังสือ หากมีความรู้วิธีการต่างๆในระดับพื้นๆ และพยายามนำความรู้เหล่านั้นมาผนวกเข้าด้วยกัน ลงท้ายก็อาจผิดหวัง และเกิดความสงสัยมากยิ่งขึ้นกว่าตอนเริ่มต้น

วิธีปฏิบัติบางอย่างอาจเป็นวิธีที่ดี แต่หากไม่ได้ปฏิบัติตามวิธีนั้นอย่างถี่ถ้วน ก็อาจไม่ได้ผลและเกิดความสงสัยในวิธีการปฏิบัติเหล่านั้นซึ่งก็เท่ากับว่าผู้ปฏิบัติได้ปิดกั้นตนเองจากโอกาสที่จะได้รับประโยชน์ที่แท้จริงจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หากไม่เจริญกรรมฐานตามวิธีที่ถูกต้องผู้ปฏิบัติย่อมไม่อาจเข้าถึงสภาวธรรมที่แท้จริงได้ นอกจากจะทำให้เกิดความสงสัยมากขึ้นแล้ว จิตจะแข็งกระด้าง ไม่ควรแก่การงาน ผู้ปฏิบัติจะตกเป็นทาสของความโกรธ ความคับข้องใจหรือถึงกับต่อต้านการปฏิบัติเลยก็เป็นได้




จิตใจที่เสียดแทง

ความโกรธทำให้จิตแข็งกระด้างเหมือนกับหนามเมื่อความโกรธเข้าครอบงำ ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกเหมือนถูกทิ่มแทงราวกับคนเดินป่าที่ลุยผ่านพงหนาม ต้องได้รับความเจ็บปวดไปทุกๆ ย่างก้าว เนื่องจากความโกรธเป็นอุปสรรคใหญ่ของผู้ปฏิบัติจำนวนมาก

อาตมาจะขอกล่าวถึงความโกรธนี้ค่อนข้างละเอียดสักหน่อย ด้วยหวังว่าจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถเรียนรูที้่จะเอาชนะมันได ้โดยทั่วๆไป ความโกรธเกิดจากสภาวจิตสองอย่าง คือหนึ่งความสงสัย และสองคือสิ่งที่เรียกว่า “คันถะ” ซึ่งหมายถึงโซ่ตรวนหรือกิเลสอันร้อยรัดสัตว์ทั้งหลายให้ติดอยู่กับทุกข์

     ask1 ask1 ans1 ans1

    ความลังเลสงสัยมีอยู่ ๕ ประเภท ซึ่งทิ่มแทงให้จิตเป็นทุกข์
    ผู้ปฏิบัติอาจลังเลสงสัยเกี่ยวกับพระพุทธองค์พระบรมศาสดาผู้แสดงหนทางไปสู่พระนิพพาน
    ผู้ปฏิบัติอาจสงสัยในพระธรรมซึ่งเป็นหนทางที่นำไปสู่ความหลุดพ้น และ
    ในพระสงฆซึ่งได้แก่พระอริยบุคคลผู้ได้กำจัดกิเลสให้หมดไปได้แล้วบางส่วนหรือโดยสิ้นเชิง
    ต่อไปอาจสงสัยในศีลและวิธีปฏิบัติของตนเอง
    ประการสุดท้าย อาจสงสัยในเพื่อนสหธรรมิกรวมถึงวิปัสสนาจารย์
    เมื่อเกิดความสงสัยมากๆ ผู้ปฏิบัติอาจรู้สึกโกรธและต่อต้าน ทำให้จิตถูกทิ่มแทงอย่างแท้จริง จนรู้สึกไม่อยากปฏิบัติวิปัสสนาตอไป เนื่องจากขาดความเชื่อมั่นในวิธีและผลการปฏิบัตินั้น

     st12 st12 st12 st12

อย่างไรก็ตาม ยังไม่สิ้นหนทางเสียทีเดียว ปัญญาเป็นยารักษาวิจิกิจฉาระดับนี้ ปัญญาจากการใคร่ครวญเหตุผลเป็นปัญญาประเภทหนึ่ง บ่อยครั้งคำพูดที่น่าเชื่อถือ เช่น คำอธิบายของวิปัสสนาจารย์หรือเทศนาธรรมที่จับใจ อาจฉุดจิตของผู้ปฏิบัติที่ตกอยู่ในความลังเลสงสัยให้พ้นจากพงหนามได้ เมื่อจิตสามารถกลับคืนสู่การกำหนดระลึกรู้อ ารมณ์ได้อย่างถูกต้อง ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกโล่งอกและสำนึกถึงบุญคุณของครูบาอาจารย์ เมื่อเป็นดังนี้ ผู้ปฏิบัติมีโอกาสที่จะบรรลุญาณทัสสนะได้เห็นความเป็นจริงของสภาวธรรมต่างๆ ด้วยตัวเอง หากผู้ปฏิบัติเข้าถึงวิปัสสนาญาณ ปัญญาญาณนี้จะเป็นยารักษาความรู้สึกที่เสียดแทงของจิตได้

อย่างไรก็ตาม หากผู้ปฏิบัติไม่สามารถกลับเข้าสู้หนทางของวิปัสสนา ความสงสัยอาจจะพอกพูน จนเกินระดับที่จะแก้ไขได้




โซ่ตรวนทั้งห้าที่ร้อยรัดจิต

ความสงสัยมิใช่สิ่งที่เสียดแทงจิตเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก ๕ ประการที่เป็นดังโซ่ตรวนร้อยรัดจิต เมื่อความรู้สึกบีบรัดเช่นนี้ปรากฏขึ้น จิตใจก็จะเป็นทุกข์เร่าร้อน จากความรู้สึกอึดอัดขัดใจ ผลักไส และต่อต้าน แต่ผู้ปฏิบัติสามารถหลุดพ้นจากเครื่องร้อยรัดเหล่านี้ได้ ด้วยการเจริญวิปัสสนาอันจะทำให้อุปสรรคเหล่านี้หมดไปเอง หากอุปสรรคเหล่านี้ยังหลุดรอดเข้ามากระทบการปฏิบัติได้ การกำหนดระลึกรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริง เป็นข้อพึงปฏิบัติข้อแรก เพื่อใหจิ้ตกลับคืนสู่สภาวะที่เบิกบานและควรแก่การงาน

โซ่ตรวนเส้นที่หนึ่ง ได้แก่ความผูกพันกับอารมณ์ทางทวารต่างๆ ที่จิตที่ปรารถนาแต่อารมณ์อันน่าพอใจ ย่อมจะพบแต่ความไม่พอใจกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันขณะ อารมณ์หลักได้แก่ อาการพองยุบของท้อง ฟังดูอาจไม่เพียงพอและไม่น่าสนใจเมื่อเทียบกับจินตนาการของผู้ปฏิบัติเอง หากความไม่พอใจเช่นนี้เกิดขึ้น การปฏิบัติก็จะไม่ก้าวหน้า

โซ่ตรวนเส้นที่สอง ได้แก่ความผูกพันยึดมั่นกับร่างกายของตนเองมากเกินไป บางทีเรียกว่ามีความรักความเป็นห่วงตัวเองมากเกินไป หรือบางทีอาจเป็นความผูกพันยึดมั่นและความรูสึ้กเป็นเจ้าเข้าเจ้าของต่อบุคคลอื่น

 :25: :25: :25: :25:

และร่างกายของเขานี่คือ โซ่ตรวนเส้นที่สาม อาตมาคงไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติมเพราะเป็นสภาพที่เห็นกันอยู่โดยทั่วไปการเป็นห่วงตนเองมากเกินไป สามารถเป็นอุปสรรคที่ใหญ่หลวงของการปฏิบัติได้ เวลานั่งนานๆความรูสึ้กไ่มสบายย่อมเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความรู้สึกนั้นอาจรุนแรงจนผู้ปฏิบัติเริ่มรู้สึกเป็นห่วงขาของตนเองว่า นี่ต่อไปจะเดินได้ไหมผู้ปฏิบัติอาจตัดสินใจลืมตาและยืดขาทำให้ความต่อเนื่องของการกำหนดขาดลง กำลังของการปฏิบัติที่สะสมมาก็จะหายไปความพยายามในการทะนุถนอมร่างกายของตนเองมากเกินไปบางครั้งก็อาจไปลดความกล้าหาญ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเฝ้าตามกำหนดดูลักษณะที่แท้จริงของความเจ็บปวดรูปลักษณ์ก็อาจเป็นอีกส่วนหนึ่งของโซ่ตรวนเส้นที่สองนี้

บุคคลบางคนอาจต้องใส่เสื้อผ้าสวยๆ และใช้เครื่องสำอางเพื่อทำให้ตนเองมีความสุข หากพวกเขาไม่สามารถอาศัยปัจจัยภายนอกเหล่านี้ เช่นในการเข้าอบรมวิปัสสนากรรมฐานที่มีข้อห้ามการใช้เครื่องสำอางและเครื่องแต่งกายหรูหรา บุคคลเหล่านี้อาจรู้สึกว่ามีบางอย่างขาดหายไป และความวิตกกังวลก็อาจทำให้การปฏิบัติไม่ก้าวหน้า

 st12 st12 st12 st12

โซ่ตรวนเส้นที่สี่ ได้แก่ จิตที่หมกมุ่นกับอาหาร บางคนทานอาหารจุ บางคนเลือกแต่อาหารที่ถูกปาก คนที่เป็นห่วงปากท้องมาก มักจะชอบนอนมากกว่าการเจริญสติ ผู้ปฏิบัติบางคนมีปัญหาตรงกันข้าม คือ กลัวอ้วนอยู่ตลอดเวลา พวกนี้ก็ถูกโซ่ตรวนของการกินผูกมัดอยู่เช่นกัน

โซ่ตรวนเส้นที่ห้าของจิตใจ ได้แก่ การปฏิบัติโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้ไปเกิดเป็นเทวดา นอกจากจะทำให้การปฏิบัติตั้งอยู่บนพื้นฐานของตัณหาคือ ความอยากได้อิฏฐารมณ์แล้ว การปฏิบัติแบบนี้ยังเป็นการตั้งเป้าที่ตํ่าเกินไป สำหรับข้อเสียของการเกิดเป็นเทวดา ขอให้อ่านหนังสือเล่มที่ชื่อว่า “ราชรถสู่พระนิพพาน”

 st11 st11 st11 st11

ด้วยการปฏิบัติอย่างขยันหมั่นเพียร ผู้ปฏิบัติจึงจะสามารถปลดโซ่ตรวนทั้งห้าได้ และด้วยความเพียรนี้ ผู้ปฏิบัติจะสามารถเอาชนะความสงสัยและความไม่พอใจที่ตามมา เมื่อหลุด พ้นจากความเสียดแทงทางจิตแล้ว จิตใจจะมีความผ่องแผ้ว จิตใจที่ใสสว่างจะมีฉันทะในการปลูกความเพียรเบื้องตน้ ซึ่งนำเข้าสู่หนทางแห่งการปฏิบัติ ลำดับต่อมาจะพัฒนาเป็นนความเพียรที่แน่วแน่ซึ่งจะทำให้การเจริญวิปัสสนาก้าวหน้าขึ้น

และสุดท้ายจะเป็นความเพียรที่สะสมกำลังมาอย่างเต็มที่จนนำไปสู่ความหลุดพ้นในการปฏิบัติขั้นสูงยิ่งๆ ขึ้นไป ความเพียรทั้ง ๓ ระดับ ซึ่งแท้จริงคือ ความพยายามที่จะทำให้จิตตื่นตัวและเฝ้าตามกำหนดดูอารมณ์อยู่เสมอนั้น จะเป็นปราการธรรมชาติที่ดีที่สุดในการป้องกันกองทัพที่เจ็ดของมาร อันได้แก่ความ ลังเลสงสัย เมื่อใดที่มีความเพียรย่อหย่อน จิตจะหลุดจากการกำหนดรู้อารมณ์ และก็จะเปิดโอกาสให้ความสับสนและความลังเลสงสัยครอบงำจิตได้



