ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ใครจะเข้าใจ ความรู้สึก ของนางปฏาจารา กันบ้าง ( ทำไมถึงได้วิมุตติ )  (อ่าน 7607 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

VongoleX

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 402
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เมื่อนางปฏาจารา ถึง วิปัลลาส ขาดสติ เนื่องเพราะ
 
   สามีสุดที่รักจากไป เพราะงูกัดตาย
   ลูกที่พึ่งคลอด ถูกเหยี่ยวโฉบนำไป
   ลูกคนโตถูกน้ำพัดพาไป
   พ่อแม่ พี่น้อง ถูกโจรฆ่าตาย
 
   เมื่อนั้น สติของนางขาดออก กลายเป็นหญิง เดินเปลือยกายไปในที่ต่าง ๆ เพราะเหตุไร

   เมื่อชีวิต กลับมาเพราะ บารมีธรรมของพระพุทธเจ้า ชีวิตใหม่ที่ไม่มีอีกต่อไป จึงมีเกิดขึ้น แก่พระอรหันต์เถรี ดังนี้


   ข้อความจากเมลของพระอาจารย์ ครับ

   
    ขอบคุณภาพจาก http://lh5.ggpht.com/
บันทึกการเข้า
ผู้พิทักษ์รุ่นที่ 10 แห่ง Vongole จับมือกับ แก็งค์ อ๊บ อ๊บ

Hero

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 557
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระพุทธเจ้า โปรดนางปฏาจารา ด้วยอะไรครับ จึงได้หายจากการเป็นบ้าครับ

 :13: :c017:
บันทึกการเข้า
ทำไมต้องมีอินทรีแดง เพราะสังคมเราบางครั้งก็ตาบอด
ปล่อยให้คนดี เดือดร้อน ดังนั้นจึงต้องมีผู้ปกป้องคนดี
hero ไม่ได้มีแต่ในหนังเท่านั้น นะครับ

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เคยได้ยินพระอาจารย์ ว่า เป็น อาเทสนาปาฏิหาริย์ ที่ไม่มีในบุคคลทั่วไปนะครับ

 :s_hi: :49:
บันทึกการเข้า

chutina

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 99
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ธรรมะ จะเห็นคุณค่า ก็ตอนที่ ทุกข์ นี้แหละคะ

  :s_hi: :c017: :58:
บันทึกการเข้า

Mario

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 208
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เห็น ทุกข์ ก็เห็น ธรรม
 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
hero ผู้ปราบอธรรม มาแว้ว
มาเพราะยายกบ เป็นคนชวน
ฝากตัวด้วยไม่ถนัดเว็บ ธรรม
แต่เป็น hero ต้องไม่กลัว ธรรม

nopporn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
10. โย จ วสฺสสตํ ชีเว
ทุสฺสีโล อสมาหิโต
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย
สีลวนฺตสฺส ฌายิโน ฯ110ฯ


ผู้มีศีล มีสมาธิ
ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี
ของคนทุศีล ไร้สมาธิ


Though one should live a hundred years,
Without conduct and concentration,
Yet,better is a single day's life
Of one who is moral and meditative.


พระพุทธภาษิตในเนื้อเรื่อง นี้ครับ

" ดูก่อน ปฎาจารา เธออย่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้วเลย หากควรทำปัจจุบันให้ถึงพร้อม บัดนี้สามีของเธอ ลูกทั้งสอง บิดามารดาและพี่ชาย เขาเหล่านั้นได้พากันจากเธอไปแล้ว ในเวลาที่บุคคลอันเป็นที่รัก มีบุตรเป็นต้นต้องตายลงในสงสารนี้ เธอก็ได้ร้องไห้คร่ำครวญมานานแสนนาน นับภพนับชาติไม่ได้ และยังจะต้องร้องไห้ต่อไปอีกหรือ น้ำตาของเธอมากกว่าน้ำในห้วงมหาสมุทรทั้งสี่ เหตุไรเธอยังประมาทอยู่ ไม่ว่าตัวเธอเอง ทุกคนในโลก หรือว่าตัวเรา จักต้องถึงซึ่งสภาพนั้นในที่สุด บิดา มารดา หรือบุตรก็ต้านทานป้องกันไม่ได้ คนเหล่านั้นถึงมีอยู่ก็เท่ากับไม่มี ดูก่อน ปฎาจารา บัดนี้เธอจงหยุด ความร่ำไรรำพันเสียเถิด จงดำรงตนอยู่ในอินทรยสังวรศีล ปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด เพื่อใช้นำทางไปสู่พระนิพพาน เสียแต่บัดนี้ จึงจะเป็นการดี "

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง อนมตัคคปรยายสูตร คือ เรื่องสงสารวนเวียนไม่มีที่สิ้นสุด


บันทึกการเข้า
อยู่แก๊งค์ ป่วนอ๊บ

sinjai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 144
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนาสาธุ คะ ได้ฟังทาง รายการแล้ว น่าฟังมากคะ
 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท สหัสสวรรคที่ ๘

๑๒. เรื่องนางปฏาจารา
(ยกมาแสดงบางส่วน)

นางได้ตั้งความปรารถนาไว้ในชาติก่อน
           
      ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ นางปฏาจารานั้นเห็นพระเถรีผู้ทรงวินัยรูปหนึ่ง อันพระปทุมุตตรศาสดาทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ดังท้าวสักกะจับที่แขน ตั้งไว้ในสวนนันทวัน จึงทำคุณความดีแล้ว ตั้งความปรารถนาไว้ว่า
      "แม้หม่อมฉันพึงได้ตำแหน่งเลิศกว่าพระเถรีผู้ทรงวินัยทั้งหลายในสำนักพระพุทธเจ้า เช่นกับด้วยพระองค์"


      พระปทุมุตตรพุทธเจ้าทรงเล็งอนาคตังสญาณไป ก็ทรงทราบว่าความปรารถนาจะสำเร็จ จึงทรงพยากรณ์ว่า   
      "ในอนาคตกาล หญิงผู้นี้จักเป็นผู้เลิศกว่าพระเถรีผู้ทรงวินัยทั้งหลาย มีนามว่าปฏาจารา ในศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้า."

      พระศาสดาทรงเห็นนางผู้มีความปรารถนาตั้งไว้แล้วอย่างนั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยอภินิหาร กำลังเดินมาแต่ที่ไกลเทียว ทรงดำริว่า
      "เว้นเราเสีย ผู้อื่นชื่อว่าสามารถจะเป็นที่พึ่งของหญิงผู้นี้ได้ ไม่มี" จึงได้ทรงทำนางโดยประการที่นางจะบ่ายหน้าสู่วิหารเดินมา.


       บริษัทเห็นนางแล้วจึงกล่าวว่า "ท่านทั้งหลาย อย่าให้หญิงบ้านี้ มาที่นี้เลย."
       พระศาสดาตรัสว่า "พวกท่านจงหลีกไป, อย่าห้ามเธอ" ในเวลานางมาใกล้ จึงตรัสว่า
       "จงกลับได้สติเถิด น้องหญิง."
       นางกลับได้สติด้วยพุทธานุภาพในขณะนั้นเอง.
       ในเวลานั้น นางกำหนดความที่ผ้านุ่งหลุดได้แล้ว ให้เกิดหิริโอตตัปปะขึ้น จึงนั่งกระโหย่ง.

       ลำดับนั้น บุรุษผู้หนึ่งจึงโยนผ้าห่มไปให้นาง. นางนุ่งผ้านั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แทบพระบาททั้งสองซึ่งมีพรรณะดังทองคำแล้ว ทูลว่า
       "ขอพระองค์จึงทรงเป็นที่พึ่งแก่หม่อมฉันเถิด พระเจ้าข้า, เพราะว่าเหยี่ยวเฉี่ยวบุตรคนหนึ่งของหม่อมฉันไป, คนหนึ่งถูกน้ำพัดไป, สามีตายที่ทางเปลี่ยว, มารดาบิดาและพี่ชายถูกเรือนทับตาย เขาเผาบนเชิงตะกอนเดียวกัน."





