ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ติฏฐชาดก(มหาบัณฑิตผู้หยั่งรู้)  (อ่าน 2337 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ติฏฐชาดก(มหาบัณฑิตผู้หยั่งรู้)
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 04:10:17 pm »
ติฏฐชาดก(มหาบัณฑิตผู้หยั่งรู้)

  ในอดีตกาล พระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติกรุงพาราณสี มีราชบัณฑิตสอนธรรมอยู่ผู้หนึ่ง วันหนึ่งม้าอาชาไนยมงคลอัศวราช ไม่ยอมลงไปดื่มน้ำ และอาบน้ำเหมือนอย่างเคย คนเลี้ยงม้าจึงต้องรีบเข้าเฝ้าถวายรายงานให้ทรงทราบโดยด่วน เพราะม้ามงคลนี้เป็นที่โปรดปราน  พระราชาทรงทราบแล้วรับสั่งให้สอบสวน ราชบัณฑิตตรวจดูแล้วทราบว่า ม้าไม่ได้เจ็บป่วย จึงซักคนเลี้ยงม้าได้ความว่า

                 .....ก่อนหน้านี้มีคนนำม้าไม่มีสกุลมาดื่มและอาบที่ท่าน้ำนี้ ม้าอาชาไนยเห็นเข้าจึงไม่ยอมลงมาที่ท่านั้นอีก
ราชบัณฑิตพิเคราะห์ก็รู้ว่า ม้าอาชาไนยตัวนี้เป็นม้าถือตัว ไม่ยอมดื่มน้ำและอาบน้ำร่วมท่ากับม้าไม่มีสกุลรุนชาติเช่นนั้น แต่จะอธิบายสาเหตุเรื่องนี้กับคนเลี้ยงม้าตรงๆ ก็เห็นว่าป่วยการ เพราะภูมิปัญญาอย่างคนเลี้ยงม้าผู้นี้คงตามไม่ทัน จึงบอกให้คนเลี้ยงม้าว่า ลองให้ม้าอัศวราชไปอาบน้ำท่าอื่นดูบ้าง เพราะธรรมดาไม่ว่าคนหรือสัตว์อยู่ที่ไหนซ้ำๆ อาจเบื่อได้ คนเลี้ยงม้าได้ฟังคำของราชบัณฑิตแล้วทำตาม ม้ามงคลก็ยินยอมแต่โดยดี


                   .....พระเจ้าพรหมทัตทรงทราบก็ดีพระทัย ตรัสสรรเสริญราชบัญฑิตที่สามารถหยั่งรู้แม้อัธยาศัยของสัตว์เดียรัจฉาน แล้วพระราชทานเกียรติยศและรางวัลให้เป็นการตอบแทน


.....ประชุมชาดก


.....ม้ามงคลอัศวราช ในครั้งนั้น ได้มาเกิดเป็นพระภิกษุช่างทองรูปนี้


.....พระเจ้าพรหมทัต ได้มาเป็นพระอานนท์


....ราชบัณฑิต ได้มาเป็นพระองค์เอง


.....ข้อคิดจากชาดก


.....๑. เป็นธรรมดาว่า บุคคลยิ่งฝึกจิตใจให้สะอาดมีความรู้ความสามารถสูงขึ้นเพียงไร มักมีความรู้สึกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ คือ ไม่อยากคลุกคลีกับผู้ที่ไร้คุณธรรม ยกเว้นแต่มีจิตกรุณา ต้องการช่วยเหลือ ดังนั้นบุคคลใดก็ตาม ที่มีครูอาจารย์ดี มาเคี่ยวเข็ญว่ากล่าวตักเตือน ต้องถือว่าท่านลดตัวลงมาใกล้ชิด มาช่วยเหลือ สมควรรับปฏิบัติตามโอวาทและกราบขอบพระคุณโดยความเคารพ


....๒. เมื่อได้คนดีมีวิชามาอยู่ด้วย ต้องจัดที่อยู่อาศัยอย่างดี จัดหน้าที่การงานให้อย่างเหมาะสม และให้ความเคารพเกรงใจด้วย มิฉะนั้นแล้วท่านรำคาญ เบื่อหน่ายและหนีไปเสีย เพราะคนดีมีฝีมือ โดยทั่วไปแล้วไม่เห็นแก่เงิน แต่เห็นแก่งานที่เหมาะสมกับความสามารถ และเกียรติยศของเขา


.....๓. เมื่อผู้ใหญ่อธิบายเหตุผลให้ผู้น้อย หากเห็นว่า ผู้น้อยมีภูมิปัญญายังไม่ถึง แต่เพื่อหวังผลในเชิงปฏิบัติ อาจบอกเลี่ยงเป็นอย่างอื่น ต่อเมื่อโตขึ้นมีปัญญาตรองตามก็สามารถเข้าใจได้





ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=2
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