ศรัทธาทำให้จิตแจ่มใส

ศรัทธา หรือความเชื่อ มีคุณสมบัติพิเศษที่เป็นพลังในการขจัดเมฆหมอกของความสงสัยและรำคาญใจให้หมดไปเปรียบได้กับถังใส่นํ้าขุ่นๆ จากแม่นํ้าที่เต็มไปด้วยตะกอน หากใส่สารเคมีบางชนิดลงไป เช่น สารส้มก็จะทำให้ตะกอนนอนก้นได้อย่างรวดเร็ว ทำให้นํ้าใสขึ้น ศรัทธาก็เช่นกัน ทำให้สิ่งไม่บริสุทธิ์ตกตะกอน เหลือไว้แต่จิตที่ผ่องใส

ผู้ปฏิบัติที่เข้าไม่ถึงคุณของ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ จะเกิดความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย ตลอดถึงประโยชน์ของการเจริญวิปัสสนา และมักจะพ่ายแพ้แก่กองทัพที่เจ็ดของมาร จิตใจของผู้ปฏิบัติเปรียบได้กับถังใส่นํ้าขุ่นๆจากแม่นํ้า แต่เมื่อได้ตระหนักถึงคุณของพระรัตนตรัยจากการอ่าน การสนทนาธรรม และจากการฟังธรรมเทศนาแล้วผู้ปฏิบัติก็จะสามารถกำจัดความสงสัยให้หมดไปได้อย่างช้าๆและเกิดความศรัทธาขึ้น

 :25: :25: :25: :25:

เมื่อมีศรัทธาก็จะมีความปรารถนาในการปฏิบัติและยินดีที่จะทุม่ เทพลังใหถึ้งจุดหมาย ศรัทธาที่เข้มแข็งเป็นรากฐานของความจริงใจและปฏิปทาที่มั่นคงในการปฏิบัติธรรม ซึ่งจะทำให้ความเพียรสติและสมาธิแก่กล้าขึ้นตามลำดับ แล้วปัญญาก็จะปรากฏขึ้นในลักษณะของวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ

เมื่อมีเหตุปัจจัยในการปฏิบัติที่เหมาะสม ปัญญาก็จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ปัญญาหรือญาณทัสสนะจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดรู้ทันปัจจุบันอารมณ์จนสามารถมองเห็นสภาวลักษณะและสามัญลักษณะของสภาวธรรมทางกายและทางจิต

สภาวลักษณะ หมายถึง ลักษณะเฉพาะของกายและจิตที่ผู้ปฏิบัติสามารถประสบได้โดยตรงด้วยตัวเอง ได้แก่ สี เสียงกลิ่น รส ความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ความเคลื่อนไหว เคร่งตึงและสภาวจิตที่แตกต่างกัน

สามัญลักษณะเป็นลักษณะที่เป็นสามัญในสภาวธรรมที่ปรากฏของรูปและนามทั้งปวง สรรพสิ่งย่อมแตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะของตน ทว่าทุกๆ สิ่งก็มีอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นลักษณะพื้นฐานเหมือนกัน

 st12 st12 st12 st12

ลักษณะทั้งสองนี้ กล่าวคือ สภาวลักษณะและสามัญลักษณะ จะสามารถรับรู้ได้อย่างชัดเจนและหมดข้อสงสัยด้วยปัญญาญาณที่เกิดขึ้นเองจากการเฝ้ากำหนดดูเฉยๆ ลักษณะประการหนึ่งของปัญญาหรือญาณนี้ก็คือความสว่างไสว ซึ่งจะทำให้การรับรู้ของผู้ปฏิบัติแจ่มใสขึ้น ปัญญาเปรียบเสมือนแสงไฟที่ฉายลงไปสู่บริเวณที่มืดมิด เปิดเผยสิ่งที่ไม่อาจมองเห็นได้ในอดีต กล่าวคือ สภาวลักษณะและสามัญลักษณะของรูปและนาม ด้วยแสงแห่งปัญญา ผู้ปฏิบัติจะสามารถกำหนดรู้เห็นลักษณะทั้งสองนี้ได้ในทุกๆ อาการที่ปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นการเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส รู้สึกทางร่างกายหรือทางความคิด

ปัญญามีคุณสมบัติพิเศษคือ ทำให้ไม่สับสนเมื่อญาณทัสสนะเกิดขึ้น จิตจะไมสั่บสนเพราะความคิดที่ผิดๆ หรือความเข้าใจผิดๆ ที่เกี่ยวกับกายและจิต

เมื่อเห็นแจ้งสภาวธรรมอย่างชัดเจน แจ่มใสและไม่สับสน จิตจะเริ่มต้นเปี่ยมไปด้วยความศรัทธาแบบใหม่ อันเป็นศรัทธาที่เกิดจากการพิสูจน์แล้ว มิใช่ศรัทธาแบบมืดบอดหรือขาดเหตุผล ศรัทธาชนิดนี้เกิดขึ้นมาเองจากประสบการณ์ส่วนบุคคล เราอาจเปรียบเทียบความศรัทธานี้กับความเชื่อที่ว่าฝนตกทำให้เราตัวเปียก พระไตรปิฎกกล่าวถึงศรัทธาประเภทนี้ ว่าเป็นการปลงใจเชื่อ เพราะได้ประสบด้วยตนเองดังนั้น เราจึงอาจเห็นความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างความศรัทธาและปัญญาได้

 st11 st11 st11 st11

ศรัทธาที่เกิดจากการพิสูจน์ด้วยตนเองนี้มิได้เกิดขึ้นเพียงเพราะเราได้ยินคำพูดที่น่าเชื่อถือ ไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบ การวิจัยทางวิชาการ หรือการให้เหตุผลแบบใดที่จะทำให้เกิดศรัทธาชนิดนี้ขึ้นได้ และไม่มีวิปัสสนาจารย์ ดาบส นักบวชหรือนักบุญผู้ใดจะบังคับให้เรามีศรัทธาประเภทนี้ได ้ มีเพียงการได้ประสบสภาวธรรมโดยตรงด้วยตนเองเท่านั้น ที่จะทำให้ศรัทธาอันมั่นคงและยั่งยืนชนิดนี้เกิดขึ้น

วิธีที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาให้ศรัทธาชนิดนี้เกิดขึ้นก็คือ การปฏิบัติตามแนวทางคำสอนในพระไตรปิฎก คำสอนเรื่องวิธีการเจริญสติปัฏฐาน บางครั้งหากมองอย่างผิวเผินอาจดูว่าคับแคบและเรียบง่ายเกินไป แต่เมื่อปัญญาเริ่มปรากฏ ขณะที่การปฏิบัติก้าวหน้าและลึกซึ้งมากขึ้น ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้ปฏิบัติจะทำลายความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับความคับแคบของสติปัฏฐานเอง วิปัสสนากรรมฐานทำให้เกิดปัญญาที่ยิ่งใหญ่ไพศาล มิใช่คับแคบอย่างที่คิด

เมื่อศรัทธาปรากฏขึ้น ผู้ปฏิบัติจะรู้ได้เองวา่ จิตมีความผ่องใส ปราศจากสิ่งรบกวนและความขุ่นข้องใดๆ ในขณะนั้นจิตจะเต็มไปด้วยความสงบสุขและแจ่มใส หน้าที่ของศรัทธาที่เกิดขึ้นจากการพิสูจน์ด้วยตนเองนี้ คือทำให้อินทรีย์ทั้งห้าที่ได้กล่าวถึงในบทที่แล้ว กล่าวคือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญามาประชุมกันและมีความเข้มแข็งขึ้น เมื่ออินทรีย์ห้าแก่กล้าขึ้นจิตจะมีความสงบ มีพลังและแม่นยำ ทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถเอาชนะไม่เฉพาะกองทัพที่เจ็ดของมารเท่านั้น แต่รวมถึงกองทัพที่เหลือของมารอื่นๆ ทั้งหมดด้วย


    ยังมีต่อ...



ขอบคุณภาพจาก
http://1.bp.blogspot.com/
http://4.bp.blogspot.com/
http://download.buddha-thushaveiheard.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

nopporn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มารไม่มี บารมีไม่เกิด
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2015, 12:25:36 pm »
0
 st11 st12 st12 thk56
บันทึกการเข้า
อยู่แก๊งค์ ป่วนอ๊บ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: มารไม่มี บารมีไม่เกิด
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2015, 10:20:56 pm »
0


อิทธิบาทสี่ : พลังแห่งความสำเร็จ

เช่นเดียวกับในทางโลก บุคคลที่ปฏิบัติธรรมด้วยความแข็งขันและมุ่งมั่น ย่อมสามารถบรรลุถึงเป้าหมายที่ตนตั้งเอาไว้ได้ ความแข็งขันและมุ่งมั่นเป็นพลัง ๒ ประเภทในพลังทั้งสี่ที่จะทำให้การปฏิบัติประสบความสำเร็จ
    อันได้แก่ ฉันทะ คือความพอใจเป็นพลังที่หนึ่ง
    วิริยะ คือความเพียรหรือความแข็งขัน เป็นพลังที่สอง
    จิตตะ หรือความมุ่งมั่น ใฝ่ใจในการระลึกรู้เป็นพลังที่สาม และ
    วิมังสา คือ ปัญญาไตร่ตรอง เป็นพลังที่สี่
หากคุณธรรมทั้งสี่เป็นพลังสนับสนุนการปฏิบัติ การเจริญกรรมฐานก็จะก้าวหน้า ไม่ว่าผู้ปฏิบัติจะมุ่งหวังเพื่อให้ได้บรรลุธรรมหรือไม่ก็ตาม ผู้ปฏิบัติอาจบรรลุถึงนิพพานได้โดยวิธีนี้

 :25: :25: :25: :25:

พระพุทธองค์ทรงยกอุทาหรณ์ใกล้ตัวแสดงให้เห็นว่า จะบรรลุผลของการปฏิบัติได้อย่างไร หากแม่ไก่ออกไข่ด้วยความมุ่งหวังที่จะให้ไข่ฟักเป็นตัว แต่เมื่อออกไข่แล้วก็วิ่งหนีไปปล่อยให้ไข่ต้องเผชิญกับสายลมแสงแดดตามลำพัง ในที่สุดไข่ก็จะเน่า ในทางกลับกัน หากแม่ไก่ปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อตรงนั่งกกไข่เป็นเวลานานๆ ทุกๆ วัน ความอบอุ่นจากร่างกายแม่ไก่ จะทำให้ไข่ไม่เน่าเสีย และทำใหลู้กไกที่อยู่ในไข่เติบโตขึ้นการนั่งกกไข่เป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของแม่ไก่ มันจะต้องทำหน้าที่อย่างถูกต้อง โดยกางปีกออกเล็กน้อยเพื่อปกป้องรังของมันจากฝน และจะต้องระมัดระวังไม่ทิ้งนํ้าหนักตัวลงบนไข่มากเกินไปจนไข่แตกร้าว หากแม่ไก่นั่งในท่าที่ถูกต้องและเป็นเวลานานพอสมควร ไข่ก็จะได้รับความอบอุ่นตามธรรมชาติที่เพียงพอสำหรับการฟักตัวภายในเปลือกไข่ ตัวอ่อนค่อยๆ สร้างจงอยปากและกรงเล็บ ทุกๆ วันที่ผ่านไป เปลือกไข่ก็จะบางลงๆในช่วงสั้นๆ ที่แม่ไก่ออกไปจากรัง ลูกไก่ที่อยู่ในไข่ก็จะเริ่มเห็นแสงที่สว่างมากขึ้น ประมาณสามสัปดาห์หลังจากนั้น ลูกไก่สีเหลืองที่มีลักษณะสมบูรณ์ก็จะเจาะเปลือกไข่ออกมา ผลนี้จะเกิดขึ้นไม่ว่าแม่ไก่จะมุ่งหวังให้เกิดหรือไม่ก็ตาม สิ่งเดียวที่แม่ไก่ทำก็คือ นั่งกกไข่อย่างสมํ่าเสมอเพียงพอ