       พระศาสดาทรงสดับคำของนาง จึงตรัสว่า
      "อย่าคิดเลย ปฏาจารา, เธอมาสู่สำนักของผู้สามารถจะเป็นที่พึ่งพำนักอาศัยของเธอได้แล้ว
       เหมือนอย่างว่า บัดนี้ บุตรคนหนึ่งของเธอถูกเหยี่ยวเฉี่ยวไป, คนหนึ่งถูกน้ำพัดไป, สามีตายแล้วที่ทางเปลี่ยว มารดาบิดาและพี่ชายถูกเรือนทับฉันใด น้ำตาที่ไหลออกของเธอผู้ร้องไห้อยู่ในสงสารนี้ ในเวลาที่ปิยชนมีบุตรเป็นต้นตาย ยังมากกว่าน้ำแห่งมหาสมุทรทั้ง ๔ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน"


      ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
                น้ำในสมุทรทั้ง ๔ มีประมาณน้อย, น้ำตาของคนผู้อันทุกข์
                ถูกต้องแล้ว เศร้าโศก ไม่ใช่น้อย มากกว่าน้ำในมหาสมุทรนั้น;
                เหตุไร เธอจึงประมาทอยู่เล่า? แม่น้อง.


      เมื่อพระศาสดาตรัสอนมตัคคปริยายสูตรอยู่อย่างนั้น ความโศกในสรีระของนางได้ถึงความเบาบางแล้ว.
      ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทราบที่นางผู้มีความโศกเบาบางแล้ว ทรงเตือนอีก แล้วตรัสว่า
      "ปฏาจารา ขึ้นชื่อว่าปิยชนมีบุตรเป็นต้น ไม่อาจเพื่อเป็นที่ต้านทาน เป็นที่พึ่ง หรือเป็นที่ป้องกันของผู้ไปสู่ปรโลกได้, เพราะฉะนั้น บุตรเป็นต้นเหล่านั้นถึงมีอยู่ ก็ชื่อว่าย่อมไม่มีทีเดียว ส่วนบัณฑิตชำระศีลแล้ว ควรชำระทางที่ยังสัตว์ให้ถึงนิพพานของตนเท่านั้น"

      เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
               "บุตรทั้งหลาย ไม่มีเพื่อต้านทาน, บิดาก็ไม่มี
               ถึงพวกพ้องก็ไม่มี, เมื่อบุคคลถูกความตาย ครอบงำแล้ว
               ความต้านทานในญาติทั้งหลาย ย่อมไม่มี;
               บัณฑิตทราบอำนาจประโยชน์นั้นแล้ว สำรวมในศีล
               พึงชำระทางไปพระนิพพานโดยเร็วทีเดียว."


      ในกาลจบเทศนา นางปฏาจาราเผากิเลสมีประมาณเท่าฝุ่นในแผ่นดินใหญ่แล้ว ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
      ชนแม้เหล่าอื่นเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผล เป็นต้น ดังนี้แล.




นางปฏาจาราทูลขอบวช
               
      ฝ่ายนางปฏาจารานั้นเป็นพระโสดาบันแล้ว ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา.
      พระศาสดาทรงส่งนางไปยังสำนักของพวกภิกษุณีให้บรรพชาแล้ว.
      นางได้อุปสมบทแล้วปรากฏชื่อว่า "ปฏาจารา" เพราะนางกลับความประพฤติได้๑-.
____________________________
๑- บาลีว่า เพราะมีความประพฤติเว้นจากผืนผ้า ดังนี้ก็มี.

       วันหนึ่ง นางกำลังเอาหม้อตักน้ำล้างเท้า เทน้ำลง น้ำนั้นไหลไปหน่อยหนึ่งแล้วก็ขาด.
       ครั้งที่ ๒ น้ำที่นางเทลง ได้ไหลไปไกลกว่านั้น.
       ครั้งที่ ๓ น้ำที่เทลง ได้ไหลไปไกลแม้กว่านั้น ด้วยประการฉะนี้.


