ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: โกสิยชาดก(ถ้อยคำกับการกินไม่สมกัน)  (อ่าน 2138 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
โกสิยชาดก(ถ้อยคำกับการกินไม่สมกัน)
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 03:55:23 pm »
โกสิยชาดก(ถ้อยคำกับการกินไม่สมกัน)

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ บังเกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาล เรียนศิลปะทุกประการในเมืองตักกสิลา แล้วได้เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ในพระนครพาราณสี ขัตติยกุมารในราชธานีทั้งร้อยเอ็ด และพราหมณกุมาร พากันมาเรียนศิลปะในสำนักของท่านผู้เดียวมากมาย

        ครั้งนั้นมีพราหมณ์ชาวชนบทผู้หนึ่ง เรียนไตรเพทและวิทยฐานะ ๑๘ ประการ ในสำนักของพระ โพธิสัตว์แล้ว ตั้งหลักฐานอยู่ในพระนครพาราณสีนั่นเอง เขาได้มาที่สำนักของพระโพธิสัตว์วันละสองสามครั้งทุกวัน นางพราหมณีของเขา เป็นหญิงประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หยาบช้า ลามก เรื่องทั้งปวงตั้งแต่นี้ไป ก็เช่นเดียวกับเรื่องปัจจุบันนั่นแล
               
                   ฝ่ายพระโพธิสัตว์เมื่อพราหมณ์นั้นบอกว่า ด้วยเหตุนี้ กระผมจึงไม่มีโอกาส เพื่อจะไปรับโอวาทดังนี้ ก็ทราบว่า นางมาณวิกานั้น นอนหลอกพราหมณ์นี้เสียแล้ว คิดว่า เราต้องบอกยาที่ เหมาะสมให้แก่นาง แล้วกล่าวว่าพ่อคุณ ต่อแต่นี้ไป เจ้าอย่าได้ ให้เนยใส และน้ำนมสดแก่นางเป็นอันขาด แต่จงโขลกใบไม้ ๕ อย่างและผล ๓ อย่างเป็นต้น ใส่ในมูตรโค แล้วแช่ไว้ในภาชนะทองแดงใหม่ ๆ ให้กลิ่นโลหะมันจับ แล้วถือเชือก หวาย หรือไม้เรียว กล่าวว่า ยานี้เหมาะแก่โรคของเจ้า เจ้าจงกินยานี้ หรือไม่เช่นนั้น ก็ลุกขึ้นทำการงานให้สมควรแก่ภัตรที่เจ้าบริโภค แล้วต้องกล่าวคาถานี้ ถ้านางไม่ยอมดื่มยา ก็ต้องเอาเชือกหรือ หวาย หรือไม้เรียว หวดนางลงไปอย่างไม่ต้องนับ แล้วจิกผม กระชากมาถองด้วยศอก นางจักลุกขึ้นทำงานในทันใดนั่นเอง
        เขารับคำว่า ดีจริงขอรับ แล้วทำยาตามข้อที่บอกแล้วนั่นแหละ กล่าวว่า แม่มหาจำเริญ เชิญดื่มยานี้เถิด นางถามว่า ยานี้ใคร บอกท่านเล่าเจ้าคะ ? ตอบว่า อาจารย์บอกให้ แม่มหาจำเริญ นางกล่าวว่า เอามันไปเสียเถิด ฉันไม่ดื่ม มาณพกล่าวว่า เจ้าจักดื่มตามใจชอบของตนไม่ได้ แล้วคว้าเชือกกล่าวว่า เจ้าจงดื่มยาที่เหมาะแก่โรคของตน หรือมิฉะนั้นก็จงทำงานให้สมควรแก่ภัตรที่บริโภค แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า
   "ดูก่อนนางผู้โกสิยะ เจ้าจงกินยาให้สมกับที่อ้างว่าป่วย
   หรือจงทำงานให้สมกับอาหารที่บริโภค
   เพราะถ้อยคำกับการกินของเจ้าทั้งสองอย่างไม่สมกันเลย" ดังนี้.

   เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว ธิดาแห่งโกสิยพราหมณ์ คิดว่า ตั้งแต่เวลาที่อาจารย์ช่วยขวนขวายแล้ว เราไม่อาจลวงเขาอย่างนี้ต่อไปได้ ต้องลุกขึ้นทำการงาน ดังนี้แล้ว ก็ลุกขึ้นประกอบกิจตามหน้าที่ ทั้งยังเป็นหญิงมีศีล งดเว้นจากการทำความชั่ว ด้วยความยำเกรงในอาจารย์ว่า ความที่เราเป็นหญิงประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อาจารย์รู้หมดแล้ว ต่อแต่นี้ไป เราไม่สามารถจะทำเช่นนี้ได้อีก.
   แม้นางพราหมณีนั้น ก็ไม่กล้าทำอนาจารซ้ำอีก ด้วยความเคารพในพระศาสดาว่า ได้ยินว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้เรื่องของเราแล้ว.
   พระศาสดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า คู่สามีภรรยาในครั้งนั้น ได้มาเป็นคู่สามีภรรยาในบัดนี้ ส่วนอาจารย์ ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
   จบ โกสิยชาดก





ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=1
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