แม่ไก่มีความทุ่มเทและมุ่งมั่นกับงานของมันมาก บางครั้งมันยอมที่จะหิวกระหายดีกว่าทิ้งการกกไข่ และเมื่อมีความจำเป็นต้องลุกขึ้น มันก็จะจัดแจงธุระของมันอย่างรวดเร็วแล้วกลับไปนั่งปฏิบัติหน้าที่ต่อไป


 st12 st12 st12 st12

อาตมามิได้แนะนำให้ผู้ปฏิบัติอดอาหาร หรือหยุดดื่มน้ำ หรือไม่เข้าห้องน้ำ อาตมาเพียงแต่อยากให้ผู้ปฏิบัติได้รับแรงบันดาลใจจากความอดทนและไม่ท้อถอยของแม่ไก่ สมมุติว่าแม่ไก่โลเลและไม่ขวนขวาย นั่งกกไข่ได้ไม่กี่นาทีแล้วก็ลุกออกไปทำอย่างอื่น ไม่ช้าไข่ก็จะเน่า และลูกไก่ก็หมดโอกาสที่จะเกิด

ในทำนองเดียวกัน ในระหว่างการนั่งกรรมฐาน หากผู้ปฏิบัติไม่อดทนต่อความรูสึ้กอยากเกาหรืออยากขยับไปมา พลังความเพียรก็จะไม่ต่อเนื่องและเพียงพอที่จะทำให้จิตใจแจ่มใสและเป็นอิสระจากการโจมตีของสิ่งเศร้าหมองที่ครอบงำจิต เช่นโซ่ตรวนทั้งห้าที่ร้อยรัดจิตดังกล่าวข้างต้น อันได้แก่ กามฉันทะความเป็นห่วงกังวลในร่างกายของตนและผู้อื่นมากเกินไปความละโมบในการรับประทานและความปรารถนากามสุขในภพภูมิอื่น

ผู้ปฏิบัติที่พยายามรักษาสติในแต่ละขณะจะก่อเกิดพลังความเพียรที่ต่อเนื่อง เหมือนกับความอบอุ่นจากร่างกายของแม่ไก่ พลังความพากเพียรนี้จะช่วยปกป้องจิตไม่ให้ถูกทำร้ายด้วยการโจมตีของกิเลส ทำให้ญาณทัสสนะเจริญขึ้นและมีความแก่กล้าขึ้นตามลำดับ

 st11 st11 st11 st11

โซ่ตรวนทั้ง ๕ เส้นที่ผูกมัดจิตนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อขาดสติหากไม่ระมัดระวัง เมื่อมีอารมณ์ที่น่าปรารถนาเข้ามากระทบจิตก็จะถูกครอบงำด้วยตัณหาและอุปาทาน อันเป็นโซ่ตรวนของจิตประการแรก อย่างไรก็ตาม หากผู้ปฏิบัติมีสติก็จะสามารถเอาชนะตัณหาได้ ในทำนองเดียวกัน หากผู้ปฏิบัติสามารถประจักษ์ถึงลักษณะที่แท้จริงของร่างกาย ความผูกพันยึดมั่นต่อร่างกายย่อมจะหมดไป ความลุ่มหลงร่างกายของผูอื้่นก็จะลดน้อยลงไปด้วย ด้วยเหตุนี้ โซ่ตรวนเส้นที่สองและสามก็จะถูกตัดขาดลงไปด้วย การตามกำหนดรู้กระบวนการการรับประทานอาหารอย่างใกล้ชิด จะทำลายความละโมบในอาหารซึ่งเป็นโซ่เส้นที่สี่ หากปฏิบัติด้วยเป้าหมายที่จะบรรลุถึงพระนิพพานจริงๆ ความทะยานอยากในโลกียสุขในชาติหน้าก็จะหายไปด้วย เพราะความปรารถนาชาติภพในภูมิที่สูงขึ้นก็เป็นโซ่เส้นที่ห้าของจิต ดังนั้นการเจริญสติและความเพียรอย่างต่อเนื่องจะสามารถตัดโซ่ทั้งห้าเส้นได้ เมื่อตัดเครื่องร้อยรัดเหล่านี้ได้แล้ว จิตก็จะไม่ถูกครอบงำด้วยความมืดบอดและบีบคั้นอีกต่อไป จิตใจของผู้ปฏิบัติจะถูกปลดปล่อยและได้พบแสงสว่าง


 :96: :96: :96: :96:

ด้วยความเพียร สติ และสมาธิที่ต่อเนื่อง จิตจะค่อยๆได้รับความรู้แจ้งจากแสงธรรม ซึ่งทำให้จิตใจสดชื่น และแผดเผากิเลสให้สิ้นไป จิตจะซาบซ่านด้วยธรรมรส อวิชชาอันเป็นเปลือกห่อหุ้มจิตจะเบาบางลง ผู้ปฏิบัติจะเริ่มเข้าใจธรรมชาติของรูปนามและเหตุปัจจัยของรูปนาม ศรัทธาที่เกิดจากประสบการณ์โดยตรงจะเข้มแข็งขึ้น ผู้ปฏิบัติจะสามารถเข้าใจได้โดยตรงถึงความเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกันของรูปกับนามที่มิได้เกิดจากการกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยนัยนี้ผู้ปฏิบัติจะตระหนักว่า ความเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกันนี้ได้ปรากฏอยู่ในอดีต และจะยังคงดำรงอยู่ต่อ ไปในอนาคตเมื่อการปฏิบัติก้าวหน้าขึ้น ผู้ปฏิบัติก็จะมีความมั่นใจอย่างลึกซึ้ง หมดความสงสัยในตนเอง ในการปฏิบัติของตนเอง ในผู้ปฏิบัติอื่นๆหรือวิปัสสนาจารย์ จิตจะเปี่ยมด้วยความซาบซึ้งในพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ

จากนั้นผู้ปฏิบัติจะเริ่มกำหนดเห็นการเกิดขึ้นและดับไปของสิ่งต่างๆ เห็นความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อวิปัสสนาญาณนี้เกิดขึ้น อวิชชาความไม่รู้ในสามัญลักษณะเหล่านี้ก็หมดไป

เปรียบเสมือนลูกไก่ที่กำลังจะฟักเป็นตัว ผู้ปฏิบัติจะเห็นแสงสว่างเล็ดลอดเปลือกไข่เข้ามามากมาย การกำหนดรู้อารมณ์จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วขึ้นเรื่อยๆ ผู้ปฏิบัติจะเปี่ยมด้วยพลังความเพียรอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และมีความศรัทธาที่มั่นคงมาก

 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

หากผู้ปฏิบัติพากเพียรฟูมฟักปัญญาญาณต่อไป ผู้ปฏิบัติจะสามารถบรรลุถึงพระนิพพานกล่าวคือ มรรคญาณ ผลญาณได ้ และแล้วผู้ปฏิบัติจะสามารถกะเทาะเปลือกไขที่มืดมิด คืออวิชชาออกมา เหมือนกับลูกไก่ที่เต็มไปด้วยความกระตือรือร้นที่จะค้นพบตนเองในโลกกว้าง เที่ยวไปในท้องทุ่งที่สว่างไสวกับแม่ของมัน เช่นเดียวกัน ผู้ปฏิบัติเองก็จะรู้สึกเป็นสุขและเอิบอิ่มใจเป็นอย่างยิ่ง ผู้ปฏิบัติที่เคยได้ประสบกับพระนิพพานแล้ว จะมีความรู้สึกเป็นสุข สงบเย็นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน และไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนหรือเปรียบได้ ทำให้ศรัทธา ความเพียร สติ และสมาธิเข้มแข็งเป็นอย่างยิ่ง

อาตมาหวังว่า ผู้ปฏิบัติจะนำอุทาหรณ์เรื่องแม่ไก่นี้ไปพิจารณาอย่างลึกซึ้ง ทำนองเดียวกับแม่ไก่ที่กกไข่โดยไม่หวังหรือปรารถนาอะไร เพียงทำหน้าที่อย่างซื่อตรง อาตมาขอใหผู้้ปฏิบัติพึงอบรมบ่มฟักการปฏิบัติของตนเองด้วยดี ขออย่าให้ผู้ปฏิบัติกลายเป็นไข่เน่าเลย





ผู้กำหนดทิศทางนาวาชีวิตของตนเอง

อาตมาได้ใช้เวลาไปมากในหัวข้อเรื่องความลังเลสงสัยเพราะอาตมาทราบดีว่าเป็นปัญหาใหญ่และอยากช่วยให้ผู้ปฏิบัติหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ อาตมารู้จากประสบการณ์ของตนเองว่าความสงสัยสร้างทุกข์ได้มากขนาดไหน เมื่ออาตมาอายุได้ ๒๘-๒๙ ปี และเริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกับท่านอาจารย์มหาสีสยาดอ บูรพาจารย์ผู้ให้กำเนิดสำนักวิปัสสนากรรมฐานมหาสีสาสนเยกตา ในกรุงร่างกุ้ง หลังจากหนึ่งสัปดาห์ผ่านไปอาตมาเริ่มรู้สึกไม่พอใจเพื่อนๆ ผู้ปฏิบัติธรรมค่อนข้างมาก พระภิกษุบางรูปแทนที่จะตั้งใจปฏิบัติธรรม กลับมีศีลด่างพร้อย ไม่เคร่งครัด และไม่ตั้งใจในการประพฤติปฏิบัติ คฤหัสถ์ที่มาปฏิบัติธรรมก็เช่นกัน พูดจาและเดินเหินไม่สุภาพเรียบร้อยราวกับอนารยชน ความสงสัยเริ่มครอบงำจิตใจของอาตมา แม้แต่อาจารย์ของอาตมาซึ่งเป็นพระอาจารย์ผู้ช่วยของท่านอาจารย์มหาสี ก็ไม่พ้นจากการจับผิดของอาตมา พระอาจารย์ท่านนี้ไม่เคยยิ้ม และบางครั้งก็พูดจาห้วนๆ และรุนแรง อาตมาคิดว่าวิปัสสนาจารย์ควรจะเปี่ยมด้วยความนุ่มนวลและความห่วงใย

 ans1 ans1 ans1 ans1

วิปัสสนาจารย์ที่มีความสามารถ ย่อมประเมินสภาวะของลูกศิษย์ได ้ โดยอาศัยประสบการณ์การสอนผู้ปฏิบัติมาเป็นจำนวนมากและจากคำสอนในพระไตรปิฎก พระอาจารย์ที่สอน อาตมาก็เช่นกัน ท่านเห็นว่าการปฏิบัติของอาตมาเริ่มถอยหลังและประเมินว่าความลังเลสงสัยกำลังเล่นงานอาตมาอยู่ ท่านตำหนิอาตมาอย่างนุ่มนวลและแยบยล หลังจากนั้นอาตมาก็กลับไปที่กุฏิแล้วถามใจตัวเองว่า “เรามาที่นี่ทำไม มาเพื่อตำหนิผู้อื่น และทดสอบพระอาจารย์หรือ เปล่าเลย”

อาตมาระลึกได้ว่า อาตมามาที่สำนักนี้ก็เพื่อจะทำลายล้างกิเลสที่อาตมาได้สะสมมาจากการเวียนว่ายในสังสารวัฏให้มากที่สุด อาตมาหวังว่าจะสำเร็จตามเป้าหมายนี้โดยการปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธองค์ตามแบบการเจริญวิปัสสนากรรมฐานของสำนักที่อาตมาอยู่นี้ ความคิดนี้ให้ความกระจ่างแก่อาตมาเป็นอย่างมาก


 :25: :25: :25: :25:

ความคิดหนึ่งปรากฏขึ้นในใจของอาตมา อุปมาเหมือนอาตมาอยูใ่ นเรือใบกลางทะเลทา่ มกลางพายุรา้ ย คลื่นมหึมาพุง่สูงขึ้น แล้วกระแทกลงมาทุกทิศทาง อาตมาถูกเหวี่ยงไปทางซ้ายทางขวา ขึ้นบนและลงล่าง ช่วยตัวเองไม่ได้เลยท่ามกลางมหาสมุทรใหญ่ รอบๆ ตัวอาตมา เรืออื่นๆ ก็อยู่ในสภาพเดียวกัน แต่แทนที่จะดูแลเรือของอาตมาเอง อาตมากลับไปตะโกนออกคำสั่งให้กัปตันเรือลำอื่น “น่าจะชักใบเรือขึ้นนะ นี่คุณเอาใบลงได้แล้ว” หากอาตมาไม่หยุดทำเช่นนั้น ก็อาจพบตัวเองอยู่ที่ก้นบึ้งมหาสมุทรได้

นี่คือสิ่งที่อาตมาได้เรียนรู้ หลังจากนั้นอาตมาจึงตั้งใจปฏิบัติอย่างหนัก และไม่ยอมปล่อยให้ความสงสัยเข้ามาครอบงำจิตใจอีกเลย อาตมากลายเป็นลูกศิษย์คนโปรดของพระอาจารย์ด้วยซํ้า อาตมาหวังว่าผู้ปฏิบัติจะได้รับประโยชน์จากประสบการณ์ของอาตมาเช่นกัน


   ยังมีต่อ...


