ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: แข่งกันทำบุญ หรือ ทำบุญแข่งกัน ได้บุญหรือไม่ ?  (อ่าน 4035 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เสริมสุข

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 223
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
แข่งกันทำบุญ หรือ ทำบุญแข่งกัน ได้บุญหรือไม่ ?

พระพุทธเจ้า ทรงตรัสแสดงเรื่องการทำบุญแบบนี้อย่างไร ?

 ขอบคุณมากคะ

 :c017:
บันทึกการเข้า
อยากได้รับความสุข จาก ธรรมะ อยากได้รับ ..... แหมก็อยากนี้จ๊ะ

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แข่งกันทำบุญ หรือ ทำบุญแข่งกัน ได้บุญหรือไม่ ?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 18, 2011, 11:43:57 am »
0
รู้สึกว่า ในสมัยครั้ง พุทธกาล ก็มีการแข่งทำบุญ ระหว่าง เศรษฐี กับ พระราชา นะคะ

ไม่แน่ใจ วานท่่านผู้รู้ สานต่อก็แล้วกันคะ

  :s_hi: :67:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: แข่งกันทำบุญ หรือ ทำบุญแข่งกัน ได้บุญหรือไม่ ?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 18, 2011, 02:35:59 pm »
0

ถ้านำเอาบุญกิริยาวัตถุ ๓ คือ ทาน ศีล ภาวนา มาเป็นบทตั้ง ผมขอนำเอา"ทาน"มาเป็นตัวอย่าง
 การทำทานแล้วจะไ้ด้บุญหรือไม่อย่างไรนั้น ไม่ได้อยู่ที่การแข่งขัน แต่อยู่ที่ปัจจัยต่างๆดังนี้

1. องค์ของการทำทานที่ได้บุญมาก
                   องค์ของการทำทาน หรือเรียกว่า ทานสมบัติ ในทางพระพุทธศาสนามุ่งสอนในเรื่องของการให้ เพื่อทำให้ใจของเราสะอาดบริสุทธิ์ ยิ่งมีความบริสุทธิ์สะอาดมาก ก็จะได้ผลคือบุญมาก โดยผู้ให้จะต้องทำให้ครบด้วยองค์ทั้ง 3 ที่เรียกว่าทานสมบัติ 3 ข้อ คือ

           1.1. วัตถุบริสุทธิ์
           1.2. เจตนาบริสุทธิ์
                         - เจตนาก่อนที่จะทำทาน
                         - เจตนาในขณะกำลังให้
                         - เจตนาหลังจากที่ให้ทานแล้ว
           1.3. บุคคลบริสุทธิ์     
                                                               

2. อาการของการให้
           นอกจากองค์แห่งการให้ทานทั้ง 3 ประการดังกล่าวแล้ว ความคิดที่เป็นจิตเจตนาของผู้ให้ ซึ่งส่งผลไปสู่การกระทำทางกาย  ที่เห็นได้จากกิริยาอาการที่แสดงออกมาในเวลาให้ทาน  ก็มีความสำคัญมาก เช่นกัน เพราะนอกจากจะบ่งบอกถึงคุณภาพใจของผู้ให้แล้ว ยังมีผลกระทบต่ออานิสงส์ที่จะได้รับอีกด้วย

           2.1. สัตบุรุษย่อมให้ทานด้วยศรัทธา           
           2.2. สัตบุรุษย่อมให้ทานด้วยความเคารพ
           2.3. สัตบุรุษย่อมให้ทานตามกาล
           2.4. สัตบุรุษย่อมให้ทานด้วยจิตอนุเคราะห์         
           2.5. สัตบุรุษย่อมให้ทานโดยไม่กระทบตนเอง และผู้อื่น

         
ดังนั้น เมื่อเราทำทาน นอกจากจะต้องทำให้ครบองค์ประกอบทั้ง 3 ประการ คือวัตถุบริสุทธิ์ เจตนาบริสุทธิ์ (ทั้งก่อนให้ กำลังให้ และหลังให้) และบุคคลบริสุทธิ์ (ทั้งผู้รับและผู้ให้) แล้ว ยังต้องทำด้วยความ ชาญฉลาด คือให้ตามแบบอย่างของสัตบุรุษด้วย ทานที่ให้จึงจะชื่อว่าได้บุญมาก