       นางถือเอาน้ำนั้นนั่นแลเป็นอารมณ์ กำหนดวัยทั้ง ๓ แล้ว คิดว่า
       สัตว์เหล่านี้ ตายเสียในปฐมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งแรก,
       ตายเสียในมัชฌิมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งที่ ๒ ไหลไปไกลกว่านั้น,
       ตายเสียในปัจฉิมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งที่ ๓ ไหลไปไกลแม้กว่านั้น.


       พระศาสดาประทับในพระคันธกุฎี ทรงแผ่พระรัศมีไปเป็นดังประทับยืนตรัสอยู่เฉพาะหน้าของนาง ตรัสว่า   
       "ปฏาจารา ข้อนั้นอย่างนั้น ด้วยว่าความเป็นอยู่วันเดียวก็ดี ขณะเดียวก็ดี ของผู้เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์เหล่านั้น ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ของผู้ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์"

        ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
               ๑๒. โย จ วสฺสสตํ ชีเว    อปสฺสํ อุทยพฺพยํ
                    เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย    ปสฺสโต อุทยพฺพยํ.
                    ก็ผู้ใด ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมอยู่ พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี,
                    ความเป็นอยู่วันเดียว ของผู้เห็นความเกิดและความเสื่อม ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ของผู้นั้น.

                   


แก้อรรถ
               
      บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถา อปสฺสํ อุทยพฺพยํ ความว่า ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมอยู่ ด้วยลักษณะ ๒๕ แห่งปัญจขันธ์.
      บาทพระคาถาว่า ปสฺสโต อุทยพฺพยํ ความว่า ความเป็นอยู่แม้วันเดียว ของผู้เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์เหล่านั้น ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ของบุคคลนอกนี้.


     ในกาลจบเทศนา นางปฏาจาราบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ดังนี้แล.

               เรื่องนางปฏาจารา จบ.
               


อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=544&Z=586
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=18&p=12
ขอบคุณภาพจาก http://www.igetweb.com,http://audio.palungjit.com/,http://palungjit.com/,http://mediacenter.mcu.ac.th/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 13, 2012, 11:23:56 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อนุโมทนา กับทุกท่่าน ที่ได้อ่านแ และได้โพสต์ เรื่องนี้
 ประวัติ ของ พระอรหันต์ปฏาจาราเถรี นั้น เป็นเรื่องดี ควรนำมาเป็นตัวอย่างในการเจริญ วิปัสสนากรรมฐาน
 เรื่องนี้ชี้ให้เ็น หลายประการ 
 1.ยามคนมีสุข ก็ไม่เห็นธรรม   
 2.ยามคนรับผลกรรม หากไม่มีที่พึ่ง ก็วิปัลลาศได้   
 3.พุทธานุภาพ อาเทสนาปาฏิหาริย์ นั้นมิได้ มีแก่บุคคลทั่วไป เหตุปัจจัยต้องเหมาะสม บุญยารมีที่สร้าง เกิดถูกจังหวะ และได้พบพระพุทธเจ้า
 4.เมื่อจิตปราศจากเมฆหมอก คลุมใจแล้ว แม้สิ่งใดเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ก็สามารถเข้าถึงธรรมนั้นได้   
 5.สตรี ไม่ว่าจะเป็นพรหมจรรย์ หรือ มิได้เป็นพรหมจรรย์ หากได้ภาวนาธรรม ก็สามารถเป็นพระอรหันต์ได้   
 6.ญาณ กับ เวลา เกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน ยถาภูตญาณทัศศนะนั้น ปรากฏได้ด้วย ญาณ และ สัมพันธ์กับเวลา

     เจริญธรรม / เจริญพร 
Aeva Debug: 0.0004 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 13, 2012, 11:27:24 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา เป็นเรื่องประวัติที่ควรค่าแก่การนำมาเป็นแบบอย่าง จริง ๆ คะ
 :s_hi: :25:
บันทึกการเข้า