ขอบคุณภาพจาก
http://2.bp.blogspot.com/
http://3.bp.blogspot.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: มารไม่มี บารมีไม่เกิด
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2015, 11:46:53 am »
0


กองทัพที่ ๘ ความหัวดื้อ และลบหลู่คุณท่าน

หลังจากที่เอาชนะความสงสัยได้แล้ว ผู้ปฏิบัติจะเริ่มเห็นแสงแห่งพระธรรม แต่ท่ว่า ยังมีกองทัพที่แปดของมาร ซุ่มรออยู่ในรูปของความหัวดื้ออวดดี และความลบหลู่บุญคุณท่านความทะนงอวดดีจะเกิดขึ้น เมื่อผู้ปฏิบัติเริ่มประสบกับความสุข ปีติความพึงพอใจ และประสบการณ์ที่ดีอื่นๆ จากการปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติอาจคิดไปว่า พระอาจารย์จะเข้าถึงสภาวะทีัวิเศษนี้แล้วหรือยัง และผู้ปฏิบัติอื่นๆ จะมีความเพียรเท่าตนหรือเปล่า ฯลฯ

ความหัวดื้อถือดีมักจะเกิดขึ้นในขั้นที่ผู้ปฏิบัติมีญาณประจักษ์เห็นการเกิดดับของสภาวธรรมต่างๆ นับเป็นความรู้สึกที่วิเศษที่สามารถอยู่กับปัจจุบันขณะโดยสมบูรณ์ เห็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้วดับไปทุกขณะที่สติตามกำหนดรู้อยู่ ในขั้นนี้อาจมีเครื่องเศร้าหมองแทรกซ้อนเข้ามาได้มากมาย สิ่งเหล่านี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า วิปัสสนูปกิเลส เนื่องจากวิปัสสนูปกิเลสอาจกลายเป็นอุปสรรคที่อันตรายมากต่อการเจริญกรรมฐาน ผู้ปฏิบัติจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจกิเลสเหล่านี้ให้แจ่มแจ้ง

 :25: :25: :25: :25:

พระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า มานะหรือความทะนงตนมีสภาพฟูฟ่อง มีความปรารถนาสูง และกระตือรือร้นอย่างแรงกล้า ผู้ปฏิบัติจะมีพลังล้นเหลือและถือความคิดของตนเองเป็นหลัก มีแต่ความคิดชื่นชมตนเองเช่น “ฉันเยี่ยมมาก ไม่มีใครเทียบฉันได้”

ลักษณะเด่นของมานะก็คือ ความแข็งกระด้าง จิตจะรูสึ้กกระด้าง และพองขึ้น เหมือนงูเหลือมที่เพิ่งกลืนเหยื่อเข้า ไปอาการของมานะอีกประการหนึ่ง จะแสดงให้เห็นในลักษณะที่เป็น ความเคร่งตึงของร่างกายและอิริยาบถต่างๆ ผูที้่เป็น เหยื่อของมานะจะกลายเป็นคนหัวสูงและคอแข็ง ยากที่จะก้มศีรษะทำความเคารพผู้อื่น





การลืมบุญคุณท่าน

มานะเป็นสภาวจิตที่น่ากลัวโดยแท้ มันทำลายความกตัญญูรู้คุณ ทำให้ไม่อาจยอมรับได้ว่าเราเป็นหนี้บุญคุณผู้อื่นการลืมเลือนความดีงามที่คนอื่นได้ทำไว้ให้แก่เราในอดีตทำให้เรามองข้ามคุณความดีและลบหลูคุ่ณธรรมของทา่ นเหลา่นั้น ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ที่ประกอบด้วยมานะจะพยายามปิดบังความดีของผู้อื่นเพื่อมิให้ผู้อื่นได้รับความเคารพยกย่อง การลบหลู่คุณท่าน เป็นลักษณะที่สองของมานะ อันมีความทรนงแข็งกระด้างเป็นลักษณะแรก

เราทุกคนล้วนมีผู้ที่มีพระคุณต่อเราทั้งสิ้น โดยเฉพาะในวัยเด็กและตอนที่อายุยังน้อย ยกตัวอย่างเช่น พ่อแม่เป็นผู้ให้ความรัก การศึกษา และสิ่งจำเป็นต่างๆสำหรับชีวิตในช่วงที่เราไม่อาจช่วยตัวเองได้ ครูอาจารย์ให้ความรู้แก่เรา เพื่อนๆให้ความช่วยเหลือยามเราทุกข์ยากลำบาก การจดจำบุญคุณที่ผู้อื่นได้ช่วยเหลือเราไว้ ทำให้เรารู้สึกอ่อนน้อมถ่อมตน มีความกตัญญูและมองหาโอกาสที่จะตอบแทนพระคุณ ด้วยความรู้สึกอันอ่อนโยนนี้เองเราจะสามารถเอาชนะกองทัพที่แปดของมารได้


 st12 st12 st12 st12

อย่างไรก็ตาม มีคนจำนวนมากไม่ระลึกถึงคุณความดีที่ผู้อื่นได้กระทำแก่ตนในอดีต ยกตัวอย่างเช่น คนๆ หนึ่งอาจประสบปัญหา และมีเพื่อนที่มีจิตใจเมตตาให้ความช่วยเหลือไว้จนสามารถแก้ไขปัญหาชีวิตของตนเองได้สำเร็จ แต่เวลาต่อมาเขาอาจไม่แสดงความกตัญญูรู้คุณใดๆ เลย กลับอาจกล่าววาจาหยาบคายกับผู้มีพระคุณนั้นว่า “ท่านเคยช่วยอะไรฉันไว้บ้างหรือ” พฤติกรรมแบบนี้มีให้เห็นอยู่เสมอ

แม้แต่พระสงฆ์ก็อาจกลายเป็นผู้เย่อหยิ่งจองหอง คิดว่าตนเองมีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักในฐานะวิปัสสนาจารย์ด้วยความสามารถของตนเองเท่านั้น ท่านลืมพระพี่เลี้ยง และครูอาจารย์ ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือมาตั้งแต่ครั้งที่ยังเป็นเณรน้อยท่านเหล่านี้ เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้ในพระไตรปิฎก จัดหาบริขารเครื่องจำเป็นในการดำรงชีวิตให้ สอนวิธีการเจริญวิปัสสนา ให้คำแนะนำ และว่ากล่าวตักเตือนในเวลาที่เหมาะควร เพื่อให้ท่านเติบโตขึ้นเป็นพระหนุ่มที่มีความรับผิดชอบ มีวัตรปฏิบัติอันงดงาม

 st11 st11 st11 st11

เมื่อถึงเวลาที่จะพ้นจากการดูแลของครูอาจารย์ พระรูปนั้นอาจแสดงให้เห็นความสามารถพิเศษมากมายเทศนาเก่ง เป็นที่ชื่นชอบของผู้ฟัง ผู้คนจำนวนมากให้ความเคารพถวายไทยธรรม และนิมนต์ให้ไปสั่งสอนในที่ไกลๆ เมื่อได้รับความสำเร็จในชีวิตเช่นนี้ พระรูปนั้นอาจกลับมีความเย่อหยิ่ง
    และวันหนึ่งอดีตพระอาจารย์ของท่านอาจมาหาและกล่าวว่า
    “น่ายินดีนัก อาตมาเฝ้าดูท่านตั้งแต่ยังเป็นเณรน้อยความที่ได้มีโอกาสช่วยเหลือท่านหลายๆ อย่าง ทำให้อาตมาปลื้มใจที่ได้เห็นความสำเร็จของท่าน”
     พระหนุ่มอาจตอบกลับมาอย่างห้วนๆว่า
     “ท่านทำอะไรให้กระผมหรือ ผมทำงานหนักมาก กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้”

ปัญหาอาจเกิดขึ้นได้กับผู้ที่เป็น ญาติในทางธรรม เชน่เดียวกับในทางโลก ในแวดวงใดๆ ก็ตาม เราต้องสร้างความรู้สึกที่ดี มีความรัก และความเมตตาต่อกันในการแก้ปัญหาต่างๆ ลองพิจารณาดูว่า จะเป็นการดีสักเพียงไร หากชาวโลกสามารถหันมาร่วมมือกันด้วยความรัก ความเมตตา และความเกรงอกเกรงใจต่อกันในยามที่เกิดปัญหาขึ้น





ในโลกนี้มีวิธีแก้ปัญหาที่อาจไม่ค่อยได้ผลนัก แต่มักจะเป็นที่นิยมใช้กัน แทนที่จะปฏิบัติต่อกันอย่างตรงไปตรงมาด้วยความรัก ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจนำความร้ายกาจของอีกฝ่ายหนึ่งออกมาตีแผ่ต่อสาธารณชน เยาะเย้ย ถากถาง อีกฝ่ายหนึ่งหรือตำหนิบุคลิกและคุณธรรมของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งทางตรงและทางอ้อม

ก่อนที่จะเปิดฉากโจมตี และกล่าวหาอีกฝ่ายหนึ่ง เราน่าจะพิจารณาดูสภาวจิตและสถานการณ์ของตนเองก่อนนิสัยที่ชอบกล่าวโทษ ทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง และดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น เป็นลักษณะของมานะ พระไตรปิฎกอธิบายมานะด้วยภาพของคนที่โกรธแล้ว เอามือหยิบสิ่งปฏิกูลขึ้นมาเพื่อขว้างใส่ศัตรู บุคคลผู้นี้ทำให้ตัวเองสกปรก ก่อนที่จะทำร้ายศัตรู ดังนั้น หากมีสิ่งที่เราเห็นไม่ตรงกัน ขอให้เราพยายามรักษาความอดทนและให้อภัยกัน ด้วยความมีนํ้าใจต่อกัน


 :25: :25: :25: :25:

ลองนึกภาพของคนที่กำลังเดินทางโลกและเหนื่อยล้าในระหว่างทางที่ร้อนระอุ เขาได้มาถึงต้นไม้ใหญ่ข้างทาง ที่มีใบดกทึบร่มเย็น เขาย่อมดีใจและนอนลงที่โคนต้นไม้นั้นเพื่อหลับเอาแรง หากคนเดินทางผู้นั้นตัดต้นไม้ทิ้งก่อนที่จะออกเดินทางต่อไป นี้คือ สิ่งที่พระไตรปิฎกเรียกว่าความอกตัญญูบุคคลเช่นนี้ไม่เข้าใจความเมตตากรุณาที่มิตรแสดงแก่ตนเลย

เรามีหน้าที่ไม่เพียงแต่พยายามไม่โค่นล้มทำร้ายผู้มีพระคุณของเราเท่านั้น จริงอยู่บางครั้งเราไม่มีวันที่จะทดแทนบุญคุณของผู้มีพระคุณได้หมดสิ้น แต่เราก็อาจนับได้ว่าเป็นคนดี หากเราเพียงสามารถจดจำคุณความดีของท่านเหล่านั้นได้หากเราสามารถทดแทนหนี้บุญคุณนั้นได้ เราก็ควรทำเสีย ไม่สำคัญเลยว่าผู้มีพระคุณของเรานั้นจะมีคุณธรรมสูงกว่าเราหรือเป็นคนพาล หรือมีคุณธรรมเท่าเทียมกับเรา สิ่งสำคัญก็คือท่านผู้นั้นเป็นผู้มีพระคุณต่อเราหากได้เคยช่วยเหลือเรามาในอดีต

