ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สกุณีคติชาดก(นกมูลไถหากินในที่อโคจร)  (อ่าน 2753 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
สกุณีคติชาดก(นกมูลไถหากินในที่อโคจร)
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 05:54:50 pm »
สกุณีคติชาดก(นกมูลไถหากินในที่อโคจร)


ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพระสูตรว่าด้วยโอวาทของนกที่ไม่ควรเที่ยวหากินไกลถิ่นที่อยู่ของตน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

                     กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นนกมูลไถอาศัยหากินอยู่ตามก้อนดินมูลไถ วันหนึ่ง มันบินไปหากินต่างถิ่นถูกเหยี่ยวนกเขาจับได้ จึงพูดขึ้นว่า
                   "วันนี้เราเคราะห์ร้าย เพราะมาหากินต่างถิ่น ถ้าอยู่ในถิ่นของเราแล้ว ท่านไม่มีโอกาสจับเราได้หรอก"


                    เหยี่ยวนกเขาได้ฟังเช่นนั้นจึงปล่อยมันไปพร้อมกับพูดว่า "เจ้านกน้อย ในที่ไหน ๆ เจ้าก็ไม่รอด พ้นกรงเล็บของเราไปได้ดอกให้โอกาสเจ้าแก้ตัว"


                      นกมูลไถพอถูกปล่อยเป็นอิสระก็บินกลับไปถึงที่อยู่ของตน ขึ้นไปจับบนก้อนดินใหญ่แล้วร้องท้าทายเหยี่ยวนกเขาว่า "มาเลยเจ้าเหยี่ยวโง่ แน่จริงมาจับข้าอีกสิ"

                     เหยี่ยนกเขาเห็นมันร้องท้าเช่นนี้นจึงโถมกำลังปีกโฉบเข้าหามันทันที นกมูลไถรู้ว่าเหยี่ยวนกเขาใกล้จะถึงตัวแล้วก็บินกลับเข้าไปในระหว่างก้อนดินมูลไถ เหยี่ยวมาด้วยความเร็วด้วยหวังจะขย้ำนกมูลไถให้แหลกคากรงเล็บ จึงกระแทกอกเข้ากับก้อนดินตาถลนออกตายคาที่ ณ ตรงนั้นเอง

                       เมื่อเหยี่ยวตายแล้ว นกมูลไถจึงขึ้นมายืนบนอกของเหยี่ยวด้วยมั่นใจว่าชนะข้าศึกได้แล้ว กล่าวเป็นคาถาว่า
                                           "เรานั้นเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยอุบาย ยินดีแล้วในที่หากินอันเป็นเขตแห่งบิดา
                                             เห็นประโยชน์ของตนอยู่ เป็นผู้หลีกพ้นจากศัตรู ย่อมเบิกบานใจ"





ที่มา  http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=4
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