ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: “หลวงพ่อกิตติศักดิ์ กิตติสาโร พระผู้เข้าถึงหัวใจพระพุทธศาสนา”  (อ่าน 5443 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

RDNpromote

  • moderater MaDchima Radio net online
  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 231
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


มหาสิติปัฏฐานสูตร ; หลวงพ่อกิตติศักดิ์ กิตติสาโร วัดป่าหนองหลุบ จังหวัดขอนแก่น
สติปัฏฐานทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งเป็นสภาพของการปรุงแต่งที่เกิดขึ้นกับปัจจุบันที่จิตนั้นได้สัมผัสรับรู้อยู่ทุกขณะจิตนั้นได้สัมผัสรับรู้อยู่ทุกขณะทุกขั้นตอนว่านี่คือธรรมะที่เป็นขันธ์5ซึ่งย่อลงมาเหลือ2คือรูปกับนามเท่านั้น
พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติในแบบวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งท่านย่อลงมาเหลือ 2 คือรูปกับนาม ว่าอารมณ์วิปัสสนานั้นมีอยู่ 6 อย่าง ต้องขอพูดในหลักวิชาการนิดหน่อย อารมณ์วิปัสสนามี 6 อย่าง ขันธ์ 5, อายตนะ 12, ธาตุ 18, อินทรีย์ 22, อริยสัจ 4, ปฏิจจสมุปบาท 12 อันนี้เป็นอารมณ์วิปัสสนาคือ สิ่งที่ต้องกำหนดรู้ให้ทันปัจจุบัน อันนี้เป็นอารมณ์วิปัสสนาภูมิ ที่ผู้ปฏิบัติธรรมฝ่ายวิปัสสนาจะต้องทำความเข้าใจว่า อะไรคือ อารมณ์สมถะ อะไรคือ อารมณ์วิปัสสนา อารมณ์สมถะซึ่งเป็นความสงบมีอยู่ 40 กองชนิด เรียกว่ากรรมฐาน 40 อารมณ์ของวิปัสสนามี 6 ชนิด เรียกว่าวิปัสสนาภูมิ 6 อารมณ์สมถะ 40 อย่างนั้น มีอะไรบ้าง ก็มี กสิณ 40 อสุภะ 10 อนุสติ 10 อาหาเรปฏิกูลสัญญา1พรหมวิหาร4จตุธาตุววัตฐาน1อรูปฌาน4
เมื่ออาตมาได้เห็นและได้รู้ในสิ่งที่เป็นนิมิตเครื่องหมายก็มาพิจารณาทางธรรมใน จุลลสุญญตาสูตร เกี่ยวกับเรื่องความว่างอย่างเบา มหาสุญญตาสูตร ความว่างอย่างยิ่ง ในมหาสติปัฏฐานสูตร และในธาตุกรรมฐานมั่ง ในพระธรรมที่เป็นพระสูตรต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ เช่นแสดงให้กับ พระราหุลว่า….ดูก่อนราหุล เธอจงครองธาตุดิน โดยความเป็น อนัตตา อย่าครองธาตุดินด้วยความเป็นอัตตาเลย เธอจงครองธาตุน้ำ ด้วยความเป็นอนัตตา อย่าครองธาตุน้ำด้วยความเป็นอัตตาเลย เธอจงครองธาตุลมด้วยความเป็นอนัตตา เธอจงอย่าครองธาตุลมด้วยความเป็นอัตตาเลย เธอจงครองธาตุไฟด้วยความเป็นอนัตตา เธอจงอย่าครองธาตุไฟด้วยความเป็นอัตตาเลย อันนี้เป็นธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้กับพระราหุล ก็คือ ทรงแสดงเรื่องความไม่ใช่ตัวตนความไม่มีตัวตน