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีชายคนหนึ่งทำงานอย่างหนักเพื่อดูแลแม่ของเขา บังเอิญว่าแม่ของเขาเป็นนางคณิกาและพยายามปิดบังความจริงจากเขา แต่ในที่สุด เสียงซุบซิบนินทาก็เปิดเผยความจริงแก่เขา
    เขาตอบว่า
    “เพื่อนเอ๋ย จะไปไหนก็ไปเถิด ตราบใดที่แม่ของผมมีความสุข ไม่ว่าท่านจะเลือกทำอะไร หน้าที่ของผมมีเพียงทำงานเพื่อเลี้ยงดูท่าน”


 st12 st12 st12 st12

ชายผู้นี้เป็นคนฉลาด เขาเข้าใจขอบเขตความรับผิดชอบของตนเอง ซึ่งก็คือ การทดแทนพระคุณของแม่ ผู้ซึ่งได้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูเขามา นอกเหนือจากนี้แล้ว เขาถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของมารดาของเขาทั้งสิ้น

     ชายผู้นี้เป็นบุคคลหนึ่งในสองประเภทที่หาได้ยากและมีค่ามากในโลก
     บุคคลประเภทแรกที่หาได้ยากและมีคุณค่ามากก็คือ ผู้ที่ทำคุณแก่ผู้อื่น เป็นคนที่มีจิตใจกว้างขวางและเมตตาให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นด้วยคุณธรรมอันประเสริฐ พระพุทธองค์เป็นหนึ่งในบุคคลเหล่านี้ ทรงไม่ลดละความเพียรที่จะช่วยสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากความทุกข์ในสังสารวัฏ เราทุกคนสมควรน้อมระลึกถึงพระพุทธคุณด้วยจิตกตัญญู และอาจระลึกว่า การหมั่นปฏิบัติธรรมเป็นการทดแทนคุณของพระองค์อย่างหนึ่งด้วย
     บุคคลที่หาได้ยากและมีคุณค่ายิ่งประเภทที่สองที่มีกตัญญูกตเวทิตาธรรม ได้แก่ บุคคลที่ระลึกถึงคุณของผูอื้่น และพยายามที่จะทดแทนคุณนั้นในยามที่เหมาะสม
     อาตมาหวังว่าผู้ปฏิบัติจะเป็น บุคคลที่หายากและมีคุณค่าทั้งสองจำพวก และจะไม่ยอมแพ้แก่กองทัพที่แปดของมาร


    ยังมีต่อ...
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ว่าด้วยขันธมาร

       [๓๗๗] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ มารเป็นไฉนหนอ.?

       พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
       ดูกรราธะ รูปเป็นมาร เวทนาเป็นมาร สัญญาเป็นมารสังขารเป็นมาร วิญญาณเป็นมาร
       ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น.
       ครั้นหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว.
       รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


        จบ สูตรที่ ๑.


อ้างอิง :-
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๔๕๖๗-๔๕๗๗. หน้าที่ ๑๙๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=4567&Z=4577&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=377






สมิทธิสูตรที่ ๑

       [๗๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
       ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า จึงเป็นมารหรือการบัญญัติว่ามาร

       พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
       ดูกรสมิทธิ จักษุ รูปจักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น
       หู เสียง โสตวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณมีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น
       จมูก กลิ่น ฆานวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น
       ลิ้น รส ชิวหาวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณมีอยู่ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น
       กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น
       ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณมีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น ฯ


      ask1 ans1 ask1 ans1

        [๗๒] ดูกรสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มี ณ ที่นั้น ฯลฯ
        ใจธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มี ณ ที่นั้น ฯ


         จบสูตรที่ ๓


อ้างอิง :-
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  บรรทัดที่ ๘๔๕-๘๖๔. หน้าที่ ๓๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=845&Z=864&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=71
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 28, 2015, 12:13:20 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มารไม่มี บารมีไม่เกิด
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2015, 05:20:18 pm »
0
 st12
             ขออนุโมทนาสาธุ ธรรมกับทุกท่าน  ที่ออกมาช่วยงานครูบาอาจารย์กันในช่วงนี้ ครับ


           
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

nirvanar55

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 305
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มารไม่มี บารมีไม่เกิด
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2015, 09:43:38 am »
0
 st11 st12 st12 thk56
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


กองทัพที่ ๙  ลาภ สรรเสริญ สักการะ และยศ ที่ได้มาผิดๆ

กองทัพที่เก้าของมารได้แก่ ลาภ สรรเสริญ สักการะยศ และคำเยินยอที่เกินกว่าเหตุ เมื่อการปฏิบัติธรรมก้าวหน้าถึงระดับหนึ่ง บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ผู้ปฏิบัติจะดูเป็นที่น่าเคารพและน่าศรัทธา ผู้ปฏิบัติอาจเริ่มชักชวนผู้อื่นให้สนใจธรรมะ หรืออาจแสดงภูมิธรรมออกมาด้วยการสาธยายพระไตรปิฎกได้อย่างแจ่มแจ้ง ผู้คนอาจเกิดความศรัทธา อย่างแรงกล้าในตัวผู้ปฏิบัติ นำทรัพย์สินเงินทองมาให้และอาจมีการเล่าลือไปว่า ผู้ปฏิบัติเป็นพระอริยบุคคลสามารถแสดงธรรมได้ยอดเยี่ยม

ถึงตอนนี้ ผู้ปฏิบัติอาจตกเป็นเหยื่อของกองทัพที่เก้าของมารได้อย่างง่ายดาย ลาภสักการะที่ผู้มีศรัทธานำมามอบให้อาจทำให้หลงผิด ผู้ปฏิบัติอาจพยายามเรียกร้องลาภสักการะมากขึ้นและประณีตขึ้นกว่าเดิม โดยการพูดเลีย บเคียงเป็นนัยหรืออย่างเปิดเผย ผู้ปฏิบัติอาจสรุปว่า ตนเองสมควรได้รับลาภสักการะนี้ เพราะท่านดีและเหนือกว่าผูอื้่นจริงๆ ความมักใหญ่ใฝสู่งอาจเข้ามาแทนที่ความจริงใจที่จะช่วยเหลือ อบรมสั่งสอน หรือให้ปัญญาอัน เป็นผลจากการปฏิบัติของท่านแก่ผู้อื่น ผู็ปฏิบัติอาจคิดวา่ “ฉันแน่มาก ฉันเปน็ที่รู้จักของคนมากมาย จะมีใครที่ยิ่งใหญ่เท่าฉันหรือไม่หนอ ฉันจะให้ผู้ที่นับถือศรัทธาซื้อรถให้สักคันจะดีไหม”


 :96: :96: :96: :96: :96:

ทัพหน้าของกองทัพที่เก้าของมารก็คือ อามิสลาภอันได้แก่ ลาภสักการะที่ผู้มีความศรัทธามอบให้ ความเคารพนับถือของบุคคลเหล่านี้ เป็นทัพที่สองติดตามด้วยทัพที่สามคือความมีชื่อเสียง

กองทัพที่เก้าของมารมักจะจู่โจมผู้ปฏิบัติที่มีความก้าวหน้าในการเจริญกรรมฐาน แต่ก็ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องมีฝูงชนมาศรัทธานับถือเสียก่อน ความปรารถนาในลาภสักการะก็อาจทำร้ายผู้ปฏิบัติทั่วๆไปได้ในสภาวะของความอยากได้กุฏิที่ใหญ่ขึ้น หรือเครื่องนุ่งห่มใหม่ๆ ในระหว่างการปฏิบัติผู้ปฏิบัติอาจรู้สึกภูมิใจในผลการปฏิบัติของตนเอง และอยากให้ตนเป็นที่ยอมรับในฐานะผู้ปฏิบัติชั้นยอด บุคคลที่การปฏิบัติยังไม่ลุ่มลึกมากนัก มักจะตกเป็นเหยื่อของความหลงในประสบการณ์หรือความสำเร็จของตนเองได้ง่าย ผู้ปฏิบัติที่ได้รับประสบการณ์ที่ดี ๑-๒ ครั้งแต่ไม่ลึกซึ้งมากนัก อาจมีความมั่นใจในตนเองมากเกินไปจนอยากก้าวเข้าสู่วงการธรรมะและสั่งสอนผู้อื่นเพื่อจะได้เป็นที่นิยมยกย่อง บุคคลประเภทนี้จะสอนแต่วิปัสสนาเทียมซึ่งไม่สอดคล้องกับพระธรรมวินัยเพราะไม่มีประสบการณ์ที่ลึกซึ้งมารองรับ เขาอาจถึงขั้นทำร้ายการปฏิบัติของลูกศิษย์ด้วย





ความจริงใจ

เพื่อสยบกองทัพที่เก้าของมาร ความเพียรในการเจริญกรรมฐานของผู้ปฏิบัติจะต้องตั้งอยู่บนความจริงใจ หากผู้ป ฏิบัติปฏิบัติเพียงพอเพื่อให้ได้มาซึ่ง ลาภ สักการะ หรือชื่อเสียง ก็จะไม่ก้าวหน้า การหมั่นตรวจสอบแรงจูงใจในการปฏิบัติของตนเองจะช่วยได้มาก หากเริ่มปฏิบัติด้วยความจริงใจแต่แล้วกลับพ่ายแพ้ต่อความโลภในลาภสักการะ ผู้ปฏิบัติก็จะกลายเป็นคนหลงมัวเมาที่ประกอบด้วยความประมาท กล่าวกันว่าบุคคลที่ถูกครอบงำด้วยความมัวเมา และความประมาทจะมีชีวิตหาความสงบไม่ได้ เขาจะต้องเผชิญกับความทุกข์มากมายด้วยความพึงพอใจกับผลประโยชน์ที่ได้มาอย่างไร้คุณค่า บุคคลประเภทนี้มักหลงลืมเป้าหมายของการเจริญวิปัสสนา ทำแต่สิ่งที่เป็นโทษและไม่อาจสร้างกุศลให้เกิดขึ้นได้ ในที่สุดการปฏิบัติของเขาย่อมเสื่อมถอยลง

แต่ในทางตรงข้าม หากผู้ปฏิบัติเชื่อว่าที่สุดของทุกข์มีอยู่ และสามารถทำให้ถึงความสิ้นทุกข์ได้ด้วยการปฏิบัติธรรม นี่คือแรงบันดาลใจในการปฏิบัติที่แท้จริงซึ่งจะป้องกันไม่ให้ผู้ปฏิบัติตกเป็นทาสของลาภสักการะและชื่อเสียง คำว่า “ชีวิต” หมายถึงการได้อัตภาพความเป็นไปในโลก สำหรับมนุษย์ชีวิตเป็นกระบวนการที่เริ่มจากการเกิดที่ทุกข์ทรมาน และมีความตายรออยู่ที่ปลายทาง ในระหว่างเหตุการณ์ทั้งสองนี้เราก็จะพบกับความเจ็บป่วย อุบัติเหตุ ทุกขเวทนา ที่มากับความชรานอกจากนี้ยังมีความผิดหวัง ความสลดหดหู่ ความสูญเสีย การที่ต้องข้องแวะกับบุคคลหรือสิ่งที่ไม่ชอบใจ และความทุกข์ใจอีกนานัปการ


 :91: :91: :91: :91:

เพื่อให้หลุดพ้นจากความทุกข์เหล่านี้ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นหนทางเดียวที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ คือ พระนิพพาน พวกเราบางคนเข้าอบรมกรรมฐานทิ้งภารกิจทางโลกไว้เบื้องหลัง เช่นธุรกิจ การงานการศึกษา หน้าที่ทางสังคมและการแสวงหาความสุข เพราะเรามีความเชื่อว่าการปฏิบัติสามารถทำให้ทุกข์สิ้นไปได้ ความจริงเราอาจพิจารณาว่าทุกๆ ที่ที่เราพยายามกำจัดกิเลสให้สิ้นไปนั้น เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม เมื่อเราเข้าไปสู่สถานที่ดังกล่าวแล้ว ถึงแม้ว่าอาจเป็นเพียงมุมๆ หนึ่งของห้องนั่งเล่นที่จัดไว้ สำหรับการเจริญวิปัสสนา เราก็ได้ชื่อว่าเป็น “บรรพชิต” ในภาษาบาลี ซึ่งหมายถึง “ผู้สละโลกเพื่อกำจัดกิเลส”