3.วิธีการทำทาน           
           เงื่อนไขที่จะทำให้การทำทานแต่ละครั้งมีความสมบูรณ์พร้อม คือทำแล้วได้ผลบุญมาก จะมีองค์ประกอบสำคัญๆ อยู่หลายประการ เช่น ในเบื้องต้นต้องมีศรัทธา มีไทยธรรม และมีผู้รับทาน โดยเฉพาะที่เป็นทักขิไณยบุคคล ผู้เป็นเนื้อนาบุญอันเลิศ        

           3.1 ตั้งใจ           
           3.2 แสวงหาไทยธรรม (สิ่งของที่ควรให้ทาน)
           3.3 ทำตนเองให้บริสุทธิ์ก่อนที่จะให้ทาน
           3.4 ตั้งจิตอธิษฐาน
           3.5 เมื่อทำทานเสร็จแล้ว
           3.6 การทำทานในชีวิตประจำวัน         
                - การทำบุญตักบาตร       
                - การถวายสังฆทาน       
                - การให้ชีวิตสัตว์เป็นทาน



คัดย่อมาจากหนังสือ วิถีชาวพุทธ เรื่อง “การทำทานที่สมบูรณ์แบบ”
ที่มา  http://main.dou.us/view_content.php?s_id=385
ขอบคุณภาพจาก www.thairath.co.th,http://main.dou.us

   
   ส่วนเรื่องการแข่งขันการทำบุญในสมัยพุทธกาล เท่าที่นึกได้ในตอนนี้ น่าจะเป็นเรื่อง "บุพกรรมของพระสีวลี"
ในสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า "วิปัสสี"

    เชิญคลิกอ่าน "อรรถกถาสีวลิเถราปทาน" ได้ที่
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.1&i=133

    ผมแนบไฟล์หนังสือ “การทำทานที่สมบูรณ์แบบ” มาให้ครับ เชิญดาวน์โหลด

     ;) :25: :49: :welcome:

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 18, 2011, 02:39:16 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

whuchi

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 80
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แข่งกันทำบุญ หรือ ทำบุญแข่งกัน ได้บุญหรือไม่ ?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 18, 2011, 02:52:46 pm »
0
อนุโมทนา ด้วยครับ เนื้อหา ค่อนข้างยาว ผมว่า ทะยอยลงเป็นตอน ๆ ให้ได้อ่านก็ได้ครับ

ผมชอบอ่านเช่นกันครับ

  :25: :c017:
บันทึกการเข้า

indy

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 101
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แข่งกันทำบุญ หรือ ทำบุญแข่งกัน ได้บุญหรือไม่ ?
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 18, 2011, 07:10:01 pm »
0
แข่งทำบุญก็ได้บุญจริงๆครับ แต่อานิสงค์หรือกุศลที่จะได้ไม่เท่ากัน
เช่นอยากได้หน้าอยากเด่นดังก็ได้จริง แต่มันจะไปตัดกำลังบุญที่จะได้เพิ่มจากนั้น

บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: แข่งกันทำบุญ หรือ ทำบุญแข่งกัน ได้บุญหรือไม่ ?
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กันยายน 19, 2011, 06:39:23 am »
0
แข่งกันทำบุญ หรือ ทำบุญแข่งกัน ได้บุญหรือไม่ ?

"บุญล้างใจ"

        ทำบุญประดับจิต   อย่าไปคิดหน่วงข้าวของ
ทำบุญให้เพียงตรอง   ไม่ของเราใช่ของตัว.

                                                                                                  ธรรมธวัช.!
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

GodSider

  • ผู้อุปถัมภ์
  • กำลังแหวกกระแส
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 121
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แข่งกันทำบุญ หรือ ทำบุญแข่งกัน ได้บุญหรือไม่ ?
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กันยายน 19, 2011, 08:44:05 am »
0
ส่วนตัวก็เห็นด้วยครับ แข่งกันสร้างกุศล ดีกว่าแข่งกันทำ อกุศล นะครับ

ส่วนการละ ปล่อยวาง นั้นเป็นเรื่อง ของบุคคลที่มีใจเป็นพระอริยะ ก็สุดแล้วแต่ท่านจะทำภาวนากันได้

ดังนั้น ทำเลย ถ้า ทำดี คิดดี พูดดี เป็นกุศล แข่งกันทำเข้าไปเถอะครับ โลกเราจะร่มเย็นครับ

  แต่ทำแล้วอย่า ให้คนอื่น และ ตัวเราเดือดร้อน นะครับ


  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
สุดเขต เสลดเป็ด ไกลสุดกู่ ใกล้แค่ ปลายจมูก