ความว่างเปล่าจากตัวตนในธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ซึ่งเป็นรูปที่ประชุมกันใหญ่ เรียกว่ารูปใหญ่ๆ มีธาตุสี่ ดิน น้ำ ไฟ ลม และในมหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในหมวดต่างๆ เรื่องกาย เวทนา จิต ธรรม ก็เข้าไปพิจารณาเห็นกายว่า ที่จริงในอริยาบถทั้งหลายตั้งแต่ อานาปานสติ ซึ่งเป็นหมวดลมหรือหมวดกายก็ดี ลมหายใจก็เป็นเพียงสักว่าเป็นธาตุลม เพราะในการสรุปข้อสุดท้ายแต่ละหมวดที่พระองค์ทรงสรุปไว้ เธอเป็นเพียงมีสติที่อาศัยเป็นเครื่องอาศัยระลึกมีสัมปชัญญะเป็นเครื่องรู้ แต่เธอจะต้องไม่ติดอยู่ เธอจะต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆ ในโลกเลย ก็มองเห็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติของกายก็ดี เป็นธรรมชาติที่ไม่ควรยึดมั่น ว่างเปล่าจากตัวตนเห็นเวทนาก็ดี ทั้งทุกข์ เฉยก็ดี ว่างเปล่าจากตัวตน จิตก็ดี เป็นธรรมชาติว่างเปล่าจากตัวตน แม้ธรรมก็ดีเป็นของว่างเปล่าทั้งนั้น ไม่มีตัวตนในกาย เวทนา จิต ธรรม ในอริยาบถทั้งหลายและในสติปัฏฐานทั้งหมด เป็นเพียงธรรมะเท่านั้น ซึ่งธรรมะไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เพราะฉะนั้นแม้การพิจารณาลมหายใจอาตมาก็พิจารณาดู ออ…..ลมหายใจอยู่ในจุลลสุญญตาสูตร มหาสุญญตาสูตรก็ดี พระองค์ทรงตรัสว่า เธอจงเป็นผู้ไม่มีนิมิต อยู่ในดิน อยู่ในป่า อยู่ในบุคคล อยู่ในสัตว์ เป็นผู้มีสติอยู่กับลมหายใจ เธอชื่อว่าเป็นผู้ก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง บัดนี้เราว่างจากสัตว์ จากบุคคล จากบ้าน จากเรือน จากธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ แต่ไม่ว่างอยู่ธาตุเดียวคือ ภาวะของลมนั่นคือการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง จนกระทั่งสุดท้ายก็ว่างเปล่าไม่มีตัวตน เพราะฉะนั้นในธาตุดิน ธาตุน้ำก็เป็นธรรมชาติที่ว่างเปล่า ว่างเปล่าจากตัวตนไม่มีตัวตนในสิ่งที่เป็นดิน น้ำ ไฟ ลม นั่นคือ ธรรมชาติที่เป็นรูปธรรม ส่วนนามธรรมก็คือ จิตใจ มโน วิญญาณเหล่านี้เป็นพยัญชนะที่เรียกตามกัน แต่ความหมายก็คือ ธรรมชาติรู้ ธาตุรู้ ธาตุรู้เป็นนามธรรม สิ่งที่ถูกรู้ก็เป็นเพียงรูปธรรม นามธรรมก็ว่างเปล่าจากตัวตนในธาตุรู้ สิ่งที่ถูกรู้รูปธรรมที่ประชุมกันอยู่เท่านั้น ทั้งผู้รู้และสิ่งที่ถูกรู้ต่างว่างเปล่าทั้งนั้น นั่นคือ ธรรมชาติที่เป็น สุญตาสุญตา คือ ความว่าง ที่มีอยู่ในความมี และไม่เป็นอะไรที่ไม่มีจะเป็นคนเป็นสัตว์ มันมีอยู่ในสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเพียงรูปธรรมและนามธรรมอาศัยซึ่งกันและกัน เกิดดับเท่านั้น จิตใจก็จะดำเนินอยู่ในสัมมาทิฏฐิคือ ความเห็นถูก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้คือ การแจกแจงเกี่ยวกับเครื่องสืบต่อที่มีอยู่ในชีวิตของเราคือ ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับสัมผัส ใจกับอารมณ์ทั้งหลาย ถ้ามองเห็นว่าอายตนะทั้งภายนอกและภายในเป็นรูปธรรมและนามธรรมเท่านั้น มีความเห็นอย่างนี้เชื่อว่า เป็นความเห็นถูก เป็นสัมมาทิฏฐิ เห็นถูกหยั่งลงชื่อว่า เป็นผู้มีความดำริถูก เมื่อมีความดำริถูกวาจาก็ย่อมพูดจาถูก การกระทำก็ย่อมทำถูก ความเป็นอยู่หรือสัมมาอาชีพ ความผ่องแผ้วของใจก็จะถูกต้อง เพราะฉะนั้นความเพียรสัมมาวายามะ ก็จะถูก สติที่ระลึกก็จะเป็นสติที่ถูกต้อง สมาธิความตั้งมั่นของจิตก็จะเป็นความถูกต้องของจิต เรียกว่า สัมมาสมาธิ เมื่ออริยมรรคมีองค์แปดเจริญขึ้นอย่างนี้ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ของสัตว์นั้นย่อมบริสุทธิ์หมดจด ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้ได้กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ยิ่งด้วยปัญญา ก็คือ กำหนดรู้ทุกขอริยสัตว์ ได้แก่ อุปาทาน ความยึดมั่นในขันธ์ ทั้ง 5 หรือยึดมั่นในรูปในนามว่าเป็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ละธรรมที่ควรละยิ่งด้วยปัญญาอันชอบก็คือ อวิชชาตัณหา ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ทำความเจริญยิ่งได้แก่ สมถวิปัสสนา ผู้นั้นชื่อว่าได้กระทำให้แจ้งซึ่งธรรมะที่ควรทำให้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญาเรียกว่า วิชชา หรือ วิมุตติ คือ ธรรมะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ เพราะฉะนั้นบุคคล ผู้มีความเห็นอย่างนี้ ทำอย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้เจริญอยู่ในอริยมรรคมีองค์แปด เมื่อบุคคลเจริญอยู่ในอริยมรรคมีองค์แปดถูกต้องชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินไปใน โพธิปักขยธรรม 37 ประการ ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง คือ ได้เจริญสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และอริยมรรคมีองค์ 8 ถูกต้อง ตามพระธรรมวินัย อันนี้คือ สิ่งที่เป็นธรรมะ เมื่อย่อลงมาเหลือสองคือ รูปกับนามที่ว่างเปล่าจากตัวตน เป็นการดำเนินอยู่ในธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าที่ไม่ติดกับรูป ไม่ติดกับเสียง ไม่ติดกับความประพฤติที่เศร้าหมอง ไม่ติดกับพระธรรม ไม่ติดกับธรรมะ แม้มีธรรมะก็เป็นสักว่าเป็นธรรม เพราะธรรมะทั้งปวงเป็นของว่างจากตัวตนไม่ควรยึดมั่นถือมั่นธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง

“หลวงพ่อกิตติศักดิ์ กิตติสาโร พระผู้เข้าถึงหัวใจพระพุทธศาสนา”
ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก : โลกทิพย์ 404 ปีที่ 23 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2546: กองบรรณาธิการ เรียบเรียง. หน้า 30-32.


http://www.facebook.com/pages/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%9A-%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B9%87%E0%B8%81/158269660982477
บันทึกการเข้า
สำหรับสอบถาม เรื่อง รายการที่เผยแผ่ ทางสถานีออนไลน์
ซึ่งต่อไปในอนาคตจะดำเนินการแจ้งรายการประจำวัน
รอ modorater อยู่ นะจ๊ะ ตำแหน่งนี้.......

somchit

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 71
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
หัวข้อขึ้นตาม การนำของ หนังสือโลกทิพย์ ใช่หรือไม่คะ
 
 st11 st12
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้ด้วยครับ เป็นข้อธรรมที่ดีมาก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 14, 2013, 07:04:30 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

bomp

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมเคยไปวัดป่าหนองหลุบ เคยถาม พระอาจารย์กิตติศักดิ์ว่า รู้จัก พระสนธยา หรือ ไม่ ผมเองไม่อยากจะเชื่อเลยนะครับ ว่า ท่านเล่าถึง พระสนธยา ด้วยความเคารพนับถือ และยกย่องว่าเป็นพระที่ เก่งกรรมฐาน และ เป็นกรรมฐานที่หาเรียนยากด้วย อันนี้ผมรู้มาตอนทีไปทอดกฐินปีที่แล้ว ท่านยังถามเบอร์โทรด้วย แต่ผมไม่มีเบอร์โทร

  ที่ผมกำลังคิดคือ ระดับครูอาจารย์ อย่างเช่นพระอาจารย์กิตติศักดิ์ กิติสาโร แห่งวัดป่าหนองหลุบ ยังกล่าวยกย่องพระอาจารย์สนธยา เลยนะครับ

  ไม่ทราบว่าศิษย์ กี่่ท่านรู้ส่วนนี้ครับ

   :49:
บันทึกการเข้า

นินนินนิน

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 65
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมเคยไปวัดป่าหนองหลุบ เคยถาม พระอาจารย์กิตติศักดิ์ว่า รู้จัก พระสนธยา หรือ ไม่ ผมเองไม่อยากจะเชื่อเลยนะครับ ว่า ท่านเล่าถึง พระสนธยา ด้วยความเคารพนับถือ และยกย่องว่าเป็นพระที่ เก่งกรรมฐาน และ เป็นกรรมฐานที่หาเรียนยากด้วย อันนี้ผมรู้มาตอนทีไปทอดกฐินปีที่แล้ว ท่านยังถามเบอร์โทรด้วย แต่ผมไม่มีเบอร์โทร

  ที่ผมกำลังคิดคือ ระดับครูอาจารย์ อย่างเช่นพระอาจารย์กิตติศักดิ์ กิติสาโร แห่งวัดป่าหนองหลุบ ยังกล่าวยกย่องพระอาจารย์สนธยา เลยนะครับ

  ไม่ทราบว่าศิษย์ กี่่ท่านรู้ส่วนนี้ครับ

   :49:

   พึ่งทราบ นะครับ ผมเองก็อยู่ใกล้ ๆ ขอนแก่น ด้วยว่าจะไปวัดป่าหนองหลุบ สักครั้ง ได้ทราบว่าที่วัดไม่นำไฟฟ้า เข้าใ้ช้ในวัด เหมือน สำนักของ ครูบาเพชร ก็ไม่เอาไฟฟ้าเข้าไป ผมว่าดีนะครับ แบบนี้
 :smiley_confused1: thk56 :s_good:
บันทึกการเข้า

sinjai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 144
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

ในยุคที่จตุคามกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก พระอาจารย์กิตติศักดิ์ กิตติสาโร ได้จัดสร้างพระผงลักษณะจตุคาม(แต่หลวงพ่อไม่ได้เรียกว่าจตุคาม ท่านเรียกว่า "พระเทวดาช่วยสร้างวัด") ออกมาอีกรุ่นหนึ่งเพื่อแจก(ฟรี)ในงานบุณของวัด ส่วนพระผงตามรูปเป็นรุ่นพระไตรปิฏก ด้านหน้าเป็นรูปจตุคาม ด้านหลังเป็นรูปพระไตรปิฏก และสัญฐานจะเล็กกว่าจตุคามรุ่น1มีสารพัดสี น้ำเงิน ขาว เทาแม้แต่ทาสีทองรุ่นนี้จัดทำออกมามาก (แต่ไม่มากเท่าทุกวันนี้)
บันทึกการเข้า