เราจะกำจัดกิเลสไปทำไม กิเลสมีพลังมหาศาลที่จะกดดันจิตใจของผู้ที่ไม่อาจเป็นอิสระจากมันได้ กิเลสเปรียบเหมือนไฟที่แผดเผาบุคคลให้ทุกข์ทรมานและทุรนทุราย เมื่อกิเลสเกิดขึ้นในบุคคลใด มันจะแผดเผาคนๆ นั้นทำให้เหนื่อยล้า บีบคั้น และทรมานใจ เมื่อพูดถึงกิเลสแล้ว หาอะไรดีไม่ได้เลย





กิเลสทั้งสามประเภท

กิเลสมีอยู่ ๓ ประเภท คือ กิเลสอย่างหยาบ กิเลสอย่างกลาง และกิเลสอย่างละเอียดหรืออนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องมาในขันธสันดาน

      กิเลสอย่างหยาบทำให้บุคคลผิดศีล กระทำกายทุจริตและวจีทุจริตต่างๆ เช่น การฆ่าสัตว์ ลักขโมย ประพฤติผิดในกาม พูดปด และเสพสิ่งมึนเมา

      กิเลสประเภทที่สอง กิเลสอย่างกลาง มีลักษณะลุ่มลึกกว่า บางคนอาจไม่แสดงความทุจริตทางกายวาจา แต่จิตใจอาจถูกครอบงำด้วยความโลภ ความมุ่งร้าย ปรารถนาที่จะทำลายชีวิตอื่นๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ความคิดหมกมุ่นนี้อาจครอบงำจิตใจให้ขโมยทรัพย์สิน หลอกลวงผู้อื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ หากผู้ปฏิบัติเคยมีความคิดเช่นนี้ก็จะรู้ว่า เป็นสภาวะที่เป็นทุกข์มาก บุคคลที่ไม่สามารถควบคุมกิเลสประเภทนี้ได้ ย่อมทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

      อนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานจะไม่ปรากฏออกมาให้เห็น แต่จะซ่อนเร้นอยู่เพื่อรอโอกาสเหมาะสมที่จะทำร้ายจิตใจที่อ่อนแอ อนุสัยกิเลสอาจเปรียบได้กับคนที่กำลังนอนหลับสนิท เมื่อเขาตื่นขึ้น จิตใจก็จะเริ่มกระเพื่อมสั่นไหวเปรียบได้กับกิเลสอย่างกลาง เมื่อบุคคลผู้นั้นลุกขึ้นและเริ่มปฏิบัติภารกิจประจำวันก็จะเปรียบได้กับการเปลี่ยนแปลงจากกิเลสอย่างกลางไปสู่กิเลสอย่างหยาบ

      กิเลสทั้งสามระดับนี้ อาจเทียบได้กับก้านไม้ขีด หัวไม้ขีดที่ทำด้วยฟอสฟอรัส เปรียบเหมือนอนุสัยกิเลส
      เปลวไฟที่เกิดจากการขีดหัวไม้ขีดไฟ เป็นกิเลสอย่างกลาง
      ส่วนไฟป่าที่เกิดจากการจุดไฟจากไม้ขีดนั้นโดยขาดความระมัดระวังก็คือ กิเลสอย่างหยาบ




      การดับไฟของกิเลส

      ผู้ปฏิบัติที่ยึดมั่นในศีล สมาธิ ปัญญา อย่างจริงจัง จะสามารถเอาชนะกิเลสทั้งสามประเภทนี้ได้
        ศีลยับยั้งกิเลสอย่างหยาบ
         สมาธิสะกดกลั้นกิเลสอย่างกลาง และ
          ปัญญาขุดรากถอนโคนอนุสัยกิเลส ซึ่งเป็นสาเหตุของกิเลสสองประเภทแรก
      เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ ผู้ปฏิบัติก็จะได้รับความสุขแบบที่ไม่เคยได้รับมาก่อน

      เมื่อรักษาศีล กามสุขจะถูกทดแทนด้วยความสุขที่ได้จากการรักษากายและวาจาให้บริสุทธิ์ เมื่อไม่มีกิเลสอย่างหยาบ ผู้รักษาศีลย่อมมีชีวิตที่บริสุทธิ์สะอาด และมีความสุขตามอัตภาพ เรารักษาศีลด้วยการปฏิบัติตามศีลห้าประการดังได้กล่าวแล้วในบทที่หนึ่ง และด้วยการเจริญมรรคมีองค์แปดในหมวดศีล อันได้แก่ การประพฤติชอบ การกล่าววาจาชอบ และการหาเลี้ยงชีวิตชอบ องค์ธรรมทั้งหมดนี้ มีรากฐานอยู่บนการไม่ทำร้ายผู้อื่นหรือตนเองทั้งสิ้น


       :25: :25: :25: :25:

      ผู้ปฏิบัติอาจสงสัยว่าความประพฤติที่บริสุทธิ์อย่างแท้จริงจะมีอยู่ในโลกจริงหรือ ขอให้นอนใจได้เลยว่ามีอยู่จริงอย่างไรก็ตาม การรักษาศีลให้บริสุทธิ์เมื่ออยู่ในระหว่างการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอาจจะง่ายกว่า เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่วุ่นวายและสิ่งยั่วยวนมีน้อย เรื่องนี้จะยิ่งเห็นชัดมากขึ้น เมื่อผู้ปฏิบัติตั้งใจรักษาศีลที่เข้มงวดกว่า ศีลห้า หรือในกรณีที่ผู้ปฏิบัติเป็นพระสงฆ์หรือแม่ชีที่ต้องรักษาศีลหลายข้อ ในระหว่างการอบรมกรรมฐานผู้ปฏิบัติมีโอกาสประสบความสำเร็จสูงมาก ในการพากเพียรรักษาศีลให้ยิ่งๆขึ้นไป

      ความประพฤติที่บริสุทธิ์เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น หากผู้ปฏิบัติประสงค์ที่จะปลดเปลื้องกิเลสในระดับที่ละเอียดขึ้น ก็จำเป็นต้องเจริญกรรมฐาน เราสามารถทำลายกิเลสอย่างกลางได้ด้วยสมาธิหรือการเจริญมรรคมีองค์แปดในหมวดสมาธิซึ่งประกอบด้วย ความเพียรชอบ การระลึกรู้ชอบ และสมาธิชอบ ผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องพยายามอย่างต่อเนื่องและไม่ท้อถอยในการกำหนดและเฝ้าดูอารมณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะโดยไม่วอกแวก ความพยายามแบบนี้ยากที่จะรักษาไว้ได้ในชีวิตประจำวัน


        st12 st12 st12 st12

       ด้วยความเพียรพยายามรักษาสติ และสมาธิอย่างต่อเนื่องทุกๆขณะ กิเลสอย่างกลางจะถูกจำกัดให้อยู่ห่างจากจิต จิตสามารถกำหนดรู้อารมณ์โดยไม่ฟุ้งซ่าน กิเลสไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้น นอกจากจะมีการเผลอเรอเป็นครั้งคราวในระหว่างการปฏิบัติ
        การหลุดพ้นจากกิเลสเหล่านี้ทำให้จิตบรรลุถึงสภาวะที่เรียกว่า “อุปสมสุข” อันได้แก่ ความสุขที่สงบเยือกเย็นเนื่องจากหลุดพ้นจากกิเลสที่บีบคั้นจิตใจจิตจะเป็นอิสระจากราคะ ความโลภ ความโกรธและความกระสับกระส่ายต่างๆ เมื่อบุคคลได้รู้จักกับความสุขนี้แล้ว ก็จะพบว่า เป็นความสุขที่เหนือชั้นกว่ากามสุข และเห็นว่าการสละความสุขทางผัสสะ เพื่อบรรลุถึงความสุขเช่นนี้เป็นสิ่งที่คุ้มค่า

       เนื่องจากยังมีความสุขที่เหนือชั้นกว่าอุปสมสุข ผู้ปฏิบัติจึงยังไม่ควรนิ่งนอนใจ หากพยายามต่อไป ผู้ปฏิบัติจะสามารถเจริญปัญญาให้เกิดขึ้น เมื่อปัญญาเกิด ผู้ปฏิบัติจะสามารถละอนุสัยกิเลสได้เป็นการชั่วคราว หรืออาจเป็นการถาวรก็ได้ เมื่อสติเจริญขึ้นพร้อมๆ กับองค์ธรรมอื่นๆ เช่น วิริยะและสมาธิ ผู้ปฏิบัติจะเริ่มเข้าใจได้เองถึงสภาวะที่แท้จริงของรูปและนาม มรรคในหมวดของปัญญาอันได้แก่ ความเห็นชอบและความดำริชอบ ก็จะเจริญขึ้น ในขณะที่ญาณทัสสนะพัฒนาขึ้นไปตามลำดับ ทุกๆครั้งที่ญาณทัสสนะเกิดขึ้น อนุสัยกิเลสก็จะถูกทำลายไป เมื่อญาณก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆจนถึงมรรคญาณ ผู้ปฏิบัติก็จะสามารถทำลายอนุสัยกิเลสบางอย่างได้อย่างถาวร

       ans1 ans1 ans1 ans1

      ดังนั้น การปฏิบัติที่ลุ่มลึก จะทำให้ความทุกข์ที่เกิดจากกิเลสค่อยๆลดลง จนอาจหมดสิ้นไปได้ในที่สุด

      ในสภาวะเช่นนี้ ลาภและสักการะ ตลอดจนชื่อเสียงจะตามมาเองโดยธรรมชาติ แต่เราก็ไม่ยึดติดอยู่กับสิ่งเหล่านั้น โลกธรรมเหล่านี้เป็นเหมือนสิ่งไร้สาระ เมื่อเทียบกับมรรคผลและความทุ่มเทต่อการปฏิบัติธรรม ด้วยความจริงใจในการปฏิบัติธรรม ผู้ปฏิบัติย่อมไม่ละเลยที่จะเสริมสร้างพื้นฐานของจริยธรรมให้เข้มแข็งขึ้น ผู้ปฏิบัติจะใช้ลาภและความมีชื่อเสียงไปในทางที่ถูกที่ควรและมุ่งหน้าในการปฏิบัติยิ่งๆ ขึ้นไป

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 29, 2015, 10:20:19 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: มารไม่มี บารมีไม่เกิด
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2015, 10:27:46 pm »
0



กองทัพที่ ๑๐ การยกตนข่มผู้อื่น

เราทุกคนย่อมรู้จักความทุกข์ไม่มากก็น้อย ความทุกข์อยู่กับเราในขณะที่เกิด ในขณะที่ดำรงชีวิต และในขณะที่ตายประสบการณ์ที่เจ็บปวดในชีวิต มักทำให้เราอยากเอาชนะความทุกข์เพื่อบรรลุถึงความหลุดพ้นและสันติสุข และอาจเป็นเพราะความปรารถนานี้ ตลอดจนศรัทธา หรือความเชื่อมั่นนี้เองที่ทำให้ท่านอ่านหนังสือเล่มนีั

ในครรลองของการปฏิบัติธรรม เป้าหมายเบื้องต้นดังกล่าวอาจถูกบ่อนทำลายด้วยผลข้างเคียงบางอย่างของการปฏิบัติ ดังได้กล่าวมาข้างต้นถึงการที่ลาภสักการะและความมีชื่อเสียงอาจกลายเป็นอุปสรรคของการหลุดพ้น ในทำนองเดียวกันการยกตนข่มท่านซึ่งสืบเนื่องจากลาภสักการะข้างต้นก็เป็นกองทัพที่สิบของมาร ซึ่งนักปฏิบัติวิปัส สนาผู้เชี่ยวชาญจะต้องเผชิญ


 :25: :25: :25: :25:

การยกตนอาจเกิดขึ้นเมื่อผู้ปฏิบัติได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการเจริญวิปัสสนาภาวนาในระดับหนึ่งแลว้ รู้สึกว่า ตนมีภูมิธรรมแก่กล้า จนเริ่มลำพอง เหลียวมองไปรอบกายแล้วรำพึงกับตนเองว่า “ดูคนนั้นสิ ไม่รักษาศีล ไม่น่าเคารพเท่าฉัน ไม่บริสุทธิ์เท่าฉัน” หากเป็นเช่นนี้ เท่ากับว่าผู้ปฏิบัติได้ตกเป็นเหยื่อของกองทัพที่สิบของมารเสียแล้ว กองทัพสุดท้ายนี้เป็นกองทัพที่น่าสะพรึงกลัวที่สุด

ในสมัยพุทธกาลก็ยังมีบุคคลผู้หนึ่ง คือ พระเทวทัตที่พยายามปลงพระชนม์พระพุทธองค์เนื่องจากตกเป็นทาสของกองทัพสุดท้ายนี้พระ เทวทัตเกิดความลำพองในอภิญญาและความสำเร็จในการเจริญสมาธิตลอดจนสถานะของตนในฐานะพุทธสาวก เมื่อความคิดที่จะล้มล้างพระพุทธองค์บังเกิดขึ้น พระเทวทัตก็ขาดสติ และไม่สามารถป้องกันตนเองจากความคิดอันตํ่าช้านี้ได้เลย




สาระของชีวิตพรหมจรรย์

บุคคลย่อมยินดีในความบริสุทธิ์ของตนได้โดยไม่จำต้องดูหมิ่นผู้อื่นและยกตนเองให้ยิ่งใหญ่ อุปมาเหมือนไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นเป็นส่วนที่มีค่ามากที่สุด เปรียบได้กับชีวิตอันประเสริฐของพระอริยบุคคล ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ อันเป็นชีวิตที่เพียบพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา

หากนำต้นไม้มาตัดทางขวางก็จะเห็นว่า ลำต้นของต้นไม้นี้ประกอบด้วยแก่น เนื้อไม้ เปลือกชั้นในและเปลือกชั้นนอก นอกจากนี้ต้นไม้ยังมีกิ่งก้านและดอกผลด้วย


 st12 st12 st12 st12

ชีวิตของพระอริยบุคคลประกอบด้วยศีล สมาธิและปัญญา เป็นชีวิตที่บรรลุ มรรค ผล และนิพพาน นอกจากนี้ยังมีอภิญญาอื่นๆ ซึ่งรวมถึงพลังจิตที่เกิดจากวิปัสสนาญาณซึ่งสามารถหยั่งรู้สภาวะรูปนามตามความเป็นจริงแล้ว ก็ยังมีลาภสักการะ และชื่อเสียงที่มาพร้อมกับการปฏิบัติธรรม

คนตัดไม้อาจเข้าไปในป่าเพื่อเลือกหาแก่นไม้เพื่อใช้ในงานสำคัญบางอย่าง เมื่อได้พบต้นไม้ใหญ่ที่สวยงาม เขาตัดเอากิ่งออกหมดแล้วนำกิ่งไม้กลับไปบ้านเพียงเพื่อที่จะพบว่า กิ่งก้านและใบไม้เหล่านี้ไม่มีประโยชน์อะไรเลย นี่เปรียบเหมือนกับบุคคลที่พึงพอใจอยู่กับลาภสักการะเท่านั้น

บุคคลที่ลอกเอาเปลือกไม้ออก เปรียบเหมือนผู้ปฏิบัติที่พอใจกับความบริสุทธิ์ของศีลเท่านั้น แต่ยังขาดการพัฒนาจิตใจให้ลึกซึ้งขึ้นไปอีก



อีกบุคคลหนึ่ง อาจฉลาดหลักแหลมกว่าบุคคลสองประเภทแรก และตระหนักว่า ศีลยังมิใช่ที่สุดของพรหมจรรย์ยังมีการพัฒนาทางจิตอย่างอื่นอีก เขาอาจตั้งใจเจริญสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่งและมุ่งปฏิบัติอย่างหนัก เมื่อจิตรวมเป็นหนึ่งเขาก็รู้สึกเป็นสุขมาก เพราะจิตมีความสงบนิ่ง พอใจ เปี่ยมด้วยปีติและความสุข บุคคลผู้นี้อาจบรรลุฌานหรือความสงบขั้นสูงเขาอาจคิดว่า “ฉันรู้สึกดีจริงๆ แต่คนข้างๆ ฉันสิ ก็ยังไม่สงบเหมือนเดิม” เขาอาจคิดว่าตนได้ค้นพบแก่นแท้ของการเจริญวิปัสสนาและชีวิตพรหมจรรย์แล้ว แต่ในทาตรงข้าม เขากำลังถูกกองทัพที่สิบของมารเล่นงานอยู่ นี้เปรียบเหมือนคนตัดไมที้่พึงพอใจกับเปลือกไม้ชั้นในแต่ยังมองไม่เห็นแก่นของมันจริงๆ

ผู้ปฏิบัติบางคนอาจมีความทะเยอทะยานสูงกวา่ และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาพลังจิตหรืออภิญญาให้ยิ่งขึ้นไปอีกในที่สุดเขาอาจประสบความสำเร็จแล้ว เกิดความภาคภูมิใจมากที่พบว่า ความสามารถใหม่นี้เป็นสิ่งที่สนุกตื่นเต้นกว่า และอาจมีความคิดแล่นเข้ามาอีกว่า “เยี่ยมจริงๆ สิ่งนี้คงเป็นแก่นของธรรมะอย่างแน่แท้ และก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะทำได้ขนาดนี้ด้วย ผู้หญิงที่นั่งอยู่ตรงนั้นยังมองไม่เห็นเลยว่ามีเทพและสัตว์นรกอยู่ใกล้ๆนี่เอง” หากผู้ปฏิบัติผูนี้ไม่พยายามเอาชนะกองทัพที่สิบของมารเขาจะเกิดความงมงายและละทิ้งการพัฒนาจิต ซึ่งจะทำให้ชีวิตของเขาต้องตกอยู่ในความทุกข์ทรมานอย่างใหญ่หลวง


 :96: :96: :96: :96: :96:

พลังจิตหรืออภิญญามิได้ทำให้ผู้ใดหลุดพ้นจากทุกข์อย่างแท้จริง ในปัจจุบันคนจำนวนมากชื่นชมคนที่มีพลังจิตเหนือกว่ามนุษย์ธรรมดา การแสดงพลังจิตเล็กๆน้อยๆอาจสามารถดึงดูดความศรัทธาจากประชาชนได้มาก แม้ในสมัยพุทธกาลก็เช่นกัน มีชายคนหนึ่งกราบทูลให้พระพุทธองค์เผยแพร่พระพุทธศาสนาด้วยการแสดงปาฏิหาริย์ เขาได้ขอให้พระพุทธองค์ส่งพระสงฆ์สาวกทุกรูปที่มีอภิญญาออกไปแสดงปาฏิหาริย์ให้ประชาชนดู “ผู้คนก็จะประทับใจมาก” ชายผู้นั้นกล่าว “พระองค์จะได้สาวกเพิ่มขึ้นมากด้วยวิธีนี้”

พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธ ชายผู้นั้นทูลขอถึงสามครั้งและพระพุทธองค์ก็ทรงปฏิเสธทั้งสามครั้ง ในที่สุดพระพุทธองค์ตรัสวา่ “ดูก่อนท่านผู้เจริญปาฏิหาริย์มีอยู่สามประเภทด้วยกัน คือ
     หนึ่ง อิทธิปาฏิหาริย์ ความสามารถในการเหาะเหินเดินอากาศดำดิน และการแสดงฤทธิ์เหนือมนุษย์อื่นๆ
     สอง อาเทสนาปาฏิหาริย์ ความสามารถในการอ่านจิตผู้อื่น ซึ่งสามารถบอกได้ว่า “เมื่อวันนั้น วันนี้ ท่านมีความคิดอย่างนี้และได้ออกไปทำอย่างนั้นอย่างนี้” ผู้คนคงจะประทับใจมากกับสิ่งเหล่านี้
     แต่ยังมีปาฏิหาริย์ข้อสาม คือ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ความสามารถในการบอกกล่าวแก่ผู้หนึ่งกว่า
     “พฤติกรรมอย่างนั้นอย่างนี้ที่ไม่ดี ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นหนทางแห่งความเจริญ ไม่เป็นประโยชน์สุขแก่ตนเองหรือผู้อื่น ควรละทิ้งการกระทำเหล่านั้นเสีย แล้วปฏิบัติในหนทางที่จะก่อให้เกิดกุศล ท่านควรที่จะเจริญกรรมฐานดังที่จะสอนให้ท่าน ณ บัดนี้”
     ความสามารถแนะนำสั่งสอนให้ผู้อื่นให้เข้าสู่หนทางที่ถูกต้องนี้แหละ เป็นปาฏิหาริย์ที่สำคัญที่สุด



“ท่านผู้เจริญ หากแสดงปาฏิหาริย์ ๒ ประการแรกแก่ผู้ที่มีศรัทธาในวิปัสสนา ก็จะไม่ทำลายความศรัทธานั้น แต่ยังมีบุคคลที่ขาดศรัทธา เขาเหล่านั้นอาจกล่าว “โธ่เอ๋ย ไม่เห็นมีอะไรเลย ฉันเคยเห็นศาสนาอื่น นิกายอื่น เขาก็ทำแบบนี้ได้ โดยการร่ายมนต์และวิธีการปฏิบัติที่พิสดารอื่นๆ” ผู้คนจำพวกนี้แหละที่จะไม่เข้าใจคำสอนของตถาคต”

     “ปาฏิหาริย์แบบที่สาม กล่าวคือ ความสามารถในการสั่งสอนผู้อื่นนี้แหละนับว่าเลิศ
      ดูก่อนท่านผู้เจริญ เมื่อมีผู้กล่าวว่า
      “นี่เป็นสิ่งไม่ดี ไม่ควรทำ ท่านควรรักษา กาย วาจา ให้เหมาะสม นี่เป็นวิธีชำระล้างกิเลสออกจากจิตใจของท่าน นี่คือวิธีเจริญวิปัสสนา นี่คือวิธีบรรลุถึงซึ่งความสุขแห่งพระนิพพานซึ่งทำให้พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง” นี่แหละท่านผู้เจริญ คือ ปาฏิหาริย์ที่เลิศที่สุด”


 :25: :25: :25: :25:

อย่างไรก็ตาม หากผู้ปฏิบัติสนใจเรื่องอภิญญาหรือปาฏิหาริย์ พึงพากเพียรเอาเองเถิด แม้ปาฏิหาริย์จะไม่ขัดการเจริญวิปัสสนา แต่ก็มิใช่สิ่งสำคัญ ไม่มีใครห้าม และหากประสบความสำเร็จก็เป็นสิ่งที่ไม่มีใครดูถูกเหยียดหยามได้ แต่พึงอย่าเข้าใจว่า นั่นเป็นสาระสำคัญของการปฏิบัติ บุคคลที่ได้อภิญญาแล้วคิดว่าตนเองได้บรรลุถึงที่สุดของการปฏิบัติธรรมแล้วได้ชื่อว่าหลงผิด เปรียบเหมือนผู้ที่แสวงหาแก่นไม้แต่กลับพอใจกับเนื้อไม้รอบนอกเท่านั้น เมื่อนำมันกลับมาบ้าน เขาก็จะพบว่าสิ่งที่ได้นั้นไมมี่ประโยชน์ ดังนั้น เมื่อผู้ปฏิบัติได้อภิญญาแล้ว พึงพยายามปฏิบัติให้ได้วิปัสสนาญาณขั้นสูงขึ้นตามลำดับ จนได้บรรลุมรรคผลและอรหัตตผลในที่สุด

เมื่อสติและสมาธิเจริญขึ้น วิปัสสนาญาณที่หยั่งรู้สภาวะความเป็นจริงของรูปนามในระดับต่างๆ จะบังเกิดขึ้น นี้ก็เป็นปาฏิหาริย์รูปแบบหนึ่งเช่นกัน แต่ยังมิใช่ที่สุดของพรหมจรรย์

