สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: sompong ที่ พฤศจิกายน 12, 2010, 08:57:01 pm



หัวข้อ: คุณธรรม คืออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: sompong ที่ พฤศจิกายน 12, 2010, 08:57:01 pm
คุณธรรม คืออะไร
(http://2.bp.blogspot.com/_eNCTDyTTeo4/R16LMiA38MI/AAAAAAAAAEA/ctjWYBX022Q/s1600/%C3%A0%C2%B8%E2%80%9E%C3%A0%C2%B8%C2%B8%C3%A0%C2%B8%E2%80%9C%C3%A0%C2%B8%CB%9C%C3%A0%C2%B8%C2%A3%C3%A0%C2%B8%C2%A3%C3%A0%C2%B8%C2%A1.jpg)

การ ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ และการแบ่งปัน (หรือให้ทาน) นั้น จัดว่าเป็นคุณธรรมอย่างหนึ่ง และเมื่อพูดถึงคุณธรรมแล้ว เรามักนึกว่าเป็นเรื่องสมัครใจ คือ ทำก็ดี ไม่ทำก็ไม่เป็นไร ความคิดเช่นนี้เมื่อกล่าวโดยทั่วไปแล้วก็ถือว่าไม่ผิด แต่มีหลายกรณีที่เป็นข้อยกเว้นเพราะในบางสถานการณ์หรือในบางสถานะคุณธรรมคือ หน้าที่เลยทีเดียว สำหรับผู้ที่เป็นพ่อหรือแม่ คุณธรรมที่มีต่อลูก เช่น การเสียสละให้ลูกได้กินอิ่มนอนอุ่นนั้น ถือว่าเป็นหน้าที่ หาใช่เรื่องความสมัครใจไม่ ในทำนองเดียวกันการทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีก็ถือว่าเป็นหน้าที่ของครูต่อ ศิษย์ ในวัฒนธรรมไทย มีหลายสถานภาพที่มาพร้อมกับหน้าที่ที่จะต้องช่วยเหลือเจือจานผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ "ต่ำ" กว่า เช่น พี่กับน้อง ผู้ใหญ่กับผู้น้อย เจ้านายกับลูกน้องเป็นต้น ในบางสถานการณ์ การช่วยเหลือก็ถือเป็นหน้าที่ที่ต้องทำ ไม่ใช่แค่เรื่องสมัครใจเท่านั้น เช่น เมื่อเห็นคนกำลังจมน้ำ คนที่อยู่บนบกจะถือว่าธุระไม่ใช่ ช่วยก็ได้ ไม่ช่วยก็ได้ หาได้ไม่ ในยามนั้นทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องช่วยเหลือคนที่กำลังจะจมน้ำตายถ้าไม่ทำ ย่อมถูกตำหนิติเตียน คุณธรรมที่ถือว่าเป็นหน้าที่นี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "หน้าที่ทางศีลธรรม" ทุกสังคมหรือทุกวัฒนธรรมย่อมกำหนดหน้าที่ทางศีลธรรมไว้สำหรับบุคคลอย่างน้อย ก็เมื่ออยู่ในบางสถานะหรือในบางสถานการณ์ หน้าที่ทางศีลธรรมต่างจากหน้าที่ตามกฎหมาย เพราะไม่มีการตราเป็นข้อบังคับหรือลายลักษณ์อักษร แต่ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ผู้ที่ละเมิดหรือละเลย แม้จะไม่ถูกลงโทษตามกฎหมาย แต่ก็ถูกตำหนิ ติเตียนจากสังคม หรือถึงกับไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย

Fwd mail


หัวข้อ: ศีลธรรม คืออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: sompong ที่ พฤศจิกายน 12, 2010, 09:03:24 pm
ศีลธรรม คืออะไร
(http://61.19.55.118/~nokjip/3D-pk/picture/article-pic/lovely.jpg)
ความประพฤติดีงามทางกายวาจา, ความประพฤติที่ดีที่ชอบ, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีวะ;โดย ทางศัพท์ ศีลธรรม แปลว่า ธรรมคือศีล หมายถึง ธรรมขั้นศีล หรือ ธรรมในระดับศีล เพราะศีลเป็นธรรมอย่างหนึ่งในบรรดาธรรมภาคปฏิบัติ ๓ อย่าง คือ ศีล สมาธิ และปัญญา

ดังนั้น ต่อจากธรรมขั้นศีล จึงมีธรรมขั้นสมาธิและธรรมขั้นปัญญา; ได้มีผู้พยายามแปล ศีลธรรม อีกอย่างหนึ่งว่า ศีลและธรรม (ถ้าแปลให้ถูกต้องจริงต้องว่าศีลและธรรมอื่นๆ คือ ศีลและธรรมอื่นๆ นอกจากศีล เช่น สมาธิและปัญญา เป็นต้น เพราะศีลก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง) ถ้าแปลอย่างนี้จะต้อง เข้าใจว่า ศีลธรรม มิใช่เป็นเพียงความประพฤติดีงามเท่านั้น แต่รวมถึง สมถะวิปัสสนา ขันธ์ ๕                 ปฏิจจสมุปบาท ไตรลักษณ์ เป็นต้น

ที่มา: หนังสือพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ผู้แต่ง พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)


หัวข้อ: 6 มาตรการสร้างเสริม คุณธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: sompong ที่ พฤศจิกายน 12, 2010, 09:05:41 pm
1. ควรส่งเสริมให้คนในครอบครัวปฏิบัติธรรม เพื่อให้เกิดความรักซึ่งกันและกัน จะทำให้ลดความขัดแย้ง

2. ควรมีการสอนการเจริญสติให้กับทุกภาคส่วนของสังคม โดย เฉพาะในโรงเรียน เพื่อให้เกิดขึ้นกับเยาวชนก่อนเป็นอันดับแรก

3. ควรส่งเสริมให้เกิดการมีธรรมาภิบาลขึ้นในสังคมโลก

4. ควรเน้นให้นำเรื่องวิทยาศาสตร์มาใช้สนับสนุนการเรียนพระพุทธศาสนา ในการศึกษาพระพุทธศาสนา ซึ่งจะทำให้คนรุ่นใหม่สนใจศึกษาพระพุทธศาสนามากขึ้น

5. เรื่องการใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งเสริมพระพุทธศาสนา ที่ประชุมยอมรับว่าจะทำให้เกิดทั้งคุณและโทษ แม้การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จะไม่ถือว่าผิดหลักศาสนา แต่ก็ต้องระมัดระวังในการใช้คอมพิวเตอร์เผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วย

6. เรื่องพระพุทธศาสนากับภาวะโลกร้อน ที่ประชุมเห็นว่าจะ ต้องทำยุทธศาสตร์ในการลดปัญหาโลกร้อน โดยส่งเสริมให้เกิดความสำนึกร่วมกันของชาวโลกด้านสิ่งแวดล้อม ให้มองปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน เพราะไม่มีใครอยู่โดดเดี่ยวบนโลกได้