ผู้ปฏิบัติอาจบรรลุถึงโสดาปัตติผล เป็นผู้ถึงกระแสอันเป็นการบรรลุธรรมขั้นแรก การได้ประจักษ์หนทางเข้าสู่พระนิพพานเป็นครั้งแรกจะสามารถทำลายกิเลสบางประเภทได้อย่างถาวร การปฏิบัติจนบรรลุผลญาณนั้น เมื่อผลญาณปรากฏ จิตจะเสวยสันติสุขแห่งพระนิพพาน กล่าวกันว่า การหลุดพ้นนี้ไม่ถูกจำกัดด้วยกาลเวลา เมื่อผู้ปฏิบัติได้ลงมือพยายามปฏิบัติและได้พบกับพระนิพพานแล้ว ผู้ปฏิบัติก็อาจย้อนกลับมาสู่สภาวะนี้เมื่อไรก็ได้



อย่างไรก็ตาม ผลการปฏิบัติขั้นต้นนี้มิใช่เป้าหมายของพระพุทธองค์ที่ทรงมุ่งการตรัสรู้โดยสมบูรณ์ อันเป็นการหลุดพ้นของจิตจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง

เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงอุปมาเรื่องแก่นไม้จบลงแล้วตรัสว่า “สาระของคำสอนของตถาคตมิได้อยู่ที่ลาภสักการะ และความมีชื่อเสียง มิได้อยู่ที่ความบริสุทธิ์ของความประพฤติ มิได้อยู่ที่การบรรลุฌาน มิได้อยู่ที่ปาฏิหาริย์แต่อยู่ที่การหลุดพ้นแห่งจิตจากอาสวะทั้งปวง ซึ่งสามารถทำให้แจ้งได้ทุกเมื่อ”

อาตมาหวังว่าผู้ปฏิบัติจะรวบรวมความเข้มแข็งความเพียร และความกล้าหาญทั้งหมดเพื่อที่จะเผชิญและทำลายล้างกองทัพทั้งสิบของมารให้สิ้นไปอย่างไม่ปรานี เพื่อบรรลุถึงวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ ขอให้ผู้ปฏิบัติได้รู้แจ้งธรรมและบรรลุถึงโสดาปัตติผลในชาตินี้เป็นอย่างน้อย และหลังจากนั้นขอให้ผู้ปฏิบัติจงหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งหลายโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ อรหัตตผล ด้วยเทอญ




ที่มา : กองทัพทั้งสิบของมาร พระกัมมัฏฐานจริยะ อู บัณฑิตาภิวังสะ
ดาวน์โหลด pdf file ได้ที่
www.ebooks.in.th/ebook/15389/กองทัพทั้งสิบของมาร/
หรือคลิกที่ภาพ

ขอบคุณภาพจาก
http://ohonline.in.th/
http://www.ebooks.in.th/
http://topicstock.pantip.com/
http://images.slideplayer.in.th/
https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 29, 2015, 10:30:46 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
กระดองบรรพชิต
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: สิงหาคม 30, 2015, 11:13:25 am »
0


กระดองบรรพชิต
กุมมสูตร

     [๓๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีเต่าตัวหนึ่ง เที่ยวหากินอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่งในเวลาเย็น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งก็ได้เที่ยวหากินอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่งในเวลาเย็น เต่าได้แลเห็นสุนัขจิ้งจอกซึ่งเที่ยวหากินอยู่แต่ไกลแล้ว ก็หดอวัยวะ ๕ ทั้งหัว(หดขาทั้ง ๔ มีคอเป็นที่ ๕) เข้าอยู่ในกระดองของตนเสีย มีความขวนขวายน้อย นิ่งอยู่

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกก็ได้แลเห็นเต่าซึ่งเที่ยวหากินอยู่แต่ไกลแล้ว เข้าไปหาเต่าถึงที่แล้ว ได้ยืนอยู่ใกล้เต่าด้วยคิดว่า เวลาใดเต่าตัวนี้จักเหยียดคอหรือขาข้างใดข้างหนึ่งออกมา เวลานั้นเราจักงับมันฟาดแล้วกัดกินเสีย เวลาใด เต่าไม่เหยียดคอหรือขาข้างใดข้างหนึ่งออกมา เวลานั้น สุนัขจิ้งจอกก็หมดความอาลัย ไม่ได้โอกาส จึงหลีกไปจากเต่าฉันใด


      :25: :25: :25: :25:

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารผู้ใจบาปอันท่านทั้งหลายเข้าใกล้อยู่เสมอๆ แล้วก็คิดว่า บางทีเราจะพึงได้โอกาสทางจักษุ หู จมูก ลิ้น กายหรือใจ ของภิกษุเหล่านี้บ้าง
     เพราะฉันนั้นแล ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว อย่าถือนิมิต อย่าถืออนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น

     ชื่อว่า รักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ฟังเสียงด้วยหู...
     ดมกลิ่นด้วยจมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น...
     ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
     อย่าถือนิมิต อย่าถืออนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวลาใด ท่านทั้งหลายจักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ เวลานั้นมารผู้ใจบาปก็จักหมดความอาลัย ไม่ได้โอกาส หลีกจากท่านทั้งหลายไป ดุจสุนัขจิ้งจอกหมดความอาลัยหลีกจากเต่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ


      ans1 ans1 ans1 ans1

     [๓๒๑] ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นในมโนวิตก อันตัณหามานะและทิฐิไม่อิงอาศัย ไม่เบียดเบียนผู้อื่นดับกิเลสได้แล้ว ไม่ติเตียนผู้ใด ผู้หนึ่ง เหมือนเต่าหดคอและขาอยู่ในกระดองของตน ฉะนั้น ฯ

              จบสูตรที่ ๓


อ้างอิง :-
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๔๘๘๑-๔๙๐๗. หน้าที่ ๒๑๑-๒๑๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=4881&Z=4907&pagebreak=0




อรรถกถากุมมสูตรที่ ๓
 
             
      ในกุมมสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
      บทว่า กุมฺโม แปลว่า เต่ามีกระดอง.
      บทว่า กจฺฉโป นี้ เป็นไวพจน์แห่งบทว่า กุมฺโม นั่นแล.
      บทว่า อนุนทีตีเร แปลว่า ที่ริมฝั่งแห่งแม่น้ำ.

      บทว่า โคจรปสุโต ความว่า เต่าคิดว่า ถ้าเราจักได้ผลไม้น้อยใหญ่ก็จักกิน จึงขยันคือขวนขวาย สืบกันมาตามประเพณี.
      บทว่า สโมทหิตฺวา ได้แก่ เหมือนใส่เข้าในกล่อง.
      บทว่า สงฺกสายติ แปลว่า ย่อมปรารถนา.
      บทว่า สโมทหํ ได้แก่ ตั้งไว้ คือ วางไว้.

       ans1 ans1 ans1 ans1

      ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ว่า เต่าตั้งอวัยวะทั้งหลายไว้ในกระดองของตน ไม่ให้โอกาสแก่สุนัขจิ้งจอก และสุนัขจิ้งจอกก็ทำร้ายเต่าไม่ได้ฉันใด ภิกษุตั้งมโนวิตก (ความตรึกทางใจ) ของตนไว้ในกระดอง คืออารมณ์ของตน ไม่ให้โอกาสแก่กิเลสมาร มารก็ทำร้ายภิกษุนั้นไม่ได้ฉันนั้น.

      บทว่า อนิสฺสิโต ได้แก่ ผู้อันนิสสัย คือตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว.
      บทว่า อญฺญมเหฐยาโน ได้แก่ ไม่เบียดเบียนบุคคลไรๆ อื่น.
      บทว่า ปรินิพฺพุโต ได้แก่ ดับสนิท ด้วยการดับกิเลสได้สนิท.


       :25: :25: :25: :25:

      บทว่า น อุปวเทยฺย กญฺจิ ความว่า ไม่พึงว่าร้ายบุคคลไรๆ อื่น ด้วยศีลวิบัติหรือด้วยอาจารวิบัติ ด้วยประสงค์จะยกตน หรือด้วยประสงค์จะข่มผู้อื่น
      โดยที่แท้ ภิกษุตั้งธรรม ๕ เข้าไว้ในตน อยู่ด้วยทั้งจิตที่ตั้งอยู่ในสภาวะ อันยกขึ้นพูดอย่างนี้ว่า
      เราจะกล่าวตามกาล จะไม่กล่าวโดยมิใช่กาล
      กล่าวด้วยคำเป็นจริง ไม่กล่าวด้วยคำไม่เป็นจริง
      กล่าวด้วยคำอ่อนหวาน ไม่กล่าวด้วยคำหยาบ
      กล่าวด้วยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ ไม่กล่าวคำที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์.
      มีเมตตาจิต ไม่มากด้วยโทสจิตกล่าว.


               จบอรรถกถากุมมสูตรที่ ๓   
   


ที่มา อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ อาสีวิสวรรคที่ ๔ ๓. กุมมสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=320
ขอบคุณภาพจาก http://www.vcharkarn.com/u
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

mongkol

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 95
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มารไม่มี บารมีไม่เกิด
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: สิงหาคม 30, 2015, 11:26:03 am »
0
เรื่องยาวนะครับ ตอนนี้ เป็นตอนยาว อ่านมาอาทิตย์กว่าแล้ว

  บางครั้งมันยาวไป จนหลายคน ก็ไม่รู้ตัวว่า มารจัดการไปเรียบร้อยแล้ว

   :s_hi: :s_hi: :73:
 
บันทึกการเข้า

nithi

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 68
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มารไม่มี บารมีไม่เกิด
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: สิงหาคม 30, 2015, 11:35:05 am »
0
ศาสนาพุทธ จะมีข้อเสียตรงนี้ ( และร้ายแรงมาก )
  คือ ถูกเขาไม่เบียดเบียน ไม่ว่าอย่างไร ก็ไม่ควรจะโต้ตอบ ถึงแม้ตัวเองจะถูก ก็ต้องระงับอารมณ์ของกิเลสไม่ให้โกรธ ประทุษร้าย อาฆาต ประมาณนี้เลย

 ซึ่งการที่คนมีศีล ไปอยู่ กับคนที่ไม่มี ศีล พูดอย่างไงก็ตาม ไม่มีทางได้เปรียบ หรือ เสมอตัว หรอกครับ เป็นไปไม่ได้

 เขาโกงกินกันหมดทั้งแผนก คุณจะมาขาวสะอาดอยู่คนเดียว ไม่ได้หรอกครับ ตาย เท่านั้น หรือไม่ก็ต้องร่ำลาแผนกนั้นกันไป

    ดังนั้น ทางที่ดี ก็เป็น ลุกเต่หดหัว หดหาง หดตีน ไป เหล่าผู้ทุศีล ทั้งหลายจะได้ไม่ราวี แต่ก็มิใช่ เพราะบรรดาผู้รอเขมือบ เขามีวิธีรอนะครับ โผล่หัว โผล่ขา โผล่หางเมื่อไหร่ ตายเมื่อนั้น

    :49: thk56 st11 st12
บันทึกการเข้า
ขุมทรัพย์แห่ง ความหลุดพ้น ปรากฏอยู่ที่พระไตรปิฏก อ่านพระไตรปิฏก มาก ๆ
 ก็จะเข้าใจหลักธรรมในพระพุทธศาสนาได้ ของจริงต้องตาม พุทธวัจนะ

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มารไม่มี บารมีไม่เกิด
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: กันยายน 07, 2015, 11:53:15 am »
0
ขอให้ทุกท่าน ชนะ มาร ไปสู่ ประตูอมตะ คือ นิพพาน ด้วยกันทุกท่านทุกคน เทอญ
 st11 st12 st12 like1
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: มารไม่มี บารมีไม่เกิด
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: มีนาคม 14, 2017, 08:54:23 am »
0
 st11 st12 st12 st12

เนื้อหาสมบูรณ์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: มารไม่มี บารมีไม่เกิด
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: มีนาคม 14, 2017, 07:40:58 pm »
0
 :25: st11 st12
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มารไม่มี บารมีไม่เกิด
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: มีนาคม 16, 2017, 08:14:46 pm »
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มารไม่มี บารมีไม่เกิด
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: เมษายน 11, 2017, 09:27:22 am »
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